ก้าวแรกของการช่วยเหลือ C of I (Certificate of Identity)


          การช่วยเหลือลูกของแรงงานข้ามชาติให้ได้รับการปรับสถานะเป็นคนเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย
ผมรอคอยจังหวะและเวลาเมื่อมีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๖ เกี่ยวกับการปรับสถานะของลูกแรงงานข้ามชาติให้เป็นไปพร้อมกับพ่อแม่ ผมคิดว่านั่นถึงเวลาแล้วที่จะทำการช่วยเหลือ แม้ว่ามติคณะรัฐมนตรีจะกล่าวถึงเฉพาะลูกของแรงงานข้ามชาติที่อายุไม่เกิน ๑๕ ปี จะต้องเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สัญชาติพร้อมกับพ่อแม่ในคราวเดียวกันเท่านั้น

          นั่นหมายถึงว่าทางการของประเทศต้นทางทั้ง ๓ ประเทศ คือ พม่า ลาว กัมพูชา สามารถที่จะออกเอกสารรับรองตัวบุคคลให้กับเด็กได้ สามารถที่จะรับรองสัญชาติให้กับเด็กได้ เพียงแต่ว่าติดเงื่อนไขตามมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการให้วีซ่ากับเด็กเพียงกลุ่มเดียวข้างต้น

          ซึ่งเมื่อพิจารณาจากมติคณะรัฐมนตรีจะแยกส่วนที่เป็นอำนาจอธิปไตยของทั้งสองประเทศเป็น ๒ ประเด็นไม่ก้าวก่ายกัน คือ การออกหนังสือรับรองความเป็นพลเมือง การรับรองสัญชาติว่ามีสัญชาติของประเทศต้นทาง
๓ สัญชาติหรือไม่เป็นอำนาจอธิปไตยของประเทศต้นทาง ๓ สัญชาติ และการตรวจลงตราวีซ่าให้แก่แรงงานและบุตรเป็นอำนาจอธิปไตยของไทย

          ถ้าจะช่วยเหลือให้เด็กได้มีสัญชาติในขณะเดียวกันก็สามารถอยู่กับพ่อแม่ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายไม่ต้องกังวลใจใด ๆ การช่วยเหลือจะต้องดำเนินการไปทั้ง ๒ ฝ่ายไปพร้อม ๆ กัน ทั้งรัฐบาลไทยและรัฐบาลของประเทศต้นทาง

          ถ้าเด็กได้รับเอกสารรับรองความเป็นพลเมือง แต่ทางรัฐบาลไทยไม่ให้วีซ่า เด็กก็จะมีแต่สัญชาติเท่านั้นแต่ยังคงสถานะคนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยอย่างผิดกฎหมาย และถ้ารัฐบาลไทยสามารถให้วีซ่าแก่เด็กในฐานะผู้ติดตามของพ่อแม่แต่รัฐบาลต้นทางไม่ออกเอกสารรับรองตัวบุคคลให้กับเด็ก ก็ไม่มีประโยชน์อะไรเช่นกัน     

          และด้วยเหตุที่พื้นที่ที่ผมทำงานแรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่มาจากประเทศพม่า ผมจึงเริ่มการช่วยเหลือจากแรงงานที่มาจากพม่าก่อน ดังนั้นผมจึงพูดคุยกับคุณพวงรัตน์ ปฐมสิริรักษ์ (เชอร์รี่) จากบางกอกคลินิก คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คุณอดิศร เกิดมงคล (บอม) จาก International Rescue Committee (IRC) ถึงความเป็นไปได้ที่จะขอเข้าพบท่านทูตของประเทศพม่า และทาง IRC โดยคุณซอคู ยินดีประสานงานให้

          ผมจึงดำเนินการร่างจดหมาย ๒ ฉบับ เพื่อใช้ในการช่วยเหลือครั้งนี้ ฉบับหนึ่งถึงนายกรัฐมนตรี และสำเนาถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และผู้บัญชาการ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง

Letter to Thai P translate 020713.pdf

อีกฉบับถึงเอกอัครราชทูตพม่าประจำประเทศไทย

Letter to MM embassy-200513.pdf
ซึ่งในจดหมายฉบับนี้ ผมได้แนบความเห็นทางกฎหมายไป ๒ ความเห็นเพื่ออธิบายถึงเหตุความจำเป็นที่ต้องขอความช่วยเหลือ

๑.ความเห็นทางกฎหมายเรื่อง “ความจำเป็นในการพิสูจน์สัญชาติบุตรแรงงานเมียนม่าร์”

Legal Comment-ความจำเป็นในการพิสูจน์สัญชาติ.pdf
๒.ความเห็นทางกฎหมายเรื่อง “กรณีลูกแรงงานชาวเมียนม่าร์ที่มีหลักฐานการเกิดในประเทศไทย”

Legal Comment-มีหลักฐานเกิดในไทย.pdf  

          พร้อมกับแนบเอกสารต่าง ๆ ที่จะใช้ในการพิสูจน์ความเป็นพลเมืองพม่าตามสายโลหิตของพ่อแม่ ไม่ว่าจะเกิดในประเทศพม่า หรือในจังหวัดระนอง โดยแนบเข้าไปเพื่อให้ทางสถานทูตพิจารณาแนบเอกสารทางทะเบียนราษฎรทั้งของไทยและพม่าให้ได้มากที่สุดเท่าที่พ่อแม่จะหาได้และแน่นอนว่าบางคนไม่มีครบถ้วนแต่ผมก็ส่งให้เพื่อให้ทางรัฐบาลพม่าได้ทราบถึงข้อจำกัดในการแสวงหาพยานเอกสารเพื่ออธิบายถึงขอจำกัด และปัญหาต่าง ๆ ให้กับทางสถานทูตรับทราบ

          เตรียมเอกสารทั้ง Personnel Profile (ประวัติของเด็กโดยดัดแปลงมาจากรูปแบบที่รัฐบาลให้แรงงานข้ามชาติกรอกประวัติ) ผังภาพรวมของเด็กที่ยื่นขอเอกสารรับรองตัวบุคคล ใบประหน้าเอกสารของแต่ละครอบครัวที่ยื่นเอกสารทั้งหลายทั้งมวลทำเพื่อให้ง่ายต่อการพิจารณาของทางสถานทูต พร้อมกับแปลจดหมายทั้ง ๒ ฉบับและความเห็นทางกฎหมายเป็นภาษาพม่า แน่ละทั้งหมดนี้ไม่มีรูปแบบให้ลอกเลียน จึงเป็นการทดลองดูว่าเอกสารที่เตรียมไปนี้ทางสถานทูตจะรับพิจารณาหรือไม่ อย่างไร มีปัญหาผมจะได้นำไปแก้ไข

          หลังจากนั้นก็เริ่มมีหนังสือตอบกลับมาจากราชการไทยตั้งแต่

          นายกรัฐมนตรีโดยสำนักปลัดนายกรัฐมนตรี

NR0105.03_84361.pdf
          กระทรวงมหาดไทย

MT0204.2_8211P1.pdf
MT0204.2_8211P2.pdf 
MT0204.2_2436P1.pdf

MT0204.2_2436P2.pdf

       กระทรวงแรงงาน 

RNg0307_23998.pdf

สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง

IM0029.132_2772.pdf 

หมายเลขบันทึก: 542600เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2013 22:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กรกฎาคม 2013 22:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะคุณจันทร์...เป็นเรื่องที่สำคัญนะคะ...ทั้งความมั่นคง เศรษฐกิจ และการเมือง...หลายประเทศมีขั้นตอนการพิจารณาออกวีซ่าการเข้าไปทำงานในประเทศของเขาอย่างรัดกุม...รวมถึงการเข้าไปเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของ ประเทศเขาด้วย...

เพ้งคะ น่าเอาคำตอบของทุกส่วนราชการมาวิเคราะห์นะคะ

และนอกจากนั้น น่าจะวิเคราะห์ในแง่ของหลักกฎหมายสัญชาติสากลนะคะ

อยากเขียนอะไรมาแลกเปลี่ยนกับเพ้งเช่นกันค่ะ

ถ้าพอจัดได้ พรุ่งนี้นะ จะบันทึกตอบเพ้งค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท