วัดสุวรรณคีรีเขต (วัดกะรน)


การปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices)

ของวัดสุวรรณคีรีเขต (วัดกะรน)

ด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

๑. สภาพทั่วไป / ความเป็นมา

  วัดสุสวรรณคีรีเขต ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๑ ตำบลกะรน อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต เป็นวัดราษฎร์เขตฝ่ายมหานิกายปกครองภาค ๑๗  ได้จัดตั้งเป็นวัดมาก่อน ปี พ.ศ. ๒๔๘๒ เดิมชื่อวัดกะรนตามชื่อบ้าน เปลี่ยนชื่อเป็นวัดสุวรรณคีรีเขต เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐

  ในการส่งเสริมกิจการพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนถาวร รุ่งเรืองสืบไป ต้องอาศัยพระสังฆาธิการเป็นสำคัญ เนื่องจากพระสังฆาธิการเป็นผู้ใกล้ชิดประชาชน โดยเฉพาะระดับเจ้าอาวาสซึ่งเป็นที่เคารพเลื่อมใสของประชาชน และมีบทบาทโดยตรงต่อการบริหารกิจการคณะสงฆ์ให้ดำรงสืบไป

ในฐานะเป็นเจ้าอาวาส ผู้มีหน้าที่บริหารและปกครองวัด ที่อยู่ใกล้ชิดชาวบ้านมากที่สุด และมีหน้าที่เผยแผ่พระพุทธศาสนาจึงจะเจริญรุ่งเรือง ก็เพราะว่าความเลื่อมใสของชาวบ้าน ย่อมเป็นตัวจักรสำคัญในความเจริญของพระพุทธศาสนา ดังนั้นการพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางของชุมชน เจ้าอาวาสจะต้องเป็นบุคคลที่ประชาชนเคารพนับถือ เป็นที่ตั้งในศรัทธาของประชาชน เป็นผู้นำในด้านต่าง ๆ รวมทั้งการปฏิบัติธรรมตามหลักคำสอนของพระพุทธเข้า

๒.  วัตถุประสงค์

๑. เพื่อให้ประชาชนทั่วไปมีความรู้ความเข้าใจวิธีการและขั้นตอนการปฏิบัติธรรมได้ ในทุกทุกโอกาส

๒. เพื่อให้ประชาชนรู้จักการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ช่วยเสริมสร้างความรู้ด้านธรรมะให้แก่ตนเองและครอบครัวได้

๓. เพื่อให้ประชาชนมีคุณธรรมจริยธรรม  ได้แก่ ความเพียร ขยัน  ประหยัด  ความกตัญญู  ต่อบิดามารดา รู้จักการทำงานร่วมกับผู้อื่น  เสียสละและความสามัคคีในการทำงานร่วมกับผู้อื่น  ตลอดจนมีความริเริ่มสร้างงาน เกิดความพอเพียงในครอบครัว

๔. เป็นการประสานความร่วมมือร่วมใจอันดี  ระหว่างชุมชนและโรงเรียน

  ๕. นักเรียนถ่ายทอดการปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ชุมชนขั้นตอนการการดำเนินกิจกรรม

๓.วิธีการปฏิบัติสู่ความเป็นเลิศ Best  Practice

๓.๑. ขั้นตอนการดำเนินงาน 

ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการ

 
   
 
 
 
 

๔.๒. ขั้นตอนวิธีการดำเนินงาน

  ๔.๒.๑. วิเคราะห์สภาพปัจจุบันปัญหาของประชาชนที่มีปัญหาความขาดแคลน  ขาดภูมิคุ้มกันในการดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคม  ทั้งที่บ้านและที่ทำงาน

  ๔.๒.๒. ประชุมสร้างความตระหนักให้กับพุทธบริษัท  ให้เห็นความสำคัญของอนาคต โดยเป็นแบบอย่างที่ดีและร่วมกันส่งเสริมการประพฤติปฏิบัติของประชาชนในการเรียนรู้วิถีชีวิตแบบสังคมชนบท

๔.๒.๓ ฝึกอบรมพระภิกษุสามเณรให้รู้จักวิธีการเผยแผ่ธรรมะ โดยการจัดให้มีการเทศน์บรรยายในวันสำคัญทางศาสนา

๔.๒.๔ การแนะนำสั่งสอนประชาชนให้ตั้งอยู่ในศีลธรรมตามหลักธรรมคา สอนของพระพุทธศาสนาโดยถูกต้อง

๔.๒.๕การจัดตั้งห้องสมุดภายในวัดเพื่อประโยชน์ในการศึกษาธรรมบาลีแก่พระสงฆ์ สามเณร และประชาชน

  ๔.๒. ๖การจัดให้มีการพิมพ์หนังสือธรรมะหรือเทศน์ออกเผยแผ่เป็นธรรมทาน 

  ๔.๒.๗การจัดให้มีธรรมทูต หรือธรรมจาริกอบรมสั่งสอนประชาชน

  ๔.๒.๘ การจัดให้มีกิจกรรมการบำเพ็ญกุศลในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น การหล่อเทียนเข้าพรรษา

วันวิสาขะบูชา เป็นต้น 

กิจกรรมหลักของวัดในวันพระ ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ  มีดังต่อไปนี้

๐๙.๐๐ น.  สวดมนต์ ไหว้พระ ทำวัตรเช้า

๑๐.๐๐ น.แสดงพระธรรมเทศนา - ธรรมบรรยาย (เนื้อหาง่าย ๆ สำหรับบุคคลทั่วไป)

- นั่งสมาธิช่วงสั้นๆ(๒๐ นาที )

๑๑.๐๐ น.ถวายสังฆทาน ถวายภัตตาหารเพล (พระทั้งวัด หรือกี่รูป แล้วแต่จะกำหนด)

(อาหาร อาจจะให้สาธุชนต่างนำมา หรือทางวัดอาจจะทำเสริมบ้างแล้วแต่ความเหมาะสม)

๑๒.๐๐ น.สาธุชนรับประทานอาหารร่วมกัน(และจัดอุปกรณ์สถานที่ให้ต่างคนต่างล้างจานของ

ตนเอง)

๑๗.๐๐ น. เริ่มพิธีทำวัตรเย็น โดยการสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ  สวด

มนต์ ๑๒ ตำนาน  บรรยายธรรม ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด-ฟังธรรม นั่งสมาธิประมาณ ๓๐ นาที  จากนั้นกรวดน้ำแผ่เมตตา อุทิศส่วนกุศล

เสร็จสิ้นพิธีในภาคค่ำประมาณเวลา ๑๙.๓๐น.

  ๕. ผลการดำเนินงาน / ผลสำเร็จที่ดีเด่น

การทำกิจกรรมของวัดทั้งทุกรายการ มีสาธุชนร่วมปฏิบัติ มากบ้างน้อยบ้างตามสถานการณ์ คืออาจจะมีวันไหนฝนตกคนจะมาน้อย วันไหนฝนไม่ตกคนจะมามาก แต่ ทั้งนี้ ไม่เคยน้อยกว่า ๑๐๐ คน ในทุก ๆ วัน

  ประเพณีชักพระวันออกพรรษา แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปี ชาวบ้านจะมาร่วมพิธี

ไม่น้อยกว่า ๒๐๐-๓๐๐คน

วันสำคัญในทางศาสนา เช่นวันมาฆะ บูชา  วันวิสาขะ บูชา วันอาสาฬหบูชา  จะมีประชาชนมาร่วมพิธีไม่น้อยกว่า ๓๐๐ คน

การมอบทุนการศึกษานับเป็นช่องทางหนึ่งที่จะได้ช่วยเหลือให้นักเรียนที่เรียนดี แต่ขาดทุนทรัพย์

ได้ทุนเพื่อส่งเสริมการศึกษา ปีละ ๒๔ ทุน ๆ ละหนึ่งพันบาท

งานทอดกฐินประจำปี มีชาวบ้านร่วมกัน เป็นกฐินสามัคคี  รวบรวมปัจจัยบำรุงวัดต่อไป

งานประจำปีปิดทองพระนารายณ์ของวัดก็เป็นอีกงานหนึ่งที่มีประชาชนสนใจเข้าวัดกันเป็นจำนวนมาก

๖. ความคาดหวัง 

ในศึกษาปฏิบัติธรรมนั้นทุกครอบครัวจะน้อมนำหลักธรรมไปประพฤติปฏิบัติ และนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาใช้  ในการประกอบอาชีพเพื่อนำพาชีวิตไปสู่ความเป็นเลิศได้  ๑๐๐ % ด้วย


คำสำคัญ (Tags): #วัดกะรน
หมายเลขบันทึก: 537857เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2013 10:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2013 10:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท