เทคโนโลยีเพื่อการบริหารจัดการน้ำ


สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สสนก. เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีการบริหารจัดการน้ำ โดยการบูรณการข้อมูลสารสนเทศน้ำจากหน่วยงานต่าง ๆ เช่น กรมชลประทาน กรมอุตุนิยมวิทยา ฯลฯ มาใช้ในการบริหารจัดการน้ำระดับชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดความคุ้มค่าในการใช้น้ำ ซึ่งน้ำเป็นต้นทุนชีวิต ต้นทุนการผลิตของภาคการเกษตรของประเทศ

การดำเนินงานหมู่บ้านแม่ข่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สสนก. จะดำเนินการคัดเลือกหมู่บ้านที่มีศักยภาพและความพร้อมในการเป็นต้นแบบและนำไปสู่การขยายผล จากการประกวดการจัดการทรัพยากรน้ำชุมชน ตามแนวพระราชดำริ  โดยหลักการพัฒนาหมู่บ้านด้วยเทคโนโลยีการบริหารจัดการน้ำระดับชุมชน ใช้หลักการ “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา”  สร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการทำความเข้าใจบริบท สภาพแวดล้อมทั้งภูมิประเทศ ภูมิอากาศของชุมชนที่ตนเองอาศัยอยู่ เรียนรู้ และแบ่งปันประสบการณ์จากรุ่นสู่รุ่น ช่วยกันคิด สร้าง และปฏิบัติ จนก่อให้เกิดผลกระทบมากมายต่อตนเอง ครอบครัว และชุมชนที่ตนเองต้องใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นในการประกอบสัมมาอาชีพต่างๆ  โดยเฉพาะการประยุกต์ใช้งานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาสนับสนุนการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบให้กับการทำงานของผู้ใหญ่ในชุมชน โดยเยาวชนสามารถทำกิจกรรมของกลุ่มได้อย่างสอดคล้องไปกับชุมชนอย่างถูกต้อง เหมาะสม และเสริมศักยภาพซึ่งกันและกันให้ดียิ่งขึ้น ดังนี้


  


เทคโนโลยีที่ใช้ในการบริหารจัดการน้ำระดับชุมชน

•เทคโนโลยีด้านการจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ: รวบรวมจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานชุมชน ข้อมูลรายได้ผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ข้อมูลแหล่งน้ำ ข้อมูลการเกษตร บัญชีการใช้น้ำ การบริหารจัดการโครงการ

•เทคโนโลยีด้านสารสนเทศภูมิศาสตร์ : การสำรวจพื้นที่ การใช้กล้องระดับและเครื่องมือระบุค่าพิกัด (GPS) การใช้แผนที่ภาพถ่ายจากดาวเทียม แผนที่ระดับความสูง ภาพถ่ายทางอากาศ การใช้โปรแกรม Quantum GIS สำหรับประมวลผลข้อมูลด้านสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) เช่น แหล่งน้ำ ฝาย เป็นต้น 

•เทคโนโลยีด้านการจัดการน้ำ : การวิเคราะห์สภาพปัญหาด้านน้ำในชุมชน การหาแหล่งกักเก็บน้ำที่มีความเหมาะสม วิธีการกักเก็บน้ำจืดในพื้นที่ การซ่อมแซมและพัฒนาแหล่งกักเก็บน้ำจืดในพื้นที่ การวางแผนการใช้น้ำ การบริหารจัดการ การออกแบบ การก่อสร้างและการควบคุมงาน โครงการแหล่งน้ำขนาดเล็กต่างๆ

•ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสืบค้นข้อมูล การติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ให้และผู้รับเทคโนโลยี การใช้โปรแกรม Microsoft Office เพื่อการบันทึก การจัดเก็บข้อมูลการสำรวจ การนำเสนอผลงาน เช่น ส่งเสริมการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับเยาวชน เช่น การตรวจวัดคุณภาพดินและน้ำ การจัดทำฐานข้อมูลพรรณไม้ชุมชน เป็นต้น 

•การสร้างเครือข่ายและเยาวชน : การขยายแนวคิดและถ่ายทอดวิธีการบริหารจัดการน้ำสู่ชุมชนข้างเคียง การพัฒนาศักยภาพเยาวชนด้านการจัดเก็บข้อมูล การประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับเยาวชน เช่น การวัดค่าความเค็ม การตรวจวัดคุณภาพน้ำ

คำสำคัญ (Tags): #น้ำ#ฝาย
หมายเลขบันทึก: 540559เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2013 09:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2015 12:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะคุณเอกพงศ์...เป็นเรื่องที่ดีมากนะคะ ที่มีการนำเทคโนโลยี่ด้านต่างๆมาใช้ในการบริหารจัดการน้ำในระดับชุมชน...การศึกษาแหล่งน้ำและเส้นทางเดินของน้ำอย่างถูกต้องชัดเจน ตลอดจนปลูกฝังให้เห็นความสำคัญของแหล่งน้ำในชุมชนให้แก่เยาวชน ผู้ที่จะต้องสืบสาน ดูแล และใช้ประโยชน์จากน้ำอย่างคุ้มค่าที่สุดต่อไปในอนาคตนะคะ...ขอบคุณบันทึกดีๆค่ะ

ขอบคุณครับ เห็นด้วยครับหาสามารถบรรจุเนื้อหาเทคโนโลยีเหล่านี้เข้าไปในหลักสูตร พร้อมๆกับการสร้างกิจกรรมเพื่อสร้างจิตสำนึกของการอนุรักษ์ ทั้งป่า น้ำ  ไปพร้อม ๆ กันจะเป็นประโยชน์ต่อแผ่นดินมากเลยครับ

พ่อหลวงของเรา มีวิสัยทัศน์กว้างไกลมากๆ มาร่วมสำนึกพระมหากรุณาธิคุณค่ะ ขอบคุณผู้สืบสานงานต่อค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท