สุภาษิต – คำพังเพย – สำนวนไทย


                                                  สุภาษิต – คำพังเพย – สำนวนไทย

                                                  นายอานนท์ ภาคมาลี (หมอแดง)

ความหมาย

สำนวน หมายถึง ถ้อยคำที่เรียบเรียงด้วยความคมคายสละสลวย ใช่พูดสื่อสารกัน มีความหมายเป็นนัย กินความลึกซึ้ง แต่เป็นที่เข้าใจกันแพร่หลาย ถ้อยคำที่เรียบเรียงไว้จะสลับที่ หรือตัดทอนไม่ได้ เช่น หัวหกก้นขวิด หมูไปไก่มา ตีนเท่าฝาหอย อ้อยเข้าปากช้าง ขวานผ่าซาก คว้าน้ำเหลว ปั้นน้ำเป็นตัว

คำพังเพย จะเป็นคำที่กล่าวไว้ให้ตีความเข้ากับเรื่อง มีความหมายทำนองติชม การเปรียบเทียบ และให้ข้อคิดในการปฏิบัติ เช่น คางคกขึ้นวอ กระต่ายตื่นตูม เห็นช้างขี้ อย่าขี้ตามช้าง ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง น้ำพึงเรือ เสือพึงป่า

สุภาษิต หมายถึง ถ้อยคำที่กว้างเป็นทำนองให้คู่คิด คติ สั่งสอน เพื่อกระทำความดี และละเว้นความชั่ว เช่น ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั้น ฝนทั่งให้เป็นเข็ม ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว อย่าชิงสุกก่อนหาม คติ เห็นกงจักร เป็นดอกบัว กงเกวียนกงกรรม รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี

คำขวัญ มักเป็นคำปลอบขวัญหรือปลุกใจให้มุ่งมั่น เช่นคำว่า กรุงศรีอยุธยา ยังไม่สิ้นคนดี(หมายถึงเมืองไทยยังไม่สิ้นคนดี) ชาติเสือต้องไว้ลาย ชาติชายต้องไว้ชื่อ ช้าๆได้พร้าเล่มงาม

ข้อสังเกต โดยทั่วไปสำนวนจะมีความหมายคลอบคลุม ถึง สุภาษิต คำพังเพย จึงอยากที่จะแยกกันได้เด็ดขาด

กินฟรีได้ แต่ไม่อยากกิน 

 เกรงใจ…ไม่เอา…อาย…

ของเขาซื้อเขาขาย…

ไหนต้องตัก ไหนต้องล้าง 

มีก็กิน...ไม่มีก็ไม่กิน…

ไม่ขอใคร…

คนเราอดตาย…หายาก 

 ถ้าไม่เจ็บ…ไม่มีได้นะ…

ดูแต่หอยซิ…ไม่มีมือ ไม่มีตีน

มันยังหากินเองได้…

ประสาอะไรกับ…คน มีมือมีเท้า

หากินเองไม่ได้…ก็อายหอย

ขายอย่าให้แพง คนเขาจะได้กินลง

ฉันขายถูกๆ เอาไปเถอะ

ซื้อไปแกงให้พอหม้อ

ชีวิตคน เหมือนสะพาน 

มีขึ้น…มีลง 

มีสูง…มีต่ำ 

พอสุดท้าย…ก็ตาย


หมายเลขบันทึก: 539516เขียนเมื่อ 16 มิถุนายน 2013 18:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2013 19:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เป็นเรื่องที่มีประโยชน์นะคะ ทั้งสำหรับนักเรียนนักศึกษา ครูอาจารย์ และคนทั่วไป เพราะบางทีเราก็ใช้คำว่า สุภาษิตคำพังเพยไปพร้อมๆ กัน พอให้บอกว่า สองอย่างนี่มันต่างกันอย่างไร นักศึกษาก็มักจะตอบไม่ได้ ผู้ใหญ่เราก็เหมือนกันค่ะ

ไอดินฯ มักจะนำสิ่งที่คุณอานนท์พูดถึงมาสอดแทรกในกิจกรรมการเรียนการสอน เช่น ให้นักศึกษาจัดกลุ่มถาวรเพื่อพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีม แล้วให้คิดคำขวัญประจำกลุ่ม...ถามว่า คนไทยมักจะมีปัญหาในการทำงานเป็นทีม ซึ่งตรงกับสำนวน สุภาษิต หรือคำพังเพยว่าอย่างไร (เช่น มากหมอมากความ ปัดแข้งปัดขา เสือสองตัวอยู่ในถ้ำเดียวกันไม่ได้ มือไม่พายแล้วยังเอาเท้าราน้ำ...เป็นต้น) 

เมื่อก่อนไปแวะมาแวะ  พอเสือขบแพะไม่แวะไม่เวียน  คำพังเพยคนใต้


สำนวนตรงนี้ ...จำได้ว่าเป็นของปู่เย็น กล่าวไว้น่าฟังมาก ๆ 

"  กินฟรีได้ แต่ไม่อยากกิน 

 เกรงใจ…ไม่เอา…อาย…

ของเขาซื้อเขาขาย…

ไหนต้องตัก ไหนต้องล้าง 

มีก็กิน...ไม่มีก็ไม่กิน…

ไม่ขอใคร…

คนเราอดตาย…หายาก 

 ถ้าไม่เจ็บ…ไม่มีได้นะ…

ดูแต่หอยซิ…ไม่มีมือ ไม่มีตีน

มันยังหากินเองได้…

ประสาอะไรกับ…คน มีมือมีเท้า

หากินเองไม่ได้…ก็อายหอย

ขายอย่าให้แพง คนเขาจะได้กินลง

ฉันขายถูกๆ เอาไปเถอะ

ซื้อไปแกงให้พอหม้อ

ชีวิตคน เหมือนสะพาน 

มีขึ้น…มีลง 

มีสูง…มีต่ำ 

พอสุดท้าย…ก็ตาย

คนเราอดตาย…หายาก 

 ถ้าไม่เจ็บ…ไม่มีได้นะ…

ดูแต่หอยซิ…ไม่มีมือ ไม่มีตีน

มันยังหากินเองได้…

ประสาอะไรกับ…คน มีมือมีเท้า

หากินเองไม่ได้…ก็อายหอย " 



ถูกต้องครับของปู่เย็น ผมนำมาลงเพื่อให้ทุกๆคนได้เรียนรู้ คำคมของปู่เย็น ผมต้องขออภัยปู่เย็นและญาติๆด้วยมาด้วยความเคารพ

สวัสดีค่ะ

แวะมาเรียนรู้กับบันทึกนี้ค่ะ

เป็นบันทึกที่น่าสนใจมากค่ะ

ขอบคุณสำหรับบันทึกนี้นะคะ

ขอบคุณค่ะ^^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท