แม่ครับ...หยุดตีผมได้แล้ว


ดร.ป๊อป: คุณแม่น้อง อ. ครับ ลองเขียนความคิดว่า ข้อดีกับข้อเสียของน้องมีอะไรบ้าง อย่างละ 5 ข้อ ... น้อง อ. ครับ ผมลองพับกระดาษอะไรก็ได้ให้คุณแม่

[สังเกตพูดคุยขณะทำกิจกรรมกับน้อง อ.] น้องพับด้วยความคิดสร้างสรรค์เป็นรูปหัวใจ เคยพับเล่นเองในห้องเรียนโดยไม่มีคนสอน แต่ต้องกระตุ้นให้เขียนข้อความบนหัวใจ น้องเขียนว่า "รักแม่มากที่สุด" แล้วลงชื่อ และต้องกระตุ้นให้บอกให้น้องนำหัวใจไปมอบให้คุณแม่ คุณแม่และน้องกอดกันโดยคุณแม่พยายามบอกตลอดเวลาว่า "กอดกันบ่อยมากๆ" แต่สีหน้าคุณแม่ดูเครียดและกังวล

ดร.ป๊อป: เอาหละผมจะให้คุณแม่และน้องอ.สะท้อนความรู้สึกผ่านการวาดภาพบนกระดาษ ให้เลือกเองว่าจะวาดอะไรก่อนหลัง ได้แก่ ภาพบ้าน ภาพคน และภาพต้นไม้

[สังเกตพูดคุยขณะทำกิจกรรมกับทั้งแม่และลูก] 


คุณแม่เลือกวาดต้นไม้ คน และบ้านตามลำดับ สะท้อนถึงความต้องการมีชีวิตชีวาในธรรมชาติ (ภาพต้นไม้ดอกไม้ดูสมบูรณ์) แต่ภาพตนเองดูไม่สมบูรณ์ แม้จะยิ้มก็บ่งบอกความไม่มั่นใจในตนเอง ซึ่งคุณแม่ดูยอมรับว่า "ใช่ นี่คือตนเอง" และสุดท้าย ภาพบ้านในแนวขวาง ดูมีความต้องการให้ผู้อื่นเข้าถึงบ้านได้ แต่ประตูหน้าต่างปิดเหมือนมีปัญหาที่ค้างคาในใจอยู่ตลอดเวลา 

คุูณลูกเลือกวาดบ้าน ต้นไม้ และคนตามลำดับ สะท้อนถึงอนาคตและความหวังที่ออกแบบเองได้ว่า "อยากอยู่บ้านทรงไทยท่ามกลางธรรมชาติและพลังแสงอาทิตย์" (ตัวภาพมีสามมิติบ่งชี้ถึงศักยภาพของเด็กวัย 11 ปี ซึ่งทราบภายหลังว่าน้องมีความสามารถพิเศษหรือพรสวรรค์ในการวาดรูป อยากเป็นสถาปนิก แม้จะไม่บอกทันที รวมทั้งน้องชอบความรู้ด้วยการอ่านหนังสือวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์) แต่ภาพต้นไม้ดูมีการละเลงสีเมจิกจนกระดาษดูเปลือย มีลายเส้นย้ำไปมา มีการตวัดเส้นเป็นท้องฟ้า ทำให้ภาพรวมดูอ่อนไหวเกินไป สอดคล้องกับภาพคนที่คล้ายของแม่จนน่าแปลกใจ คือ มีผ้าพันคอดูอึดอัน แม้มีสียิ้ม แต่ดูภาพแขนขาไม่สมบูรณ์ แสดงความไม่มั่นใจในตนเอง

ดร.ป๊อป: จากภาพวาดของแม่และลูกน่าสนใจตามที่ผมบอกไปแล้ว ขอถามการพัฒนาเด็กของน้องในวัย 6 เดือน และ 6 ขวบ มีภาวะทางอารมณ์เป็นอย่างไรบ้าง

คุณแม่: ตอนน้องเล็กๆ ร้องไห้บ่อยมาก พออุ้มก็จะหยุดร้องไห้ทุกครั้งไป แต่พอโตขึ้นก็มักร้องไห้เมื่อแม่ตีลงโทษ [เมื่อดูที่แม่เขียนข้อเสียของน้อง คือ ดื้อ ไม่ทำการบ้าน เล่นมากเกินไป ส่วนข้อดีของน้อง คือ ชอบเล่นกีฬา รักแม่ ซึ่งดูเหมืิอนแม่จะมองข้อเสียมากกว่าข้อดีของลูก] 

ดร.ป๊อป: ที่คุณแม่พาน้องมาที่คลินิกกิจกรรมบำบัด เพราะคุณแม่คิดว่า น้องสมาธิสั้น ไม่ทำการบ้าน คุณแม่ลองบอกซิว่าคุณแม่เคยโดนตีในวัยเด็กไหม

คุณแม่: ใช่ เป็นลูกคนกลาง และโดนแม่ตี ก็พยายามหนีบ่อยครั้ง ยอมรับว่ามีผลทำให้ตนเองใจร้อน โมโหง่าย พยายามใจเย็น คุยกับลูก ลูกก็ไม่ทำตาม ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร

ดร.ป๊อป: ขอคุณแม่บอกเรื่องความสุขของครอบครัวในปัจจุบันซิครับ

คุณแม่: ตอนนี้แม่อยู่กับลูกสองคน พ่อเค้าไม่เอาครอบครัว แยกทางกัน บางอาทิตย์ลูกก็จะไปหาพ่อ ตัวเองจะไม่ทานข้าวร่วมกันพ่อแม่ลูก รู้สึกว่าแม่เลี้ยงลูกได้อย่างอบอุ่นเป็นสองเท่า

ดร.ป๊อป: คุณแม่ลองคิดดู เวลาที่แม่บอกลูก แล้วลูกไม่ทำ แสดงว่า คุยกันไม่เข้าใจตามที่คุณแม่คาดหวังไว้ ใช่ไหม

คุณแม่: ใช่ค่ะ แล้วจะทำอย่างไร

ดร.ป๊อป: ตอนนี้ผมขอสรุปประเด็นที่ต้องพัฒนาใหม่ คือ เวลาที่แม่คุยกับลูก ขอให้บันทึกเป็นสัญญากระดาษและสัญญาใจ โดยให้โอกาสไปทำตามสัญญา หากทำได้ก็ให้รางวัล เช่น ไปทานอาหารที่ลูกชอบ ให้เล่นกีฬาที่ลูกชอบ ฯลฯ หากทำไม่ได้ ลองกลับมาพูดคุยอีกครั้ง (ให้โอกาสไม่เกิน 3 ครั้ง) ตกลงกันว่า ถ้าผิดทั้ง 3 ครั้ง ลูกจะต้องรับผิดชอบอย่างไร เช่น หักค่าขนม บังคับตามใจแม่ได้ ฯลฯ พยายามลดการลงโทษแบบการตีให้น้อยลง หรือตกลงว่า ลูกให้แม่ตีได้เพื่อเป็นประสบการณ์ที่จะเรียนรู้ความผิดพลาดแล้วจะไม่ทำอีก ก็ทำได้แบบตีมือด้วยไม้บรรทัด 3 ครั้ง แต่มิใช่ตีลงโทษอย่างไม่เหมาะสม เมื่อคุณแม่ตี ต้องตีแบบเหตุผล ไม่ตีด้วยอารมณ์ ถ้ารู้ตัวว่าแม่มีอารมณ์โมโห หรือแบบไม่รู้ตัว ลูกก็ออกห่างแม่ไป ตกลงกันไว้ 10 นาทีให้แม่อยู่กับอารมณ์โมโหจนคลายมีสติ แล้วค่อยไปหาลูกเืพื่อบอกว่า "แม่ขอโทษที่อารมณ์ไม่ดีใส่ลูก" เช่นกันดูเหมือนอารมณ์ของแม่ก็ซึมซับมาอยู่ีที่ลูกด้วย (พันธุกรรมการควบคุมอารณ์อยู่ตามธรรมชาติถึง 10-30% แต่ผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมหรือบริบทต่อการแสดงอารมณ์ เช่น จากครอบครัว มีถึง 70-90% เห็นได้จากการร้องไห้มากกว่าปกติในวัยแรกเกิดถึง 6 เดือน บ่งชี้ถึงการพัฒนาอารมณ์ที่อ่อนไหว) คุณแม่เข้าใจอย่างไรครับ

คุณแม่: จะลองพยายามทำดู แต่ก่อนนี้ไม่เคยขอโทษ [หันไปหาลูก...ลูกต้องเตือนแม่ด้วยนะ]

ดร.ป๊อป: น้อง อ. ต้องเตือนแม่อย่างไรครับ ลองเขียนบนกระดาษดูซิครับ

น้อง อ.: หลีกหนีคุณแม่ตอนโกรธ แล้วรอให้แม่มาขอโทษ จากนั้นก็กอดแม่แล้วบอกว่า "ขอบคุณที่แม่หายโกรธ"

ดร.ป๊อป: แล้วน้อง อ. หละจะทำไม่ให้คุณแม่โกรธอย่างไร [ปิดตาน้อง อ. เพื่อไม่ให้สบตากับแม่และเป็นตัวของตัวเอง]

น้อง อ.: ก็จะพยายามทำการบ้าน ตั้งใจเรียน 

ดร.ป๊อป: ที่น้อง อ. ไม่สนใจเรียนจนดูเหมือนวอกแวก ไม่มีสมาธิ เพราะอะไรลูก

น้อง อ.: ก็มันเหนื่อย เบื่อ อยากวาดรูปและทำอย่างอื่น

ดร.ป๊อป: แต่เราเป็นเด็กดีต้องตั้งใจเรียนตามที่คุณครูบอก เพราะอะไรครับ

น้อง อ.: ไม่รู้ [หันหน้าไปถามคุณแม่]

ดร.ป๊อป: ผมต้องตั้งใจเรียนเป็นเด็กดี เพราะอะไรครับ [เงียบอยู่ 5 นาที แล้วเปิดที่ปิดตาออกจากน้อง อ.]

น้อง อ.: [เริ่มเห็นแม่ร้องไห้ น้ำตาซึม] ผมต้องไม่ให้แม่โกรธ 

ดร.ป๊อป: ผมต้องฝึกความรับผิดชอบทำการบ้านส่งตามเวลา โตขึ้นจะได้เป็นสถาปนิก ได้วาดรูปที่ชอบนอกเวลาเรียนนะครับ ทำได้ไหมครับ 

น้อง อ.: ทำได้ครับ 

ดร.ป๊อป: ถ้าน้องทำไม่ได้ คุณแม่จะทำอย่างไร

คุณแม่: คุยกับน้องมากขึ้น ควบคุมอารมณ์ของตนเอง เข้าใจว่า น้องเหมือนแม่มาก จะลองดูค่ะ จะลงโทษน้อยลง 

ดร.ป๊อป: ตกลง ถ้าคุณแม่ต้องฝึกการพัฒนาจิตสังคมเพิ่มเติม ก็แวะมาที่คลินิกกิจกรรมบำบัดได้ แต่อยากให้คุณแม่ลองฝึกควบคุมความโกรธและขอโทษ รวมทั้งลดการลงโทษสู่วิธีอื่นๆ ที่สร้างสรรค์ ที่สำคัญให้หากิจกรรมที่จะพัฒนาพรสวรรค์ของลูกให้ได้ เช่น การวาดรูปการ์ตูนกับเด็กที่สนใจเหมือนกัน การไม่บังคับกิจกรรมที่คุณแม่เลือกให้ทำเป็นประจำ-น้องสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามใจชอบและเป็นอิสระ การฝึกออมเงินของลูก การให้ทานเด็กยากไร้ การไปพักผ่อนหย่อนใจนอกบ้าน เช่น ในธรรมชาติ เป็นต้น ขอบคุณมากครับ

หมายเลขบันทึก: 532765เขียนเมื่อ 12 เมษายน 2013 11:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 เมษายน 2013 11:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

ดีจังเลยค่ะ...เป็นการสร้างสื่อสัมพันธ์ในครอบครัวที่สร้างสรรค์...ชวนพาเข้าถึงการค้นพบตนเอง...เพื่อพัฒนาปฏิสัมพันธ์ที่มีคุณค่าต่อจิตใจมากค่ะ...

ขอบคุณมากครับพี่นงนาท คุณหนูณิชน์ อ.จันทวรรณ อ.นุ คุณ Noktalay คุณ Krutoom และคุณทิมดาบ

สวัสดีปีใหม่ไทยครับ     ขอบคุณในสาระดี ๆ ครับ

..... ที่คลินิก WCC ... (Well Child Clinic ) ....  พบวัยไม่พร้อม .... เลี้ยงลูกไม่เป็น ... ขาดวุฒิทางปัญญา มากเลยนะคะ ... การเอาใจใส่ การเลี้ยง ไม่ดีไม่ถูกต้องนะคะ 

เป็นปรากฎการณ์ที่ต้องพัฒนาอย่างจริงจังครับพี่เปิ้น

ขอบคุณมากครับคุณ Oraphan คุณชยันต์ และพี่โอ๋

ขอบคุณสำหรับเรื่องราวดีๆ นะคะ

แวะมาสวัสดีปีใหม่ไทย Dr. ค่ะ มีความสุขมากๆ นะคะ ^^

ขอบคุณมากครับคุณ blue_star และคุณจุไรวรรณ


<table><tbody><tr><td>Dr. Popอ่านแล้วรู้สึกว่ามีบางอย่างที่คล้ายกับบทความของน้องพ.เลยนะคะ ในแง่ของแม่เห็นลูกไม่เหมือนเด็กคนอื่นเลยคิดว่าลูกผิดปกติ ทั้งๆที่ความจริงเป็นเพราะการกระทำของตัวเอง บทความนี้เป็นเรื่องราวที่ดีมากค่ะ รู้สึกชอบการพูดของอาจารย์ แค่เข้ามาอ่านแล้วยังรู้สึกถึงความสบายไปด้วย </td></tr></tbody></table><p> เรื่องความสัมพันธ์ในครอบครัวคงไม่มีอะไรดีไปกว่าการประนีประนอมกัน หันหน้าเข้าหากัน เพราะความเข้าใจเป็นสิ่งที่ทำให้ทุกอย่างคลี่คลาย บทความนี้นอกจากจะนำไปใช้กับคนในครอบครัวได้แล้ว ยังสามารถนำไปใช้กับทุกคนได้เลยนะคะ โดยเฉพาะการหลีกหนีกับบุคคลที่ทำให้เราโกรธหรือเราทำให้เขาโกรธ หลังจากนั้นไปสงบสติอารมณ์แล้วค่อยมาปรับความเข้าใจ เป็นสิ่งที่ทุกคนควรจะทำให้ได้เลยค่ะ</p>

Dr. Popอ่านแล้วรู้สึกว่ามีบางอย่างที่คล้ายกับบทความของน้องพ.เลยนะคะ ในแง่ของแม่เห็นลูกไม่เหมือนเด็กคนอื่นเลยคิดว่าลูกผิดปกติ ทั้งๆที่ความจริงเป็นเพราะการกระทำของตัวเอง บทความนี้เป็นเรื่องราวที่ดีมากค่ะ รู้สึกชอบการพูดของอาจารย์ แค่เข้ามาอ่านแล้วยังรู้สึกถึงความสบายไปด้วย

เรื่องความสัมพันธ์ในครอบครัวคงไม่มีอะไรดีไปกว่าการประนีประนอมกัน หันหน้าเข้าหากัน เพราะความเข้าใจเป็นสิ่งที่ทำให้ทุกอย่างคลี่คลาย บทความนี้นอกจากจะนำไปใช้กับคนในครอบครัวได้แล้ว ยังสามารถนำไปใช้กับทุกคนได้เลยนะคะ โดยเฉพาะการหลีกหนีกับบุคคลที่ทำให้เราโกรธหรือเราทำให้เขาโกรธ หลังจากนั้นไปสงบสติอารมณ์แล้วค่อยมาปรับความเข้าใจ เป็นสิ่งที่ทุกคนควรจะทำให้ได้เลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท