AAR การมา 3 วัน (1/2)


AAR การมา 3 วัน (1/2) มันยาวเลยตัดเป็น 2 บันทึกค่ะ

  การมา  โดยนัยกับตนเอง คือ ถ้าไม่ผ่านรอบนี้หนูตายแน่ ถึงตัดสินใจดิ้นรนมากับตนเอง ถือว่า ดิ้นรนมากอยู่เป็นการมาที่เรียกว่า

“ยอมเสียทุกอย่าง ขอเพียงได้มา”

เป็นความรู้สึกที่ ลงเข้าไปข้างในใจ เหมือนยอมแลกกับการเรียนรู้เรื่องนี้

1. ก่อนมาคาดหวังอะไร

  คิดกันง่าย ๆ ว่า หนูมาด้วยใจที่รู้สึกลังเลกับตนเอง แบบเอาไงดี รู้และสัมผัสได้ว่า “ไม่มายากแน่ ๆ แต่ถ้ามาก็มีโอกาสรอด แต่รอดไม่รอดอีกเรื่อง”

ความหวังชัด ๆ กับตนเอง คือ อยากรอด

รอดในความหมายของหนู คือ พ้นนรก

นรกในความหมายของใจ คือ แรงบีบคั้น ทุกข์ ท้อ และจิตเนรคุณ

รวมถึงการแก้ไข ข้อผิดพลาดครั้งที่ผ่านมา ไม่เตรียมการสอน รู้สึก ตกใจ แล้วก็ จะลงเวทีท่าเดียว

ความคาดหวังอีกอย่างก็คือ ผ่อนแรงครู อย่างน้อย ๆ ก็ไม่เพิ่มภาระ อีกอย่างที่อยากทำให้ได้คือทำงานไปเขียนบันทึกไปนี่เป็นยังไงนะ หนูยังทำกับตนเองไม่ได้สักที เลยว่าจะลองทำ




-มีอะไรเป็นไปตามคาดหวัง

  พอมาเข้าจริง ๆ ใจหนูกลับเป็นปัญหา ก็อาการท่ามากของหนูนั่นแหละที่สร้างปัญหา อันที่คาดหวังไว้ ประเมินกับตนเองว่า “ทำไม่ได้สักอย่างเจ้าค่ะ”

-ที่ยังไม่เป็นไปตามคาดหวังจะแก้ไขอย่างไร

ว่าด้วยการแก้ไข โหมดนี้ปรากฏเป็นความรู้สึกหนักใจกับตนเอง หนูได้รับโอกาสมาก และมากกว่าใคร ๆ แต่แทนที่จะแก้ได้ หนูเองนี่แหละที่สร้างปัญหาเพิ่ม ประมาณว่า “แก้ไม่ได้แล้วยังทำเพิ่ม” เหมือนตั้งใจว่าจะมาเรียนเรื่องแก้ปัญหา กลับมาเจอตนเองสร้างปัญหาหนักขึ้น

ปรับโหมดความคิดท้อแท้ แล้วใช้ใจมองใหม่ หากต้องแก้ไขจะทำอย่างไร

- ใจที่ลังเลแก้ได้ด้วยการเตรียมตัว เตรียมการกับตนเองให้มาก เหมือนต้องอ่านและศึกษาเพิ่มเติมกับตนเอง วางแผน จินตนาการให้ออกว่า “ถ้าต้องขึ้นพูดแบบเร่งด่วน ในแต่ละหัวข้อ จะทำยังไง”

ไม่ใช่ฟังครูครั้งแรก นี่ก็ฟังมาหลายที แต่ก็ไม่ค่อยคิดวิเคราะห์กับตนเอง

ไม่ค่อยฝึกมอง หน้างาน เพราะ อคติ ที่ดึงรั้งศักยภาพเอาไว้ทำให้ “ใจแคบ” หมดโอกาสได้เรียนรู้  หันมองตนเองก็ ตลก เห็นอยู่ 2 อาการหลัก ๆ

“ไม่อวดดีก็ เอ๋อ”

  - ผ่อนแรง อันนี้หากต้องแก้ ต้องแก้กันที่ใจเลย ถ้าใจได้เรื่องนี้ทำได้แน่ ๆ เจ้าค่ะ เพราะเหมือนมันจะรู้เองได้ว่า จุดไหน ผ่อนแรงได้ ไม่ใช่เพิ่มภาระอย่างที่เป็น

  - ทำงานไปเขียนบันทึกไป อันนี้ทางแก้ก็อยู่ที่ ใจ และ สติ และลงมือฝึกให้มากพอกับการ Capture งาน ฝึกฝนทำให้ต่อเนื่อง เขียนออกมาแล้วใจก็ อุทาน กับทางแก้ที่คิดได้ ยากจัง แล้วจะทำได้รึ

  แต่ปัญหาทั้งหมดทั้งมวลแก้ได้ด้วย ใจที่มั่นคงของหนู สิ่งที่จะเสริมสร้างสติและมั่นคงให้จิตใจนี้ได้มีเพียงรักษาข้อวัตร กับตนเองเจ้าค่ะ ทางรอดของหนูเหมือนมีแค่นี้ แต่ใจมันคอยแต่อยากหนี รหัสที่ครูเมตตาให้มาถอดว่า

“ทำไมหนูยังมีโอกาสได้แก้ ขณะที่คนอื่นไม่มี”

ทั้ง ๆ ที่ครูให้โอกาสทุกคนเท่ากัน แต่ทำไมคนอื่น ๆ เลือกที่จะไป แทนที่จะแก้ไข

คำตอบมัน มาลงล็อคกับหนูว่า

“เพราะแพ้เสียงของกิเลส แพ้แรงบีบเค้น บีบคั้น ที่มันคอยยุแยง ให้ขัดแย้งต่อธรรม”

เหมือนที่ครูใช้คำว่า “เขาแพ้พ่ายต่อกิเลสของตนเอง”

หนูก็ไม่ได้ชนะหรอกเจ้าค่ะ

หนูมีดีอยู่แค่ “ทน” => อึดเป็นบ้า กับเรื่องที่อยากรู้อยากเข้าใจ แต่มันไม่ คลิ๊ก ไม่ลงล็อคกับใจ

เพราะหากชนะ ใจหนูก็โปร่งโล่งเบากับอารอยู่เรียนรู้กับครู ทำไมถึงคิดอย่างนั้น

ใจของ แม่ชีน้อย แม่ออกน้อย เป็นต้นแบบของ หัวใจที่พร้อมสำหรับการเรียนรู้เจ้าค่ะ

เห็นบ่อย ๆ ขึ้น ก็พลาดพลั้งกับกิเลสไปอิจฉาเด็กอีก

นี่มันน่าเจ็บใจ ให้กิเลสมากเลยเจ้าค่ะ

ใช้ชีวิตอยู่ดี ๆ ก็ รี่ไปอิจฉาคนอื่น กว่าจะรู้ตัวอีกที ก็แทบแย่กับตนเอง

จะแก้เรื่องนี้ยังไง

  ความอิจฉาเป็น อกุศลเจตสิก ข้ออิสสา ก็ต้องทุบหัวใจที่อิจฉาให้ทันด้วยสติ หากไม่ทันหนูก็จะกระทำกรรมเพิ่ม นี่แหละหนาครูให้ฝึกไว้ตอนที่ยังป้องกันได้ ก็ไม่ยอม ตอนนี้ใจมอรอมมอร่อ จะลงนรกถึงมาดิ้นตาย กว่าจะเห็นได้แต่ละเรื่อง ก็แทบหงายหลัง หรือไม่ก็แพ้พ่ายไปลงร่องเดิมของความเคยชินของจิตเจ้าค่ะ



คำสำคัญ (Tags): #aar#km#ภาวนา#แก้ไข
หมายเลขบันทึก: 540929เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2013 04:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มิถุนายน 2013 04:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท