ประชุม PCT ครั้งที่สอง


มากำหนดเค้าโครงรายละเอียดกันครับ

ประชุมครั้งที่สองครับ  

สัปดาห์ถัดมาครั้งนี้เป็นการประชุมเฉพาะกลุ่มจริงๆในห้องชัชลินา 7 เวลาบ่ายสองโมงกำลังน่านอนเลยครับ ครั้งนี้คุณหมออรุณเปิดตัว โครงร่างความเป็นจริงที่ว่าเราทำอะไรกันดีหลังจากครั้งที่แล้ววางเรื่องไว้กว้าง+คร่าวๆ ประเด็นคราวนี้อยู่ที่ว่า

1. เราจะทำผู้ป่วยกลุ่มไหน/ขนาดไหนดี

หลังจากคุยไปมาก็มีคนนำเสนอไอเดียหลากหลายพอควรจบลงที่ว่า เราก็ไม่ต้องทำเยอะมากให้เป็นกลุ่มเล็กๆ ก่อน ถ้าทำสำเร็จเดี๋ยวก็จะขยายต่อไปเองผมเลยเสนอคนไข้เก่าแก่ของเรา คือ ตัวเจ้าหน้าที่ของเราเองครับเพราะเป็นลูกค้าชั้นดีหนึ่งกล่าวคือ มีข้อดี 3 อย่างดังนี้คับ นัดตามได้ง่าย (มาทุกวันถ้าไม่ลางาน), ข้อมูลพร้อม (ตรวจสุขภาพทุกปีอยู่แล้ว), มีความรู้เกี่ยวกับสุขภาพดีครับ (น่าจะโดนกรอกความรู้ให้ทุกปีอยู่แล้ว) 

2. การคัดกรองคนไข้ใหม่

ทำอย่างไร คัดแล้วพบว่าคนไข้เสียงต่อการเป็นเบาหวานต้องทำอย่างไรคุณหมออรุณห่วงเรื่องค่าใช้จ่ายคนไข้ครับ คือ ถ้าเราคัดตามเกณฑ์แล้วพบว่ามีความเสี่ยงจะเป็นเบาหวาน ไม่ควรจับยัดไปตรวจแล็บให้ถามคนไข้ดูก่อนว่าอยากตรวจไหม เป็นความคิดที่ผมชอบมากครับที่ให้สิทธิ์เลือกแต่พยาบาลจะทำงานหนักไหมตรงนี้ที่ต้องมาแยกแยะแล้วสอบถาม ซึ่งฟังแล้วอาจยุ่งยาก ก็ตกลงว่าจะนัดคนที่ทำงานตรงนี้มาคุยกันอีกที ผมฟังแล้วก็ยังมึนๆ อยู่เหมือนกันครับว่าควรจะทำยังไง 

3. การทำงานทำเป็นกลุ่ม/แยกเคส, สถานที่ที่จะทำ

ความคิดหลากหลายครับ แต่พอสรุปได้ว่าถ้าเราจับเคสไม่มากน่าจะทำเป็นกลุ่มทำทีเดียวจะสะดวกกว่า แต่สะดวกเราไม่สะดวกคนไข้ครับคุณหมอเลยพยายามหาเวลาให้ลงตัวทั้ง 2 ฝ่ายส่วนห้องที่จะทำก็มีการเสนอหลายห้องครับก็ต้องดูต่อไปครับว่าจะได้ไหม  

4. ตัวชี้วัด

จากการที่เราวางมาคร่าวๆ อันนี้แหละครับที่จะเป็นตัววัดผลที่คุณหมอคิดไว้แล้ว คือระดับน้ำตาลในเลือดHBA1cส่วนตัววัดอื่นๆ ก็ยังไม่ได้ตกลงกันชัดเจนก็คุยๆ กันไปครับ มีคนเสนอเก็บความพึงพอใจ เก็บ pre-test, post-test สำหรับการให้ความรู้ และอื่นๆ จบลงที่ให้แต่ละฝ่ายลองไปคิดดูว่าค่าใดน่าจะมาใช้จริงได้บ้างส่วนผมที่อยู่ห้องยาเองก็คิดไว้ว่า น่าจะเป็นมูลค่าหรือจำนวนยาที่ทานลดลง ซึ่งแสดงว่าสุขภาพเจ้าตัวดีขึ้น แต่การเก็บข้อมูลผู้ป่วยน่าจะยากเหมือนกันครับ ต้องลองไปถามฝ่ายไอทีดูว่ามีการดึงข้อมูลตรงนี้มาได้ไหมถ้าเป็นมูลค่าน่าจะได้แต่ถ้าเป็นปริมาณคงนำมาเทียบลำบาก ต้องเทียบเป็นเคสในแต่ละครั้งเพราะได้รับยาต่างกันก็เทียบกันลำบากแล้วและเป็นอีกประเด็นที่ผมนึกได้ครับว่า ข้อมูลพวกนี้หากเราต้องการแล้วน่าจะมีการดึงมาดู/รวบรวมได้ง่าย ซึ่งก็ควรมีการคีย์ข้อมูลทั้งหมดเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ ก็ไม่รู้เหมือนกันครับว่าค่าที่จะเก็บชี้วัดมีอะไรบ้างและจะบันทึกได้แค่ไหน และใครเป็นคนบันทึก 

5. คนทำงานหลักที่เกี่ยวกับด้านนี้โดยตรง

เป็นข้อเสนอที่น่าสนใจมากครับ พี่...(จำชื่อไม่ได้ครับขออภัยด้วย) บอกว่าการจับทำกลุ่มแบบนี้ล่มมาหลายครั้งแล้วเพราะไม่มีตัวคอยดึงดันโครงการไว้ แต่ละคนมีงานประจำ+งานอื่นๆ อยู่แล้ว เลยค่อยๆ หายไปจนจบสะดุ้งนิดๆ ครับเพราะเข้าตัวแต่ก็เป็นปัญหาอีกครับเพราะไม่รู้ว่าจะหาคนแบบที่พี่ว่าได้จากไหนยังไง 

6. งบประมาณในการทำ

ตรงนี้ผมตาปริบๆ ครับ นึกไม่ออกเหมือนกันว่าต้องใช้อะไรเท่าไหร่แต่ตรงนี้มีคนเสนองบไปซื้อทีวีกับเครื่องเล่นวีดีโอครับเพื่อให้ผู้ป่วยได้ชมก่อนเวลาว่าง ส่วนค่าตัว/ค่าแรงคาดว่าไม่ได้กันถ้วนหน้าครับ เหอๆ 

7. อื่นๆ

อันนี้ผมโดนขอจากหมออรุณโดยตรงเรื่องหัวเข็มฉีดยาครับ ว่า มีความเป็นไปได้ไหมว่าจะให้คนไข้ฟรี เพราะมีคนไข้หลายรายเขาจะมีปัญหาตรงนี้ครับอยากบอกคุณหมอตรงๆ ว่าผมไม่มีอำนาจตรงนี้สักนิดเลยครับ แต่ก็ไปประสานให้แล้ว
พี่วิไลวรรณ (หัวหน้าเภสัชกรรม)-ให้ผมไปลองคุยกับพี่สมคิดครับ ถ้าเขาโอเคก็เรียบร้อย
พี่สมคิด (หัวหน้าคลังยาและเวชภัณฑ์) ไม่ได้ต้องจ่ายเองหมดทุกสิทธิ์...
พี่หญิง (หัวหน้า IPD) - เสนอให้มีการรวมค่าเข็มไปกับยาเลย คนไข้จะได้ซื้อแพ็คเดียวจบ เช่นเดียวกับชุดน้ำเหลือที่มีแก้วย้ำเกลือ คือทำเป็นยาชุดไปเลยครับแต่จริงๆ มันก็เป็นอุปกรณ์แหละครับ
พี่กนกพร (หัวหน้า OPD) – แนะนำให้มีการนำเข้าประชุมคณะกรรมการยาครับ ซึ่งจะมีอำนาจด้านนี้โดยตรง โดยให้เขียนรายละเอียดระบุมาชัดๆ ว่าจะแถมยังไง ต่อ 1 ปากกา/ขวดยา/.... ซึ่งถ้าคณะกรรมการอนุมัติก็ดำเนินการได้ 

การประชุมคราวนี้เริ่มเห็นอะไรรางๆ แล้วครับ ก็นัดประชุมครั้งต่อไปพฤหัสนี้  
จากการเข้าประชุมวันนี้ทำให้ผมพบอย่างหนึ่งครับว่า คุณหมอเน้นคนไข้ OPD ซึ่ง...ผมไม่ค่อยเกี่ยวข้องครับ (ผมเป็นเภสัชกรผู้ป่วยใน) ชักมีแววว่าจะหลุดจากคณะกรรมการเหมือนกัน  เอาเถอะครับถ้าหลุดไปก็ต้องหาคนมาแทนละครับซึ่งน่าจะมีคนสนใจเหมือนกัน ว่าจะลองชวนเภสัช OPD มาเหมือนกันครับแต่ช่วงนี้รู้สึกงานจะรัดตัวกันมากทุกคน 

บันทึกนี้พิมพ์ราว 45 นาทีครับ

หมายเลขบันทึก: 54235เขียนเมื่อ 11 ตุลาคม 2006 18:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012 16:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
นพ.เชิดพงศ์ หังสสูต
จะขอ เป็น ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานครับ ขอเชิญที่ Blog ของทีมเบาหวานเปาโลครับ http://gotoknow.org/blog/dmpaolo1

ยินดีอย่างยิ่งเลยครับ จะแวะเข้าไปติดตาม/แลกเปลี่ยนความรู้กันครับ

ไม่ได้รูเรื่องเบาหวาน แต่แนะนำกลุ่มคนทำงานด้านนี้ได้คะ อ. วัลลา http://gotoknow.org/blog/dmcop ลองเข้าไปแลกเลปี่ยนเรียนรู้กับท่านซิคะ รับรองไม่ผิดหวัง

ขอบคุณที่แนะนำครับ คุณจ๊ะจ๋า

ตอนนี้ผมอายุ 39 ปี เบาหวานขึ้นตั้ง 240 ครับ (ตอนตรวจอดอาหารด้วย)   อยากเข้าเป็นสมาชิกชมรมเพื่อขอความรู้ครับ ไม่รู้เริ่มยังไงครับ

 

คุณ kk_pom

ขอโทษที่มาตอบช้านะครับ

เรื่องสมัครเข้านี่ขอรอหน่อยนะครับ เพราะกำลังอยู่ช่วงตกลงหน้าที่แต่ละหน่วยอยู่ว่า ควรดำเนินการอะไร อย่างไรบ้าง ถ้ามีข่าวคืบหน้าจะมาลงเพิ่มให้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท