ลำไยนอกฤดู ช่วงก่อนราดสาร ราดสาร และดูแลจนเป็นดอก: จะใส่ปุ๋ยอะไรดีนะ แล้วจะใส่ไปเพื่ออะไร


เกษตรกรไทย ส่วนใหญ่ มือหนัก เวลาใช้ปุ๋ย ใช้ยา ชอบใช้เกินกว่าคำแนะนำในสลากกำกับ ดังนั้นเราจึงมักจะเห็นว่าต้นไม้ของเกษตรกรไทย ส่วนใหญ่ไหม้ตายไปก็เยอะค่ะ ที่รอดมาได้ก็แคระแกรนกันไป ให้ผลผลิตได้ไม่เต็มที แต่ที่แน่ๆ คือสารตกค้างในดิน และตกค้างในตัวเกษตรกรเองก็เพียบ...ค่ะ

ลำไย : ชุมชนคนสนใจเรื่องลำไย ถามตอบ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น

https://www.facebook.com/groups/www.longankipqew/

หรือ

http://www.gotoknow.org/dashboard/home/#/posts/545415/edit

สาวน้อยใจดี นู๋ยุ้ยแก้มตุ่ย

https://www.facebook.com/profile.php?id=100000397078840

.

วันนี้ได้อ่านบทสนทนา ที่มีเกษตรกรท่านหนึ่งโพสต์มา เกี่ยวกับเรื่อง

ยอดดอกลำไยของเขามียอดสีแดง เกร็ง และแห้ง จนเดี๊ยงไปในที่สุด

พบว่า เกิดจากเพลี้ยไก่แจ้ลำไย เข้าเจาะดูดน้ำเลี้ยงช่อดอก

ก็หาทางกำจัดไปได้...ในที่สุด

ต่อมาช่อดอกใหม่ก็เกิดแทน....ช่อดอกเก่า เพราะต้นลำไย ยังอยู่สภาวะที่ใบยังมีอาหารสะสมอยู่ เรียกว่ายังมีกำลังสร้างช่อดอกใหม่ ซึ่งในความเป็นจริง สารอาหารส่วนหนึ่งได้ถูกนำไปสร้างยอดแรกแล้ว แต่เมื่อยอดดอกถูกทำลายไป ต้นไม้ก็จะสร้างยอดใหม่อยู่ดี ก็เลยสงสัยกันว่า เป็นเพราะยังมีอาหารสะสมเหลืออยู่ในใบ หรือว่า เป็นเพราะเราใส่ปุ๋ยบำรุง

ก็สรุปว่า ทั้งสองอย่างแหละ...ค่ะ ร่วมด้วยช่วยกัน ว่างั้นเถอะ

ก็เลยมีคำถามต่อมาว่า "ถ้าเป็นเพราะใส่ปุ๋ย แล้วปุ๋ย หรือเป็นธาตุอาหาร ตัวไหนล่ะ ที่ช่วยกระตุ้นให้ลำไยพัฒนาการในระยะต่างๆ ได้" เห็นใส่กันจริง แต่ใส่ทำไมก็ไม่รู้ ใส่แล้วต้นไม้เอาไปทำอะไร

ช่างมันเหอะ มีอะไร ก็ใส่ๆๆ ไป (ทำอย่างนี้ไม่เหมาะ...นะคะ)

ปุ๋ยเคมี มีราคาแพง มีการสลายตัว มีการชะล้าง แถมมีปฏิกริยา แปรสภาพ กลับเป็นตัวทำลายได้เหมือนกัน

ดังนั้น ถ้าคิดจะใส่ ปุ๋ย หรือ ใช้สารเคมี ก็น่าที่จะได้มาทำความเข้าใจกันก่อน ว่า "ช่วงไหน เกษตรกรควรจะใช้ปุ๋ยอะไร และจะใช้ไปเพื่ออะไร...ค่ะ "

ทั้งนี้เพื่อให้เกษตรได้เกิดความรู้ ความเข้าใจ สามารถสังเกต แก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสวนลำไย หรือสวนผลไม้อื่นๆ ของท่านเกษตรกรได้ถูกต้อง...ค่ะ

ช่วงนี้กำลังอยู่ในช่วง เตรียมจะราดสารลำไยนอกฤดูกัน อย่างนั้นขอเริ่มจาก "ช่วง 1 เดือนก่อนราดสารฯ จนถึงช่วงดอกลำไยบาน" ....ก่อนละกัน..นะคะ

รู้มากไปกว่านี้ จะทำให้เกษตรกรสับสน...ค่ะ

เราจะใช้ปุ๋ยสูตรปุ๋ย สูตรไหน ใช้เพื่ออะไร

ในการทำลำไยช่วงเตรียมตัว 1 เดือนก่อนราดสาร จนถึงดอกลำไยบาน

1. 1 เดือนก่อนราดสาร เราจะใช้ 8-24-24 ทางดิน เพื่อสะสมอาหารในใบให้เต็มที่ และใช้ 0-52-34 ใช้ช่วงเดียวกันฉีดพ่นทางใบ โดยจะต้องให้เหลือวันที่ปุ๋ย 0-52-34 หมดฤทธิ์ก่อน ประมาณ 15 วันก่อนราดสารลำย เพื่อช่วยให้ใบอ่อนที่มีอยู่แก่เร็วขึ้น และแก่พร้อมๆ กันทั้งสวน และช่วยป้องกันยอดใบใหม่ไม่ให้แทงออกมาในช่วงเวลาดังกล่ว...ค่ะ บางคนอาจใส่แม๊กนิเซียมลงไป เพื่อช่วยให้ใบเขียวขึ้นก็ทำได้ แต่ธาตุพวกนี้มีประจุบวก อาจทำให้ปุ๋ยเกิดการจับตัว และตกตะกอนได้ค่ะ

2. ช่วงก่อนการชักนำการออกดอก ด้วยการราดสารโพแทสเซียมคลอเรส ในระดับที่เหมาะสม จะทำให้เกิดกระบวนการปิดกั้นการดูดซึมของรากฝอย (ว่าไปก็คือทำลายรากฝอยนั้นแหละ) สารโพแทสเซียมคลอเรส ส่วนหนึ่งจะขึ้นไปถึงปลายยอด กระตุ้นให้เกิดฮอร์โมนที่จะสร้างตาออก ฮอร์โมนส่วนหนึ่งจะกลับไปสู่รากเพื่อกระตุ้นให้เกิดรากฝอยชุดใหม่

หลังจากราดสารทางดินไปแล้ว 2-3 วันให้พ่นสารทางใบอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้ทุกๆ ยอดได้รับสารฯ โดยใช้ระดับความเข้มข้นเพียง 10% ของการให้ทางดินที่ผ่านมา ในการให้ทางใบครั้งแรกหากใบบิดหนีแสงถือว่าใช้ได้ ก็ไม่จำเป็นต้องให้สารฯทางใบครั้งที่ 2

แต่ถ้าวันรุ่งขึ้นหลังจากที่ให้ครั้งแรก ใบยังไม่บิด ก็ให้สารฯ ซ้ำอีกครั้งหนึ่งในระดับความเข้มข้นเท่าเดิมคือ 10% ของการให้สารฯทางดิน

หลังการพ่นสารทางใบ เราจะใช้ 0-52-34 ให้ฉีดพ่นทางใบอีก 1-2 ครั้ง (ครั้งที่ 1 ใช้ในวันที่ 5 และหากอยู่ในเงื่อนไขฤดูกาล เราจะพ่นครั้งที่ 2 ในวันที่ 10) นับจากวันพ่นสารฯ ทางใบเสร็จสิ้น

คุณลักษณะปุ๋ย 0-52-34 นี้ จะทำให้ยอดลำไยหยุดการพัฒนาเนื้อเยื้อเจริญที่จะเป็นตาใบ และเริ่มสะสมสารอาหารที่ใบ ทำให้ใบอ่อน ใบแก่เขียวเข้ม แก่เสมอกัน

แต่หากให้ 0-52-34 ในปริมาณน้ำหนัก หรือจำนวนครั้งมากกว่านี้ จะทำให้เกิดภาวะอั้นยอดได้..

การใช้ 0-52-34 มีข้อจำกัดว่าถ้าเป็นช่วงฤดูร้อนอากาศร้อนจัดให้ใช้เพียงครั้งเดียว

ถ้าเป็นช่วงฤดูฝนตกไม่หนักให้ใช้ได้ 1 ครั้ง ถ้าฝนตกหนักต้องให้ 2 ครั้ง

แต่ถ้าเป็นช่วงฤดูหนาว หนาวไม่มาก ให้ใช้ 1 ครั้ง.. ถ้าหนาวจัด ไม่ต้องให้ (เพราะธรรมชาติจะทำหน้าที่แทน 0-52-34 ซึ่งลำไยจะออกดอกเอง)

อัตราส่วนการให้อยู่ที่ 10% ของการใช้ปกติคือ 500 กรัม/น้ำ 1,000 ลิตร หรือ 100 กรัม/น้ำ 200 ลิตร

ปัจจุบันเริ่มมีการนำ ไทโอยูเรีย และ 13-0-46 และมาใช้พ่นทางใบ ซึ่งสารดังกล่าวจะมีคุณสมบัติที่ใช้ทดแทนโพแทสเซียมได้ และใช้กระตุ้นทุกปลายยอดของต้นลำไย ให้สร้างฮอร์โมนขึ้นมาเพื่อให้ออกดอก และกระตุ้นปลายรากให้ออกรากฝอยเพิ่มมากขึ้น ช่วยในการดูดซึมธาตุอาหารค่ะ ผลที่ได้คือยอดทุกยอดจะออกดอกพร้อมๆ กัน ไทโอยูเรียจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการแตกตา แต่ไม่มีผลให้ตาที่แตกนั้นพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นตาใบ หรือตาดอก แต่การใช้สารดังกล่าวนั้น หากนำมาใช้ และผสมให้มีความเข้มข้นมากไป ไม่เหมาะสม จะทำให้ใบบิด ใบไหม้ ใบร่วง จนถึงใบร่วงหมดทั้งต้นเลย...ค่ะ ผลข้างเคียงอีกประการคือ เมื่อใช้แล้วจะทำให้กิ่งลำไยเปราะ และใบกรอบ..ค่ะ หมายถึงต้นลำไย จะโทรมเร็วกว่าปกติ...ค่ะ

ไทโอยูเรีย เป็นตัวกระตุ้นการพัฒนาเนื้อเยื้อเจริญ หากใช้ในช่วงเป็นตาดอกจะส่งเสริมตาดอก แต่ถ้าให้ในช่วงพัฒนาตาใบ จะให้ใบ

ถ้าใช้หลังเป็นยอดดอกระยะหนึ่งแล้ว จะเกิดใบแทรกดอก หรือที่เราเรียกว่า '' ลำไยกางร่ม''.. ค่ะ

เมื่อเสร็จสิ้นขั้นนี้ ถือว่าผ่านการการสารฯ ทางดินมาแล้ว 8-13 วันแล้ว.. นะคะ

3. เมื่อราดสารฯ ลำไยไปแล้ว รากฝอยของลำไยจะถูกทำลาย และบางส่วนถูกรบกวนการดูดซึมธาตุอาหาร ทำให้ไม่สามารถดูซึมแร่ธาตุขึ้นไปได้อย่างสะดวก ปลายยอดลำไยที่ได้รับสารโพแทสเซียมคลอเรส จะกระตุ้นให้เกิดการสร้างฮอร์โมนที่จะไปกระตุ้นให้เกิดการสร้างตาดอก ฮอร์โมนส่วนหนึ่งจะถูกส่งกลับไปที่ราก เพื่อให้สร้างรากฝอยใหม่

ดังนั้นหลังจากให้ 0-52-34 ไปแล้ว 3 วัน เราจะใช้ปุ๋ยสูตร 10-52-17 ซึ่งเป็นปุ๋ยให้ทางใบ เพื่อช่วยกระตุ้นให้เสมือนว่าต้นลำไย ยังคงมีกระบวนการดูดซึมธาตุอาหารของรากฝอยอยู่ คือใช้ (10) ส่วน (52-17) ยังคงใช้เพื่อบำรุงดอก และป้องกันการแตกใบอ่อน ทำให้เกิดภาวะอั้นดอกชั่วระยะหนึ่ง เช่นเดียวกันกับในข้อที่ 2 คือเสมือนว่าต้นไม้ยังคงมีการดูดซึมธาตุอาหารของรากฝอยอยู่ โดยเฉพาะธาตุโพแทสเซียม(K) ตัวท้ายสุด (17) จะช่วยในช่วงที่งดน้ำ ด้วยการเคลื่อนย้ายธาตุอาหารได้ ส่งผลให้ต้นลำสามารถเคลื่อนอาหารที่มีอยู่ในใบ นำไปสร้างเป็นตาดอกแทน แต่ให้ใช้ครั้งเดียว...นะคะ ถ้าใช้มากยอดออกจะอั้น ไม่ยอมออกดอก หรือถ้าออกมา ก็จะทำให้ยอดสั้น บางยอดอาจจะแดง และแห้งตายไปเลย...ค่ะ

เมื่อถึงช่วงนี้.. จะผ่านการราดสารฯ นับจากการเริ่มราดสารฯ ทางดินมาแล้ว 11-16 วัน แล้ว.. นะคะ

จากนั้นอีกประมาณ 10-15 วัน ยอดดอกจะออกมา.. ค่ะ กรณีราดสารฯ เมื่อใบแก่จัด ยอดแรกจะได้ใบอ่อนก่อน จากนั้นยอดที่ 2 จะเป็นยอดดอก... ค่ะ

ถึงวันนี้จะรวมเวลา 35-40 วัน

แต่ถ้าราดสารในช่วงใบเพสลาด ยอดแรกที่ได้ จะเป็นยอดดอก.. ค่ะ

ถึงวันนี้ จะรวมเวลา 25-30 วัน

4. เมื่อช่อดอกลำไยแทงออกมาได้ระยะหนึ่งแล้ว (ราว 10 วัน) ถ้าเป็นการทำลำไยในฤดู ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาว เราจะใช้ 25-7-7 เพื่อให้เกิดกระบวนการยืดตัวของช่อดอกออกไป แม้ว่าจะไม่ค่อยมีน้ำ แต่โพแทสเซียมในปุ๋ยดังกล่าวจะช่วยนำพาธาตุอาหารด้วยวิธีการถ่ายเทประจุบวก (โพแทสเซียมไอออน) นำพาธาตุอาหารให้เคลื่อนที่ไปได้ แม้ว่าน้ำจะมีน้อย...ค่ะ

แต่ถ้าฝนตกก็ไม่ต้องให้ 25-7-7...นะคะ เดี๋ยวจะได้ใบกางร่ม แทรกดอกพรึบ.. ไปซะก่อน

แต่ถ้าเป็นการทำลำไยนอกฤดู หากเกษตรกรทำลำไยในช่วงฤดูฝน (กล่าวคือ.. ราดสารฯประมาณเดือนพฤษภาคม- สิงหาคม) ซึ่งขณะนั้นยังมีฝนชุกอยู่ ก็ให้ใช้ 5-25-30 ผสมกับฮอร์โมนในกลุ่มจิ๊บเบอเลอลิน และฮอร์โมนไซโตไคนิน และแคลเซียม+โบรอน จะช่วยทำให้ลำไยยืดช่อดอกยาวออกไปได้อีก และช่วยให้เกิดโครงสร้างกิ่งก้านด้านข้างของช่อดอกจำนวนมาก ทำให้เกิดตุ่มดอกลำไยเพิ่มขึ้นได้...ค่ะ

5. เมื่อช่อดอกยืดตัวเต็มที่ และเกิดมีตุ่มดอกปริมาณมากพอแล้ว เราก็จะใช้ 13-0-46 (โพแทสเซียมไนเตรด) ซึ่งเป็นปุ๋ยให้ทางใบ ที่มีคุณสมบัติใช้ทดแทนปุ๋ยโพแทสเซียม ใช้กระตุ้นดอกลำไย ให้ใช้ครั้งเดียวนะคะ พ่นให้บางๆ และเบามากๆ...ค่ะ

แต่ถ้าฝนตก อากาศไม่ร้อน ก็ไม่ต้องใช้...นะคะ และอย่าใช้เข้มข้น หรือใช้บ่อยมาก..นะคะ จะทำให้ยอดดอกจะชงัก หยุดการเจริญเติบโต หรือถ้าแรงไปจะทำให้ใบ และดอกลำไยร่วงได้...ค่ะ ถ้าไม่คุ้นเคยกับการใช้.. ไม่แนะนำให้ใช้ค่ะ

ช่วงนี้...ก่อนที่ดอกลำไยจะเริ่มบาน เราจะใช้ยากำจัดแมลงในกลุ่มดูดซึม คือ "อิมิดาคลอพิต" (แบบซอง 1 ซอง/น้ำ 200 ลิตร หรือ 5 ซองต่อน้ำ/1000 ลิตร) ผสมน้ำฉีดเป็นละอองที่ช่อดอก เพื่อป้องกันหน่อนเจาะขั่วดอกมาดูดน้ำเลี้ยงดอกลำไย ทำให้ดอกลำไยหลุดร่วงได้..ค่ะ และควรพ่นก่อนดอกบานเท่านั้น..นะคะ ถ้าดอกบานแล้ว พ่นไม่ได้...ค่ะ พวกแมลงผึ้ง หรือชันโรงจะตาย หรือบินหนีไป ทำให้ดอกลำไยไม่ได้รับการผสมเกสร...ค่ะ

ธาตุอาหาร แคลเซียม และโบรอน เป็นธาตุอาหารที่เคลื่อนที่ไม่ได้ เมื่อลำไยขาดธาตุทั้งสองนี้ จึงไม่สามารถถ่ายเทธาตุอาหารที่สะสมในใบแก่ของลำไยมาสู่ยอดใบอ่อนได้

ดังนั้นทุกๆ ครั้ง.. ในการพ่นปุ๋ยทางใบ จึงควรให้ธาตุเหล่านี้เสมอ ธาตุแคลเซี่ยมจะช่วยให้โครงสร้างของต้นไม้แข็งแรง โบรอนจะช่วยทำให้โครงสร้างมีการยืดหยุ่น และช่วยในการจัดเรียงโมเลกุลของเซลล์เนื้อเยื้อ..ค่ะ

ธรรมดาของธรรมชาติในช่วงการทำลำไยในฤดูของทางภาคเหนือนั้น ช่วงเวลาดังกล่าวจะมีอากาศที่หนาวเย็นจัด และหนาวต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ก็ไม่ต้องราดสารฯ เลยค่ะ เพราะเขาจะออกดอกเองตามธรรมชาติ ยกเว้นการทำลำไยนอกฤดู...ค่ะ

ฝากบอกพี่น้องชาวสวนลำไยทางเหนือ "เปิ้ลอย่าเชื่อพวกเซลล์ขายยาจาด..นัก บ่จำเป็นต้องฮื้อยาเปิดตาดอกมาใจ๋...ดอกกกก... เปลืองเปล่าๆ...ปี้ๆ...ค่ะ ยกเว้นอากาศมันบ่หนาว...อ่ะ ก็จำเป็นยู๊....ค่า"

ฮ่วย...! ลาวอู๋เหนือ บ่...จาง

6. เมื่อดอกลำไยบาน เราจะหยุดการพ่นสารทางใบทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมี หรือฮอร์โมนทางใบ ทุกประเภท เพื่อให้แมลงผสมเกสรได้ทำหน้าที่ของมันตามธรรมชาติ

แต่ถ้ามีน้อย ก็ต้องหาเช่าผึ้งพันธุ์ หรือชันโรงที่เขาเลี้ยงไว้ มาช่วยผสมเกสรด้วย...ค่ะ แต่ถ้าคิดจะพ่น ต้องเตรียมใจรับกับการสูญเสียโอกาสในการติดลูกลำไย...นะคะ

7. หลังจากดอกบานเต็มที่แล้ว ให้ใช้ "จุลินชีพชีวภาพ" ผสมน้ำ อัตราส่วนประมาณ 10 ลิตร/น้ำเปล่า 1,000 ลิตร (ห้ามผสมร่วมกับยากำจัดแมลง หรือยากำจัดเชื้อราโดยเด็ดขาด เพราะจุลินทรีย์ใน "จุลินชีพชีวภาพ" จะตายหมด) ให้ฉีดพ่นเฉพาะบริเวณใต้ทรงพุ่มเท่านั้น ห้ามฉีดขึ้นทรงพุ่มลำไย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่เราเคยราด หรือพ่นสารฯ รอบทรงพุ่ม ให้ฉีดเยอะๆ หน่อย เพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณของจุลินทรีย์ที่สูญสลายไปจากการใช้สารราดลำไย (ในภาษาของการตลาด เขาเรียกว่า "การล้างสารพิษ"

จุลินทรีย์ใน "จุลินชีพชีวภาพ" จะช่วยกำจัดสารฯ ราดลำไย ที่มีอยู่ตกค้างภายในดินให้สูญสลายไป ซึ่งจะช่วยให้รากลำไยสามารถดูดซึมธาตุอาหารได้ดีขึ้น และต้นลำใย จะไม่แทงตาดอกออกมาแทรกอีก (ภาษาลำใยเรียกว่า "รวยไม่เลิก" หมายถึง หลังจากลำไยติดเป็นลูกขนาดเมล็ดถั่วเหลืองแล้ว ลำใยต้นเดิม ยังดันแทงตาดอกออกมาซะอีก ทำให้ชาวสวนมีความยุ่งยากในการดูแลต้นลำไย)

ทุกกระบวนการการให้ปุ๋ยทางใบ ไม่แนะนำให้ใช้ยาจับใบ เนื่องจากยาจะมีคุณสมบัติเป็นเมือกลื่นๆ เหนียวๆ ซึ่งจะปิดปากใบ ทำให้ประสิทธิภาพในการดูดซืมของใบลดลง..ค่ะ

เกษตรกรไทย ส่วนใหญ่ มือหนัก เวลาใช้ปุ๋ย ใช้ยา ชอบใช้เกินกว่าคำแนะนำในสลากกำกับ ดังนั้นเราจึงมักจะเห็นว่าต้นไม้ของเกษตรกรไทย ส่วนใหญ่ไหม้ตายไปก็เยอะค่ะ ที่รอดมาได้ก็แคระแกรนกันไป ให้ผลผลิตได้ไม่เต็มที แต่ที่แน่ๆ คือสารตกค้างในดิน และตกค้างในตัวเกษตรกรเองก็เพียบ...ค่ะ

หมายเหตุ

****การพ่นธาตุอาหารทางใบทุกประเภท ต้องพ่นใต้ใบ...นะคะ เพราะปากใบอยู่ใต้ใบ ไม่ได้อยู่ด้านหน้าใบ...ค่ะ ดังนั้น ที่เขาบอกให้พ่นให้ใบเปียกชุ่ม จึงมีนัยย์ว่า ออกแนวเปลืองอะค่ะ และอย่างไรเสีย ใต้ใบก็จะได้ธาตุอาหารอยู่ดี....ค่ะ

ปุ๋ยทางดิน นำมาผสมกับน้ำ พ่นทางใบ ทำได้ แต่ไม่ควรทำค่ะ เพราะจะได้ธาตุอาหารไม่ครบ % ตามค่าของปุ๋ยที่กำหนดไว้ อีกประการ ในน้ำที่ฉีดพ่นนั้นจะมีสารประกอบฟิลเล่อร์ หรือของผสมที่ใช้ในการปั้นปุ๋ยเจือปนมาด้วยเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีความคม เวลาพ่นใบ หรือก้านอ่อน หรือผิวของเปลือกลำไย จะเกิดแผลถลอกเล็กๆ มำให้เชื้อเกิดเชื้อโรคเข้าทำลาย โดยเฉพาะเชื้อรา และอีกประการทำให้เกิดปัญหาเรื่องอุปกรณ์เครื่องมือพ่นยา หัวฉีดจะอุดตัน และถังผสมปุ๋ยยาตกตะกอน เสียเวลาทำความสะอาด..ค่ะ

ให้ปุ๋ยทางดิน อย่าลืมรดน้ำตามเสมอ.. นะคะ เพราะรากไม่มีฟันนะคะ จะได้เคี้ยวเม็ดปุ๋ยได้...555

กำลังนั่งนึกภาพอยู่ว่า ถ้ารากมีฟัน เวลาเราจับราก หรือเดินผ่านราก มันคง "งับมือ...งับตีนเรา" (ไม่สุภาพเลย).. น่ากลัวจัง

ปุ๋ยทางใบเป็นปุ๋ยที่มีโมเลกุลที่ละเอียดกว่าปุ๋ยเม็ด ปุ๋ยบางชนิดถูกห่อหุ้ม ไม่ให้ประจุลบจากภายนอกเข้ามาทำปฏิกริยาได้ ปุ๋ยน้ำชนิดนั้นจึงจัดอยู่ในรูปของสารประกอบ ที่เราเรียกว่า "คีเลต"...ค่ะ

"คีเลต" คือ สารประกอบที่เกิดจากการจับตัวกันของอะตอมเชิงเดี่ยว (ธาตุอาหาร) กับ สารที่ทำงานเป็น "คีเลตติ้งเอเจนต์"

"คีเลต" จะช่วยเพิ่มการเคลื่อนย้าย และดูดซึมของธาตุอาหาร ทำให้ การให้ธาตุอาหารในรูป คีเลตมีประสิทธิภาพมากกว่าธาตุอาหารปกติ...ค่ะ

บทความเรื่อง "คีเลต" เพราะคุยกันยาว...ค่ะhttp://www.gotoknow.org/posts/534466

สรุปว่า เมื่อพ่นปุ๋ยทางใบ ลำไยจะสามารถดูดซึมผ่านปากใบได้อย่างรวดเร็ว และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที...ค่ะ

อนึ่ง เกษตรอย่าเครียด ถ้าหาปุ๋ยสูตรดังกล่าวที่ว่ามาตั้งแต่ต้น...ไม่ได้ เพื่อเราสามารถใช้ปุ๋ยใดๆ ก็ได้ที่มีสูตรใกล้เคึยง ทดแทนกันได้...ค่ะ

ถ้าจะเขียนต่อว่า ต้องใส่ปุ๋ยอะไรตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต

เอาไว้จะเขียนในบทความ เรื่อง ลำไย : ใส่ปุ๋ยอะไร ใส่ช่วงไหน จะใส่ไปทำไม จะใส่เพื่ออะไร ...ค่ะ

ทั้งหมดที่เขียนมาจากความรู้ในการศึกษา ความช่างสังเกต บวกกับสติปัญญาอันน้อยนิด กระจิ้ดริด..ของหนู

สงกรานต์ (ซึ่งผ่านมาแล้ว แต่ยังอยู่ในเดือนนี้)หนูก็ขอกราบรดน้ำดำหัวท่านผู้ใหญ่ ทั้งหลาย เพื่อขอพรให้หนูทำสวนลำไยนอกฤดูำสำเร็จ และขอให้พรดังกล่าวที่ลุงๆ ป้าๆ น้าๆ อาๆ พี่ๆ เกษตรกรชาวสวนลำไยทุกๆ ท่าน ทุกๆ สวน ที่ได้อวยพรให้หนู มานั้น ย้อนกลับไปส่งผลดี โชคดี และประสบความสำเร็จในการทำสวนลำไยนอกฤดูในปีนี้เช่นเดียวกัน....ค่ะ

งานนี้ไม่ได้อวยพร น้องๆ ค่ะ

เพราะยุ้ยคงเป็นเกษตรกรชาวสวนลำไยที่เด็กที่สุดแล้ว....ในช่วงเวลานี้

หรือมีเด็กกว่านี้อีก ช่วยบอกต่อที...ค่ะ

รักนะ...จุ๊ฟ ๆ

ขอให้สบายใจ สบายกาย สุขภาพดี

ขอให้รวย.......ขอให้รวย

หมายเลขบันทึก: 534037เขียนเมื่อ 27 เมษายน 2013 08:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 ตุลาคม 2016 11:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)

...... ขอบคุณ ข้อมูลดีดีนี้ค่ะ .....

น้องยุ้ยเล่าเรื่องลำใยได้น่าสนใจและสนุกดีค่ะ พี่คอยติดตามอ่านอยู่นะค่ะ และตอนนี้กำลังสนใจที่จะปลูกลำใย พอดีมีบทความ ของน้องเรื่องการเตรียมดินก่อนปลูกลำใยที่น้องยุ้ยเล่ามันหายไป อ่านไม่จบ พี่เลยมาขอความรู้จากน้องยุ้ยค่ะ รบกวนส่งให้หน่อยนะค่ะ ขอบคุณมากๆค่ะ

Poonita farm : วังน้ำเย็น สระแก้ว

ขอบคุณพี่ๆ ทุกคน...ค่ะ   เนื้อหาการเตรียมดินได้เขียนเพิ่มเติมแล้ว...ค่ะ

น้องยุ้ยมีสูตรขยายลูกลำไยให้โตAAAหรือเปล่าครับ...ผมทำสวนลำไยอยู่ที่ลำพูนครับ...

เพิ่งมาเปิดค่ะ 30 วันแล้ว ป่านนี้คงเก็บไปแล้วมั๊ง... สูตรง่ายๆ เข้าใจธรรมชาติลำไย ต้องสร้างเปลือกหนาๆ แต่ต้องมีความยืดหยุ่น ต้องมีน้ำให้ลูกมันขยายตัว ต้องมีธาตุอาหารให้มันเปลี่ยนเป็นเนื้อ ต้องมีธาตุที่ทำให้เนื้อหวานพอดีๆ แค่นี้ลูกลำไยก็โตวันโตคืน...ค่ะำนอกมาเป็นผล ต้องสร้างเปลือกให้หน้าไว้ก่อน จะได้ขยายลูกได้ใหญ่ๆ ก็ใส่ 46-0-0 ผสม 15-15-15 อัตราส่วน 1:1 ต้นละ 300 กรัม (ถ้าคำนวนว่าต้นนี้จะให้ประมาณ 25 กก.ต้น) ให้ 3 ครั้ง ทุกๆ 40วัน/ครั้ง จะสร้างเปลือกให้หนาปึ๊ก.... ระหว่างนี้ก็ให้แคลเซี่ยม-โบรอน เพื่อให้เกิดกระบวนการเปลี่ยนไนโตรเจนเป็นพลังงาน เกิดการขับเคลื่อนธาตุอาหาร และทำให้เปลือกผิวของท่อน้ำธาตุอาหาร และสารอาหารอ่อนนุ่ม และที่สำคัญทำให้เปลือกลูกลำไยอ่อนนุ่ม พร้อมขยายตัวโดยลูกลำไยไม่แตก ต้องให้น้ำสม่ำเสมอเพื่อให้ลูกลำไยขยายตัว ต้องคอยป้องกันแมลงตระกลูเจาะขั่วลูกลำไยมากวน ถ้าอยากให้ผิวสวยก็ต้องหลบๆ แดดด้วยใบกันหน่อย แต่ถ้าใบน้อยหลบไม่ได้ ก็ไม่ต้องหลบ พวกยาสารพัดที่ว่ากันเชื้อราอย่างโน้น อย่างนี้ไม่ต้องพ่นมาก เดี๋ยวเหลือตกค้าง ไม่มีน้ำฝนชะล้าง จะทำให้ผิวเป็นคราบไม่สวย ปล่อยตามธรรมชาติ ผิวจะสวยปิ๊งกว่าเยอะ...ค่ะ ยาขัดผิวตระกลูอามิสตา จะใช้ต้องกรณีฝนตกชุกเท่านั้น ถ้าฝนไม่ตกห้ามใช้ นอกจากเปลืองแล้ว ยังทำให้ผิวกระดำกระด่าง เพราะมันมีฤทธิ์เป็นกรดกัดสีผิว แต่ต้องอาศัยน้ำฝนตกหนักๆ มาชะล้าง ถ้าฝนไม่ตกผิวจะกระดำ กระด่าง...ค่ะ แค่นี้ลูกลำไย ก็ได้ไซค์ AAA แถม A ให้อีกตัวเลย..เอ๊า...ค่ะ

ขอบคุณครับน้องยุ้ย

สวัสดีจ้า ของเป็นสมาชิกการทำสวนลำไยด้วยอีกคนนะจ๊ะ พี่ชอบแนวคิดในการทำสวนของน้องยุ้ยนะ เพราะทำให้พี่สามารถลงมือทำได้ด้วยตนเอง พี่เป็นเกษตรกรมือใหม่จ้า อยู่เชียงใหม่ ขอคำแนะนำดีๆจากน้องด้วยเพื่อเป็นแนวทางในการปฎิบัติ พี่กำลังทำลำไยปีแรก(56)ไม่มีความรู้เลย ลำไยจะเก็บผลผลิตเดือนตุลาคนนี้แล้ว หลังจากนี้พี่ควรทำอย่างไรบ้างคะ ขอบคูณมากๆค่ะ

ค่ะ  มีความรู้จากประสบการณ์ และจากการศึกษา เราก็มาร่วมด้วยช่วยกัน แสดงความคิดเห็น ยุ้ยไม่ได้รู้ไปทุกเรื่องหรอกค่ะ  พี่จะเก็บลำไยเดือนตุลาคม ก็แสดงว่าได้ผ่านประสบการณ์การทำลำไยมาแล้วพอสมควร จะเหลือก็การบำรุงก่อนการเก็บผลผลิต กับเรื่อง ระหวังเหล่เหลี่ยมของผู้รับซื้อค่ะ

อ่านเรื่องนี้ นะคะ http://www.gotoknow.org/posts/550243 จะได้ไม่เสียโง่ ตอนขายค่ะ

จากข้อความข้างบนที่กล่าวว่า "ทุกกระบวนการการให้ปุ๋ยทางใบ ไม่แนะนำให้ใช้ยาจับใบ เนื่องจากยาจะมีคุณสมบัติเป็นเมือกลื่นๆ เหนียวๆ จะปิดปากใบ ทำให้ประสิทธิภาพในการดูดซืมของใบลดลง..ค่ะ"

อันนี้หมายความว่าไม่ให้ใช้สารจับใบ แต่ให้พ่นเฉพาะปุ๋ยอย่างเดียวเลยหรือครับ เพราะเคยได้ยินว่าสารจับใบจะช่วยเพิ่มการดูดซึมให้ดีขึ้น อย่างเช่นแอปซ่า(ที่เขาอ้างคุณสมบัตินี้) กำลังจะซื้อมาใช้แต่พอเห็นข้อความนี้แล้วก็เลยลังเลครับ ขอคำอธิบายและข้อมูลขยายเพิ่ทเติมได้หรือเปล่าครับ และยาที่เขาว่าช่วยปรับสภาพน้ำให้เป็นกลางช่วยได้จริงหรือเปล่าครับ รบกวนฝากถามหน่อยครับ ขอบคุณครับ...

ดีมากรายการนี้ ขอแชร์ประสบการณ์ด้วย ละอ่อน

แล้วตอนเม็ดดำหรือการสร้างเนื้อใช้ปุ๋ยสูตรใหนครับ

ขอบคุณขอมูลดีๆค่ะ

ผมเคยเข้าไปอ่านบทความของน้องยุ้ยในเฟส ข้อมูลดีมากและได้แนวปฏิบัติสำหรับเกษตรกรใช้ได้จริง เยี่ยมๆๆ

อยากถามคุณยุ้ยว่าช่วงบำรุงต้นควรใช้ปุ๋ยทางดินสูตรอะไรหรือทางใบใช้สูตรอะไรดีคับ

เยี่ยมมากเลยจ้าความรู้ดีๆๆมาฝากสำหรับเกษตรกรรายใหม่อย่างพี่

ปุ๋ยสูตร 24-7-7 ยารามีร่า ใส่ในลำใยช่วยบำรุงส่วนไหนหรอคับ

ผมมือใหม่(คนระยองครับ)ยังไม่เริ่มทำสวนลำใย แต่ซื้อสวนลำใยต่อเขามา (เชียงใหม่) กำลังจะเริ่มทำ แต่ไม่มีความรู้เรื่องนี้มาก่อนเลย อยากขอคำแนะนำครับ

ทนงศักดิ์ บุญรัตนัง
  1. สวัสดีครับพอดีอยากรู้เกี่ยวกับการดูแลลำไยหลังราดสารว่าต้องทำอย่างไรบ้างใส่ปุ๋ยสูตรอะไรและบำรุงอย่างไรครับมือใหม่เพิ่งทำปีแรกไม่มีประสบการณ์คร


สารปรับปรุงบำรุงดินฮิวมัสล้านปี

ลีโอนาไดต์ Leonardite

Leonardite ซึ่งปนอยู่กับหินลิกไนท์ เกิดจากซากพืชซากสัตว์ตายทับถมกัน

มานานเป็นล้านๆปี ลักษณะสีดำ ซึ่งเรียกว่า ฮิวมัส(Humus) มีองค์ประกอบเด่น ที่มีผลต่อพืชมี 3 ชนิด คือ

1.ฮิวมีน

2.ฮิวมิค แอซิด

3.ฟูลวิค แอซิด

และมีอินทรียวัตถุอีกหลายชนิดมีลักษณะโครงสร้างโมเลกุลใหญ่ ประโยชน์ของ HUMUS ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิต

Humus มาจากการบีบอัดซากพืชซากสัตว์เป็นอินทรีย์ธรรมชาติ สลายตัวอยู่ใต้ดินนับล้านปี ซึ่งมีปริมาณกรดฮิวมิกสูงกรดฮิวมิกเป็นหนึ่งในองค์ประกอบส่วนใหญ่ คุณสมบัติทางชีวเคมีที่ใช้งานอยู่ในซากพืช แร่ธาตุและธาตุที่มีอยู่ใน humusและในดินจะพร้อมที่จะส่งผ่านไปให้พืช ได้ใช้ประโยชน์สูงสุด เป็นการใช้ Humus คืนสมดุลของธรรมชาติในดิน ที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของพืชที่เหมาะสม

1.เพิ่มการเจริญเติบโตของราก

พืชผลที่สอดคล้องกันจากการทดสอบทั้งหมดเพิ่มขึ้นเจริญเติบโตของราก ความยาว, ความหนาแน่นและรัศมีของรากพืชเพิ่มขึ้นอย่างมาก แสดงให้เห็นว่าการทดสอบความแข็งแรงของระบบรากมีความสำคัญต่อความสามารถในการ ดูดซึมสารอาหารของพืชรวมทั้งความสามารถของพืชเพื่อต่อสู้กับโรค นอกจากนี้จะเพิ่มเสถียรภาพของพืชและพืชสามารถดูดซับน้ำที่มีระบบรากในวง กว้างขึ้น

2.เพิ่มเนื้อเม็ดสี Chlorophyll

Humus สามารถเพิ่มปริมาณคลอโรฟิลในพืชทำให้การสังเคราะห์แสงดีขึ้นส่งผลเพิ่มการดูดธาตุอาหารให้พืชเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว

3.การปรับปรุงคุณภาพพืช

Humus เพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมของสารอาหาร เช่นไนโตรเจน ฟอสฟอรัสโปตัส-เซี่ยมและเหล็กตลอดจนธาตุที่จำเป็นสำหรับพืช ทั้งนี้เนื่องจากลักษณะการใช้งานคุณสมบัติทางชีวเคมีของกรดฮิวมิก และความสามารถในการฟอร์มละลายเชิงซ้อนในน้ำและไม่ละลายน้ำทั้งสองด้วยโลหะ ชนิดต่างๆ, แร่ธาตุและสารอินทรีย์ สารอาหารที่อยู่ในรูปแบบอิออนที่พืชสามารถรับเข้าสู่รากHumus สามารถปรับปรุงคุณภาพของผักผลไม้และดอกไม้โดยการปรับปรุงลักษณะทางกายภาพของพืชเช่น ขนาด สีสัน ผิวทั้งหมดนี้สามารถเพิ่มมูลค่าในตลาดได้อย่างดี

4.เสริมการป้องกันแบบธรรมชาติ

ลักษณะการใช้งานคุณสมบัติทางชีวเคมีของกรดฮิวมิก เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติของพืชต่อสารพิษและโรค สารพิษจำนวนมากที่สามารถยับยั้งหรือทำให้เป็นกลางโดยการติดต่อประสานโดยตรงกับกรดฮิวมิค นอกจากนี้สารชีวภาพที่ใช้งาน(เช่นยาปฏิชีวนะและกรดฟีนอล) ที่พบในซากพืชแข็งแรงพืชสามารถเพิ่มความต้านทานต่อโรคบางอย่าง ในที่สุดพืชที่มีสุขภาพดีและได้รับสารอาหารที่จำเป็นทั้งหมดของพวกเขาจะดีขึ้นสามารถต่อสู้กับโรคและศัตรูพืช

5.การปรับปรุงโครงสร้างของดิน

Humus รวมตัวกับแร่ธาตุดินในรูปแบบที่มีโครงสร้างเป็นหน่วยที่เรียกว่าการรวมตัว เหล่านี้ช่วยให้ดินอุ้มน้ำและเพิ่มการซึมผ่านในการแลกเปลี่ยนน้ำและก๊าซ นอกจากนี้รูปแบบของสิ่งมีชีวิต เช่นแบคทีเรียและไส้เดือนดิน ซึ่งจะขึ้นอยู่กับการบำรุงรักษาโครงสร้างของดิน การใช้ Humus สามารถป้องกันไม่ให้ดินมีโครงสร้างยึดเหนี่ยวกันเพื่อให้รากรับอากาศได้ดี

6.กักเก็บน้ำที่ดีขึ้น

Humus สามารถเก็บน้ำได้ถึง 20 เท่าน้ำหนักของดิน โดยเพิ่มความสามารถของดินที่จะเก็บน้ำไว้ใช้งาน Humus สามารถลดความจำเป็นเพื่อการชลประทานเพาะปลูก นี้ได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นประโยชน์กับดินทราย

7.pH ของดินที่แตกต่างกัน

เนื่องจากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างพันธะเคมีของกรดฮิวมิก, สามารถปรับค่าความเป็น กรดเป็นด่างของดินให้อยู่ pH 6-7 ทำให้พืชนำสารอาหารไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว

ใช้ได้กับพืชทุกชนิด

โทร : 0884159468

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท