เรื่องของผ้าไหมแพรวา


เมื่อวาน(30 พค.) ได้ลงพื้นที่เพื่อติดตามความก้าวหน้าของโครงการหมู่บ้านหม่อนไหมแพรวา กาฬสินธุ์ ที่ บ้านหนองช้าง ม.3 ต.หนองช้าง อ.สมาชัย กาฬสินธุ์  


ได้พบหมู่บ้านในดวงใจ ตามรูปแบบการพัฒนาด้วย 4 ภาคี  คือ 1)ภาคราชการ ประกอบด้วย นายอำเภอ อบต. กรมหม่อนไหม 2) ภาควิชาการ  มทร.อีสาน กาฬสินธุ์ ผู้รับผิดชอบโครงการ  ก.วิทย์ ประสานวิทยากร 3) ภาคประชาชน กลุ่มผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม 4) ภาคเอกชน บ.จุลไหมไทย  ที่มาร่วมแรงร่วมใจกันพัฒนาหมู่บ้าน สืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่นของชาวภูไทดำกาฬสินธุ์ ให้คงอยู่กับลูกหลานต่อไป

หมู่บ้านหม่อนไหมแพรวา ทำอะไร?

จากชื่อหมู่บ้าน มี 3 คำ คือ หม่อน เป้าหมาย คือทำอย่างไรให้มีพื้นที่ปลูกหม่อนเพิ่มขึ้น และมีหม่อนที่มีคุณภาพ

ไหม  ทำอย่างไรให้กระบวนการเลี้ยงใหมให้ได้คุณภาพ อัตราการรอดสูง  การใช้สีธรรมชาติในการย้อมใหม จากวัตถุดิบในท้องถิ่น

แพรวา แพร=ผ้า  วา=1 วา ทำอย่างไรให้ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมแพรวาได้มาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งในส่วนผลผลิตภัณฑ์ในหมู่บ้านนี้มีทั้งในส่วนที่ได้รับ นกยูงทอง ได้รับ OTOP 4 ดาว



รูปอาจจะไม่สวยแต่ของจริงสวยมาก และสวยยิ่งขึ้นเมื่อผ้ามือ แม่ ๆ ป้า ๆ ชาวภูไท ฝีกมือการทำ และกระบวนการทอ ขั้นเทพอย่างมากไปเห็นแล้ว อย่าคิดแม้จะต่อตอนซื้อเลยครับ

ไหมที่นี่เน้นสีจากธรรมชาติอย่างเดียว 



กระบวนการพัฒนาเริ่มต้นจาก

1. ประชุม พูดคุย แล้วก็ประชุมพูดคุย เพื่อตกผลึกให้ได้ว่าหมู่บ้านจะทำอะไร เดินไปอย่างไร จะนำ วทน. อะไรไปช่วยเพื่อมูลค่าให้กับผ้าของหมู่บ้านได้บ้าง กำหนดแผนการดำเนินงานและเป้าหมายในแต่ละปีให้ชัดเจน


2. จัดทำแผนที่เดินดิน เพื่อกำหนดจุดบอกเล่าเรื่องราวของหมู่บ้าน และกลุ่มที่จะเข้าร่วมโครงการ อนาคตสามารถนำมาใช้ทำแผนที่เพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมได้ ซึ่ง ก.วิทย์ จะนำแผนที่จากหน่วยงานในกระทรวง(GISTDA) และจัดทำเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านอวกาศและภูมิสารสนเทศต่อไป


นี่เป็นแผนที่ที่ชาวบ้านช่วยกันให้ข้อมูลและวาดออกมา

3. จัดการอบรมตามความต้องการของชุมชน เช่น การปลูกหม่อนให้ได้คุณภาพ การย้อมสีธรรมชาติ พร้อมทั้งมีการจดบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ให้เป็นระบบมากที่สุด


ถ่ายรูปกับเจ้าของสวนหม่อน คุณลุงคนนี้เปลี่ยนจากปลูกแก้วมังกรมาเป็นไร่หม่อนได้ 3 ปี ผลผลิตดีว่า สุขภาพดีกว่า ได้ทั้งหม่อน ได้ทั้งตัวไหม

อบรมการย้อมสีธรรมชาติ ซึ่งในวันที่อบรมทางผมได้นำประธานกลุ่ม คุณดารุณี แวยามา หมู่บ้านกาบกล้วยประดิษฐ์ จากปัตตานีไปด้วย เพื่อให้ไปเรียนรู้กระบวนการผลิตสีธรรมชาติ เพื่อนำไปใช้กับผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม คือ กาบกล้วย เพื่อทำให้ผลิตภํณฑ์ของกลุ่มมีความเป็นธรรมชาติมากที่สุดให้เข้ากับ Green Product ซึ่งกลุ่มนี้สามารถทำขายได้มีคุณภาพ เคยทำถวายพระองค์โสมฯ เคยได้รับำพระเมตตาจากสมเด็จพระเทพฯ และมีชิ้นงานบางส่วนส่งเข้าวัง นอกจากนี้ยังมีตลาด ของชำร่วยคู่บ่าว สาวที่มาเลยเซีย ล่าสุดมีคำสั่งซื้อจากญี่ปุ่น แต่ต้องได้สีส้ม ซึ่งเป็นเทรนด์ของญี่ปุ่นในขณะนี้ 


ตัวอย่างผลิตภัณฑ์กาบกล้วยของกลุ่ม




สาธิตการย้อมสีธรรมชาติ จาก เปลือกไม้ ไบไม้ เช่น ไบโพธิ์ 




หลังจากนั้นทางกลุ่มพาเที่ยวชมในแต่ละบ้านว่ามีขั้นตอนในการเลี้ยงใหม ปลูกหม่อน ทอผ้าอย่างไร สร้างความประทับใจให้กับคณะติดตามเป็นอย่างมาก


การเลี้ยงแบบดั้งเดิม


โรงเรือนเลี้ยงหนอนสมัยใหม่ ที่ต่างจากเดิมที่เลี้ยงในกระด้ง


สิ่งที่ทำให้ผมเทิ่งผสมงงเป็นอย่างมาก คือ กระบวนการทอผ้าที่ ไม่ทราบว่าชาวบ้านเค้าคิดได้อย่างไรว่าต้องทำอย่างนั้น และมีการจดจำการทำให้เกิดลายผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวภูไทดำ ได้อย่างไร สาวชาวภูไทดำ ทุกคนต้องทอผ้าเป็น ผมเสียเวลากับการเรียนรู้ขั้นตอน กระบวนการทออยู่นานมาก ทำความเข้าใจเท่าไหร่ก็ไม่เข้าใจ บอกเค้าไปว่า เล่นไพ่ยังง่ายกว่านี้ แต่ชาวบ้านบอกว่า ทอผ้าง่ายกว่า เอากับเค้า 



ผืนนี้ใช้เวลาอย่างต่ำ 4 เดือนขึ้นไป เพราะฉะนั้นถ้าคิดจะซื้ออย่าไปต่อ ถ้าไม่มีตังค์พอก็ไปเก็บตังมาซื้อจะดีกว่า

ทุกขั้นตอนปราณีตมากถึงมากที่สุด 


ขอบคุณทีมงาน มทร.อีสาน กาฬสินธุ์ ชาวบ้านหนองช้างทุกท่านที่ให้การต้อนรับ ให้ข้อมูล นำทัวร์ในครั้งนี้


หมู่บ้านหม่อนไหมแพราวา เพียบพร้อมด้วย KSAN

K -> Knowledge ความรู้ที่สั่งสมจากรุ่นสู่รุ่น และเริ่มมีการจัดเก็บที่เป็นระบบ เริ่มนำ วิทยาการความรู้ใหม่ ๆ เข้าไปผสมผสานให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ

S -> Skill  ทักษะ ความเชี่ยวชาญ ทั้งคนปลูกหม่อน ผู้เลี้ยงใหม และทักษะขั้นเทพของการทอผ้าของคุณแม่ ๆ ป้า ๆ ทั้งหลาย

A -> Attitude ทัศนคติ ในการรับรู้การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น การคิดอน่างวิทยาศาสตร์ มีการสังเกตุ (แอ๊ะ ทำไมอย่างนี้ เอ๊ะทำมันอย่างนั้น) แล้วนำมาตั้งคำถามเพื่อหาคำตอบ หาด้วยตัวเองไม่ได้ก็ไปถามผู้รู้ เช่น มหาลัย ก.วิทย์ จากนั้นก็ไปค้นหาคำตอบ ทำการทดลอง จดบันทึก สุดท้ายก็สรุปเป็นความรู้ใหม่ขึ้นมา นี่แหละหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของแท้

N -> Network จะเห็นว่าการทำงาน ไม่สามารถพัฒนาหมู่บ้านด้วยกำลังหรือแรงของใครคนใดคนหนึ่งได้ ต้องร่วมกันทั้ง 4 ภาคส่วน ภาคราชการท้องถิ่น ภาควิชาการ ภาคประชาชน และภาคเอกชน จึงจะไปได้อย่างยั่งยืน


รูปภาพทั้งหมด

คำสำคัญ (Tags): #หม่อน#ไหม#แพรวา
หมายเลขบันทึก: 537641เขียนเมื่อ 31 พฤษภาคม 2013 10:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2015 12:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)



เป็นเรื่องราวที่น่าสนใจมาก ๆ จ้ะ  ขอบคุณที่นำมาให้ร่วมเรียนรู้

ชื่นชมผ้าไหมแพรวาที่งดงามมากค่ะ

ทางหมู่บ้านเค้ายินดีต้อนรับนะครับ และศูนย์เรียนรู้ของชุมชนชนี้คือที่บ้านของแม่ ๆ แต่ละคน ทุกคนตอบคำถามเกี่ยวกับผ้าไหมแพรวาได้หมด น่าประทับใจมาก

นายมนตรี วิทยศักดิ์

นำเสนอกิจกรรมได้ดีมากเลย เห็นเครือข่ายแล้วขอชมว่าเก่งมากที่มีทั้ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคใต้ มาร่วมทำงานด้วยกัน ถ่ายทอดความรู้สู่กัน โดยมี ก.วิทย์ เป็นแกนนำ ทำโครงการหมู่บ้าน วท. และชอบคำ KSAN มากครับ

จะพยายามหาโอกาสไปเยี่ยมชมที่กาฬสินธุ์ ให้ได้ และจะได้ไปไหว้พระด้วย

และยินดีด้วยกับกลุ่มกาบกล้วย จากปัตตานี ที่กิจการก้าวหน้าไปเร็วมาก

-สวัสดีครับ

-ชอบผ้าไหมแพรวาครับ

-ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยมีมากมายจริงๆครับ

-ขอบคุณครับ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท