Archanwell
รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

ตอบคุณจารุดาที่ถามว่า "จดทะเบียนสมรสตามกฎหมายกับคนต่างด้าวเสียเงินเท่าไหร่คะ"


หากมีการเชื่อมฐานะข้อมูลทะเบียนราษฎรระหว่างรัฐไทยและรัฐต่างประเทศเจ้าของตัวบุคคลของคู่สมรสต่างด้าว ค่าใช้จ่ายในการทำหนังสือรับรองความเป็นโสดก็จะหมดไป การตรวจสอบว่า บุคคลมีการจดทะเบียนสมรสอยู่แล้วหรือไม่ ย่อมเป็นไปได้โดยระบบคอมพิวเตอร์ออนไลน์ระหว่างสำนักทะเบียนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งก็คงเป็นอนาคตของรัฐไทยที่เข้าสู่ประชาคมระหว่างประเทศที่แนบแน่นทางสังคมกับหลายประเทศในประชาคมโลก

ค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนสมรส

โดยรศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

ตอบคำถามเกี่ยวกับสิทธิก่อตั้งครอบครัวตามกฎหมายของประชาชนที่ถามมา

เมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๖

https://www.facebook.com/note.php?saved&&note_id=10151568002103834  

--------

คำถาม

-------

คุณจารุดาเข้ามาถามใน http://www.gotoknow.org/posts/443400?1364405120 ซึ่งเป็นบันทึกในเรื่อง “ตอบคุณแน่น : ควรคิดอย่างไรเมื่อสามีเป็นคนสัญชาติกัมพูชา ?” ว่า “จดทะเบียนจะเสียเงินเท่าไหรคะและเป็นคำถามหลังจากที่คุณ Annita ถามว่า “ขอรบกวนสอบถามและขอรายละเอียด คือตอนนี้แอนมีแฟนเป็นคนกัมพูชา เขาทำงานร้านอาหารเป็นหัวหน้ากุ๊ก อยู่เมืองไทยมา ๑๐ กว่าปี ตอนนี้มีแต่หนังสือเดินทาง ซึ่งมีอายุประมาณ ๑๓ วัน ต้องเดินทางไปต่ออายุตลอด เสียเวลาและค่าใช้จ่ายมาก เคยสอบถามและติดต่อกับหลายที่ ต้องใช้ค่าใช้จ่ายประมาณ ๑๔,๐๐๐ – ๑๕,๐๐๐ อยากทราบว่าต้องทำอย่างไรบ้างให้เขาอยู่เมืองไทยโดยไม่ผิดกฏหมาย ทำมาหากินได้นานๆ และต้องเสียค่าใช้จ่ายประมาณเท่าไหร่คะ ขอบคุณมากคะ”

อ.แหววจึงเข้าใจว่า คุณจารุดาถามถึงค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนสมรสระหว่างคนสัญชาติไทยและคนต่างด้าวนั่นเอง จึงขอมีคำตอบดังต่อไปนี้

--------

คำตอบ

-------

การเสียเงินในการจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายไทยนั้น เป็นเรื่องของค่าธรรมเนียม ซึ่งเป็นไปตามมาตรา ๒๕ แห่ง พระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พุทธศักราช ๒๔๗๘ ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา ๒๕

ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมีหน้าที่รักษาการเท่าที่เกี่ยวกับกระทรวงนั้น ๆ ให้การเป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อการนั้น และกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมที่จะเรียก

กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้"

กฎกระทรวงตามมาตรา ๒๕ ก็คือ  ข้อ ๑๒  แห่งกฎกระทรวงมหาดไทยออกตามความในพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พุทธศักราช ๒๔๗๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๒๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พุทธศักราช ๒๔๗๘ บัญญัติว่า

"ถ้านายทะเบียนไปจดทะเบียนสมรส หรือจดทะเบียนการรับรองบุตรนอกสำนักทะเบียนโดยมีผู้ขอ ให้นายทะเบียนเรียกค่าธรรมเนียมรายละสองร้อยบาท โดยให้ผู้ขอจัดพาหนะให้ ถ้าผู้ขอไม่จัดพาหนะให้ ผู้ขอต้องชดใช้ค่าพาหนะให้แก่นายทะเบียนตามสมควรทั้งนี้ เว้นแต่

(๑) การจดทะเบียนสมรส ณ สถานที่สมรสซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอนุมัติให้มีขึ้น ให้นายทะเบียนเรียกค่าธรรมเนียมรายละยี่สิบบาท

(๒) การจดทะเบียนสมรส หรือจดทะเบียนการรับรองบุตรนอกสำนักทะเบียนในท้องที่ห่างไกล เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนเป็นส่วนรวม ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดอนุมัติให้ทำได้ ให้นายทะเบียนเรียกค่าธรรมรายละหนึ่งบาท"

สรุป ก็คือ โดยทั่วไป จึงเท่ากับ ๒๐๐ บาท แต่ถ้าจดทะเบียนนอกอำเภอ/เขต/เทศบาล ก็ต้องเสียค่าพหนะถ้ามี เว้นแต่ (๑) กรณีการจดทะเบียน ณ สถานที่สมรส ณ สถานที่ รมต.มหาดไทยกำหนด  เสีย ๒๐ บาท และ (๒) กรณีการจดทะเบียนสมรสในท้องที่ห่างไกล เสีย ๑ บาท

แต่ในกรณีที่มีการจ่ายคนใช้ดำเนินการติดต่อประสานงานกับทางอำเภอ/เขต/เทศบาล ค่าจ้างบุคคลดังกล่าวเป็นไปตามที่ผู้จ้างและผู้ว่างจ้างตกลงกัน ในกรณีที่คู่สมรสเป็นคนต่างด้าวซึ่งอาจจะต้องมีการดำเนินการทำหน้าที่รับรองความเป็นโสดเพื่อที่จะพิสูจน์ว่า คู่สมรสไม่ทำการสมรสซ้อน กรณีนี้ก็อาจมีค่าใช้จ่ายในการทำหนังสือรับรองความเป็นโสดจากสถานกงสุลของรัฐเจ้าของตัวบุคคลของคู่สมรสต่างด้าว หรือในกรณีที่ไม่อาจทำ ณ สถานกงสุลดังกล่าว ก็อาจจะต้องไปทำในสำนักทะเบียนของรัฐต่างประเทศซึ่งเป็นรัฐเจ้าของตัวบุคคลของคู่สมรสต่างด้าว และเมื่อได้มา ก็จะต้องทำการแปลจากภษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย ตลอดจนการทำการรับรองทางนิติกรณ์โดยกระทรวงการต่างประเทศของรัฐที่เกี่ยวข้องทั้งสอง กรณีจึงต้องมีการทำงานหลายขั้นตอน ค่าใช้จ่ายนี้ ก็อาจเพิ่มขึ้นมา แต่หากสมรสดำเนินการแสวงหาหนังสือรับรองความเป็นโสดเอง ก็คงมีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ตามที่จ่ายจริง

หากมีการเชื่อมฐานะข้อมูลทะเบียนราษฎรระหว่างรัฐไทยและรัฐต่างประเทศเจ้าของตัวบุคคลของคู่สมรสต่างด้าว ค่าใช้จ่ายในการทำหนังสือรับรองความเป็นโสดก็จะหมดไป การตรวจสอบว่า บุคคลมีการจดทะเบียนสมรสอยู่แล้วหรือไม่ ย่อมเป็นไปได้โดยระบบคอมพิวเตอร์ออนไลน์ระหว่างสำนักทะเบียนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งก็คงเป็นอนาคตของรัฐไทยที่เข้าสู่ประชาคมระหว่างประเทศที่แนบแน่นทางสังคมกับหลายประเทศในประชาคมโลก

----------------------

อ้างอิงบทกฎหมาย

---------------------

พระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พุทธศักราช ๒๔๗๘

http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%a801/%a801-20-9999-update.pdf

กฎกระทรวงมหาดไทยออกตามความในพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พุทธศักราช ๒๔๗๘

ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมล่าสุดโดย กฎกระทรวง ฉบับที่ ๘ (พ.ศ. ๒๕๔๑)

http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%a801/%a801-2b-9999-update.pdf

----------------------

งานเขียนที่เกี่ยวข้อง

----------------------

(๑)  ฎีกาวิเคราะห์ : คำพิพากษาฎีกาที่ ๗๒๐/๒๕๐๕ : สิทธิในการสมรสของคนต่างด้าวในประเทศไทย, เขียนร่วมกับ จันทจิรา เอี่ยมมยุรา, ใน:วารสารนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์, ๒๔(๒๕๓๗), ๑๖๗-๑๘๘.

http://www.archanwell.org/autopage/show_page.php?t=1&s_id=273&d_id=272

http://www.archanwell.org/office/download.php?id=399&file=373.pdf&fol=1

(๒)  กรณีศึกษานายสมชาย แซ่เตินและนางเฮือง แซ่เหงียนใน ฎ.๕๘๐/๒๕๒๗ (นายสมชาย แซ่เติน ผู้ร้อง ร.อ.อรุณ พันธุ์ภักดี ผู้คัดค้าน) : สิทธิในการก่อตั้งครอบครัวตามกฎหมายไทยระหว่างคนสัญชาติไทยและคนไร้สัญชาติเชื้อสายเวียดนาม, เริ่มเขียนเมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๙, เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อวันพุธที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒

http://learners.in.th/blog/notes-of-archanwell-on-private-international-law/307562

http://www.archanwell.org/autopage/show_page.php?t=1&s_id=477&d_id=476&page=1

(๓)  สถานะแห่งสิทธิในการสมรสของคนต่างด้าวในไทย, บทความเพื่อเป็นอาจาริยบูชาแด่ท่าน รศ.วิมลสิริ ชำนาญเวช  เนื่องในโอกาสครบรอบวันเกิดของท่านในปี พ.ศ. ๒๕๔๕, ๑๗ น.

http://www.archanwell.org/autopage/show_page.php?t=1&s_id=272&d_id=271

http://www.archanwell.org/office/download.php?id=228&file=211.pdf&fol=1

(๔)  สิทธิในการก่อตั้งครอบครัวของบุคคลที่มีองค์ประกอบต่างด้าว, powerpoint ประกอบการสอนวิชากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล, เมื่อวันจันทร์ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๗, แก้ไขล่าสุดเมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒

http://www.archanwell.org/office/download.php?file=641.pps&fol=1

(๕)  อีกครั้งของการเรียนรู้กระบวนการใช้สิทธิในการก่อตั้งครอบครัวของคนชายขอบถือบัตรส้ม.....กรณีของหันลานแห่งสังขละบุรี, บทความเพื่อสาละวินโพสต์ : วารสารเพื่อความเข้าใจในประเทศพม่า  ฉบับที่ ๒๗ วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน – ๓๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๘

http://www.archanwell.org/autopage/show_page.php?t=1&s_id=252&d_id=252

http://www.salweennews.org/law%20sp%2027.htm

(๖)  ความคืบหน้ากรณีสิทธิก่อตั้งครอบครัวและสิทธิการศึกษาของคนไร้รัฐ....กรณีนางสาวหันลานแห่งสังขละบุรีและนางสาวโอ๋แห่งปทุมธานี, บทความเพื่อสาละวินโพสต์ : วารสารเพื่อความเข้าใจในประเทศพม่า  ฉบับที่ ๒๘ (วันที่ ๑ มกราคม – ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๙)

http://www.archanwell.org/autopage/show_page.php?t=1&s_id=265&d_id=264

(๗)  สิทธิในการก่อตั้งครอบครัวของบุคคลที่มีองค์ประกอบต่างด้าว, รวมเอกสารประกอบการสอนวิชากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล, เริ่มเขียนวันจันทร์ที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๙, แก้ไขล่าสุดเมื่อวันศุกร์ที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

http://www.archanwell.org/autopage/show_page.php?t=2&s_id=52&d_id=53

(๘)  ตอบคำถามเรื่องการขอจดทะเบียนสมรสกับแรงงานต่างด้าวที่มีบัตรแรงงานสีชมพู, เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒

http://gotoknow.org/ask/archanwell/12622

(๙)  จาก พ.ศ.๒๕๔๘ ถึง พ.ศ.๒๕๕๒ : รัฐไทยปฏิบัติต่อคนชายขอบอย่างถูกต้องตามมาตรฐาน ICCPR หรือไม่ ?: ปัญหาสิทธิของคนชายขอบในการก่อตั้งครอบครัวตามกฎหมาย, บันทึกเพื่อโครงการการจัดทำรายงานประเทศไทยตามพันธกรณีภายใต้กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ฉบับที่ ๒, เมื่อวันที่ ๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑

http://gotoknow.org/blog/archanwell-iccpr/205458

(๑๐)  รวมงานเขียนเรื่องสิทธิในการก่อตั้งครอบครัวของคนที่มีองค์ประกอบต่างด้าวในประเทศไทย, เป็นงานวิจัยที่ทำตามความต้องการของสังคม มิได้รับทุนการวิจัยจากที่ใดเลย, เริ่มทำเมื่อวันพุธที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙, แก้ไขล่าสุดเมื่อวันเสาร์ที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒,

http://www.archanwell.org/autopage/show_page.php?t=2&s_id=52&d_id=53

(๑๑)สิทธิในการก่อตั้งครอบครัวของบุคคลที่มีองค์ประกอบต่างด้าว, powerpoint ประกอบการสอนวิชากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล, เมื่อวันจันทร์ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๗, แก้ไขล่าสุดเมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒

http://www.archanwell.org/office/download.php?file=641.pps&fol=1

(๑๒)ตอบคุณโอ๋เรื่องสิทธิสมรสตามกฎหมายระหว่างชายสัญชาติไทยและหญิงไร้สัญชาติจากพม่าที่กำลังร้องขอพิสูจน์สัญชาติพม่า ตลอดจนสิทธิร้องขอสัญชาติไทยโดยการสมรส, ตอบคำถามเกี่ยวกับสิทธิก่อตั้งครอบครัวตามกฎหมายของประชาชนที่ถามมา,  เมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๓

http://gotoknow.org/blog/law-for-humanity/339279

(๑๓)สิทธิในการจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายไทย : คนถือบัตรเลข ๐ มีสิทธิหรือไม่ ?, ตอบคำถามเกี่ยวกับสิทธิก่อตั้งครอบครัวตามกฎหมายของประชาชนที่ถามมา,  เมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๓

http://gotoknow.org/blog/law-for-humanity/351621

(๑๔)สิทธิสมรสตามกฎหมายไทยระหว่างครูหญิงไทยและชายต่างด้าวซึ่งถือ “บัตรสีชมพู”,ตอบคำถามเกี่ยวกับสิทธิก่อตั้งครอบครัวตามกฎหมายของประชาชนที่ถามมา, เมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๓

http://gotoknow.org/blog/archanwell-and-bkklegalclinic/377519

(๑๕)ตอบคุณผึ้งเรื่องสิทธิในการจดทะเบียนสมรสกับคนสัญชาติพม่า‏ภายใต้ MOU ระหว่างประเทศไทยและประเทศพม่าว่าด้วยการจ้างแรงงานต่างด้าว, ตอบคำถามเกี่ยวกับสิทธิก่อตั้งครอบครัวตามกฎหมายของประชาชนที่ถามมา,  เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๔

http://gotoknow.org/blog/archanwell-and-bkklegalclinic/420540

(๑๖)  ตอบคุณ patty เรื่องการจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายนิวซีแลนด์ของคู่สมรสสัญชาติไทย, ตอบคำถามเกี่ยวกับสิทธิก่อตั้งครอบครัวตามกฎหมายของประชาชนที่ถามมา, เมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๔

http://www.gotoknow.org/ask/archanwell/14663

(๑๗)  ตอบคุณ Naruethip เรื่องกฎหมายที่มีผลบังคับสถานภาพสมรสระหว่างบุคคลเพศเดียวกัน, ตอบคำถามเกี่ยวกับสิทธิก่อตั้งครอบครัวตามกฎหมายของประชาชนที่ถามมา, เมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๔

http://www.learners.in.th/blog/notes-of-archanwell-on-private-international-law/479736

(๑๘)ตอบคุณฝนเรื่องสิทธิจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายระหว่างชายสัญชาติไทยและหญิงสัญชาติพม่าซึ่งมีสถานะเป็นราษฎรไทยใน ท.ร.๓๘/๑, ตอบคำถามเกี่ยวกับสิทธิก่อตั้งครอบครัวตามกฎหมายของประชาชนที่ถามมา, เมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๕

http://www.gotoknow.org/posts/512622


หมายเลขบันทึก: 531516เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2013 11:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มีนาคม 2013 14:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท