การนำหลัก CSR มาใช้กับโรงเรียนเอกชนเฉพาะทาง


การนำหลัก CSR มาใช้กับโรงเรียนเอกชนเฉพาะทาง

วัตถุประสงค์  (Why)

1.เพื่อใช้ประชาสัมพันธ์องค์กร ส่วนใหญ่จะเน้นการทำกิจกรรมในรูปแบบการจัดกิจกรรมต่างๆเช่น การให้บริการตัดแต่งทรงผมกับหน่วยงานต่างๆ และเน้นประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมควบคู่ไปด้วย

2. เพื่อใช้พัฒนาชื่อเสียงภาพลักษณ์ และตราสินค้าขององค์กร(Brand) การทำงาน CSR ด้วยแรงจูงใจในลักษณะนี้ มักดำเนินกิจกรรมต่อเนื่องและเป็นโตรงการระยะยาวโดยกำหนดไว้ในแผนพัฒนาโรงเรียน

การนำ CSR มาใช้ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์กร(Who)

1.  ความรับผิดชอบเริ่มจากภายใน

 - พนักงาน เช่น การเปิดอบรมฝึกสอนภาคปฏิบัติให้สมาชิกชุมชนที่สนใจ มีคุณสมบัติตามกฎบริษัท อาจเปิดอบรมให้ฟรีเมื่อผ่านหลักสูตรอบรม มีการสอบคัดเลือกบรรจุเป็นลูกจ้างชั่วคราวและบรรจุเป็นพนักงานประจำต่อไป เมื่อปฏิบัติอย่างต่อเนื่องก็จะมีผลต่อภาพลักษณ์ขององค์กรสร้างความศรัทธาและความน่าเชื่อถือต่อผู้บริโภคและชุมชน 

 - สินค้าการคิดกระบวนการใหม่ๆ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีนวัตกรรมใหม่ๆจะช่วยให้ผู้บริโภคเรียกหาสินค้านั้น อันเป็นช่องทางการจัดจำหน่ายและทำรายได้ให้กับองค์กร 

 - ลูกค้าสำรวจความต้องการลูกค้าปัจจุบันและลูกค้าในอนาคต ว่ามีความคิดเห็นอย่างไรต้องการให้องค์กรพัฒนาสินค้าอย่างไรต้องการบริการหลังการค้าแบบใดให้คำแนะนำและดูแลบำรุงสินค้าเพื่อให้ใช้งานได้นานขึ้น
รวมทั้งให้คำปรึกษาเมื่อสินค้ามีปัญหาในการใช้เปิดสายด่วนหรือเว็บไซต์เพื่อฟังความคิดเห็นของลูกค้า จะสามารถทำงานได้รวดเร็วสามารถตอบคำถามและแก้ปัญหาได้เร็วขึ้น

- เจ้าของ ผู้ถือหุ้นเป็นการจัดกระบวนการบริหารทั้งภายนอกภายใน อย่างโปร่งใสเป็นธรรม ตรวจสอบได้
และสามารถแก้ไขได้ หากประสบเหตุหรือวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ

2.  ความรับผิดชอบต่อเนื่อง

- คู่ค้าทางธุรกิจและนักลงทุน สร้างความเป็นธรรมแก่ทุกๆ คนตามหลักจริยธรรมและคุณธรรม ตามจรรยาบรรณวิชาชีพ 
 - ร่วมกับคู่แข่ง (เพื่อการพัฒนาร่วมกัน)

3.  ความรับผิดชอบต่อสังคมใกล้ตัว

 - ชุมชน สำรวจความต้องการของชุมชนในแง่ต่างๆ เช่น การศึกษาความต้องการอบรมวิชาชีพ ทำโครงการอย่างต่อเนื่องเพื่อแก้ปัญหาชุมชน

 - สังคม สร้างความน่าเชื่อถือประชาสัมพันธ์เพื่อให้เป็นที่รู้จักของสังคมในวงกว้างสร้างอาชีพใหม่สำหรับคนในท้องถิ่น

 - สิ่งแวดล้อม ต้องพิจารณาตั้งแต่สิ่งแวดล้อมของสังคมปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคม โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบของชุมชน

หลักพื้นฐานในการเริ่มปฏิบัติการ CSR (How)

1. สำรวจกิจการของตัวเองจุดแข็งและจุดอ่อน สินค้าและบริการ

- จุดใดที่แข็งแกร่ง สามารถนำไปเป็นตัวชูทาง CSR ได้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการขาย กำไร และเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อสินค้า ต่อองค์กร

- จุดอ่อนใดที่ต้องแก้ไข มีกระบวนการผลิตใหม่ๆที่ใช้วัตถุดิบใหม่เข้ามาแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นหรือไม่
แล้วทำให้เป็นโอกาสทางธุรกิจดีกว่า หรือเหนือกว่าคู่แข่ง

- มีโอกาสทางธุรกิจใหม่ ที่สามารถปรับแตกแขนงรายสินค้าที่ใหม่กว่า หรือไม่เพียงใด

- คู่แข่งมีอะไรดีกว่า ที่เราไม่มี แล้วจะแก้ไขอย่างไร

2.สำรวจความคิดเห็นความต้องการของลูกค้าในปัจจุบันและกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ ว่า

 - ผู้บริโภคตั้งความหวังในตัวสินค้า บริการ และบริษัทในเรื่องอะไร

- ประเด็นใดที่สามารถทำได้เลย

- ประเด็นใดที่มีผลต่อยอดขายและกำไร

- ประเด็นใดที่ต้องทำ แต่ต้องลงทุนหรือใช้งบประมาณที่เพิ่มขึ้น

- ลำดับความสำคัญของประเด็นและความเร่งด่วนความยากง่ายที่สามารถทำได้เลย

3. สำรวจความต้องการของชุมชนใกล้ตัวใกล้ชิดกับผู้นำองค์กรท้องถิ่น ผู้นำชุมชน พูดคุยกับร้านค้าใหญ่และเล็ก
ชุมชนต้องการความช่วยเหลือเรื่องใด สิ่งดีใดๆ ที่ช่วยให้สังคม ชีวิตของชุมชนดีขึ้น

4.บริษัทจะต้องมีบุคคลและทีมงานที่ปฏิบัติกิจกรรมภายในสู่ภายนอก อย่างจริงจัง(ไม่ใช่ว่างแล้วทำ)

5. ผู้บริหาร ประธานบริษัทจะต้องให้การสนับสนุนแผนงานและกิจกรรม CSR อย่างจริงจังมีวิสัยทัศน์ทั้งระยะสั้นและระยะยาว ในความรับผิดชอบต่อสังคม ไม่แอบแฝงหรือจอมปลอม นั้นคือ จิตสำนึกที่มีคุณธรรม

6.มีงบประมาณเพียงพอที่จะสนับสนุนนโยบาย CSR อย่างมีประสิทธิภาพไม่ใช่มีเมื่อไหร่ค่อยทำ ไม่กำไรไม่ต้องทำ เป็นความคิดที่ไม่ยั่งยืนต้องเรียงลำดับความสำคัญของประเด็นต่างๆ เรื่อง CSR แล้วดำเนินการด้วยงบประมาณที่เหมาะสมที่ให้ผลที่จับต้องได้

7. เลือกประเด็น CSR ที่มีผลต่อองค์กรธุรกิจทั้งทางตรงและทางอ้อม ปฏิบัติให้โครงการเหล่านั้นหรือเพียงบางโครงการอย่างต่อเนื่องอย่าทำตามกระแส หรือทำตามปีที่มีกำไร

8. การกำหนดแผนงาน CSR จะต้องเป็นส่วนหนึ่งในแผนธุรกิจประจำปีจึงต้องมีนโยบาย CSR มีเป้าหมาย กลยุทธ์ กลวิธี การตรวจสอบการประเมิน การวัดผล แผนงานต่อเนื่องและที่สำคัญ จะต้องมีการลงรายละเอียดแผน CSR
วิธีการและผล เป็นลายลักษณ์อักษรใช้อ้างอิงได้(วิทยา  ชีวรุโณทัย,2554)




หมายเลขบันทึก: 537334เขียนเมื่อ 28 พฤษภาคม 2013 09:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2013 09:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท