การประชุมปฏิบัติการเชิงลึก (Deepening Workshop) กลุ่มภาคเหนือ โครงการจัดทำแนวทางส่งเสริมองค์ความรู้ ด้านการท่องเที่ยวและกีฬาเชิงบูรณาการรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน


สวัสดีครับ ชาว blog

วันที่ 5 กรกฎาคม 2556 ผมเเละทีมงานมาจัดประชุมปฏิบัติการเชิงลึก (Deepening Workshop) กลุ่มภาคเหนือ  โครงการจัดทำแนวทางส่งเสริมองค์ความรู้ ด้านการท่องเที่ยวและกีฬาเชิงบูรณาการรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (จ.ลำปาง)

 เพื่อเป็นการเผยแพร่แนวทางส่งเสริมองค์ความรู้ เป็นการให้ความรู้ในรูปเเบบการเสวนา เเลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการเรียนรู้สามารถนำข้อมูลที่ได้จากการสัมมนาและสร้างความเข้มเเข็งของเครือข่าย ด้านการท่องเที่ยวเเละกีฬามาสร้างมูลค่าเพื่อให้ประเทศไทยได้รับประโยชน์จาก AEC ได้เต็มที่

ภาคเหนือจัดที่จังหวัดลำปาง ประกอบด้วย  ลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ เชียงราย แพร่ พะเยา น่าน แม่ฮ่องสอน

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจัดที่จังหวัดอุบลราชธานี ประกอบด้วย อุบลราชธานี  ยโสธร กาฬสินธุ์ มหาสารคาม อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์  มุกดาหาร

ภาคใต้จัดที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประกอบด้วย สุราษฎร์ธานี สงขลา ชุมพร พัทลุง นครศรีธรรมราช

ภาคตะวันออกจัดที่จังหวัดชลบุรี ประกอบด้วย ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ปราจีนบุรี สระแก้ว

ภาคกลางที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยกรุงเทพฯ และจังหวัดในเขตภาคกลาง

ผมจึงเก็บภาพบรรยากาศเเละแนวคิดของการประชุมในวันนี้มาฝากครับเเละผมจะรายงานบรรยากาศในการจัด Deepening Workshop ในครั้งต่อๆไปมาฝากทุกครั้งครับ

                                                                                                       จีระ หงส์ลดารมภ์

 

 

หมายเลขบันทึก: 541489เขียนเมื่อ 5 กรกฎาคม 2013 12:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 14:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ทีมงานวิชาการ Chiraacademy

สรุปประเด็นย่อที่น่าสนใจจากการประชุมปฏิบัติการเชิงลึก ((Deepening Workshop

กลุ่มภาคเหนือ

กล่าวเปิด และปาฐกถาพิเศษ

เรื่อง “โอกาสและความท้าทายของท่องเที่ยวและกีฬาไทยในเวทีอาเซียน”

โดย นายขจร วีระใจ

ผู้ตรวจราชการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการส่งเสริมการท่องเที่ยวซึ่งเป็นภาคอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้ สร้างงาน สร้างอาชีพและกระจายรายได้ ให้แก่ประชาชน กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ซึ่งได้รับการมอบนโยบายจากรัฐบาลในการจัดทำยุทธศาสตร์บูรณาการการท่องเที่ยวเพื่อสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวสองล้านล้านบาท

ในปี 2558 ซึ่งเป็นปีที่ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้ให้ความสำคัญในการเตรียมความพร้อมให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้ตระหนักถึงการปรับตัวเพื่อรองรับสภาพการเปลี่ยนแปลงของการท่องเที่ยวและกีฬาไทยในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน จึงได้มีการจัดการประชุมปฏิบัติการในวันนี้ขึ้น โดยมุ่งหวังให้เป็นกระบวนการหนึ่งในการส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวและกีฬาเชิงบูรณาการรองรับ การเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ณ วันนี้คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า การที่ประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558 ถือเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญที่จะเปลี่ยนแปลงสภาพเศรษฐกิจและสังคมไทยให้พัฒนาก้าวไกล การรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนทำให้ขนาดของเศรษฐกิจไทยเปลี่ยนแปลงไปจากการรองรับประชากรขนาด 66 ล้านคน เพิ่มเป็น 600 ล้านคน และ เราคงต้องมองถึงโอกาสการเติบโตของการเดินทางท่องเที่ยว และธุรกิจที่ขยายไปถึงจีน เกาหลี ญี่ปุ่น และประเทศในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก ตลาดการบริโภคจะใหญ่มากขึ้นไปอีก ประเทศไทยนับว่าได้เปรียบในเรื่องของการท่องเที่ยว เนื่องจากมีความแข็งแกร่งในเรื่องของความหลากหลายและงดงามของแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรม อัธยาศัยไมตรี สิ่งอำนวยความสะดวก ในขณะเดียวกันการรวมตัวของประชาคมก็มีข้อตกลงในการเป็นตลาดการผลิตตลาดเดียว โดยจะมีการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการ การลงทุน แรงงานฝีมือและเงินทุน อย่างมีเสรีมากขึ้น ซึ่งสิ่งที่จะกระทบต่อภาคการท่องเที่ยวโดยตรง ผมมองว่ามี 3 เรื่องใหญ่ๆ คือ ประการแรก เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงาน การแย่งชิงแรงงานฝีมือในภาคบริการจะมากขึ้น ผู้ที่ชำนาญภาษาต่างประเทศ และมีความชำนาญงานจะมีโอกาสในการทำงานมากกว่า ประการที่สอง การเคลื่อนย้ายทุน ประเทศที่มีทุนมากจะเข้ามาแข่งขันกับธุรกิจภายในประเทศมากขึ้น ในขณะเดียวกันผู้ประกอบการไทยก็จะมีโอกาสในการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น ในปัจจุบันสมาชิกอาเซียนสามารถถือครองหุ้นได้ 70% ได้แก่ ธุรกิจบริการ ไอที ท่องเที่ยว การบิน การบริการสุขภาพ หากไทยไม่มีการพัฒนาเพื่อรับมือกับการไหลเข้ามาของทุนต่างชาติ จะทำให้ภาคบริการของไทยไม่สามารถแข่งขันได้ และมีฐานะเป็นเพียงแหล่งลงทุนที่ได้ประโยชน์จากการจ้างงานเท่านั้น ประการที่สาม เรื่องของการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวระหว่างประเทศในอาเซียนด้วยกันเอง เราจึงต้องเตรียมความพร้อมในการแข่งขันเพื่อรักษาส่วนแบ่งการตลาดท่องเที่ยวไว้ให้ได้ ทั้งหมดนี้ คือ ความท้าทายที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน

ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง โครงการจัดทำแนวทางส่งเสริมองค์ความรู้
ด้านการท่องเที่ยวและกีฬาเชิงบูรณาการรองรับการเปิดเสรีประชาคม-เศรษฐกิจอาเซียน

(ความเป็นมา และประเด็นสำคัญด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์)

โดย ศ.ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

ประเด็นสำคัญ

1. Process โครงการนี้เป็น Process ต่อเนื่องจากโครงการพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวและกีฬาเพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

2. การเรียนรู้ การเป็นอาเซียน การมีท่องเที่ยวและกีฬา สิ่งสำคัญคือเราจะฉกฉวยโอกาสได้อย่างไร

3. ประเด็นการวิจัยมีเรื่องใหญ่ 4 เรื่องที่สำคัญ

1. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทุนมนุษย์ต้องพัฒนา 4 กลุ่มด้วยกัน

- ผู้ประกอบการ

- ข้าราชการ

- นักวิชาการ

- ท้องถิ่น และชุมชน

การวิจัยต้องใช้ 2 R’s คือ Reality และ Relevance และเมื่อมี Relevance ต้องมี Impact ด้วย

การเรียนในวันนี้ต้อง Do what we know

2. Sports Tourism เป็นอะไรที่สำคัญที่สุด อย่าแยกระหว่างท่องเที่ยวและกีฬา

3. Community Base and Cultural Tourism ซึ่งอาจหมายถึง Agro Tourism ,Health , Adventure Tourism

-ดังนั้นในอนาคตเราจึงต้องทำให้ยั่งยืน และสามารถ Generate Income ที่เรียกว่า Lasting ซึ่งอาจหมายถึง Green Tourism และ Growth

-ต้องเปลี่ยน Quantity เป็น Quality

-ถ้าเราไม่วางการท่องเที่ยวใหม่ ๆ ให้เป็น Community Base และ Cultural Base เราจะมีปัญหาในเมืองใหญ่ ๆ อาจเกิด Pollution เต็มไปหมด เราต้องให้คนที่มาท่องเที่ยวในโลกกระจายไปยังพื้นที่ต่าง ๆ อย่างฝรั่งเศสมีนักท่องเที่ยวอยู่ 80 ล้านคนต่อปี แล้วไปที่ไหน ไม่ได้ไปปารีสอย่างเดียว ไปดูจุดเล็ก ๆ ไปดูวัฒนธรรม ไปดูวิถีชีวิต ไปดูสิ่งที่เป็นมรดกของเรา ซึ่งวันนี้

-การมาในห้องนี้คือให้ทุกคน เป็นสมาชิก และProcess อันสุดท้ายคือไม่ใช่เราจัดสัมมนาสนุก ๆ จะเก็บ Record ของทุกท่านไว้ และขอให้ทุกท่านอยู่อย่างต่อเนื่อง สามารถทำงานร่วมกันได้

-สำคัญที่สุดคือ ในวันนี้ ได้มาทำ Deepening Workshop เป็น Cluster แรก แต่ทำ Pre-planning มาแล้วทุกภาค แปลว่ามี Pre-Planning แล้วเราสามารถวางแผนต่อเนื่อง และสร้าง Network ซึ่งกันและกัน และต้องสร้าง 3 V

1. Value Added คือ เพิ่มมูลค่า หมายถึงว่าน่าจะผนึกกำลังคิดอะไรที่หลุดโลก ใหม่ ๆ หรือแปลก ๆ ทำให้ Enhance กีฬาและท่องเที่ยว

2. Value Creation น่าเป็นประเด็นที่ถกเถียงกัน เป็นความคิดสร้างสรรค์ แต่ต้องมีประเด็นที่อยู่ภายใต้ความซื่อสัตย์ ใฝ่รู้ มีทุนทางจริยธรรม มีทุนทางปัญญา (เกิดจากการเห็นปัญหา และแก้ ๆ เรียนรู้จากมัน)

3. Value Diversity สิ่งที่ยากที่สุดคือเอาชนะอุปสรรค ในความคิดที่หลากหลาย โดยเฉพาะการเข้าสู่อาเซียน มีความหลากหลายทางความคิด วัฒนธรรม อาหาร กีฬา Diversity ไม่ได้เห็นว่าเศรษฐีต้องดีกว่ายาจก แต่เราต้องรู้จักการให้ศักดิ์ศรี และให้เกียรติซึ่งกันและกัน สร้างมูลค่าให้เกิดขึ้น

ประเด็นที่ค้นพบตอน Pre-Planning คือการพัฒนาคุณภาพ Customer ที่อยากมาแล้วเข้าไปที่ท่องเที่ยวและชุมชน มีมาตรฐานโลกที่อยากมา นักวิชาการในห้องนี้ต้องมีบทบาททำวิจัยและนำไปใช้ได้ เน้นการปะทะกับความจริงนอกมหาวิทยาลัย และในมหาวิทยาลัยต้องไม่ใช้ ลักษณะ Silo ควรเลียนแบบอย่างลีโอนาร์โด เดอร์วินซี คือการมองอะไรเป็นองค์รวม ต้องเน้นการ Contribute มีส่วนร่วมการสร้างให้สังคมเกิดขึ้น เราจะใช้โอกาสที่มี AEC กระเด้งไปสู่ความเป็นเลิศได้จริงหรือไม่

คนในห้องนี้ให้ลองศึกษาว่าอะไรที่ไม่สำเร็จ ไม่ดีเราพยายามปรับปรุงให้ดีขึ้นจะชนะ ต้องเป็น Life Long Learning และดูตัวอย่างไคเซนที่พูดว่า Continuous Improvement

ขอให้การท่องเที่ยวและกีฬาในภาคเหนือไปสู่จุดที่สร้าง 3 V ให้ได้ เพราะ 3 V คือ High Performance

การอภิปราย เรื่อง “องค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวและกีฬาไทยรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน”

ยุทธศาสตร์ของการท่องเที่ยวไทย วิถีการท่องเที่ยวชุมชน และการพัฒนาอย่างยั่งยืน

โดย นายภราเดช พยัฆวิเชียร

ประธานสถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน

-แหล่งท่องเที่ยวที่ดีที่สุดในโลกอยู่ที่ไหน – ที่ ที่มีความสุขที่สุดในโลกคือแหล่งท่องเที่ยวที่ดีที่สุด ประเด็นคือทำอย่างไรให้คนของเรามีความสุข ถ้าคนไม่มีความสุข ก็ยากที่การท่องเที่ยวจะมีความสุขได้

-ปีที่แล้วมีนักท่องเที่ยว 1,035 ล้านคน คาดว่าในปี 2020 จะมีถึง 1.6 ล้านคน เรื่องเงิน ปี 2553 นักท่องเที่ยวใช้เงินระหว่างประเทศ 9,925 เหรียญสหรัฐ ไม่รวมค่าเครื่องบินระหว่างประเทศ คาดว่าในปี 2563 จะเป็น 2 ล้านล้านดอลล่าร์ ภายใน 10 ปี หรือที่ง่าย ๆ ค่าเฉลี่ยธุรกิจการท่องเที่ยวระหว่างประเทศวันละ 5 พันล้านบาท แสดงให้เห็นว่าการตลาดไม่ใช่ปัญหาตราบที่เห็นสังคมโลกเป็นอย่างนี้ ดังนั้นสิ่งที่ทุกคนแสวงหาคือการพักผ่อนหย่อนใจ การแสวงหาธรรมชาติ ปัญหาไม่ได้อยู่ที่การตลาด อยู่ที่การทำท่องเที่ยว เราต้องการเพียงคนที่พอดี คนที่ต้องการตลอดปี

-โครงสร้างประชากร นักท่องเที่ยวมีไม่กี่กลุ่ม แต่ปัจจุบันมีหลาย Generation มีความต้องการที่หลากหลาย ทำให้สามารถสร้างโอกาสทางการท่องเที่ยวและกีฬา เช่น กีฬา Extreme ต่าง ๆ ทางด้านการบินสามารถจุคนได้มากสุด 580 คน เรือเดินสมุทรที่ใหญ่ที่สุดประมาณ 5,000 คนต่อลำ ต่อครั้ง ทางด้านเทคโนโลยี เปลี่ยนมิติการรับรู้ข้อมูลโดยสิ้นเชิง เรื่องสภาวะแวดล้อม เช่นโลกร้อนเกิดเรือนกระจก และคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นสิ่งที่กีดกันเรียกว่า Non Tariff Barrier หลายประเทศเริ่มมีคาร์บอน Tax ต้นทุนสูงขึ้น ไม่สนับสนุนคนเดินทางไกล ถ้าไม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม จะมีปัญหา ภูมิศาสตร์ทางการเมือง มีการรวมตัวกันในอาเซียน เราจำเป็นต้องใช้กติกากลาง ซึ่งเป็นทั้งวิกฤติและโอกาส ดังนั้นการแข่งขันที่ดีที่สุดคือการแข่งขันกับตัวเอง ต้องยกระดับตัวเองให้ได้ ไม่งั้นเราไม่สามารถสู้ใครได้เลย ตัวอย่างลำปางยังอยู่ในสภาพที่ดี แต่ถ้าไปตามคนอื่นบางครั้งอาจทำให้ศักยภาพลดลง ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงที่ดีต้องไม่ทำให้เกิดผลกระทบที่ทำลายความยั่งยืน

-การเปลี่ยนแปลงนำสู่นักท่องเที่ยวเปิดกว้างรับความแตกต่างมากขึ้น เพศหญิงมากขึ้น ช่วงอายุมากขึ้น จำนวนครั้งการเดินทางมากขึ้น ค่าใช้จ่ายต่อครั้งลดลง เนื่องจากรับรู้ข้อมูลข่าวสารมากขึ้น สนใจเรื่องสุขภาพอนามัย และเทคโนโลยีมากขึ้น เช่นท่องเที่ยวเชิงชุมชนที่เชียงใหม่มีลูกค้าเข้าตลอดโดยผ่านทางเวปไซด์ ไม่ต้องโฆษณามากเลย

-ภายใน 5 ปีข้างหน้าไม่มีนักท่องเที่ยวสาขาใดไม่ถูกกำหนดมาตรฐาน เพราะไม่ว่าจะเป็นเรื่องการบริการ หรือสิ่งแวดล้อมจะต้องมีการกำหนดมาตรฐานเพื่อแสดงเรื่องการรักษาสู่ความยั่งยืน ดังนั้น การตลาดไม่ใช่ปัญหา คาดว่าในปี 2558 จะมีนักท่องเที่ยวสูงถึง 32 ล้านคน ซึ่งน้อยมากเมื่อเทียบกับทั้งโลก 1,600 ล้านคน ปัญหาอยู่ที่เราจะรับการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เมื่อปี 1997 มีนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ 7 ล้านคน จังหวัดที่ได้นักท่องเที่ยวเกิน 1 ล้านคนมี 7 จังหวัดกระจายที่เชียงใหม่ อยุธยา กรุงเทพฯ ชลบุรี สุราษฎร์ กระบี่ ถัดมาอีก 10 ปี ปี 2007 นักท่องเที่ยวเพิ่มเป็น 14 ล้านคน การกระจายตัวอยู่ที่ 14 จังหวัดนี้เท่านั้น และเกิน 1 ล้านคนมี 7 จังหวัด และในปัจจุบันนักท่องเที่ยวเพิ่มเป็น 20 ล้านคน แต่กระจายตัวอยู่ที่ 7 จังหวัดเดิม แสดงให้เห็นว่าถ้าเป็นอย่างนี้ จะรองรับได้หรือไม่ ประเทศไทยจะแก้ปัญหาตรงนี้ได้อย่างไร

วิธีคือ 1. สร้างแหล่งท่องเที่ยวให้มีคุณภาพและมีมาตรฐานเข้าสู่ระบบสากลให้ได้ วิธีการคือ ปรับวิธีคิดในเชิงยุทธศาสตร์ คือต้องกำหนดเป้าหมาย หรือยุทธศาสตร์ ไม่ใช่เอาเชิงปริมาณที่มาก ๆ เพราะประเทศเราไม่ใหญ่พอ ไม่มีความพร้อมพอ

2. กำหนดนักท่องเที่ยวที่เหมาะสม กำหนดเป้าหมาย คุณภาพ สร้างมูลค่าเพิ่มพัฒนาจากข้อจำกัดของทรัพยากร มีมากน้อยแค่ไหน เหมาะกับคนอย่างไร เหมาะกับกลุ่มตลาดแบบใด พัฒนาสินค้าให้เหมาะสมกับกลุ่มที่มีคุณภาพ

3. การวางแผนพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน ยกตัวอย่างMichael Porter ต้องสร้างแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยวและมีคนมา จึงเกิดตัวอย่างที่เลียนแบบสิงคโปร์คือ Night Safari ลงทุนไป 2,000 กว่าล้านบาท แต่ปัจจุบันยังขาดทุนอยู่ ต่างกับตลาดสามชุก ที่ไม่ต้องไปตั้งองค์กรใหม่ ไม่ต้องทำลายธรรมชาติ ไม่ต้องไปทะเลาะกับชาวบ้าน แต่สร้างการมีส่วนร่วมจากชุมชน เพียงแค่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่เหมาะสม ก็สามารถสร้างรายได้เข้าสู่ชุมชนได้อย่างดี ประเด็นคือโครงการจะเกิดผล ต้องทำงานร่วมกับท้องถิ่นให้ได้ แต่ที่ผ่านมาเป็นลักษณะเป้าหมายจากบนลงล่าง ชาวบ้านเห็นด้วยบ้าง ไม่เห็นด้วยบ้าง ผลจึงออกมาไม่ดีเท่าที่ควร สิ่งที่ควรทำคือควรเน้นการมีส่วนร่วมจากชาวบ้าน การคำนึงถึงศักยภาพของท้องถิ่น และทรัพยากรที่มีอยู่ ทำการวิเคราะห์ศึกษา ก่อน แล้วจึงค่อยอิงกับแผนเชิงนโยบายของรัฐบาล จะทำให้สนองตอบความต้องการของชุมชนได้อย่างดี

การสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นระหว่าง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมให้เป็นดุลยภาพเน้นการบูรณาการทั้งหมด คิดตั้งแต่ต้น คือต้องมี Leadership ที่ดี และต้องมี Political View ของฝ่ายรัฐ

การสร้างการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

1. เศรษฐกิจยั่งยืน

เป้าหมายคือ 1.การสร้างงานที่มั่นคง การพัฒนาการท่องเที่ยวเกิดการจ้างงานที่มั่นคง 2. การกระจายรายได้ทั่วถึงและเป็นธรรม เป็นการแก้ปัญหาความยากจน เพราะคนที่ยากจนส่วนใหญ่อยู่ที่ภาคชนบทของประเทศ ในภาคเกษตรซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ผลิตโดยพึ่งพากระบวนการผลิตเท่านั้น ซึ่งเราสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มจากกระบวนการผลิตให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว

กรุงเทพมหานครมีนักท่องเที่ยวมากกว่ากรุงปารีส ปารีสมีนักท่องเที่ยวปีละ 80 ล้านคน ในขณะกรุงเทพฯมี 20 ล้านคน แสดงถึงกรุงปารีสมีนักท่องเที่ยวที่ไม่กระจุกตัว ปารีสมีพื้นที่เท่ากับประเทศไทยแต่สามารถจัดการการท่องเที่ยวได้ แสดงถึงว่าฝรั่งเศสสามารถจัดการการท่องเที่ยวได้

หัวใจสำคัญคือ

1. การกระจายตัว และใช้การท่องเที่ยวไปแก้ไขปัญหาความยากจน สามารถส่งผลไปสู่ภาคประชาชน

2. ส่งเสริมเศรษฐกิจหลักของชุมชน ต้องมีตัวชี้วัดในระดับเศรษฐกิจ และระดับอนุภาค

2. สังคมที่ยั่งยืนไม่มุ่งพิจารณาสินค้าทางศิลปวัฒนธรรม สังคม เป็นสินค้าทางการท่องเที่ยว แต่ใช้การท่องเที่ยวเป็นการรักษา ฟื้นฟู และส่งเสริมวัฒนธรรมทางสังคม เช่น เทียนพรรษา โคมลอย

3. ส่งเสริมให้การท่องเที่ยวเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ เพื่อสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้น จากการทำความรู้จักกัน สร้างกระบวนการท่องเที่ยวให้เกิดความเข้าใจและสันติภาพ

4. เข้าใจ วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมคือระบบนิเวศ และแหล่งทำมาหากินของคนในท้องถิ่น

5. การท่องเที่ยวเป็นทั้งตัวที่ได้รับผลกระทบและก่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ต้องมีมาตรการลด และมาตรการปรับตัวหลายอย่าง

ชุมชนการท่องเที่ยวอยู่อย่างยั่งยืนได้อย่างไร

1. Localization คือการทำให้ดีด้วยกันแล้วเราจะอยู่สบาย ต่างกับ Globalization ที่

เน้นการสร้างวัฒนธรรมเดียวทุกอย่างเหมือนกันหมด สิ่งที่ทำคือต้องAdaptation คือการปรับวัฒนธรรมให้โตไปกับโลกได้ตรงนี้เป็นหัวใจที่สุด ที่ลำปางจะอยู่ได้ ทั่วโลกจะอยู่ได้ ที่เราต้องใช้ท้องถิ่นเป็นตัววัดเข้าไปสู่ความพอเพียง แล้วก็บวก Internationalization คือการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศที่ไม่ได้สร้างวัฒนธรรมเดียวแต่เติบโตไปด้วยกัน

2. การอยู่รอดในโลกาภิวัตน์คือต้องรู้เท่าทันกระแส ไม่ใช่ไหลตามกระแส

3. สร้างภูมิคุ้มกัน ภูมิคุ้มกันที่แข็งที่สุดคือวัฒนธรรม ภูมิปัญญา ที่สะสมมาเพื่อนำไปพัฒนาต่อยอดขีดความสามารถได้

-แนวคิดด้านสังคมวัฒนธรรม ให้ตระหนักว่าเป็นต้นทุนที่สำคัญและแข็งแรงที่สุด ก่อนอื่นต้องสืบค้นตัวเอง รักษาคุณค่า และความภาคภูมิใจไว้

-การท่องเที่ยวที่ดีต้องแก้ปัญหาของโลกหรือประเทศได้ สิ่งสำคัญคือ เราต้องรู้จักตนเองก่อน

-ในอดีตบอกว่า ประเทศที่ร่ำรวยเท่านั้น จึงสร้างวัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่ได้ แต่ในปัจจุบันกลับกันคือ ประเทศที่มีวัฒนธรรมเท่านั้น จึงสร้างความมั่นคงได้ (มาจากการประชุมความร่วมมืออาเซียน)

-แนวคิดด้านทรัพยากร – ให้ยึดโยงกับภาคการผลิตเดิม การท่องเที่ยวเป็นวัตถุประสงค์รอง การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นเพียงรายได้เสริม ระบบเศรษฐกิจหลัก ประมง เกษตร ต้องคงไว้

-การเข้าสู่ระบบมาตรฐานจำเป็นมาก

-ใช้ระบบเศรษฐกิจแก้ไขปัญหาความยากจน

-การตลาด แต่เดิมเป็นลักษณะการค้าพื้นฐาน แต่ปัจจุบันต้องทำให้เป็นประสบการณ์ ความรู้สึก และค่านิยมที่ประเมินไม่ได้

-การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือพัฒนาความเข้มแข็งให้กับชุมชน เป็นเครื่องมือพัฒนาท้องถิ่น

-มองชุมชนเป็นสินค้า มีนโยบายภาพรวมแต่ขาดการบูรณาการที่ชัดเจน

สิ่งสำคัญคือ 1.การสร้างให้ชุมชนเป็นชุมชนความรู้

2. มีแผนพัฒนาและการจัดการชุมชนที่ชัดเจน

3. สร้างภูมิคุ้มกัน และตัวชี้วัด

- การดำรงวิถีชีวิตชุมชน ต้องเอาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้การท่องเที่ยวชุมชน ใช้การท่องเที่ยวดำรงวิถีเกษตรเป็นวิถีถิ่น

- ต้องอาศัยความร่วมมือกับชุมชน และท้องถิ่นแต่แรก

- การเตรียมความพร้อม ท่องเที่ยวยังมีจุดอ่อนเยอะ เช่น เศรษฐกิจ สังคม เครือข่าย เราต้องพัฒนาให้องค์ความรู้ มีพี่เลี้ยง คนให้คำปรึกษา

- ทางเลือก ประเมินผลร่วมกัน สร้างเครื่องมือชี้วัด

สรุปคือ ต้องใช้ระบบ 3 ประสานคือ รัฐ เอกชน ประชาชน เพื่อสร้างความยั่งยืน และต้องสร้างอำนาจในการต่อรอง พัฒนาพันธมิตรธุรกิจ เพื่อสร้างอำนาจต่อรองตลาด พัฒนาความรู้และจัดการเพื่อสร้างความมั่นคงแข็งแกร่ง ซึ่งรัฐสามารถไปช่วย ณ ตรงจุดนี้

การท่องเที่ยวเชิงกีฬา (Sport Tourism) ผสมผสานต่อยอดการพัฒนา

โดย นายรุจิรา เปรมานนท์

ผู้อำนวยการศูนย์ กกท. ภาค 5 เชียงใหม่

การที่สำนักปลัดกระทรวงได้นำเรื่องการกีฬาผนวกไว้กับการท่องเที่ยวเป็นสิ่งที่ดี ต้องดูในเรื่องโครงสร้าง ในเรื่องของยุทธศาสตร์ด้านกีฬาแบ่งเป็น 2 ส่วน การกีฬาแห่งประเทศไทยดูแลเรื่องความเป็นเลิศ กีฬาอาชีพ งานวิทยาศาสตร์ งานบริหารองค์กรกีฬา กรมพลศึกษาดูแลเรื่องกีฬาพื้นฐาน กีฬามวลชน สิ่งที่ควรทำคือแบ่งความรับผิดชอบให้ชัดเจน ต้องพยายามทำให้ท่องเที่ยวและกีฬาเข้ากันให้ได้คือทำอย่างไรให้กีฬา และท่องเที่ยวสามารถไปด้วยกันได้

ในอาเซียน 10 ประเทศ พี่ใหญ่คือไทยในกีฬาซีเกมส์ แต่ที่น่าสนใจคือ เวียดนาม ประเทศที่มีเงินคือ บรูไน สิงคโปร์

สิ่งที่ กกท. ต้องรับผิดชอบคือ

1. เรื่องบริหารคน ต้องเป็นมืออาชีพ

2. ผู้นำทางการกีฬา มีผู้ฝึกสอน และผู้ช่วยฝึกสอนไปอยู่ต่างประเทศ เช่น พม่าจะเป็นเจ้าภาพซีเกมส์ ก็จ้างโค้ชไทย

กีฬาอาชีพ มีกอล์ฟ เทนนิส วอลเลย์บอล ฟุตบอล ตะกร้อ(มีแค่มาเลเซียกับไทย)

การบริหารศูนย์กีฬาสมโภชน์เชียงใหม่ 700 ปี เพื่อรองรับการแข่งขันกีฬานานาชาติ ต้องหารายได้เลี้ยงตัวเองปีละ 35 ล้านบาท มีห้องพักรองรับจำนวนมาก คืนละ 600 บาท มีความปลอดภัยพร้อม ประเทศอาเซียนที่เข้ามามี 5 ประเทศ ได้แก่ ลาว พม่า เวียดนาม มีนักกีฬามาพัก เราต้องอาจมาดูว่าสามารถจัดการเชิงธุรกิจได้อย่างไรบ้าง

ทำอย่างไรให้ท่องเที่ยวและกีฬาไปด้วยกันได้

-ศูนย์กีฬาจังหวัดต้องทำงานหนัก สิ่งที่ทั้งสององค์กรต้องทำคือวิทยาศาสตร์การกีฬา คือทำอย่างไรที่จะพัฒนานักกีฬาและประชาชนให้มีสุขภาพดี โดยใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า ต้องประชาสัมพันธ์มากพอสมควร พัฒนากีฬาและท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนได้อย่างไรบ้าง

-การมีส่วนร่วมทางท่องเที่ยว เช่นที่พักผ่อน ที่พักอาศัย การเชื่อมต่อไปประเทศเพื่อนบ้าน

-สิ่งที่เกี่ยวข้องคืออาชีพที่มีความต้องการ 13 อาชีพ เช่น แพทย์ นักบัญชี สถาปนิก ดังนั้นเราต้องรองรับตรงนี้ ซึ่งนักกีฬาก็มีอาชีพที่อาเซียนต้องการเช่นกัน ดังนั้นสิ่งที่ควรทำคือ เรื่องความรอบรู้ด้านภาษา วัฒนธรรม กฎหมาย การเมือง พบว่าประเทศไทยดีสุดจากการสำรวจ และที่ต่างชาติพูดถึงว่าเป็นศูนย์กลางสนามบินนานาชาติ

-ใช้กีฬาเป็นสื่อในการแข่งขัน อุปกรณ์ที่ใช้ถูกลง การเข้าออกนอกประเทศไม่ต้องใช้พาสปอร์ต และวีซ่า กกท. กำลังเจรจาตรงนี้ เพื่อพัฒนาร่วมกับอาเซียนจะพัฒนาให้ทั้ง 10 ประเทศเข้าออกสะดวกยิ่งขึ้น สิ่งสำคัญคือเรื่องความมั่นคง ความปลอดภัย และกฎหมายระหว่างประเทศที่รองรับได้อย่างดี

-อุตสาหกรรมทางด้านการกีฬา เช่น ตะกร้อส่งออก ฟุตบอลส่งออก เครื่องไม้เครื่องมือต่าง ๆ แต่ตอนหลังเจอจีนที่ราคาถูกกว่า ประเด็นคือต้องคิดตามความก้าวหน้าของประเทศยักษ์ใหญ่ กีฬา จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ไประดับโลกหมดแล้ว แต่ประเทศไทยยังไม่ไปไหน เพราะยังทะเลาะกันไม่เลิก เช่นฟุตบอล การมองภาพรวมของประเทศมองกีฬาระดับรวมให้ได้

การแข่งขัน เอาเงินเข้าประเทศมหาศาล เศรษฐกิจการกีฬามีคุณภาพทุกครั้ง ส่งผลต่อยอดทางธุรกิจทางการกีฬาและท่องเที่ยวได้อย่างมหาศาล

ยุทธศาสตร์ของการท่องเที่ยวและกีฬากลุ่มภาคเหนือ สู่ AEC

โดย นายศุภชัย เอี่ยมสุวรรณรองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง และ

นายมนตรี ปิยากูล ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงใหม่

นายศุภชัย เอี่ยมสุวรรณรองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง

-ในเรื่องการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ประเด็นสำคัญอยู่ที่เราสามารถกำหนดตัวตน และวาง Position ได้ชัดเจนหรือยัง ถ้ากำหนดได้ ก็จะวางแผนสู่การพัฒนาได้

-เกาหลีคิดว่าวัฒนธรรมสามารถสร้างการแข่งขันได้ เนื่องจากเกาหลีมีการสูญเสียเรื่องทุนและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น จึงกลับมามองว่าเกาหลีสามารถขายวัฒนธรรมได้ทั่วโลก เป็นลักษณะขายความคิด ดังตัวอย่างของละครเรื่องแดจังกึม มีความชัดเจน และรู้ตัวตนที่แท้จริง จึงทำให้กำหนดแผนได้สำเร็จ

1. เวลากำหนดงาน หรือการทำกิจกรรมหรือโครงการต่าง ๆ อย่ามองเพียงแค่การของบประมาณที่เดียวต้องคิดให้เกิด Action แล้วให้เกิด How คือทำอย่างไรให้เป็นผลอันไหนควรให้ส่วนกลางทำ อันไหนควรให้กลุ่มจังหวัดทำ อันไหนควรให้ท้องถิ่นทำ ฯลฯ บางเรื่องต้องดึงคนเข้ามา ทั้งเรื่อง คน เงิน งาน จะบูรณาการอย่างไร เชื่อมโยงประสานอย่างไร และแต่ละส่วนจะทำงานอย่างเชื่อมโยงและประสานกันอย่างไร ต้องมองให้ออก

2. การทำงานหรือการวางแผนท่องเที่ยว ควรเน้นการเชื่อมโยงวัฒนธรรม เชื่อมโยง OTOP และควรเน้นเรื่องการเชื่อมโยงพื้นที่ด้วย อย่างเช่นวัฒนธรรมขอม วัฒนธรรมล้านนา การขับเคลื่อนกลุ่มจังหวัดอาจมีพลังมากกว่า และสามารถทำได้ง่ายกว่าจังหวัดเดียว ไม่จำเป็นที่ต้องเป็นพระเอก อาจเป็นตัวรองได้ สิ่งสำคัญคือให้ใช้เส้นทาง และโอกาสเป็นตัวตั้ง จะทำให้มีพลังมากกว่า ต้องคิดการท่องเที่ยวและเชื่อมโยง Cluster หรือเชื่อมโยงกับกีฬาจะทำอย่างไร

3. การพัฒนา ชุมชนต้องเรียนรู้และเข้าใจเพื่อขับเคลื่อนได้ เช่น ชุมชนบ้านแม่กำปอง ชุมชนถ้ำผางาม ชุมชนที่แก่งคุดคู้ อย่างลำปางที่ถนนคนเดิน แสดงให้เห็นถึงการให้ความรู้สำคัญ ตัวอย่างที่เสียมราฐ ในภาคบริการ มีโรงแรม 5 ดาว เกือบ 20 โรงแรม ผู้ให้บริการพูดภาษาอังกฤษดี แคดดี้พูดอังกฤษได้ ร้านอาหารพูดอังกฤษได้ อยากให้ดูว่าเขาพัฒนาได้อย่างไร สำหรับประเทศไทย ไม่ใช่แค่พูดอย่างเดียว ต้องทำ เพื่อให้เติบโตไปได้ อย่างในภาคบริการ ต้องเน้นเรื่องมาตรฐาน ความสะดวก ปลอดภัย เชื่อมโยงเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ปลอดภัย จะทำอย่างไร ให้ความสำคัญเรื่องท่องเที่ยว กีฬา มาตรฐาน สื่อต่าง ๆ มีพอหรือไม่ เอาแผน Social Media มาอยู่ในแผนพัฒนาหรือยัง

การรวมเป็น Cluster บางครั้งอาจคิดไม่ตกเนื่องจากเป็นเรื่องกฎหมาย กฎระเบียบต่าง ๆ วิธีการคือ 1. ต้องทำแบบ Two way คือไปถึงที่ไปทำความเข้าใจ 2. เข้าใจลูกค้าว่าลูกค้าต้องการอะไร แล้วผลิตได้ตรงตามความต้องการให้ลูกค้ารู้สึกคุ้มค่า

ตัวอย่างประเทศไทยจากการวิจัยพบว่าที่นักท่องเที่ยวมาเนื่องจากความคุ้มค่า แต่ไม่ใช่มองว่าแค่เพียงราคาถูกแต่ คุ้มค่าคือเขาจ่ายเงินแล้วคุ้มค่ากับสิ่งที่ได้รับในเชิงวัฒนธรรม เชิงการบริการ เชิงมาตรฐานที่ได้รับไป สรุปคือต้องมองคำว่าคุ้มค่าให้ชัด

3. การผนึกกิจกรรมร่วมกัน

เช่นนักท่องเที่ยวเกาหลีเมื่อ 10 ปีมาแล้วมาเชียงใหม่ มาสปา เล่นกอล์ฟ ท่องเที่ยว ใช้เงินอยู่สามารถคุ้มค่าเงินตรงนั้น ถ้าเติบ OTOP ลงไปก็จะสามารถสร้างความคุ้มได้ สามารถสร้างรายได้เกื้อหนุนกันได้ จะสามารถสร้างพลังแห่งการดึงดูดได้อย่างดี ดังนั้นการเขียนแผนควรเขียนแผนผนึกกิจกรรม

4. ปัจจุบันกระแสโลกเปลี่ยนแปลงไป พบว่าในกทม. คนจีน และญี่ปุ่นเยอะมากสังเกตได้จากรถไฟฟ้ามีคนเยอะมาก ความสัมพันธ์ของจีน และญี่ปุ่นก็ยังดีอยู่ เราจะปรับตัวอย่างไรให้ยั่งยืน ปัญหาที่มีอยู่ มีอะไรเป็นปัญหา ต้องวิเคราะห์ให้ออก ปรับมาเชิงรับให้ได้ สร้างเส้นทาง สร้างโอกาส และกิจกรรมขึ้นมาเป็นเส้นทางแห่งการท่องเที่ยว อะไรที่ดีอยู่แล้ว ปรับให้ดีขึ้น ต้องแยกแยะให้ออกว่าบางเรื่องรุก รับ และปรับตัว จีนมีเงินมากขึ้น มีอำนาจมากขึ้น อย่างเส้นทางมาเชียงใหม่ ก็ต้องผ่านลำปาง มีการทำ Hi-Speed Train

5. เวลาคิด ๆ ภาพรวม แต่เวลามองให้มองว่าแต่ละภาคส่วนสมดุลหรือยัง ต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมในชุมชน การเมือง การพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยว การมีส่วนร่วมต้องสร้างความตระหนักเป็นฐาน ทำแผนอยากจะพัฒนาอะไร ต้องแยกแยะให้ได้ว่าส่วนไหน เป็นของส่วนไหน จะทำให้แผนครอบคลุม และบางเรื่องสามารถเชื่อมโยงกันได้ หรือบางเรื่องอาจเชื่อมโยงในกีฬาเช่น เชียงใหม่ อาจทำเป็น Sport Complex โอกาสการใช้พื้นที่เพื่อเก็บตัวนักกีฬาเป็นไปได้ไหม เหมาะไหม สอดคล้องกับ Demand Supply ไหม

เวลาทำแผนอยากให้ดึงฐานความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมด้วย เช่นลำปาง มีวัด วาอารามสวยมาก

สิ่งที่อยากฝากไว้คือการทำอะไรต้องคิดในเชิงยุทธศาสตร์ ต้องมีกลยุทธ์ในการจัดรวมกลุ่มเป็น Cluster ต้องมีมุมมองตำแหน่งการบริหารที่จัดเจน มีการเชื่อมโยงกันเพื่อขับเคลื่อนในทุกมิติ ทำให้การทำงานนั้นขับเคลื่อนไปได้

นายมนตรี ปิยากูล ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงใหม่

ในยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยว กลุ่มภาคเหนือตอนบนได้รับให้พัฒนา Cluster การท่องเที่ยว 2 กลุ่มคือ กลุ่มล้านนา และกลุ่มภาคเหนือตอนบน และกลุ่มการท่องเที่ยวมรดกโลกคือภาคเหนือตอนล่าง การท่องเทียวภาคเหนือตอนบนหนึ่ง ได้แก่เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน พะเยา และลำพูน ปีที่ผ่านมา มีนักท่องเที่ยวเข้ามาในกลุ่มเรา 7 ล้านคน กลุ่มภาคเหนือตอนบนสองมีนักท่องเที่ยวประมาณ 4 ล้านคน สรุปแล้วกลุ่มภาคเหนือตอนบน 1,2 สามารถสร้างจำนวนนักท่องเที่ยวให้กับทางรัฐบาลและประเทศได้ 9 ล้านคน นับว่าเป็นตัวเลขที่ใหญ่พอสมควร ถ้ารัฐบาลเน้นนโยบายสร้างรายได้ 2 ล้านล้านบาท กลุ่มภาคเหนือตอนบนก็เป็นส่วนหนึ่งที่ใหญ่เช่นกัน

โอกาสที่เป็นที่ตั้งของภาคเหนือเชื่อมโยง GMS ตอนบน นักท่องเที่ยวที่เข้ามาในภาคเหนือ เป็นกรุงเทพฯ และมีการกระจายนักท่องเที่ยวภาคต่าง ๆ และต่อมาก็มีจีน พม่า ลาว ที่เริ่มเข้ามามากขึ้น

ช่องทางการเชื่อมโยงในอนาคตโดยเฉพาะการท่องเที่ยวจะมี Route ท่องเที่ยวเช่น การท่องเที่ยววิถีชีวิต มาภาคเหนือ ไปตามลำน้ำโขง และเชื่อมโยงไปหลวงพระบาง

การเชื่อมโยงเศรษฐกิจเหนือใต้ที่แม่สอด อยากให้มองประเด็นที่ท้าทาย เน้นลักษณะการยกระดับในทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาคประชาชน ผู้ประกอบการ ภาครัฐ และเสริมสร้าง Creative Tourism การสร้างสรรค์สิ่งใหม่เช่น หัตถศิลป์ สามารถเพิ่มการผลิตสินค้าขึ้นในอนาคต เรื่องการพัฒนาบุคลากร ต้องเน้นเรื่องการสื่อสารให้ดีมากขึ้น เรื่องกีฬาอยากให้มองกีฬาเชื่อมโยง เช่นกีฬาลุ่มน้ำโขง ลอยกระทง 2 แผ่นดิน 4ชาติ การแข่งขันจักรยานเชื่อมโยง R3A R3B มีคนมาเชียงใหม่ ต่อไปเชียงราย แล้วข้ามมาทางลาว

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ฝากประเด็น 2 ประเด็น

1. คิดให้ดีว่าตั้งแต่เช้าว่าได้อะไร นำประเด็นมาสร้างความสำเร็จที่เกิดขึ้น เน้นการสร้าง Networking

2. การสร้าง 3 V อะไรก็ตามที่ได้สร้างคุณค่าและมูลค่าท่องเที่ยวไม่เน้นที่ปริมาณอย่างเดียว

ร่วมแสดงความคิดเห็น

เราหนีการเมืองไม่พ้น การเมืองบิดพริ้วตลอด และเป็นอุปสรรคสำหรับคนไทย ทุกคนเหมือนนักกีฬา และวิทยากรเหมือนโค้ช อย่าทิ้ง มีโครงการนักมวย อยากให้หมู่บ้านที่เป็นธรรมชาติ สร้างโรงเรียนมวยที่เป็นโฮมสเตย์

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท