สมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย เสนอแก้ปัญหาหนี้สินชาติ


ให้สถาบันบริหารงานแก๊สเรือนกระจก “รับขายคาร์บอนเครดิตจากต้นไม้”ให้ได้ เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับคนปลูกต้นไม้

ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วย

การแก้ไขปัญหาหนี้สินแห่งชาติ

เสนอ

ประธานกรรมาธิการแก้ไขปัญหาหนี้สินแห่งชาติ

สภาผู้แทนราษฎร

รวบรวมโดย

สมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย

สมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย

50 ถ.พหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร

กรุงเทพมหานคร 10900 (กรมการข้าว)

   15 มีนาคม 2556

เรื่อง  ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการแก้ไขปัญหาหนี้สินแห่งชาติ

เรียน  ประธานกรรมาธิการแก้ไขปัญหาหนี้สินแห่งชาติ

  ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการแก้ไขปัญหาหนี้สินแห่งชาติ มีดังนี้

1.  รัฐบาลควรจัดตั้ง “สถาบันซื้อหนี้แห่งชาติ” จากประชาชนทั่วไปและเกษตรกร ซื้อหนี้ที่ถูกฟ้องและขายทอดตลาด

2.  จัดหาที่ดินให้ประชาชนที่ต้องการที่ดินทำกินอย่างน้อยคนละ 5 ไร่ โดยจัดเป็นระบบ

  “นิคมเกษตรกร” หรือ “ธนาคารที่ดิน” โดยผ่อนส่ง 20 ปีและออกเป็นโฉนดที่ดินให้

3.  จัดหาที่ดินให้ชาวนาที่ทำนาเช่าหรือมีอาชีพชาวนาที่ไม่มีที่ดินทำกินทุกครัวเรือนจัดเป็นระบบนิคมเช่นกัน ที่ผ่อน 20 ปีและออกเป็นโฉนดที่ดิน

4.  ให้ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่างในทุกพื้นที่ทำกิน 1600 ต้นต่อไร่ เพื่อค้ำประกันหนี้

  “เป็นธนาคารบำนาญชีวิต” ให้ประชาชน “ธนาคารป่า 3 อย่าง”

5.  ให้ประชาชนสามารถแปรรูปไม้ได้เพื่อเพิ่มมูลค่าไม้

6.  ให้สถาบันบริหารงานแก๊สเรือนกระจก “รับขายคาร์บอนเครดิตจากต้นไม้”ให้ได้ เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับคนปลูกต้นไม้

7.  สร้างธนาคารน้ำ “แก้มลิง” ในพื้นที่เกษตรกรรมโดยการขุดเป็นบ่อ 1 ใน 3 ของพื้นที่

  (เปรียบเสมือนเขื่อนขนาดเล็กทั้งประเทศ)

8.  ส่งเสริมให้ชาวนาสามารถมี “ฉางเก็บข้าว” และ “โรงสีข้าว” เพื่อแปรรูปข้าวจากการขายข้าวเปลือกเป็นขายข้าวสาร ตามความต้องการของชาวนาโดยการซื้อผ่อนส่งเป็นเวลา 10 ปี

  ดอกเบี้ยต่ำหรือไม่มีดอกเบี้ย (ไม่เอาของฟรี)

9.  ควรมีห้องเย็นให้เกษตรกรปลูกผัก,ผลไม้ทั่วถึง

10.  สร้างตลาดริมทางทั่วประเทศโดยประสานกับทางหลวงแผ่นดินจะทำให้คนมีงานทำประมาณ

  1ล้าน – 2ล้านคน (มีรายละเอียดแผนงานแนบท้าย)

11.  จัดตั้งกระทรวงข้าวไทยเพื่อพัฒนาข้าวอย่างครบวงจร

12.  จัดตั้งกระทรวงแพทย์แผนไทยเป็นการเพิ่มรายได้เกษตรกรอย่างมากจากสมุนไพรไทย

13.  ย้ายกระทรวงทั้ง 20 กระทรวงออกจากพื้นที่ กรุงเทพฯ ไปตั้งอยู่ 4 ภาค ภาคละ 5 กระทรวง เพื่อขยายความเจริญไปอยู่ 20 จังหวัด และจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องการจราจรในกรุงเทพฯอย่างถาวร และช่วยลดการใช้น้ำมันเป็นจำนวนมาก

14.  ตั้งกองทุนให้อาชีพเกษตรกรรมและชาวนาอย่างเป็นระบบ

15.  จัดส่งเสริมเครื่องจักรกล ในการทำเกษตรแก่กลุ่มหรือองค์กรเกษตร

16.  จัดระบบชลประทาน ระบบท่อให้ทั่วประเทศ โดยใช้ระบบติดมิเตอร์ จ่ายค่าน้ำให้คิดราคาถูกกว่า การใช้น้ำมันประมาณ 5 เท่าต่อ 1 ลูกบาตรเมตร (m3)

17.  ส่งเสริมการพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์พืช พันธุ์ข้าว และพันธุ์สัตว์ให้มีคุณภาพสูง ผลผลิตสูง ต้านทานโรค อย่างจริงจัง

18.  ส่งเสริมการลดต้นทุนโดยผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ยาสมุนไพร อย่างเป็นระบบให้เกษตรกรสามารถผลิตได้หรือราคาถูกกว่ากว่านี้

19.  ยกระดับเรื่องข้าว ให้เป็นความมั่นคงของชาติและเป็นพลังงานชีวิตที่สำคัญของชาติและของ “AEC” เพราะฉะนั้นควรจับมือกันเป็นกลุ่ม “ผลิตอาหารของ AEC” เพื่อขายในราคาเดียวกัน(มิใช่การตัดราคากันและราคาถูกเกินไป)

20.  ให้กระทรวงศึกษาทบทวนหลักสูตรการเกษตรของสถาบันการศึกษาด่วน เพราะเป็นหลักสูตรเชิงเดี่ยวและการซื้อเคมีเป็นหลัก ทำให้เด็กจบออกมาประกอบอาชีพไม่ได้เพราะรู้เรื่องเดียว มิใช่เรียนแบบบูรณาการทุกเรื่อง จึงช่วยตัวเองไม่ได้และประกอบอาชีพไม่ได้เช่น คนหนึ่งคนหากประกอบอาชีพเกษตร ควรรู้เรื่อง ดิน-น้ำ-ป่า-ปุ๋ยอินทรีย์-สัตว์บก-ประมง-พืช-สมุนไพร ฯลฯ แต่ปัจจุบันรู้เรื่องเดียวเช่น เรียนวิชาเอกสัตว์บาลก็เลือกว่าเรียนเรื่องอะไรเช่น เรื่องไก่ก็รู้เรื่องไก่ หรือ บางสถาบันเรื่องสัตว์ จะไม่รู้เรื่องอื่นเลย “การศึกษาเชิงเดี่ยวทำให้เป็นการทำลาย บุคคลากรของชาติเหมือนการปลูกพืชเชิงเดี่ยว”

  เวลา 4 ปี ในมหาวิทยาลัยซึ่งมากมายแต่เรียนเรื่องเดียวที่แคบมาก ไม่คุ้มกับการลงทุนทางการศึกษาและไม่สามารถพัฒนาคนให้รอบรู้และพึ่งตนเองได้

    แต่ปราชญ์หลายศูนย์ อย่างน้อย 40 ศูนย์สามารถสอนและปฏิบัติได้จริง โดยใช้เวลาแค่ 6 เดือนเท่านั้น (ครบทุกเรื่อง)

  จึงสมควรอย่างยิ่งที่ต้องทบทวนหลักสูตรใหม่

21.  ให้สถาบันการศึกษาวิจัย เรื่องข้าวว่าแปรรูปได้เป็นอาหารหรืออื่นๆกี่ชนิด มีการลงทุนเท่าไรต่อหน่วย เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า มิใช่ให้ชาวนาขายแต่ข้าวเปลือกมา 50 ปีเต็มและผลิตภัณฑ์เกษตรอื่นๆด้วย

  จึงคุ้มกับการลงทุนทางการศึกษา จะมีผลงานให้ประชาชนอย่างแท้จริง

22.  การจัดงบประมาณแผ่นดิน ต้องแก้ไขอีกมากเพราะ 82% ของงบประมาณเป็นเรื่องเงินเดือน และค่าใช้จ่ายราชการแค่ 18% เท่านั้นเป็นงบพัฒนา และ 18% ใช้ในการก่อสร้าง ถนน ศาลา ฯลฯถึง 80% เหลือแค่ประมาณ 5-6% เท่านั้นเป็นงบประมาณพัฒนาคน และไม่มีกองทุนให้ภาคการผลิต เกษตรจึงยากจนและมีหนี้สิน

  จึงสมควร จัดงบประมาณแผ่นดินใหม่ให้มีงบพัฒนาคนและกองทุนภาคเกษตรประมาณ 50% ของงบประมาณแผ่นดิน GDP ภายในประเทศของเกษตรจึงเพิ่มขึ้น รายได้เกษตรดีขึ้น GDP ของประเทศจะดีขึ้นเพราะเป็นความหวังใหม่ของประเทศ

23.  สร้างยุทธศาสตร์ “เรื่องปลูกป่าใช้หนี้”ทั้งแผ่นดิน โดย

  -ให้ประชาชนรวมกลุ่มอย่างน้อย 50 คนในจังหวัดเดียว

  -ปลูกต้นไม้อย่างน้อย 9 ต้น

  -จำนวนการปลูก 1 ไร่ ปลูก 1600 ต้น(1 ตารางเมตรละ 1 ต้น)

  -รัฐบาลช่วยออกค่าพันธุ์และค่าดูแลรักษา ในพื้นที่ได้ไม่เกิน 100 ไร่ ส่วนเกิน 100 ไร่ออกค่าใช้จ่ายเอง

  -รัฐบาลช่วยเหลือ ต้นละ 10 บาท เบิก 3 งวด ปีละ 1 งวด โดย

  งวดแรก   ต้นละ 5 บาท(ปีแรก)

  งวดที่ 2  ต้นละ 3 บาท(ปีสอง)

  งวดที่ 3  ต้นละ 2 บาท(ปีสาม)

  -การโอนเงินผ่านระบบกลุ่ม โดยกลุ่มเป็นผู้รับผิดชอบถ้าต้นไม้ตาย ต้องปลูกแซมหรือทดแทนเองและกลุ่มดูแล

  -มีกรรมการระดับตำบลและอำเภอและจังหวัดคอยตรวจกลุ่ม

  -มีงบอบรมและความรู้ให้กลุ่มในการปลูกต้นไม้เป็นเวลา 3 วัน 2 คืน หรือ 3 วัน

  -จะได้ยุทธศาสตร์ให้ประเทศ 11 เรื่องใหม่

  -จะได้เขื่อนขนาดเขื่อนป่าสัก 140 เขื่อน

  -จะได้เครื่องสูบน้ำ 160,000 ล้านตัว(ต้นไม้ดูดน้ำ สูบน้ำขึ้นฟ้า) โดยไม่ใช้น้ำมัน

  -งบประมาณได้จากโรงงานที่ต้องจ่าย 5% จากกำไรเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม(CSR) มาเป็นกองทุนปลูกป่าของชาติ(มีรายละเอียดแนบท้าย)

  -ทำให้ประเทศไทยมีมูลค่าจากทรัพยากรอย่างมหาศาล

24.  ทำการประกันภัยพืชผลการเกษตรเพราะปัจจุบันภัยจากธรรมชาติมีมาก ทำให้พืชผลมีความเสี่ยง

25.  แก้กฎหมายป่าไม้ ให้ต้นไม้ที่ปลูกในที่ดินประชาชนต้องเป็นของประชาชนทุกต้น แต่ต้นไม้ที่ปลูกในที่ดินของรัฐต้องเป็นของรัฐ ประชาชนจึงจะปลูกต้นไม้เพราะเป็นทรัพย์สินของตัวเอง ตัดได้และแปรรูปได้

26.  การสร้างตลาด 3 เกลอ เพื่อยกระดับรายได้ ทำให้เกษตรสามารถขายสินค้าได้ราคาเพิ่มขึ้นทั้ง 100-300% แต่ผู้บริโภคซื้อของถูกลง 30-40% ในตลาดชุมชนและตลาดนัด

27.  ส่งเสริมให้เกษตรทำการผลิต “ระบบเกษตรทฤษฎีใหม่” คือการทำแบบผสมผสานในแปลงเพราะจะได้เกื้อกูลกันหลายชนิด ไม่เสี่ยงกับราคาตลาด ไม่เสี่ยงกับการเกิดโรคระบาดและได้ผลผลิตสูง

28.  สร้างนักผลิตอาหารกลุ่มใหม่ ที่ผลิตอาหารปลอดภัยไม่ใช้สารเคมี(ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ยาเคมี) เพื่อยกระดับประเทศไทยให้เป็นแหล่งผลิตอาหารเพื่อสุขภาพในอนาคต(เกษตรอินทรีย์ที่แท้จริง) โดยการอบรม ฝึกฝนอย่างจริงจังเป็นเวลา 4-6 เดือนเป็นระยะเช่น ครั้งละ 21 วัน หรือ 30 วันให้มีเบี้ยเลี้ยงเท่ากับค่าแรงขั้นต่ำ “แต่เน้นให้อบรม ฝึกที่ศูนย์ปราชญ์ที่คณะกรรมการคัดเลือกเท่านั้น” ไม่ให้ฝึกที่หน่วยราชการและสถาบันการศึกษา

29.  นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในเรื่องการพึ่งพาตนเองทุกด้าน ในการพัฒนาเกษตรกรอย่างจริงจัง(ด้านการผลิต-การแปรรูป-การตลาด-การจัดทรัพยากร)

  จึงเรียนมาเพื่อทราบ

 

  ด้วยความนับถือ

    คณะกรรมการสมาคมชาวนาและเกษตรไทย

ลงชื่อ นายวิชึยร  พวงลำเจียก  นายกสมาคมฯ

ลงชื่อ นายชำนาญ ละมุลพันธ์  อุปนายกคนที่ 1

ลงชื่อ นายธนภัทร บุญจิตร  อุปนายกคนที่  2

ลงชื่อ นายไพบูลย์ บ็ญจะปัก  อุปนายกคนที่ 3

ลงชื่อ นาย อนุลม  แก้วปาน  อุปนายกคนที่ 4

ลงชื่อ นายภัทรธน  นุสติ  อุปนายกคนที่  5

ลงชื่อนายสุเทพ  คงมาก อุปนายกคนที่  6

ลงชื่อ นาย บุญแรม  วงศ์ สัมฤทธิ์  เลขาธิการ

ลงชื่อ  นายปราโมทย์ เจริญศิลป์  นายทะเบียน

ลงชื่อ นายแสวง  จุ้ยนุ้ย ผู้ช่วยนายทะเบียน

ลงชื่อ นายชาญยุทธ  ตรีศัพท์  เหรัญญิก

ลงชื่อ พลอากาศตรี สุนินทร์ อยู่เป็นแก้ว ที่ปรึกษากิติมศักดิ์

ลงชื่อ พันเอก พิเศษ ประเสริฐ  บัวเขียว ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์

ลงชื่อ นาย จิรัจฎ์ จันทร์กระจ่าง  ที่ปรึกษาสมาคมฯ

ลงชื่อนส.วันเพ็ญ  สมตัว ผู้ช่วยเลขา

ลงชื่อ นายไพโรจน์ รอดภัย ผู้ช่วยเลขาฯ

ลงชื่อ นายทองศรี  นาชัยนาค ผู้ช่วยนายทะเบียน

ลงชื่อ นายฐิติวัฒน์  กลีบมาลัย ผู้ช่วยเหรัญญิก

ลงชื่อ นาย อุทิศ  ฉิมนอก ผู้ช่วย เหรัญญิก

ลงชื่อ นาย พินิจ เพ็งสม ประชาสัมพันธ์

ลงชื่อ นาย สายศักดิ์ สิทธิธรรม ผู้ช่วยประชาสัมพันธ์

ลงชื่อ นายอุดม  เครือละมัย  ปฎิคม

ลงชื่อ นาย เปรียม  จงยัง กรรมการ

ลงชื่อนาย  ผา บุญลือ  กรรมการ

ลงชื่อ นายแสน่ห์  แซ่ฉั่ว  กรรมการ

ลงชื่อ นาย นายทวี  สมใจ กรรมการ

ลงชื่อ นาย ไพทูรย์ ชีกว้าง  กรรมการ

ลงชื่อนาย โยธิน  วงศ์น้อย กรรมการ

ลงชื่อนาย ดนัย ปัณยะตัง กรรมการ

ลงชื่อนาย วรายุทธนโชคสว่าง กรรมการ

ลงชื่อ นาย ยุทธชัย ร่มเย็น กรรมการ

ลงชื่อนาง พิกุล สร้อยเพชร กรรมการ

ลงชื่อ นาง นิยม สุวมาตร์ กรรมการ

ลงชื่อ นาย บุญเรือง จันทร์ทุ่ง กรรมการ

ลงชื่อ นาย ชูเชิด แสงอรุณ กรรมการ

ลงชื่อ นส. กุสุมาลย์ สมพร กรรมการ

ลงชื่อนายธีระสิทธิ์ อุตมะ กรรมการ

ลงชื่อ นางสุชานันท์ คำพวง กรรมการ

ลงชื่อ นาย พิพัฒน์ พิมสมาน กรรมการ

ลงชื่อ นาย นเรศ หอมหวล กรรมการ

ลงชื่อนาย เมธ สามารถ กรรมการ

ลงชื่อ นายพงศ์พรรณ บญหนูคง กรรมการ

ลงชื่อจอ. ภิภูษณ  อินทร์จันทร์ กรรมการ


หมายเลขบันทึก: 531925เขียนเมื่อ 2 เมษายน 2013 05:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 กรกฎาคม 2013 05:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

นาย นเรศ  หอมหวล   กรรมการชาวนาและเกษตรกรไทย   สุดยอดเลยท่านขอเป็นกำลังใจครับ

เป็นแนวคิดที่สร้างสรรค์..ตรงประเด็น..ให้กำลังใจค่ะ

เอาไปเลย 1.1 ล้านล้านบาท

ที่เหลือ มาประเมินหลังวัดผล 3 ปีแรก ;-)

(คาดผลคืนเงินลงทุน ได้ในเวลา 10-12 ปี ดีกว่าระบบรถไฟความเลวสูง)

สนับสนุน กับโครงการดีๆ

จริงๆแล้วรัฐบาลน่าจะลงทุนแบบนี้ดีกว่า รับรองยั่งยื่น ไม่ต้องใช้หนี้ 50ปี

เรียนนายหัวตุ้ม  ทำทะเบียนสมาคมเสร็จแล้ว โทรแจ้งด้วยครับ  หรือจะเมล์มาให้ที่ [email protected] ก็จะขอบคุณมากๆ

สวัสดีครับพี่ใหญ่  ปัญของใคร  คนนั้นแก้

ปัญหาหนี้สินชาวนา  ชาวนามีทางแก้ แต่รัฐต้องหนุน

รัฐหนุนแก้ หนี้ครู แก้หนี้ราชการ

แต่หนี้ชาวนา มีคนกลางมาทำหน้าที่  จึงแก้หนี้ไม่ตรงจุด

ปลูกไม้ใช้หนี้  ลงทุนน้อย แต่รัฐได้ประโยชน์หลายสถาน

ครูเป็นหนี้ เพราะครูบางคน กู้เงินดอกเบี้ยถูก ไปปล่อยกู้ดอกเบี้ยแพง

พอสำรวจหนี้ ก็บอกหนี้เป็นล้าน  ทั้ง ๆที่ เป็นเจ้าหนี้เงินดอก (ฮา........)

เรียนท่าน SR ฟังความคิด กรรมการ สมาคมชาวนา ถึงวิธีการแก้หนี้ แล้วมีทางออก ทางรอดของเกษตรกรไทย 

ด้วยเขาจัดการแก้หนี้ด้วยตนเอง รัฐหนุนเสริม ผ่านกลุ่มกระบวนการ 

การปลูกไม้ใช้หนี้ โครงการเดียว รัฐได้กำไรมหาศาล

ข้อเสนอของชาวนาหาก นักการเมืองจะเข้าใจ  นำไปบอกต่อรัฐ วางแผนแก้หนี้ชาวนาอย่างจริงจัง ชาวนาจะไม่สิ้นนา สิ้นชาติ

เรียนคุณยงค์  

ความคิดชาวบ้าน นักการเมือง เขาไม่เอาด้วย ค่าป่วยการน้อย

ชาวนาเขารักในการทำนา เขาหวงแหนผืนแผ่นดิน

แต่หลายที่ ทนกระแสเศรษฐกิจไม่ไหว

ต้องยอมทิ้งนา

น้องครูอิง พูดความจริงของครู บางคน .....เจ้าหนี้ ออกดอก

แล้วเวลาทวงหนี้ ความเป็นครูหายไปในพริบตา   เห็นมากับตา

สวัสดีค่ะคุณตา

  • พักบ้างเด้อ ทำแต่งาน งาน งาน

สวัสดีคี 

tuknarak

เรื่องหนี้สินชาวนา แก้กันมาหลายสิบรัฐบาล 

แต่ยิ่งแก้ ยิ่งเป็นหนี้
วันนี้ องค์กรชาวนา โดยสมาคมชาวนา 
มารวมหัวกันคิด แล้วเสนอทางแก้ ให้กับรัฐ
ตอนนี้ยื่นเรื่องไปที่รัฐสภาแล้ว
ในส่วนของสมาคมก็คุยกันวางแผนแก้หนี้ในส่วนที่แก้กันเองได้ เป็นรายบุคคล รายกลุ่ม
เพื่อนเรียนรู้ร่วมกัน

สวัสดีครับคุณ ยาย......

ยังคงมีสุข สนุกกับงานอาสา อยู่

ขอบคุณที่ห่วงใยในสุขภาพ

เรียนกรรมการสมาคมชาวนาภาคใต้ นัดพบกันทำยุทธศาสตร์ภาคใต้ วันไหน 

ติดต่อผู้ใหญ่บ่าว สุเทพ คงมาก หัวไทรด่วน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท