ไม่อยากตายไว อย่าเคี้ยวอาหารให้แหลกเกินไป



(หมายเหตุ.... เรื่องนี้ผมได้เขียนไว้ก่อนหน้าแล้ว แต่เวอร์ชันนี้มีบางอย่างแถมขึ้นมาให้หลากหลายยิ่งขึ้น)

เรามักถูกสอนแต่เด็กๆ ว่าให้เคี้ยวอาหารให้แหลกก่อนกลืน  วันนี้ผมมาตะแบงคิดว่าไม่น่าใช่  ผมว่าการเคี้ยวอาหารให้แหลกเกินไปจะทำให้อาหารย่อยไวเกินไป  ซึ่งจะมีโทษต่อร่างกายหลายต่อมาก ดังนี้

1.  ทำให้หิวไวขึ้น และกินมากขึ้น อ้วนมากขึ้น

2.  อวัยวะภายใน (ตับไตใส้พุงม้ามหัวใจ) ต้องทำงานหนักในเวลาอันสั้นแต่รวดเร็วในการย่อย ดูดซึม  โดยเฉพาะหัวใจต้องทำงานหนักในการสูบส่งสารอาหารผ่านหลอดเลือด ทำให้อวัยวะเสื่อมโทรมไวกว่าปกติ  ส่งผลให้ “ตายไว” กว่าปกติ

3.  สารอาหารที่ถูกย่อยมามากในเวลาอันรวดเร็วอาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในกระแสเลือดไม่เพียงพอต่อการฆ่าเชื้อโรคที่แทรกซ้อนเข้ามาพร้อมสารอาหาร ทำให้ระดับเชื้อโรคในกระแสเลือดเข้มข้นขึ้น จนอาจเกินระดับปกติสุข ทำให้เกิดอาการป่วยไข้ต่างๆนาๆ ได้มากว่าการเคี้ยวอาหารหยาบ

4.  สารอาหารที่ประดังเข้ามาอย่างรวดเร็วพร้อมกระแสเลือด อาจทำให้เซ็ลร่างกายดูดซับและย่อยสลายไม่ทัน อาจเกิดมีสารตกค้างจนกลายเป็นโรคต่างๆได้ เช่น เบาหวาน

5.  ยิ่งเคี้ยวนาน ยิ่งละเอียด เศษอาหารก็จะยัดเยียดเข้าไปยังใต้เหงือก ซึ่งยากจะกำจัดออกได้ ทำให้เป็นโรคเหงือก โรคฟันตามมา

6.  เสียเวลาในการเคี้ยวนานเกินจำเป็น

สำหรับข้อ ๕ นี้มีเครื่องพิสูจน์ง่ายๆ  ลองไปแหวะปากหมาแมวที่เลี้ยงแบบธรรมชาติดู (เลี้ยงแบบปล่อยให้กินหนู นก จิ้งจก)  จะไม่เห็นว่าฟันเป็นหินปูนเลย แต่มันวาวใส เหงือกสีชมพู ทั้งที่ไม่เคยแปรงฟัน  เทียบกับแมวที่เลี้ยงในบ้านกินอาหารสำเร็จตลอดเวลา ฟันมันจะเป็นหินปูน เพราะอาหารเม็ดมันแข็ง แมวมันต้องเคี้ยวให้ละเอียด อีกทั้งพวกแป้งที่ปนเข้าไปมันแตกละเอียดได้ง่ายมันคงเข้าไปอุดใต้เหงือกแมว  แต่แมวกินหนู มันฉีกเนื้อเป็นชิ้นใหญ่ๆ แล้วกลืนลงคอ ไม่มีการเคี้ยว 

ข้อ ๑-๔  ผมเสนอฝากไว้ให้แผ่นดิน  ใครที่ทำงานด้านสุขภาพลองเอาไปวิเคราะห์กันดู  เรืองนี้ขอทุนวิจัยระดับใหญ่ได้เลยนะครับ ใครพิสูจน์หาความสัมพันธ์ได้อาจถึงรางวัลโนเบล ...แต่รับรอง ผมคิดอะไรมักไม่ผิดหรอก ถูกมาจนเบือถูกแล้ว อิอิ

เรื่องหัวใจเต้นแรงกว่าปกตินั้นหมอฝรั่งเขารู้กันหมดแล้ว เหตุผลก็คงเป็นเพราะหัวใจสูบส่งสารอาหารไปเลี้ยงเซลร่างกายนั่นเอง

...คนถางทาง (๑๗ พค. ๒๕๕๖)


หมายเลขบันทึก: 536245เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2013 17:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2013 17:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท