จรรทิมา หลงประไพ
ชำนาญการ จรรทิมา หลงประไพ เก่ง หลงประไพ

รายงานการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4


หัวข้อรายงาน  รายงานการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช

  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ผู้รายงาน   นางจรรทิมา  เวลาดี  ครูชำนาญการ โรงเรียนบ้านดอนตาวง

ปีการศึกษา   2555

                                                                       บทคัดย่อ

                          การรายงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อสร้าง และหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4(2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ(3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

                         กลุ่มเป้าหมาย  ได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555  โรงเรียนบ้านดอนตาวง อำเภอสามโก้  จังหวัดอ่างทอง จำนวน 12 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง(Purposive Sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test)

                          ผลการรายงานพบว่า (1)ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่สร้างขึ้น ชุดที่ 1 เรื่องการลำเลียง และการคายน้ำของพืช มีค่าประสิทธิภาพ 82.17/81.67 ชุดที่ 2 เรื่อง การเจริญเติบโตของพืช มีค่าประสิทธิภาพ 82.50/80.83 ชุดที่ 3 เรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช มีค่าประสิทธิภาพ 82.78/82.50 ชุดที่ 4 เรื่อง การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืช มีค่าประสิทธิภาพ 82.29/81.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80  ที่กำหนดไว้ (2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช หลังจากใช้แล้วมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.57)


หมายเลขบันทึก: 539359เขียนเมื่อ 14 มิถุนายน 2013 22:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2013 22:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท