อากาศเสียเพิ่มเสี่ยงโรคหัวใจ+มะเร็งตรงใกล้ใจ




.
จดหมายข่าวเว็บไซต์ อ.นพ.เกบ เมียคิน ตีพิมพ์เรื่อง 'Air pollution increases risk for heart attacks and cancers'
= "มลภาวะทางอากาศ (อากาศเสีย) เพิ่มเสี่ยงโรคหัวใจและมะเร็ง", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
.
การศึกษาหนึ่ง ทำโดยการตรวจหลอดเลือดแดงที่คอ กลุ่มตัวอย่างในเมืองใหญ่ 6 แห่ง รวมกลุ่มตัวอย่างมากกว่า 5,000 คน
.

.
ภาพที่ 1: เส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ยทางเดินหายใจ หน่วยไมครอน = 1/1,000 มิลลิเมตร, ฝุ่นจากการเผาไร่นา-เผาป่า, เผาขยะ-ใบไม้, เครื่องยนต์ดีเซล ส่วนใหญ่จะเล็กกว่า 10 ไมครอน
.
ฝุ่นละอองขนาดต่ำกว่า 10 ไมครอน = PM10 (particulate matter 10 micron) เ้ข้าไปในทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้เกิดการระคายเคือง หรือการอักเสบได้ เช่น คออักเสบ เจ็บคอ, จมูกอักเสบ หายใจลำบาก ฯลฯ
.
ฝุ่นละอองขนาดต่ำกว่า 2.5 ไมครอน = PM2.5 เข้าสู่ทางเดินหายใจส่วนล่างได้ เพิ่มเสี่ยงโรคถุงลมโป่งพอง หอบหืด คล้ายกับการสูบบุหรี่
.

.
ภาพที่ 2: เปรียบเทียบขนาด (1 ไมครอน = 1/1,000 มิลลิเมตร)
  • ทรายชายหาดเม็ดเล็ก = 90 ไมครอน
  • เส้นผม = 70 ไมครอน
  • หมอกควันขนาดใหญ่ = PM10 = 1/7 เส้นผม
  • หมอกควันขนาดเล็ก = PM2.5 = 1/28 เส้นผม

.
ภาพที่ 3: ขนาดทางเดินหายใจส่วนบน = 10 ไมครอน (1 ไมครอน = 1/1,000 มิลลิเมตร), ขนาดทางเดินหายใจสวนล่างเฉลี่ย = 2.5 ไมครอน
.
ฝุ่นที่ทำลายปอดได้มากแม้จะมีขนาดใหญ่ คือ ฝุ่นทราย เช่น ฝุ่นจากโรงโม่หิน ฝุ่นถนนไม่ราดยาง ฯลฯ
.
ฝุ่นที่มีขนาดเล็ก หรือหมอกควัน-ควันไฟ จะเ้ข้าสู่ทางเดินหายใจส่วนล่างได้มาก เพิ่มเสี่ยงถุงลมโป่งพอง หอบหืด ทำให้เลือดหนืดขึ้น การไหลเวียนช้าลง เพิ่มเสี่ยงโรคหัวใจได้
.

.

.
ภาพที่ 4,5: เขตร้อนเสี่ยงหมอกควันมากกว่าเขตอบอุ่นหรือหนาว
.
จีน-อินเดีย มีหมอกควันจากการเผาไหม้ถ่านหิน-เครื่องยนต์สูง, ชายแดนพม่า-ไทยมีหมอกควันจากการเผาไร่นาสูง, อินโดนีเซียมีอัตราการสูบบุหรี่สูง เพิ่มเสี่ยงโรคถุงลมโป่งพอง ซึ่งค่ารักษาแพงมาก

ผลการศึกษาพบว่า อากาศเสียเพิ่มเสี่ยงโอกาสเกิดคราบไขเกาะบนหลอดเลือดแดง (artery plaque)
.
ความเสี่ยงของการเกิดคราบไขแปรตามระดับอากาศเสีย... ยิ่งมากยิ่งเสี่ยง
.
คราบไขทำให้ผนังหลอดเลือดอักเสบ ตีบลง และเพิ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดอุดตัน เช่น โรคหัวใจ หลอดเลือดสมองแตก-ตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต ฯลฯ
.
ก่อนหน้านี้ 10 ปี, สมาคมโรคหัวใจอเมริกา (AHA) พบว่า อากาศเสียเพิ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน (heart attacks), เพิ่มเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือด หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ หลอดเลือดแดงหดตัว ผนังหลอดเลือดแดงอักเสบ และคราบไขที่ผนังหลอดเลือดแดงหนาตัวเร็วขึ้น
.

.
ทั้งหมดนี้เพิ่มเสี่ยงโรคหัวใจ
.
การศึกษาในปี 2553 ทำในกลุ่มตัวอย่างผู้หญิงหมดประจำเดือน 383 คนพบว่า คนที่อยู่ในเมืองที่มีระดับอากาศเสียมากที่สุด เพิ่มเสี่ยงมะเร็งเต้านมเป็น 2 เท่า (เทียบกับเมืองที่มีอากาศเสียน้อยที่สุด)
.
การไม่สูบบุหรี่ ไม่หายใจเอาควันบุหรี่ที่คนอื่นสูบเข้าไป หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่มีอากาศเสีย เช่น บ้านที่เผาขยะ-ใบไม้, เผาฟืน, เผาไร่นา-เผาป่า ฯลฯ ช่วยป้องกันโรคได้มาก
.
การใช้หน้ากากกรองหมอกควัน หรือเครื่องปรับอากาศที่ช่วยลดฝุ่นละออง ฯลฯ น่าจะลดเสี่ยงได้ในระดับหนึ่ง
.

.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.

 > [ Twitter ]

  • ขอขอบพระคุณ / Thank Dr.Gabe Mirkin's Sources > PLoS Medicine, April 2013; Circulation, 2004;109:2655-2671; Environ Health Perspect, Nov 2010;118(11):1578-1583.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์. 21 พฤษภาคม 56. ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้ โดยอ้างที่มา และไม่จำเป็นต้องขออนุญาต... ขอบคุณครับ > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูง จำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้

หมายเลขบันทึก: 536697เขียนเมื่อ 21 พฤษภาคม 2013 23:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2013 23:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

การใช้หน้ากากกรองหมอกควัน หรือเครื่องปรับอากาศที่ช่วยลดฝุ่นละออง ฯลฯ น่าจะลดเสี่ยงได้ในระดับหนึ่ง

ครั้งที่มีการรณรงค์ใช้หน้ากาก  ดิฉันก็ได้หน้ากากฟรีมาใช้ พอมันเก่า ก็คิดว่าซักได้  ปรากฎว่า พอซักแล้ว ข้างนอกดูสะอาด แต่ว่าตอนใช้เหมือนอึดอัด ก็เลยใช้กรรไกรตัดฉีกออกมาดู  ข้างในมีไส้เป็นเหมือนผงๆ ค่ะ  แสดงว่า หน้ากากทั้งหลาย ไม่ปลอดภัยนะคะ  ตั้งแต่นั้นมา ดิฉันก็เปลี่ยนเป็นใช้ผ้าเช็ดหน้าธรรมดาคาดปิดจมูก ผูกไว้ที่ท้ายทอยแทนค่ะ

ถือโอกาสเล่าเรื่องนี้  ขอบคุณค่ะ ท่านอาจารย์หมอ นพ. วัลลภ พร...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท