"รักแรกพบ"..& ประสบการณ์เก็บภาพงามๆ (๑)


"รักแรกพบ" & ประสบการณ์เก็บภาพงามๆ (ปฐมบท)



หากถามหัวใจ.:..ให้รักษากฏข้อที่หนึ่ง...แบ่งเป็น หนึ่งในสาม....

หากถามพื้นที่:  ให้ความรู้สึกผ่อนคลาย...ลดความรู้สึกอึดอัด ควรแบ่งเป็นส่วนๆ ไว้

หากถามความชอบ: รวมหัวใจและพื้นที่ให้ลงตัว  หลวมไปก็ขยับให้กระชับ  ตัดทอนส่วนเกินและเปลี่ยนมุมมอง ..รับรองว่าผลที่ได้ถูกใจแน่ๆ


ข้างต้นเป็นเสียงสะท้อนบทเรียนและประสบการณ์จาก.. “รักแรกพบ” ที่รับรู้ได้ทั้งตัวและหัวใจ พลังจากภายใน และต้องอาศัยการสังเกตและบันทึกการ"สร้างภาพ"  ..


"รักแรกพบ"....เป็นเพราะรักตั้งแต่แรกพบก็ว่าได้ ..จึงได้จัดการ “ปลูกต้นรัก”  ที่สหายรักจัดหามาให้  บอกไว้ว่ามิตรภาพจะงอกงามเพียงใด  ดูได้จากต้นรักแรกที่จัดหามาให้ ส่วนฉันปลูกและคอยดูแล เอาใจใส่  รดน้ำ "ต้นรัก" และต้นอื่นๆในสวนริมระเบียงห้องทำงาน  ..ปฐมบทแห่งความรักและมิตรภาพที่ยั่งยืน...


เช้าวันหนึ่ง..น่าทึ่งใจ...ช่อดอกสีชมพู แย้มทักทาย  ยามหันหน้าไปมองที่ริมหน้าต่าง ภาพกลีบดอกคลี่น้อยๆ และมีช่อดอกตูม  ดอกเล็กดอกใหญ่ ... ฉันดีใจและคิดถึงสหาย..บ่งชี้มิตรภาพของเราเบ่งบาน โลกก็ร่วมสดชื่นไปกับเราด้วย สรรพสัตว์ได้อาศัยพึ่งพา อย่างน้อย มดแดง ผึ้ง แมลงภู่และนกน้อยโดยเฉพาะเจ้ากินปลี....นึกย้อนไปจวนจะหนึ่งปีแล้วสินะ..ต้นรักแรกโตจนออกดอกให้เชยชม.


เสียงกดซัตเตอร์ระรัว ..เก็บภาพไว้ส่งไปให้ดู   กูรูสหายรักเพ่งพินิจแล้วได้กรุณาชี้แนะตามที่ร้องขอ      ลองติดตามดูผลงาน-ที่ได้ผ่านการชี้แนะ   ด้วยเทคนิคการถ่ายทอดจากประสบการณ์ตรงของกูรูสหายรัก (คงเป็นTacit knowledge) แถมทำภาพ graphic ประกอบคำอธิบาย  ..น่าประทับใจมาก  หวังให้เป็นวิทยาทาน....  ที่แน่ๆ เทคนิคกระบวนการ..PDCA เกิดขึ้นหมุนวนจวบจนปัจจุบัน และยังเป็นพลวัตรอยุ่     ก็เพราะ ข้าน้อยเข้าข่าย..ยังถ่าย..“ไม่เป็นสับปะรด”เลย :-(( .    ..  เชิญร่วมแลกเปลี่ยนบทเีรียน ...รักแรกพบ..ไปพร้อมกัน


ข้อเสนอแนะจากผลงาน

สหายรักกล่าวว่า....สำหรับภาพที่ถ่ายมา เรื่องการจัดวางองค์ประกอบดูจะไม่ใช่ปัญหาใหญ่ จัดวางองค์ประกอบภาพได้ดีพอสมควรแล้ว  เพียงแต่ต้องระวังเรื่องพื้นที่ว่างด้านหน้า หากน้อยกว่าด้านหลังจะทำให้ภาพดูอึดอัดได้

อีกเรื่องหนึ่งที่มักจะไม่ให้ความสำคัญในการถ่ายภาพ แต่จริงๆแล้วสำคัญไม่ใช่น้อย เพราะจะช่วยขับให้วัตถุดูเด่นหรือด้อยไปได้ทั้งสองทาง  นั่นก็คือพื้นหลัง การเลือกพื้นหลังสำหรับภาพระยะใกล้ รวมทั้งภาพดอกไม้ ควรระวังไม่ให้ดูรก เกะกะ ลายตา และให้โทนสีไปในทางเดียวกัน ที่สำคัญต้องไม่ให้ดูสว่างกว่าวัตถุเกินไป      นี่คือเทคนิคคร่าวๆ สำหรับการถ่ายภาพดอกไม้....


ดูภาพ...ประกอบการทำความเข้าใจ....

ปกติการถ่ายภาพพื้นที่ด้านหน้าควรมากว่าพื้นที่ด้านหลัง โดยเฉพาะภาพบุคคล  มิฉะนั้นจะทำให้ภาพนั้นดูอึดอัดได้ 

สังเกตภาพทั้ง ๓  ภาพ ..

ภาพแรก  เป็นภาพดั้งเดิมที่ถ่ายมา..

ภาพที่สอง แสดงภาพพื้นที่ด้านหน้าและหลัง (พร้อมคำแนะนำนิดหน่อย)

ภาพสุดท้าย เป็นภาพที่คิดว่าถ้าถ่ายเองจะเพิ่มแสงอีกหน่อยให้ดูสดใสขึ้น  จัดองค์ประกอบภาพให้กระชับขึ้นอีกหน่อย



ภาพนี้ พื้นที่ส่วนหน้าและหลังถูกต้อง ดูแล้วไม่อึดอัด เพียงแต่องค์ประกอบหลวมไปหน่อย

ทิศทางแสง น่าสนใจ ทำให้วัตถุมีมิติ ได้แสงเงาครบครัน      แต่ภาพติดมืดไปนิดเีดียว...





                                              .....ฉัน..ขอขอบคุณสหายรัก...และสัญญาว่าจักพัฒนาฝีมือต่อไป...

สาระน่ารู้

ต้น "รักแรกพบ" เป็นไม้พุ่มโตง่าย ไม้พื้นเมืองแถวออสเตรเลีย ในบ้านเรานำมาเป็นไม้ประดับ  ขึ้นได้ดีทั้งในกระถางและปลูกลงดิน  ชอบแดดจัด  ออกดอกเก่ง  หากไม่ตัดแต่งจะมีทรงสูงชะลูด  ต้นที่ปลูกไว้จึงได้ตัดแต่งเพื่อให้แตกทรงพุ่มด้านข้าง  จัดเป็นไม้ดอก ไม้ประดับที่เลี้ยงไม่ยาก มีหลายสีให้เลือกเช่น สีแดง สีส้ม สีชมพู สีเหลือง  

ต้นรักแรกพบที่ปลูก และดูแลไว้  เป็นไม้ที่ปลูกในกระถางดินเคลือบขนาดใหญ่ จึงได้ขนาดต้นใหญ่สมบูรณ์ ใช้ดินร่วนซุยปลูก ให้น้ำไม่บ่อยนัก หรือให้ทุกสองวัน  เฉพาะต้นที่มีดอกบาน ภาพที่นำเสนอในบันทึก ให้ดอกสีชมพู  ในขณะที่ชนิดสีแดงยังไม่บาน

ต้นรักแรกพบนี้ ปลูกไว้ริมหน้าต่าง ระเบียงห้องทำงานด้านทิศตะวันตก  จึงได้รับแสงยามบ่าย ลักษณะดอกเป็นที่ชื่นชอบของแมลงภู่และนก โดยเฉพาะนกกินปลี (Sun bird) มีรูปทรงปากโค้งที่เหมาะในการลิ้มลองน้ำหวานที่อยุ่ที่ฐานรองดอก ขณะบานดอก เจ้านกกินปลีจะแวะเวียนมาบ่อยๆ ส่งเสียงร้องทักทายให้แวะออกมาเยี่ยมๆมองๆ  เก็บภาพเจ้าไว้เป็นที่ระลึก  เห็นนกเจ้าวุ่นๆกับการเอาหัวจิ้มๆๆในแต่ละดอก แล้วบินจากไป  สักพักมีคู่หูมาด้วย  แวะเวียนชมดอกหลายๆดอกแล้วก็บินมาไป   เป็นเพื่อนๆรอบสวนที่ชั้นสี่ ในตึกที่ทำงาน 

ดอกรักแรกพบ เป็นดอกสมบูรณ์เพศ นั่นหมายถึง ในหนึ่งดอกมีทั้งเกสรตัวผู้และัตัวเมีย   การถ่ายภาพด้วยเลนส์มาโคร  ทำให้สังเกตรายละเอียดได้ชัดเจน  จะเห็นว่าเป็นดอกที่มีเกสรตัวผู้จำนวนมาก  เห็นเกสรตัวเมียบ้างไหม๊เอ่ย ...ใครบอกได้ว่ามีหรือไม่ ??


๒๕ กรกฏาคม ๒๕๕๖

Kitatanee..

หมายเลขบันทึก: 543603เขียนเมื่อ 25 กรกฎาคม 2013 18:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 สิงหาคม 2013 15:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณความรู้ดีๆ และภาพสวยๆครับ

รักแรกพบ...อธิบายชัดเจนภาพสวยงามมากค่ะ...ระดับมืออาชีพนะคะ...ขอบคุณมากค่ะคุณ kita Tanee

 

ขอบพระคุณท่าน พ.แจ่มจำรัส  และ ดร. พจนา แย้มนัยนา

สำหรับกำลังใจที่มอบให้... มือใหม่ฝึกหัดค่ะ   แห่ะๆๆ...สมองซีกขวาจะได้นำร่องมากขึ้นด้วยค่ะหลังจากให้ซีกซ้ายทำหน้าที่มากไปในหนึ่งวันค่ะ :-))

ขอบพระคุณกัลยาณมิตรทุกท่านที่มาเยือน  ขออำนาจพลังแห่ง รักแรกพบ นำพาความสุข สดชื่น ให้กับท่่านทุกๆๆวันค่ะ :-))

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท