สังเวคปริกิตตนปาฐะ


   ผู้เขียนต้องขอขอบคุณ กัลยาณมิตรที่ชือ on time อีกครั้งที่ได้เพิ่มความเห็นในบันทึกในบางครั้ง

โดยให้ link ที่ไม่แน่ใจว่าเรียกว่าพระสูตรหรือบทสวดอะไร และผู้เขียนไม่เคยอ่านมาก่อน

จึงนำมาบันทึกเพื่อง่ายต่อการค้นมาอ่านเขียนเรียนรู้หรือนำมาเป็นบทสวดในภายหลัง

http://www.crs.mahidol.ac.th/thai/praythaichoa06.htm 

สังเวคปริกิตตนปาฐะ

อิธะ ตะถาคะโต โลเก อุปปันโน
    พระตถาคตเจ้าเกิดขึ้นแล้ว ในโลกนี้ ;
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
    เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง ;
ธัมโม จะ เทสิโต นิยยานิโก,
และพระธรรมที่ทรงแสดง เป็นธรรมเครื่องออกจากทุกข์ ;
อุปะสะมิโก ปะรินิพพานิโก,
เป็นเครื่องสงบกิเลส, เป็นไปเพื่อปรินิพพาน ;
สัมโพธะคามี สุคะตัปปะเวทิโต ;
เป็นไปเพื่อความรู้พร้อม, เป็น  ธรรมที่พระสุคตประกาศ ;
มะยันตัง ธัมมัง สุตวา เอวัง ชานามะ : -
พวกเราเมื่อได้ฟังธรรมนั้นแล้ว, จึงได้รู้อย่างนี้ว่า  : -
ชาติปิ ทุกขา, แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์ ;
ชะราปิ ทุกขา, แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์ ;
มะระณัมปิ ทุกขัง, แม้ความตายก็เป็นทุกข์  ;
โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา,
แม้ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ  ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์ ;
อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข
    ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์ ;
ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข,
ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์ ;
ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง,
มีความปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์ ;
สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา,
ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์ ;
เสยยะถีทัง,
ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ :-
รูปูปาทานักขันโธ,
ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือรูป ;
เวทะนูปาทานักขันโธ,
ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือเวทนา ;
สัญญูปาทานักขันโธ,
ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือสัญญา ;
สังขารูปาทานักขันโธ,
ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือสังขาร ;
วิญญาณูปาทานักขันโธ,
ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือวิญญาณ ;
เยสัง ปะริญญายะ,
เพื่อให้สาวกกำหนดรอบรู้อุปาทานขันธ์ เหล่านี้ เอง,
ธะระมาโน โส ภะคะวา,
จึงพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เมื่อยังทรงพระชนม์อยู่,
เอวัง พะหุลัง สาวะเก วิเนติ,
ย่อมทรงแนะนำสาวกทั้งหลาย เช่นนี้เป็นส่วนมาก ;
เอวังภาคา จะ ปะนัสสะ ภะคะวะโต สาวะเกสุ อะนุสาสะนี พะหุลา  ปะวัตติตะติ,
อนึ่ง คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น, ย่อมเป็นไปในสาวกทั้งหลาย,  ส่วนมาก, มีส่วนคือการจำแนกอย่างนี้ว่า :-
รูปัง อะนิจจัง, รูปไม่เที่ยง
เวทะนา อะนิจจา, เวทนาไม่เที่ยง
สัญญา อะนิจจา, สัญญาไม่เที่ยง
สังขารา อะนิจจา, สังขารไม่เที่ยง
วิญญาณัง อะนิจจัง, วิญญาณไม่เที่ยง
รูปัง อะนัตตา, รูปไม่ใช่ตัวตน
เวทะนา อะนัตตา, เวทนาไม่ใช่ตัวตน
สัญญาอะนัตตา, สัญญาไม่ใช่ตัวตน
สังขาราอะนัตตา, สังขารไม่ใช่ตัวตน
วิญญาณัง อะนัตตา, วิญญาณไม่ใช่ตัวตน
สัพเพ สังขารา อะนิจจา,
สังขารทั้งหลายทั้งปวง ไม่เที่ยง
สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ
    ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ไม่ใช่ตัวตน ดังนี้.
เต (ตา) มะยัง โอติณณามหะ,
พวกเราทั้งหลาย เป็นผู้ถูกครอบงำแล้ว ; ชาติยา,โดยความเกิด;
ชะรามะระเณนะ, โดยความแก่และความตาย ;
โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปยาเสหิ, โดยความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ  ทั้งหลาย ;
ทุกโขติณณา, เป็นผู้ถูกความทุกข์  หยั่งเอาแล้ว ;
ทุกขะปะเรตา, เป็นผู้มีความทุกข์ เป็นเบื้องหน้าแล้ว  ;
อัปเปวะนามิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขันขันธัสสะ อันตะกิริยา  ปัญญาเยถาติ.
ทำไฉน การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ . จะพึ่งปรากฏชัด  แก่เราได้.

สำหรับพระภิกษุและสามเณรสวด

จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง อุททิสสะ อะระหันตัง  สัมมาสัมพุทธัง
    เราทั้งหลาย อุทิศเฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ไกลจากกิเลส
    ตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เอง แม้ปรินิพพานนานแล้ว พระองค์นั้น
สัทธา อะคารัสมา อะนะคาริยัง ปัพพะชิตา
    เป็นผู้มีศรัทธา ออกบวชจากเรือน ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนแล้ว
ตัสมิง ภะคะวะติ พรัห์มะจะริยัง จะรามะ
    ประพฤติซึ่งพรหมจรรย์ในคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ภิกขูนัง สิกขาสาชีวะสะมาปันนา
    ถึงพร้อมด้วยสิกขา และธรรมเป็นเครื่องเลี้ยงชีวิตของภิกษุทั้งหลาย
ตัง โน พรัห์มะจะริยัง อิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ  อันตะกิริยายะ สังวัตตะตุ
    ขอให้พรหมจรรย์ของเราทั้งหลายนั้น จงเป็นไปเพื่อการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้  เทอญ ฯ

สำหรับอุบาสก อุบาสิกาสวด

จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา,
เราทั้งหลายผู้ถึงแล้วซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ปรินิพพานนานแล้ว พระองค์นั้น  เป็นสรณะ
ธัมมัญจะ สังฆัญจะ, ถึงพระธรรมด้วย,  ถึงพระสงฆ์ด้วย
ตัสสะ ภะคะวะโต สาสะนัง ยะถาพะลัง มะนะสิกะโรมะ อะนุปะฏิปัชชามะ,
จักทำในใจอยู่ ปฏิบัติตามอยู่ ซึ่งคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นตามสติกำลัง
สา สา โน ปะฏิปัตติ,
ขอให้ความปฏิบัตินั้น ๆ ของเราทั้งหลาย ;
อิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยายะ สังวัตตะตุ.
จงเป็นไปเพื่อการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ เทอญ.

หมายเลขบันทึก: 533989เขียนเมื่อ 26 เมษายน 2013 18:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 ธันวาคม 2013 20:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

ผมเคยสวดบทนี้ตั้ง 18 ปี เชียวนะครับ พี่พิชัย  555

            ..... ขอบคุณ... ความรู้ดีดีนี้ นะคะ ....


          

บททำวัตรเช้าครับ 

อัปเปวะนามิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขันขันธัสสะ อันตะกิริยา  ปัญญาเยถาติ. 
ทำไฉน การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ . จะพึ่งปรากฏชัด  แก่เราได้. 

มากับน้องหนานอักคณิชค่ะ สาธุ ที่ได้มาพบบทสวดที่พระทำวัตรค่ะ 

ขอขอบคุณ ท่าน พ.แจ่มจำรัส  ที่กรุณาให้เกียรติดิฉันค่ะ

เมื่อตื่นอยู่ ดิฉันไม่ชอบนั่งสมาธิแบบไม่เคลื่อนไหวร่างกาย มองว่า ต้องใช้กายและใจให้สมดุล และเกิดประโยชน์

เมื่อเรายังมีร่างกายแข็งแรง ถึงแม้ว่าบางครั้งจะไม่สบาย ก็ต้องรีบหาสาเหตุ เบื้องต้นต้องทำให้ร่างกายไม่มีความทุกข์ทรมานจากการรักษาพยาบาล  นี่ก็เป็นประสบการณ์จากความไร้เดียงสาที่ทำให้หลงผิดไว้วางใจพาคุณพ่อไปให้หมอฆ่า  ตอนนั้นแม้ไม่มีความละเอียดอ่อนในการคิด ก็ยังมองเห็นเหมือนวิธีการรักษาไม่เข้าที แต่ก็คิดไม่ออก และไม่กล้าพูด  เพราะแค่เปรยๆ คนในครอบครัวก็ไม่มีใครเห็นด้วย  ซึ่งถ้าหากว่าดิฉันคิดผิด ทุกคนก็จะมารุมด่าดิฉันไปตลอดชีวิต  ไม่มีใครคิดว่าหมอจะผิดพลาด

หลังจากนั้น ดิฉันก็ใช้เวลาค้นหาสิ่งที่สงสัย  เปลี่ยนวิธีดำเนินชีวิต และเปลี่ยนอาชีพ เตรียมความพร้อมให้เหมาะสมกับภาระกิจประจำวันอีก10ปี

ตั้งใจไว้อย่างแข็งแรง ไม่ยอมให้กรณีที่เคยเกิดกับคุณพ่อ มามีปัญหาซ้ำอีก และก็สามารถทำสำเร็จแบบค่อนข้างเหนื่อยมาก  เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งหลังจากที่คุณพ่อได้จากไปแล้ว10ปีครั้งนี้  ดิฉันค้ำประกันกับทุกคนในบ้านไว้เลยอย่างมั่นใจในตัวเอง

ที่ดิฉันพูดว่า ลำดับขั้นตอน คือภาคปฏิบัติ  จิตที่มีสมาธิ คือการสามารถเรียงลำดับขั้นตอนการทำงานให้เป็นประโยชน์ย่อเวลา  การมีสมาธิ เป็นกลไกของร่างกาย เปรียบเหมือนการจัดบ้าน เก็บกวาดข้าวของวางเป็นระเบียบเข้าที่เข้าทาง  อะไรที่เคยหายไป ก็จะหาเจอ  ความคิดของร่างกายก็เช่นเดียวกันค่ะ

เริ่มจาก ภาระกิจที่ต้องทำประจำวัน เราก็ทำเหมือนๆ เดิมสม่ำเสมอ ให้กลไกของร่างกายไม่ต้องใช้ความคิดในการลำดับขั้นตอน  เพื่อเผื่อว่า ถ้าเกิดมีปัญหาอื่นโผล่มา จะได้ตั้งตัวคิดทัน  

ส่วนการสวดมนต์ไหว้พระ  ใช้วิธี ดาวน์โหลดจากเว็บปะไว้ที่ Desk top .ใช้บริการจากเว็บนี้ค่ะhttp://www.fungdham.com/pray-sound.html

ที่เลือกแล้ว ฟังทุกวันมี3ลิ้งก์

ทำวัตรเช้า (วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก)    

ทำวัตรเย็น (วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก)
ถ้าหากว่า  เราฟังเสียงสวดมนต์ทุกๆ วัน ร่างกายของเรา หูของเราก็จะซึมซับเสียงสวดมนต์ด้วยอย่างคุ้นเคย  สวดมนต์ด้วยใจไม่ต้องนั่งพนมมือ ไม่เสียเวลาเดินทาง  ร่างกายของเราทุกคนล้วนมีเทวดาประจำตัว ท่านก็จะมาคุ้มครองเรา  ถ้าเราอยากให้เทพเทวดาของเราเป็นสัมมาทิฏฐิเทวดา  ก็ต้องเริ่มจากการคิดดีไว้ก่อน แล้วท่านเทพเทวดาก็จะพาโอกาสดีๆ ให้เราได้ทำ  เชื่อไหม ?
ลองคิดดูนะคะ  ถ้าเราได้ยินแล้วได้รู้ความหมายด้วยจะดีแค่ไหน  เว็บนี้ http://www.onab.go.th/e-Books/PrayTrans2.pdf   บางครั้งก็ได้ถือโอกาสพิจารณาไปด้วยค่ะ

ขอบคุณครับคุณ อักขณิช

นี่เป็นความรู้ใหม่ที่ได้เรียนรู้ไ ด้รับรู้ จากกัลยาณมิตรทกท่านครับ

ขอบคุณพี่เปิ้นDr. Ple

ต้องขอบคุณบ้านหลังนี้ และกัลยาณมิตรที่นำมาให้ครับ

ขอบคุณครับท่าน





วิชญธรรม

เป็นบทสวดที่ได้รับจากผู้รู้ และผมตั้งใจว่าจะนำไปฝึกสวดบ้าง คงจะดีเป็นแน่แท้ครับ

ดีจังค่ะ มีคำแปลด้วย

ดิฉันรู้สึกว่า ...บางครั้งฟังบทสวดภาษาบาลี .. แต่ไม่รู้คำแปล .. ก็ไม่รู้ว่าหมายถึงอะไร ..ฟังไปก็เท่านั้น

แต่มีคำแปล ทำให้รู้ความหมายค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท