เครียดหลังวิกฤติ (PTSD) ___เพิ่มเสี่ยงโรคหัวใจ


.
สำนักข่าวรอยเตอร์ตีพิมพ์เรื่อง 'PTSD tied to raised heart disease risk'
= "ความเครียดหลังวิกฤติเพิ่มเสี่ยง (มีความสัมพันธ์กับ) โรคหัวใจ", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
.
การศึกษาใหม่ทำในทหารผ่านศึกเวียดนาม (อเมริกัน) ที่เป็นคู่แฝดผู้ชายเกือบ 300 คู่, ติดตามไปนานกว่า 10 ปี (เฉลี่ย 13 ปี)
.
.
การศึกษาที่ทำในฝาแฝด โดยเฉพาะแฝดเหมือน (identical twins) จะทำให้ได้กลุ่มตัวอย่างที่มีความใกล้เคียงกันทางชีววิทยา หรือพันธุกรรม (DNA) มากกว่าประชากรทั่วไป, เปรียบเทียบผลจากสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้น
.
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่เป็นโรคเครียดหลังวิกฤติ (posttraumatic stress disorder / PTSD) เพิ่มเสี่ยงโรคหัวใจ และสโตรค
.
สโตรค (strokes) = กลุ่มโรคหลอดเลือดสมองแตก-ตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต
.
โรคเครียดหลังวิกฤติ (PTSD) อาจมาด้วยอาการต่อไปนี้
  • ฝันร้ายแบบแรง (nightmares) > หลังตื่นแล้วก็ยังมีอาการตื่นตระหนก ตกใจ ฝังใจ ผวาดผวา
  • ทนไม่ได้ที่จะต้องเผชิญหน้ากับเหตุการณ์ที่หวาดระแวง (paranoia), น่ากลัว (fearfulness), หรือทำให้รู้สึกผิด (guilt)
PTSD มักจะเริ่มเป็นหลังวิกฤติ หรือเหตุการณ์ที่ทำให้บาดเจ็บ ทั้งทางกาย และใจ
.
เช่น การเข้าสงคราม ต่อสู้ ทะเลาะวิวาท ได้รับผลจากการก่อการร้าย อุบัติเหตุอย่างแรง ภัยธรรมชาติ ถูกแกล้ง ถูกทำร้าย ถูกข่มขืน-ลวนลาม ฯลฯ
.
PTSD กระตุ้นฮอร์โมน และประสาทอัตโนมัติ ให้ทำงานหนักเกินตัว มีการหลั่งฮอร์โมนเครียดออกมามาก
.
คล้ายกับสมัยโบราณที่มีการเผชิญหน้ากับคนแปลกหน้า หรือสัตว์ คือ จะต้องเลือกระหว่างการ "สู้หรือหนี (fight-or-flight) ซ้ำๆ ซากๆ
.
การศึกษาก่อนหน้านี้ รวมทั้งที่ทำในทหารผ่านศึกอิรัก-อัฟกานิสถาน พบว่า คนที่เป็นโรคเครียดหลังวิกฤติ หรือ PTSD เพิ่มเสี่ยงโรคหัวใจ
.
การศึกษาใหม่พบว่า ทหารผ่านศึกเวียดนามที่เป็นโรคเครียดหลังวิกฤติ (PTSD) เป็นโรคหัวใจ = 23% สูงกว่ากลุ่มที่ไม่เป็น PTSD = 9%
.
เมื่อหักปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ออกไป เช่น บุหรี่ ดื่มหนัก ความดันเลือดสูง ฯลฯ พบว่า ความเสี่ยงโรคหัวใจเพิ่มขึ้นประมาณ 2 เท่า
.
เมืองไทยมีเหตุการณ์ 3 ภาคใต้ และภัยพิบัติ เช่น น้ำท่วม ซึนามิ ฯลฯ มาก่อน น่าจะมีคนไข้เครียดหลังวิกฤติ (PTSD) มากทีเดียว
.
.
อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญท่านหนึ่ง ในทีมกู้ภัยคนฆ่าตัวตาย (เกลี้ยกล่อม ลดความรุนแรง ฯลฯ) เล่าว่า 
.
เครียดอย่างอื่น... พูดจะเกลี้ยกล่อมไหว
.
เครียดจากหนี้สินเกินตัว... พูดยากมาก
.
ตรงนี้บอกเป็นนัยว่า การเป็นหนี้เกินตัวน่าจะทำให้คนเราเป็นโรคเครียดหลังวิกฤติ (PTSD) ได้เช่นกัน
.
.
การใช้ชีวิตแบบขยัน เรียบ ง่าย ประหยัด ไม่มีหนี้เกินตัว และไม่ไปค้ำหนี้คนอื่น มีส่วนช่วยป้องกันโรคเครียดหลังวิกฤติได้
.
และน่าจะช่วยถนอมหัวใจท่านได้
.
โดยเฉพาะถ้าทำร่วมกับการออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ ไม่นั่งนานเกิน 1 ชั่วโมง/ครั้ง (ลุกขึ้นยืนสลับนั่ง หรือเดินสลับ), ควบคุมน้ำหนัก นอนให้พอ ตรวจเช็คเบาหวาน (ระดับน้ำตาลในเลือด), และความดันเลือดเป็นประจำ
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.

 > [ Twitter ]

  • ขอขอบพระคุณ / Thank Reuters source > Journal of the American College of Cardiology, online June 2013.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์. 1 กรกฎาคม 56. ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้ โดยอ้างที่มา และไม่จำเป็นต้องขออนุญาต... ขอบคุณครับ > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูง จำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้

หมายเลขบันทึก: 541020เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2013 07:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กรกฎาคม 2013 07:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท