สร้างสุขสู่เมืองลุงน่าอยู่ ผู้สนับสนุนงบประมาณลงมาเยี่ยมเยียน


.เอาส้มเกียบมาจากเขา เอาปลาโอน มาจากควน จากคลอง เอาเกลือมาจากเล มาส้มต้มส้ม กินกับข้าวสังหยด ...เมืองลุงน่าอยู่....

        

 คณะทำงานโครงการสร้างสุขสู่เมืองลุงน่าอยู่ ดำเนินการมาสู่ปีที 2 ของ

โครงการภายใต้พันธะ 3  ปี ผู้เขียน ร่วมประชุม ร่วมทำกิจกรรม ร่วมลงพื้นที่ ร่วมให้

ความเห็น มาหลายเวที มีทั้งเวทีประเมินโครงการของอาจารย์ จาก ธรรมศาสตร์ ซึ่งใน

วันนั้นคุยกันลึกถึงเป้าหมายโครงการสิ่งที่ ทาง สสส.อยากให้เกิดคือความร่วมมือจาก

ทุกภาคส่วน โดยเฉพาะท้องที่ท้องถิ่น ที่เป็นเจ้าของพื้นที่เป็นหลัก และมีศูนย์แลก

เปลี่ยนเรียนรู้ร่วมคิดระหว่างพื้นที่ 


คุณ อ้อย ผอ.สสส.สำนัก 4 นำทีมมาให้กำลังใจ


      ทาง อำเภอปากพะยูน ได้กำหนดพื้นที่ ตำบลเกาะหมาก เป็นแหล่งเรียนรู้ทั้ง  3 

ประเด็น ที่ทางโครงการขับเคลื่อนงานกำหนดไว้  พื้นที่บ้านช่องฟืนเป็นพื้นที่ที่คนชาว

บ้าน ผู้นำทางธรรมชาติ มีวง คุย คิด คลำ คลิก  ทุกวันที่ 19 ของเดือน เขาคลิกขึ้นมา

ว่าถึงเวลาที่ต้องจัดการตนเองในเรื่องความมั่นคงทางด้านอาหารทางทะเลหน้าบ้าน 

การดูแลสุขภาพของคนในชุมชน และการจัดสรรค์งบประมาณจากการออมนำมา

จัดการอนุรักษ์ กุ้งปลาหน้าท่าชายเล เป็นการปกป้องพื้นที่ทำกินที่ทำมาอย่างยาวนาน 


       ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2556 ทางสสส,สำนัก 4 ผู้สนับสนุนโครงการฯนำโดยคุณ 

อ้อย เพ็ญพรรณ จิตตะเสนีย์ ได้กรุณามาเยี่ยมมาชม มาให้กำลังใจ คนปากพะยูน และ

ประธานโครงการ สร้างสุขสู่เมืองลุง คุณ โกสินทร์ ไพศาลสิลป์ พร้อมคณะทำงาน 

มาที่เครือข่ายบ้านช่องฟื้น


คุณ โกสินทร์ ไพศาลศิลป์ ประธานโครงการ


    คุณแดง สุภาภรณ์ พรรณราย ได้ เล่าด้วยภาพและเล่าด้วยเสียงร้อยเรียงเรื่องราวที่

ได้ทำมาหลายสิบปีให้ผู้มาเยี่ยมไดรับฟังแลกเปลี่ยน ในตอนที่แลกเปลี่ยนมีคำถาม

หนึ่งที่ถามแล้วโดนใจ คือ สุขที่เกิดจากโครงการสร้างสุขสู่เมืองลุงคืออะไร ซึ่งด้วย

เวลาจำกัดที่ทาง สสส.ต้องรีบไปขึ้นเครื่องกลับ  จึงไม่ได้แลกเปลี่ยนประเด็นนี้  

      ในมุมมองของผู้เขียน เห็นว่า สุขของคนเมืองลุงมีอยู่ก่อนแล้วในแต่ละพื้นที่แต่

กลุ่มแต่ละประเด็น โครงการเมืองลุงสร้างสุข เข้ามาเป็นการเชื่อมโยง ร้อย รัด มัด ห่อ 

คน ประเด็น กิจกรรมให้เป็นหนึ่งเดียวของพัทลุง คือโมเดลสุขของคนเมือลุง 

    เครือข่ายต่างๆมาสร้างให้คนเมืองลุงอยู่ดีมีสุข ภายใต้ประเด็นขับเคลื่อนทั้ง 3 

ประเด็น ซึ่งบางพื้นที่สามารถ นำแผนงานเข้าสู่ข้อบัญญัติของเทศบาล /อบต.ประกาศ

ใช้  ดังนั้น ภายใต้โครงการนี้ คนทำงานในพื้นที่ไม่เดินเดี่ยวๆ แต่เดินเคียงคู่กันไป ทั้ง

รัฐ ราษฎร์ ท้องถิ่น และเครือข่าย นี้คือสุขของคนทำงานที่ใช้โครงการสร้างสุขสู่เมือง

ลุงน่าอยู่มาจัด ในอนาคต อันไกล เรากำหนดเส้นทาง การเที่ยว เขา ป่า นา เล ชม

สวน วิถีพุทธ ที่ตะโหมด มาชมเกษตรอินทรีย์ ทำนาเชิงวิถีข้าวสังหยดที่บางแก้ว แล้ว

ลงมาชมเลกินปลากินกุ้งที่ช่องฟื้น ...

        .เอาส้มเกียบมาจากเขา เอาปลาโอน มาจากควน

จากคลอง เอาเกลือมาจากเล มาส้มต้มส้ม กินกับข้าวสังหยด ...เมืองลุงน่าอยู่....คือ

การบูรณาการความมั่นคงทางด้านอาหาร

ความมั่นคงทางด้านอาหาร

      

พลังชุมชน ชุมชนจัดการตนเอง


ของฝากจากพื้นที่


ของขวัญจากผู้มาเยือน


พี่เท่ง พี่จอย แห่งเมืองลุงสร้างสุข


พี่จิ้ม แนะนำทีมช่องฟืนให้สสส.ฟัง

หมายเลขบันทึก: 541402เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2013 12:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 กรกฎาคม 2013 22:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

 "...มีวง คุย คิด คลำ คลิก..."

ชื่อน่าสนใจมากเลยครับ สนใจกุ้งน่ากินด้วย อิอิ

มาให้กำลังใจคนทำงานเพื่อสังคมส่วนรวมจ้ะ


                  ..... ช่วยกัน ....ส่งเสริมทำดี  มีความสุขในสังคม  นะคะ ....


            



เรียนคุณ พ.มีโอกาสแวะมาจะพาไปชมไปชิมให้ถึงทะเล

สวัสดีน้องมะเดื่อ ชาวบ้านช่องฟืน เขามีบทเรียนที่ร่วมกันว่า หากรอหน่วยงานมาช่วยเหลือก็จะไม่ทันการ

จึงรวมกันจัดการชุมชนของตัวเอง ในเรื่องการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง  ด้วยทุนของชุมชน

สวัสดีน้องมะเดื่อ ขอบคุณกำลังใจครับ

คนเรานั่งอยูข้างกันไมเห็นภาพพีเท่งเลย

ขอบคุณหมอเปิ้น เมืองลุงน่าอยู่ครับ

หวัดดีพี่เท่ง จัดการให้แล้ว มีอยู่ภาพเดียว ไม่แจ่มเท่าไหรน่ะ

ความมั่นคงทางด้านอาหาร กุ้งตัวใหญ่มากเลยนะคะ

สวัสดีครับคุณ ระพี กุ้งทะเล สามน้ำครับ

น้ำจืด

น้ำกร่อย

น้ำเค็ม มาบรรจบกันเกิดเป็นทะเลน้ำหวานครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท