สำเนียงอังกฤษปูที่มองโกเลีย (ไม่ใช่มองโคเรียนะ)


การออกเสียงอ่านภาษาอังกฤษของนายกปูที่มองโกเลีย

มีแนวโน้มพัฒนาขึ้นกว่าเดิม  คงเพราะซ้อมหลายเที่ยว ซึ่งผมไม่ได้คาดหวังนะว่าจะต้องพูดให้เพอร์เฟ็ค  พูดเพี้ยนๆ น่ะว่าไปแล้วดีเสียอีก  เป็นการประกาศให้โลกรู้ว่า  คนไทยไม่ได้เป็นทาสใครมาแต่อ้อนแต่ออก    แต่ถ้าลำบากเกินไปนัก ก็พูดไทยแล้วแปลล่ามมันไปเลย   เหมือนจีน  ญี่ปุ่น   เขาก็พูดภาษาเขาทั้งนั้นแหละ

ถ้าจะพูดอังกฤษอย่างน้อยการรออกเสียงต้องถูกจากลำคอต้องถูกเสียก่อน   สวนการกระดกลิ้น ห่อลิ้น ตวัดลิ้น  แลบลิ้นกัดฟันนั้นพออนุโลมกันได้

คำหนึ่งที่ผมสังเกตพบว่าคุณปูแกออกเสียงผิดคือ  คำว่า   effective  (แกพูดสองสามครั้งแน่ะ )  แกออกเสียงจากลำคอว่า   “เอฟ-เฟค-ทีฟ”  แสดงว่าในระหว่างซ้อม  แม้โคชเองก็ไม่ดัดเสียงให้ (แสดงว่าโคชก็เห็นด้วยกับการออกเสียงนี้)   อีกทั้งการเน้นเสียงก็เน้นที่พยางค์แรก  (เอฟ)

คำนี้ผมว่า น่าออกเสียงว่า  อี-เฟ็ค-ทิฟ    (การเน้นเสียง ที่ เฟ็ค)  

คำนี้คนไทยเรา แม้นักการทูตที่เราชื่นชม ศ.ดร.  แก่ๆที่ประดาแม่ยกยกย่อง  ก็มักออกผิด  (คือออกแบบคุณปู)  

มีคำหลายคำที่”คนเก่ง”ภาษาอังกฤษไทยยังออกเสียงผิด  เช่น  determine    vegetable   film fuel  (สองคำนี้ออกเสียงยากมาก)   Latin  Newton  Module   แม้แต่คำง่ายเช่น  cup  but   (ไม่ใช่ คัพ   บัท  นะ) 

ผมเคยล้อคนไทยด้วยกันที่ ดจร.  พูดว่า   ไอแอมโกอิ้งชอปปิ้ง   โดยผมถามกลับว่า   where is your axe?    (แล้วขวานอยู่ไหน)  ....(chop = ช็อป = ฟัน สับ  ....ออกเสียงต่างจาก shop = ไปซื้อของ )  

ตัว r ตัว l  เป็นปัญหาไม่แต่คนไทย  แต่ญี่ปุ่นด้วย  วันหนึ่งเพื่อนที่นาสาที่แผนกพากันไปกินอาหารกัน  (วันเกิดใครสักคน จำไม่ได้)  ผมเป็นโต้โผพาไปกินที่ร้านอาหารไทย  ฝรั่งทั้งโต๊ะ  มีต่างชาติสองคนคือผมกับเพื่อนญี่ปุ่น  พอถึงคิวสั่งของญี่ปุ่น เพื่อนสั่งว่า  I’d like to order “fly lice.”  (fried rice)     ...... พอสั่งเสร็จ ผมเพิ่งเห็นฝรั่งมันแซวกันหนักๆ   คือ เพื่อนอีกคนแซวญี่ปุ่นว่า  “เฮ้ย วันนี้เรามีคนสั่งอาหารจานแปลกว่ะ  เกิดมาเพิ่งเคยได้ยิน  เหาบินว่ะ  อาหารอะไรหว่า”   ...เล่นเอาหัวเราะกันท้องคัดท้องแข็ง

ส่วนผมไม่มีใครแซว  เพราะผมสั่งเป็นภาษาไทย   ๕5ห้า  

  สำหรับคำฝรั่งที่ออกเสียงยากที่สุดสำหรับคนไทยเรา   ผมยกให้ corollary (เพราะตัว l ตัว r มันพันกัน   ทำให้ห่อและกระดกลิ้นไม่ทัน)  

...คนถางทาง (๙ พค. ๒๕๕๖) 


หมายเลขบันทึก: 535262เขียนเมื่อ 9 พฤษภาคม 2013 10:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤษภาคม 2013 10:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

เห็นหัวบันทึกนึกว่าเรื่องการเมือง ผมเกือบจะไม่คลิกมาอ่านแล้วเชียวครับ เกือบจะพลาดบันทึกดีๆ ครับ (ผมไม่ชอบอ่านเรื่องการเมือง ไม่ว่าใครเขียนก็ตาม เพราะล้วนแล้วแต่เต็มไปด้วยอคติ ถ้าไม่รักเกินไป ก็เกลียดเกินไป อารมณ์นำเหตุผลทั้งนั้นครับ)

effective นี่ผมก็ออกเสียงผิดครับ สมัยเรียนผมมีเพื่อนดี คอยแก้คำพูดผมอยู่ตลอดเวลา (จนเกือบเลิกคบ) พออยู่กับเพื่อนก็ออกเสียงถูกดี พอกลับมาคุยกับคนไทยก็ออกเสียงผิดอีก ผมคิดว่าคำศัพท์หลายคำมันกลายเป็นภาษาไทยไปแล้ว "เอฟเฟ็กถีบ" นี่ก็เหมือนกันครับ

ดังนั้นต่อไปอาจจะต้องสอนว่า ภาษาไทยคำว่า "เอฟเฟ็กถืบ" นั้นภาษาอังกฤษออกเสียงว่า "อีเฟ็คทิฟ" ครับ

เหมือนคำว่า "ไฟ" (ซึ่งเรานึกว่าเป็นคำไทยพยางค์เดียวแต่โบราณ) ให้ออกเสียงว่า "ฟายเอ้อ" ครับ

อืมม...​ ต้องออกตัวไว้ก่อนว่าผมไม่ได้ชอบ "เสื้อแดง" นะครับ มีคนจำนวนไม่น้อยที่ถ้าเราไม่ได้สนับสนุนสิ่งที่เขาคิดทางการเมืองร้อยเปอร์เซนต์แล้ว เขาจะเห็นว่าเราสนับสนุนฝั่งตรงข้ามทันทีครับ (แต่ผมเชื่อว่าอาจารย์ไม่ใช่คนเช่นนั้นแน่นอนครับ)

ก่อนหน้านี้ผมไม่ทราบลักษณะเฉพาะเช่นนี้ของบ้านเรา แต่เดี๋ยวนี้รู้แล้วผมจะระวังตัวมากครับ

(อ้อ...​ และออกตัวเช่นนี้แล้วก็ต้องออกตัวในอีกมุมตรงกันข้ามไว้ด้วยว่าผมไม่ได้ชอบ "เสื้อเหลือง" เช่นกันครับ)

อ. ธ.  ครับ  ผมก็บอกหลายครั้งแล้วว่า ไม่ซ้าย ไม่ขวา ไม่กลางด้วย  ..ไม่เหลือง ไม่แดง  ไม่ขาวด้วย ...ว่ากันไปตามผิดถูก เป็นรายกรณีไปครับ   เช่น ขึ้นค่าแรง เป็น ๓๐๐ บาท ผมเห็นด้วยเล็กน้อย  ที่ไม่เห็นด้วยมาก เพราะมันขึ้นน้อยไป  ผมเขียนชมคุณปูกรณีนี้ ไม่ใช่ว่าจะด่าเสมอไป  ...การเห็นด้วยเห็นต่าง  มันเหมือนวงกลมสามวงซ้อนกัน  มีจุดตัดร่วมของทั้งสามฝ่ายเล็กๆ ตรงกลาง  พื้นที่ที่เหลือก็ซ้ำซ้อนกันสองฝ่าย  ฝ่ายเดียว  ...การจะเลื่อนวงกลมให้ซ้อนกันมากขึ้น ที่ดีที่สุดอยู่ตรงไหน  อย่างไร  เป็นประเด็นสำคัญของสังคมไทยวันนี้ครับ


แหม... ผมไม่ได้ว่าอาจารย์สักหน่อยครับ ;-)

แต่ข้อเขียนที่เกี่ยวกับการเมืองที่คนไทยเขียนนั้นส่วนใหญ่เขียนด้วยอารมณ์กันจริงๆ นะครับ อ่านแล้วไม่ประเทืองปัญญาแต่กลับทำให้จิตใจขุ่นมัวครับ อาจารย์เชื่อไหมว่าผมเลือกอ่านข่าวเกี่ยวกับประเทศไทยจากสำนักข่าวต่างประเทศครับ แม้ข้อมูลเขาจะน้อยกว่าข่าวจากคนไทย แต่ก็ไม่ได้มีอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้องและมีจริยธรรมสื่อมวลชนตามมาตราฐานนานาชาติ (แต่ละข่าวจะเสนอข่าวจากมุมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง) ครับ

ปล. อาจารย์ยังเข้าระบบเวลาตอบความเห็นไม่ได้อีกเหรอครับ?

ภาษาเป็น..รากเหง้า..ของ.วัฒนธรรม..ชนชาติ.."ความเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่อง ธรรมดา ธรรมชาติ" ในโบราณการณ์..มีหอคอแห่งบารเบล..หอรอคอยความเข้าใจ..ภาษาที่แตกต่าง..และไม่แตกต่าง.." (ฝรั่ง)..ไม่สามารถพูดได้.ว่า".ข้าว ขาว"....ก็น่าให้ "อภัย"..ให้ข้าว ขาว (หอมแต่งกลิ่นสังเคราะห์) ที่เราปลูก(ฝรั่ง)กิน...(๕๕๕หกตกหล่น)...

ขอบคุณทั้งท่านธ และยายธี  

เวลาผมอ่าน ข่าวการเมือง ไม่ว่า จากไทยหรือเทศ  ผมก็ต้องกรองด้วยทรายส่วนตัวที่สะสมไว้   ทำให้ทรายผมมากขึ้น สะอาดขึ้น เป็นลำัดับ  พอมากถึงระดับ threshold อันหนึ่ง ผมก็แทบไม่ต้องอ่าน  แบบว่า อ้าปากก็เห็นลิ้นไก่.....เหมือนกะว่ามองลงมาจาก the tower of babilone (สะกด?)   ฉะนั้นแล 

ผมเดาว่าอาจารย์ใช้ browser ที่ใช้เข้าระบบเพื่อเขียนบันทึกใน GotoKnow กับ browser ที่อาจารย์ใช้อ่านเมลเป็นคนละตัวกันครับ อาจารย์เคยบอกว่าใช้ Chrome ดังนั้น browser ที่อาจารย์ใช้อ่านเมล (หรือคลิกลิงก์มาจากเมล) น่าจะเป็น Internet Explorer ซึ่งเป็น default browser ครับ ไม่ทราบว่าใช่ไหมครับ?

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท