กรรมของการลบหลู่พระอริยะ


กรรมของการลบหลู่พระอริยะ

มานั่งนึกทบทวนกับตนเอง เมื่อครั้งที่เคยกระทำการอันไม่เหมาะสม พาคนมาภาวนาข้ามหัวครู 

และจิตชั่ว ๆ ข้างใน มักจะแสดงอาการให้คิดได้ว่า กำลังถูกครูทำร้าย ด่าว่า

เมื่อวันปวารณาออกพรรษา ได้รับโอกาส ได้รับความเมตตาไปกราบขอขมาองค์หลวงปู่ 

ด้วยความช่วยเหลือเมตตาของครูที่ชี้แนะ และแม่กุลที่ไปเป็นเพื่อน

หลวงปู่ชี้ให้ไปกราบขอขมาครูกะปุ๋ม

พอไปกราบขอขมาครูกะปุ๋ม ท่านเมตตางดโทษล่วงเกินให้

และชี้ให้ไปกราบขอขมาพระอาจารย์

ด้วยการกระทำข้างนอกหนูทำตาม

แต่ใจนั้นยังไม่ลง ยังได้รับผลปางตาย


ณ ลานธรรม ในคืน ปวารณาออกพรรษา

มีองค์หลวงปู่เมตตามาเป็นองค์ประธาน นำสวดมนต์ทำวัตรเย็นและเทศนาสั่งสอน

ตอนน้ันจู่ ๆ หนูก็หน้ามืด จะเป็นลม ทั้งตด ทั้งจะอาเจียน 

แบบยางตายออก

จนระลึกกราบขอขมาจากข้างใน ใจสว่างวาบ 

จากเหงื่อแตกพลั๊ก ตัวร้อนจะเป็นลม หายเป็นปลิดทิ้ง

ด้วยใจระลึกกราบขอขมา และสำนึกผิด

นึกถึงครั้งหนึ่งครูให้ได้ไปคุยกับเปิ้ลเรื่องกรรมของการลบหลู่พระอริยะ 

จะให้ผลรวดเร็ว เป็นกรรมหนัก จะตายไม่ดี

เปิ้ลเคยเล่าว่ามีครั้งหนึ่งขนาดแค่มีผู้หญิงคนหนึ่งไป เผลอใช้ภิกษุณีอริยะ ให้ทำอะไรให้สักอย่าง เหมือนจะยกของหรือส่งของให้ แต่ภิกษุณีอริยะองค์นั้นก็เมตตา เพราะพิจารณาแล้ว 

หากไม่ทำให้เธอจะโกรธจะเป็นกรรมหนัก

แต่ถ้าทำให้ ผลของกรรมที่ใช้พระอริยะ ส่งผลให้หญิงคนนั้น ไปเกิดเป็นหญิงรับใช้อีก 500 ชาติ

มานึกทบทวนแล้วลองค้นข้อมูลดู มีข้อมูลใน เน็ตเอ่ยพระไตรปิฏกไว้หลายแห่ง

เช่น


ที่มา http://www.yantip.com/viewthread.php?tid=34884

พยสนสูตร

[๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุใดด่าบริภาษเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย กล่าวโทษพระอริยะ

ภิกษุนั้นจะไม่พึงถึงความฉิบหาย ๑๐ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง

ข้อนี้มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส

ความฉิบหาย ๑๐ อย่างเป็นไฉน

คือ ภิกษุนั้นไม่บรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ ๑

เสื่อมจากธรรมที่บรรลุแล้ว ๑

สัทธรรมของภิกษุนั้นย่อมไม่ผ่องแผ้ว ๑

เป็นผู้เข้าใจว่าตนได้บรรลุในสัทธรรมทั้งหลาย ๑

เป็นผู้ไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ ๑

ต้องอาบัติเศร้าหมองอย่างใดอย่างหนึ่ง ๑

ย่อมถูกโรคอย่างหนัก ๑

ถึงความเป็นบ้า มีจิตฟุ้งซ่าน ๑

เป็นผู้หลงใหลกระทำกาละ ๑

เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดด่าบริภาษเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย

กล่าวโทษพระอริยะ ภิกษุนั้นจะไม่พึงถึงความฉิบหาย

๑๐ อย่างนี้ อย่างใดอย่างหนึ่ง ข้อนี้มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ฯ


โทษของการกล่าวโทษพระอริยะ ๑๐ ประการ ได้แก่

๑.ไม่บรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ

๒.เสื่อมจากธรรมที่บรรลุแล้ว

๓.สัทธรรมย่อมไม่ผ่องแผ้ว

๔.เป็นผู้เข้าใจว่าตนได้บรรลุในสัทธรรมทั้งหลาย

๕.ไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์

๖.ต้องอาบัติเศร้าหมองอย่างใดอย่างหนึ่ง

๗.ย่อมถูกโรคอย่างหนัก

๘.ถึงความเป็นบ้ามีจิตฟุ้งซ่าน

๙.เป็นผู้หลงใหลกระทำกาละ(ตายอย่างขาดสติ)

๑๐.เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาตนรก

จาก"พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ ข้อ ๘๘


อ่านจากแหล่งที่สืบค้นได้ ก็รู้สึกว่า น่าขนลุก

มีหนทางเดียวสำหรับหนู

เชื่อฟังครูบาอาจารย์ แล้วแก้ไขให้ดีที่สุด

เหตุเก่าได้ทำแล้ว ด้วยความโง่ ความไม่รู้

โชคดีที่ครูบาอาจารย์ยังเมตตา ทุบกะบาลให้สติ

ถ้ายังมัวโกรธอยู่ ก็ โง่ ซ้ำ กิเลสเอาไปกินอีก



สิ่งที่พึงทำกับตนเอง คือ อดทนสู้กิเลส อดทน ดูจิตอกุศลที่เกิดขึ้นให้ทันด้วยสติ จนเกิดปัญญา


กราบขอบพระคุณครูบาอาจารย์ที่เมตตา สาธุเจ้าค่ะ


คำสำคัญ (Tags): #aar#km#กรรม#ภาวนา
หมายเลขบันทึก: 541868เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2013 11:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กรกฎาคม 2013 11:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท