สถานการณ์ใต้ ตอนที่ 13: ความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับปัตตานี : ยุคสมบูรณาญาสิทธิราช ตอนที่ 4


พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4)

       รัฐจารีตของไทยตั้งแต่โบราณ จะเป็นอยุธยา จะเป็นต้นสมัยรัตนโกสินทร์ อย่างไรก็ตามแต่ ถือว่าความหลากหลายทางชาติพันธุ์ของข้าราษฎรเป็นเกียรติยศของแผ่นดิน ฉะนั้นในวรรณกรรมจะพบว่ามีสิ่งที่เรียกว่าการออก 12 ภาษา คือ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความหลากหลายของข้าราษฎร มีทั้งมอญ เขมร ฝรั่ง จีน หรือญวน ทั้งหมดเหล่านี้เป็นการแสดงเกียรติยศของแผ่นดินทั้งสิ้น

       ในรัชกาลที่ 4 เรื่องความสำนึกในเรื่อง "คนไทย" ในเชิงการเมืองวัฒนธรรมได้เริ่มก่อตัวขึ้นในหมู่ชนชั้นนำ เพราะสนธิสัญญาเบาริงทำให้คนในบังคับของชาติมหาอำนาจไม่อยู่ภายใต้พระราช อำนาจและกฎหมายไทย การตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ที่มี "คนต่างชาติ" เข้ามาเกี่ยวข้อง จะต้องคำนึงถึงปัญหา "การเมือง" ที่ผูกติดกับปัญหา "ชนชาติ" อยู่ตลอดเวลา ความสำนึกเรื่อง "ชาติ" ที่เกี่ยวโยงกับอำนาจการเมืองจึงก่อตัวขึ้น จนเป็นจุดเริ่มต้นของ"ชาตินิยมทางการเมือง"ในหมู่ชนชั้นนำขณะเดียวกัน การที่ชาติตะวันตกอ้างความเหนือกว่าทางอารยธรรมในการยึดครองอาณานิคม ก็ทำให้ชนชั้นนำไทยต้องเน้นความศิวิไลซ์ของ "ความเป็นไทย" ทางวัฒนธรรม ที่สำคัญ ศิลปะและวัฒนธรรมไทย ไม่ว่าจะเป็นวรรณคดี ภาษาไทย มารยาทไทย พุทธศาสนา ศิลปะ ฯลฯ ยังเป็นรากฐานของการแบ่งชั้นและการจัดความสัมพันธ์เชิงอำนาจในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อีกด้วย ชนชั้นนำจึงจำเป็นต้องสร้าง "ชาตินิยมทางวัฒนธรรม" เพื่อทำให้คนในชาติมีความรักความผูกพันกับวัฒนธรรมไทย หรือ "ความเป็นไทย" ในทางวัฒนธรรมอย่างมั่นคง

      การวางรากฐาน "ความเป็นไทย" หรือชาตินิยมทางวัฒนธรรม ยังเห็นได้จากการสถาปนาธรรมยุติกนิกาย ทรงทำให้พุทธศาสนามีลักษณะที่เน้นอุดมคติที่สามารถบรรลุได้จริงใน "โลกนี้" มากขึ้น ทำให้ได้รับได้รับความเลื่อมใสจากคนสมัยใหม่สืบมา นับเป็นรากฐานของพุทธศาสนาแบบโลกียธรรมที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของ "ความเป็นไทย" ที่ได้รับการเผยแผ่อย่างมากในระยะหลัง ทรงเน้นให้ทำการศึกษาพุทธศาสนาจากพระไตรปิฎกเพื่อลดความแตกต่างของพุทธศาสนา ในท้องถิ่นต่าง ๆ ที่เอื้อให้เกิดเอกภาพทางความคิด ทรงปรับเปลี่ยนพระราชพิธีต่าง ๆ ให้มีรากฐานอยู่บน "พุทธศาสนาแบบไทย" ทรงปรับเปลี่ยน "ภาษาไทย" กับ "มารยาทไทย" ให้เหมาะกับสังคมไทยสมัยใหม่ ฯลฯ พระราชกรณียกิจเหล่านี้ช่วยเสริมสร้างความสูงส่งและความเป็นอันหนึ่งอัน เดียวกันของวัฒนธรรมไทย จนกล่าวได้ว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงวางรากฐานทางอุดมการณ์ ชาตินิยมของไทยที่เน้นว่าพระมหากษัตริย์และพุทธศาสนามีความสำคัญสูงสุดในการ ทำให้ "เมืองไทย" มีระเบียบ ความสงบสุข ความมั่นคง และความเจริญก้าวหน้า

หนังสืออ้างอิง

เกษียร เตะชะพีระ. “เมืองไทยในเงาคึกฤทธิ์” (ตอนต้น)http://www.siamintelligence.com/thailand-under-kukrit-shadow-i/ เข้าถึงเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2556

นิธิ เอียวศรีวงศ์. ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม. http://www.prachatai.com/journal/2008/12/19495

เข้าถึงเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2556

ภิศักดิ์ กัลยาณมิตรลัทธิชาตินิยมในราชอาณาจักรสยาม (1)http://www.oknation.net/blog/print.php?id=413423เข้าถึงเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2556

ภิศักดิ์ กัลยาณมิตรลัทธิชาตินิยมในราชอาณาจักรสยาม (2).http://www.oknation.net/blog/pisak/2009/03/19/entry-7 เข้าถึงเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2556

ธงชัย วินิจจะกุล. ประวัติศาสตร์ชาตินิยม อันตรายยของลัทธิชาตินิยมไทย (กรณีเหตุการณ์รุนแรงที่ปัตตานี.http://www.oknation.net/blog/shukur/2009/11/30/entry-1. เข้าถึงเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2556

สายชล สัตยานุรักษ์.ชาตินิยม วัฒนธรรม และความขัดแย้งhttp://prachatai.com/node/19457/talk

เข้าถึงเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2556

สายชล สัตยานุรักษ์.. ปัญหาใหญ่ของ 3 จังหวัดภาคใต้ (และทั่วประเทศ) คือ ความยากจนทางอำนาจ.http://www.peace.mahidol.ac.th/th/index.php?option=com_content&task=view&id=103&Itemid=156 เข้าถึงเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2556

สายชล สัตยานุรักษ์ .การสร้างความเป็นไทยกระแสหลัก และ"ความจริง"ที่"ความเป็นไทย"สร้าง (ตอนที่ ๑). http://61.47.2.69/~midnight/midnight2545/document9581.html

เข้าถึงเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2552


หมายเลขบันทึก: 532711เขียนเมื่อ 11 เมษายน 2013 14:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 เมษายน 2013 14:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท