เทคนิคการเขียนภาษาอังกฤษในบทความวิจัย


แปลและเรียบเรียงมาจาก “Overcoming Language Barriers ของ Springer Author Academy

  • การเขียนที่ดี คือ ต้องชัดเจน สั้นกระชับได้ใจความ (concise) แต่คงไว้ซึ่งรายละเอียดที่สำคัญ ใช้ภาษาที่เรียบง่ายและถูกต้อง อย่าใช้ภาษาที่ยุ่งยากซับซ้อน เพราะจะทำให้ผู้อ่านสับสนและแปลความหมายผิดพลาด
  • ควรเขียน หนึ่งความคิด-หนึ่งประโยค ใช้ active voice และหลีกเลี่ยงการใช้ passive voice
  • อย่าใช้คำที่มีความหมายกำกวมหรือใช้คำฟุ่มเฟือยมากเกินไป (wordy) ควรใช้คำที่มีความหมายเฉพาะเจาะจง หลีกเลี่ยงการใช้ประโยคที่วกวนและซ้ำซ้อน — ดูตัวอย่างประโยคเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ Purdue Online Writing Lab
  • การใช้บุพบทเปรียบเทียบ เช่น between, among, like, with, than ที่มักใช้ผิด เช่น การเปรียบเทียบของประเภทเดียวกัน เหมือนกัน หรือเท่าเทียมกัน (like กับ like) ตัวอย่างที่ถูกต้องเช่น The material from the riverbank was compared with that from the landfill. ไม่ควรเขียนว่า The material from the riverbank was compared with the landfill.
  • การเปรียบเทียบของสิ่งเดียวกัน (สภาพก่อนและหลัง) ใช้คำว่า reduced, increased, decreased ส่วนการเปรียบเทียบสิ่งของสองกลุ่ม ให้ใช้ higher, shorter, more
  • ใช้ between ในการเปรียบเทียบของสองสิ่ง ส่วน among ใช้เปรียบเทียบของมากกว่าสองสิ่งขึ้นไป
  • การใช้คำนามให้ถูกต้อง คำนามเฉพาะที่เป็นชื่อคน ชื่อองค์กร ชื่อสถานที่เฉพาะ ชื่อประเทศ ชื่อเมือง ชื่อวัน ชื่อเดือน จะต้องขึ้นต้นด้วยอักษรตัวใหญ่เสมอ แต่คำนามที่เป็นพหูพจน์ ชื่อสารเคมีหรือชื่อยา ไม่ต้องเขียนขึ้นต้นด้วยตัวใหญ่ เช่น acetaminophen, benzene
  • คำนำหน้านาม (Articles) ต้องใช้ให้ถูกต้อง A, An ใช้กับคำทั่วไปไม่เฉพาะเจาะจง An ใช้กับคำนามที่ขึ้นต้นด้วยสระ a e i o u ส่วน The ใช้กับคำนามที่เฉพาะเจาะจง
  • การใช้คำคุณศัพท์ คำว่า respectively มักใช้กันผิดๆ ตัวอย่างเช่น ไม่ให้เขียนว่า The two values were 143.2 and 21.6, respectively. แต่ให้ใช้ว่า The two values were 143.2 and 21.6. ไม่ให้เขียนว่า The two tubes were labeled B and S, respectively. แต่ใช้ว่า The tubes containing blood and saline were labeled B and S, respectively. ตัวอย่างประโยคที่เขียนถูกต้องคือ Oxygen, nitrogen and hydrogen detector flows were set at 85, 7, and 4 mL/min, respectively.
  • ตัวเลขและหน่วยนับ ในการเขียนเลข 1-9 ควรเขียนเป็นตัวสะกดว่า one, two, three, … nine ยกเว้นในกรณีของหน่วยนับ การวัด หรือเวลา สำหรับเลข 10 หรือมากกว่า ให้เขียนเป็นตัวเลขอาราบิค ส่วนในกรณีที่ขึ้นต้นประโยคให้เขียนเป็นตัวสะกด เช่น Fifteen days previously … ไม่ใช่ 15 days previously … โดยปกติถ้าในประโยคเดียวกันมีตัวเลขหลายตัว จะต้องเขียนในสไตล์เดียวกัน เช่น The sample included 34 men with type A blood, 15 with type B, and 3 with type AB. ยกเว้นตัวเลขนั้นอยู่ติดกันให้เขียนว่า Five 50-kg women ไม่ใช่ 5 50-kg women
  • การสะกดแบบอังกฤษ หรือแบบอเมริกัน ขึ้นอยู่กับนโยบายของวารสาร ปกติใช้ได้ทั้งสองแบบแต่ต้องเขียนอย่างสม่ำเสมอทั้งบทความ ควรใช้คำสั่งใน MS Word คือ Tools > Language กำหนดภาษา และใช้คำสั่ง Preferences > Spelling and Grammar > Check spelling as you type
  • เครื่องหมายวรรคตอนที่มักใช้ผิด ได้แก่ เครื่องหมาย colon (A colon is used to introduce a list or a clause that explains the clause before the colon.) ส่วนเครื่องหมาย Semicolons ใช้ได้ 2 ลักษณะคือ 1. ใช้แยก independent clauses (clauses ที่ทำให้ประโยคสมบูรณ์ได้ด้วยตัวเอง) ตัวอย่างเช่น Dr. Benaud is a French researcher; however, he lives in Antarctica. 2. ใช้แยก items ต่างๆที่อยู่ในรายการ ถ้าบาง items ในรายการ มีการใช้เครื่องหมาย commas ภายในนั้นอยู่แล้ว (หรืออีกนัยหนึ่ง semicolons ใช้แทน commas ถ้าใช้ commas แล้วอาจทำให้สับสน)
  • คำว่า large-small กับคำว่า high-low ที่มักใช้สับสน คำว่า large-small ใช้กับ size, dimensions, หรือ mass ส่วน high-low ใช้กับ levels หรือ numerical values


หมายเลขบันทึก: 536715เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2013 10:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2013 10:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบพระคุณค่ะ เป็นประโยชน์มากๆ ค่ะอาจารย์

มีประโยชน์มาก. ขอบคุณมากๆครับ.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท