ประชาธิปไตยกับอิสลาม


"ประชาธิปไตยไม่ใช่สำหรับมุสลิม" นี่คือคำพูดของ อัซซัม อัล-หัดดาด ที่ปรึกษานโยบายต่างประเทศของ ดร.มุรซีย ก่อนที่เขาจะถูกทหารรวบตัวไป ผมขอแสดงความคิดเห็นดังนี้

ผมขอยืนยันว่าประชาธิปไตยเป็นอุดมการณ์ (ideology) ไม่ใช่แค่เพียงเครื่องมือหรือวิธีการ (tool or mean) ดังนั้นมันไม่ใช่สำหรับมุสลิมอยู่แล้ว โดยหลักคิดเชิงอุดมคติ ดังที่ซัยยิด กุฏุบ ได้อธิบายไว้ในหนังสือ "หลักชัยอิสลาม" ดังนั้นถ้าคิดว่ามันจะนำไปสู่เป้าหมายรัฐแห่งชารีอะฮ ก็คงจะต้องเจอทางดัน อย่างที่เห็นอยู่

ตรงข้ามกับที่หลายคนเข้าใจ  เซคิวลาริซม (secularism) ไม่ใช่เป็นอุดมการณ์โดยความหมายทั่วไป แต่เป็นวิธีการในการทำให้ อุดมการณ์หลายๆ อุดมการณ์อยู่ร่วมกัันได้ ไม่ว่าเสรีนิยม อิสลาม (หลายคนคงเห็นต่าง) สังคมนิยม ชาตินิยม ดั่งตัวอย่างประเทศตุรกีในปัจจุบัน บางคนยิ่งงงมากขึ้นไปอีกถ้าจะบอกว่าแนวคิดเซคิวลาร์เริ่มต้นโดยนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่งในอันดาลูเซีย คือ อิบนุรุชด์

ความเห็นของ อาจารย์ Albayan Nara

"สิ่งที่ผมจะบอกก็คือ คำพูดของอัซซัม อัล-หัดดาด นั้นถูกต้องแล้ว แต่คำถามต่อไปก็คือถ้า "ประชาธิปไตยไม่ใช่สำหรับมุสลิม" แล้วเราจะเดินต่อกันอย่างไร ?


ขอยืนยัน ประชาธิปไตยเป็นเพียงโอกาส หรือ เครื่องมือเท่านั้น สำหรับญามาอะฺฮฺอิสลาม
สถานการณ์ ในโลกอิสลามในปัจจุบัน เราต้องใช้หลักในเรื่องฟิกฮฺซียาซีย์ และอูศูลุดดิน เท่านั้น การวิเคราะห์ด้วยทฤษฏีต่างๆนั้น เป็นตัวเสริมเท่านั้น

อุลามาอ์ อนุโลมให้มุสลิมเข้าร่วมกิกรรมทางการเมืองในระบบประชาธิปไตย ด้วยหลักทางฟิกฮ
اخف ضرارا ให้เลือกที่เลวร้ายน้อยกว่่า เป็นภัยน้อยกว่า ประชาธิปไตยเป็นเพียงโอกาสเท่านั้น ไม่ใช่อุดมการณ์ที่เลอเลิศแต้ประการใด

การวิเคราะห์าถานการณ์ ปาเลสไตน์ ชาม อิยิปต์นั้น จำเป็นต้องใข้มุมมองของอุลามาอ์ที่เชี่ยวชาญในเรื่องชารีอะฮเป็นหลัก จะใช้หลักคิด ทฤษฏี จินตนาการ ของผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์อื่นเป็นหลักไม่ได้ อาจใช้ได้ แต่เป็นเพียงตัวเสริมเท่านั้น

คำถามของผม คือ
การขึ้นมาของ มุรซีย์ มันถูกต้องตามหลักชารีอะฮฺและชอบธรรม หรือไม่ การบริหารของ มุรซีย์ ในช่วงเวลา 1 ปี มันขัดกับหลัก سياسة شرعية. ตรงไหน?

การโค่นล้ม มุรซีย์ มันถูกต้องตามหลักชารีอะฮหรือไม่. ชอบธรรมตามหลักประชาธิปไตยหรือไม่

เรื่องนี้. ผมต้องการให้อุลามาอ์ชารีอะฮถกเถียงและตอบ เป็นบทบาทของคนเหล่านี้เป็นหลัก โดยให้นักวิชาการศาสตร์อื่นมีส่วนร่วม เป็นตัวสนับสนุนและเสริม
"  เป็นความเห็นของ อาจารย์ Albayan Nara


และสิ่งที่ผู้เขียนอยากเห็นมากคือ อุลามะอร่วมสมัยมีความโดดเด่น แบบรอบด้าน ดังอุลามะอสมัยก่อนที่อิสลามรุ่งเรือง คนอย่างผมจะได้ไม่ต้องมาคอยกวนให้เส้นสมองของพี่น้อง ปั่นป่วน
วัตถุประสงค์ของผมคือ create critical minds among Muslims not "emotional minds"


Forgive to say that "emotional minds is a kind that so easy to be remoted, manipulated and controlled". So what ever event is taking place we (the Muslims) must react intelligently !

เปรียบการฟัตวาของอุลามะอที่มีน้ำหนัก เหมือนประตูที่ทำไว้เพื่อให้ศรัทธาชนเดินผ่าน เข้าออก สัญจร ส่วนทัศนะที่อ่อน หรือทัศนะเสริมของนักวิชาการ เหมือนหน้าต่างจำนวนมาก ที่มุสลิมมองผ่านเพื่อจะได้เข้าใจ เห็นภาพรอบด้าน สร้างบ้านจะมีเพียงประตูคงไม่เหมาะ ยิ่งมีหน้าต่างมากก็ยิ่งดี อย่างไร เราก็ไม่เดินเข้าออกทางหน้าต่างแน่นอน

หมายเลขบันทึก: 541864เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2013 10:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กรกฎาคม 2013 10:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท