ในบางครั้ง


ด้วยปิติยินดีในปัจจุบันขณะ แต่กลางคืนกลับนอนฝันร้าย จนอกสั่นขวัญแขวน เหงื่อชุ่มในห้องปรับอากาศอันเย็นฉ่ำ...

  ... บางครั้งเราเหมือนจะสอนคนอื่นได้ ให้คำปรึกษาจนเขานำไปปฏิบัติได้ คำขอบคุณดูเหมือนจะเป็นเครื่องการันตี ว่าตัวเองปล่อยได้ วางเป็น

   คำเยินยอหลอกใจให้เพลิดเพลิน เริงร่าไปจนลืมตัวว่า แท้จริง คำนินทาว่าร้าย ก็อาจจะซุกซ่อนอยู่ในระหว่างคำหวานเหล่านั้น

  ... บางครั้ง เรากลับมานั่งทบทวนตัวเอง ว่ายังหลงทาง และคลำหาหนทางที่แท้จริงของตัวเองไม่เจอ...

   ...บางครั้งสรรสร้างความสุขใจ พยายามปั้นหน้าฝืนยิ้ม เพื่อให้กำลังใจผู้อื่นให้ก้าวเดินต่อไป ขณะตัวเอง จมอยู่กับกับความระทมทุกข์

   ท้อแท้...

   สิ้นหวัง...

   ...บางครั้ง ตัวตน ใจเรา ของเรา รับรู้ปล่อยวาง ท่วงทันทุกจังหวะก้าวของอารมณ์ ด้วยปิติยินดีในปัจจุบันขณะ แต่กลางคืนกลับนอนฝันร้าย จนอกสั่นขวัญแขวน เหงื่อชุ่มในห้องปรับอากาศอันเย็นฉ่ำ...

     ด้วยสุดแสนเสียดายสิ่งของ ตัวเรา ตัวเขา ในห้วงแห่งความฝันนั้น...

   ...หรือทุกสิ่งทุกอย่าง มันคือความว่างเปล่า ความหลอกลวง ไม่มีอะไรจริงแท้ แน่นอน อย่างนั้นจริงเทียวหรือ

   หรือความจริงคือ เพียงบางครั้ง เท่านั้นเอง...

.............................

ในวันที่สับสน

22 เมษายน 2556

พ.แจ่มจำรัส


 

หมายเลขบันทึก: 533606เขียนเมื่อ 22 เมษายน 2013 18:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 ธันวาคม 2013 20:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

ลำดับขั้นตอน คือภาคปฏิบัติ  จิตที่มีสมาธิ คือการสามารถเรียงลำดับขั้นตอนการทำงานให้เป็นประโยชน์ย่อเวลา

การมีสมาธิ เป็นกลไกของร่างกาย เปรียบเหมือนการจัดบ้าน เก็บกวาดข้าวของวางเป็นระเบียบเข้าที่เข้าทาง

อะไรที่เคยหายไป ก็จะหาเจอ  ความคิดของร่างกายก็เช่นเดียวกันค่ะ



เป็นกำลังใจให้นะครับ

ขอบคุณครับ คุณ on time

ผู้เขียน กำลังหาบางสิ่งที่หายไป อยู่ ครับผม

ขอบคุณแนวคิดดีๆ

มาอ่าน แม้จะค่อยเข้าใจ แต่ส่งกำลังใจไว้ให้ค่ะ

ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ก็มักมาคู่กับ เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์ เสมอค่ะ






รักชาติ

ขอบคุณครับ คุณ รักชาติ

ขอบคุณครับคุณ หยั่งราก ฝากใบ

ในบางครั้ง...เราคลุกอยุ่กับโลกธรรม 8 โดยแยกแยะ ลำดับ ไม่ออก

เลยปล่อยตัวไปด้วยความตลบอบอวล...

ผมคิดว่า  พัฒนาการระหว่างวันท่านทำได้ค่อนข้างดีมากแล้ว

หากปรับปรุงกลไกการตกผลึกของสมาธิในทางธรรม  ตามวิถึที่ถูกจริต ให้มากขึ้น

เมื่อถึงจุดหนึ่ง  ฝันร้ายที่เคยเจอ   อาจจะสูญหาย  มีแต่สิ่งดีงามปรากฎให้ท่านพบ ครับ


ขอเป็นกำลังใจในการพัฒนาตนเอง ครับ



ขออนุญาต ท่าน  พ.แจ่มจำรัส      ขอบคุณค่ะ

คนที่มีศีล  เข้าใจธรรมมะเหมือนเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำัวัน

แม้มีเหตุกระทบที่เกิดจากคนอื่น ให้รู้สึกเสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์ 

ก็ไม่มีความทุกข์ใดๆ เลย เพราะเป็นการกระทำของคนอื่น 

ในขณะที่ คนที่รู้แต่ตัวหนังสือ อาจลอกเขามาแบบไม่เข้าใจความหมาย ก็อาจไม่เข้าใจว่า

ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข  ล้วนต้องเกิดจากการปฏิบัติของตัวเอง  คุณ หยั่งราก ฝากใบ เชื่อไหมคะ  ?

แวะมาส่งกำลังใจค่ะ

ดิฉันเจอมาซะเกือบทุกอย่างดังที่คุณหยั่งราก ฝากใบเขียนมาค่ะ 

ทุกอย่างเป็นเสมือนเพื่อนของเรา ที่จะผลัดกันวนเวียนมาเยี่ยมเราในแต่ละห้วงเวลา

เพราะยังมีอารมณ์ละเมียดละไมและใจยังยืดหยุ่น จึงยังรับรู้ในทุกข์และสุขนั้นเป็นระยะๆ 

แต่จะ ไม่เก็บอะไรเอาไว้นาน  ค่ะ   ลืมๆ ไปบ้าง เพื่อจะได้มีพื้นที่ว่างมาจำเรื่องใหม่ๆ  ที่มีเข้ามาหาเราในชีวิตทุกๆ วันค่ะ

"ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ก็มักมาคู่กับ เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์" เป็นเรื่องจริงแท้  ไม่มีอะไรจีรัง หยั่งยืนค่ะ


ขออนุญาต ท่าน  พ.แจ่มจำรัส   อีกครั้งหนึ่ง ขอบคุณค่ะ

และขอบคุณความเห็นที่ดูสะอาดของคุณ Bright Lily ชื่นชมค่ะ

ในโลกนี้  มีความแตกต่างระหว่างคนรู้ที่กลายเป็นไม่รู้ข้อเท็จจริง กับคนที่ไม่รู้อะไรเลย

สิ่งที่ดิฉันเขียน ไม่มีอะไรที่คุณหยั่งราก ฝากใบไม่รู้ค่ะ  รับประกัน

ทุกอย่างล้วนเกี่ยวข้องกับศีล5 แบบง่ายๆ จริงๆ นะคะ



ขอบคุณครับท่านคณิน อุดมความสุข

เป็นบันทึกถึงสิ่งที่เป็นไป ในกาย รอบกาย ในใจ รอบใจ...

ในบางครั้ง ที่รู้ทันบ้าง หลงไปตามอารมณ์บ้าง

เท่านั้นเองครับ....

ขอบคุณครับคุณ on time

เป็นเพียงบันทึกเรื่องราว ในขณะที่รู้บ้าง หลงบ้าง

ตามอารมณ์ในแต่ละขณะ

เท่านั้นเองครับ...

ขอบคุณครับBright Lily

ชอบวรรคนี้ครับ

ไม่เก็บอะไรเอาไว้นาน  ค่ะ  ลืมๆ ไปบ้าง เพื่อจะได้มีพื้นที่ว่างมาจำเรื่องใหม่ๆ  ที่มีเข้ามาหาเราในชีวิตทุกๆ วันค่ะ

จะพยายามฝึกครับ...

เห็นความแปรผันได้ขนาดนี้ สุดยอดแล้วค่ะ

เส้นทางที่เราเดินมักทำให้เราวนอยู่แบบนั้น

ที่จริงแค่รู้ทัน เราก็ออกนอกเส้นทางเสียบ้าง

เป็นความรู้สึกที่อยู่เหนือการคาดเดาเลยค่ะ

คุณ พ.ทำได้ และทำได้ดีเสมอมาด้วยค่ะ


มีบทความมาฝากท่าน พ.แจ่มจำรัส  (ไม่รู้ว่าท่านพ.แจ่มจำรัส เคยอ่านหรือยัง ?)


http://www.crs.mahidol.ac.th/thai/praythaichoa06.htm

อิธะ ตะถาคะโต โลเก อุปปันโน 
พระตถาคตเจ้าเกิดขึ้นแล้ว ในโลกนี้ ; 
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ 
เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง ; 
ธัมโม จะ เทสิโต นิยยานิโก, 
และพระธรรมที่ทรงแสดง เป็นธรรมเครื่องออกจากทุกข์ ; 
อุปะสะมิโก ปะรินิพพานิโก, 
เป็นเครื่องสงบกิเลส, เป็นไปเพื่อปรินิพพาน ; 
สัมโพธะคามี สุคะตัปปะเวทิโต ; 
เป็นไปเพื่อความรู้พร้อม, เป็น ธรรมที่พระสุคตประกาศ ; 
มะยันตัง ธัมมัง สุตวา เอวัง ชานามะ : 
พวกเราเมื่อได้ฟังธรรมนั้นแล้ว, จึงได้รู้อย่างนี้ว่า : - 
ชาติปิ ทุกขา, แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์ ; 
ชะราปิ ทุกขา, แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์ ; 
มะระณัมปิ ทุกขัง, แม้ความตายก็เป็นทุกข์ ; 
โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา
แม้ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์ ; 
อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข 
ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์ ; 
ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข, 
ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์ ; 
ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง, 
มีความปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์ ; 
สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา, 
ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์ ; 
เสยยะถีทัง, 
ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ :- 
รูปูปาทานักขันโธ, 
ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือรูป ; 
เวทะนูปาทานักขันโธ, 
ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือเวทนา ; 
สัญญูปาทานักขันโธ, 
ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือสัญญา ; 
สังขารูปาทานักขันโธ, 
ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือสังขาร ; 
วิญญาณูปาทานักขันโธ, 
ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือวิญญาณ ; 
เยสัง ปะริญญายะ, 
เพื่อให้สาวกกำหนดรอบรู้อุปาทานขันธ์ เหล่านี้ เอง, 
ธะระมาโน โส ภะคะวา, 
จึงพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เมื่อยังทรงพระชนม์อยู่, 
เอวัง พะหุลัง สาวะเก วิเนติ, 
ย่อมทรงแนะนำสาวกทั้งหลาย เช่นนี้เป็นส่วนมาก ; 
เอวังภาคา จะ ปะนัสสะ ภะคะวะโต สาวะเกสุ อะนุสาสะนี พะหุลา ปะวัตติตะติ, 
อนึ่ง คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น, ย่อมเป็นไปในสาวกทั้งหลาย, ส่วนมาก, มีส่วนคือการจำแนกอย่างนี้ว่า :- 
รูปัง อะนิจจัง, รูปไม่เที่ยง 
เวทะนา อะนิจจา, เวทนาไม่เที่ยง 
สัญญา อะนิจจา, สัญญาไม่เที่ยง 
สังขารา อะนิจจา, สังขารไม่เที่ยง 
วิญญาณัง อะนิจจัง, วิญญาณไม่เที่ยง 
รูปัง อะนัตตา, รูปไม่ใช่ตัวตน 
เวทะนา อะนัตตา, เวทนาไม่ใช่ตัวตน 
สัญญาอะนัตตา, สัญญาไม่ใช่ตัวตน 
สังขาราอะนัตตา, สังขารไม่ใช่ตัวตน 
วิญญาณัง อะนัตตา, วิญญาณไม่ใช่ตัวตน 
สัพเพ สังขารา อะนิจจา, 
สังขารทั้งหลายทั้งปวง ไม่เที่ยง
สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ
ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ไม่ใช่ตัวตน ดังนี้. 
เต (ตา) มะยัง โอติณณามหะ, 
พวกเราทั้งหลาย เป็นผู้ถูกครอบงำแล้ว ; ชาติยา,โดยความเกิด; 
ชะรามะระเณนะ, โดยความแก่และความตาย ; 
โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปยาเสหิ, โดยความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ทั้งหลาย ; 
ทุกโขติณณา, เป็นผู้ถูกความทุกข์ หยั่งเอาแล้ว ; 
ทุกขะปะเรตา, เป็นผู้มีความทุกข์ เป็นเบื้องหน้าแล้ว ; 
อัปเปวะนามิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขันขันธัสสะ อันตะกิริยา ปัญญาเยถาติ. 
ทำไฉน การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ . จะพึ่งปรากฏชัด แก่เราได้. 

จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา, 
เราทั้งหลายผู้ถึงแล้วซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ปรินิพพานนานแล้ว พระองค์นั้น เป็นสรณะ 
ธัมมัญจะ สังฆัญจะ, ถึงพระธรรมด้วย, ถึงพระสงฆ์ด้วย 
ตัสสะ ภะคะวะโต สาสะนัง ยะถาพะลัง มะนะสิกะโรมะ อะนุปะฏิปัชชามะ, 
จักทำในใจอยู่ ปฏิบัติตามอยู่ ซึ่งคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นตามสติกำลัง
สา สา โน ปะฏิปัตติ,
ขอให้ความปฏิบัตินั้น ๆ ของเราทั้งหลาย ; 
อิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยายะ สังวัตตะตุ. 
จงเป็นไปเพื่อการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ เทอญ.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท