เนื้อหานิทรรศการ "ก้าวพอดีที่เพลินพัฒนา" : สิบปีของการพัฒนาหน่วยวิชามานุษกับโลก (๒)


หลักการบูรณาการในยุคแรกนี้  นอกจากจะบูรณาการโดยการสร้างหน่วยการเรียนซึ่งจะสอดคล้องกับเนื้อหาหลักการสำคัญของสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมของภาคเรียนนั้น  โดยมีการตั้งเป้าหมายในการเรียนเป็นชื่อมโนทัศน์รายปีและรายภาคเรียนดังแสดงไว้ในตารางข้างท้าย

มโนทัศน์รายปี

  • ชั้น ๑    การอยู่ร่วมกันอย่างเห็นคุณค่า เกื้อกูลกัน
  • ชั้น ๒   การใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าดีงามต่อสิ่งรอบตัว
  • ชั้น ๓   สร้างวิถีการเรียนรู้ สู่โลกกว้าง อย่างพอเพียง


ภาคฉันทะ

 ภาควิริยะ          

 ภาคจิตตะ

วิมังสา


ตัวฉัน  

ผู้คนรอบตัว

และสัตว์

ชีวิตกับการจัดการ    

ที่เหมาะสม

เวลากับชีวิต

คุณค่าในการอยู่ร่วมกัน


พืช  

เพื่อนสีเขียว

ชีวิตริมน้ำกับ

ความสัมพันธ์เกื้อกูล

 เวลากับสภาพแวดล้อม

ที่เปลี่ยนแปลง


ฉลาดเลือก ฉลาดใช้

ให้เกิดคุณค่า ความดีงาม

ต่อสิ่งรอบตัว



การดูแล 

การอยู่ร่วมกันในชุมชน      

 เรียนรู้ชุมชนของเรา                       

เวลากับเรื่องราวของ

ความเปลี่ยนแปลง                 

ในชุมชนของเรา

ความร่วมมือร่วมคิด

บนวิถีพอเพียง


ระดับชั้น ๑  เรียนรู้เรื่องสัตว์เลี้ยงและวิธีการดูแลสัตว์จากภูมิปัญญาชาวบ้านและสามารถนำผลิตผลจากไก่ เช่น นำเปลือกไข่มาทำเปลือกไข่ไล่มด หรืองานประดิษฐ์อื่นๆ ตามความสนใจ


ระดับชั้น ๒  เรียนรู้เรื่องเมล็ดพืชที่แตกต่างกัน พื้นที่ที่แตกต่างกันทางภูมิศาสตร์และรู้จักการใช้ประโยชน์จากพืช เช่น การทำอาหาร สิ่งของเครื่องใช้  รวมถึงการทำยาจากพืช


ระดับชั้น ๓ เรียนรู้เรื่องแรง พลังงาน และหลักธรรมในการอยู่ร่วมกันในชีวิตประจำวันผ่านการเล่น และการทำของเล่น  ฝึกการดูแลตนเองด้วยการหัดงานเย็บปักถักร้อยในวิชาการงาน อาชีพและเทคโนโลยี เป็นต้น


การเรียนรู้ภาคสนาม

  • ชั้น ๑ พักค้างแรมที่โรงเรียน เพื่อเรียนรู้เรื่องของเวลาและการเปลี่ยนแปลง 
  • ชั้น ๒ ไปภาคสนามที่สวนเจียมตน ของคุณลุงชวน ชูจันทร์ เกษตรกรผู้เป็นต้นแบบของวิถีชีวิตพอเพียง
  • ชั้น ๓ ไปภาคสนามที่อาศรมพลังงาน และอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จ.นครราชสีมา


ยุคตั้งหลักปักฐาน ( พ.ศ. ๒๕๕๑ – ๒๕๕๒ )


แนวคิดหลักยังคงเป็นไปตามมโนทัศน์รายปีและรายภาคที่ออกแบบเอาไว้ แต่เพิ่มเติมจุดเน้นของการเรียนรู้ให้มีความใกล้ชิดและเชื่อมโยงกับชีวิตของผู้เรียน และมีการนำแผนภาพความคิด (Concept map) แผนภาพแบบคลัสเตอร์ (Cluster Diagram) และแผนภาพลำดับขั้นการทำงาน (Flowchart) เข้ามาช่วยจัดลำดับความคิดของผู้เรียนให้เป็นระบบมากขึ้น นอกจากนี้ยังได้นำเอา “กิจกรรมภาวะพร้อมเรียน” ซึ่งถือเป็นกิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียนที่ช่วยให้ผู้เรียนมีความสงบ หรือสดชื่นตื่นตัว เข้ามาช่วยสร้างความพร้อมให้กับผู้เรียนในช่วงเวลาต่างๆ ด้วย


ระดับชั้น ๑  เรียนรู้เรื่องสัตว์เลี้ยงบ้าน  และสัตว์ตามธรรมชาติที่พบได้ในโรงเรียน


ระดับชั้น ๒  เรียนรู้เรื่องพืชในโรงเรียน และชุมชนใกล้ๆโรงเรียน


ระดับชั้น ๓  เรียนเรื่องพลังงาน แรงและการเคลื่อนที่ในท้องถิ่นในกรุงเทพฯ 


การเรียนรู้ภาคสนาม

  • ชั้น ๑ พักค้างแรมที่โรงเรียน เพื่อเรียนรู้เรื่องของเวลาและการเปลี่ยนแปลง 
  • ชั้น ๒ ไปภาคสนามที่สวนเจียมตน อ.ตลิ่งชัน ของคุณลุงชวน ชูจันทร์ เกษตรกรผู้เป็นต้นแบบของวิถีชีวิตพอเพียง และไปเรียนรู้กับชุมชน วัดปุรณาวาส ต.ศาลาธรรมสพน์ ซึ่งเป็นชุมชนชาวนาที่อยู่ไม่ไกลจากโรงเรียน
  • ชั้น ๓ ไปภาคสนามที่ชุมชนริมคลองลัดมะยม  ชุมชนวัดจำปา ตลิ่งชัน และอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จ.นครราชสีมา


ยุคที่ ๓  ยุคชุมชนเรียนรู้ ( พ.ศ. ๒๕๕๓ จนถึงปัจจุบัน )

ในยุคนี้เป็นยุคที่เริ่มมีการตกผลึกความรู้ของโรงเรียนอย่างเป็นระบบ ชัดเจนและมีการจัดการที่ลงตัวมากขึ้น มีการปรับขอบเขตความรู้ให้เหมาะสมกับวัย  และเริ่มมีนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นมาจากการลงมือทำซ้ำ และพัฒนาเรื่อยมาจนเกิดชุดความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ร่วมกันของกลุ่มครู  

ในส่วนตัวผู้เรียนเองก็ได้ค้นพบความสนใจของตนจากการไปเรียนรู้ภาคสนาม แล้วนำเอาความสนใจใคร่รู้นั้นมาทำโครงงานค้นคว้า ทดลองต่อ จนกระทั่งพบคำตอบ ในขั้นของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีการนำเอาความรู้ของผู้เรียนแต่ละคนมาจัดกลุ่มตามความสนใจ เกิดกลุ่มเพื่อนที่มีความสนใจร่วมกัน ได้ผลลัพธ์เป็นชุดความรู้ที่เกิดจากการตั้งข้อสังเกต ค้นคว้า ทดลอง ของผู้เรียนเอง


  • ชุดความรู้เรื่อง ภาวะพร้อมเรียน ที่เหมาะกับเนื้อหาที่เรียน

เกิดชุดความรู้ของกลุ่มกิจกรรมนำให้นักเรียนเข้าสู่กระบวนการเรียนได้ดีขึ้น และมีแรงผลักเข้าสู่บทเรียนหลักได้ดีขึ้น เช่น เมื่อเรียนเรื่องกิจกรรมเรื่องแรงและการเคลื่อนที่  หรือ เสียง  ภาวะพร้อมเรียนที่มีลักษณะเป็นการท่อง  การวาด  การเขียนที่มีจังหวะ จะช่วยกล่อมเกลาให้ผู้เรียนมีสมาธิ และอยู่กับบทเรียนต่อไปได้ดี เพราะกิจกรรมเหล่านี้มีลักษณะเป็นส่วนหนึ่งของบทเรียน


  • ชุดความรู้เรื่อง  การบูรณาการหน่วยวิชาภูมิปัญญาภาษาไทยและหน่วยวิชามานุษกับโลก

ฐานการเรียนรู้ที่สำคัญของผู้เรียนในวัยประถมต้น คือ ภาษาแม่ และคณิตศาสตร์  ช่วงชั้นที่ ๑ จึงสร้างวิธีการบูรณาการโดยอาศัยหน่วยวิชาภูมิปัญญาภาษาไทยมาเป็นแกนของโครงงานภาคสนาม และการประมวลความรู้ในโครงงาน “ชื่นใจ...ได้เรียนรู้” และทำให้มีลักษณะเป็นโครงงานงานร่วม เช่น ในระดับชั้น ๓ ออกภาคสนามเรียนรู้วิถีพื้นที่ตลิ่งชัน เป็นการเรียนรู้ลักษณะพื้นที่ชุมชนริมคลองลัดมะยม ที่มีการใช้พื้นที่แบบเกษตรกรรม มีวิถีชีวิตแบบชาวสวน ผนวกกับการเรียนรู้งานแทงหยวก ที่เป็นภูมิปัญญาของคนไทยมาแต่โบราณ  เป็นต้น


กระบวนการสร้างความรู้หลักของหน่วยวิชามานุษกับโลก  ประกอบไปด้วย

 -  การสร้างภาวะพร้อมเรียนรู้  ช่วยกล่อมเกลาให้ผู้เรียนเป็นผู้ที่มีจังหวะ  รู้จักการรอคอย รู้จักจังหวะชีวิตของตนเองที่สัมพันธ์กับผู้อื่น  

-  กระบวนการก้าวพอดี  ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างเป็นลำดับขั้น

-  การจัดการชั้นเรียนแบบเปิด (Open Approach)  ช่วยให้ผู้เรียนเกิดต่อยอดความรู้ของตนเองออกไป  เกิดมุมมองที่เปิดกว้าง ขยายโลกทัศน์ของตนเองผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากคำถามปลายเปิด เกิดการหยั่งรากลึกของความรู้ ความคิด ความเข้าใจตนเองและผู้อื่น  ที่แตกแขนงและเชื่อมโยงจากตัวเองสู่โลกแวดล้อมอย่างเป็นลำดับ


เรียบเรียงโดย

คุณครูโอ่ง นฤนาท  สนลอย  

๔๗๐๗๓

หัวหน้าพัฒนาหน่วยวิชามานุษกับโลก


หมายเลขบันทึก: 532791เขียนเมื่อ 12 เมษายน 2013 19:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 เมษายน 2013 11:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท