หลุมพลางอาเซียน หลุมพรางแอร์เอเชีย


"กลลวงการตลาดของแอร์เชีย"

            ช่วงระยะหลายเดือนที่ผ่านมา ผมได้รับเชิญเป็นวิทยากรบรรยายความรู้เกี่ยวกับอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นสำนักพิมพ์สกายบุ๊คส์ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เป็นต้น ทั้งมุมมองด้านประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและประชาคมสังคมเศรษฐกิจอาเซียน มีอยู่กรณีหนึ่งที่ผมหยิบยกประเด็นนี้ในการบรรยาย วันนี้ มีโอกาสดีที่มีเวลามานั่งพรรณนาโวหารผ่าน Gotoknow เพื่อแบ่งปันมุมมอง มุมคิดนะครับ

                        

              ก่อนออกตัวแรงๆผมขอยืนยันว่า บทความนี้เป็นบทความส่วนตัวของผมจริงๆมิได้ต้องการพาดพิง เสียดสี ดูถูกหน่วยงานองค์กรใดๆ

             สิ่งสำคัญของการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน สิ่งสำคัญนั้นผมเรียกมันสั้นว่า จุดยืน ใครที่มีจุดยืน มีฐานความคิด มีคอนเซ็ปต์ (Concept) มีธีม (Theme) มีฐานที่มั่นเป็นของตนเองย่อมจะเห็นโอกาสของการรวมกันเป็นประชาคมหนึ่งเดียว โดยเฉพาะประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

                         


              จุดชนวนความคิด ผมขอถามท่านผู้อ่านว่า เมื่อเดือนธันวาคม 2556 มาถึง เกิดเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หากต้องการเดินทางไปมาหาสู่กัน เพื่อทำธุรกรรมอะไรก็ตามแต่ เราต้องเดินทางด้วยวิธีใด คำตอบ คือ เครื่องบินใช่หรือไม่? ถามต่อว่า แล้วเรามีสายการบินของคนอาเซียนหรือยัง คำตอบคือ นาทีนี้มีแล้ว นั่นคือ สายการบินหางแดงหรือแอร์เอเชียทำไมจึงเป็นสายการบินนี้

               เราถูกแผนการตลาดของสายการบินแอร์เอเชียหลอกล่อให้หลงทางว่า นี่คือ สายการบินต้นทุนต่ำหรือ Low cost Airline แต่จริงๆแล้ว สายการบินแห่งนี้มีจุดยืนทางการตลาดคือ การเป็นสายการบินของภูมิภาคอาเซียน เพราะขณะนี้ สายการบินแอร์เอเชียมีเส้นทางการบินครอบคลุม 10 ประเทศของอาเซียนทุกแห่ง โดยมีศูนย์กลางบัญชาการใหญ่ที่ LCCT International Airport ประเทศมาเลเซีย และนี่คือ หลักฐาน

                          

                          

                          
                                                          เส้นทางการบินของแอร์เอเชีย

              ส่วนสายการบินบ้านเราอย่างการบินไทย บางกอกแอร์เวย์ แม้จะเปิดทำการบินในหลากหลายประเทศ หลากหลายเส้นทาง ทั้งภูมิภาคเอเชียและยุโรป แต่สายการบินบ้านเรา คิดใหญ่ ทำใหญ่ บางสายการบินลงทุนสร้างจุดขายด้วยสนามบินของตนเอง บางสายการบินลงทุนถอยเครื่องบินขนผู้โดยสารที่ใหญ่ที่สุด แอร์บัส A380 จำนวน 6 ลำ เพื่อเสริมสรรถนะในฐานะการเป็นสายการบินใหญ่ระดับโลก แต่ในขณะที่สายการบินแอร์เอเชียใช้เครื่องบินแอร์บัส A320 ที่มีความจุผู้โดยสารเพียง 150 คน แต่ขอโทษครับ เต็มทุกเที่ยวบิน และราคาไม่ได้ถูกเลย

                          
                                                              แอร์บัส A380 ของการบินไทย

ผมขอถามหน่อยครับว่า ถ้าอยากนั่ง แอร์บัส A380 จำเป็นต้องรอนั่งของการบินไทยไหมเอ่ยและเครื่องบิน แอร์บัส A380 มีเฉพาะสายการบินไทยหรือเปล่าครับ?

                          
              จำนวนเครื่องบินแอร์บัส A380 เลขหน้าคือ จำนวนที่สั่งซื้อ/ตัวเลขข้างหลัง คือ จำนวนที่ส่งมอบแล้ว

           นั่นหมายความว่า สายการบินบ้านเราหลงทำการตลาดอยู่ในน่านน้ำสีแดง (Red Ocean) ที่สู้กันในเรื่องผลิตภัณฑ์ ราคา การบริการ ในขณะที่สายการบินแอร์เอเชียถีบตัวเองให้ไปอยู่ในน่านน้ำสีครามด้วยการเป็นสายการบินของอาเซียน แต่ไม่จำเป็นต้องเปิดตัวให้กระโตกกระตากจนคู่แข่งจับทางได้ หรือแถลงข่าวบอกคู่แข่งให้เตรียมรับมือรู้ไต๋กันแจ้งจางปางขนาดนี้

            หนักไปกว่านั้น เมื่อการบินไทยแตกไลน์ทั้งนกแอร์และไทยสมายล์มาเพื่อ เพื่ออะไร เพื่อสู้แอร์เอเชียหรือ? ผมว่า ต้นทุนเท่ากัน แต่ปริมาณลูกค้าต่างกัน เราก็พ่ายแล้วนะครับ แอร์เอเชียจับตลาดอาเซียน มีประชากร 10 ประเทศ รวม 600 ล้านคน ในขณะที่นกแอร์และไทยสมายล์ทำการบินภายในประเทศเท่านั้นให้บริการประชาชนชาวไทย จำนวน 63 ล้านคนเท่านั้นเอง

                             
                                                                 สายการบินไทย สมายล์


                         

                                                                       Bangkok Airway

                         

                                                              เส้นทางการบินของ BKK Airway

             บางคนสงสัยเมื่อฟังผมบรรยายถามผมว่า สายการบินแอร์เอเชียมีการเปิดเส้นทางการบินไปจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่นด้วยนะ เกี่ยวอะไรกับอาเซียนครับ? ผมเปิดมุมคิดว่า รู้จักอาเซียน+3 ไหม แล้วรู้จักอาเซียน+6 หรือเปล่า? เพราะไม่เพียงแค่ 3 ประเทศนี้เท่านั้น สายการบินแอร์เอเชียยังทำการตลาดกับอาเซียน+6 ด้วยดูจากการมีเส้นทางการบินไปนิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย และอินเดียอย่างไรเล่า รวมกับอีกสามประเทศคือ เกาหลีใต้ จีน และญี่ปุ่น

             ไม่รู้ว่า สิ่งที่ผมตกผลึกได้จากการสังเกตและการมีโอกาสขึ้นเครื่องบินฟรีบ่อยครั้งจะถูกหรือจะผิด ผมไม่อยากให้ท่านมองหรือตัดสินว่า บทความนี้ถูกหรือผิด แต่อยากกระตุกต่อมคิดในด้านแผนการตลาด ความได้เปรียบในการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และหลักการคิดทางธุรกิจ โดยมุมมองที่ผมคิดนั้น คิดได้หลังจากไปใช้ชีวิตที่สนามบิน LCCT ฐานการบินสำคัญของสายการบินแอร์เอเชีย และในฐานะคนไทย อยากให้ธุรกิจของคนไทย สายการบินคนไทย หันมามองตนเอง หาจุดยืนใหม่ๆ และสร้างโอกาสจากการเป็นประชาคมอาเซียนมากกว่าจะต่อสู้ธุรกิจอื่นๆในน่านน้ำสีแดงที่มีแต่การรบราฆ่าฟันด้วยการเดินไปข้างหน้าอย่างไร้จุดหมาย

                            


หมายเลขบันทึก: 534590เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2013 14:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤษภาคม 2013 14:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ประเทศไทยช่างคิดช้ากว่านัก ขอบคุณที่แบ่งปันค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท