วันผู้บริจาคโลหิตโลก..จร้า



วันแห่งการขอบคุณผู้บริจาคโลหิตที่ยิ่งใหญ่ ‘Every blood donation is a gift of life’ มอบโลหิต เป็นนของขวัญต่อชีวิตเพื่อนมนุษย์

วันนี้ตรงกับวันครบรอบ 10 ปี วันผู้บริจาคโลหิตโลก จร้างานนี้มณีเทวาขอแอบเด็กไปร่วมงานเพื่อเป็นแบบอย่างของผู้ที่มีสุขภาพดี พร้อมทั้งเป็นแบบอย่างของการให้สำหรับเด็กและเยาวชนอีกด้วยนะคะ เลยเป็นอีกวันหนึ่งที่ต้องแอ๊บเด็กนะคะ....อุ๊ยดีใจจัง....555  ที่ได้มีโอกาสประดับเข็มเครื่องหมายเยาวชนพระราชทานอีกครั้งนะคะ สำหรับวันนี้....


จากการที่ สหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (International Federation of Red Cross and Red Crescent Societies) และองค์การอนามัยโลก (World Health Organization),  The International Federation of Blood Donor Organizations, The International  Society of Blood Transfusion ได้กำหนดให้วันที่ 14 มิถุนายน ของทุกปี เป็น “วันผู้บริจาคโลหิตโลก” (World Blood Donor Day) เพื่อเป็นวันที่ระลึกถึง ดร.คาร์ล แลนด์สไตเนอร์ (Karl Landsteiner) ผู้ค้นพบหมู่โลหิตระบบเอบีโอ เป็นครั้งแรก และเชิญชวนให้สภากาชาดทั่วโลกจัดกิจกรรมร่วมเฉลิมฉลอง  โดยเริ่มเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2547


ดร.คาร์ล แลนด์สไตเนอร์ (Karl Landsteiner) เกิดเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน ค.ศ. 1868 ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ในครอบครัวนักกฎหมาย และนักหนังสือพิมพ์ ที่ถือได้ว่ามีชื่อเสียงในยุคนั้น พออายุได้ 6 ขวบ บิดาของเขาก็เสียชีวิต


คาร์ล มีความสนใจทางการแพทย์มาตั้งแต่ต้น เขาได้เข้าศึกษาในวิชาแพทยศาสตร์ จนสำเร็จเป็นนายแพทย์ เมื่อปี ค.ศ. 1891 ต่อจากนั้น เขาก็ได้ทำงานทางด้านวิจัย และค้นคว้าทางการแพทย์ เกี่ยวกับแบคทีเรียและพยาธิวิทยา ในโรงพยาบาลที่กรุงเวียนนา และเริ่มสนใจ เรื่องรากฐานของภูมิคุ้มกันและพยาธิวิทยา ตลอดระยะเวลาร่วม 20 ปี ที่เขาทำการค้นคว้าวิจัยนั้น เขาได้เขียนตำรา และเอกสารทางการแพทย์ ออกมามากมาย ซึ่งส่วนใหญ่มีประโยชน์ และมีความสำคัญ ทางวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นอันมาก อาทิ  ลักษณะของเนื้อเยื่อที่เป็นโรค เรื่องภูมิคุ้มกันโรคของร่างกาย โรคเลือดในปัสสาวะ สาเหตุของโรคไขสันหลังอักเสบ และภูมิคุ้มกันของร่างกายที่มีต่อโรคนี้ และการค้นพบ ที่ทำให้เขาได้รับชื่อเสียงมากที่สุด ก็คือ การค้นพบชนิดของหมู่เลือดในคน


ในสมัยนั้นการให้เลือดแก่ผู้ป่วย ยังไม่ค่อยได้รับผลสำเร็จนัก เพราะเลือดที่ให้มักตกตะกอนในสายเลือดของผู้ป่วย และเม็ดเลือดมักจะแตก ทำให้ผู้ป่วยมีอาการช็อก เป็นดีซ่าน โดยคาร์ล ได้ให้ข้ออธิบายไว้ว่า ที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะเม็ดเลือดในคนแต่ละคนไม่เหมือนกัน จึงเป็นสาเหตุให้เกิดปฏิกิริยา ระหว่างเม็ดเลือดที่ต่างชนิดกัน และเกิดการตกตะกอนขึ้น


การค้นพบหมู่โลหิตระบบนี้เริ่มในปี ค.ศ. 1900 โดยคาร์ล แลนด์สไตเนอร์ ได้ทดลองเจาะโลหิตของผู้ร่วมงานจำนวน 6 คน แล้วนำมาแยกเม็ดเลือดโลหิตแดง และน้ำเหลืองออกจากกัน ต่อจากนั้นได้นำเม็ดโลหิตแดง และน้ำเหลืองของแต่ละคนมาทำปฏิกิริยาสลับกันไปมา ปรากฏว่าบางคู่เกิดปฏิกิริยาจับกลุ่ม บางคู่ก็กลืนเป็นเนื้อเดียวกัน จากปรากฏการณ์นี้ต่อมาในปี ค.ศ. 1901 คาร์ล แลนด์สไตเนอร์ จึงสรุปผลการทดลองค้นคว้าว่าโลหิต แบ่งออกเป็น 3 หมู่ คือ หมู่ A, B และ O สำหรับหมู่ที่ 4 คือ AB พบโดย วอน เดอ คาสติโล และสเตอลิ ในปี ค.ศ.1902


ในปี ค.ศ. 1909 คาร์ล ได้ตีพิมพ์เอกสาร แสดงให้เห็นว่าเลือดของมนุษย์ สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายชนิด คือ เอ  บี  เอบี  และโอ และได้ทำการชี้แจงว่า การถ่ายเลือดจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง ที่มีกลุ่มเลือดเดียวกัน เลือดจะไม่เกิดปฏิกิริยาตกตะกอน นอกจากว่าบุคคลทั้งสอง จะมีเลือดคนละกลุ่ม ซึ่งการค้นพบในครั้งนี้ ก่อให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์อย่างมหาศาล จากการค้นพบในครั้งนี้ ทำให้คาร์ล ได้รับรางวัลโนเบล สาขาสรีรวิทยา หรือแพทยศาสตร์ ในปี ค.ศ.1930  ต่อมาคาร์ล เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1943 ด้วยโรคหัวใจ รวมอายุได้ 75 ปี
 
สภากาชาดไทย โดยศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ได้มีส่วนร่วมในการจัดงาน วันผู้บริจาคโลหิตโลกมาอย่างต่อเนื่อง ปีนี้ครบรอบ 10 ปี  วันผู้บริจาคโลหิตโลกแล้ว สำหรับปีนี้ Slogan คือ “Every blood donation is a gift of life”  มอบโลหิต  เป็นของขวัญต่อชีวิตเพื่อนมนุษย์ เพื่อเป็นการขอบคุณผู้บริจาคโลหิต ส่งเสริมงานด้านบริการโลหิต  รวมทั้งร่วมกันเป็นผู้บริจาคโลหิตด้วยความสมัครใจ ไม่หวังสิ่งตอบแทนใด ๆ โดยจัดขึ้นที่ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ถนนอังรีดูนังต์ ในวันที่ 16 มิถุนายน 2556 ตั้งแต่เวลา 08.00-16.00 น. มีกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย  อาทิ การแสดงพลังของสมาชิกสมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย แปรอักษรขบวนจักรยาน “10 ปี วันผู้บริจาคโลหิตโลก” และขบวนพาเหรดจักรยาน, การรับบริจาคโลหิต ลงทะเบียนเป็นอาสาสมัครบริจาคสเต็มเซลล์  อวัยวะ ดวงตา, กิจกรรมติดป้ายแสดงตนว่าเป็นผู้บริจาคโลหิตด้วยความสมัครใจบนกำแพง แห่งมนุษยธรรม (Wall of Humanity), ถ่ายภาพที่ระลึก,  พร้อมเกมชิงรางวัลมากมาย,  กิจกรรม Club 25 of Thailand (ชมรมเยาวชนไทย ผู้นำการบริจาคโลหิต), มินิคอนเสิร์ตจากศิลปิน นักร้อง และการประมูลของดารา เป็นต้น เพื่อเป็นการขอบคุณผู้บริจาคโลหิตที่มาบริจาคโลหิตภายในงาน จะได้รับเสื้อวันผู้บริจาคโลหิตโลก เป็นที่ระลึก


ผู้บริจาคโลหิต เป็นผู้ให้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด


ข้อมูลจาก ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย.


หมายเลขบันทึก: 539326เขียนเมื่อ 14 มิถุนายน 2013 17:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2013 18:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

  • การให้มีหลายรูปแบบจริงๆครับ...ผมเห็นด้วยว่า การบริจาคโลหิตเป็นการให้ที่ยิ่งใหญ่มากครับ
  • ขอบคุณอาจารย์ที่นำเอาเรื่องราวดีๆ มาเผยแพร่ครับ
  • ต้องขอตังค์ซื้อยาหยอดตาแล้วครับ เพราะผมไล่อ่านบันทุกทุกวรรค และบรรทัด
  • ตาลายเลยครับ (แซวเล่นครับ)
  • อาจารย์สบายดีนะครับ

หายไปนานจัง...คิดถึงบันทึก และเจ้าของบันทึกครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท