อากาศเสีย(มลภาวะ)เพิ่มเสี่ยงเบาหวาน




.
สำนักข่าวเดลีเมล์ตีพิมพ์เรื่อง "ทำไมอยู่ใกล้ถนน (ที่มีรถคับคั่ง) อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพเด็กๆ: มลภาวะจราจร (จากถนน) เพิ่มเสี่ยง (มีความสัมพันธ์กับ) เบาหวาน", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ [ Dailymail ]
.

.

เบาหวาน (diabetes) แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ [ NIH ]
.
(1). เบาหวานชนิดที่ 1 > พบ 5-10% ของเบาหวานทั้งหมด
.
เกิดจากภูมิต้านทานทำลายตัวเอง โดยไปทำลายเซลล์เบต้าในตับอ่อน ทำให้ร่างกายสร้างอินซูลินไม่ได้
.
เบาหวานชนิดที่ 1 มักจะพบในเด็ก-ผู้ใหญ่อายุน้อย (น้อยกว่า 30 ปี)
.
ส่วนใหญ่จะผอมลง ปัสสาวะมาก-บ่อย หิวน้ำบ่อย มักจะมาด้วยภาวะช็อค (น้ำตาลสูงมาก ร่างกายมีกรดมากเกิน)
.

.
(2). เบาหวานชนิดที่ 2 > พบ 90-95% ของเบาหวานทั้งหมด
.
ตับอ่อนสร้างอินซูลินได้ แต่เซลล์ทั่วร่างกายดื้อ หรือตอบสนองต่ออินซูลินน้อยลง ทำให้ตับอ่อนต้องสร้าง-หลั่งอินซูลินมากขึ้นเรื่อยๆ จนตับอ่อนสิ้นสภาพ สร้างอินซูลินได้ไม่พอ
.
.
เบาหวานชนิดที่ 2 พบในผู้ใหญ่ และพบในเด็กอ้วน
.
คนไข้ส่วนใหญ่จะมีน้ำหนักเกินหรืออ้วน อาการไม่ชัดเจน อาจตรวจพบโดยบังเอิญ เช่น ตรวจสุขภาพประจำปี ฯลฯ
.
บางคนปัสสาวะมาก-บ่อย หิวน้ำบ่อย หรือเป็นแผลที่หายช้าเกิน 2 สัปดาห์, แผลติดเชื้อมากกว่าคนทั่วไป
.
คนไข้เบาหวานชนิดที่ 2 อาจไม่มีอาการอะไรจนเกิดภาวะแทรกซ้อน ซึ่งอาจารย์ท่านให้จำเป็นคำคล้องจองกันว่า "หัว-หัวใจ-ตา-ไต-ตีน"
  • หัว > กลุ่มโรคสโตรค (stroke) หรือหลอดเลือดสมองแตก-ตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต
  • หัวใจ > หัวใจขาดเลือด หัวใจวาย
  • ตา > ตาเสื่อม ตาบอด
  • ไต > ไตเสื่อม ไตวาย
  • ตีน > เส้นเลือด-เส้นประสาทเสื่อม ทำให้เป็นแผลง่าย ติดเชื้อรุนแรง-เรื้อรัง อาจต้องตัดนิ้ว ตัดเท้า ตัดขา

.
การศึกษาใหม่จากเยอรมนี ทำการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างเด็ก 397 คน
.
มลภาวะ (air pollution) จากไอเสียรถเพิ่มเสี่ยงเบาหวานดังนี้
.
(1). ไนโตรเจน ไดออกไซด์ (NO2) > เพิ่มเสี่ยง 17%
.
(2). ควันรถ ซึ่งเป็นฝุ่นละอองขนาดจิ่ว (particulate matter / PM) จากรถดีเซล > เพิ่มเสี่ยง 19%
.

.
ถ้านับเป็นระยะทาง > ทุกๆ 500 หลา = 457.2 เมตร หรือประมาณ 460 เมตรที่ใกล้ถนนใหญ่จะเพิ่มเสี่ยงเบาหวาน 7%
.
ดร.โยอาคิม ฮายน์ริค หัวหน้าคณะวิจัย (ตีพิมพ์ใน Diabetologia) กล่าวว่า ภาวะดื้อต่ออินซูลินมีแนวโน้มจะเพิ่มตามระดับมลภาวะ
.
ยิ่งอากาศเสียมาก ยิ่งเพิ่มเสี่ยงเบาหวาน
.
การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า มลภาวะทางอากาศ โดยเฉพาะหมอกควัน (ฝุ่นละอองจิ๋วหรือ PM10) เพิ่มเสี่ยงโรคหัวใจ และโอกาสเสียชีวิตก่อนวัยอันควร (ตายเร็ว)
.

.
มลภาวะทางอากาศทำให้สารก่อการอักเสบ หรือธาตุไฟในร่างกาย (inflammatory biomarkers) กำเริบ
.
ศาสตราจารย์แฟรงค์ เควลี จากสถาบันคิงส์ คอลเลจ ลอนดอน กล่าวว่า เด็กบอบบางต่ออากาศเสียมากกว่าผู้ใหญ่ 2-4 เท่า เนื่องจาก...
.
(1). สัดส่วนปริมาตร "ปอด-ต่อ-ร่างกาย (lung-to-body)" สูงกว่าผู้ใหญ่
.
(2). เยื่อบุทางเดินหายใจ (airway epithelium) บอบบาง บาดเจ็บ เสียหายได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่
.

.
ศ.เคลลี แนะนำให้หาทางลดอากาศเสีย และเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติ คือ กินผัก ผลไม้ทั้งผล ถั่ว เมล็ดพืช ข้าวกล้อง เป็นประจำ 
.
ประเทศไทยมีปัญหาอากาศเสียจากการเผาไร่นา เผาขยะ-ใบไม้ เผาป่า โดยเฉพาะในภาคเหนือ สอดคล้องกับสถิติมะเร็งปอด ซึ่งสูงสุดที่เชียงใหม่กับลำปาง
.

.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.

 > [ Twitter ]

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์. 11 พฤษภาคม 56. ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้ โดยอ้างที่มา และไม่จำเป็นต้องขออนุญาต... ขอบคุณครับ > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูง จำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้

หมายเลขบันทึก: 535653เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2013 21:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤษภาคม 2013 21:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท