การสอนไม่ครบ 8 กลุ่มสาระ.....ถูกหรือผิด ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน


             ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช 2551  มีการกำหนดให้สอน 8 กลุ่มสาระ  และผู้เรียนต้องผ่านการประเมินทุกตัวชี้วัดตามที่หลักสูตรกำหนด

              ปัญหาเกิดจากคำถามจากผู้รู้จักมักคุ้นสอบถามไปยังผมว่าบันทึกก่อนหน้านี้  ผมเสนอไม่ให้มีการสอน 3 กลุ่มสาระ  ไม่น่าจะทำได้   จะเป็นการขัดกับหลักสูตรกำหนดโดยสิ้นเชิง

              ผมก็เลยจำเป็นต้องเขียนบันทึกนี้เพื่อแจ้งให้ทุกท่านทราบว่าจะถูกหรือผิดให้ทุกท่านได้พิจารณา

ได้ตามอัธยาศรัย  มิต้องข้องใจว่าผมจะโต้แย้งแต่อย่างใด

              ผมได้ความคิดประการหนึ่งว่า"การคิดนอกกรอบ  ผลกระทำให้อยู่ในกรอบ"  น่าจะไม่ผิด

              ผมมีแนวคิดอย่างไร  ท่านคงถามอีก

              ผู้เรียนอ่านหนังสือไม่ออก  ผลการสอบ o-net ก็ต่ำกว่าระดับประเทศ  ซึ่งแย่เอามาก ๆ

              แล้วเราจึงจำเป็นต้องมาทำแผนสอนให้ผู้เรียนอ่านหนังสือออก  ซึ่งใครที่ได้ไปเห็นไปพบไปรู้ด้วยตนเองก็คงจะไม่เชื่อในความเป็นไปได้แน่นอน

              ผมก็ใช้วิธีดิดตามข้างต้นคือ   "การคิดนอกกรอบ  ผลกระทำให้อยู่ในกรอบ" 

               วิชากลุ่มสารอื่น ๆ  สอนก็สอนไปตามปกติ ยกเว้น   3 กลุ่มสาระที่ผมได้บันทึกไว้ในบันทึกก่อนหน้านี้

               ส่วนภาษาไทยต้องสอนให้ได้  20 วัน หมายถึงถ้าคิดรายคาบ รายชั่วโมงก็ต้องได้ 100 คาบ/ชั่วโมง

                 ครั้งแรกต้องประชุมผู้ปกครองชี้แจงทำความเข้าใจ  และต้องสมัครใจยินยอมให้ลูกหลานเข้าร่วมโครงการเพราะถ้าไม่ประชุมก่อนดำเนินการ      ความสำเร็จจะน้อยลงปัญหาจะมากขึ้น

                 ทำจ้างครูเอกภาษาไทยทำการสอนโดยรับการการแนะแนวจากผมเพื่อจะได้รับรู้ถึงวิธีการการดำเนินการ   ส่วน ครูมีอะไรเสริม  ก็นำเสนอได้ก่อนที่จะไปทำการสอน   ครูจ้างรายเดือน แต่ถ้าผู้เรียนผ่านการประเมินโดยแบบประเมินตัวชี้วัดการอ่าน  ก็จะได้เพิ่มอีก  200 บาทต่อคน  ถ้าผู้เรียนมี 25  คนและผ่านการประเมินทั้งหมด     ครูก็ได้รับเงินเพิ่มพิเศษในเดือนนั้น  5000 บาท     ถ้าผู้เรียนไม่ผ่านแม้แต่สักคน     ก็รับเงินเดือนไปตามปกติ

               ทุกคาบทุกชั่วโมงครูต้องประเมินผลผู้เรียน และมีหลักฐานปรากฏความก้าวหน้าของแต่ละคนให้ตรวจสอบได้และนักเรียนคนใดต้องการประเมินวัดผลก่อนก็ทยอยวัดผลไปทีละคนเพราะแบบวัดผลมีหลายชุด

               เมื่อผู้เรียนผ่านการวัดประเมินผลตามตามกิจกรรมการเขียนการอ่านกำหนด  ก็กลับไปเรียนตามปกติในแต่ละชั้นเรียนได้

                แต่ไม่ต้องเรียน กลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา   ศิลปะ  และการงานอาชีพและเทคโนโลยี  แต่ชั่วโมงเรียนกลุ่มสาระดังกล่าวยังมีอยู่    คณะบริหารพัฒนาคุณภาพวิชาการเตรียมใบงานตามตัวชี้วัดให้ครบตามหลักสูตรกำหนดแจกให้ผู้เรียนได้อ่าน   และทำการประเมินผลตัวชี้วัด ในแต่ละชั่วโมงหรือแต่ละคาบจนครบ  และผู้เรียนจะต้องผ่านทุกตัวชี้วัด แล้วนำผลการผ่านของแต่ละคนไปบันทึกในแบบบันทึกการผ่านตัวชี้วัดรายบุคคลเพื่อนำไปใช้ในการพิจารณาตัดสินผลรวมการเรียนต่อไป

                 การอ่านใบงานที่แจกให้จะทำให้ผู้เรียน  เรียนรู้กันเอง  คำไหนอ่านไม่ออก  ใครตอบไม่ได้ก็จะส่งตัวแทนไปถามครูได้ทุกคน  ทำให้เกิดประสบการณ์การอ่านที่เพิ่มขึ้น มีความกล้าขึ้น เพราะผู้เรียนที่อ่านหนังสือไม่ออกจะไม่ค่อยมีความกล้า

                 พอปลายปีปลายภาคผู้เรียนก็อ่านแบบทดสอบได้ผลการเรียนก็เพิ่มขึ้น การบันทึกผลต่าง ๆ ก็เป็นไปตาม"กรอบ"หลักสูตรกำหนดทุกประการ "  เพียงแต่ทำนอกกรอบ " เท่านั้น

                 โจทย์มีแค่นี้ ท่านคงจะตอบได้นะครับว่าวิธีการของผมนี้  ผิดหรือไม่อย่างไร

หมายเลขบันทึก: 533291เขียนเมื่อ 19 เมษายน 2013 11:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 เมษายน 2013 11:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)



มีคำถามหนึ่งว่า  "  หากสอนครอบ  8  กลุ่มสาระแล้ว   เด็กได้ความรู้ครบทั้ง  8 กลุ่มสาระ  ตามตัวบ่งชี้หรือไม่"  ... 

สำหรับคุณมะเดื่อแล้ว อาจจะมีความคิดเห็นที่ไม่ค่อยเข้าท่าสักเท่าไร  เพราะคิดว่า  ทุกวันนี้สำหรับตัวคุณมะเดื่อเอง  สอนกลุ่มสาระเดียว  ก็ยังไม่ครบตามหลักสูตรเลย....เพราะ ...  เด็กตามไม่ทัน  ก็ต้องสอนซ้ำย้ำทวนกันอยู่แบบเดินหน้าถอยหลังอยู่อย่างนั้น.........คุณมะเดื่อสอนแบบ  " ห่วงเด็ก"  ไม่ได้ห่วงหลักสูตร สักเท่าไรหรอกจ้ะ...อีกอย่าง  สอนทักษะชีวิตให้เด็กเอาไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันให้ได้  เอาชีวิตรวดในสังคมได้  อยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข   นั่นแหละ  คือ...การสอนจบหลักสูตร.....ของคุณมะเดื่อ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท