คำว่า จริยธรรม. มนุษยธรรม, คุณธรรม และ ยุติธรรม แตกต่างกันอย่างไร


คำว่า จริยธรรม. มนุษยธรรม, คุณธรรม และ ยุติธรรม แตกต่างกันอย่างไร

จริยธรรม (Ethics)

             จริยธรรม หมายถึง หลักแห่งความประพฤติ แนวทางของการประพฤติ สิ่งที่ควรประพฤติ” เป็นหลักหรือแนวทางของความประพฤติของมนุษย์ในสังคมให้อยู่รวมกันอย่างสงบสุขเป็นสิ่งจำเป็นที่ทั้งคุณค่าและประโยชน์อย่างมากมายแก่บุคคลทั้งระดับครอบครัวไปจนถึงระดับประเทศ  สรุปไว้ว่าจริยธรรม”หมายถึง พฤติกรรมการแสดงออก พฤติกรรมการปฏิบัติของบุคคลที่แสดงให้เห็นถึงการกระทำในสิ่งที่ถูกต้องและอยู่ในกรอบของศีลธรรม ถือในการประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นคนดี สามารถคิดและตัดสินใจได้ว่าสิ่งไหน ควร-ไม่ควร ดี-ไม่ดี ถูก-ผิด   

คุณธรรม

               คุณธรรม หมายถึง ความดีงามที่ถูกปลูกฝังขึ้นในจิตใจ มีความกตัญญู ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ สามัคคี มีวินัย มีน้ำใจ เป็นต้น จนเกิดจิตสำนึกที่ดี รู้สึก    รับผิดชอบ ชั่ว ดี เกรงกลัวต่อการกระทำความชั่ว เมื่อจิตเกิดคุณธรรมขึ้นแล้ว จะทำให้เป็นผู้มีจิตใจดี และคิดแต่สิ่งที่ดี  จึงได้ชื่อว่า  “เป็นผู้มีคุณธรรม”สรุปได้ว่าคุณธรรม หมายถึงความประพฤติที่ดีที่ชอบ หรือธรรมในระดับศีล หรือกรอบปฎิบัติที่ดี เกี่ยวกับความรู้สึกรับผิดชอบ บริสุทธิ์ เกี่ยวกับจิตใจและหลักความประพฤติที่ดีสำหรับบุคคลพึงปฏิบัติ

มนุษยธรรม

              มนุษยธรรม หมายถึง"ธรรมที่ทำให้คนเป็นมนุษย์สมบูรณ์"คือเป็นมนุษย์ทั้งร่างกายและจิตใจ หากสังคมมนุษย์ไม่มีศีลเป็นเครื่องคุ้มครองจิตใจแล้ว   มนุษย์ก็จะมีพฤติกรรมและการดำเนินชีวิตไม่ต่างอะไรจากสัตว์ทั่ว ๆ ไป เพราะเมื่อไม่มีศีลแล้วมนุษย์ย่อมก่อความเดือดร้อน  ให้กันและกันเสมอและหาความสงบในชีวิตได้ยากสรุปได้ว่ามนุษยธรรม หมายถึง ธรรมของคน ธรรมที่มนุษย์พึงมีต่อกัน มีเมตตากรุณา เป็นต้น

ยุติธรรม

                ยุติธรรม หมายถึง มีความเที่ยงธรรม เสมอภาคในคนทุกประเภท ไม่แบ่งแยกพวกเขาพวกเรา ไม่มีอคติ คือ ความลำเอียง เช่น ลำเอียงเพราะความรัก ลำเอียงเพราะความโกรธ ลำเอียงเพราะความกลัว และลำเอียงเพราะความหลง การพิจารณาเลื่อนตำแหน่งก็พิจารณาจากความรู้ ความสามารถและคุณธรรมความดี สรุปได้ว่า ความยุติธรรม หมายถึง ความเที่ยงธรรม, ความชอบธรรม, ความชอบด้วยเหตุผลเที่ยงธรรม, ไม่เอนเอียงเข้าข้างใดข้างหนึ่ง, ชอบด้วยเหตุผล มนุษย์ทุกคนควรปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความเท่าเทียมกันเหมือนที่อยากให้ผู้อื่นปฏิบัติต่อตนเอง


หมายเลขบันทึก: 533353เขียนเมื่อ 19 เมษายน 2013 21:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 เมษายน 2013 21:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีครับ

           สรุปสาระมาได้ดีมากครับ   มีครบถ้วนในคำที่ใกล้เคียงกัน  บางทีถ้าไม่มีคำอธิบายที่ชัดเจนอย่างเช่นที่คุณนำมาแบ่งปัน  ก็เข้าใจลำบากครับ  ขอบคุณที่นำมาแบ่งปันครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท