ลักษณะของ Research Hypothesis : 2


     ลักษณะสำคัญของ"สมมุติฐานการวิจัย" ประการที่สองคือ "สมมุติฐานการวิจัยจะต้องเป็นข้อความที่สามารถทดสอบได้"  เช่น

     Research Problem : อะไรทำให้คนเป็นบ้า ?

     Hypothesis : H1  : ผีเข้าไปอยู่ในตัวคนทำให้คนเป็นบ้า

                            H2 :  X  และ  Y  ทำให้คนเป็นบ้า

                            H3 :  ID และ EGO  ขัดแย้งกัน ทำให้คนเป็นบ้า

     H1  "ผี" เป็นตัวแปรอิสระ หรือ Independent Variable : IV  ตัวแปรตามคือ "พฤติกรรมบ้า" (Dependent Variable : DV)   H1 กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่าง IV - DV    แต่ เราสังเกต "ผี" ไม่ได้  จึงไม่เข้ากับขั้นตอนที่ 1 ของ Scientific Processes    คือ "การสังเกต และเกิดปัญหา"  ดังนั้น "ผี" จึงอยู่นอกขอบเขตของ Scientifict Processes  นั่นก็คือ  อยู่นอกขอบเขตของวิทยาศาสตร์  จึงทดสอบ (Test) ไม่ได้ว่า  H1 เป็น  True หรือ False     และดังนั้นจึงไม่ถือเป็น Research Hypothesis

     H2  X , Y เป็น  IV สัมพันธ์กับ "พฤติกรรมบ้า"    แต่ X  และ Y  ไม่มีความหมายในโลกจริง  จึงทดสอบความ จริง/เท็จไม่ได้  จึงไม่ถือเป็น Research Hypothesis 

     H3   ID, EGO, เป็น IV  และสัมพันธ์กับ "พฤติกรรมบ้า"  (DV)   ถ้าเราสังเกต ID,EGO, ไม่ได้  H3  ก็อยู่นอกขอบเขตของ Science เช่นกัน  แต่ Freud  ก็ได้ให้คำ "นิยาม" ของ ID,EGO ไว้ และมีความหมายตามโลกจริงที่ "มีความเป็นไปได้" ที่จะสังเกต  อย่างน้อยโดยอ้อม ดังนั้น H3 จึง  Test  ได้  และดังนั้นจึงเป็น Research Hypothesis

     เรื่องนี้ก็สำคัญ  จึงบันทึกไว้เพื่อคนรุ่นหลัง

คำสำคัญ (Tags): #research#hypothesis
หมายเลขบันทึก: 53517เขียนเมื่อ 6 ตุลาคม 2006 09:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 02:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ขอบพระคุณคะอาจารย์  เป็นประโยชน์สำหรับหนูมากคะ
ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว
ยินดีครับ  จบเร็วๆนะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท