สืบสาน ไหว้พระ ไหว้ครู ศพอ.น.


     เมื่อวันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม 2556 ทางศูนย์ได้จัดงานไหว้พระ ไหว้ครู และรับน้อง  ซึ่งกิจกรรมก็ดูดีตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ ก็คือ เป็นการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของไทยให้คงอยู่สืบต่อไป โดยการสอดแทรกคุณธรรมในเรื่องของความกตัญญูกตเวที  ประเทศไทยเราถือว่าเป็นประเทศที่โชคดี เพราะขึ้นชื่อว่าเมืองพุทธ อย่างน้อยคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ยังคงก้องโสตประสาทของเรามาตั้งแต่เล็กจนโต ไปจนถึงอนาคต

     แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่อยากให้เราปลูกฝังให้กับเด็กและเยาวชนไทยก็คือ ความกลัว โดยการยกคำกล่าวโบราณมาข่มขู่ เช่นเรื่องผีสาง นางไม้ จริงอยู่ว่าในสังคมไทยคงแยกไม่ออก แต่หากเราเป็นชาวพุทธแท้ที่ได้ศึกษากันแล้วในระดับหนึ่ง ย่อมเข้าใจว่า ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาแห่งปัญญา แม้นวิทยาศาสตร์ก็ยังยอมรับ ความแตกต่างของศาสนาพุทธกับวิทยาศาสตร์ก็เพียง หลักพุทธเป็นหลักเข้าใจธรรมชาติ อยู่แบบอย่างธรรมชาติ ไม่ปฏิเสธความเปลี่ยนแปลง ส่วนวิทยาศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่แสวงหาผลประโยชน์จากธรรมชาติเพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ของมนุษย์ เช่น การใช้แร่ถ่านหินมาเผาทำให้เกิดพลังงานผลิตไฟฟ้าเป็นต้น หรืออื่น ๆ ซึ่งที่จริงแล้วไม่ว่าสิ่งใดก็ตามก็มีหลักการทางวิทยาศาสตร์แฝงอยู่ทั้งสิ้น  แม้นแต่หลักความจริงอันประเสริฐของพระพุทธเจ้าเราก็เป็นหลักทางวิทยาศาสตร์ที่ได้รับผลกระทบเป็นทุกข์ จึงต้องสาวหาสาเหตุของทุกข์ และหนทางดับทุกข์ ซึ่งนั้นหมายถึง หลักการของเหตุ และผล ซึ่งต่อเนื่องกันไปตามหลักปฏิจจสมุปบาท

     ว่าจะพูดถึงประเพณีการไหว้พระสวดมนต์ ไถลไปถึงเรื่องหลักการเสียได้  คำจำกัดความของการไหว้พระสวดมนต์ที่เป็นจุดมุ่งหมายคือ "เคารพ  นอบน้อม  กตัญญู  สู่สายสัมพันธ์" เป็นอย่างไรพิจารณาได้จากภาพ


พระพุทธจุลนาค (ปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัยตอนต้น) และพระพุทธมังคโล (พระพุทธรูปทรงเครื่อง) พระพุทธรูปประจำพระวิหาร


เคารพ น้อมนอบต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในวัดนั้นคือองค์แทนพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมเรียนรู้ศิลปการหล่อพระสาระเพิ่มเติม


ตัวแทนถวายพวงมาลัยเพื่อบูชาคุณพระรัตนตรัย


บูรพาจารย์อดีตเจ้าอาวาสทั้งสองรูป และผู้ก่อตั้ง 1) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม) อดีตผู้ส่งเสริมการศึกษาทั้งทางธรรมและทางโลกแก่พระภิกษุสามเณร และคฤหัส 2) พระมหาโพธิวงศาจารย์ (สาลี) ผู้ก่อตั้งเปิดป้ายโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดอนงคาราม เมื่อ พ.ศ. 2507


พระอาจารย์เล่าประวัติ และนำพาให้นักเรียนกล่าวคำนมัสการบูรพาจารย์


สวดมนต์รับฟังโอวาท เจริญสมาธิ เป็นปกติที่เคยปฏิบัติ


ส่วนหนึ่งกับคณะพระอาจารย์ผู้สอนพร้อมในพิธีบูชาไหว้ครู


เตรียมพานไว้ตรงหน้าพร้อมสักการะบูชา


นักเรียนผู้นำสวดคำบูชา


พร้อมแล้วเจ้าค่ะ


เดินเป็นแถวขึ้นถวายดอกไม้ธูปเทียนพระอาจารย์


ถวายแล้ว สาธุขอให้กระผม (หนู) มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด เป็นคนดีของสังคม


ไหว้ครูผู้ให้ความรู้


การแสดงพระคุณที่สาม



การบรรเลงเพลงบายศรีสู่ขวัญและการแสดงนาฏศิลป์


เริ่มพิธีบายศรีสู่ขวัญ


สานสัมพันธ์น้องพี่ ผูกข้อมือ และนำพาเล่นเกม ตลอดถึงการสอบถามวิสัยทัศน์ คำขวัญของโรงเรียน เป็นการเร่งเร้าการปลูกสำนึกในการศึกษาของสถาบัน


รวมใจเป็นหนึ่ง  ได้แก่กิจกรรมหล่อเทียนพรรษาร่วมกัน อานิสงส์เพื่อความกลมเกลียวและเสริมทางปัญญา


    ทั้งหลายทั้งมวลที่นำเสนอมาเป็นส่วนของกิจกรรมที่ทาง ศพอ.วัดอนงคาราม ตั้งใจจัดให้เป็นการเสริมความรู้จากประสบการณ์และความหมาย ทั้งยังเป็นการอนุรักษ์ความเป็นวัฒนธรรมที่เรียบง่ายตามประสาคนใกล้วัด ประหยัดไว้ก่อน

    ขอขอบใจที่ติดตามชม หากมีข้อเสนอแนะใด ๆ ก็ขอให้ฝากไว้ที่กล่องข้อความได้เลยผู้โพสยินดีที่จะนำไปเสริมสร้างและปรับปรุงการสร้างเสริมให้เกิดขึ้นแก่เยาวชนไทยให้มากขึ้น

วันศุกร์  มุสลิมเข้าสุเหร่า

วันอาทิตย์ คริตส์จักร เข้าโบสถ์

แล้วขอวันอาทิตย์ ชาวพุทธของเราเข้าวัด ฝึกจิตกันบ้างมิได้หรือ

(ต้องขออภัยหากล่วงเกินหรือโพสไม่เป็นที่พอใจ ข้าพเจ้าเพียงหวังให้ผู้ผ่านมาที่เป็นศาสนิกชนชาวพุทธได้ตระหนักรู้เสียสักนิดว่า พระพุทธศาสนาจะคงอยู่ได้เพราะมีผู้สืบทอด ศึกษา และปฏิบัติ ซึ่งพระพุทธองค์ทรงฝากไว้แล้วแก่ พระภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ซึ่งหมายถึงเราท่านที่ดำรงชีพอยู่นี่เอง)

หมายเลขบันทึก: 542595เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2013 21:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กรกฎาคม 2013 21:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

คิดถึงบรรยากาสตอนเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ที่วัดไชยชุมพลชนะสงครามที่กาญจนบุรีเลยครับ

ขอบใจกับการติชม ยินดีที่ทำให้คุณรู้สึกนึกถึงบรรยากาศที่ทำให้มีความสุขสมัยวัยเยาว์ เจริญพร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท