การเตรียมดินให้เหมาะสมสำหรับการปลูกลำไย


การสุ่มตัวอย่างดินในแปลงที่จะปลูก เพื่อเอาไปวิเคราะห์ว่าดินในบริเวณนั้นมีแร่ธาตุ หรือขาดธาตุตัวใดบ้าง ซึ่งแต่ละตัวอย่างจะต้องใช้เงินจำนวน 500.- ถึง 1,000.-บาท ขึ้นอยู่กับว่าต้องการรู้ละเอียดมากน้อยเพียงใด แถมยังต้องเสียค่าจัดทางส่งไปรษณีย์ไปที่กรุงเทพฯ อีก ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลยสำหรับยุ้ยที่จะทำแบบนั้น

ลำไย : ชุมชนคนสนใจเรื่องลำไย ถามตอบ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น

https://www.facebook.com/groups/www.longankipqew/

หรือ

http://www.gotoknow.org/dashboard/home/#/posts/545415/edit

สาวน้อยใจดี นู๋ยุ้ยแก้มตุ่ย

https://www.facebook.com/profile.php?id=100000397078840

.

บทที่ 4  เตรียมดินให้ดี ก่อนคิดที่จะปลูกลำไย

             ที่ดินแปลงที่ยุ้ย มีเหลืออยู่นั้นใช้ปลูกข้าวโพดมาโดยตลอด ไม่เคยใช้ปลูกมันสัมปะหลัง แต่แปลงข้างเคียง ซึ่งล้อมรอบอยู่เขาปลูกมันสัมปะหลังมาสลับกับข้าวโพดมาโดยตลอด

              หลังเก็บเกี่ยวข้าวโพด  พ่อกับแม่ก็ชอบที่จะใช้วิธีเผาตอซังข้าวโพดที่เหลืออยู่ เหมือนชาวบ้านในระแวกเดียวกัน (ซึ่งมารู้ภายหลังว่า มันไม่ดีต่อผืนดินเลย) หลายครั้งก็ไปทำความเสียหายให้กับต้นมันสัมปะหลังของแปลงข้างเคียงที่อยู่ใกล้แปลงข้าวโพด ก็ต้องขอโทษกันไป เสียหายไม่มากมาย คนรู้จักกันก็ไม่ได้ว่าอะไร

               สิ่งหนึ่งที่ยุ้ยรู้ก็คือ หลังเสร็จสิ้นการเผาตอซัง จะเห็นผงถ่านสีดำเต็มหน้าผิวดินไปหมด ซึ่งมันก็คือผงคาร์บอนนั้นเอง  แต่สิ่งที่สูญเสีย ที่มารู้ภายหลังคือ เซลูโลสส่วนหนึ่งที่มอดไหม้ไปกับไฟ พร้อมกับ แมลง และไส้เดือน  พื้นดินที่ไร่มีหน้าดินแข็งมาก แข็งขนาดเอาจอบสับ ก็เด้งดึ๊งขึ้นเลย....ก็ว่าได้  

               ช่วงทำรุ่นข้าวโพด (การถากหญ้า เพื่อไม่ให้หญ้าแทงยอดแซงข้าวโพด ในช่วงปลุกใหม่ๆ) ซึ่งเป็นงานที่เหนื่อยมาก จนหลายครั้ง พ่อชอบเอายาฆ่าหญ้ามาฉีด ซึ่งมักจะเลยเถิดไปโดนต้นข้าวโพดทำให้ใบไหม้ เสียหาย และถึงตายได้  พ่อจึงเอายาคุมหญ้ามาฉีด  ยาคุมหญ้า มันทำให้หน้าดินแข็งมาก หญ้าแทงยอดขึ้นมายาก ยุ้ยเหนื่อยมากเลยเวลาต้องสับดิน หรือถากหน้าดินเพื่อกำจัดวัชพืช

               ถ้ายุ้ยเป็นลำไย คงไม่ชอบหน้าดินแบบนี้แน่ๆ เลย จากความรู้ในอินเทอเน็ต กรมวิชากาการเกษตร เขาส่งเสริมให้ชาวบ้านใช้วิธีการไถ่กลบตอซัง ดีกว่าการเผาทิ้ง  ชาวบ้านแถวนี้ไม่นิยมไถ่กลบตอซัง เพราะมักจะคิดว่าการเผาเป็นการฆ่าเชื้อโรคในไร่ และไล่หนู ฆ่าแมลงศัตรูพืช พ่อ แม่ของยุ้ยก็เป็นคนหนึ่งที่คิดอย่างนี้ ดังนั้นก่อนจะเริ่มปลูกข้าวโพดรุ่นแรกของปี 2551 ในเดือน เมษายน พ่อกับแม่แกก็เผาตอซังทิ้งหมดอยู่ดี...นั้นแหละ...เฮ้อ

ในที่สุด พ่อ กับแม่ก็อนุญาตให้ยุ้ยปลูกต้นลำใยในไร่ข้าวโพดได้

ภาพข้างต้นเป็นภาพที่ดินแปลงที่ยุ้ยปลูกลำไยหลังการเผาตอซัง ซึ่งไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ

(ทำให้ในที่สุดความเสียหายก็ตามมา...แล้วจะเล่าให้ฟังในบทต่อๆ ไป)

               ยุ้ยไปซื้อกิ่งพันธุ์ลำไยมาจำนวนหนึ่ง ต้นละ 20.- บาท ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางลำต้นประมาณ 1 เซนติเมตร โดยนำมาอนุบาลไว้ที่หน้าบ้านก่อน เพื่อรอเวลาปรับปรุงดิน ก่อนที่นำไปปลูก ซึ่งกะไว้ในช่วงหลังการเก็บเกียวข้าวโพดรุ่น 1 เสร็จสิ้นลง

               การอนุบาลมีความจำเป็นมาก วัตถุประสงค์หลักคือ เราต้องการกิ่งพันธุ์ที่แข็งแรง ลำไยก่อนนำลงปลูกต้องมีรากที่แข็งแรง และมากพอที่จะนำไปปลูก 

               การนำกิ่งพันธุ์ลำไยมาไว้รวมกันในบริเวณเดียวกัน ทำให้เราสามารถดูแลได้ดีกว่าเอากิ่งพันธุ์ลงแปลงปลูกทันที เพราะถ้าเราทำเช่นนั้น จะทำให้มีภาระที่ต้องคอยไปสวนลำไยทุกๆ วัน เดินดูทีละต้น รดน้ำทีละต้น เสียเวลามากๆ.... เลย งานนี้ไม่เวิร์ค (การอนุบาลกิ่งพันธุ์ ไว้คุยกันทีหลัง)

               ช่วงเวลาว่างที่เรามีเหลือระหว่างการอนุบาลกิ่งพันธุ์  สิ่งหนึ่งที่พอจะทำได้ในช่วงนี้คือ การเตรียมดิน ก่อนการปลูกลำไย

ขั้นตอนการเตรียมดิน

               ตำรากรมวิชาการเกษตรเขาแนะนำให้ ทำการสุ่มตัวอย่างดินในแปลงที่จะปลูก เพื่อเอาไปวิเคราะห์ว่าดินในบริเวณนั้นมีแร่ธาตุ หรือขาดธาตุตัวใดบ้าง ซึ่งแต่ละตัวอย่างจะต้องใช้เงินจำนวน 500.- ถึง 1,000.-บาท ขึ้นอยู่กับว่าต้องการรู้ละเอียดมากน้อยเพียงใด แถมยังต้องเสียค่าจัดทางส่งไปรษณีย์ไปที่กรุงเทพฯ อีก ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลยสำหรับยุ้ยที่จะทำแบบนั้น

              วิธีง่ายๆ แบบเด็กๆ ที่คิดออกตอนนั้นคือ........ การใช้สารทดสอบ "อินดิเคเตอร์" ค่ะ  

สารทดสอบอินดิเคเตอร์  ประเภทหนึ่งที่นักเรียนมัธยมปลายสายวิทย์ อย่างหนู ที่รู้จักกันดีคือ "กระดาษลิตมัส"

              ยุ้ยเรียนรู้มาว่า ถ้าเราจะทำกระดาษลิตมัส มาใช้เอง ก็ให้ไปหาดอกเฟื่องฟ้า (จะมีสีแดง)  และดอกอัญชัน (จะมีสีม่วง-น้ำเงิน)         

                                                

                                      ดอกเฟื่องฟ้า (สีแดง)                               ดอกอัญชัน (สีม่วง)

                โดยให้เอากลีบดอกของดอกไม้แต่ละชนิดมาต่ำ และนำน้ำที่ได้ไปทาบนกระดาษ A4  สีขาว ที่เราตัดเตรียมไว้เป็นแผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้าชิ้นเล็กๆ มีความยาวเหมือนกระดาษลิตมัส  แล้วนำไปตากให้แห้ง เราก็จะได้กระดาษลิตมัส สามารถนำมาทดสอบของเหลว หรือสารละลายแล้ว...ค่ะ   ประหยัดมาก                

จากการหาข้อมูลเบื้องต้นในอินเตอร์เน็ต จากตำรา วิชาไม้ผลเขตกึ่งร้อน (พส  416)ของท่านอาจาย์พาวิน มะโนชัย

          ดิน ลำไยสามารถขึ้นได้ดีในดินแทบทุกชนิด แม้กระทั่งดินลูกรัง แต่ดินที่ลำไยชอบมากคือดินร่วนปนทราย และดินตะกอน (alluvial soil) ซึ่งเกิดจากตะกอนกรวด หิน ดิน ทรายและ อินทรียวัตถุที่น้ำพัดพามาทับถมกัน ดังจะสังเกตได้จากต้นลำไยที่ปลูกตามที่ราบลุ่มริมแม่น้ำปิงที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง ในเขตจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน ลำไยเจริญงอกงามและให้ผลผลิตดี ดินที่ปลูกลำไยควรมีหน้าดินลึก การระบายน้ำดี  สำหรับค่าของความเป็น กรด-ด่าง(pH) ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นผลทำให้ขนาดเส้นผ่าศูนย์ลำไยอยู่ระหว่าง 5.0-7.0  ระดับของความเป็นกรดต่ำประมาณ 4.3 มีผลทำให้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของต้นลำต้นลดลง  ในขณะ ที่ความเป็นด่างประมาณ 7.5 มีผลทำให้น้ำหนักแห้งของรากลดลง (วัชระ,2543)

คัดลอกประโยคช่วงนี้จาก วิชาไม้ผลเขตกึ่งร้อน (พส  416)ของท่านอาจาย์พาวิน มะโนชัย

http://coursewares.mju.ac.th:81/e-learning50/ps416/chap_03_p09.html

             

สรุปว่า : ในเบื้องต้น ดินที่เหมาะสมจะปลูกลำไย

                 ต้องให้ค่าอยู่ระหว่าง 5.0-7.0 ค่ะ  ลำไยจะเจริญเติบโตดี 

ถ้าดินออกเป็นกรด หรือด่างมากไป ปลูกโตยากค่ะ   

                 ต่ำกว่า 5.0 ราวๆ  4.3 ลงมา ก็จะได้ลำต้น....เล็ก

                 มากกว่า 7.0   คือ ราวๆ 7.5  ขึ้นไป ก็จะได้ลำไยรากเล็ก 

            หมายถึงขีดความสามารถในการหาอาหาร หรือธาตุอาหารที่รากจะดูดขึ้นมา  แล้วส่งต่อไปยังใบ เพื่อจะให้เกิดกระบวนการปรับปรุงธาตุอาหารนั้น ให้กลายเป็นสารอาหาร แล้วจะได้ส่งกลับมาบำรุงราก ก็จะพลอยได้น้อยตามไปด้วย  เมื่อมีสารอาหารไปเลี้ยงรากน้อยลง รากก็จะเล็กตามไปด้วย อย่างนี้ "ลำไยก็...ไม่โต" ...ค่ะ        

                ยุ้ยก็ทำเล่นง่ายๆ แบบเด็กๆ ค่ะ  เอากระดาษมาทำกระดาษลิตมัสเอง  จากนั้นก็ไปสุ่มหาเอาดินมาในสวน บริเวณที่จะปลูกลำไย เดินเก็บตัวอย่าง เป็นจุดๆ ใกล้ๆ กัน  ถือเป็น 1 ตัวอย่าง  โดยเอาจอบจามหน้าดิน แล้วเลือกเก็บตัวอย่างดินที่อยู่ ลึกลงไปประมาณปลายหน้า 1 หน้าจอบ...อะค่ะ   แล้วก็เดินเก็บบริเวณอื่นๆ ทั่วไร่

                เอาดินที่สุมได้แต่ละจุดมาตากแห้ง บดให้ละเอียด  แล้วก็เอามาคลุกๆ รวมๆ กัน  จากนั้นก็เอาน้ำเปล่าที่ได้ทำการทดสอบแล้วว่ามีค่า ph อยู่ในระดับเบส (4.5 ≤ pH ≤ 8.3)  หาให้ได้ ค่าประมาณ 7.0 อะค่ะ  แล้วเอามาผสมน้ำ ทำละลาย เขย่า วนๆ เบาๆ  แล้วค่อยนำหยดน้ำสารละลายดินที่ได้  ไปทดสอบกับกระดาษลิตมัสอีกครั้ง เพื่อดูค่าสีที่เกิดขึ้น แบบกะว่า กระดาษถ้าไม่เปลี่ยนสี ก็โอเค...ล่ะ

ผลที่ได้ :  สุ่มไปหลายตัวอย่า่ง

               ใช้ได้เลย....ตัวอย่างส่วนใหญ่สีกระดาษไม่เปลี่ยน

                ยกเว้นแถวกลางๆ ไร่ เป็นบริเวณแอ่งต่ำ น้ำฝนที่ตกลงมาจะลงไปขังรวมๆ กันบริเวณนั้นเป็นประจำทุกปี  ซึ่งได้ผลว่าดินออกไปทางค่า ph เป็นกรด...ค่ะ  มิน่าแถวนั้นปลูกอะไร ก็ไม่โต 

สรุป :  จากตัวอย่างส่วนใหญ่ที่นำมาทดสอบมีค่าเป็นกลาง...

          น่าจะสามารถปลูกลำไยได้ดี

ขอขยายความ เรื่องสารอินดิเคเตอร์  หน่อยนะคะ

          อินดิเคเตอร์  (Indicator)   คือ สารที่ใช้ทดสอบความเป็นกรด เบสของสารต่าง ๆ และสีของสารนี้จะเปลี่ยนไปเมื่อค่าความเป็นกรด - เบสเปลี่ยนไป

แบ่งเป็น

          1. กระดาษลิตมัส  (Litmus)  มีสีแดง กับสีน้ำเงิน เวลาจะใช้ ก็นำกระดาษทั้งสองสี วางใส่ไว้ในสารละลายพร้อมๆ กัน  ประมาณ 10 วินาที  ถ้าเกิดปรากฎการณ์ดังนี้คือ 

                             

                                   กระดาษลิตมัส ที่มีขายตามร้านวัสดุเคมีภัณฑ์ สำหรับการศึกษา

             

หากสารละลายมีสภาพเป็นกรด ( 

pH 

< 4.5) กระดาษจะเปลี่ยนจากสีน้ำเงินเป็นสีแดง 

              - ถ้าสารละลายมีสภาพเป็นเบส (pH > 8.3) กระดาษจะเปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีน้ำเงิน 

              - ถ้าหากสารละลายเป็นกลาง (4.5 ≤ pH ≤ 8.3) กระดาษทั้งสองจะไม่เปลี่ยนสี

          2. สารละลายฟีนอล์ฟทาลีน เป็นอินดิเคเตอร์ที่ไม่มีสี 


การหยดสารละลายฟีนอล์ฟทาลีน ลงในสารละลายที่ต้องการตรวจสอบ

               -  เมื่อหยดสารละลายกรด สีของสารละลายจะคงเดิม 

               -  เมื่อหยดสารละลายเบส สีของสารละลายจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูม่วง 

                  แต่ถ้าเป็นเบสแก่จะเปลี่ยนเป็นสีแดง 

                            * วิธีนี้จะสามารถประเมินระดับความเข้มข้นของสารละลายเบสได้ดีกว่า


           3. สารละลายยูนิเวอร์แซลอินดิเคเตอร์  เป็นการนำอินดิเคเตอร์หลาย ๆชนิด มีการเปลี่ยนสีในช่วง pH ต่างกันมาผสมกันในสัดส่วนที่เหมาะสม จะสามารถบอกค่าความเป็นกรด - เบส ของสารละลายโดยบอกค่า pH ที่ละเอียด และถูกต้องกว่า โดยเฉพาะใช้ในการทดสอบสารละลายที่ได้จากดิน...ค่ะ 

               ยูนิเวอร์แซลอินดิเคเตอร์ เป็นตลับ ภายในมีกระดาษยูนิเวอร์แซลอินดิเคเตอร์ และบนตลับจะมีแผ่นเทียบสีค่า pH ตั้งแต่ 1 ถึง 14 

  

ตลับสารละลายยูนิเวอร์แซลอินดิเคเตอร์ 

เป็นตลับ ภายในบรรจุม้วนกระดาษทดสอบ ภายนอกตลับมีแถบสีสำหรับการเปรียบเทียบสีที่ได้


เมื่อนำกระดาษแช่สารละลาย หรือนำหยดสารละลายมาสัมผัส จะเกิดสีในระดับต่างๆ

จากนั้นนำสีที่ได้ มาเปรียบเทียบกับสีในตารางที่ฝาตลับ เพื่อหาค่าเป็นตัวเลข...ค่ะ


แผ่นตารางเปรียบเทียบสี เพื่อหาค่าความเป็นกรด-ด่างของสารละลาย


 การวิเคราะห์ผลการทดสอบสารละลาย ที่จะตรวจสอบ

                  - ดินเป็นกรด จะเปลี่ยนสีกระดาษยูนิเวอร์แซลอินดิเคเตอร์จากสีน้ำตาล เป็นสีแดง 

                  - ดินเป็นเบส จะเปลี่ยนสีกระดาษยูนิเวอร์แซลอินดิเคเตอร์ จากสีน้ำตาล เป็นสีเขียวน้ำเงิน 

                  - ดินเป็นกลาง จะไม่เปลี่ยนสีกระดาษยูนิเวอร์แซลดิเคเตอร์ 

(ยังมีต่อ)

หมายเลขบันทึก: 505570เขียนเมื่อ 14 ตุลาคม 2012 11:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤษภาคม 2014 15:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท