การจัดประชุม Pre-Planning เเนวทางส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวเเละกีฬาเชิงบูรณาการรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกลุ่มใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี


สวัสดีครับ ชาว blog

วันที่ 26  เมษายน 2556 ผมเเละทีมงานมีโอกาสเดินทางมาจัดการประชุม Pre-Planning เเนวทางส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวเเละกีฬาเชิงบูรณาการรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกลุ่มภาคใต้ (สุราษฎร์ธานี) เพื่อนำเเนวทางจากการหารือในครั้งนี้ไปจัดสัมมนาสาธารณะ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ให้ความรู้ทั้งภาครัฐเเละเอกชน โดยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงการท่องเที่ยวเเละกีฬา

การทำงานในครั้งนี้จะเเบ่งออกเป็น 2 รูปเเบบคือ Pre-Planing เป็นการศึกษาเพื่อหาความต้องการว่าความรู้เรื่อง AEC ที่ต้องการในเเต่ละCluster เป็นอย่างไร และ Deepening Workshop  จะเป็นการเผยแพร่แนวทางส่งเสริมองค์ความรู้ เป็นการให้ความรู้ในรูปเเบบการเสวนา เเลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการเรียนรู้สามารถนำข้อมูลที่ได้จากการสัมมนาและสร้างความเข้มเเข็งของเครือข่าย ด้านการท่องเที่ยวเเละกีฬามาสร้างมูลค่าเพื่อให้ประเทศไทยได้รับประโยชน์จาก AEC ได้เต็มที่

กิจกรรมทั้ง 2 รูปเเบบจะทำในลักษณะ cluster 

      ภาคเหนือจัดที่จังหวัดลำปาง จังหวัดนำร่องประกอบด้วย จังหวัดน่าน เเพร่ ลำปาง เชียงใหม่ เชียงราย 

      ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจัดที่จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดนำร่องประกอบด้วย อุบลราชธานี มุกดาหาร สุรินทร์ ศรีสะเกษ นครพนม   

      ภาคใต้จัดที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดนำร่องประกอบด้วย สุราษฎร์ธานี สงขลา ชุมพร พัทลุง นครศรีธรรมราช

  ภาคตะวันออกจัดที่จังหวัดชลบุรี จังหวัดนำร่องประกอบด้วย ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ปราจีนบุรี สระแก้ว

  ภาคกลางที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร จังหวัดนำร่องประกอบด้วยกรุงเทพฯ และจังหวัดในเขตภาคกลาง

ผมจึงเก็บภาพบรรยากาศเเละแนวคิดของการประชุมในวันนี้มาฝากครับเเละผมจะรายงานบรรยากาศในการจัด pre-planning ในครั้งต่อๆไปมาฝากทุกครั้งครับ

                                                                                                         จีระ หงส์ลดารมภ์



หมายเลขบันทึก: 534277เขียนเมื่อ 29 เมษายน 2013 15:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 เมษายน 2013 15:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
สรุปโดยทีมวิชาการ ChiraAcademy

การจัดประชุม Pre-Planning

แนวทางส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวและกีฬาเชิงบูรณาการรองรับ
การเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
(กลุ่มภาคใต้)

เป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมของโครงการจัดทำแนวทางส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวและกีฬาเชิงบูรณาการรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน อันมีวัตถุประสงค์

1.  เพื่อจัดทำแนวทางการส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวและกีฬาไทยรองรับการเปิดเสรีประชาคมอาเซียน

2.  เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐในภาคธุรกิจ และผู้ประกอบการเอกชนที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้ ความเข้าใจถึงทิศทางของการท่องเที่ยวและกีฬา สู่การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนและต่อยอดด้านบริหารจัดการโครงการด้านการท่องเที่ยวและกีฬาให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของประเทศด้านการท่องเที่ยวและกีฬาเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

3.  เพื่อส่งเสริมการทำงานแบบบูรณาการของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง สู่การวางแผนและจัดทำโครงการที่สอดคล้องตามนโยบายของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เน้นการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ส่งเสริมทักษะ และการปฏิบัติงานอย่างมืออาชีพ 

โดยมีกิจกรรมการดำเนินการ ใน 2 ส่วนหลักคือ

1.การจัดทำแนวทางส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวและกีฬาเชิงบูรณาการรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน  ประกอบด้วย

  - ข้อมูลที่ได้รับจากโครงการวิจัยการพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวและกีฬารองรับ AEC

  - การจัดประชุม Pre-Planning ใน 5 กลุ่มเขตพื้นที่ อันได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ภาคใต้  ภาคตะวันออก และภาคกลาง  โดยมีประเด็นสำคัญในการจัดระดมความคิดเห็น (Pre-Planning) ดังต่อไปนี้

1.  องค์ความรู้ที่จำเป็นในการเตรียมความพร้อมบุคลากรเพื่อรองรับอาเซียน

2.  ทิศทางการท่องเที่ยวและกีฬาไทยเพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมอาเซียน

  - Sport Tourism

  - การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และการท่องเที่ยวชุมชน

  - Growth + Sustainability

2. การประชุมเชิงปฏิบัติการเชิงลึกเผยแพร่องค์ความรู้ ใน 5 เขตพื้นที่ เผยแพร่แนวทางส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวและกีฬาเชิงบูรณาการรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน  และจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวและกีฬา

 

สรุปการจัดประชุม Pre-Planning

แนวทางส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวและกีฬาเชิงบูรณาการรองรับ
การเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
(กลุ่มภาคใต้)

1. องค์ความรู้ที่จำเป็นในการเตรียมความพร้อมบุคลากรเพื่อรองรับอาเซียน

o  การกำหนดนโยบายทางการท่องเที่ยวและกีฬาอย่างชัดเจน และเป็นรูปธรรม

o  การพัฒนาตามกรอบนโยบายของการท่องเที่ยวและกีฬา

o  การพัฒนาด้านท่องเที่ยวและกีฬาให้เหมาะสมตามเขตพื้นที่

o  การบริหารจัดการเชิงยุทธศาสตร์ ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์จังหวัด

o  การวางแผนและการบริหารงบประมาณ

o  การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม และความยั่งยืน เช่น การบริหารจัดการกีฬาทางน้ำ อาทิ เจ็ทสกี และ กีฬาดำน้ำ

o  การประชาสัมพันธ์เชิงรุก

o  การส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน

o  การส่งเสริมองค์ความรู้ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการให้กับชุมชน

o  การอนุรักษ์วิถีชีวิตดั้งเดิม

o  การบริหารจัดการ ด้านท่องเที่ยวและกีฬาในระดับนานาชาติโดยใช้มาตรฐานสากล  เน้นเรื่องมาตรฐาน  ทั้งด้านการแข่งขันกีฬา มาตรฐานการท่องเที่ยว

o  ภาษาต่างประเทศ เช่นภาษาอังกฤษ รัสเซีย ยาวี และภาษาอาเซียน

o  การพัฒนาขีดความสามารถ หรือมาตรฐานตำแหน่งงานที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวและกีฬา เช่น การสร้างหลักสูตรหลักในการพัฒนาตำแหน่งงาน  กำหนดเป็นวาระชาติ ที่ต้องทำให้ทันภายใน 1 ปีกว่า ๆ  หลักสูตรการพัฒนาขีดความสามารถรองรับ 32 ตำแหน่งงานในการท่องเที่ยวและกีฬา

o  การสร้าง Networking และการทำงานร่วมกันอย่าง 4 ประสาน คือจังหวัด นักวิชาการ เอกชน ผู้นำท้องถิ่น  เน้นการสร้างความสามัคคี 

o  การทำการตลาด การสร้าง Brand

o  การสร้าง Asean Connectivity คือการคุยกันระหว่างคนกับคน  , การเชื่อม Route ,สถาบันต่อสถาบัน

o  การเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านมาลายู เช่น สินค้า OTOP , อาหารท้องถิ่น, ฮาราล, วัฒนธรรม

o  กลไกการเปิดเสรีในอาเซียน การเปิดเสรีภาคบริการ ต้องเข้าใจ GATT ,WTO Mode of Service

o  การสร้าง Green Tourism

o  การทำฐานข้อมูลการวิเคราะห์พฤติกรรมการท่องเที่ยว ว่ากลุ่มใด ลักษณะแบบใด เราต้องสามารถพัฒนาท่องเที่ยวให้ตอบโจทย์ให้ได้

o  การจัดกิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวโดยมี History+ Activity   ให้คนในพื้นที่มีส่วนร่วม เพื่อสร้างมูลค่าการท่องเที่ยว การคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของชุมชนในพื้นที่  รวมถึงการสร้างการมีส่วนร่วม และ Supply Chain

o  การพัฒนาบุคลากร การผลิตบัณฑิตในสาขาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว  พบว่าสิ่งที่ยังขาดคือแรงงานที่มีฝีมืออย่างเช่น House Keeper หรือ Chef ในภาคใต้ยังขาดอยู่ การมีศิลปะทางอาหาร ยังขาดอยู่  ควรทำการยกระดับเพื่อเสริมชุมชนท้องถิ่น

o  การสร้างฐานข้อมูลทางการท่องเที่ยวผ่านทางอินเตอร์เน็ต และ Social Media 

o  เครื่องมือที่ทำให้การจัดการทุนมนุษย์ประสบความสำเร็จ

o  การพัฒนาระบบ Logistics ควบคู่กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

o  การส่งเสริมการสร้างจิตสาธารณะ

o  การบริหารการเปลี่ยนแปลง

o  การสร้างหลักสูตรนานาชาติ

o  การพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีความรู้ด้านท่องเที่ยวและกีฬาเพื่อการพัฒนาต่อไป

o  การพัฒนาโดยเจาะกลุ่ม Niche CBT ศาสนา สุขภาพ  ทัวร์ศาสนา ประวัติศาสตร์ ความเป็นอาเซียน

o  การยกระดับการท่องเที่ยวทางทะเลเป็นระดับนานาชาติที่ชัดเจน  ใช้สมุย สุราษฎร์เป็นตัวนำ

2.  ทิศทางการท่องเที่ยวและกีฬาไทยเพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมอาเซียน

  - Sport Tourism

  - การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และการท่องเที่ยวชุมชน

  - Growth + Sustainability

ทิศทางการท่องเที่ยวและกีฬารองรับ AEC ด้าน Sport Tourism

oการพัฒนากีฬาโต้ลม เช่น Kite Boarding

oกีฬาทางน้ำ

oกีฬาไตรกีฬา

oสนับสนุนกีฬานันทนาการที่ไม่เป็นมลพิษหรือมลภาวะต่อทะเล เช่น กีฬาวอลเลย์บอล  กีฬาเรือใบ กีฬากอล์ฟ กีฬาตะกร้อ

oการจัดกลุ่ม Cluster ด้านกีฬา

oการสนับสนุนการแข่งขันกีฬาพื้นบ้านสู่นานาชาติ เช่น แข่งโพนนานาชาติ (กลองทัด)

ทิศทางการท่องเที่ยวและกีฬารองรับ AEC ด้าน วัฒนธรรมและชุมชน

oCultural Tourism การทำ Guideline  การทำป้ายจักรยาน และเส้นทางจักรยาน

oการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 2 ศาสนา ไทย พุทธ มุสลิม ที่ตโมด เป็นต้น

oการส่งเสริมภาคท่องเที่ยวชุมชนให้เข้มแข็ง สามารถขับเคลื่อนได้จริง เพื่อนำสู่ความยั่งยืน ทั้งทรัพยากร วิถีชีวิต  ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว

oการสร้างเครือข่ายชุมชน และการสนับสนุนให้เครือข่ายต่าง ๆ มาดูงานในชุมชนเพื่อนำเสน่ห์ของชุมชนไปปรับในการทำงานของเครือข่ายต่าง ๆ

oการส่งเสริมข้อมูลด้านการท่องเที่ยวชุมชนให้เป็นที่รู้จัก และเข้าถึงได้ง่ายขึ้น 

oการใช้ Social Media และ Network ในการเผยแพร่การท่องเที่ยวชุมชน

oองค์ความรู้จากนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ ต่าง ๆ มาเสริมว่าสิ่งที่ชุมชนทำไปนั้น ถูกต้องหรือไม่ ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร เช่นการทำที่อยู่ปลา

oการส่งเสริมภาษา และการพัฒนาบุคลากร การอนุรักษ์วิถีชีวิตดั้งเดิม

oการเชื่อมโยงศาสนาประวัติศาสตร์วัฒนธรรม เชื่อมตั้งแต่อารยธรรม ลังกาสุกะ  ศรีวิชัย  การปกครองเป็นเมือง 12 นักษัตร  เชื่อมโยงประวัติศาสตร์ 13 อารยธรรม

oการท่องเที่ยวเชิงศรัทธา และวิถีชีวิต

oการสร้างความสมดุลกับคนในท้องถิ่น

ทิศทางการท่องเที่ยวและกีฬารองรับ AEC ด้าน Growth + Sustainability

o  การจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยว  จำนวนห้องพัก เพื่อจำกัดการโตอย่างไม่มีทิศทาง เช่นที่สมุย พงัน

o  การส่งเสริมการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ที่สมุย

o  การดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อม เช่นการดูแลเรื่องมอเตอร์สปอร์ต

o  การส่งเสริม Green Tourism  ขายท่องเที่ยวเชิงประมง ท่องเที่ยวเชิงเกษตร

o  การประสานหน่วยงานที่พูดแล้วทำ  หาวิธีทำอย่างไรให้คนในพื้นที่มีความสามัคคี แล้วเดินไปในทิศทางเดียวกัน

-  เน้นโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับการท่องเที่ยว เช่นสนามบินที่สมุย ให้มีการจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยว  มีกรอบในการจัดการพื้นที่  รัฐต้องกำหนดนโยบาย และอำนาจให้ชัดเจนว่าจะเดินไปอย่างไร  เช่น การสร้างระบบขนส่งมวลชนในภูเก็ตให้เหมาะสม

o  การสร้าง One Stop Service ในเรื่องความปลอดภัยทางการท่องเที่ยว

o  การสร้างมาตรฐานที่ไม่แตกต่างระหว่างคนไทยและชาวต่างชาติ

o  การขายประวัติศาสตร์เป็นแบบ Creative Economy


ข่าวโครงการ

ที่มา: Stock Review กันยายน 2556 หน้า 14-15

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท