ภาษาสันสกฤตอย่างง่าย บทที่ 41


- การแจกนาม ลงท้ายด้วย อนฺตฺ (อตฺ) (ต่อ)

- ลงท้ายด้วย อนฺ

- กฎสนธิมาหลอกมาหลอนอีกนิดหน่อย


1. การแจกนามลงท้าย อนฺตฺ นั้นเรากล่าวมาแล้วพอสมควรในบทที่ 40 แต่นั่นเป็นกรณีของกริยากฤต (เช่น ชีวนฺตฺ) และคุณศัพท์ (เช่น มหนฺตฺ) ส่วนในบทนี้จะว่าถึงกรณีของนาม (เป็นการเติมปัจจัยที่นาม แล้วมีความหมายเป็นเจ้าของ เช่น หิมวนฺตฺ ดังได้ยกตัวอย่างไปแล้ว นอกจากนี้ยังมีอีกมาก เช่น ศฺรีมนฺตฺ (ผู้มีศรี, ผู้ร่ำรวย มีสิริมงคล)  พลวนฺตฺ (ผู้มีพละ ผู้มีกำลัง) ฯลฯ

คำที่ลงท้าย อนฺตฺ นั้นมีเค้าสองรูปดังกล่าวมาแล้ว ตำราบางเล่มจะระบุเป็น ลงท้าย อนฺตฺ เพื่อให้แตกต่างจากนามอีกพวกที่ลงท้ายด้วย อนฺ (ดังจะได้กล่าวต่อไป)

นามในกลุ่มที่ลง อนฺตฺ แสดงความเป็นเจ้าของนั้น แตกต่างจากการแจกรูปในกลุ่มแรกเฉพาะ กรรตุการก เอก พจน์ ปุลลิงค์ กรณีของสตรีลิงค์ก็เติมสระอีแล้วแจกปกติ ส่วนนปุงสกลิงค์ก็แจกปกติตามที่กล่าวมาในบทที่แล้ว "โดยไม่มีการแทรกเสียง นฺ

การแจกนามเพศชายต่างแค่การกเดียว พจน์เดียว นั่นคือ แทนที่จะเป็น -อนฺ ก็ยืดเสียงสระอะเป็น อานฺ เท่านั้นเอง

ไม่เข้าใจก็ดูตารางนี้

..

ชาย

   ศฺรีมนฺตฺ

 ..

 ..

 กลาง

 "ชีวนฺตฺ"

...

..

เอกพจน์

   ทวิพจน์

  พหูพจน์

 ..

 เอกพจน์

  ทวิพจน์

  พหูพจน์

กรรตฤ

ศฺรีมานฺ

 ศฺรีมนฺเตา

 ศฺรีมนฺตสฺ

 …

 ศฺรีมตฺ

 ศฺรีมตี

 ศฺรีมนฺติ

อาลปนะ

ศฺรีมนฺ

 ศฺรีมนฺเตา

 ศฺรีมนฺตสฺ

 …

 ศฺรีมตฺ

 ศฺรีมตี

 ศฺรีมนฺติ

กรรม

ศฺรีมนฺตมฺ

 ศฺรีมนฺเตา

 ศฺรีมตสฺ

 . ..

 ศฺรีมตฺ

 ศฺรีมตี

 ศฺรีมนฺติ

กรรณ

ศฺรีมตา

 ศฺรีมทฺภฺยามฺ

 ศฺรีมทฺภิสฺ

 ...

 ศฺรีมตา
 ศฺรีมทฺภฺยามฺ
 ศฺรีมทฺภิสฺ

สัมประทาน

ศฺรีมเต

 ศฺรีมทฺภฺยามฺ

 ศฺรีมทฺภยสฺ

 ...

 ศฺรีมเต
 ศฺรีมทฺภฺยามฺ
 ศฺรีมทฺภยสฺ

อปาทาน

ศฺรีมตสฺ

 ศฺรีมทฺภฺยามฺ

 ศฺรีมทฺภยสฺ

 ...

 ศฺรีมตสฺ
 ศฺรีมทฺภฺยามฺ
 ศฺรีมทฺภยสฺ

สัมพันธ

ศฺรีมตสฺ

 ศฺรีมโตสฺ

 ศฺรีมตามฺ

 ...

 ศฺรีมตสฺ
 ศฺรีมโตสฺ
 ศฺรีมตามฺ

อธิกรณ

ศฺรีมติ

 ศฺรีมโตสฺ

 ศฺรีมตฺสุ

 ...

 ศฺรีมติ
 ศฺรีมโตสฺ
 ศฺรีมตฺสุ

1.1) ยกเว้น มีคุณศัพท์สองตัว ที่แจกแบบนามนี้ คือ อิยนฺตฺ (ยิ่งใหญ่, มากมาย) และ กิยนฺตฺ (มากแค่ไหน, ใหญ่แค่ไหน)

1.2 คำ ภวนฺตฺ (อาจจะหดเสียงจาก ภควนฺตฺ) มีรูปพ้องกับ ภวนฺตฺ (กริยากฤต ปัจจุบันกาล ปรัสไมบท ของ ภู) ใช้เป็นคำเรียกแสดงความนับถือ จะใช้กับกริยาเอกพจน์ บุรุษที่ 3. รูป กรรตุการก เอกพจน์ ปุ. คือ ภวานฺ, สตรี คือ ภวตี, และคำร้องเรียกคือ โภสฺ (หดเสียงจาก ภวสฺ ในสมัยก่อน). อนึ่ง คำ โภสฺ นี้ เมื่อนำหน้าสระ หรือพยัญชนะ ก็จะเหลือเพียง โภ โดยไม่ต้องสนธิใดๆ. เช่น โภ โภ ฤเษ.

แบบฝึก 1
จงแจกคุณศัพท์แสดงความเป็นเจ้าของ

  • พลวนฺตฺ ปุ.(ผู้มีกำลัง)
  • ภควนฺตฺ ปุ. (ผู้น่านับถือ)
  • ตาวนฺตฺ นปุ. (มากมาย)

(คุณศัพท์เหล่านี้ขยายนามได้ทุกเพศ แต่โจทย์เจาะจงให้แจกเฉพาะเพศที่ระบุข้างต้น)

2. นามที่ลงท้ายด้วย อนฺ, วนฺ, มนฺ  ไม่ใช่ อนฺตฺ, วนฺตฺ, มนฺตฺ เพราะทั้งสองชุดนี้แตกต่างกัน ตำราหลายเล่มจึงใส่รูปเดิมเป็น อนฺตฺ, อนฺ ให้ชัดเจน แต่ตำราบางเล่มก็ใช้ -อนฺ, อนฺ เหมือนกัน ทำให้ไม่ทราบว่าลงท้ายตัวไหนแน่

สำหรับ อนฺ, วนฺ, มนฺ นั้นมีเค้า 3 รูป และแจกเฉพาะเพศชาย กับเพศกลางเท่านั้น

สำหรับเพศชาย เค้ารูปแข็ง จะยืดเสียง อนฺ เป็น อา ทั้งหมด.

รูปอ่อนมีการลบเสียงสระ เท่ากับไม่มีสระอะหน้า นฺ, ราชนฺ > ราชฺนฺ (แต่กรณีเช่นนี้ นฺ จะเปลี่ยนเป็น ญฺ)

รูปกลางจะลบ นฺ ท้ายทิ้งไป

มาดูการแจกกันเลย ปุ.ราชนฺ (พระราชา) นปุ. นามนฺ (ชื่อ)

..

ชาย

  ราชนฺ

 ..

 .

 กลาง

  นามนฺ

...

..

เอกพจน์

  ทวิพจน์

  พหูพจน์

 .

 เอกพจน์

  ทวิพจน์

  พหูพจน์

กรรตฤ

ราชา

  ราชาเนา

 ราชานสฺ

 .

 นาม

นามนี, นามฺนี

  นามานิ

อาลปนะ

ราชนฺ

 ราชาเนา

 ราชานสฺ

 .

 นามนฺ, นาม

นามนี, นามฺนี

  นามานิ

กรรม

 ราชานมฺ

  ราชาเนา

 ราชฺญสฺ

 ..

 นาม

นามนี,นามฺนี

  นามานิ

กรรณ

ราชฺญา

 ราชภฺยามฺ

 ราชภิสฺ

 ..

 นามฺนา

 นามภฺยามฺ

 นามภิสฺ

สัมประทาน

ราชฺเญ

 ราชภฺยามฺ

 ราชภฺยสฺ

 ..

 นามฺเน

 นามภฺยามฺ

 นามภฺยสฺ

อปาทาน

ราชฺญสฺ

 ราชภฺยามฺ

 ราชภฺยสฺ

 ...

 นามฺนสฺ

 นามภฺยามฺ

 นามภฺยสฺ

สัมพันธ

ราชฺญสฺ

 ราชฺโญสฺ

 ราชฺญามฺ

 ...

 นามฺนสฺ

 นามฺโนสฺ

 นามนามฺ

อธิกรณ

ราชฺญิ

 ราชฺโญสฺ

 ราชสุ

 ...

 นามนิ,นามฺนิ

 นามฺโนสฺ

นามสุ


3. กรณีที่หน้า มนฺ หรือ วนฺ เป็นพยัญชนะติดกับ ม หรือ ว เลย, สระอะหลัง ม และ ว จะยังคงอยู่ ในทุกวิภักติ, เพื่อหลีกเลี่ยงการสนธิกับพยัญชนะ มิฉะนั้นจะเป็นพยัญชนะซ้อนกันสามตัว เช่น อาตฺมนฺ ปุ. (ตัวเอง, อาตมัน) และ พฺรหฺมนฺ นปุ. (พรหม, พรหมัน, การอุทิศ) ซึ่งแจกรูปดังตัวอย่างต่อไปนี้

..

ชาย

  อาตฺมนฺ

 ..

 .

 กลาง

  พฺรหฺมนฺ

...

..

เอกพจน์

  ทวิพจน์

  พหูพจน์

 .

 เอกพจน์

  ทวิพจน์

  พหูพจน์

กรรตฤ

อาตฺมา

  อาตฺมาเนา

 อาตฺมานสฺ

 .

 พฺรหฺม

  พฺรหฺมณี

  พฺรหฺมณิ

อาลปนะ

อาตฺมนฺ

  อาตฺมาเนา

 อาตฺมานสฺ

 .

 พฺรหฺม

  พฺรหฺมณี

  พฺรหฺมณิ

กรรม

อาตฺมานมฺ

  อาตฺมาเนา

 อาตฺมนสฺ

 ..

 พฺรหฺมนฺ, พฺรหฺม

  พฺรหฺมณี

  พฺรหฺมณิ

กรรณ

อาตฺมนา

  อาตฺมภฺยามฺ

 อาตฺมภิสฺ

 ..

 พฺรหฺมณา

  พฺรหฺมภฺยามฺ

  พฺรหฺมภิสฺ

สัมประทาน

อาตฺมเน

  อาตฺมภฺยามฺ

 อาตฺมภฺยสฺ

 ..

 พฺรหฺมเณ

  พฺรหฺมภฺยามฺ

  พฺรหฺมภฺยสฺ

อปาทาน

อาตฺมนสฺ

  อาตฺมภฺยามฺ

 อาตฺมภฺยสฺ

 ...

 พฺรหฺมณสฺ

  พฺรหฺมภฺยามฺ

  พฺรหฺมภฺยสฺ

สัมพันธ

อาตฺมนสฺ

  อาตฺมโนสฺ

 อาตฺมนามฺ

 ...

 พฺรหฺมณสฺ

  พฺรหฺมโณสฺ

  พฺรหฺมณามฺ

อธิกรณ

อาตฺมนิ

  อาตฺมโนสฺ

 อาตฺมสุ

 ...

 พฺรหฺมณิ

  พฺรหฺมโณสฺ

 พฺรหฺมสุ

หลักสนธิพยัญชนะ
4.1 เมื่อ กฺ, ฏฺ, ปฺ อยู่ท้ายคำ แล้วตามด้วยพยัญชนะเสียงไม่ก้อง, จะไม่เปลี่ยนแปลง
4.2 เมื่อ กฺ, ฏฺ, ปฺ อยู่ท้ายคำ แล้วตามด้วยพยัญชนะเสียงก้อง รวมทั้งสระ, จะเปลี่ยนเป็น คฺ, ฑฺ และ พฺ ตามลำดับ
4.3 เมื่อ กฺ, ฏฺ, ปฺ อยู่ท้ายคำ แล้วตามด้วยพยัญชนะนาสิก จะกลายเป็น งฺ, ณฺ, มฺ ตามลำดับ
เช่น ปริวฺราฏฺ น > ปริวฺราฑฺน หรือ ปริวฺราณฺน ก็ได้, สมฺยกฺ น > สมฺยคฺน หรือ สมฺยงฺน ก็ได้ แต่กรณีหลังจพบมากกว่า

5. พยัญชนะที่นำหน้าคำ ที่ขึ้นต้นด้วย หฺ พยัญชนะนั้นจะกลายเป็นเสียงก้อง ส่วน หฺ อาจไม่เปลี่ยนก็ได้, หรือเปลี่ยนเป็นพยัญชนะเสียงมีลมมากตามพยัญชนะข้างหน้านั้น เ่ช่น

  สมฺยกฺ หสฺตะ > สมฺยคฺหสฺตะ หรือ สมฺยคฺฆสฺตะ (ห กลายเป็น ฆ, คือเป็นเสียงที่มีลมมากของ ค)
  ตสฺมาตฺ หสฺตาตฺ > ตสฺมาทฺหสฺตาตฺ หรือ ตสฺมาทฺธสฺตาตฺ


โปรดสังเกตว่า หาก ห เปลี่ยนไป เราจะอ่านยากขึ้น ;)  และโดยทั่วไปมักจะเปลี่ยนเสียด้วย

ศัพท์
ธาตุ


  √ฉิทฺ + อว. อวฉินตฺติ= เอาออก แยกออก
  √มฺฤชฺ (บอกเหตุ.) มารฺชยติ. ถู ขัดออก
  √วรฺณย (นามธาตุ.) วรฺณยติ. บรรยาย วาด
  √วิชฺ+ อุทฺ (บอกเหตุ.) อุทฺเวชยติ. ทำให้กลัว


นาม

  อาตฺมนฺ (ātmán) ปุ. อาตมัน, ตัวเอง. มักใช้เป็นสรรพนาม และบอกความเป็นเจ้าของ
  กรฺมนฺ (kárman) นปุ. การกระทำ, พิํธี, กรรม
  จรฺมนฺ (cárman) นปุ. หนัง
  ชนฺมนฺ (jánman) นปุ. การเกิด, ชาติ
  ตีร (tīra) นปุ. ฝั่ง
  ตฺริษฺฏุภฺ (tríṣṭúbh) ส. ชื่อฉันท์
  ทิน (diná) นปุ. วัน
  เทวกุล (devákula)  นปุ. เทวาลัย
  นรก (náraka) ปุ. นรก
  ปกฺษินฺ (pakṣín) ปุ. นก
  ปาตฺร (pā́tra ) นปุ. หม้อ ภาชนะ บาตร
  พฺรหฺมนฺ (bráhman) นปุ. การอุทิศ บทสวด มนตร์
  พฺรหฺมนฺ (bráhman) ปุ. พระพรหม
  ภสฺมนฺ (bhásman) นปุ. เถ้า
  ยติ (yáti ) ปุ. นักพรต สันยาสี
  ราชนฺ (rājan) ปุ. พระราชา
  โลมนฺ (loman) นปุ. ขน
  วรฺษ (varṣá) นปุ. ปี
  สมาคม (samāgama) ปุ. การพบกัน
  สีมนฺ (sīmán) ส. เขต ขอบ
  หนฺตฺฤ (hantṛ́) ปุ. ผู้ฆ่า


คุณศัพท์

  อายุษฺมนฺ ผู้มีอายุยืน (มักใช้เรียกแสดงความเคารพ เป็นการให้พรไปในตัว)
  อิยนฺตฺ อย่างมาก
  กิยนฺตฺ มากเพียงใด?
  กฺฤปณ (ส.กฺฤปณา) ยากจน น่าเศร้า
  ตาวนฺตฺ อย่างมาก
  ทฺวิตีย (ส.ทฺวิตียา) ที่สอง
  ปฺริยกรฺมนฺ  ใจดี
  ปฺริยวาจฺ  น่าคบหา พูดสิ่งที่ดี
  พลวนฺตฺ แข็งแรง
  ภควนฺตฺ (ส.ภควตี) ผู้เจริญ ผู้มีพระภาค
  ภาสฺวนฺตฺ สว่าง สดใส
  มติมนฺตฺ ฉลาด มีความคิด
  ยาวนฺตฺ อย่างมาก
  รูกฺษ (ส.รูกฺษา) หยาบ
  วิภุ (ส. วิภฺวี) มีศักดิ์ แทรก แผ่ไปทั่ว ทรงพลัง

  ศฺรีมนฺตฺ (ส. ศฺรีมตี) มีสิริ
  หต (ส.หตา) (กริยากฤต อดีตกาลของ √หนฺ) ที่ตายแล้ว, ถูกฆ่าแล้ว


นิบาต
ปฺราเยณ ปกติ

แบบฝึก
(ทำไมพักหลังใช้ยากใช้เย็น ใส่ภาพลำบากจัง ขยายออกก็ไม่ได้ เซฟออกไปแล้วขยายเอาแล้วกันนะ)

แปลไทยเป็นสันสกฤต
1. พราหมณ์ทั้งหลาย ให้ทำรองเท้าด้วยหนัง หรือไม้.
2. เทวาลัยแห่งพระวิษณุผู้มีพระภาคประทับที่ชายแดนของหมู่บ้าน บนฝั่งของแม่น้ำ
3. เขาต้องขัดหม้อทั้งหลายด้วยขี้เถ้า(พหุ.) อย่างขยัน
4. คนรับใช้ทั้งหลาย กราบทูลพระราชาว่า กวีทั้งสองผู้มีสิริมาแล้ว
5. ดูก่อน เด็กทั้งสอง จงบอกชื่อของท่าน (อาตฺมนฺ, สัมพันธ- ทวิพจน์)
6. พรหมัน ถูกกล่าวไว้ในอุปนิษัททั้งหลายจำนวนมาก
7. ฤษีทั้งหลายกล่าวว่าพรหมันมีศักดิ์ยิ่ง
8. (ภาค)ใดแห่งพรหมถูกแยกในร่างแห่งคนทั้งหลาย ภาคนั้น (คน)เรียกว่า อาตมัน
9. พระเจ้าจันทรคุปต์เคยเป็นจักรพรรดิผู้ทรงอำนาจแห่งโลกทั้งปวง
10. กษัตริย์ทั้งหลายผู้ทรงพลังเหล่าใดรบแล้วในกองทัพแห่งกฤษณะ เขาเหล่านั้นทั้งปวง ถูกข้าศึกทั้งหลาย(ทฺวิษฺ) ฆ่าแล้วในการรบ
11. ในฤคเวท (ฤจฺ, พหุพจน์) ปรากฏ (วิทฺ, กรรมวาจก) แม้ ตริษฏุภ (त्रिष्टुभ्)
12. พระราชาแห่งปาฏลิบุตรเป็นศูทรโดยกำเนิด เขาต้องไม่แต่งงานกับธิดาผู้งดงามแห่งฤษีมิตราติถิ (मित्रातिथि)

หมายเลขบันทึก: 541707เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2013 22:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 สิงหาคม 2013 23:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (107)

ขอบพระคุณสำหรับบทเรียนมากค่ะ รออยู่นานเลย อิอิ อาจารย์สบายดีนะคะ หรือยุ่งอยู่หรือเปล่าเอ่ย

  • พลวนฺตฺ ปุ.(ผู้มีกำลัง)
  • ภควนฺตฺ ปุ. (ผู้น่านับถือ)
  • ตาวนฺตฺ นปุ. (มากมาย)
  • อาจารย์คะ ทำไมสองคำหลัง มันแปลออกมาแปลกๆล่ะคะ สำหรับ ภควนฺตฺ และ ตาวนฺตฺ
  • ไม่เห็นจะแปลแสดงความเป็นเจ้าของหรือแปลว่าผู้มีเลยค่ะ หรือเขาจะมีความหมายกำหนดมาอยู่แล้ว เราก็ตามนั้นไป หนูงงๆค่ะ หรืออาจารย์จะยกตัวอย่างคำอื่นมาให้หนูดูด้วยก็ได้

ขอบพระคุณค่ะ

ไม่ได้เข้ามาอ่านนานเช่นกัน สวัสดีค่ะท่านอาจารย์

คุณศรี

แปลอย่างนั้นแหละ ภค+วนฺตฺ = ภควนฺตฺ (ผู้มีภค ผู้มีโชค)

ตาวนฺตฺ เป็นคุณศัพท์พิเศษ อย่าไปคิดอะไรมาก ยังมี ยาวนฺตฺ อีกแน่ะ ;)

คำอื่นยังมี ไว้จะทะยอยตามมา ในส่วนคำศัพท์เหมือนเดิม

ช่วงนี้ยุ่งมากครับ ทั้งงานสอน กิจกรรม แล้วก็เขียนบทความ โหราพิเศษก็จะปิดต้นฉบับอีกแล้ว

คุณครูหมูจ๋า

หวังว่าสบายดีนะครับ ผมไม่ค่อยได้เข้ามาอ่าน gotoknow เท่าไหร่

ช่วงนี้ฝนตก รักษาสุขภาพนะครับ ทุกๆท่าน

สู้ๆนะคะอาจารย์หมู ว่างเมื่อไหร่ก็มาอัพเดทบทเรียนให้หนูเลยค่ะ ฮ่าๆ

อาจารย์คะ มนฺตฺ กับ วนฺตฺ นี่มันต่างกันอย่างไรเจ้าคะ ระหว่าง ม และ ว ?

หนูลองยกตัวอย่างมาเอง เช่น ธน (เพศกลาง) = สมบัติ --> ให้เป็นการกที่ 4 - เอกพจน์ แปลว่า '' แด่ผู้มีสมบัติ ''

- ธนมตฺ + เอ = ธนมเต

- ธนวตฺ + เอ = ธนวเต

อันไหนถูกคะ แล้ววิธีการทำของหนูถูกไหมเอ่ย ?

ขอบคุณค่ะ..

โดยทั่วไป ไม่ต่างกัน แต่ศัพท์ที่พบเห็นจะมีอย่างเดียว ถ้าใช้ วนฺตฺ ก็ไม่ใช้ มนฺตฺ

เช่น มีศัพท์ ธนวนฺตฺ แต่ไม่มีศัพท์ ธนมนฺตฺ

มีศัพท์ ฤทฺธิมนฺตฺ แต่ไม่มี ฤทฺธิวนฺตฺ, มี กรฺมวนฺตฺ ไม่มี กรฺมมนฺตฺ

แต่บางศัพท์ก็มีทั้งสองแบบ เช่น รศฺมิมนฺตฺ และ รศฺมิวนฺตฺ

ข้างบนต้องใช้ ธนวเต

อริสมันต์ ก็สร้างมาจากปัจจัยตัวนี้ใช่ไหมครับ แล้วแปลว่าอะไร

อาจารย์ขา พวกนามหญิงอีหรืออาการันต์จะเติมปัจจัยแสดงความเป็นเจ้าของต้องทำอย่างไรคะ ?

ปตฺนี + อตฺ = ปตฺนฺยฺ + อตฺ = ปตนฺยตฺ + อี = ( ปตฺนฺยตฺไย '' แด่ผู้มีคู่ครอง '' )

มาลา + อตฺ = มาลาตฺ + อี + มาลาตี = ( มาลาตฺไย ''แด่ผู้มีพวงมาลัย '')

หนูมั่วไหมคะ ฮ่าๆ

อาจารย์ค่ะ มันฟังดูงงๆนะคะ ที่อาจารย์บอกว่าจะเป็นปัจจัย มนฺตฺ หรือ วนฺตฺ ก็ได้

แล้วถ้าหนูจะสร้างคำขึ้นมาเองบ้าง โดยการหยิบคำนามมาเติมปัจจัยแสดงความเป็นเจ้าของ

แล้วจะทราบได้อย่างไรว่าคำนั้นมันถูกต้องล่ะคะ ?

คือ เราไม่ได้สร้างคำเอง เหมือนภาษาอังกฤษ คำบางคำเติม -ment บางคำเติม -ing เป็นอาการนามเหมือนกัน

แต่เราไปสร้างให้เขาไม่ได้ เพราะเราไม่ได้เป็นกวี หรือเจ้าของภาษา

แต่ถ้าเราสร้างเองก็แปลได้

เปิดพจนานุกรม ก็จะทราบว่ามีคำนี้หรือเปล่า

เพศหญิงก็เหมือนเพศอื่น เติม วนฺตฺ, มนฺตฺ (แล้วเช็คพจนานุกรมว่าเขาใช้กันหรือเปล่า)

มาลา + วนฺตฺ = มาลาวนฺตฺ

ปตฺนี + วนฺตฺ = ปตฺนีวนฺตฺ

อริสมันต์ ยังนึกไม่ออกครับ แต่คำที่เติม มนฺตฺ เมื่อนำมาใช้ในภาษาไทย มักจะเป็น มนฺ หรือ มตฺ ตัวสะกดไม่มาทั้งสองตัว

หนุมานฺ ปุ. 1. เอก. = หนุ + มนฺตฺ

  • พลวนฺตฺ ปุ.(ผู้มีกำลัง)
  • ภควนฺตฺ ปุ. (ผู้น่านับถือ)
  • ตาวนฺตฺ นปุ. (มากมาย)
  • หมายถึงสามคำนี้ให้หนูแจกให้หมดสามเพศเลยเหรอคะ หรือเฉพาะกับเพศที่กำหนดมาเอ่ย

พลวนฺตฺ ปุ.(ผู้มีกำลัง)

1.) พลวานฺ - พลวนฺเตา - พลวนฺตสฺ

2.) พลวนฺตมฺ - พลวนฺเตา - พลวตสฺ

3.) พลวตา - พลวทฺภฺยามฺ - พลวทฺภิสฺ

4.) พลวเต - พลวทฺภฺยามฺ - พลวทฺภฺยสฺ

5.) พลวตสฺ - พลวทฺภฺยามฺ - พลวทฺภฺยสฺ

6.) พลวตสฺ - พลวโตสฺ - พลวตมฺ

7.) พลวติ - พลวโตสฺ - พลวตฺสุ

8.) พลวนฺ - พลวนฺเตา - พลวนฺตสฺ

ภควนฺตฺ ปุ. (ผู้น่านับถือ)

1.) ภควานฺ - ภควนฺเตา - ภควนฺตสฺ

2.) ภควนฺตมฺ - ภควนฺเตา - ภควตสฺ

3.) ภควตา - ภควทฺภฺยามฺ - ภควทฺภิสฺ

4.) ภควเต - ภควทฺภฺยามฺ - ภควทฺภฺยสฺ

5.) ภควตสฺ - ภควทฺภฺยามฺ - ภควทฺภฺยสฺ

6.) ภควตสฺ - ภควโตสฺ - ภควตามฺ

7.) ภควติ - ภควโตสฺ - ภควตฺสุ

8.) ภควนฺ - ภควนฺเตา - ภควนฺตสฺ

  • ตาวนฺตฺ นปุ. (มากมาย)

1.) ตาวตฺ - ตาวตี - ตาวนฺติ

2.) ตาวตฺ - ตาวตี - ตาวนฺติ

3.) ตาวตา - ตาวทฺภฺยามฺ - ตาวทฺภิสฺ

4.) ตาวเต - ตาวทฺภฺยามฺ - ตาวทฺภฺยสฺ

5.) ตาวตสฺ - ตาวทฺภฺยามฺ - ตาวทฺภฺยสฺ

6.) ตาวตสฺ - ตาวโตสฺ - ตาวตามฺ

7.) ตาวติ - ตาวโตสฺ - ตาวตฺสุ

8.) ตาวตฺ - ตาวตี - ตาวนฺติ

ถูกแล้วครับ เรียนต่อเลย...

จดเสร็จแล้วค่ะ อาจารย์มาเพิ่มเติมเนื้อหาได้เลยค่ะ อิอิ

หนูไม่เข้าใจเพศกลาง เอกพจน์ การกที่สี่ห้าหกเจ็ดค่ะ ว่าทำไมถึงไม่ตัด นฺ ทั้งๆที่เป็นวิภักติอ่อน แต่ ทวิพจน์และพหูพจน์ตัดออกหมด

งงค่ะ

หรือนามเพศกลาง เฉพาะเอกพจน์ไม่ตัด นฺ ออก แต่ทวิพจน์และพหูพจน์ตัดเหรอคะ

วันหยุดยาวนี้อาจารย์ไปเที่ยวไหนไหมคะ ยังไงก็อย่าลืมมาปั้มบทเรียนเผื่อไว้ให้หนูเยอะๆเด้อค่ะ อิอิ

- แจกนามเพศกลางไปมาแล้วงงมากค่ะ เดี๋ยวตัด นฺ เดี่ยวไม่ตัด อาจารย์ช่วยสรุปมาใหม่หน่อยนะคะ หนูไม่เข้าใจ

 

ทูรสฺโถ'ปิ  สมีปสฺโก โย ยสฺย หฤทิ วรฺตเต

โย ยสฺย หฤทเย นาสฺติ สมีปสฺโถ'ปิ ทูรคะ ฯ

- แล้วก็รบกวนอาจารย์ช่วยดูโศลกบทนี้หน่อยค่ะ

หนูติดคำว่า หฤทิ  มันจะเหมือน หฤทเย ที่แปลว่าอยู่ในใจไหมคะ

กับคำว่า นาสฺติ เปิดพจนานุกรมดูมันแปลว่า ไม่มีอยู่ เป็นเพศชาย เป็นคำนามเหรอคะอาจารย์ มันดูแปลกๆถ้าเป็นคำนามต้องผันรูปสิคะ

ขอบพระคุณค่ะ

เพศกลาง เอก ตัด นฺ เช่นเดียวกันครับ นามนฺ ก็เลยเป็น นาม

เพศกลาง ทวิ นามนฺ+อี = นามนี , แต่ใช้ นามฺนี (ลบเสียงอะหน้า นฺ)

เพศกลาง พหุ นามนฺ+อิ = นามานิ (แทรกเสียง อาหน้า นฺ)

กรณีเพศกลาง พหุ เทียบกับ ผลมฺ ผเล ผลานิ. สังเกตว่า เหมือนเติม อานิ ลงไป

ถ้าอย่างนั้น แสดงว่า นามนฺ ลบ นฺ เหลือ นาม แล้ว + อานิ = นามานิ

แต่ความจริงแล้ว ถ้าดูจากตัว นามนฺ จะพิจารณาว่า เป็นการยืดเสียง อา, จาก นามนฺ เป็น นามานฺ แล้วเติม อิ ตามหลักการ ก็ได้

เอาเป็นว่า รูปสำเร็จต้องได้ นามานิ ก็แล้วกัน

 

หยุด 4 วันไม่ได้ไปไหน ว่าจะมานครปฐม แต่ก็ไม่สะดวก อยู่สกลนครนี่แหละ พอดีมีงานเขียนงานแปลเยอะเลย

เดี๋ยวจะเขียนบทที่ 41 ให้จบสักที ;)

เพศกลาง ตั้งแต่ 3-7 ใช้เหมือนเพศชายอยู่แล้ว

อาจารย์อย่าลืมมาตอบโศลกที่หนูถามไว้นะคะ อิอิ

พฺรหฺมนฺ เพศกลาง ทุกการก ทั้งทวิและพหูพจน์รู้สึกอาจารย์จะพิมพ์ผิดนะคะ

ขอบคุณมากครับ แก้แล้ว

โศลก ไว้ดึกๆ จะมาแปลให้ครับ

 '' ตฺริษฺฏุภฺ (tríṣṭúbh) ส. ชื่อฉันท์ ''

อาจารย์คะ คำนี้เป็น ภฺ การันต์เหรอคะ ต้องแจกอย่างไร อาจารย์ยังไม่เคยสอนนะคะ

√ฉิทฺ + อว. --> อวฉินตฺติ 

สร้างอย่างไรถึงได้รูปนี้ออกมาคะ ?

อาจารย์ขาช่วยหนูตรวจประโยคนี้หน่อยค่ะ .. งง 

'' วันนี้ฉันเก็บดอกมะลิสีขาวที่มีกลิ่นหอมเหล่านั้น ซึ่งปลูกไว้ที่หน้าบ้าน มาถวายพระ ''

คือหนูยังไม่ทำสนธินะคะ จะแยกมาเป็นคำๆให้ตรวจก่อน  อีกทั้งหนูยังต่ออีกท่อนไม่ได้ด้วยล่ะค่ะ  คือ ''มาถวายพระ'' กับเก็บดอกไม้ คำหลักๆอาจารย์เคยบอกมาอยู่แต่หนูลืมไปละ เพราะยังไม่ได้เรียนหมวดนั้นค่ะ อิอิ

ประโยคนี้มีคำกริยาตั้งสามตัวเลยไม่รู้ว่าอันไหนจะหลักหรือว่าจะย่อยดี 

 

 ฉัน = อหมฺ

วันนี้ = อทฺย

ดอกมะลิสีขาวที่มีกลิ่นหอมเหล่านั้น =  ตาสฺ สุคนฺธีสฺ  เศฺวตาสฺ มลฺลิกาสฺ

ที่ปลูกไว้ = โรปยตีสฺ

หน้าบ้าน = ปุรตสฺ คฺฤเห

ได้แค่นี้ค่ะ แหะๆ ^-^ 

อาจารย์ตรวจข้อหนึ่งก่อนค่ะว่าหนูปริวรรตถูกไหม

 

1.) ยาวนฺติ หตสฺย ปโศสฺจรฺมณิ โลมานิ วิฆนฺเต ตาวนฺติ วรฺษาณิ หนฺตา นรเก วเสตฺ ?

สรุปคือต้องมาส่งที่ปริวรรตบางส่วนมาให้ดูก่อน เพราะไม่ค่อยจะแน่ใจ เกรงใจอาจารย์แย่เลยค่ะ ต้องมานั่งตรวจ อิอิ

2.) ภฺฤตฺยา วลวนฺตํ ราชานมายุษฺม ....  วทนฺตุ

3.) ภาสฺวนฺตํ สูรฺยํ ทิเน ทิเน ทฺวิชาตยะ ? ปูชยนฺตุ

4.) กิยโต มาสานฺภวานฺกาศฺยำ นฺยวสฺตุ

 5.) เก ชิฆตโย ? ภสฺมนา ศรีรํ  มารฺชยนฺติ

6.) กรฺมพลวทิติ มติมโต  ทริทฺรานฺปศฺยโต (gen.)  เม มติะ

7.) ตฺวยิ รา .... ติษฺวตฺยสฺมากํ สรฺวาสำ จ ปฺราชานำ สุรฺวํ น วินศฺเยตฺ

8.) ...

9.) คฺราเม ปริวฺรา  ติ  ปริภฺรามนฺ  ธฺยาเยตฺ

10.) ... ปุริ  ศฺรีมโต รา ... สมาคโม 'ชายเต

11.) ... ชคตะ ...เวเทษุ  ศฺรฤยเต

12.) ยานฺป ... สนสฺย สีมนิ ..  ตโต'ปศฺยต เต สรฺว  มยา ภฺราตฺรา จ ปาไศรฺชิวนฺต ..  มาตฺรา ชาสฺมภฺยมปจฺยนฺต 

तक्षकस्य विषम् दन्ते 
मक्षिकायाश्च मस्तके। 
वृश्चिकस्य विषम् पुच्छे 
सर्वाङ्गे दुर्जनस्य तत्॥

พิษ (วิษมฺ) ของอสรพิษ (ตกฺษสฺย) อยู่ที่เขี้ยวที่ฟัน (ทนฺเต)
และ (จ) พิษของภมร (มกฺษิกายาสฺ)นั้นก็มาจากที่ส่วนหัว (มสฺตเก)
พิษของแมงป่อง (วฤศฺจิกสฺย) อยู่ที่ส่วนหาง ( ปุจฺเฉ ) 
ส่วนพิษของคนเลวคนชั่ว (ทุรฺชนสฺย) นั้นแผ่ซ่านไปในอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย (สรฺวางฺเค)

อาจารย์ขา หนูแปลพอรู้เรื่องไหมคะ อิอิ สงสัยตรงท่อนที่สอง มกฺษิกา (ส.)  คิดว่าเป็นการกที่่ห้า เอกพจน์ ถูกไหมคะ

ได้รูปเป็น มกฺษิกายาสฺ  จ --> มกฺษิกายาศฺจ ?

มกฺษิกายาสฺ (ส. มกฺษิกา) ควรเป็นวิภักติที่หก (ห้ากับหก เหมือนกัน) เพราะแปลว่าของ

ตตฺ หมายถึง พิษ, ตตฺ ทุรฺชนสฺย = พิษ ของคนชั่ว

แปลถูกแล้ว เก่งมากครับ

2.) ภฺฤตฺยา วลวนฺตํ พลวนฺตํ ราชานมายุษฺม  ราชานมายุษฺมนฺนิติ  วทนฺตุ

3.) ภาสฺวนฺตํ สูรฺยํ ทิเน ทิเน ทฺวิชาตยะ ? ปูชยนฺตุ

 

4.) กิยโต มาสานฺภวานฺกาศฺยำ นฺยวสฺตุ นฺยวสตฺ

 

 5.) เก ชิฆตโย จิทฺยตโย ภสฺมนา ศรีรํ  มารฺชยนฺติ

 

6.) กรฺม พลวทิติ มติมโต  ทริทฺรานฺปศฺยโต (gen.)  เม มติะ

 

7.) ตฺวยิ ราชฺญิ  ติษฺวตฺ ติษฺฐตฺยสฺมากํ สรฺวาสำ จ ปฺราชานำ ปฺรชานำ สุรฺวํ สุขํ น วินศฺเยตฺ

1.) ยาวนฺติ หตสฺย ปโศสฺจรฺมณิ ปโศศฺจรฺมณิ โลมานิ วิฆนฺเต วิทฺยนฺเต ตาวนฺติ วรฺษาณิ หนฺตา นรเก วเสตฺ

ตฺริษฺฏุภฺ
เรื่อง ภฺ การานต์เล่าแล้วในบทก่อน (http://www.gotoknow.org/posts/531833) แต่ไม่ได้บอกละเอียด 
เมื่ออยู่หน้าสระ ภ ไม่เปลี่ยน เมื่ออยู่หน้า  ภฺยาม, ภฺยสฺ, ภิสฺ  เปลี่ยนเป็น พฺ
เมื่ออยู่หน้าเสียงไม่ก้อง ก็เปลี่ยน ภฺ เป็น ปฺ ตามหลักสนธิ
 
ดูแบบครับ
 
            Sg          Du           Pl
Nom    त्रिष्टुप्     त्रिष्टुभौ     त्रिष्टुभः
Acc     त्रिष्टुभम्     त्रिष्टुभौ     त्रिष्टुभः
Inst     त्रिष्टुभा     त्रिष्टुब्भ्याम्     त्रिष्टुब्भिः
Dat     त्रिष्टुभे     त्रिष्टुब्भ्याम्     त्रिष्टुब्भ्यः
Abl     त्रिष्टुभः     त्रिष्टुब्भ्याम्     त्रिष्टुब्भ्यः
Gen     त्रिष्टुभः     त्रिष्टुभोः     त्रिष्टुभाम्
Loc     त्रिष्टुभि     त्रिष्टुभोः     त्रिष्टुप्सु
Voc     त्रिष्टुप्     त्रिष्टुभौ     त्रिष्टुभः

อวฉินตฺติ เป็นหมวดเจ็ด ยังไม่เรียน

แต่ในบทเรียนจะมีให้กรรมวาจก ซึ่งไม่ต้องอาศัยหมวด เดี๋ยวจะอธิบายอีกที

 

คำถามอื่นๆ จะมาตอบให้ครบครับ ;)

ข้อที่เหลือนะคะ ที่อาจารย์ยังไม่ได้ตอบ 

1.) แปลโศลกให้หนูนิดหน่อย อิอิ

ทูรสฺโถ'ปิ  สมีปสฺโก โย ยสฺย หฤทิ วรฺตเต

โย ยสฺย หฤทเย นาสฺติ สมีปสฺโถ'ปิ ทูรคะ ฯ

 

 

2.)  แล้วก็ช่วยตรวจประโยคที่หนูแต่งมาให้นิดนึงค่ะ

วันนี้ฉันเก็บดอกมะลิสีขาวที่มีกลิ่นหอมเหล่านั้น ซึ่งปลูกไว้ที่หน้าบ้าน มาถวายพระ

 

ขอบคุณค่ะ

 

ย้อนกลับไปอ่านบทที่สามสิบเจ็ดแล้วเข้าใจเยอะขึ้นเลยค่ะ อิอิ ลืมไปเลย

ว่าแต่พวกพยัญชนะการันต์นั้นยังเหลืออยู่อีกเยอะไหมคะ

อาจารย์คะ ในข้อห้าที่ว่า พยัญชนะใดก็ตามที่นำหน้าคำที่ขึ้นต้นด้วย หฺ พยัญชนะนั้นจะต้องเปลี่ยนเป็นเสียงก้อง ส่วน หฺ ที่ตามมาจะเปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยนก็ได้

แล้วอย่างคำนี้จะเปลี่ยนอย่างไรคะ อาตฺมนสฺ + หสฺตะ ?

 

อาตฺมนวฺหสฺตะ อย่างนี้เหรอคะ คือหนูงงว่าแล้วจะมีหลักในการเปลี่ยนอย่างไร เช่น สฺ เป็นเศษวรรค แล้วก็ให้เราหยิบพยัญชนะในเศษวรรคที่ถัดจาก สฺ ขึ้นเป็นที่เป็นเสียงก้องมาใส่แทนเหรอคะ ในกรณีนี้อาจารย์ช่วยเขียนไว้สองแบบนะคะ ทั้งกับแบบที่เปลี่ยน ห ด้วย คือหนูไม่ทราบว่าแล้วจะเลือกพยัญชนะในฐานนั้นตัวใดมาใส่แทน  หนูถามงงไหมคะ ฮ่าๆ

1.) ยาวนฺติ หตสฺย  ปโศศฺจรฺมณิ โลมานิ  วิทฺยนฺเต ตาวนฺติ วรฺษาณิ หนฺตา นรเก วเสตฺ

= หนังทั้งหลาย (จรฺมาณิ) ขนทั้งหลาย (โลมานิ) ของสัตว์ที่ตายแล้ว (หตสฺย ปโศศฺ) มาก (ยาวนฺติ) ถูกรับ (วิทฺยนฺเต) ผู้ฆ่า (หนฺตา)  พึงอาศัย (วเสตฺ) ในนรก (นรเก)  หลายปี (วรฺษาณิ) มาก (ตาวนฺติ )

 

2.) ภฺฤตฺยา พลวนฺตํ  ราชานมายุษฺมนฺนิติ  วทนฺตุ

= เหล่าทาสรับใช้ (ภฺฤตฺยาสฺ) กล่าวว่า (อิติ วทนฺตุ) ขอให้พระราชา (ราชานมฺ) จงมีพระพลานามัยแข็งแรงสมบูรณ์ (พลวนฺตํ) (และ) มีพระชนมายุยืนยาวนาน  (อายุษฺมนฺ )

# ข้อนี้ งง ที่ตรง '' อายุษฺมนฺนิติ '' หนูเลยเดาว่าข้างหลังเป็น ''อิติ'' ค่ะ   หรือไม่ก็ต้องเป็นอาลปนะเหรอคะ ?

 

3.) ภาสฺวนฺตํ สูรฺยํ ทิเน ทิเน ทฺวิชาตยะ  ปูชยนฺตุ

 =  เหล่าพราหมณ์ (ทฺวิชาตยสฺ) ต้องบูชา (ปูชยนฺตุ)  พระอาทิตย์ที่สว่างสด (ภาสฺวนฺตํ สูรฺยํ)  ในทุกๆวัน (ทิเน ทิเน)

 

4.) กิยโต มาสานฺภวานฺกาศฺยำ  นฺยวสตฺ

 = ท่านผู้เจริญ (ภวานฺ) ได้ไปพักอาศัย (นฺยวสตฺ) ที่เมืองกาศี (กาศฺยำ) มาแล้วกี่เดือน (กิยโต) ?

 

 5.) เก  จิทฺยตโย ภสฺมนา ศรีรํ  มารฺชยนฺติ

 = เหล่าสันยาสีทั้งหลาย (ยตโย) ขัดถู (มารฺชยนฺติ) ที่ในร่างกายบ้างบางส่วน (เก จิทฺ ศรีรํ)  ด้วยขี้ถ้า (ภสฺมนา )

 

6.) กรฺม พลวทิติ มติมโต  ทริทฺรานฺปศฺยโต (gen.)  เม มติะ

= ข้อนี้ แยกได้แต่แปลแล้ว งง ค่ะ กรฺม พลวทิติ มันคือ พลวตฺ --> พลวทฺ + อิติ หรือเปล่าคะ ? ถ้าใช่จริง พลวตฺ เป็นเค้าอ่อนหนูไม่เห้นจะไปสนธิกับวิภักนามของการกใดๆเลยอ่ะค่ะ สงสัยตรงนี้

 

7.) ตฺวยิ ราชฺญิ   ติษฺฐตฺยสฺมากํ สรฺวาสำ จ  ปฺรชานำ  สุขํ น วินศฺเยตฺ

=  ความสุข (สุขํ) ไม่พึงหายไป (น วินศฺเยตฺ) อยู่ (ติษฺฐติ)  ที่ในพระราชา (ตฺวยิ ราชฺญิ) ของเราทั้งหลาย (อสฺมากมฺ)  และจากประชากรทั้งปวง (จ ปฺรชานามฺ )

ขอโทษด้วยครับ หายไปนาน

เน็ตช้า และไม่ค่อยว่าง

2. อายุษฺมนฺ + อิติ เมื่อ นฺ ลงท้ายคำ แล้วตามด้วยสระ จะเพิ่มพยัญชนะตัวนั้นอีกก็ได้ (จำไม่ได้ว่าอยู่ในบทไหน)

6. พลวตฺ ขยาย กรฺม จึงต้องเป็น นปุ. ตามไปด้วย

7. เป็น locative absolute คือ ใช้การกที่ 7 เสมือนประธาน

เมื่อท่านเป็นพระราชา ความสุึขของพวกเรา และของประชากรทั้งหมด ไม่พึงหายไป

(ปฺรชานามฺ เป็นการก 6 ไม่ใช่ 5)

อาตฺมนสฺ + หสฺตะ ข้อนี้เป็นไปตามหลักสนธิทั่วไป   อย่างง

>อสฺ + เสียงก้อง = โอ

อาตฺมนสฺ + หสฺตะ = อาตฺมโน หสฺตะ

พวกการานต์ยังเหลืออีกนิดๆ หน่อยๆ ครับ

ทูรสฺโถ'ปิ  สมีปสฺโก โย ยสฺย หฤทิ วรฺตเต

โย ยสฺย หฤทเย นาสฺติ สมีปสฺโถ'ปิ ทูรคะ ฯ

दूरस्थोऽपि समीपस्थो यो यस्य हृदि वर्तते
यो यस्य हृदये नास्ति समीपस्थोऽपि दूरगः
-
सुभाषितरत्नभाण्डागार

ในหัวใจของผู้ใด ผู้ดำรงอยู่ (วรฺตเต), ผู้นั้นเป็นผู้อยู่ใกล้ แม้(เป็นผู้)อยู่ไกล

ในหัวใจของผู้ใด ผู้ไม่ได้ดำรงอยู่ (น อสฺติ) ผู้นั้นย่อมเป็นผู้อยู่ไกล แม้(เป็นผู้)อยู่ใกล้

 

แปลตรงๆ ได้อย่างนี้, มี ย สองตัว ตัวหนึ่งเป็นประธาน (โย) อีกตัวแสดงความเป็นเจ้าของ (ยสฺย)

ลองแปลโดยอรรถดูนะครับ

'' วันนี้ฉันเก็บดอกมะลิสีขาวที่มีกลิ่นหอมเหล่านั้น ซึ่งปลูกไว้ที่หน้าบ้าน มาถวายพระ ''

ยาสฺ สุคนฺธีสฺ  เศฺวตาสฺ มลฺลิกาสฺ โรปยตีสฺ (น่าจะใช้ โรธตีสฺ) ปุรตสฺ คฺฤเห
อหมฺ อทฺย ตานฺ  ฉินฺนามิ(ตัด) ภิกฺษุภฺยสฺ  ยนฺตุมฺ/ยมิตุมฺ (√ยมฺ)
 
ข้อนี้ประโยคยาว ต้องลำดับความใหม่
ดอกมะลิสีขาวที่มีกลิ่นหอมเหล่าใด ซึ่งปลูกไว้ที่หน้าบ้าน
วันนี้ ฉันเก็บดอกไม้เหล่านั้น เพื่อถวายแก่พระ ''
 
ทำกริยา1 เพื่อทำกริยาที่ 2
กริยาที่ 1 ใช้อาขยาต (กาล) ตามปกติ
กริยาที่ 2 ใ้ช้ธาตุ + ปัจจัย "ตุมฺ" แต่มักต้องทำสนธิ(พยัญชนะ)

ทีนี้แปลไทยเป็นสันสกฤตครับ

แปลสันสกฤตเป็นไทยยังไม่หมดนะคะ ข้อที่เหลือคือให้อาจารย์ช่วยตรวจที่หนูปริวรรตเอาไว้ว่าถูกหรือเปล่า

ตั้งแต่ข้อ 8-12 แล้วก็โศลก

8.) ...

9.) คฺราเม ปริวฺรา  ติ  ปริภฺรามนฺ  ธฺยาเยตฺ

10.) ... ปุริ  ศฺรีมโต รา ... สมาคโม 'ชายเต

11.) ... ชคตะ ...เวเทษุ  ศฺรฤยเต

12.) ยานฺป ... สนสฺย สีมนิ ..  ตโต'ปศฺยต เต สรฺว  มยา ภฺราตฺรา จ ปาไศรฺชิวนฺต ..  มาตฺรา ชาสฺมภฺยมปจฺยนฺต 

จากนั้นจึงค่อยจะไปทำแปลไทยเป็นสันสกฤต 

 

ขอบคุณค่ะ ..

8.) เอกสฺมิญฺชนฺมนิ เย ศูทฺรา อชายนฺต ต อาตฺมนำ ธรฺมานฺสมฺยคนุติษฺฐนฺโต ทฺวิตีเย ชนฺมนิ ทฺวิชาตโย ภเวยุะ

9.) คฺราเม ปริวฺราณฺน  ติษฺเฐตวเน  ปริภฺรมนฺพฺรหฺม  ธฺยาเยตฺ

3. เขาต้องขัดหม้อทั้งหลายด้วยขี้เถ้า(พหุ.) อย่างขยัน

'' อย่างขยัน''  ใช้คุณศัพท์คำใดคะ ใช้ ''อย่างมาก'' แทนเหรอคะ ?

อย่างขยัน ใช้ ภฺฤษมฺ (ไม่แจก) ไปเลย

อปิ วฺยากรณํ ตสฺย นานาปฺรการสฺย สํสกฤตสฺย ตุ มธุรสฺย รมณียสฺย ทิวฺยสฺย จ

แม้ไวยากรณ์ของภาษาสันสกฤตนั้นจะยุ่งยากซับซ้อน แต่ก็คงไว้ซึ่งความไพเราะ งดงาม และศักดิ์สิทธิ์

ประโยคนี้พอได้ไหมคะอาจารย์ หรือต้องปรับปรุงแก้ไขตรงไหนดี ?

 

10. คฺราเม ปริวฺราณฺน ติษฺเฐทฺวเน ปริภฺรมนฺพฺรหฺม ธฺยาเยตฺ
11. พฺรหมา ชคตะ สฺรษฺฏา เทเวษุ ศฺรูยเตฯ
12. ยานฺปกฺษิโณ วนสฺย สีมนิ วฺฤกฺษาทุตฺปตโต'ปศฺยต เต สรฺว  มยา ภฺราตฺรา จ
ปาไศรฺชิวนฺต เอวาพฺธฺยนฺต มาตฺรา จาสฺมภฺยมปจฺยนฺต

 

อปิ สํสฺกฺฤตสฺย วฺยากรณํ นานาปฺรการํ, ตสฺย ตุ มธุรํ  รมณียํ ทิวฺยํ  จ

ถ้าเอาง่ายๆ ก็ประมาณนี้ครับ

ไม่ต้องใช้ประโยค ย-ต

แปลไทยเป็นสันสกฤต
1. พราหมณ์ทั้งหลาย ให้ทำรองเท้าด้วยหนัง หรือไม้. = พฺราหฺมณาะ ปาทตฺรมํ จรฺมณา วา กาษฐา กฺริยนฺเต


2. เทวาลัยแห่งพระวิษณุผู้มีพระภาคประทับที่ชายแดนของหมู่บ้าน บนฝั่งของแม่น้ำ  = เทวกุลํ ภควโต วิษฺโณะ สีมนิ คฺรามสฺย ตีเร นทฺยาะ ติษฺฐติ


3. เขาต้องขัดหม้อทั้งหลายด้วยขี้เถ้า(พหุ.) อย่างขยัน = ส ปาตฺราณิ ภสฺมภิรฺภฺฤษํ มารฺชยตุ


4. คนรับใช้ทั้งหลาย กราบทูลพระราชาว่า กวีทั้งสองผู้มีสิริมาแล้ว = ศฺรีมนฺเตา กวฺยาคจฺฉตามิติ ภฺฤตกาะ ราชานํ วทนฺติ


5. ดูก่อน เด็กทั้งสอง จงบอกชื่อของท่าน (อาตฺมนฺ, สัมพันธ- ทวิพจน์) =  เห พาลาตมโนรฺนามฺนี วทตมฺ


6. พรหมัน ถูกกล่าวไว้ในอุปนิษัททั้งหลายจำนวนมาก = อุปนิษทียนฺตี  พฺรหฺมุจฺยเต


7. ฤษีทั้งหลายกล่าวว่าพรหมันมีศักดิ์ยิ่ง = วิภุ พฺรหฺมนิติ ยตโย  วทนฺติ


8. (ภาค)ใดแห่งพรหมถูกแยกในร่างแห่งคนทั้งหลาย ภาคนั้น (คน)เรียกว่า อาตมัน =  ข้อนี้คำว่าภาคใด ใช้ยังไงดีคะ


9. พระเจ้าจันทรคุปต์เคยเป็นจักรพรรดิผู้ทรงอำนาจแห่งโลกทั้งปวง =


10. กษัตริย์ทั้งหลายผู้ทรงพลังเหล่าใดรบแล้วในกองทัพแห่งกฤษณะ เขาเหล่านั้นทั้งปวง ถูกข้าศึกทั้งหลาย(ทฺวิษฺ) ฆ่าแล้วในการรบ

= เสนายำ กฺฤษฺณสฺย วิภฺวะ เต ราชานยุรฺยนฺต รเณ ทฺวิฑฺภิะ สรฺเว เต มารยนฺติ

 

11. ในฤคเวท (ฤจฺ, พหุพจน์) ปรากฏ (วิทฺ, กรรมวาจก) แม้ ตริษฏุภ (त्रिष्टुभ्) = ฤกฺษฺวปิ ตฺริษฺฎุพฺวินฺทนฺเต 


12. พระราชาแห่งปาฏลิบุตรเป็นศูทรโดยกำเนิด เขาต้องไม่แต่งงานกับธิดาผู้งดงามแห่งฤษีมิตราติถิ (मित्रातिथि) =จนฺทฺรคุปฺโต วิภุราชา

สรฺเวษำ ชคตามภวตฺ 

คำตอบของข้อ 12 สลับไปเป็นข้อ 9 นะคะ

9. พระเจ้าจันทรคุปต์เคยเป็นจักรพรรดิผู้ทรงอำนาจแห่งโลกทั้งปวง = จนฺทฺรคุปฺโต วิภุราชา  สรฺเวษำ ชคตามภวตฺ 

12. พระราชาแห่งปาฏลิบุตรเป็นศูทรโดยกำเนิด เขาต้องไม่แต่งงานกับธิดาผู้งดงามแห่งฤษีมิตราติถิ (मित्रातिथि) = ปาฎลิปุตฺรสฺย ราชา ชนฺมนา ภวติ มิตฺภติเถรฺจารฺวา ปุตฺรฺยา มา ปริณยตุ

โศลกข้างบน แปลหรือยัง

โนทฺเวชเยชฺชชคฺวาจา  รูกฺษยา ปฺริยวาคฺภเวตฺ ฯ
ปฺราเยณ ปฺริยกรฺมา  ยะ กฺฤปโณ'ปิ หิ เสขฺยเต ฯ

1. พราหมณ์ทั้งหลาย ให้ทำรองเท้าด้วยหนัง หรือไม้. = พฺราหฺมณาะ ปาทตฺรมํ ปาทตฺรมานฺ / อุปานหศฺ (อุปานหฺ) จรฺมณา วา กาษฐา  กาษฺเฐน กฺริยนฺเต  การยนฺติ (กฺฤ ทำพฤทธิ). ข้อนี้ รองเท้าต้องเป็นพหูพจน์ กริยา เป็นกริยาบอกเหตุ (ใช้ให้ทำ) หนังและไม้ เป็นการกที่ 3

4. คนรับใช้ทั้งหลาย กราบทูลพระราชาว่า กวีทั้งสองผู้มีสิริมาแล้ว = ศฺรีมนฺเตา กวฺยาคจฺฉตามิติ กวี อาคจฺฉต อิติ ภฺฤตกาะ ราชานํ วทนฺติ. (อันที่จริง โจทย์ให้ใช้อดีตกาล จึงเป็น นิ-อ-เวทยนฺ = นฺยเวทยนฺ) กวี เป็น ทวิพจน์ ไม่ต้องสนธิ อาคจฺฉตสฺ + อิติ ลบ สฺ ทิ้ง เลย แต่เว้นวรรคไว้..

ที่เหลือค่อยมาตรวจต่อ

5. ดูก่อน เด็กทั้งสอง จงบอกชื่อของท่าน (อาตฺมนฺ, สัมพันธ- ทวิพจน์) =  เห พาลา พาเลา อาตมโนรฺนามฺนี วทตมฺ

ทวิพจน์ ไม่ต้องสนธิ

หนูลืมไปสนิทเลยค่ะ ทวิพจน์ และอาลปนะไม่ต้องสนธิ ^-^ แต่ดีแล้วค่ะ ผิดจะได้จำไว้

6. พรหมัน ถูกกล่าวไว้ในอุปนิษัททั้งหลายจำนวนมาก = อุปนิษทียนฺตี  พฺรหฺมุจฺยเต

 

พฺรหฺม พหฺวีษุ อุปนิษตฺสุ วรฺณยเต/อุจฺยเต.  สนธิ > พหฺวีษูปนิษทฺษุ...


7. ฤษีทั้งหลายกล่าวว่าพรหมันมีศักดิ์ยิ่ง = วิภุ พฺรหฺม อิติ ยตโย  วทนฺติ. สนธิ พฺรหฺเมติ...

 

ตรวจได้วันละนิดหน่อย

 

 

อาจารย์คะ พอดีหนูไปเจอคนหนึ่งเขาแต่งประโยคมาดูท่าแล้วแปลกๆ ไม่เข้าใจ หนูเลยลองจะแต่งแบบเขาดู

ไม่รู้ว่าของหนูจะถูกไหมรบกวนอาจารย์ช่วยดูหน่อยค่ะ

 

(มยุรมฺ พรฺหมยาะ ภวามิ) --> ของเขา

มยูโร พฺรหฺมฺยา ภวามิ --> ของหนู

 

 

คุณศรีฯ เขียนถูกแล้วครับ

 

ส่วนข้างบน มยูรมฺ ก็ใช้ได้ ในความหมายอื่น ไม่ใช่นกยูง

ส่วน พฺรหฺมยาะ ตามหลักสนธิไม่ได้

หนูลองแต่งประโยคมา ไม่รู้ถูกหรือเปล่า ลองมาให้อาจารย์เลือกดูว่าอันไหนดีกว่านะคะ

อยากทราบด้วยว่า คำนาม ''ฝน'' นี้ใช้รูปเอกพจน์นี้ถูกไหมคะ เพราะกริยาหนูก็ผันเป็นเอกพจน์ด้วย

 

ตอนนี้ฝนตกหนักมาก =  อธุนา พหุรฺวรฺษา วรฺษติ 

แล้วถ้ากรณีที่ไม่มีคำนามเข้ามา คุณศัพท์ พหุ นี้ก็ไม่ต้องผันเหรอคะ ได้เป็น อธุนา พหุ วรฺษติ 

ขอบคุณค่ะ..

 

 

 '' วฺฤกฺษาทุตฺปตโต'ปศฺยต ''

ทุตฺปตตสฺ  นี้มันคือคำว่าอะไรคะอาจารย์หนูหาไม่เจอค่ะ อิอิ

ฝน ใช้เอกพจน์ดีกว่า แต่ถ้าใช้กริยา ต้องมีพจน์ตรงกับประธาน

พหุ ถ้าแยก ก็ต้องผันต่างหาก

ถ้ารวมเป็นคำเดียวก็ผันเฉพาะนามหลัก ข้อความนี้ไม่ต้องมีกริยาก็ได้ จะเปลี่ยนเป็น ภวติ (เอกพจน์) ก็ได้

 

น่าจะเป็น วฺฤกฺษาตฺ, อุตฺปต แปลว่านก

 

หนูไปเจอประโยคนี้มา เห็นว่าสั้นๆง่ายๆเลยลองแปลดู อาจารย์ช่วยตรวจหน่อยว่าถูกไหมคะ ไม่แน่ใจที่ตรง ''ปตฺนีติ''

 कालः शिवः । तस्य पत्नीति - काली 

แยกสนธิเป็น  - กาลสฺ ศิวสฺ  ตสฺย ปตฺนี อิติ - กาลี

พระศิวะทรงเป็นกาล ดั่งนั้น ชายาของพระองค์ก็ทรงเป็นกาลีด้วย ?

ขอบคุณค่ะ..

แล้วก็ประโยคนี้ค่ะ

'' อหํ ศฺเรยสี สุนฺทฺรี ตฺวามฺ  = ฉันสวยกว่าเธอ ''

ถูกไหมคะ ?

कालः शिवः । तस्य पत्नीति - काली 

ตสฺย ปตฺนี อิติ กาลี, พระชายาของพระองค์ เรียกว่า(อิติ) กาลี

ถูกแล้วครับ เมื่อเป็นเพศหญิง ก็เปลี่ยน อะ เป็น อี เท่านั้นเอง

 

การใช้ อียาสฺ และ อิษฺฐ นั้นมักจะมาจากธาตุ และมักใช้ในภาษาพระเวท

สำหรับคุณศัพท์ทั่วไปในภาษาสันสกฤตแบบแผนให้ใช้ ตร และ ตม ที่เคยเรียนมา

อหํ สุนฺทรีตมี ตฺวตฺ(กว่า, ใช้เคส 5) บางตำราว่าใช้ อหํ สุนฺทรี ตฺวตฺ เลยก็ได้

ขอบคุณค่ะ

 

อาจารย์เหลือตรวจไทยเป็นสันสกฤตอีกสองข้อนะคะ

แล้วก็โศลก ก็จบแล้วค่ะสำหรับบทนี้

เตรียมตัวขึ้นบทใหม่ได้เลย อิอิ

โศลกอาจารย์เฉลยเลยค่ะ หนูแยกสนธิไม่ได้ '' ชชคฺ  '' ยอม ฮ่าๆ

โนทฺเวชเยชฺชชคฺวาจา  รูกฺษยา ปฺริยวาคฺภเวตฺ ฯ
ปฺราเยณ ปฺริยกรฺมา  ยะ กฺฤปโณ'ปิ หิ เสขฺยเต ฯ

 

 

 

 

12. พระราชาแห่งปาฏลิบุตรเป็นศูทรโดยกำเนิด เขาต้องไม่แต่งงานกับธิดาผู้งดงามแห่งฤษีมิตราติถิ (मित्रातिथि) =

पाटलिपुत्रस्य राजा जात्य शूद्रः स मा यतेर्मित्रातिथेः सुन्दरीं दहितरं परिणयतु (ยติ = ฤษี, แต่งงานกับ ต้องตามด้วยกรรม (ธิดา)

โนทฺเวชเยชฺชชคฺวาจา  รูกฺษยา ปฺริยวาคฺภเวตฺ ฯ
ปฺราเยณ ปฺริยกรฺมา  ยะ กฺฤปโณ'ปิ หิ เสขฺยเต ฯ

บุคคลไม่ควรทำให้สัตว์โลกกลัว ด้วยวาจาที่หยาบกระ้ด้าง

พึงเป็นผู้มีวาจาไพเราะ โดยมาก บุคคลใด้เป็นผู้มีใจดี บุคคลนั้นจะเป็นคนยากไร้ ย่อมถูกนับถือ แน่นอน

 

...มีอะไรขาดอีกบ้าง

 

เรียบร้อยหมดแล้วค่ะ อิอิ ^-^ 

ที่เหลือก็ขึ้นบทใหม่ได้เลย

ขอบพระคุณอาจารย์มากๆค่ะ

อหํ ตํ  พหุรฺสฺนิหฺยามิ - ประโยคนี้หนูใช้ พหุ ถูกไหมคะ คือ พหุ นี้ต้องสัมพันธ์กับ อหมฺ หรือเปล่าคะ เลยผันพหุเป็นการกที่หนึ่ง เอกพจน์

อาจารย์หมูหายไปไหนคะเนี่ย ฮือๆ

อาจารย์ขา ประโยคนี้หนูทำสนธิถูกไหมคะ ?

ยสฺ นรฎฺ  มม หฺฤทยมฺ อโจรยตฺ   

สสฺ มม กรฺตา ภวติ 

เป็น ...

โย นรฑฺ/นรณฺ มม หฺฤทยมโจรยตฺ

ส มม ภรฺตา ภวติ = ชายคนใดที่ได้ขโมยหัวใจของฉันไปแล้วนั้น, ชายคนนั้นนั่นแหละคือสามีของฉัน

# ( นรฎฺ --> นรฑฺ/นรณฺ  ตรงนี้มาจากกฎ  เมื่อ กฺ ฎฺ ปฺ  อยู่ท้ายคำ  แล้วตามมาด้วยพยัญชนะนาสิก ซึ่งในที่นี้คือ ม

 ก็ให้เปลี่ยนเป็น คฺ ฑฺ พฺ หรือ งฺ ณฺ มฺ  ตามลำดับ  หนูไม่แน่ใจจึงมาถามก่อนค่ะ  )

ขอบคุณค่ะ ..

 

น อภิเษโก , น สํสฺการะ สิํหสฺย กริยเต วเน 

วิกฺรมารฺชิต สตฺวสฺย สฺวยเมว มฤเคนฺ ทฺรตา 

 

บรรทัดบนไม่มีปัญหา จะมีปัญหาก็ตรงอีบรรทัดล่างนี้ล่ะค่ะ

วิกฺรมารฺชิต  --> วิกฺรม + อรฺชิต =  วิกฺรมารฺชิต ( ถูกไหมคะ ?)

วิกฺรม เป็นนามเพศชาย แปลว่า ความกล้าหาญ 

แล้ว อรฺชิต จะแปลว่าอะไรคะ

ถ้าเกิดว่าใช่สองคำนี้จริง  ทำไม วิกฺรม ถึงไม่แจกรูปล่ะคะ

 

สฺวยเมว --> สฺวยมฺ + เอว = สฺวยเมว , แปลว่าด้วยตนเองนั่นแหละ ( ถูกไหมคะ )?

 

ส่วนอีกสองคำนี้หาไม่เจอค่ะ ฮ่าๆ มฤเคนฺ ทฺรตา

รบกวนอีกสักประโยคนะคะอาจารย์  หนูแต่งเอาเอง

อธุนา มลฺลิกาภฺยะ ปฺรกิรฺณาะ สุคนฺธิตา มม ศยนคฺฤหสฺย = ขณะนี้กลิ่นหอมของดอกมะลิฟุ้งกระจายไปทั่วที่ในห้องนอนของฉัน

หนูหาคำกริยา ฟุ้งกระจาย ไม่เจอ เจอแต่คำคุณศัพท์ ปฺรกิรฺณ เลยหยิบมาใช้แทนค่ะ ไม่ทราบว่าจะได้หรือเปล่า 

ขอบคุณค่ะ ..

ขอโทษครับ พรุ่งนี้ (วันอาทิตย์) จะมาตอบให้นะครับ

อาจารย์คะ ถ้าจะใช้คำว่าทั่วอาณาบริเวณห้องนอนของฉัน ต้องใช้คำไหนดีคะ

อหํ ตํ  พหุรฺสฺนิหฺยามิ. ใช้ พหุ เป็นศัพท์ไม่แจกได้เลยครับ

 

โย นรฑฺ/นรณฺ มม หฺฤทยมโจรยตฺ

 

ส มม ภรฺตา ภวติ.

นรฑฺ ศัพท์ไหนครับ

 

น อภิเษโก , น สํสฺการะ สิํหสฺย กริยเต วเน 

วิกฺรมารฺชิต สตฺวสฺย สฺวยเมว มฤเคนฺ ทฺรตา 

 

วิกฺรม สมาส กับ อรฺชิต (ได้รับแล้ว) เป็นคำเดียวกันก่อน แล้วแจก

 

มฺฤเคนฺทฺรตา

บรรทัดบนไม่มีปัญหา จะมีปัญหาก็ตรงอีบรรทัดล่างนี้ล่ะค่ะ

มฺฤเคนฺทฺรตา (ส.) เป็นศัพท์เดี่ยว แยกได้อย่างนี้ มฺฤค - อินฺทฺร - ตา = อำนาจเหนือสัตว์ทั้งปวง
 

กระจายใช้ ปฺรกิรณ (ร ไม่มีจุด) ได้ครับ (प्र-कॄ)

 

บทต่อไปยังไม่ได้ขึ้นเลย อิๆ จะเอาตำราไปอ่านเองก่อนไหมครับ

ไม่เป็นไรค่ะ รออาจารย์ได้ ถ้าหนูอ่านเองไม่รู้เรื่องแน่ๆ ฮ่าๆ ค่อยเป็นค่อยไป ไว้รออาจารย์ว่างๆก็มาอัพได้ค่ะ ^-^

'' โย นรฑฺ/นรณฺ มม หฺฤทยมโจรยตฺ

 ส มม ภรฺตา ภวติ.

นรฑฺ ศัพท์ไหนครับ ? ''

 

มาจาก นรศฺ = ผู้ชายค่ะ

 

 ป.ล. หนูเคยโหลดตำรามาอ่านเองแล้ว ปรากฎไม่รู้เรื่องเจ้าค่ะ.. อิอิ

ต้องรอพึ่งครูนำทางสถานเดียว

ตอนนี้หนูก็หาแปลโศลกอะไรไปเรื่อยเปื่อย

หากปราศจากซึ่งครูเสียแล้ว เรือน้อยลำนี้ก็คงต้องคว่ำลงกลางทะเลแน่ๆค่ะ

เหตุเพราะตอนนี้นั้นตัวหนูก็ลอยคออยู่กลางทะเล

 

ยังไงหนูก็จะรอครูนะคะ สิ้นปีสิ้นใจยังไงก็จะรอ

เพราะครูคือความหวังเดียวของหนูที่จะพาให้ก้าวและสู้กับมันต่อไปให้ถึงฝั่งฝัน ฮือๆ ( ดูพร่ำเพ้อนิดนึง ^-^ )

ศยน อาคาร ปท(ขอบเขต)

เม/มม ศยนาคารปทมฺ ก็น่าจะใช้ครับ 

 

คงไม่ถึงสิ้นปีครัย สิ้นเดือนนี้ก็สอบปลายภาคแล้ว  งานเยอะ อยากจะเล่าอะไรมากมาย แต่ยังหาจังหวะเหมาะไม่ได้

เดี๋ยวโหราฯก็ทวงเรื่องอีกแล้ว อิๆๆ

นรศฺ หาศัพท์ไม่เจอ

หนูลองไปค้น นรศฺ ไม่เจอเหมือนกันค่ะ นี่ก็เอามาจากที่อาจารย์ได้บอกไว้ หนูจดเอาไว้ แปลว่าผู้ชาย แต่ไม่รู้มาจากบทไหน

หนูคิดว่าช่วงสอบปลายภาคของน้องๆอาจารย์จะยุ่งหนักกว่าเดิมเสียอีก เพราะต้องตรวจข้อสอบเยอะ

แต่ถ้าปิดเทอมแล้วก็คงว่างยาวตลอด ถ้าช่วงไหนอาจารย์ว่างก็อัพบทเรียนรวดเดียวสองสามบทเลยก็ได้นะคะ ^-^

ขอบคุณค่ะ

คงจะเป็น นระ ที่สนธิ กับ จ เป็น นรศฺ จ แน่เลย ;)

สำหรับ พหุ ที่เป็นศัพท์ไม่แจก (นิบาต)

หนูลองแต่งประโยคมาแบบนี้ถูกไหมคะ

แล้วก็อยากทราบว่า ถ้าใช้ พหุ แบบศัพท์ไม่แจกรูปกับใช้เป็นคุณศัพท์อันไหนจะนิยมมากกว่ากัน ?

อทฺย อหํ พหุ โภชนานิ ภกฺษามิ = วันนี้ฉันกินอาหารมาก 

 

ขอบคุณค่ะ...

ตายแล้วว เมื่อคืนหนูฝันเห็นอาจารย์หมูด้วยค่ะ ตลกมากเลย ไม่รู้เป็นอะไร สงสัยคงจะคิดถึงครูมาก ฝันจริงๆนะคะ

ก่อนนอนก็ไม่ได้นึกถึงครูด้วย แปลกจัง ฮ่าๆ ^-^

หรือครูจะนิรมาณกายมาสอนหนูในฝันมั้งคะ อิอิ

อาจารย์ดูประโยคนี้ให้หน่อยนะคะว่าพอจะได้ไหม

อหํ โลเก วเรนฺโย ชาคริตํ นาม ชนกํ กามยามิ - หนูรักพ่อคนที่ชื่อชาคริตที่สุดในโลกเลย ?

ขอบคุณค่ะ ..

ฮ้า ฝันหลังหวยออกใช่ไหม

อหํ โลเก ปรมํ ชาคริตํ ชนกํ สฺนิหฺยามิ

รักพ่อ ใช้ สฺนิหฺ ดีกว่า

 

สัปดาห์หน้าสอบทั้งสัปดาห์ หลังจากนั้นคงโอเค

สอนเทวนาครี

สอนเขียนอ่านเทวนาครี หลังจากสอนวรรณคดีเปรียบเทียบ

โอ้ ไฮโซจังค่ะ แล้วน้องๆว่าอย่างไรบ้างคะ หลังจากที่ได้ลองหัดเขียนตัวเทวนาครีแล้ว 

อาจารย์หนูถามนิดนึงค่ะ กับหนังสือสวดมนต์เล่มนี้ อ่านดูจากที่หน้าปกแล้ว ก็เป็นมนต์สันสกฤต แล้วอธิบายเป็นภาษาฮินดีหรือเปล่าค่ะ ไม่ค่อยแน่ใจ 

ขอบคุณค่ะ

 

แล้วก็เล่มนี้ด้วยค่ะ พอดีใกล้จะเทศกาลนวราตรีแล้ว หนูว่าจะสั่งซื้อหนังสือสวดมนต์พวกเทวีมาหาตมยัม หรือทุรคาสัปตศตี หรือทุรคาจัณฑี ที่มีเจ็ดร้อยกว่าโศลกนี้มาเก็บไว้สวดค่ะ จริงๆอยากได้เป็นสันสกฤตทั้งเล่มสวยๆเลย มันดูเข้มขลังและศักดิ์สิทธิ์ดี

แต่ก็ต้องฝากเขาซื้อจากอินเดีย หรือต้องสั่งทาง asia book เอาอะไรประมาณนี้ค่ะ

 

 

'' กามเทโว มม ชีวิตสฺย ศีฆฺรมุตฺถาปเยตฺ ''

ขอกามเทพ(กามเทวสฺ) ได้โปรเสด็จออกไป(อุตฺถาปเยตฺ) จากชีวิศรีฯตของหนู(มม ชีวิตสฺย) โดยเร็วพลัน(ศีฆฺรมฺ)

ประโยคนี้ใช้ได้ไหมคะอาจารย์ หนูเลือกใช้ธาตุ √อุตฺถา (เป็นกริยาบอกเหตุ) แปลว่าออกไป (Get out)

 

ขอบคุณค่ะ ..

 

อุ่ย .. พิมพ์ตกไป เอาใหม่ค่ะ เดี่ยวงง

'' กามเทโว มม ชีวิตสฺย ศีฆฺรมุตฺถาปเยตฺ ''

ขอกามเทพ(กามเทวสฺ) ได้โปรดเสด็จออกไป(อุตฺถาปเยตฺ) จากชีวิตของหนู(มม ชีวิตสฺย) โดยเร็วพลัน(ศีฆฺรมฺ)

ไม่ได้เป็นวิชาอะไรหรอกครับ แค่นักศึกษาสนใจ เลยเขียนให้หัดอ่านเขียนกันนะครับ

แต่ไม่ได้สอนตัวสังโยค ดูก่อนว่าจะสนใจกันแค่ไหน ถ้าสนใจ เทอมหน้าค่อยสอนต่อ ;)

 

หนังสือเล่มแรก มีอธิบายเป็นฮินดีครับ ดูเล่มสวยจัง ปกแดง ตัวทอง

ดีๆ เผื่อฝากซื้อหนังสือมั่ง

 

จากชีวิต ควรใช้ ชีวิตาตฺ/ชีวาตฺ การกที่ 5 ครับ, ที่เหลือถูกแล้ว

รบกวนอาจารย์ช่วยตรวจดูความเรียบร้อยของมนต์บทนี้ด้วยค่ะ หนูลองแปลดูสะเปะสะปะ ไม่รู้ว่าต้องเพิ่มเติมหรือปรับแก้ตรงไหน ก็เชิญอาจารย์แล้วแต่เห็นสมควรเลยค่ะ

 ॐ महाकाल्यै च विद्महे श्मशानवासिन्यै च धीमहि ।

  तन्नो काली प्रचोदयात् 

 

'' โอม.. ข้าขอระลึกถึงเทวีผู้เป็นกาลเวลาอันยิ่งใหญ่(มหากาลี) พระองค์นั้น  ทรงมีสุสานแลป่าช้าเป็นที่ประทับ (ศฺมศานวาสินี)   

 

 ขอเทวีกาลีโปรดประทานแสงสว่างอันล้ำเลิศด้วยเทอญ ''

 

'' ศฺมศานวาสินี '' อันนี้เป็นสมาสใช่ไหมคะ เดาเอา อย่างว่ายังมิได้เรียนเรื่องคำสมาสสักที หนูไม่คุ้นคำว่า '' วาสินี '' เลย แปลว่าอะไรคะ ประทับอยู่,สถิตอยู่ ?

และเป็นคำนามอย่างนี้เหรอคะ ? 

ป. ล  อาจารย์ต้องสัญญากับหนูด้วยนะคะ ว่าปิดเทอมอาจารย์ว่างแล้วต้องมาปั้มบทเรียนล่วงหน้าทีเดียวรวมสองสามบทเลย ให้หายคิดถึง  แม้ว่าอาจารย์จะมีสอนภาคพิเศษเสาร์อาทิตย์ก็ตามที

กราบขอบพระคุณล่วงหน้าในความกรุณาค่ะ ^-^

ธีมหิ เป็นกริยาพหูพจน์ จึงควรแปลว่า ข้าพเจ้าทั้งหลาย หรือ เรา ก็ได้

บรรทัดล่าง

 ขอเทวีกาลีพระองค์นั้น โปรดประทานแสงสว่างอันล้ำเลิศแก่เรา ด้วยเทอญ ''

 

เตรียมบทเรียนไว้แล้วครับ ;)

 

ศฺมศาน + วาสินฺ เป็นสมาส

วาสินี มาจาก วาสฺ + อินฺ แล้วเติม อี เพื่อเป็นเพศหญิง

วสฺ (อยู่, อาศัย) + อินฺ = ผู้อาศัย แต่ทำพฤทธิ์ที่สระก่อน. สระ อะ ทำพฤทธิ์ ก็ได้ อา 

การสมาส แบบง่ายๆ ก็คือ การเชื่อมคำนามเข้าด้วยกัน คำหน้าไม่เปลี่ยนวิภักติ คำหลังเป็นตัวเปลี่ยน

ศฺมศาน + วาสินฺ เป็นสมาส

วาสินี มาจาก วาสฺ + อินฺ แล้วเติม อี เพื่อเป็นเพศหญิง

วสฺ (อยู่, อาศัย) + อินฺ = ผู้อาศัย แต่ทำพฤทธิ์ที่สระก่อน. สระ อะ ทำพฤทธิ์ ก็ได้ อา  

 

หูยย ชัดเจนมากค่ะ หนูชอบคำอธิบายถึงรากถึงโคนแบบนี้ ขอบพระคุณนะคะ 

หนูไปแต่งประโยคมา อาจารย์ช่วยดูให้หน่อยว่ามันแปลกๆไหมคะ

 

'' อหํ ภวนฺ ปีโน นโร นิจฺฉามิน - ฉัน (อหมฺ) ไม่อยาก (น อิจฺฉามิ) เป็น (ภวนฺ) คนอ้วน (ปีนสฺ นรสฺ)

 

''ไม่อยากเป็น'' คำนี้หนูสงสัยว่าต้องเขียนอย่างไรดี ในประโยคนี้เลยแยกแบบมาสองคำ คือใช้เป็นกริยาหลักและปัจจัยกฤตค่ะ

ทธานา กรปทฺมาภฺยามกฺษมาลา กมณฺฑลุ ! 

เทวี ปฺรสีทตุ มยิ พฺรหฺมฺจารินฺยนุตมา !!

อันนี้ยากจังเลยค่ะอาจารย์ เห็นแล้วท้อเลย แปลแบบเดาๆได้นิดหน่อย

 กรปทฺมาภฺยามกฺษมาลา กมณฺฑลุ พระกรทั้งสองนั้นทรงถือหม้อน้ำกมัณฑลุ ดอกบัว และสายประคำ ?

ท่อนนี้เป็นสมาสเหรอคะ ยาวจัง ทธานา นี้แปลว่าอะไรมาจากอันไหนคะ กับ พฺรหฺมฺจารินฺยนุตมา อันนี้หนูก็แปลไม่ได้ค่ะ

ฮือๆ เซ็งเลย

 

 

มีมาอีกแล้วค่ะ หึๆ 

त्वं कालरात्रिस्त्वं शांता त्वमेव प्रकृतिः परा ॥

'' พระองค์คือกาลราตรี พระองค์คือความสงบ พระองค์เป็นเหมือนดั่งประกฤติอันสูงสุด''

ปัญหาอยู่ที่คำว่า ''ตฺวเมว'' จริงๆหนูเจอบ่อยมากในหนังสือสวดมนต์ค่ะ แต่ไม่เคยสงสัยจนได้มาแปลเอง

ข้องใจว่า มันมาจากสรรพนามบุรุษที่สอง เอกพจน์ ''ตฺวมฺ'' แล้วสนธิกับ ''อิว'' ที่แปลว่าเหมือนดั่งหรือเปล่าคะ 

จึงแปลได้ว่าท่านเป็นเหมือนดั่ง แต่ก็ไม่ได้อีกเพราะ ตฺวมฺ + อิว มันก็ต้องเป็น ตฺวมิว ใช่ไหมคะ - -"

ถ้าอย่างนั้นก็เหลือทางเดียวคือ ตฺวมฺ + เอว (เช่นนั้นแหละ,จริงๆ) = แล้วจะแปลออกมายังไงอ่ะคะ ?

 

อันนี้คือบทสวดมนต์สวดมนต์ที่หนูใช้อยู่ทุกวี่วัน 

त्वमेव माता च पिता त्वमेव, त्वमेव बन्धुश्च सखा त्वमेव, त्वमेव विद्या, द्रविणं त्वमेव, त्वमेव सर्वं ममः देवदेवा ||

พระองค์คือมารดาแลบิดา

พระองค์คือญาติพี่น้องแลมิตร

พระองค์คือความรู้แลทรัพย์สิน

พระองค์คือสรรพสิ่งทั้งหลายนั่นเทียว

พระองค์คือเทวะแห่งเทวะ

 

อาจารย์เจอสมาสอีกแล้วค่ะ ''วนปฺริยวาสินี'' แปลว่า ผู้อาศัยอยู่ในป่าอันเป็นที่โปรดปรานแบบนี้ได้ไหมคะ ? 

อาจารย์รบกวนหน่อยค่ะ หนูสับสน

'' โอมฺ กาตฺยานาย วิทฺมเห กนฺยากุมารี  ธีมหี ''

 โอม.. ข้าขอระลึกถึงเทวีผู้เป็นธิดาของมหาฤษีกาตยยัน ** 

** แล้วเราก็มาใส่เชิงอรรถไปว่าเป็นอวตารปางที่ 6 ในนวทุรคา คือพระทุรคาอวตารลงมาเกิดเป็นธิดาของฤษีกาตยยัน เลยมีพระนามว่า กาตยายินี คือผู้เกิดแต่วงศ์กะติหรือกาตยะ

มีบางท่านแนะนำว่าให้หนูใส่พระนามทับเข้าไปเลยเช่น ''โอม..ข้าขอระลึกถึงเทวีกาตยายินี/กาตยะยานี''

แต่หนูเห็นว่ามันมิถูกต้องตามไวยากรณ์มากนัก เพราะลองเปิดพจนานุกรมดูแล้ว กาตฺยาน แปลว่า descendant of kati

อาจารย์เห็นว่าอย่างไรคะ รบกวนช่วยแนะนำที

ขอบพระคุณค่ะ 

อาจารย์ขาหนูลองนั่งเพ่งไปเพ่งมาดูประโยคนี้แล้วก็ไม่ยาก เลยลองแปลมาดูค่ะ พอได้ไหมเอ่ย ?

त्वं कालरात्रिस्त्वं शांता त्वमेव प्रकृतिः परा ॥

''พระองค์คือกาลราตรี (กาลราตฺริสฺ) คือสันติสุข (ศำตา) แลคือธรรมชาติอันสูงสุดนั่นเทียว (ปฺรกฺฤติะ ปรา) ''

 

กร กับ ปทฺม   สมาสกันครับ เป็น กรปทฺม จะแปลว่า ผู้มีดอกบัวในมือก็ได้ หรือแปลว่าผู้ถือดอกบัวก็ได้ครับ

กมณฺฑลู ตรงนี้ เป็นสระอูนะครับ  คงจะใช้เป็นเพศหญิง

พฺรหฺมจาร + อินฺ + อี = พฺรหฺมจารินี 

อนุตมา คำนี้ไม่แน่ใจ อาจเป็น อนุตฺตมา คือ ผู้ประเสริฐสุด เพศหญิง

 

เดี๋ยวจะทยอยตอบนะครับ อันไหนลืมก็เตือนแล้วกัน

 

ทธานา มาจากธาตุ  ธา ถือ ในที่นี้มาใช้เป็นนาม ผู้ถือแล้ว

 

อหํ ปีโน นโร ภวิตุมฺ นิจฺฉามิ - ใช้ ภวิตุมฺ (ภู ธาตุ) ในความหมายว่า ที่จะเป็น ต่อจากกริยาหลัก(อาขยาต) คำที่ลงตุมฺ ไม่ต้องแจก

 

อาจารย์คะ หนูสงสัยพวกคำนามที่ลงท้ายด้วย - อินี ทั้งหลายแหล่ค่ะ

คือเราจะรู้ได้อย่างไรว่ามันเป็นปัจจัยตัทธิต หรือว่าแต่เดิมมันปรากฎเป็นรูป -อีนี นั้นอยู่แล้วเช่น

 ''ยามินี'' แปลว่า กลางคืน (อันนี้เป็นคำนามสำเร็จมาแบบนี้อยู่แล้ว)

กับ ''พฺรหฺมจาริณี''  ของอาจารย์  อันนี้ก็สร้างจากปัจจัยตัทธิต

แล้วก็มีอีกกรณีหนึ่งเช่นคำว่า วาสินี ที่อาจารย์เคยสอนมาว่าสร้างจากธาตุ วสฺ 

 

สรุปแล้วเราจะดูอย่างไรคะ ว่าคำที่ลงท้ายด้วย -อินี ทั้งหลายนั้น

ปรากฎรูปเดิมของคำแบบนี้อยู่แล้ว หรือเกิดจากการสร้างจากปัจจัยตัทธิต

และจtดูได้อย่างไรว่ามันสร้างมาจากคำไหนธาตุไหน

เพราะเมื่อเห็นเป็นคำสมบูรณ์แบบนี้อยู่แล้ว มันก็เหมือนๆกันไปหมดทุกคำเลยค่ะ

คำถามหนูอาจจะดูงงๆนะคะ เพราะเกิดจากความไม่เข้าใจ เลยอาจจะเรียบเรียงมิถูกเท่าไหร่ค่ะ อิอิ

 

รู้สึกว่าระบบจะมีปัญหาสักอย่าง เดี๋ยวต้องขึ้นบทใหม่แล้ว

จะได้แสดงความเห็นสะดวก

การเติม อินฺ แล้ว เติม อี เพื่อเป็นเพศหญิงนั้น พิจารณาจาก

๑. คำที่เราเคยรู้จัก

๒. ตรวจสอบจากพจนานุกรม

เปิดตัวตรงก่อน ถ้าไม่มีก็น่าจะเป็นปัจจัยตัทธิต เท่านั้นเองครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท