งานวิจัย แบบ Mix-Method Research (2)


การค้นพบตัวแบบ “Teen Moms Care Model” ในการวิจัยครั้งนี้ จะสามารถนำตัวแบบนี้ไปเสนอหรือสร้างนโยบาย (Policy) และออกแบบโครงการ (Projects) หรือกิจกรรม (Activity) เพื่อให้การสนับสนุน ดูแล ช่วยเหลือสุขภาพของวัยรุ่นไทยในระหว่างตั้งครรภ์ในเรื่องของลดภาวะซึมเศร้า ลดความเครียด ส่งเสริมการเพิ่มการเห็นคุณค่าในตนเอง การส่งเสริมให้ครอบครัว ญาติ ให้มีการสนับสนุน ช่วยเหลือ

               


      โมเดลที่ได้จากการพัฒนาสมการโครงสร้างเชิงเส้น(Structural Equation Modeling: SEM) ขึ้น และโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ทำให้ผู้วิจัยค้นพบตัวแบบที่เรียกว่า “Teen Moms Care Model” หรือ “ตัวแบบสำหรับการดูแลสุขภาพแม่วัยรุ่นไทย” ซึ่งมีองค์ประกอบได้ Modelคือ “1D4S”

         

      โมเดลที่ได้ค้นพบครั้งนี้สอดคล้องกับโมเดลของ

       - Mayuree Nirattharadorn.(2005).ในเรื่อง Self-esteem, Social support, and Depression in Thai Adolescent Mothers. สอดคล้องกับตัวแบบในการศึกษาวิจัยของ 

       - Pakvilai Srisaeng. (2003). ในเรื่อง Self-esteem, Stressful life events, Social support, and Postpartum Depression in Adolescent Mothers in Thailand. และตัวแบบของ 

        - Shannon Green Hanson. (2001) ในเรื่องThe effects of maternal exercise, Depression and Stress on preterm birth in low income, African American women.และตัวแบบของ 

        -  Boland-Prom, Kimberly Wynn. (2004). ในเรื่อง Control and Social Support variables during pregnancy and the development of depressive symptoms during the postpartum period. และตัวแบบของ 

       - Wanwadee Neamsakul. (2008). ในเรื่อง Unintended Thai Adolescent pregnancy : A grounded theory study. และตัวแบบของ 

      - Sharon L. Dormire. (1992) ในเรื่อง Adolescent Motherhood: The Human agency perspective. และตัวแบบของ

      -  Deboralh Elizabeth White. (2004). ในเรื่องDirect and Indirect Determinants of Low birth weight in a large Canadian Urban Health Region. และตัวแบบของ

       -  Gwendolyn Verdelle Spears. (2007). ในเรื่อง An Examination of Psychosocial, Behavioral and Sociodemographic Factors Associated with Substance Use among Pregnant Adolescents. และ

       - ตัวแบบของ Kelly J. Ruppel. (2001).ในเรื่อง Health behavior of pregnant adolescent. และตัวแบบของ Wheeler, Sara Rich. (1997). ในเรื่อง The impact of early pregnancy loss on adolescent women age 13-19: A comparison study และ

      - ตัวแบบของ SR. Angela U. Ekwonye. (2011). ในเรื่อง Adolescent Depression and Social Support, Religiosity and Spirituality in a Faith-based high school.  


                 


        จากการค้นพบตัวแบบ “Teen Moms Care Model” ในการวิจัยครั้งนี้ จะสามารถนำตัวแบบนี้


    - นำเสนอหรือสร้างนโยบาย (Policy) และออกแบบโครงการ (Projects) หรือกิจกรรม (Activity) 

   - เพื่อให้การสนับสนุน ดูแล ช่วยเหลือสุขภาพของวัยรุ่นไทยในระหว่างตั้งครรภ์ในเรื่องของลดภาวะซึมเศร้า  ลดความเครียด ส่งเสริมการเพิ่มการเห็นคุณค่าในตนเอง 

  - การส่งเสริมให้ครอบครัว ญาติ ให้มีการสนับสนุน ช่วยเหลือในปัจจัย 4 ได้แก่ 

     สิ่งของ เงิน อุปกรณ์เครื่องใช้ อาหาร ที่อยู่อาศัย การเดินทาง 

 -  ที่สำคัญ คือ การช่วยเหลือทางด้านจิตใจและอารมณ์ด้านสังคม 


 ขณะเดียวกันบุคลากรทางด้านสาธารณสุขสามารถให้การรับรู้ข้อมูลข่าวสารรวมทั้งการสนับสนุนช่วยเหลือแนะนำอธิบาย บอก สอนในเรื่องพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ที่เหมาะสมในระหว่างตั้งครรภ์  ก่อนคลอด และภายหลังคลอด ทั้งเรื่องความเสี่ยง  โรคและภัย อันตรายเรื่องยาการรับวัคซีน  


  จากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณครั้งนี้ทำให้ พบว่า โมเดลเชิงทฤษฏี (Theory Model) ที่ผู้วิจัยได้ศึกษาจากแนวคิด ทฤษฏี  และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ  พบว่า.... โมเดลเชิงทฤษฏีหรือโมเดลตามสมมุติมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์หรือผลการวิเคราะห์แบบจำลองสมการโครงสร้างเชิงเส้นที่มีการพัฒนาและปรับแก้แล้ว โดยพบว่าตัวแปรภายนอก (Exogenous Variable) หรือ การรับรู้ข้อมูลการสนับสนุนสุขภาพทางร่างกายและทางการแพทย์ (Somatic and Medicine Support) ซึ่งมีองค์ประกอบหรือตัวแปรที่สังเกตได้ หรือตัวแปรที่วัดค่าได้จำนวน 4 ตัวแปร นะคะ


          


                 ขอบคุณมากที่ท่านให้เกียรติอ่านบทความนะคะ

หมายเลขบันทึก: 541729เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2013 23:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 กรกฎาคม 2013 00:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

มีงานสนับสนุนมากเลยนะครับ พี่เปิ้นสบายดีไหมครับ

ขอบคุณค่ะ แวะมาร่วมชื่นชมนะคะ

มาอ่านต่อกับข้อมูลที่มีประโยชน์เช่นนี้ค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท