การฝึกสติแบบพื้นฐาน


มีสติจะทำสิ่งที่ไม่ดีได้ยาก ที่สำคัญต้องลงมือทำ

  คนเราต้องใช้ชีวิตในสังคมที่เต็มไปด้วยสิ่งแวดล้อมที่ล่อแหลมอันนำไปสู่การขาดสติได้โดยง่าย ถ้าได้รับการฝึกสติมาบ้างก็จะทำให้เราอยู่กับสิ่งรอบข้างได้โดยไม่รู้สึก อึดอัดขัดข้อง หรือทุกข์น้อยนั่นเอง  ผมมีโอกาสได้พูดคุยกับผู้ที่ผมเคารพท่านได้แนะวิธีฝึกสติแบบง่ายๆที่เราสามารถปฏิบัติได้ในชีวิตประจำวัน ผมก็ถือโอกาสมาเล่าต่อ...

  ท่านบอกว่าการฝึกสติให้ทำง่ายๆดังนี้  ไม่ว่าเราจะทำอะไรในทุกเรื่องให้ทำด้วยจิตเป็นกุศล  เราเองจะรู้ว่าที่เราทำนั้นจิตเราเป็นเช่นไรตัวเรารู้ดีที่สุด  ถ้าเราทราบว่าขณะที่ทำ  และจิตไม่เป็นกุศลก็ให้ปรับวิธีคิดใหม่แล้วให้ตรวจสอบดูว่าทำไมเราจึงทำเช่นนั้นแล้วพยายามหาเหตุและไม่ทำอีก  แล้วมาสรุปดูว่าวันหนึ่งๆเราทำในสิ่งที่ไม่เป็นกุศลมากน้อยเพียงใด  ให้ทำไปและประเมินไปเรื่อยๆ จนวันหนึ่งเราจะพบว่าเราจะทำในสิ่งที่ดีเป็นกุศลมากขึ้นในทุกเรื่อง  จิตก็จะสบาย  สมองก็จะมีแต่เรื่องบวก เรื่องดีๆ เราก็จะคิดได้แต่สิ่งดีๆเสมอ เราก็จะมองทุกอย่างรอบตัวมีแตสิ่งดีงามพร้อมรับกับทุกเรื่องที่เข้ามาได้อย่างดี  แต่ท่านบอกว่าสิ่งที่จะนำให้เราไปสู่อกุศลได้ง่ายก็คือ อำนาจ ทุนหรือเงิน และสุดท้ายก็คือ เหตุผล  เพราะเหตุผลที่เราๆใช้กันเป็นเหตุผลเพื่อเอาชนะกับอีกเหตุผลหนึ่ง ซึ่งมีความหมายต่างจากเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดเหตุหรือสิ่งใหม่ที่มีความสัมพันธ์กัน ในทางธรรมครับ  หวังว่าท่านใดพอเห็นประโยชน์การฝึกสติจะลองไปปฏิบัติดูก็ยินดีครับ...

คำสำคัญ (Tags): #สติ#จิต
หมายเลขบันทึก: 53253เขียนเมื่อ 4 ตุลาคม 2006 15:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 08:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

หากมีสติ และใช้ปัญญาในการแก้ไขปัญหา ก็คลายทุกข์พบสุขปัจจุบัน ใช่มั้ยครับ...

ทุกวันนี้มีสิ่งกระทบมากมาย บางครั้งก็เผลอลืมตัว เกิดอารมณ์ลบกับตนเอง และกระจายไปยังคนรอบข้าง แต่หากหยุดคิดสักนิด ทบทวนสักหน่อย...จะรู้ว่า ทางออกมีมากมาย ที่สำคัญ เป็นโอกาสดีที่ได้เรียนรู้ และพัฒนาตนเองจากสถานการณ์จริง 

หากเหตุผล ที่เป็นเหตุผลทางธรรม คือ การพิจารณาตามเหตุปัจจัย มีสิ่งนี้ จึงมีสิ่งนี้ ใช้สติกำกับ อย่างนี้ ถือว่า เป็นเหตุผลที่ทำให้ เข้าถึงความจริงได้

ขอบคุณอาจารย์ครับ 

 ขอบคุณที่คุณจตุพร ให้ข้อคิดเห็น จริงแล้วความสุข(ไม่แท้จริง)จะเกิดจากความทุกข์ที่ลดลง หรือการสนองความต้องการ ความ อยากได้ ไม่อยากได้ ของเรานั่นเอง  โดยยึดตัวเองเป็นที่ตั้ง  จนมองไม่เห็นว่าทุกสิ่งเป็นสมมุติ เนื่องจากกระบวนการทดแทนสิ่งเดิมที่รวดเร็วและต่อเนื่อง  เหมือนเราดูหนังเราจะเห็นภาพเคลื่อนไหวทั้งๆที่ มันเป็นภาพที่เกิดแล้วดับในแต่ละภาพที่นำมาเรียงกัน ทุกสิ่งก็เป็นเช่นนั้นครับ ถ้ามองด้วยสติจะเห็นภาพที่หยุดนิ่ง และไม่มีอะไรที่สามารถตั้งอยู่ในสภาพนั้นแต่จะเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาครับ...
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท