ครอบครัวอบอุ่น พูดด้วยรัก ทักด้วยห่วงใย


"พูดด้วยรัก ทักด้วยห่วงใย" ย่อมต้องใช้ใจประสานใจทักทอเครือข่าย จึงจะพูด ด้วยรักทักทายด้วยห่วงใยกันได้ นำไปสู่การพัฒนาครอบครัวตามเป้าหมายและ วัตถุประสงค์ของศูนย์พัฒนาครอบครัว


      วันนี้เมื่อสามปีก่อน (2553) ผู้เขียนได้รับแจ้งจากทางเทศบาลตำบลปากพะยูนว่า  

ที่ประชุมมีมติเลือกผู้เขียนเป็นประธาน"ศูนย์พัฒนาครอบครัว" ศพค. ในชุมชนเทศบาล  

จากวันนั้นมาถึงวันนี้ สามปีกว่า ศูนย์พัฒนาครอบครัวในเทศบาลตำบลปากพะยูน ได้มี

กิจกรรมโครงการทุกปี  โดยได้รับสนับสนุนทางด้านงบประมาณจากเทศบาลและ 

พมจ.พัทลุง(พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพัทลุง) เป็นหลัก

         ปีแรกทำโครงการสันทนาการครอบครัว รู้จักกัน แลกเปลี่ยนกัน

 มาสู่ปีที่ สองทำโครงการ พัฒนาศักยภาพแกนนำกลุ่มสตรีและครอบครัว 

มาปีนี้ทำโครงการ"ครอบครัวอบอุ่น พูดด้วยรัก ทักด้วยห่วงใย" ได้ออกแบบวิชาการไว้ 

3 เรื่อง คือ การสร้างเสริมสัมพันธภาพในครอบครัว  

กิจกรรมพ่อแม่ลูก ร่วมกันแก้ปัญหาครอบครัว

และแลกเปลี่ยนทัศนคติสรุปประเมินผลการจัดกิจกรรม คัดครอบครัวอบอุ่น 

      ซึ่งผู้เขียนร่วมเป็นวิทยากร  ร่วมกับหมอหวาน ที่ปรึกษา ศพด.(ศูนย์พัฒนาเด็ก

เล็ก)อำเภอกงหรา ซึ่งมีทักษะในเรื่องเด็กและครอบครัวเป็นอย่างดี  โดยแทนที่จะ

เชิญวิทยากรมาให้ความรู้ แต่ ศพด.ปากพะยูนนำกลุ่มเป้าหมายไปหาวิทยากร  

      งานนี้เจ้าของโครงการไม่ต้องเตรียม อะไรเลย อุปกรณ์ เวที และทุกๆอย่าง ทาง

วิทยากรเอื้ออำนวยความสะดวกให้หมด  ด้วยว่าทั้งผู้เขียนและวิทยากร เราทำกิจกรรม

เรื่องครอบครัวกันมาตลอด ล่าสุด ประเด็นประชาคมปลอดเหล้าที่เฝ้าทำพื้นที่ต้นแบบ 

โดยจะนำกลุ่มเป้าหมานลงพื้นที่ ไปดูพื้นที่จัดการตนเอง น้ำตกปลอดเหล้า น้ำตกนกรำ 

ซึ่งที่นี้ มีความเป็นมาที่ต้องให้กลุ่มเป้าหมายมาเรียนรู้ด้วยตนเอง  เพื่อจะได้หลักคิดไป

ทำ ทะเลสาบปลอดเหล้าบ้าง

       "พูดด้วยรัก ทักด้วยห่วงใย"  ย่อมต้องใช้ใจประสานใจทักทอเครือข่าย จึงจะพูด

ด้วยรักทักทายด้วยห่วงใยกันได้ นำไปสู่การพัฒนาครอบครัวตามเป้าหมายและ

วัตถุประสงค์ของศูนย์พัฒนาครอบครัว  ....................................


คณะทำงาน ศพค.(ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนเทศบาลตำบลปากพะยูน)

1. นาย นเรศ  หอมหวล ผู้แทนกองทุนสวัสดิการชุมชน     ประธานกรรมการ 

2. นาย สวาท สันหีม ผู้แทนกองทุนสวัสดิการชุมชน          รองประธาน 

3. นาง ฟาริดา สันสาคร ผู้แทนกลุ่มออมทรัพย์ชุมชน         รองประธาน

4. นาง ประไพ เส็นหีม ผู้แทนกลุ่มสตรี                            กรรมการ 

5. รต. สวาท  เหตุหาก ผู้แทนกรรมการชุมชนบ้านออก       กรรมการ

6. นางอรุโณทัย นกหมุด ผู้แทนกรรมการชุมชน บ้านกลาง   กรรมการ 

7. นาง ผ่องพรรณ คมเขต ผู้แทน ศพด.(ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก) กรรมการ 

8. นางมนิดา  สันบู ผู้แทนกลุ่มออมทรัพย์ ทะเลสาบ            กรรมการ 

9. นายกันตศักดิ์ หลีเพิ่มสุข ผู้แทนครู                                กรรมการ 

10.นางปริศนา โส๊ะสมัน ผู้แทนกลุ่มแม่ค้า                          กรรมการ  

11.นายอิสระ มะหมัด ผู้แทนองการปกครองส่วนท้องถิ่น        กรรมการ  

12.นายหมัดอุเส็น โสภารัตนากร ผู้แทนเครือข่ายครอบครัว    กรรมการ 

13.นาง รัตนี ส่งศรี ผู้แทน อสม.                                       กรรมการ 

14.นายสำราญ ส่งศรี ผู้แทน อสม.                                    กรรมการ

15.นางธมลวรรณ ผู้แทนสภาองค์กรชุมชน                         กรรมการ เลขานุการ



ข้อบังคับ

ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนเทศบาลตำบลปากพะยูน

หมวดที่ ๑

ความทั่วไป

ข้อ ๑ “ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนเทศบาลตำบลปากพะยูน” ย่อว่า ศพค.ทต.ปากพะยูนเป็นศูนย์กลางการรวมตัวของคนในชุมชนที่เห็นความสำคัญของครอบครัว มีการบริหารจัดการในรูปของ “คณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนเทศบาลตำบลปากพะยูน ” อยู่ภายใต้การกำกับ ดูแล และการสนับสนุนของสำนักงานเทศบาลตำบลปากพะยูนในด้านวิชาการ และงบประมาณเพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ

“คณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน” คือ บุคคลที่ได้รับการสรรหาจากเวทีประชาคม เพื่อให้เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ในการพัฒนาและส่งเสริมสถาบันครอบครัวและตำบล หมู่บ้าน ให้เข้มแข็ง

“ที่ปรึกษาศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน” คือ บุคคลที่คณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนเห็นว่าเหมาะสม และเสนอความเห็นชอบผ่านเวทีประชาคม ซึ่งควรประกอบด้วย เจ้าอาวาสวัด หรือผู้แทน , ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรปากพะยูน , ประธานสภาเทศบาล, ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี , นายกเทศมนตรี, ผู้อำนวยการโรงเรียนทุกโรงเรียน, รองนายกเทศมนตรี , รองนายกเทศมนตรี ,เลขานุการนายกเทศมนตรี

ข้อ ๒ เครื่องหมายของศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน มีลักษณะเป็นรูปหัวใจสีแดงเล็กที่ผสมผสานกับหัวใจใหญ่อยู่ภายใต้หลังคาบ้าน สื่อความหมายว่า “สร้างความรัก ความเสมอภาคร่วมกันภายในบ้าน ย่อมนำมาซึ่งความอบอุ่นและสันติสุขในครอบครัว”

ข้อ ๓ สถานที่ตั้งศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน เทศบาลตำบลปากพะยูน

ข้อ ๔ วัตถุประสงค์ของศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน

๔.๑ เพื่อให้เกิดการประสานความร่วมมือในการพัฒนาสถาบันครอบครัว ในลักษณะบูรณาการจากทุกภาคส่วนในสังคม

๔.๒ เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนมีศูนย์รวมในการพัฒนาสถาบันครอบครัวที่มีการบริหารจัดการโดยชุมชน ในรูปของศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน

๔.๓ เพื่อสร้างโอกาสให้ชุมชนได้เรียนรู้ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาสถาบันครอบครัวที่จะนำไปสู่ความเข้มแข็งของชุมชน ในการบริหารงาน และแก้ไขปัญหาสังคมอย่างยั่งยืนต่อไป

หมวดที่ ๒

สมาชิก

ข้อ ๕ สมาชิกของศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน คือ ครอบครัวในหมู่บ้าน หรือครอบครัวในชุมชน

ข้อ ๖ สมาชิกภาพของสมาชิกให้สิ้นสุดลง เมื่อย้ายภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ออกจากเขตเทศบาลตำบลเปากพะยูนอำเภอปากพะยูนจังหวัดพัทลุง

ข้อ ๗ สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก

๗.๑ มีสิทธิขอรับบริการต่าง ๆ ที่ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนจัดให้มีขึ้น

๗.๒ มีสิทธิเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนจัดให้มีขึ้น

๗.๓ มีสิทธิเข้าร่วมประชุมใหญ่สามัญประจำปีของศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน

๗.๔ มีสิทธิเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน ต่อคณะทำงานของศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน

๗.๕ มีหน้าที่ให้ความร่วมมือ และสนับสนุนการดำเนินการต่าง ๆ ของศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน

๗.๖ มีหน้าที่ช่วยเผยแพร่การดำเนินงานของศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย

หมวดที่ ๓

การดำเนินงานของศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน

ข้อ ๘ ให้มีคณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ในการพัฒนาและส่งเสริมสถาบันครอบครัวให้เข้มแข็ง มีจำนวน ๒๕ – ๓๐ คน และมีสัดส่วนหญิง – ชายใกล้เคียงกัน โดยใช้เวทีประชาคมคัดเลือกบุคคลที่มีความสามารถ กล้าแสดงความคิดเห็น มีความคิดริเริ่ม และพร้อมที่จะทำงานเพื่อส่วนรวมอย่างจริงจัง ซึ่งตำแหน่งคณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนมีตำแหน่งและหน้าที่พอสังเขปดังนี้

๘.๑ หัวหน้าคณะทำงาน ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าในการบริหารงานของศูนย์พัฒนาครอบครัว

ในชุมชนในการติดต่อประสานงานกับบุคคลภายนอก เป็นประธานในที่ประชุม คณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน และการประชุมใหญ่ของศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน

๘.๒ เลขานุการ ทำหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการ และทำหน้าที่เกี่ยวกับทะเบียนสมาชิกทั้งหมดของศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน

๘.๓ เหรัญญิก มีหน้าที่เกี่ยวกับการเงินของศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน

๘.๔ คณะทำงานอื่น ๆ ตามความเหมาะสมที่คณะทำงานทั้งหมดเห็นสมควรกำหนดให้มีขึ้น

ข้อ ๙ คณะทำงานของศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน มีวาระอยู่ในตำแหน่งได้คราวละ ๒ ปี และดำรงตำแหน่งติดต่อกันไม่เกิน ๒ วาระ แต่จะพ้นจากตำแหน่งเมื่อได้มีการจัดเวทีประชาคม คัดเลือกคณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนชุดใหม่ และคณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนชุดใหม่ได้รับแต่งตั้งเรียบร้อยแล้ว ให้คณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนชุดเก่าส่งมอบงานกับคณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัว

ในชุมชนชุดใหม่ให้เสร็จสิ้นภายใน ๓๐ วัน นับตั้งแต่วันที่คณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนชุดใหม่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง

ข้อ ๑๐ คณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนจะพ้นจากตำแหน่งซึ่งมิใช่เป็นการออกตามวาระด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

๑๐.๑ ตาย

๑๐.๒ ลาออก

๑๐.๓ ขาดจากสมาชิกภาพ

๑๐.๔ ที่ประชุมใหญ่ลงมติให้ออก

ข้อ ๑๑ คณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนถ้าต้องว่างลงก่อนครบกำหนดวาระ ก็ให้จัดเวทีประชาคมเพื่อคัดเลือกคณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนเข้าดำรงตำแหน่งที่ว่างลงนั้น แต่ผู้ดำรงตำแหน่งแทนจะอยู่ในตำแหน่งได้เท่ากับวาระของคณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนที่ตนแทนเท่านั้น

ข้อ ๑๒ คณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนที่ประสงค์จะออกจากตำแหน่ง ให้ยื่นใบลาออกเป็นลายลักษณ์อักษรต่อคณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนทั้งหมด และให้พ้นจากตำแหน่งเมื่อที่ประชุมใหญ่มีมติให้ออก

ข้อ ๑๓ อำนาจและหน้าที่ของคณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน

๑๓.๑ จัดทำแผนปฏิบัติการในลักษณะบูรณาการ เพื่อการพัฒนา ป้องกัน แก้ไขปัญหา

ครอบครัวกับกลุ่มเป้าหมาย ๓ กลุ่ม (กลุ่มเด็ก เยาวชนก่อนสมรส กลุ่มครอบครัวปกติ กลุ่มครอบครัวมีปัญหา) โดยให้เป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาตำบล

๑๓.๒ ร่วมประชุมคณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนอย่างสม่ำเสมอ

๑๓.๓ จัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับปัญหาความต้องการของครอบครัวในชุมชน

๑๓.๔ สำรวจและจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับครอบครัว

๑๓.๕ ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายครอบครัวในชุมชน

๑๓.๖ จัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาสถาบันครอบครัว

๑๓.๗ จัดบริการให้คำปรึกษาแนะนำในการแก้ไขปัญหาครอบครัว

๑๓.๘ จัดหางบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานพัฒนาสถาบันครอบครัว

๑๓.๙ ประสานงานกับหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน และกลุ่มองค์กรต่าง ๆ

๑๓.๑๐ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์งานของศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน

ข้อ ๑๔ คณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน จะต้องจัดการประชุมอย่างน้อย ๔ เดือน ต่อ ๑ ครั้ง เพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับการบริหารงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน และต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ปีละ ๑ ครั้ง เพื่อให้สมาชิกได้ร่วมเสนอความคิดเห็นในการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน ในกรณีที่มีเรื่องด่วน คณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน สามารถจัดประชุมเป็นกรณีพิเศษได้

ข้อ ๑๕ การประชุมคณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน จะต้องมีคณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน เข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของคณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนทั้งหมดจึงจะถือว่าครบองค์ประชุม มติของที่ประชุมคณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน ถ้าข้อบังคับมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นให้ถือคะแนนเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ แต่ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในการประชุมเป็นผู้ชี้ขาด

ข้อ ๑๖ ในการประชุมคณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน ถ้าประธานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนไม่อยู่ในที่ประชุม หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ก็ให้รองประธานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนคนใดคนหนึ่งทำหน้าที่เป็นประธานในการประชุมคราวนั้น

หมวดที่ ๔

การประชุมใหญ่

ข้อ ๑๗ การประชุมใหญ่ของศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน คือ การประชุมใหญ่สามัญประจำปี ซึ่งคณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน จะต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ปีละ ๑ ครั้ง ภายในเดือนตุลาคมของทุกปี หรือตามมติของที่ประชุมใหญ่ เพื่อ

๑๗.๑ แถลงผลการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนที่ผ่านมาในรอบปี

๑๗.๒ รับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอต่าง ๆ ของสมาชิก เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการ

ดำเนินงาน

๑๗.๓ อื่น ๆ

ข้อ ๑๘ การแจ้งกำหนดนัดประชุมใหญ่ ให้เลขานุการเป็นผู้แจ้งกำหนดนัดประชุมใหญ่ให้สมาชิกได้ทราบ และการแจ้งจะต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร โดยระบุวันเวลาและสถานที่ให้ชัดเจน โดยต้องแจ้งให้สมาชิกได้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๓ วัน ก่อนถึงกำหนดการประชุมใหญ่

ข้อ ๑๙ ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี จะต้องมีสมาชิกเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิก จึงจะถือว่าครบองค์ประชุม

ข้อ ๒๐ การลงมติต่าง ๆ ในที่ประชุมใหญ่ ถ้าข้อบังคับมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ก็ให้ถือคะแนนเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ แต่ถ้าคะแนนเสียงที่ลงมติมีคะแนนเสียงเท่ากัน ก็ให้ประธานในการประชุมเป็นผู้ชี้ขาด

ข้อ ๒๑ ในการประชุมใหญ่ของศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน ถ้าหัวหน้าคณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนไม่มาร่วมประชุม หรือไม่สามารถจะปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานตามลำดับปฏิบัติหน้าที่แทน และหากรองประธานทั้งสามไม่มาร่วมประชุม หรือไม่สามารถจะปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมใหญ่ทำการเลือกคณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนที่มาร่วมประชุมคนใดคนหนึ่งทำหน้าที่เป็นประธานในการประชุมคราวนั้น

หมวดที่ ๕

การเงินและทรัพย์สิน

ข้อ ๒๒ การเงินและทรัพย์สินทั้งหมด ให้อยู่ในความรับผิดชอบของคณะทำงานของศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน เงินสดของศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนถ้ามี ให้นำฝากไว้ในธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือธนาคารของรัฐบาล ในนามของคณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน

ข้อ ๒๓ ให้หัวหน้าคณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน มีอำนาจสั่งจ่ายเงินของศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนได้ครั้งละไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท (สองหมื่นบาทถ้วน) ถ้าเกินกว่านั้นจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน และคณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนจะอนุมัติให้จ่ายได้ครั้งละไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน)

ข้อ ๒๔ การลงนามในการถอนเงินฝากจากธนาคารทุกครั้ง จะต้องเป็นคณะกรรมการผู้ที่ขอเปิดบัญชีเงินฝากลงลายมือชื่อ ๒ ใน ๓ โดยมีลายชื่อของหัวหน้าคณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนเป็นหลักทุกครั้ง

ข้อ ๒๕ ให้เหรัญญิกมีอำนาจเก็บรักษาเงินสดของศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนได้ครั้งละไม่เกิน ๒,๐๐๐ บาท (สองพันบาทถ้วน) ถ้าเกินกว่าจำนวนนี้ จะต้องนำฝากธนาคารในบัญชีของศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนทันทีภายในวันทำการรุ่งขึ้น

ข้อ ๒๖ เหรัญญิกจะต้องจัดทำบัญชีรายรับ – รายจ่าย และบัญชีงบดุลให้ถูกต้องตามหลักการบัญชี

หมวดที่ ๖

การเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อบังคับ

ข้อ ๒๗ ข้อบังคับของศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ โดยมติของที่ประชุมใหญ่เท่านั้น มติของที่ประชุมใหญ่ในการให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อบังคับ จะต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า ๒ ใน ๓ ของสมาชิกที่เข้าร่วมประชุมทั้งหมด

หมวดที่ ๗

บทเฉพาะกาล

ข้อ ๒๘ ข้อบังคับนี้ให้เริ่มใช้บังคับได้นับตั้งแต่วันที่ ๑๔ เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป

หมายเลขบันทึก: 540820เขียนเมื่อ 28 มิถุนายน 2013 20:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2014 23:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ขอฝากด้วยคน...ความจริงใจ...ใส่ใจ...และรับฟังอย่างให้เกียรติเป็นสิ่งที่ลูกต้องการ....กิจกรรมร่วมกันของครอบครัวสร้างความสัมพันธ์ที่ดี....อย่าให้เวลากับสิ่งอื่นมากกว่าการรับฟังลูกน่ะค่ะ

สวัสดีครับคุณ เตี้ยเสี่ยวเหม่ย  ขอบคุณอย่างสูงที่เข้ามาแลกเปลี่ยน 

เรื่องครอบครัวเป็นเรื่องละเอียดอ่อน  ทุกวันนี้ สถาบันครอบครัว กำลังล่มสลาย ที่หลายภาคส่วนต้องร่วมมือกัน

ชุมชนเข้มแข็งต้องมาจากรากฐานของครอบครัว 

สร้างสังคมจากฐานราก สร้างสังคมจากครอบครัวครับท่าน



กรรมการอุ่นหนาฝาคั่งดีจังจ้ะลุงวอ  ศพด.ของคุณมะเดื่อยังรอก้าวสุดท้ายอยู่อีกเพียงก้าวเดียวจ้ะ  

จากนั้นคงได้เอามาอวดลุงวอบ้างล่ะจ้ะ

..... ศูนย์เด็กเล็ก ..... เป็นพื้นที่สร้างสรรค์ พื้นที่ที่จะสร้าง อนาคตของเด็กๆ นะคะ ..... ขอบคุณ โครงการดีดีนี้นะคะ ท่าน วอญ่า สบายดีนะคะ

เป็นกำลังใจให้ครับบัง กิจกรรมดีๆอย่างนี้

สวัสดี น้องมะเดื่อ วันนี้เหนื่อยกับการนำทีมผู้ปกครองเด็กๆไปทำกิจกรรมครอบครัวสัมพันธ์

อยากพักเหมือนกัน แต่อยากเขียนบันทึก ก่อนนอน

เรียนคุณ หมอเปิ้น ขณะนี้กำลังประสานความร่วมมือ ระหว่าง ศพด กับ ศพค.เพื่อทำกิจกรรมครอบครัวร่วมกัน โดยฝ่ายทันต์จะออกตรวจสุขภาพช่องปากให้ เป็นการทำงานแบบไตรภาคี

ขอบคุณ คุณ พ. กำลังใจที่มีให็ ศูนย์พัฒนาครอบครัวเทศบาลตำบลปากพะยูน


....แวะมาชื่นชมกิจกรรมที่ดีมีประโยชน์นะคะ

ขอบคุณท่านดร.พจนา  ที่มาให้กำลังใจ ศูนพัฒนาครอบครัวเทศบาลตำบลปากพะยูน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท