รูปแบบการบริหารการจัดกิจกรรมลูกเสือในสถานศึกษา


                        

รูปแบบการบริหารการจัดกิจกรรมลูกเสือในสถานศึกษา

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์  เขต 1

                    โดย  นายขจรเกียรติ  เครือประดับ  ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ  (กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน)

                                                              ...................................................

                                                                     OSCoPBDR  Model

                                                    ( โอ – เอส – โค – พี – บี – ดี – อาร์ โมเดล )

Oการจัดหน่วยงาน  (Organizing)  หมายถึง การกำหนดโครงสร้างของหน่วยงาน  ลูกเสือในสถานศึกษา  ได้แก่  กลุ่มลูกเสือ  กองลูกเสือประเภทต่างๆ  การแบ่งส่วนงานให้เหมาะสมกับจำนวนลูกเสือ เนตรนารี  ในสังกัด  การจัดสายงาน  ตำแหน่งต่างๆ  และอำนาจหน้าที่ให้ชัดเจน  ตลอดจนจัดสถานที่ในการจัดกิจกรรมลูกเสืออย่างเหมาะสม  เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปได้ตามวัตถุประสงค์

  Sการจัดบุคลากร  (Staffing)  หมายถึง  การบริหารด้านบุคลากรลูกเสือ  อันได้แก่  การจัดอัตรากำลัง  การสรรหาและเสนอขอแต่งตั้งผู้บังคับบัญชาลูกเสือ  การสนับสนุนและพัฒนาบุคลากรลูกเสือ  การเสริมสร้างบรรยากาศการทำงานที่ดี  การนิเทศติดตามประเมินผลการทำงาน  การให้พ้นจากตำแหน่ง  และการจัดทำทะเบียนบุคลากรลูกเสือในสังกัด

  Coการประสานงาน  (Coordinating)  หมายถึง  การประสานกิจกรรมด้านต่างๆ  ที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมลูกเสือของสถานศึกษา  การกำหนดปฏิทินการจัดกิจกรรมลูกเสือ  การระดมทรัพยากรในท้องถิ่น  การประชาสัมพันธ์  และการมีส่วนร่วมของบุคลากรกับชุมชน  เพื่อให้เกิดความร่วมมือที่ดี  และดำเนินไปสู่จุดหมายปลายทางเดียวกัน

  Pการวางแผน  (Planning)  หมายถึง  การศึกษา  วิเคราะห์  นโยบายในทุกระดับ  เอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้อง  ข้อมูลสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการ  ในการจัดกิจกรรมลูกเสือของสถานศึกษา  การกำหนดวางโครงการ  และแผนปฏิบัติงานไว้ล่วงหน้า  ว่าจะต้องทำอะไรบ้าง  และทำอย่างไร  เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย  หรือวัตถุประสงค์ของหน่วยงานที่วางไว้  วางแผนการนิเทศติดตาม  ปฏิบัติตามแผนหรือโครงการ ที่วางไว้  ประเมินแผนและโครงการ  นำผลการประเมินมาใช้ในการปรับปรุงหรือพัฒนาการจัดกิจกรรมลูกเสือของสถานศึกษา

  Bการงบประมาณ  (Budgeting)  หมายถึง  การจัดหางบประมาณ  การสอบถามความต้องการการจัดสรรงบประมาณ  การจัดทำบัญชีการใช้จ่ายเงิน  การควบคุมตรวจสอบทางด้านการเงินและทรัพย์สิน  และการประเมินผลการใช้งบประมาณในการจัดกิจกรรมลูกเสือของสถานศึกษา

  D :  การอำนวยการ  (Directing)หมายถึง การตัดสินใจ  การวินิจฉัยสั่งการ  การบังคับบัญชา  การใช้ข้อมูลข่าวสารประกอบการพิจารณาสั่งการ  และการควบคุมดูแลการจัดกิจกรรมลูกเสือของบุคลากรลูกเสือสถานศึกษา

  R : การรายงาน  (Reporting)  หมายถึง  การรายงานผลการจัดกิจกรรมลูกเสือในสถานศึกษา  เพื่อให้ผู้บริหาร  สมาชิกของหน่วยงานลูกเสือ  และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้ทราบความเคลื่อนไหว  และความก้าวหน้าของการจัดกิจกรรมลูกเสือของสถานศึกษาอย่างสม่ำเสมอ

                                                            ...................................................


หมายเลขบันทึก: 541537เขียนเมื่อ 5 กรกฎาคม 2013 23:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กรกฎาคม 2013 20:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)



หวัดดีท่าน ศน.ต้น ดีใจมาก ๆ ที่ได้พบเกลอเก่าในโกทูโน ยินดีต้อนรับจ้าาา


สวัสดีค่ะ  

เย้...ดีใจจัง  ไม่คิดว่า ท่านจะทำได้รวดเร็วขนาดนี้ สุดยอดเลยค่ะ

เป็นกำลังใจให้สำหรับบันทึกต่อ ๆ ไปนะคะ

ยินดีต้อนรับสู่บ้าน gotoknow ค่ะ

ขอบคุณที่ให้ความรู้ด้านลูกเสือค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท