ถอดบทเรียนครูสอนดี Coaching & Mentoring


               คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุโขทัยเขต ๒ เขตพื้นที่มัธยม ๓๘,๓๙  ในการพัฒนาครูคุณภาพโดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching and Mentoring   โดยคณาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ ร่วมกับศึกษานิเทศก์และผู้บริหารวางแผนร่วมกันในการเป็นพี่เลี้ยงพัฒนาครูให้นำแนวคิดการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ กล่าวคือ ครู ต้องทำหน้าที่สอนแบบไม่สอน เปลี่ยนไปชวนลูกศิษย์คิดและลงมือทำ เพื่อให้ศิษย์ตกผลึกเรียนรู้จากการลงมือทำ โดยนำแนวทางบันไดการเรียนรู้ ๕ ขั้น มาเป็นแนวทางให้ครูนำไปใช้ประกอบไปด้วย 

  1. Learn to Question เรียนรู้การตั้งคำถามหาความรู้
  2. Learn to Search เรียนรู้แสวงหา
  3. Learn to Construct เรียนรู้เพื่อสร้างองค์ความรู้
  4. Learn to Communicate เรียนรู้เพื่อการสื่อสาร
  5. Learn to Serve เรียนรู้เพื่อตอบแทนสังคม 
           โดยการพัฒนาครูครั้งนี้ทีมพี่เลี้ยงมีความเห็นตรงกันว่าการอบรมสองวันก่อน ครูนำแนวทางลงไปใช้ในโรงเรียน เราจะต้องใช้วิธีการอบรม หรือสอนแบบไม่สอน นั่นคือเราจะต้องนำแนวทาง Coaching และ Mentoring มาใช้ กล่าวคือเราต้องใช้กระบวนการหรือกิจกรรมเข้ามาใช้ในการอบรม ลดการบรรยายของวิทยากรให้น้อย แต่ใช้กระบวนการให้ผู้เข้ารับการอบรมลงมือปฏิบัติ ถอดความรู้ โดยทีมพี่เลี้ยงจะทำหน้าที่เป็นกระบวนกร คอยช่วยอำนวยความสะดวก ให้ผู้เข้ารับการอบรมถึงบางอ้อ เรื่อง Coaching และ Mentoring ด้วยตนเอง

           ซึ่งทีมพี่เลี้ยงเองต่างก็บอกว่าการอบรมครั้งนี้หินที่สุด ในการออกแบบการเรียนรู้โดยไม่สอน ดังนั้นเราจึงต้องวางแผนกันเยอะมาก ในการที่จะออกแบบการเรียนรู้ โดยอาศัยประสบการณ์ของแต่ละคน(พี่เลี้ยง) มาใช้ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือ KM เครื่องมือจิตปัญญา เครื่องมือถอดสกัดความรู้ เรื่องเล่าเร้าพลัง วิดีโอเร้าพลัง การ์ดเทคนิค การระดมความคิด การเช็คอิน AAR จึงถูกนำมาใช้อย่างเป็นกระบวนการ เพื่อให้ผู้เข้ารับการพัฒนาเรียนรู้เรื่องดังกล่าวผ่านเทคนิควิธีการ 

            ผมเองเป็นหนึ่งในกระบวกร รับหน้าที่ไม้ผลัดที่สองในกิจกรรมการถอดสกัด ความรู้ฝังลึกประสบการณ์ในตัวครูผู้สอน ผ่านวิธีการเรื่องเล่าเร้าพลัง โดยตั้งหัวปลา ในการเล่าเรื่องครั้งนี้ว่า "ความสุข/ ความภาคภูมิใจ ในการช่วยให้นักเรียนค้นพบศักยภาพการเรียนรู้" 

            ซึ่งผลจะเป็นเช่นไรคงจะได้มาเล่าต่อกันภายหลัง

หมายเลขบันทึก: 534665เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2013 11:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤษภาคม 2013 11:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

น่าสนใจมากๆเลยครับ ว่าจะลองสอนแนวนี้ดูเทอมนี้ละครับ

ภูมิใจที่ได้ร่วมโครงการค่ะ 

ขอบคุณสำหรับความรู้ค่ะ นำมาแชร์อีกนะคะอาจารย์ เสียดายไม่ได้ร่วมโครงการ

แต่การไปอบรมระยะที่สาม ที่ไป โรงเรียนสรรพวิทยา อ.แม่สอด ไม่ค่อยเห็นด้วยเลยค่ะ เพราะเป็นน่าฝนอันตรายอยู่นะค่ะ

เห็นด้วยกับโรงเรียนสรรพอุ้มผางยิ่งกว่าลื่นแต่ก็ทำเพื่อการศึกษาค่ะทางท่ีดีน่าจะเผยแพร่ตัวอย่างแผนให้ดูด้วยนะค่ะ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท