CaseStudy 8: profile อย่างนี้ เป็น พี่น้อง หรือ แม่ลูก ดีนะ?


     วันนี้ออกผลการทดสอบพี่สาว-น้องสาว รายหนึ่ง ให้ข้อมูลว่าเป็นพี่น้องร่วมพ่อแม่เดียวกัน (Full sib) พี่สาวมีบัตรประชาชนแล้ว แต่น้องสาวยังไม่มีบัตร ส่งมาจากจังหวัดสงขลา ให้มาตรวจไมโตคอนเดรีย เพื่อเป็นหลักฐานประกอบการขอทำบัตรให้กับน้องสาว

     ผลการตรวจไมโตคอนเดรีย ได้ผลดังนี้ครับ

     รูปแบบดีเอ็นเอบนไมโตคอนเดรีย บริเวณ control region  ของทั้งพี่สาว และน้องสาว มีรูปแบบเหมือนกัน สรุปได้ว่า เป็นพี่สาว-น้องสาว ร่วมแม่เดียวกัน

     ที่ ม.อ. ตัวอย่างตรวจที่ตรวจพิสูจน์ความสัมพันธ์ทางสายเลือดทุกชนิด เราทำ autosomal STR จำนวน 15 ตำแหน่งให้ด้วยทุกรายครับ  แล้วหลายๆครั้ง เราก็เจออะไรสนุกๆ เช่นเดียวกับ case นี้ครับ ผลการตรวจ autosomal STR ได้ผลดังภาพข้างล่างนี้ครับ

     ปรากฎว่า รูปแบบดีเอ็นเอ ชนิด autosomal STR ของทั้ง พี่สาว และ น้องสาว มีรูปแบบที่เข้ากันได้ทั้ง 15 ตำแหน่ง  นั่นหมายความว่า ถ้าสองคนนี้ มาแจ้งกับเราว่า เขาทั้งสองคนเป็น แม่-ลูกกัน .....ผลการตรวจดีเอ็นเอ ก็เป็นไปตามนั้นครับ เพราะออกมาเป็นแม่-ลูกกันก็ได้ โดยมี CPI 3.2 ล้านเท่า หรือ Posterior prob เท่ากับ 99.9999689% ซึ่งสูงมากครับ

     หรือจะบอกว่าเป็นพี่-น้องร่วมพ่อแม่เดียวกัน (Full Sib) ก็มีความน่าเชื่อถือ เพราะ CPI ได้ตั้ง 10.4 ล้านเท่า  หรือ post prob ได้ 99.999904%

     หรือจะบอกว่าเป็น พี่-น้องร่วมพ่อเดียวกันคนละแม่ หรือแม่เดียวกันคนละพ่อ (half sib) หรือเป็นน้า-หลาน (avuncular) หรือเป็น ยาย-หลาน (grand parent-grand child) ก็ไม่น่าแปลกใจ เพราะมี CPI ได้ตั้ง 2.1 หมื่นเท่า หรือ post prob ได้ 99.9953102%

     หรือหากจะบอกว่าเป็นลูกผู้พี่-ลูกผู้น้อง (first cousin) ก็น่าจะได้ เพราะ CPI คำนวณได้ 508 เท่า หรือ post prob ได้ 99.8036749%

     เห็นหรือยังครับว่า หากแยกพิจารณาเป็นรายตัว จะพบว่า case นี้ แปลผลได้ว่า เป็น แม่-ลูก ก็ได้ เป็น Full sib ก็ได้ เป็น half sib ก็ได้ หรืออาจเป็นแม้กระทั่ง First cousin ก็ยังได้  เพราะแต่ละกรณี มีค่า CPI มากกว่า 99 เท่า หรือมี posterior prob มากกว่า 99 %

     แต่ถ้าพิจารณาในภาพรวม จะพบว่า case นี้แปลผลว่า เป็น Full sib ครับ เพราะ likelihood ratio ของ full sib ให้ค่าสูงสุด

     เลยเอามาเล่าสู่กันฟังครับ......

หมายเลขบันทึก: 536243เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2013 16:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2013 16:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ถ้าตรวจดีเอ็นเอผลออกมาแบบนี้นี่ สองคนนี้น่าจะสามารถปลูกถ่ายอวัยวะให้กันและกันได้เกือบทั้งหมดไหมคะนี่ (คิดไปถึงโน่น)

ไม่ได้ครับพี่โอ๋ ตรวจพิสูจน์ดีเอ็นเอเป็นการตรวจบริเวณ STR เป็นคนละเรื่องกันกับการตรวจเพื่อปลูกถ่ายอวัยวะอันนั้นต้องตรวจHLA typing ครับ

พี่โอ๋แค่คิดว่าในระดับดีเอ็นเอยังเหมือนกันขนาดนี้ ระดับโปรตีนไม่น่าจะต่างกันเลยไงคะ เพราะฉะนั้น Ag ทั้งหลายในตัวนี่ไม่น่าจะต่างกันเลยนา (ถึงบอกคิดไปโน่นค่ะ) คืออ่านแล้วคิดมหัศจรรย์ว่า แค่พี่น้องเหมือนกันได้ขนาดนี้เลยเหรอนี่  

คนที่มีความสัมพันธ์เป็นญาติใกล้ชิดกัน ยิ่งมีโอกาสที่จะมี DNA เข้ากันได้มากยิ่งขึ้นครับ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเหมือนกัน  ในหลักการนี้ใช้ได้กับการปลูกถ่ายอวัยวะเหมือนกันครับ เพียงแต่ทดสอบด้วยการทดสอบที่แตกต่างกัน


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท