การนอนหลับของเด็กทารก... กับกิจกรรมบำบัด


จากการอ่านนิตยาสาร Mother and Care มีบทความหนึ่งชื่อว่า  นักจิตวิทยาแนะในเบบี๋หัดนอนหลับด้วยตัวเอง  ซึ่งเป็นบทความที่น่าสนใจสำหรับคุณแม่มือใหม่เมื่อมีลูกตัวน้อย ที่มักตื่นมากลางดึก ส่งเสียงร้องปลุกคุณพ่อคุณแม่ เพราะเป็นบทความที่จะแนะนำว่าคุณพ่อคุณแม่ควรปฏิบัติอย่างไรเมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว  และในฐานะนักศึกษากิจกรรมบำบัด เมื่ออ่านบทความดังกล่าวแล้วก็มีสนใจ จึงนำมาวิเคราะห์เหตุผลทางคลินิกที่เกี่ยวของกับบทบาทของนักกิจกรรมบำบัด โดยมีหัวข้อแบบเป็นเหตุเป็นผลกัน 3 ประเด็นคือ

1.  เหตุ   คือ  เด็กผู้ชาย ที่มีอารมณ์หงุดหงิดง่าย รวมไปถึงมีแม่ที่อยู่ในช่ วงภาวะซึมเศร้า

      ผล    คือ  เด็กทารกที่มักตื่น ในตอนกลางคืน (ถึง7 คืนต่อสัปดาห์)

เหตุผลทางกิจกรรมบำบัด : Scienific Reasoning เมื่อเด็กทารกร้องไห้ ผลกระทบที่เกิดขึ้นสามารถจำแนกได้ดังนี้

เด็กทารก

                §  สมองพัฒนาไม่เหมาะสม  ส่งผลต่อ การเรียนรู้ อารมณ์ จิตใจ,การเรียน,การเข้าสังคมและการเล่น

                §  การหลังฮอร์โมน Growth Hormone ซึ่งจะหลั่งเมื่อเด็กนอนหลับสนิท มีผลต่อการเจริญเติบโตของเด็ก

                     พัฒนาการของกล้ามเนื้อมัดเล็ก กล้ามเนื้อมัดใหญ่ การเล่นและการเคลื่อนไหว

               §  การเผาผลาญอาหารให้เป็นพลังงาน (Thyroid Hormone) ส่งผลต่อการเล่น การเคลื่นไหว

ผู้ปกครอง/ผู้ดูแล

               §  วิตกกังวลเกี่ยวกับสุขภาพของลูก

               §  การจัดการเวลาของตนเองไม่เหมาะสม(Timer management

               §  ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน (ADL)ลดลง

               §  การพักผ่อน (Rest) ไม่เพียงพอ ร่างกายอ่อนเพลีย

               §  การทำงาน (work)ประสิทธิภาพในการทำงานลดลงเนื่องจากร่างกายอ่อนเพลีย

   2.  เหตุ นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยเทมเพิล ในสหรัฐอเมริกา ได้ทำวิจัยเรื่องนี้กับเด็กแรกเกิดจนถึง 3 ปี 

               จำนวน   1,200 คน พบว่า ถ้าทารกร้องไห้ตอนกลางคืน และพ่อแม่ปล่อยให้เด็กหลับต่อไปเอง เด็กจะเรียน 

               รู้วิธีการสงบลงด้วยตัวเอง และจะนอนหลับได้ดีและยาวนานขึ้น

       ผล     พ่อแม่ไม่ควรรีบร้อนที่จะตอบสนองเด็กทันทีที่เด็กตื่น

  เหตุผลทางกิจกรรมบำบัด :Narrative  reasoning ผู้ปกครองหลายท่านเมื่อเห็นว่าลูกของตนตื่นมากลางดึกหรือ 

             ร้องไห้กลางดึกก็มักจะใช้วิธีการหยอกล้อเพื่อให้เด็กหัวเราะ หรือใช้วิธีการอุ้มลูกเดินเล่นเพื่อให้เด็กนอน 

              หลับ  ซึ่งวิธีการที่เหมาะสมเมื่อเด็กตื่นนอนกลางดึกคือการ ให้เด็กนอนหลับไปเอง จะทำให้เด็กนอนหลับ

              ลึก มีผลส่งเสริมต่อพัฒนาการของเด็กทั้งทางด้าน สมอง ร่างกาย การเจริญเติบโต และการเผาผลาญ 

              พลังงาน และการนอนหลับที่มีคุณภาพของเด็กอีกด้วย 

3.   เหตุ ถ้าหนูเบบี๋ร้องตอนกลางคืนพ่อแม่ควรจะปลอบทันทีหรือไม่

    ผล     พ่อแม่ส่วนใหญ่คงจะตอบว่าอย่าปล่อยให้เด็กร้องจะดีกว่า

  เหตุผลทางกิจกรรมบำบัด  : Pragmatic reasoning  กระบวนการทางกิจกรรมบำบัด

                            -  การนำเสนอข้อมูลที่แท้จริงเกี่ยวกับงานวิจัยเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติตัวเมื่อเด็กตื่นกลางดึก  และ

                                  ผลกระทบที่เกิดขึ้นเมื่อเด็กทารกมีการนอนหลับที่ไม่เพียงพอ

                             -  การแนะนำเกี่ยวกับระยะเวลาที่เด็กในแต่ละช่วงวัยควรได้นอน,ท่าทางในการนอนที่เหมาะสม

                             -  การประเมินเพื่อหาปัจจัยที่ส่งผลให้เด็กตื่นมากลางดึก หรือ คุณภาพการนอนหลับไม่เหมาะสม   

                                  เพื่อระบุปัญหา และบำบัดฟื้นฟูตามกระบวนการทางกิจกรรมบำบัดอย่างเหมาะสม

                             -   การปรับสภาพห้องนอนของเด็กให้เหมาะสมเพื่อส่งเสริมให้เด็กมีการนอนหลับอย่างมีคุณภาพ  

                                 ส่งเสริมต่อพัฒนาการ ของเด็กทารกทุกด้าน เช่น ห้องนอนควรมีอากาศถ่ายเท,ไม่มีเสียงดัง 

                                 รบกวน เป็นตน

                              -  การจัดการเวลา Time management และการจัดการความเครียดในผู้ปกครอง



ที่มา : นิตยสาร Mother&Care ฉบับเดือนมีนาคม 2556 Vol.9 NO.099


หมายเลขบันทึก: 541015เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2013 00:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กรกฎาคม 2013 00:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท