เปิดภาคเรียนใหม่กับรายวิชาใหม่ IS1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ตอนที่ ๕ "ไม้ใจเย็น"


      ตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่วางไว้ครูนกต้องสอนให้นักเรียนสามารถใช้วิธีการเรียนรู้ผ่านภาพหรือ
สัญญลักษณ์ได้  แต่เนื่องวิชานี้ในวันนี้มีเพียงคาบเดียวและคาบ 8 ครูนกเลยพลิกบทเรียนไปในรูปแบบให้ดูการ์ตูนยอดนิยม(ในสมัยครูนก)  ชื่อตอน "ไม้ใจเย็น"  เพื่อจะเรียนรู้การสื่อสารด้วยภาพและสัญญลักษณ์

           


     ก่อนจะเริ่มดูการ์ตูนครูนกตั้งประเด็นคำถามให้นักเรียนตอบ 2 ประเด็นคือ

  1. ถ้านักเรียนเป็นโดราเอมอนจะให้ไม้ใจเย็นกับโนบิตะหรือไม่ เพราะเหตุใด
  2. ถ้านักเรียนมีไม้ใจเย็นจะใช้หรือไม่อย่างไร
    จากนั้นพวกเราก็ชมวิดีโอพร้อมๆ กัน  สังเกตเด็กๆผ่อนคลาย และสนุกไปกับเนื้อเรื่อง
                  
    เมื่อดูเสร็จครูนกถามว่าทำไมไม้ใจเย็นต้องมีลักษณะเป็นเครื่องหมายกากบาท  และทำไมเวลาจะใช้ไม้ใจเย็นต้องชี้ไปที่ปาก  ชวนคิดชวนคุยจนได้แนวคิดว่า  ไม้ใจเย็นเหมือนสัญญลักษณ์ให้เราปิดวาจา  หรือคิดก่อนจะพูดจะทำให้สถานการณ์ดีขึ้น และจากคำตอบเด็กๆ ก็จะพบว่า นักเรียนมีแนวโน้มจะใช้ไม้ใจเย็นอย่างสร้างสรรค์
หมายเลขบันทึก: 539856เขียนเมื่อ 19 มิถุนายน 2013 17:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ตุลาคม 2013 20:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ชอบ ๆๆๆๆๆๆๆๆ โดราเอม่อน  การ์ตูนโปรดของคุณมะเดื่อนะจะบอกให้  อิ อิ

คุณครูมืออาชีพ ต้องรู้จักปรับการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะกับเวลาและสถานการณ์ เช่นนี้แหละนะคะ

สวัสดีค่ะ คุณมะเดื่อ
ครูนกเองก็ชอบ.....และตอนได้ยินเด็กๆ พูดว่า ตอนนี้ไม่เคยดูเลยครับ อยากดูอีก......เป็นประโยคที่น่าสุขใจเพราะได้ทำให้เด็กๆ สุขได้โดยใช้สื่อไม่ซับซ้อน


สวัสดีค่ะ   อาจารย์วิไล หรือ ไอดิน-กลิ่นไม้

-  ต้องปรับค่ะ ยิ่งเมื่อครูอายุเพิ่มขึ้นต้องเรียนรู้ที่จะปรับตัวมากมายทั้งนี้เพื่อศิษย์ครูทำได้ อยากให้เด็กๆ คิดเป็นแก้ปัญหาเป็น และไม่เห็นแก่ตัวนะค่ะอาจารย์

แหม.. เอาการ์ตูนมาล่อเด็กๆเลยนะคะครูนก

สวัสดีค่ะ คุณkunrapee
- ต้องบอกว่าใช้ของที่เด็กๆชอบค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท