โรคเน่าดำ เน่าเข้าไส้ในกล้วยไม้


ในช่วงหน้าฝน คนปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ส่วนใหญ่จะมีปัญหาเกี่ยวกับโรคเน่า เนื่องจากมีความชื้นสูง  แสงแดงน้อย อับลม ทำให้เกิดการระบาดของเชื้อราได้ดี  โรคที่เกิดจากเชื้อราตัวหนึ่งที่ระบาดมากในช่วงนี้คือ โรคเน่าดำ, ยอดเน่า, เน่าเข้าไส้ (Black rot, Heart rot) เกิดจากเชื้อราไฟทอฟธอรา ปาลมิโวรา (Phytophthora palmivora) ผมเจอบทความดี ๆ จากอาจารย์สุรชัย เกี่ยวกับโรคและวิธีการดูแลรักษา แล้วนำมาฝากครับ

โรคเน่าดำ, ยอดเน่า, เน่าเข้าไส้ (Black rot, Heart rot)
เกิดจากเชื้อราไฟทอฟธอรา ปาลมิโวรา (Phytophthora palmivora) ทางวิชาการเรียกกลุ่มนี้ว่าราน้ำ (aquatic fungi) ในการแพร่ระบาดเชื้อราจะสร้างสปอร์แบบมีหาง(zoospore)สามารถว่ายน้ำได้ เมื่อมีฝนตกก็จะเปิดปล่อยสปอร์ออกมา แยกกระจายกระเด็นตามน้ำฝนหรือว่ายไปยังส่วนต่างๆได้ ที่ไหนเหมาะสมก็จะฝังตัวเข้าไปและก่อให้เกิดโรค
สารฯกลุ่มที่เราใช้ในการป้องกันกำจัดหลักๆคือ
.....กลุ่ม A1 เฟนนิลเอไมด์ เป็นสารออกฤทธิ์ดูดซึมและมีการต้านทานสารฯข้ามกลุ่ม เมื่อใช้เป็นประจำ.....เมทาแลกซิล-ริดโดมิล เป็นตัวหลัก ที่เราใช้ส่วนใหญ่เป็นสารฯที่นำเข้ามาจากจีน มีราคาถูกทำให้มีการใช้พร่ำเพรื่อ จนเชื้อต้านทานต้องใช้อัตราสูงขึ้น แต่ในกล้วยไม้มีข้อจำกัด ถ้าใช้อัตราสูงจะมีผลกระทบต่อระบบราก ทำให้รากกุดได้ สำหรับกล้วยไม้รองเท้านารีอยากแนะนำให้ใช้ตัวหลัก เพราะไม้เรามีราคา ใช้ ริดโดมิล-เอ็ม(+แมนโคเซป)หรือจะเลือกสูตรใหม่ที่เค้าเปลี่ยนโครงสร้าง ริดโดมิล-โกลด์ ส่วนเบนาแลกซิล-กัลเบน,..... ออกซาไดซิล-แซนโดแฟน ทีมีจำหน่ายเป็นสูตร+แมนโคเซป ในบางพื้นที่หาซื้อมาใช้ยาก
.....กลุ่มสารฯที่แนะนำให้ใช้สลับ กลุ่ม H5 คาร์บอกซิลิกแอซิดเอไมด์.....ไดเมทโธมอร์ป-ฟอรัม,อะโกรแบท(+แมนโคเซป).....ไอโพรวาลิคาร์บ-อินเวนโต(+โพรพิเนป) ผู้ผลิตบอกว่าถ้าเชื้อราต้านทานกลุ่ม A 1 ให้ใช้กลุ่มนี้สลับ มีสารใหม่ในกลุ่มนี้ขึ้นทะเบียนผ่านแล้ว แมนดิโปรปามิด-รีวุส
.....การใช้สารฯกลุ่มสัมผัสเข้ามาแทรกก็เป็นทางเลือกที่ดีและช่วยยืดเรื่องความต้านทาน กลุ่ม M ออกฤทธิ์หลายจุดแบบสัมผัส แมนโคเซป-ไดเทน เอ็ม,.....แมนเซท ดี.....เพนโคเซป,..... โพรพิเนป-แอนทราโคล,.....โฟลเพทชื่อการค้าที่แนะนำไว้คือสารฯมาตรฐานคุณภาพดี แต่ราคาจะแพงหน่อย
.....หรือ กลุ่ม U ยังไม่ทราบการออกฤทธิ์ ไซมอคซานิล-เคอร์เซท เอ็ม(+แมนโคเซป)
มีสารในกลุ่มนี้ที่นิยมใช้ เพราะออกฤทธิ์ดูดซึมทั้งขึ้นบนและลงล่าง คือ ฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม-อาลีเอท เมื่อเปิดใช้แล้วจะต้องปิดปากถุงให้สนิท เพราะสารดูดความชื้นได้เร็ว กลายเป็นก้อนสีดำไม่ละลายน้ำ และฟอสฟอรัสแอซิด-โฟลิ-อาร์-ฟอส, คิวโปรฟอส ทั้ง ๒ ชนิดเป็นปุ๋ยในรูปฟอสไฟต์ (PO3-) ห้ามใช้พร้อมกับปุ๋ย สารกลุ่มนี้ใช้กระตุ้นให้กล้วยไม้สร้างภูมิต้านทาน (phytoalexin) จึงใช้ในการป้องกันการเกิดโรคมากกว่าการรักษา
.....ถ้าปัญหาหนักหนามากก็คงต้องใช้บริการกลุ่ม C ยับยั้งระบบหายใจ C 3 อะซอคซีสโตรบิน-อะมิสตา,.....ไพราโคลสโตรบิน-เฮดไลน์,..... คริโซซิมเมทธิล-สโตรบี้,.....ไตรฟลอกซีสโตรบิน-ฟลิ้น,..... ฟาโมซาโดน-อิเควชั่น(+ไซมอกซานิล),.....ฟีนามีโดน-ซีเคียว(+แมนโคเซป) ข้อจำกัดเหมือนกลุ่ม A 1 เลือกใช้สารใดสารหนึ่งและไม่ใช้ซ้ำในกลุ่มเดียวกัน ไม่ใช้ซ้ำต่อเนื่องกันเกิน 2 ครั้ง

ข้อมูลจาก https://www.facebook.com/SurachaisThai?hc_location=stream

 

หมายเลขบันทึก: 541886เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2013 12:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กรกฎาคม 2013 12:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

...... ช่วยกันนำความรู้มาบอกเล่า นะคะ .... คนปลูกเลี้ยงกล้วยไม้....จะได้ลดปัญหาลงได้บ้าง นะคะ .....

ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณกล้วยไม้สวย ๆ ครับ พี่เปิล

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท