โครงการผ้าป่าผักหวาน:ปลูกผักหวานป่าสร้างป่าอาหาร ๑ ล้านไร่ ถวายในหลวง


ความสุขร่วมสร้าง

 

 

 

 

สวัสดีทุกๆท่านค่ะ..วันนี้โอกาสดีๆที่ฝนตกทั้งวัน:) ก็เลยถือโอกาสเขียนบันทึกเรื่องราวข่าวคราวกิจกรรมจากผักหวานป่ากับ"โครงการผ้าป่าผักหวาน:ปลูกผักหวานป่าสร้างป่าอาหาร ๑ ล้านไร่ ถวายในหลวง" เกี่ยวกับการปลูกป่าอาหารสร้างเครอข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการฯโดยมีผักหวานป่าเป็นสิ่งเติมเต็มให้กับพื้นที่

(สำหรับข้อมูลโครงการที่เผยแพร่ผ่าน www.gotoknow.org ยังไม่ทราบเช่นกันค่ะว่าจะเปิดรับเครือข่ายไว้ตรงไหน?(แก้ไขเพิ่มเติมตรงหน้าประวัติไม่เคยได้เลยค่ะ;)))

 

โครงการผ้าป่าผักหวาน:ปลูกผักหวานป่า สร้างป่าอาหาร ๑ ล้านไร่  ถวายในหลวง (ปลูกเสริมในป่าชุมชน-วัด-บ้าน-โรงเรียน และพื้นที่ส่วนตัว)

ความหมายของคำว่าแม่นมผักหวานป่าก็คือ”ต้นตะขบ”ประโยชน์ของต้นตะขบ(แม่นมผักหวาน)

1.ช่วยเกื้อกูลให้ต้นผักหวานป่าโตเร็วและมีความสุข(ภาษาท่าทางที่ต้นผักหวานป่าแสดงออก)

2.ให้ความร่มรื่นเย็นสบายตลอดปีทำให้หญ้าวัชพืชลดน้อยและหายไป

3.ใบ-ผลที่หล่นลงดินเป็นปุ๋ยเป็นอาหารจุลินทรีย์ทำให้ดินดี. เมื่อร่วงหล่นลงน้ำกลายเป็นอาหารของสัตว์น้ำ

4.ระบบรากที่แบ่งปันเกื้อกูลให้กับผักหวานป่า(ออกจากต้นพ่อ-แม่มาอยู่กับแม่นมผักหวานป่าได้เลย)

5.ช่วยดึงดูดนกนานาชนิดให้เข้ามากินผลตะขบและพักอาศัยพร้อมๆกับนำพา(ถ่ายมูล)พรรณพืชแวดล้อมมาปลูกเพิ่มให้กับพื้นที่ก่อเกิดเป็นความหลากหลายของสังคมพืช(เหมือนกับอุฑยานผักหวานป่า’๔๔ กำลังเป็นอยู่ขณะนี้)..ธรรมชาติเป็นผู้ให้คำตอบ

6.ถึงแม้ตัวเองจะตายตามกฎอนิจจัง..แต่สิ่งที่ฝากไว้กับแผ่นดินคือ”ต้นผักหวานป่า”อายุยืนนับร้อยปี.

ต้นผักหวานป่าอายุ 5ปีแม่นมตายจาก..ฝากไว้คือผักหวาน

 

 

 

7.สิ่งที่มีค่าที่สุดที่แม่นมผักหวาน(ต้นตะขบ)มีต่อผักหวานป่าคือ เวลา2-3ปีสามารถเก็บยอดได้ ด้วยเหตุนี้จึงขอขนานนามว่า”แม่นมผักหวานป่า”

 

วัตถุประสงค์ของการก่อตั้งชมรมเพื่อดำเนินโครงการ

1.เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์

2.เพื่อสร้างป่าอาหาร(อาหารที่เป็นยา)ให้กับพื้นที่ป่าชุมชน-วัด-บ้าน-โรงเรียน)

3.เพื่อปลูกดินให้มีความสมบูรณ์ด้วยแนวทางเกษตรธรรมชาติและสร้างความหลากหลายให้สังคมพืช

4.เพื่อปลูกปัญญาให้กับชุมชนและเยาวชน(สร้างกิจกรรมร่วมระหว่างวัด-บ้าน-โรงเรียน)

5.เพิ่มพื้นที่สีเขียว เพื่ออนุรักษ์ดิน-น้ำ-ป่า และสิ่งแวดล้อม ตามแนวทางพระราชดำริฯ

6.เพื่อสร้างอากาศหายใจที่เป็สมุนไพรด้วยความหลากหลายของพรรณพืชที่อยู่ในพื้นที่

7.เสริมเติมให้เต็มด้วยผักหวานป่า-แม่นมผักหวาน และตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน

8.เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินโครงการและการสร้างกิจกรรมเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

หมายเหตุ:

1.พื้นที่ป่าชุมชน-วัด-โรงเรียน(สาธารณะส่วนรวม)สามารถนำเสนอโครงการเพื่อขอรับต้นกล้าตะขบและต้นกล้าผักหวานป่า ได้ที่ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้ประโยชน์ไม้ขนาดเล็กและของป่า จังหวัดขอนแก่น ตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โทรศัพท์ 0-4326-1141

[email protected]

facebook:ศูนย์ส่งเสริมฯไม้ขนาดเล็ก จ.ขอนแก่น

2.หลักฐานแนบโครงการ สำเนาบัตรประชาชนพร้อมแผนที่แปลงปลูก(พื้นที่ปลูกต้นตะขบตั้งแต่100ต้นขึ้นไป ศูนย์ฯมีการเก็บรวบรวมข้อมูลและลงพื้นที่เยี่ยมแปลงปลูก

3.อุฑยานผักหวานป่า’๔๔ เป็นที่ฝึกอบรมถ่ายทอดความรู้ และเผยแพร่สูตรปลูกผักหวานป่าของโครงการฯ(นายโอภาส  ไชยจันทร์ดี เป็นวิทยากร)ปรึกษา-วางแผนปลูกผ่านทางชมรมแม่นมผักหวานป่าหรือที่เบอร์โทรศัพท์ 086-0258940, 081-0618299

4.แนวทางสูตรปลูกผักหวานป่าของโครงการฯ

4.1 ปลูกต้นตะขบไว้ก่อน6เดือน-1ปี

4.2 เตรียมความพร้อมเรื่องแหล่งน้ำและระบบน้ำของแปลงปลูก

4.3ใช้ปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร

4.4 เน้นปลูกโดยสูตรหยอดเมล็ดลงดิน (ไม่เพาะแบบรากงอก) หากเป็นต้นกล้าใช้เพาะจากเมล็ด อายุต้นกล้า3-5เดือนแต่ไม่เกิน10เดือน (ปลูกจากวันแม่ถึงวันพ่อ  ให้ปุ๋ยชนิดน้ำจากวันพ่อถึงวันแม่ )

คณะทำงานร่วมของโครงการผ้าป่าผักหวานฯ

ประธาน

นายโอภาส  ไชยจันทร์ดี

ที่ปรึกษา 

1.ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้ประโยชน์ไม้ขนากเล็กและของป่า จังหวัดขอนแก่น (สำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)

2.อาจารย์จำนงค์  สนิท

3.คุณยายเสน  ผาจันทร์ดา

4.นายอุดม  ไชยจันดี

5.พันเอกนายแพทย์ฤกษ์เลิศ  อติแพทย์

6.นาวาอากาศตรีชญณภบ ประภารัตน์

7.อาจารย์ณัฏฐ์  อุตรวิเชียร

8.อาจารย์ประภาศรี  ทรัพย์ธนบูรณ์

9.คุณประยุทธ  กาวิละเวส

10.ดร.ปราโมทย์  ไตรบุญ

11.ดร.กนกอร  อัมพรายน์

รองประธาน

1.พันเอกนายแพทย์ฤกษ์เลิศ  อติแพทย์

2.นาวาอากาศตรีชญณภบ ประภารัตน์

3. อาจารย์ณัฏฐ์  อุตรวิเชียร

4.นายอุดม  ไชยจันดี

5.อาจารย์ประภาศรี  ทรัพย์ธนบูรณ์

6.นางศศิธร  ไชยจันทร์ดี

คณะกรรมการ

 1.นางศศิธร  ไชยจันทร์ดี

 2 .นางณัฐปัญณาชัญ์  ประภารัตน์

 3 .นางสาวการะเกด  เฮ้าเมา

 4.นางสาวกนกวรรณ  ยุทธกิจ

 5.นางสาวอักษร  วันดี

 6.นางสาวมรกต  หาญชนะวงศ์

 7.นางสาววารุณี  พรมโสภา

 8.คุณอมรรัตน์  ชัยสิริกานต์กุล

 

 9.อาจารย์อังคณา  บัวผัน

 10.คุณวิภาวดี  โควิชัย

 11.คุณวราภรณ์  โควิชัย

 12.นางสาวศฐปภพรหม  แสนกลาง

 13.นางสาวศศพรหมน  แสนกลาง

 14.นางสาววราเนตร  วรรณเกษมสุข

 15.นางสาวพรพิมล  แก้วอินทร์

 16.นางสาวสุภาภร์  ธรรมเจริญ

 17.นายสต๊อบ  สุภิรมณ์

 18.นายสมเกียรติ  วงนุชศ์

 29.นายวีระศักดิ์  สุภิรมณ์

 20.นายธนบดี  สโรบล

 21.นายธนภัทร  สโรบล

 22.นายอนันต์  กันทะคำ

23.นายแก่นสาร  อุทธิยัง

 24.นายวีระพงศ์  ยศธะแสน

 25.นายชัชวาลย์  หาญชนะวงศ์

 26.เจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้ประโยชน์ไม้ขนาดเล็กและของป่า จังหวัดขอนแก่นทุกท่าน

 

 

 

 

 

 

ขอเชิญทุกๆท่านผู้มีใจรักษ์ป่าเข้าร่วมโครงการผ้าป่าผักหวาน: ปลูกผักหวานป่าสร้างป่าอาหาร ๑ ล้านไร่ ถวายในหลวง

 

 

มาสำรวจตรวจสอบพื้นที่ชุมชนของตัวท่านเอง..ป่าชุมชน-วัด-บ้าน-โรงเรียน..มีผักหวานป่าหรือยัง? “กินอาหารเป็นยา หรือกินยาเป็นอาหาร”

*** คงไม่มีความสุขใดของพ่อและแม่จะยิ่งใหญ่กว่าการได้เห็นลูกๆมีความรักใคร่สามัคคีกัน และร่วมกันพัฒนาชาติบ้านเมือง ***

 

สัพเพ สัตตา สะทา โหนตุ อะเวรา สุขะชีวิโน,

ขอให้สัตว์ทั้งหลาย อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลยจงเป็นผู้ดำรงชีพอยู่เป็นสุขทุกเมื่อเทอญ

 

 

กะตัง ปุญญัง ผะลัง มัยหัง สัพเพ ภาคี ภะวันตุ เต

 

 

 

ขอให้สัตว์ทั้งหลายจงได้เสวยผลบุญที่ข้าพเจ้าบำเพ็ญด้วย กาย วาจา ใจ แล้วนั้นเทอญ.

 

ที่ปรึกษาและคณะกรรมการของโครงการฯส่วนใหญ่มาจากผักหวานป่านำพามาให้รู้จักพบเจอและผูกพันกันด้วยหัวใจในแนวทางที่คล้ายกัน " ธรรมะทายาทผักหวานป่า"

*** แนวทางเพื่อ3ประโยชน์ "ประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน และประโยชน์อย่างยิ่งในภายภาคหน้า" ***

สำหรับเครือข่ายที่ข้าพเจ้ากำลังช่วยวางแผนปลูกผักหวานในการเข้าร่วมโครงการมีที่ใดบ้างจะได้นำมาเผยแพร่ให้ทราบในโอกาสต่อไปค่ะ

 

โครงการผ้าป่าผักหวาน:ปลูกผักหวานป่าสร้างป่าอาหาร ๑ ล้านไร่ ถวายในหลวง ไม่มีการเรียกรับเงิน-รับบริจาคหรือนำโครงกาฯไปนำเสนอขอรับเงินจากที่ใด เป็นการตั้งโครงการขึ้นมาเพื่อเผยแพร่สูตรปลูกผักหวานป่าที่เกื้อกูลกับป่าและเสริมเพ่มเติมให้เต็มในทุกพื้นที่ๆด้วยผักหวานป่ารวมถึงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในรูปแบบเครือข่ายชมรม

สำหรับเมล็ดพันธุ์ผักหวานป่า ต้นกล้าผักหวานป่าและต้นตะขบนั้นไม่กำหนดว่าจะต้องซื้อจากอุฑยานผักหวานป่า  หากจะซื้อเมล็ดพันธุ์ผักหวานป่าผ่านทางศูนย์ส่งเสริมฯให้ติดต่อได้โดยตรงกับทางศูนย์ หรือท่านสะดวกและประหยัดที่จะหาได้จากที่ใดในป่าท้องถิ่นบ้านของท่านยิ่งเป็นการดี

ในปลูกผักหวานป่าสร้างป่าอาหารในแต่ละท้องที่อุฑยานผักหวานป่า'๔๔ไม่มีการกำหนดกฏเกณฑ์อันใดและแต่ท่านจะลงมือทำเองขอเพียงปลูกผักหวานกับต้นตะขบ(ไม่ได้ไปทำให้)..วัด-บ้าน-โรงเรียน-ป่าชุมชน อยากได้ต้องสร้างเอง...เพียงแต่อุฑยานผักหวานป่า'๔๔ (โครงการฯ)เป็นที่ปรึกษาแนะนำแนะแนวทางช่วย 

 

สำหรับท่านที่ประสงค์จะร่วมสนับสนุนโครงการก็ยินดีค่ะ ท่านสามารถแสดงความคิดเห็นหรือข้อแนะนำเสนอแนวทางได้ค่ะ...ยินดีน้อมรับ...

 

                   *** ขอบพระคุณ และสวัสดีค่ะ ***

 

หมายเลขบันทึก: 542608เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2013 00:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 กันยายน 2013 15:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (25)

สวัสดีค่ะคุณน้อย...ขอชื่นชมโครงการที่ดีมีประโยชน์ถึง 3 ประโยชน์นะคะ มีทั้งประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน และประโยชน์อย่างยิ่งในภายภาคหน้านะคะ...ขออนุโมทนาบุญด้วยนะคะ...ขอบคุณค่ะ

แนวทางเพื่อ3ประโยชน์ "ประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน และประโยชน์อย่างยิ่งในภายภาคหน้า"

แล้วเราจะได้เห็นผักหวานเติบโตทั่วประเทศ ขอบคุณสำหรับโครงการดีดีค่ะ

เป็นโครงการที่น่าสนใจมากๆ เลยครับ หากทำสำเร็จประเทศไทยเราจะมีแหล่งอาหารเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลเลยครับ

แหล่งอาหารที่ยั่งยืน ของแผ่นดิน! จะขยายพื้นที่ไปทั่วทุกหัวระแหง!!

สวนป่าผักหวาน... สวนผักหวานป่า และความอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์อื่นๆจะตามมา!

อาหารเป็นหนึ่ง... ขอเป็นอีกหนึ่งไร่ ที่ยินดีสนับสนุน ร่วมแรงร่วมใจกับโครงการนี้ค่ะ

โอ้...มหัศจรรย์แห่งสุข... สุขสร้างสรรค์... สวรรค์บนดิน สุขที่ยิ่งใหญ่ และยั่งยืน อย่างเป็นรูปธรรม!

....

"...ประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน และประโยชน์อย่างยิ่งในภายภาคหน้า"

....

อนุโมทนาบุญด้วยนะคะ น้องสาวหล่า สาธุค่ะ

เป็นโครงการที่ดีมากค่ะ

ชื่นชมยินดีกับโครงการดีๆครับ

ดีมากครับผมปลูกใว้ที่บ้านแล้วเมื่อเดือนที่แล้ว ผมไปขุดแบ่งมาจากต้นใหญ่

แต่มีคำถามมาถามท่านผู้รู้ว่า ทำไมป่าผักหวานจึงมีมดแดงมากครับ กว่าจะได้ผักหวานมาทานมันทรมานมดกัดครับ

ขอบพระคุณทุกๆท่านสำหรับดอกไม้และกำลังใจค่ะ

สวัสดีค่ะท่านดร.พจนา...ขอบพระคุณที่ร่วมอนุโมทนาบุญและกำลังใจที่มอบให้ค่ะ

โครงการผ้าป่าผักหวานฯเป็นการต่อยอดงานบุญที่ทำมาอยู่แล้วค่ะแต่นับวันรู้สึกว่าบุญนั้นจะใหญ่เกินกำลังที่จะรับและทำ(เพียงคนสองคน) ก็เลยเกิดโครงการร่วมบุญร่วมทำดี"แบ่งบุญ แบ่งความดี"

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะคุณกอหญ้า...

มาปลูกผักหวานป่าด้วยกันนะคะ ตะขบ1ต้นก็ปลูกผักหวานได้ค่ะเข้าโครงการได้ค่ะ

สวัสดีค่ะคุณอักขณิช...เป็นโครงการที่สร้างเครือข่ายร่วมทำความดีในพืนที่และท้องถิ่นของตัวเองค่ะดังนั้นความสำเร็จจะเกิดได้มากน้อยก็อยู่ที่แต่ละท่านจะมาร่วมสร้างแนวทางป่าอาหารร่วมกันค่ะ

กิจกรรมแนวทางในท้องถิ่นของท่านที่เข้มแข็งอยู่แล้วสามารถนำโครงการผ้าป่าผักหวานฯเข้าไปเสริมเพิ่มเติมได้นะคะ(ชุมชน-วัด-โรงเรียน)

ขอเชิญคุณอักขณิชเข้าร่วมโครงการผ้าป่าผักหวาน:ปลูกผักหวานป่าสร้างป่าอาหาร ๑ ล้านไร่ ถวายในหลวงค่ะ ในอนาคตจะได้เป็นต้นแบบป่าผักหวานป่าอาหารแหล่งศึกษาดูงานในพื้นที่ภาคเหนือค่ะ(คนแถบภาคเหนือโทรมาสอบถามวิธีปลูกผักหวานค่อนข้างเยอะค่ะแต่การเดินทางมาดูสวนลำบากค่ะ)

ขอบคุณค่ะ:)

สวัสดีค่ะท่านดร.ขจิต...ขอบพระคุณสำหรับกำลังใจค่ะ

สวัสดีค่ะพี่ตะวันดิน...ขอบพระคุณสำหรับดอกไม้กำลังใจค่ะ(คลื่นเน็ตไม่ดี!เข้าเว็บไม่ได้:)

ยินดีต้อนรับสู่เครือข่ายปลูกผักหวานป่าสร้างป่าอาหารแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมบุญด้วยกันนะคะ..อีกหนึ่งแปลงแห่งการศึกษาเรียนรู้ผักหวานป่ากับตะขบของบุรีรัมย์ในอนาคตนะคะ:)

แจ้งข้อมูลพื้นที่แปลงปลูกผ่านชมรมแม่นมผักหวานป่าได้ค่ะ(ตอนนี้เปิดอยู่ที่เว็บกพพ. หรือจะรอลงที่กทน.ก็ได้ค่ะ)

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะKRUDALA...ขอบพระคุณที่กรุณาเข้ามาให้กำลังใจโครงการฯค่ะ

สวัสดีค่ะคุณพ.แจ่มจำรัส...ขอบพระคุณสำหรับดอกไม้และกำลังใจค่ะ

สวัสดีค่ะคุณคนทำแบบ...ที่มดแดงชอบอยู่กับผักหวานป่า(สังเกตจากธรรมชาติ)เนื่องจากผักหวานป่าเป็นพืชต้นไม้ที่น้ำเยอะความเย็นมีมาก ที่สำคัญผักหวานป่าจะออกยอดแตกใบในหน้าแล้งแต่ต้นไม้อื่นๆส่วนมากจะผลัดใบ ประจวบกับมดแดงออกไข่มดเป้งในหน้าแล้งเช่นกันจึงเป็นสิ่งที่ธรรมชาติจัดให้อยู่คู่กันค่ะ

ทางแก้ก็คือการสร้างที่อยู่ให้กับมดแดงด้วยนะคะโดยการปลูกต้นไม้อื่นๆด้วยนอกจากผักหวานป่าค่ะ

ขอบคุณค่ะ

มาชื่นชม และเป็นกำลังใจนะครับ

ชยพร   แอคะรัจน์

ชื่นชม ดีมากๆเลยนะคะปลูกผักหวานไว้มากๆ เป็นต้นไม้ที่เยี่ยมมาก ก้านใบหวาน

แค่ลวกจิ้มน้ำพริกก็อร่อยมากแล้ว น้ำที่ลวกต้มก็นำมาดื่มได้  ขอบคุณมากนะคะ

 

ขอบพระคุณท่านชยพร...สำหรับกำลังใจที่มอบให้โครงการฯค่ะ

สวัสดีค่ะคุณกานดา...ขอบพระคุณสำหรับดอกไม้และกำลังใจค่ะ

ผักหวานป่าเป็นผักปลอดสารที่ประกอบอาหารได้อร่อยทุกส่วน(ใบ ยอด ดอก ผล)และทุกเมนูค่ะ

อ่านด้วยความสุขใจในโครงการดีๆเช่นนี้ ขอเป็นกำลังใจให้ค่ะ

 

สวัสดีค่ะคุณใหญ่...ขอบพระคุณสำหรับดอกไม้และกำลังใจที่มอบให้กับโครงการฯค่ะ

เป็นงานใหญ่ของชีวิตและเป็นโครงการดีดีที่อยากขอเชิญชวนทุกๆท่านทุกๆภาคส่วนมาร่วมกิจกรรมด้วยกันค่ะ "ต้นไม้เชื่อมใจ เพื่อแผ่นดินไทยของเรา"

 

สวัสดีค่ะ น้องสาวหล่า น้อย น้ำพอง

วันนี้ พี่สาวไปดูฟางในนาข้าว ที่รถเกี่ยวหมดไปทั้งทุ่งแล้ว เตรียมขนลงเนินผักหวานป่าและสวนข้างบ้าน

น้ำยังขังในนาเยอะ ต้องรออีกพักใหญ่ แวะเนินผักหวานป่า ลองหมอบสำรวจใต้ต้นแม่นมตะขบอีกสักรอบซิ :)

เอ๊อออ... มีอะไรให้ตื่นเต้นดีแท้ พบน้องผักหวานป่าที่ต้นแรกหนึ่งต้น ต้นที่สอง...อีกต้น!

อ๊ะ ลองดูที่ต้นตะขบน้อยๆ ไม่ยอมโตอีกสามต้น ก็พบขึ้นต้นละหนึ่งต้น รวมเป็นห้าต้น!

มาที่สวนข้างบ้าน ที่น้ำท่วม เข้าไปสำรวจอีก หลังจากดูไปเมื่อไม่กี่วันก่อน ก็พบโผล่ขึ้นมาต้นละหนึ่งต้น อีกสองต้น!!

รวมกับของท่านแม่อีกสองต้น เป็น ๙ ต้น! ว้าว ว้าว ว้าว!!! เลขสวยแท้น้อ :))

ปีหน้า... จัดเต็ม แล้งนี้ ดูแลแม่นมตะขบ ๔๐-๕๐ ต้นนี้ดีๆ ลงต้นละแปดเมล็ดเลยยย

...

สรุปว่า โครงการผ้าป่าผักหวาน พี่สาวเริ่มขยับก้าวปีแรก (งอก)สำเร็จ ๙ ต้นเนาะ เย่ เย่ สาธุ :)

ค่อยๆเรียนรู้ ดูแลแม่นมตะขบ ดูแลผักหวานป่า ดูแลใจตนพร้อมบุคคลอันเป็นที่รัก

และวงจรชีวิตพืชผักอื่นๆ จากบทเรียนจริง อย่างครบวงจร...สัมพันธ์ งานนอกงานใน...ให้เนียนเลย

ขอบคุณ น้องสาวอย่างยิ่งเลยนะคะ สาธุจ้า

....

นำภาพสดๆวันนี้มาส่งอาจารย์นะคะ บางต้นโดนเถาวัลย์กีด เลยตะแคงๆอยู่ เดี๋ยวนำปุ๋ยน้ำมูลหมูไปบำรุงซะหน่อย

ภาพ เมื่อวานนี้ ข้าวกำลังสุก เหลืองอร่ามยี่สิบกว่าไร่ จ้างรถเกี่ยวไร่ละ ๕๕๐ บาท แป๊บๆ หมดทุ่งแล้ว

คุณยายของหนูน้อย ตะมิก แบ่งตะขบไปหนึ่งต้น ภาพแรกบน กำลังโตไล่ตามมะพร้าวแล้วนะนั่น :)

ความหวัง...เรืองรอง สองคู่แรก ผักหวานป่าพร้อมแม่นม บนเนินที่บุกเบิกกับเด็กน้อย ตุลาคม ปีที่แล้ว

ภาพนี้ รวมมาเฉพาะผักหวานป่า ภาพล่างสามต้น สวนใกล้บ้าน ต้นผอมมมชลูดเชียว กล้องไม่ชัดนะ

พี่สาว ขอทยอยส่งการบ้านที่บันทึกนี้นะคะ สาธุค่ะ

สวัสดีค่ะพี่อ้อย...ดีใจด้วยค่ะที่ผักหวานโผล่ขึ้นมาเป็นกำลังใจให้คนปลูก ที่จริงผักหวานป่าเราจะดูเพียงบนดินไม่ได้หรอกนะคะกับการหยอดเมล็ดเพราะบางเมล็ดเค้าไม่ตายแต่ใช้เวลาฟักตัวนานกว่าจะโผล่ขึ้นมาก็มีซึ่งบางทีเราคิดว่าเค้าไม่งอกแล้ว..จุดที่หยอดเม็ดผักหวานจึงไม่ควรไปขุดหรือคุ้ยเขี่ย

ต่างจากการปลูกด้วยต้นกล้าที่เห็นเป็นต้นแล้วค่อยนำไปปลูก

สำหรับปุ๋ยน้ำที่ให้ผักหวานปุ๋ยเศษอาหารหรือปุ๋ยอสุภะเหมาะที่สุดค่ะ ปุ๋ยมูลหมูอาจทำให้ผักหวานตายก็ได้นะคะ(แรกๆงามมากนานๆไปตายเรียบ...ประสบการณ์จากสวนผักหวานที่เล้าหมูใกล้ๆบ้านผักหวานออกยอดออกลูกแล้วแต่ตายเรียบเพราะขี้หมู)

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท