มานุษยวิทยามาร์กซิสต์ ตอนที่ 14 ชนชั้นอื่นๆ


ชนชั้นตามแนวคิดของมาร์กซ์ (ต่อ)

5. ชนชั้นอื่นๆ

1. เสื้อแดง

เสื้อแดง หรือคนหน้าใหม่ คือคนชั้นกลางระดับล่าง ส่วนใหญ่หลุดออกไปจากภาคเกษตร หรือที่ยังอยู่ก็ทำเกษตรเชิงพาณิชย์อย่างเข้มข้น มีรายได้ดีขึ้นจนจัดเป็นคนชั้นกลางได้ มีรสนิยมและความใฝ่ฝันในชีวิตไม่ต่างจากคนชั้นกลางระดับกลางและสูงในเมืองคนเหล่านี้เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมากมาย เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจสังคมของไทยเอง แต่ก็คล้ายกับคนชั้นกลางคอปกขาวในเมือง กล่าวคือไม่มีการจัดองค์กร และไม่มีปากเสียงทางการเมืองได้ตลอดเวลา จะแย่กว่าด้วยซ้ำ เพราะไม่มีอำนาจพอจะกำหนดทิศทางของสื่อได้ ฉะนั้นจึงเป็นกลุ่มคนที่มีขนาดใหญ่มหึมา แต่ไร้อำนาจต่อรองทางการเมืองโดยสิ้นเชิง แม้แต่ในท้องถิ่น การเลือกตั้งจึงเป็นช่องทางต่อรองทางการเมืองเพียงอย่างเดียวที่พวกเขามี และการเลือกตั้งทำให้เขาได้ คุณทักษิณ ชินวัตร มาเป็นนายกรัฐมนตรี พร้อมทั้งนโยบายหลายอย่างที่ตอบสนองความจำเป็นในชีวิตของเขา เช่น กองทุนหมู่บ้าน, 30 บาทรักษาทุกโรค, เงินกู้เพื่อการศึกษา ฯลฯดังนั้นพวกเสื้อแดงจึงมีความหลากหลายมาก ตั้งแต่ชนชั้นกลางในเมือง ชนชั้นสูง หรือแม้แต่พวกชนชั้นล่างแต่ได้รับอานิสงค์จากนโยบายประชานิยมของทักษิณก็ตาม

ลักษณะของเสื้อแดง หรือคนหน้าใหม่

จำนวนมากของคนหน้าใหม่เหล่านี้ มีความเชื่อมโยงกับชนชั้นนำเดิมน้อย กล่าวคือศักดินา ราชการ นักธุรกิจในเมือง และต่างจังหวัด (กว่าคนชั้นกลางคอปกขาว) ไม่ว่าจะมองจากด้านการทำมาหากิน เช่นจำนวนมากของคนหน้าใหม่ผลิตเพื่อตลาดภายใน มากกว่าส่งออก ไม่ได้ผลิตวัตถุดิบป้อนโรงงานอุตสาหกรรมส่งออกมากนัก มีชีวิตอยู่ในเมืองขนาดเล็ก อาจต้องเข้ากรุงเทพฯ เป็นประจำ แต่ก็เพื่อธุรกิจบางอย่างของตนเท่านั้น ไม่ได้ประสงค์จะใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ แม้ชีวิตความเป็นอยู่ของเขาไม่ใช่ "ชนบท" (ตามจินตนาการไทย) อีกแล้ว แต่เขายังได้ยิน "เสียงเพรียกจากชนบท" ได้ชัดเจนกว่าชนชั้นนำเดิมมาก แม้แต่คนที่ต้องทำมาหากินในกรุงเทพฯ ซึ่งมีจำนวนมาก จุดเชื่อมต่อบางๆ ที่คนหน้าใหม่กับชนชั้นนำเดิมมีต่อกันคือการศึกษา หมายถึงการศึกษาในความหมายกว้าง เช่น ดูละครทีวีเรื่องเดียวกัน และเนื่องจากลูกหลานของคนหน้าใหม่ได้รับการศึกษาสูงขึ้น จึงทำให้เขาผูกพันอยู่กับหลักสูตรที่เป็นทางการยาวนานขึ้น แม้จนถึงระดับมหาวิทยาลัย แต่ในบรรดาชนชั้นนำเดิมเองก็กำลังแตกตัวในเรื่องนี้ เพราะจำนวนไม่น้อยที่มีฐานะเพียงพอ จะส่งลูกหลานไปศึกษาต่อต่างประเทศในระดับปริญญาตรี หรือก่อนหน้านั้นด้วยซ้ำ จุดเชื่อมต่อที่เบาบางอยู่แล้วจึงมีรอยปริ ระหว่างนักเรียนนอกกับนักเรียนใน ระหว่างจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์กับราชภัฏ, รามคำแหง หรือ มสธ. อย่างไรก็ตาม ในระยะยาวการศึกษาจะเป็นช่องทางหนึ่งในการเปิดพื้นที่ให้คนชั้นกลางระดับล่างได้จับจองส่วนแบ่งบนเวทีการเมือง ได้แน่นแฟ้นขึ้นอย่างปฏิเสธไม่ได้

อีกประการหนึ่งก็คือกระบวนการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองของคนชั้นกลางระดับล่างหรือเสื้อแดง มีลักษณะ "ถอนรากถอนโคน" (radicalization) มากขึ้น และนับวันก็ยิ่งมากขึ้นไปเรื่อยๆ ด้วย (โดยเฉพาะเมื่อมองจากทรรศนะของชนชั้นนำเดิม) คล้ายกับขบวนการนักศึกษาหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้ชนชั้นนำเดิมหวั่นวิตกกับการที่จะต้องเปิดพื้นที่บนเวทีให้แก่ "ควาย" เหล่านี้ ไม่เฉพาะแต่พื้นที่ทางการเมืองเท่านั้น แต่รวมถึงพื้นที่ทางวัฒนธรรม และสติปัญญาด้วย เมื่อครั้งกระโน้น ชนชั้นนำเดิมตัดสินใจใช้ความรุนแรง แต่ในที่สุดก็ล้มเหลวจนต้องเปิดพื้นที่ให้คนชั้นกลางคอปกขาว และหาทางกลืนด้วยวิธีอื่น 

หนังสืออ้างอิง

อรทัย ปิ่นเก็จมณี.ชนชั้นและรัฐในสังคมไทย ตอนที่ 1. http://firelamtung.com/index.php?option=com_content&view=article&id=101:--1&catid=1&Itemid=19 เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2556

อรทัย ปิ่นเก็จมณี.ชนชั้นและรัฐในสังคมไทย ตอนที่ 2.http://firelamtung.com/index.php?option=com_content&view=article&id=119:--2&catid=1&Itemid=19  เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2556

นิธิ เอียวศรีวงศ์. พลวัตของชนชั้นนำไทย (2). http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1349659365&grpid=03&catid=12. เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2556 

ศศิริษา.ความสัมพันธ์ทางแนวคิดและทฤษฎี ประวัติศาสตร์ของสังคมทุกสังคมที่เคยมีอยู่ ล้วนคือประวัติศาสตร์ของการต่อสู้ทางชนชั้น”Karl Marx. http://apinan.orgfree.com/resource.html  เข้าถึงเมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ.2556

ภีรเดช อเนกพิบูลย์ผล.ไพร่และ ‘สงครามชนชั้น’ สะท้อนความขัดแย้งในทางวัฒนธรรม-การเมือง. http://prachatai.com/journal/2010/04/28945  เข้าถึงเมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ.2556

Faris Yothasamuth.อะไรคือสลิ่ม?ว่าด้วยที่มา บริบทความหมาย และคุณลักษณะเฉพาะ.http://prachatai.com/journal/2011/11/37957 เข้าถึงเมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ.2556





หมายเลขบันทึก: 536244เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2013 17:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2013 08:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท