ปฏิบัติการปั้นก๊าซเป็นตัว :spiritual assessment in clinical care


มิติจิตวิญญาณมีความสำคัญต่อระบบและเห็นเป็นแนวทางนั้น “เหมือนกับเรารักแม่รอการวิจัย”

    

·    กระบวนการ แมคนามาร่า ผู้ที่วางยุทธศาสตร์ให้อเมริการเป็นเจ้าอินทรีย์ผงาดได้ : ใช้กระบวนการ R2R กระบวน ปรับวิธีการกระบวนการในการดำเนินงาน การวิจัยทางจิตวิญญาณถ้าไม่ทำจะทำอย่างไร  กระบวนการที่โน้มน้าวใจมากที่สุดคือ  ต้องมีการศึกษาแนวทางที่เป็น evident based ต้องมีการสร้างเสริมการทำงานเข้าไปและการทำฐานการดำเนินงานให้แน่น พร้อมทั้งงานวิจัยรองรับ ต้องมีการทำให้คนที่เชื่อในการดำเนินงานการออกแบบกระบวนการทำงานเพื่อสามารถนำมาหนุนเสริมและผลักดันกระบวนการและกลไกที่เป็นเชิงระบบได้






ดนตรีเสียงแห่งการบำบัดและจิตวิญญาณ....


หอม

กลิ่นที่แสนจะอ่อนหวาน กลีบดอกที่แสนจะบอบบาง ร่ายรำท่ามกลางสายลม ...จงผ่อนคลาย จงหายเศร้า จงเริงรื่นไปพร้อมกับบทเพลงของมวลดอกไม้งาม

(Credit จาก Preutipong Jangjumrus·) เพลงอันแสนผ่อนหลายบอกถึงจิตวิญญาณของเรา.....



ปฏิบัติการปั๊นก๊าซ ปฏิบัติการเพื่อการเปิดแนวทางจิตใจและการเยียวยา


      ผมถามหลายครั้งว่าปฏิบัติการปั้นก๊าซให้เป็นตัวนั้นหมายถึงอะไรกันแน่ รูปแบบปฏิบัติการนั้นเป็นอย่างไร แล้วทำไมเราต้องมาประเมินรูปแบบการวัดผลเชิงระบบมิติจิตตปัญญาในระบบการแพทย์ด้วย หรือในระบบโรงพยาบาลด้วย  ในการประชุมวันนั้นเองประโยคหนึ่งที่ผมได้ฟังและนิ่งไป พร้อมกับการไม่ตั้งคำถามใดๆเลย อาจารย์โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ได้ยกมาประโยคหนึ่งการเชื่อมิติจิตตปัญญา หรือในมิติจิตวิญญาณมีความสำคัญต่อระบบและเห็นเป็นแนวทางนั้น  “เหมือนกับเรารักแม่รอการวิจัย” ตัวอย่างหมอออโถบอกว่าลุกไม่ได้ เมื่อก่อนแกทำได้ลุกได้เพราะแกจะไปเยี่ยมลูกแกไปได้ กระบวนการดังกล่าวจะต้องเป็นผู้สร้างคนก่อน  ต้องสร้าง 2 อย่างคือ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และแรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์ โดยกระบวนการในวงจิตวิญญาณ ความมุ่งมั่นสูง ดังนั้นกระบวนการ 2 อย่างต้องมีความสัมพันธ์กันอย่างไร และนำมาสู่การปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานเชิงระบบ
    

·  ดังอาจารย์ดวงสมร ได้สรุปว่า นั้นการหา Key factor การดูพฤติกรรม กระบวนการที่เป็น mind set กระบวนการทั้ง 3 ด้าน ต้องมีความรู้เรื่องงอค์รวม เรื่องเล่าจะทำให้เรารู้ และจะลงลึกจิตใจที่ละเอียดอ่อนขึ้น  เรื่องการใช้เรื่องเล่าประกอบ และเรื่องอื่นๆ คนทำงานต้องศรัทธาในสิ่งที่คนไข้ศรัทธทและเชื่อด้วย ต้องค้นพบคุณค่าในการดำเนินงานด้วย ต้องมีการค้นหา (Source of hope) การค้นหาจุดที่เป็นความหวังและเป็นพลังในการดำเนินงานสำหรับเขา

     กระบวนการเหล่านี้เองจึงนำมาสู่ ปฏิบัติการปั้นก๊าซเป็นตัว :spiritual assessment in clinical care



งานวิจัยเป็นเครื่องมือไปสู่เป้าหมาย


Credit รูปภาพ พอลล่า.....

เรื่องที่ 1 มิติจินตปัญญาในการวัดผล: งานวิจัยดังกล่าวเป็นกระบวนการที่น่าในใจ  กล่าวคือมีการนำเสนอรูปแบบการศึกษาวิจัยที่หลายหลาย เพื่อหวังตอบหรือสร้างความคิดว่าท้ายสุดมิติจิตวัยญาณในระบบสุขภาพคืออะไร ทั้งนี้แนวทางหนึ่งได้เสนอคือ Spiritual

sensitivity scale SSS
   1.Awarness sensin     
   2.Myster sensing
   3 .Value sensing  
   4. community sensing
โดยกระบวนการดังกล่าวเป็นแนวทางหนึ่งในการดำเนินการและเกิดการขับเคลื่อนการทำงานต่อไป...

เรื่องที่ 2 การประเมินจิตวิญญาณผู้ป่วยระยะสุดท้าย :  เป็นรูปแบบการนำเสนอกรอบการวิจัยเพื่อการสัมพันธ์กันแต่กระบวนการดังกล่าวสิ่งที่หนึ่งที่ต้องทำให้เห็นเป็นกระบวนการใหญ่นั่นก็คือ ประเมิน Spiritual need หรือเป็นการประเมิน spiritual assessment  ทั้งนี้จึงเป็นแนวทางการดำไเนินการที่น่าสนใจอย่างหนึ่งในการมาปรับรายละเอียด

เรื่องที่ 3 การวัดผล โดยการใช้นาดูนโมเดล  หรือปฏิบัติการโรงพยาบาลนาดูน
     คุณ หมอพิทักษ์พงษ์ พรรณพราว รพ.นาดูน นำเสนอเครื่องมือด้าน spiritual care เพื่อเป็น guideline มีคนไข้ OPD 80 คน หมอ 4 ท่านคนละแบบกัน
ก็ทำแนวทางว่าจะส่งผู้ป่วยประเภทใดให้กับหมอท่านใด เพื่อให้สามารถสื่อสารกันได้อย่างเหมาะสม บนพื้นฐานมาตรฐานวิชาชีพเท่ากันสิ่งที่จะทำนี้ขึ้นกับพื้นฐานสิทธิผู้ป่วย ต้องหาข้อห่วงและป้องกันความเสี่ยงให้ได้ จะทำให้ความสัมพันธ์ดี   (Facebook Anuwat Supachutikul)

มีการจัดประเภทผู้มารับบริการเป็น
• ผู้มีเกียรติ
• ผู้มีความรู้การศึกษา (จะติดข้อมูล มีการศึกษาข้อมูลมาก่อน ต้องการความรู้ข้อมูลที่ถูกต้อง)
• กลุ่มที่ต้องได้รับการช่วยเหลือพิเศษ (ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ต้องมีคนของเราเข้าไปดูแล)
• กลุ่มที่ต้องการความเป็นส่วนตัว (HIV, OSCC)
• กลุ่มที่มีความต้องการเฉพาะ (ผู้ป่วยที่เลือกแพทย์ ผู้ป่วยที่มีความต้องการหลากหลาย)

      แต่ละกลุ่มจะจัดแพทย์ดูแลเฉพาะตามลำดับความสามารถในการให้บริการผู้ป่วยแต่ละกลุ่ม จัดสรรผู้ป่วยให้เข้ากับความถนัดของแพทย์ มีการวัดบุคลิกภาพแบบ Eysenck แล้วก็ปั๊มลักษณะของบุคลิกภาพบน OPD เพื่อให้เจ้าหน้าที่รู้ว่าต้องทำอย่างไร ดังนี้ 

(1) เจ้าอารมณ์ ต้องสร้างความสัมพันธ์ ใช้คำถามแบบเปิด รีบดำเนินการในสิ่งที่ช่วยได้
(2) ช่างเจรจา ต้องหมั่นสังเกตและพูดถึงเรื่องของผู้รับบริการโดยเฉพาะ สอบถามถึงความต้องการพิเศษ
(3) ยืนกราน ต้องสนใจคำพูดของเขาก่อน ตั้งใจฟัง สร้างความสัมพันธ์โดยการบอกว่าเราสามารถทำอะไรให้เขาได้บ้าง เสนอและให้เขาตัดสินใจเอง
(4) ลังเล เริ่มต้นด้วยการสร้างความมั่นใจว่าเราต้องการที่จะช่วย สร้างความสัมพันธ์ด้วยคำถามปลายปิด สื่อสารว่าเราพยายามช่วยให้ลดความกังวล ยืนยันว่าวิธีการที่เราดำเนินการจะได้ผล

     อ.โกมาตรบอกว่าที่นาดูนทำเป็น system approach to spirituality
การอบรมให้ทุกคนมี spiritual sensibility ก็ต้องเลือกคนที่ใช่
เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก ไม่มีคนทำ  เป็น spirituality แบบ humanistic ไม่ต้องอิงศาสนา


spiritual assessment in clinical care : มุมสะท้อนในการปรับระบบ

     รพ.นาดูน รพ.หนองวัวซอ รพร.กุฉินารายณ์ไม่น้อยหน้า รพ.ศูนย์ขอนแก่น ทนไม่ได้ จัดหนักกันไปตามๆกัน ตาม area ที่สำคัญของแต่ละท่าน reform ด้วยการ re think, re design , re tools, re train และ research

     และผมขอตบท้ายด้วยภาพนี้มิตรภาพของ G2K พี่แก้ว (แก้ว...อุบล) ที่ได้มาพบและมาประสานความร่วมมือในการทำงานร่วมกันขอบคุณมากครับ และดีใจที่ได้เจอพี่แก้ว...


หมายเลขบันทึก: 536594เขียนเมื่อ 21 พฤษภาคม 2013 01:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2013 01:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

เป็นบันทึกที่ทรงคุณค่า เปี่ยมพลังจริง ๆ ค่ะ อยากให้หลาย ๆ คนได้อ่าน ครูอิงอ่านแล้วนำไปประยุกต์ใช้กับลูกศิษย์ได้ค่ะ เพราะถ้าจะเปรียบไป  ลูกศิษย์ก็คือผู้มาใช้บริการ โดยเฉพาะ 4 ข้อนี้ 

(1) เจ้าอารมณ์ ต้องสร้างความสัมพันธ์ ใช้คำถามแบบเปิด รีบดำเนินการในสิ่งที่ช่วยได้ 
(2) ช่างเจรจา ต้องหมั่นสังเกตและพูดถึงเรื่องของผู้รับบริการโดยเฉพาะ สอบถามถึงความต้องการพิเศษ 
(3) ยืนกราน ต้องสนใจคำพูดของเขาก่อน ตั้งใจฟัง สร้างความสัมพันธ์โดยการบอกว่าเราสามารถทำอะไรให้เขาได้บ้าง เสนอและให้เขาตัดสินใจเอง 
(4) ลังเล เริ่มต้นด้วยการสร้างความมั่นใจว่าเราต้องการที่จะช่วย สร้างความสัมพันธ์ด้วยคำถามปลายปิด สื่อสารว่าเราพยายามช่วยให้ลดความกังวล ยืนยันว่าวิธีการที่เราดำเนินการจะได้ผล

พี่แก้วกับ อ นพ สมคิดกำลังหาวิธีประเมินด้านจิตวิญญาณแบบง่ายๆ

เพื่อหา spiritual point

แต่อย่างไรก็ตามการประเมินต้องอาศัยสัมพันธภาพที่ดี

ให้ผู้ป่วยไว้วางใจ จึงจะเล่าเรื่องต่างๆให้ฟัง

พี่หาเครื่องมือได้แล้ว แต่ต้องแปลจากภาษาอังกฤษ


ยินดีที่พบกัน

เป็น the magic อีกเรื่อง

เรียนเชิญ สรพ. มาเชื่อมโยงกับประชาชนและกลุ่มวิชาชีพทางการแพทย์ที่ GotoKnow ด้วยนะคะ 

ขอบคุณค่ะ :)

               ครูครับเช่นกันครับ สามารถใช้และเชื่อมโยงกับนักเรียนชื่นชมครับครูในการปรับประยุกต์ครับ...แล้วมาเล่าให้กันฟังนะครับครู

ว่าจะชวนพี่แก้วสร้างกลุ่มใน G2K สำหรับท่านอื่นๆด้วย แต่รอก่อนนะครับจะปรึกษาพี่อีกครั้ง และยินดีมากๆครับ สำหรับเครื่องมืองานวิจัยชิ้นใหม่ ไปประชุมที่นู่นสนุกไหมครับพี่ ..


อาจารย์จันครับ จะตั้งกลุ่มและกระบวนการเป็น COPs เพื่อการเชื่อมโยงมาสู่การทำงานอื่นและชุมชนนักปฏิบัติแต่ขอหารือพี่ร่วมปฏิบัติการก่อนนะครับ ...และขอบคุณมากนะครับอาจารย์ที่เข้ามาเยี่ยมชม


ว้าว...ได้เจอทุกคนที่น่ารักมากนะครับ...ได้เรียนรู้มากมายเลยครับ

สาระได้ประโยชน์มากนะคะ

  คราวหน้าจะเชิญมาร่วมแลกเปลี่ยนกันนะครับพี่..


   ขอบคุณมากครับอาจารย์ที่เข้ามาเยี่ยมชมครับ..


.... ดร. นพ.โกมาตร และ  ท่านอจ. นพ. อนุวัฒน์  ...... และ น้อง ชาญณรงค์ ..... รูปหล่อSameๆ กันเลยนะคะ .... ยกเว้น แม่ต้อย สาวสวย ตลอดกาล นะคะ 



พี่ ดร.เปิ้ลครับ ยินดีมากครับ..แม้ต้อยยังสาว 2000 ปีจริง ส่วนอาจารย์โกมาตรและท่านอื่นๆก็ยังหล่อและทรงพลังเหมือนเดิมครับ อย่างไรแล้วมีโอกาสเข้ามาแลกเปลี่ยนกันอีกนะครับพี่

ขอเอาไปถ่ายทอดให้น้องๆๆ caregiver ในสถานดูแลผู้สูงอายุนะคะ   ชอบบทความมากๆๆๆค่ะ  จะคอยติดตามคุณลูกหมู ธรรมะจัดสรรค่ะ

   พี่พรทั้งหล้าขอบคุณครับ ผมก็เก็บเล้กประสมน้อยเอามาจากพี่แหละครับ ทั้งรูปและประโยคที่พี่เล่าให้ฟังทั้งนั้นครับ... ภาษาเขีบยบล๊อกบางทีเสียดายจริงๆเอาไปเขียนในรายงานไม่ได้ แต่ทำหนึ่งโดนๆ และอึ้งบวกนิ่งไปเลย..คือ “เหมือนกับเรารักแม่รอการวิจัย” โดนมากจี้ดๆเลยครับ..


premiumhomecare   ยินดีมากครับพี่..และยินดีมากกว่าที่เข้ามร่วมในการแบ่งปันและเสริมพลังให้กันครับ..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท