EADP 9 : ระยะที่ 3 ผู้นำแห่งทศวรรษใหม่


สวัสดีครับชาว Blog และลูกศิษย์ EADP รุ่น 9 ทุกท่าน

กลับมาพบกันอีกครั้งสำหรับกิจกรรมการเรียนรู้ ระยะที่ 3  ผู้นำแห่งทศวรรษใหม่  ในหลักสูตรพัฒนาสมรรถนะผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) รุ่นที่ 9 (ปี 2556) หรือ EGAT ASSISTANT DIRECTOR DEVELOPMENT PROGRAM : EADP 2013  ในประเด็นที่ต่อเนื่องคือการพัฒนาผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ ระยะเวลา 4 วัน ที่ห้องอบรมเฟื่องฟ้า 3 อาคารนันทนาการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย บางกรวย จ.นนทบุรี ระหว่างวันที่ 26-29 มีนาคม 2556 ครับ  หวังว่าลูกศิษย์ของผมจะได้รับความรู้ มุมมอง และประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์เพื่อต่อยอดผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ สามารถนำมาพัฒนาตนเอง องค์กร กฟผ. และประเทศชาติต่อไปครับ ผมขอชื่นชมที่ทุกท่านสนใจ และได้นำเสนอแนวคิดดี ๆ จากการส่งการบ้านมาที่ Blog ซึ่งจะเป็นคลังความรู้ของพวกเรา มีประโยชน์มาก และผมดีใจที่ความรู้ดี ๆ ในห้องเรียนของเราจะได้แบ่งปันสู่สังคมในวงที่กว้างขึ้น

และเพื่อให้การส่ง Blog ของพวกเราง่ายขึ้น ผมจึงขอเปิด Blog ใหม่สำหรับกิจกรรม ระยะที่ 3  ผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ ในครั้งนี้ครับ

http://eadp-learningsociety.com/NP-21616-course_&_subject.html   

ทักทายผู้เข้าร่วมโครงการฯ โดย คุณธัญนพ พงษ์โสภณ วิทยากรพี่เลี้ยง

 

Panel Discussion หัวข้อ  “นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน (Social Innovation) กับการทำงานของ
กฟผ.
โดย    ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ ดร.เสรี พงศ์พิศ คุณศานิต  นิยมาคม คุณสุทธิเดช สุทธิสมณ์



 

อาจารย์จีระมอบหนังสือ 8K'+5K's: ทุนมนุษย์คนไทยรองรับประชาคมอาเซียนให้แก่ ดร.พจน์ ใจชาญสุขกิจ แทนคำขอบคุณ

 

บรรยากาศการเรียนรู้ หัวข้อ เทคนิคการสื่อสารกับสื่อสารมวลชน

ดย  ดร.พจน์ ใจชาญสุขกิจ

 

ดร.พจน์ ใจชาญสุขกิจ ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท และอาจารย์อิทธิภัทร ภัทรเมฆานนท์ ถ่ายภาพร่วมกัน

 

 

Learning Forum –Activities & Game Simulations

หัวข้อ  Managing Self Performance โดย  อาจารย์อิทธิภัทร ภัทรเมฆานนท์

 

บรรยากาศ Morning Coffee ช่วงเช้าก่อนเริ่มการเรียนการสอน

 

 

เริ่มต้นกิจกรรมการเรียนรู้อีกวัน แนะนำกิจกรรมน่าสนใจประจำวัน โดย อ.ธัญนพ พงษ์โสภณ

 

Panel Discussion หัวข้อ   “ธรรมาภิบาลของ กฟผ. โดย อดีตผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 2 ท่าน คือ  คุณไกรสีห์ กรรณสูต และ คุณสมบัติ ศานติจารี ร่วมด้วยอาจารย์ธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์                      ดำเนินรายการโดย
ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

 

วิชา ผู้นำกับการสร้างทุนทางจริยธรรมในองค์กร โดย คุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย

 

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ทักทายลูกศิษย์ EADP ต และเรียนเชิญคุณสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ผู้ว่าการ กฟผ. บรรยายพิเศษแก่ช่ว EADP9

 

ประสบการณ์การเรียนรู้ในรุ่น 2 ของข้าพเจ้ากับการปรับใช้เพื่อการ    บริหาร กฟผ. ในยุคที่โลกเปลี่ยน

โดย คุณสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ผู้ว่าการ กฟผ.

 

 

แสดงความขอบคุณท่านผู้ว่าการฯ

 

วิชา เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทย..ผลกระทบและการปรับตัวของ  กฟผ.

โดย  รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล และอาจารย์มนูญ  ศิริวรรณ

ดำเนินการอภิปราย โดย อ.ทำนอง ดาศรี

 

 

TQM/SEPA: ความเป็นเลิศและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ กฟผ. โดย    คุณพิบูลย์ บัวแช่ม รองผู้ว่าการบริหาร การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย อาจารย์สัญญา เศรษฐพิทยากุล คุณนริศ ธรรมเกื้อกูล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซี.พี. ออลล์ จำกัด (มหาชน) ดำเนินการอภิปรายโดย อาจารย์ทำนอง ดาศรี

 

 

กิจกรรมการเรียนรู้วันสุดท้ายของช่วงที่ 3

แนวคิด Blue Ocean กับการทำงานของ กฟผ. และการปรับใช้เพื่อสร้างโครงการแบบนวัตกรรมของ
กฟผ.
โดย
  รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ 

หมายเลขบันทึก: 531366เขียนเมื่อ 26 มีนาคม 2013 10:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มีนาคม 2013 13:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (172)

สรุปการบรรยายวันที่ 26 มีนาคม 2556

Panel Discussion หัวข้อนวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน (Social Innovation) กับการทำงานของ กฟผ.

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

นวัตกรรมทางสังคม (Social Innovation) มี 3 เรื่อง

1.  นวัตกรรมมี 3 ขั้นตอน

ทำอะไรใหม่

มีความคิดสร้างสรรค์

มีความรู้

2.  เปลี่ยนสิ่งเหล่านี้เป็น project

3.  โครงการประสบความสำเร็จและเป็นที่ยอมรับ

ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์

·  นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชนเป็นเรื่องใหญ่

·  สิ่งสำคัญสุดคือความสมานฉันท์ เป็นญาติผูกพันกันในฐานะคนไทย

·  คนไทยพร้อมรับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตอยู่แล้วเพราะเป็นผู้นำแสงสว่างและความเจริญมาสู่เขา แต่ทำไมคนรับไม่ได้

·  ชนบทวันนี้มีไฟฟ้า และความสะดวก นี่คือเครื่องมือในการพัฒนาและสร้างความสับสน ต้องบริหารข่าวสาร ทำเรื่องราวดีๆให้เป็นเรื่องวิเศษ เป็นหน้าที่ชาวกฟผ.ทุกคน

·  บทบาทสำคัญชาวกฟผ.

1.ทำงานในหน้าที่ให้ดี

2.ดูแลสังคมให้ดี ปัญหาสังคมคือ สังคมถูกทอดทิ้ง คนไทยทุกคนต้องดูแลสังคม ทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องวิเศษ

3.ต้องเข้าไปเรียนรู้ร่วมกันกับชุมชน ให้ชุมชนบอกเรา ว่ามีปัญหาอะไร มีข้อเสนอแนะอะไร วิธีนี้จะทำให้ได้รับความไว้วางใจมากขึ้น ไม่ใช่เราให้อย่างเดียว เราได้ด้วย อย่างน้อยก็ได้ความสุข

·  เราไปสามารถไปเยี่ยมชุมชนได้รูปแบบต่างๆเช่น

1.ในรูปโครงการ

2.การอบรม ดูงาน

3.ในฐานะส่วนตัว

·  ก่อนไปมหาวิชชาลัยอีสาน ควรจะอ่านข้อมูลก่อน

·  ชาวกฟผ.ลงไปชุมชนไปสอนทำก๋วยเตี๋ยว ถือว่าทำเรื่องธรรมดาให้เป็นเรื่องวิเศษ ทำเรื่องง่ายก่อนแล้วค่อยทำเรื่องยาก

·  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะครบรอบ 100 ปี จะมอบบัณฑิต ตั้งสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติทำงานให้ชุมชน ทำโครงการ 3 วัน 3 คืน เวลาทำงานต้องได้ใจคนที่เกี่ยวข้อง

·  ชาวกฟผ.ไปในนามส่วนตัวลงชุมชน ทำอาหารร่วมกัน นำความคุ้นเคยไปติดต่อ เมื่อกลับมาแล้วก็ยังติดต่อสื่อสารกันถ่ายทอดให้ลูกหลาน

·  จากกระบวนการดังกล่าวทำให้ผมมีเครือข่ายเป็นอาจารย์จากหลายสถาบัน

·  จุดสำคัญของสังคมไทยคือความเอื้ออาทร พร้อมที่จะเข้าใจกัน

·  ปัญหาใหญ่ของเราคือเรื่องสุขภาพ ถ้าบริโภคผักปลอดสารพิษก็ช่วยได้ กฟผ.มีเทคโนโลยีไปช่วยสร้างอาหารปลอดภัยในชุมชนได้ เพราะพอมีไฟฟ้า เราก็มีปั๊มน้ำ

·  อีกปัญหาคือการทำลายพื้นที่ป่า นำป่าดงดิบมาปลูกยางพารา

·  ประเทศไทยก็ทำอะไรไม่ทันเวลา ประชุมไซเตสออกกฎคุ้มครองไม้พยุงเมื่อหมดประเทศแล้ว

·  นักวิทยาศาสตร์นาซ่ามาแนะนำให้เตรียมอาหารใต้ดินไว้ จึงปลูกเผือกยักษ์ไว้

·  ปัญหาชีวิตแก้ได้ถ้ามีการจัดการความรู้และใช้ชุดเทคโนโลยี

·  เราควรไปช่วยให้กำลังใจ ช่วยเหลือเครื่องมือแก่ชุมชน

·  ควรนำจุดแข็งคือประโยชน์ไฟฟ้า มีการประเมินคุณประโยชน์ไปเสนอต่อชุมชน

·  ปัญหาคือชาวการไฟฟ้าทำงานแล้วไม่ค่อยเก็บผลงาน

·  ท่าทีลีลาการผูกมิตรสร้างเครือข่ายกับชุมชนไม่ยาก

·  เรียนในห้องได้ความรู้ เรียนนอกห้องได้ความจริง นำความรู้มาผสมผสานกับความจริง แล้วจะรู้จริง

·  ต้องสนใจชนบทแล้วชนบทก็จะไม่ทิ้งเรา ควรมาร่วมอุปการะสังคม

·  ยุคนี้คนไทยต้องมาทำงานเชิงลึก โดยลุกออกจากที่ทำงานมาช่วยหาทางแก้ปัญหา

·  ต้องคิดใหม่ หาช่องทางใหม่ๆ พัฒนาสังคมประเทศนี้

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

·  ผมได้ไปเยี่ยมท่านครูบา

·  ความคิดท่านครูบาต้องนำไปคิดต่อ

·  ถ้ามี re-union ควรไปพบกันที่ศูนย์การเรียนรู้ของท่านที่บุรีรัมย์

ดร.เสรี พงศ์พิศ

·  ผมมาในองค์การที่มี 2 บุคลิก ด้านหนึ่งเป็นพระเอก อีกด้านเป็นผู้ร้าย

·  สังคมจะดีขึ้นถ้าเป็นสังคมการเรียนรู้ องค์กรการเรียนรู้มีน้อยมาก ความคิดสร้างสรรค์ไม่เกิด

·  ขาดความรู้มือหนึ่งที่เกิดจากกการสร้างประสบการณ์ด้วยตนเอง

·  ถ้าไม่ลงทุนการเรียนรู้และมีการวิจัยมี แค่ 0.2% ของ GDP เป็นสังคมอำนาจกับเงิน เราก็จะอยู่ในกรอบตลอด

·  การเรียนรู้ที่ดีคือ หาวิธีทุบกระถางของไม้ในกระถาง แล้วลงดิน จึงจะโตเป็นไม้ใหญ่ ไม่ต้องรอใครรดน้ำก็โตได้

·  ลุงประยงค์ รณรงค์ได้รับรางวัลแมกไซไซเพราะเป็นนำผู้ชุมชนเรียนรู้ เป็นชุมชนเข้มแข็ง ลุงประยงค์ได้รับเชิญไปพูดที่ ADB

·  CNN ยกย่องว่า ถ้าชุมชนอื่นทำได้แบบชุมชนไม้เรียงนี้ ก็จะอยู่รอดได้

·  ลุงประยงค์ทำวิจัยนำประสบการณ์มาวิเคราะห์ได้แผนแม่บทยางพาราไทย ถือเป็นนวัตกรรมจากชุมชนเรียนรู้

·  ท่านเป็นตัวอย่างว่า เงินแก้ปัญหาความยากจนไม่ได้

·  ที่แก้ปัญหาไม่ได้เพราะขาดความรู้และปัญญา

·  ยุทธศาสตร์การพัฒนาไม้เรียง

·  เริ่มต้นจากการเรียนรู้ ถ้าไม่มีการเรียนรู้ก็จะทำตามคำสั่งและงบประมาณ ถ้ามีการเรียนรู้และปัญญาก็พึ่งตนเองบริหารจัดการเป็น

·  ยุทธศาสตร์การพึ่งพาตนเองด้านอาหารและพลังงานซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ที่สุด 2 เรื่อง ดินเป็นปัจจัยการผลิตอาหารที่สำคัญ

·  ผมส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกสบู่ดำ เป็นน้ำมันดีที่สุดสำหรับรถและเครื่องบิน เป็นเยื่อกระดาษยาวที่ดีที่สุดกก.ละ 500 บาท ชาวบ้านไม่ทราบเพราะไม่มีใครบอก ชาวบ้านควรจะผลิตและใช้เอง ขายเยื่อกระดาษให้บ่อสร้าง

·  หนี้สินคือสิ่งที่ชาวบ้านปรับตัวไม่ได้ เพราะถูกกระตุ้นจากทุนนิยมจึงซื้อหมด

·  เราต้องการระบบชุมชนที่มีพลัง ชาวบ้านพึ่งตนเองได้

·  ระบบที่ดีคือระบบที่ทำให้คนทำถูกได้ง่าย ทำผิดได้ยาก

·  ต้องรู้จักคิดนอกกรอบบ้าง

·  อยากให้มีสังคมการเรียนรู้จึงทำงานกับชาวบ้าน

·  ผมให้ชาวบ้านทำแผนชีวิตจัดการชีวิตตนเอง  สมัยโบราณพ่อแม่บอกหมด ยุคสมัยเปลี่ยน ก็มีคนอื่นๆมาบอกทำให้สับสน การวางแผนชีวิตสำคัญมาก

·  ต่อมาทำแผนการเงิน ส่งเสริมให้ชาวบ้านออม วางแผนใช้หนี้

·  วางแผนอาชีพ ให้เลิกทำนา 300 กก ต่อไร่ ต้องเป็นผู้ประกอบการ ทำเกษตรผสมผสาน ทำไร่ได้ 1 ตันครึ่ง เรามีจุดแข็งที่ไม่มีใครแข่งได้ เช่นมีข้าวสังข์หยดมีวิตามินอีมาก ทำให้เป็นหนุ่มสาวนาน ไม่แก่ง่าย ตายยาก โลกกลับมาสนใจสุขภาพ ต้องรู้จักกระแสโลก จะได้ตอบสนองได้เหมาะสม

·  วางแผนสุขภาพ กินเป็น อยู่เป็น ไม่ต้องไปหาหมอ ยาดีที่สุดคืออาหาร โรงพยาบาลดีที่สุดคือครัว หมอที่ดีที่สุดคือตัวเรา เงินเดือนสูงขึ้นทำให้บริโภคไม่ระวัง ทำให้ไขมันสูงขึ้น

·  ถ้าคนคิดจะเรียนรู้ ก็จะไม่มีปัญหาเงินและที่ดิน ถ้าไม่มีความรู้ แม้มีเงินและที่ดินก็จะหมด

·  ต้องนำเนื้อหาชุมชนมาเรียนและมาร่วมแก้ปัญหากับชุมชน

·  ฝรั่งชื่อมาร์ตินบอกว่า คนไทยมีปัญหาวิธีคิด ประเทศไทยมีความอุดมสมบูรณ์ น้ำ ดิน แดด แต่คนเข้าไปอยู่ในเมืองเพื่อรับค่าแรงวันละ 300 บาท พ่อเขารวยและมีความรู้ แต่ไม่มีความสุข แต่เขาอยากมีความสุข

·  จุดแข็งของไทย ไม่จำเป็นต้องวิ่งตามซัมซุง ซีพี แต่ผมพัฒนาระบบเศรษฐกิจของชาวบ้านกำหนดว่าปลูกอะไร ขายอะไร

·  ยิ่งคุณเรียนในตำรามาก ก็จะติดกรอบ ต้องคิดนอกกรอบให้ได้

·  ต้องทำให้ชุมชนเข้มแข็งและพึ่งตนเองได้

·  ผมให้ชาวบ้านปลูกไผ่เพื่อใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น

·  เรายังไม่ได้นำสิ่งที่ค้นพบจากวิจัยมาใช้ให้เป็นประโยชน์

คุณสุทธิเดช สุทธิสมณ์

·  Social Innovation กฟภ.

·  ปี 2503 ก่อตั้งกฟภ.

·  ปี 2539 SCADA

·  ปี 2547 SAP

·  ปี 2550 LO

·  ปี 2553 แผนแม่บท

·  วิวัฒนาการ

·  ยุคที่ 1 2503-2513 กฟภ.ต้องผลิตไฟฟ้าเองจ่ายไฟในเมืองใหญ่

·  ยุคที่ 2 ขยายไฟฟ้าชนบท

·  ยุคที่ 3 ขยายไปธุรกิจอุตสาหกรรม

·  ยุคที่ 4 เทคโนโลยี

·  ปัจจุบัน พัฒนาพร้อมแข่งขัน

·  นวัตกรรมไฟฟ้าชนบท

·  ตั้งแต่ปี 2510 เสนอโครงการขยายไฟฟ้า 4000 หมู่บ้าน คิดเป็นประมาณ 10% ดร.จุลพงศ์ ผู้ว่าการคนที่ 5 ไปนำเงินยูเสดและยูซ่อม ปี 2515 ทำ pre-feasibility study

·  ต่อมารัฐบาลออกแผน Accelerated Rural Electrification Program ประชาชนไม่ต้องออกเงินสมทบก่อสร้าง ได้ 6 หมื่นหมู่บ้าน

·  โครงการที่ธนาคารโลกให้เงินกู้ก็ไปทำที่อีสาน เป็นจุดเริ่มต้น แล้วก็มีการอนุมัติโครงการต่างๆ 50-60 โครงการ

·  ปัจจุบันทำได้ 74000 หมู่บ้าน

·  ทำจริงใช้เวลา 35 ปี ใช้เงินไปทั้งหมดเกือบ 5 หมื่นล้านบาท

·  ลำตะคองใช้เงิน 3 หมื่นกว่าล้านบาท

·  กฟภ.ใช้เงินอย่างประหยัดมาก

·  กฟภ.ลงทุน infrastructure น้อย

·  กฟภ.สร้างองค์กรการเรียนรู้ได้แนวคิด Peter Senge  จะทำห้องค์กรเป็นอมตะ เจริญเติบโตมีนวัตกรรม

·  แล้วนำมาทำเป็นยุทธศาสตร์

1. LO Awareness

2. Knowledge Auditing

3. Knowledge Critique

·  โครงสร้างกฟภ.

·  ระดับสูง 130 คน

·  First line manager 19000 มีการสร้างทีมพลวัตรกฟภ.ที่มีประสิทธิภาพ มีการจัดบรรยายวิชาการ ศึกษาดูงาน มีการทำ Team Learning และการทำวิจัย มีการแบ่งกลุ่มย่อยเป็นกลุ่มละ 80 คน ในแต่ละกลุ่มมีประธาน รองประธาน และกรรมการ

·  ยุทธศาสตร์และแผนแม่บทการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของกฟภ. ต้องสร้างวิสัยทัศน์ รอบรู้ เรียนรู้ มองไกลแล้วไปให้ถึง

·  สิ่งที่เป็นนวัตกรรมในสังคมเกิดจากวิสัยทัศน์ มองไกลแล้วไปให้ถึง

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

·  กฟภ.มีปัญหาคือการขยายไฟฟ้าไปชนบท ก็ทำได้ดี

·  กัมพูชา ลาว พม่า การไฟฟ้าในชนบทมีไม่ถึง 50%

·  Social Innovation กฟภ.คือการพัฒนาบุคลากร

·  ผู้ว่าการกฟภ.ไม่ต่อเนื่อง

คุณศานิต นิยมาคม

·  เราส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  สร้างความสุขคุณภาพชีวิตให้ประชาชนแต่บนเส้นทางที่ทำให้บรรลุเป้าหมายอาจกระทบชีวิตความเป็นอยู่ประชาชน

·  จากการไปบางปะกง ประเด็นทางสังคมสำคัญมาก กฟผ.จะทำอย่างไรให้สังคมยอมรับ

·  ตอนแรก กฟผ.สร้างความเจริญ ตอนหลังมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเมื่อมีการดำเนินการ

·  ตอนนี้มีกระแสสิ่งแวดล้อม เราต้องมีความรับผิดชอบ ต้องไปดูแลสังคม

·  เราต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย รัฐธรรมนูญให้สิทธิประชาชน สร้างโรงไฟฟ้าต้องฟังความเห็นของประชาชน

·  เราช่วยเหลือเกื้อกูลหน่วยงาน การให้ไม่ใช่คำตอบ ต้องสร้างสังคมที่มีความยั่งยืน โครงการต่างๆต้องเน้นเรื่องนี้

·  หลายหน่วยงาน CSV สร้าง Shared Value เหนือกว่า CSR

·  สิ่งสำคัญ

·  ต้องอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างยั่งยืนเสมือนคนในครอบครัว ใช้วัฒนธรรมเข้าหา อ่อนน้อมถ่อมตน

·  เมื่อเร็วๆนี้เราจัด Focus Group ว่า ทำมาก คนกำกับดูแลเห็นว่าเราทำดี แต่คนนอกเขามองเห็นความตั้งใจ กฟผ.อยากสร้างโรงไฟฟ้า บางส่วนบอกว่า ทำไมไม่บริหารการจัดการไฟฟ้าให้ดีก่อน

·  ต้องเป็นผู้ฟังที่ดี เข้าใจบริบทชุมชน

·  โครงการ CSR มีตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จ มีโครงการที่ใช้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง

·  ต้อง Balance ภายในองค์กรและวิ่งไปหาโอกาสใหม่ ที่จะนะเป็นตัวอย่าง

·  การเข้าหาชุมชนต้องเข้าหาคนที่คนในชุมชนเชื่อถือ ท่านอาซิสเป็นประธานอิสลามที่สงขลา ท่านรองผู้ว่าการก็เข้าไปหา เข้าไปถามว่ามีอะไรที่คนในชุมชนเป็นกังวลกับการทำงานของกฟผ.ได้แล้วปรับปรุงให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน

·  การเข้าไปฟังเขาด้วยความอ่อนน้อมเป็นการให้เกียรติเขาแล้วเขาก็จะให้ความร่วมมือ

·  กฟผ.นำคนไปช่วยสนับสนุนโภชนาการและการตลาดกะปินาทับที่มีมูลค่าเพิ่มหาศาล เป็นการสร้างนวัตกรรมที่มีส่วนร่วมกับชุมชน

·  เราศึกษาพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานความร้อนใต้พิภพที่สันกำแพง เราเข้าไปทำความคุ้นเคยชุมชน เขามาปรึกษาพลังงานแสงอาทิตย์จึงทดลองทำโรงอบพลังงานแสงอาทิตย์ ใช้ตากร่มหน้าฝน มีการทำตู้อบกล้วยตากม้วนทำให้ผลิตภัณฑ์สะอาด มีราคา

·  ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล มหาวิทยาลัยสงขลานำเถ้าลอยลิกไนต์ทำปะการังเทียมมีการออกแบบมีการหมุนวนคลื่นในตัวปะการังแล้วลดแรงกระแทกคลื่นเซาะฝัง

·  กฟผ.ต้องอาศัยพวกเราทุกคนมาช่วยกันขับเคลื่อนนวัตกรรมสังคมเพราะทุกคนต้องดูแล Stakeholders แต่ละกลุ่ม ต้องสร้างนวัตกรรมใหม่ๆให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม

·  เราต้องสร้างให้สังคมรักผูกพัน เชื่อมั่นไว้วางใจ ต้องเข้าไปดูแลสังคมไทย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

·  อยากให้กฟผ.ฝึกเรื่อง CSR ให้กับทุกคนในองค์กร

·  กฟภ.ลงทุนทำเรื่ององค์กรการเรียนรู้

·  กฟผ.ต้องพัฒนาคนแล้วคนในชุมชนต่างๆมองในแง่ดีด้วย

ช่วงแสดงความคิดเห็น

1.มีประสบการณ์อะไรที่นำจากจะนะมาใช้กับที่อื่นไม่ได้

2.จากคุณศานิตพูดที่เปรียบเทียบกฟผ.กับกฟภ. คนรักกฟภ.มากกว่า จะทำ CSR อย่างไร

การรอนสิทธิ์ชาวบ้านไม่ให้ปลูกสิ่งก่อสร้างสูง จะเข้าหาชาวบ้านอย่างไร

3. ทำไมกฟผ.ไม่สามารถสร้างในที่เดิมที่ไม่มีการต่อต้าน

4. ในอนาคต จะมีถ่านหินสะอาด 3200 เมกกะวัตต์ วางแผนว่าจะไปทำโรงไฟฟ้าในภาคใต้ มีนวัตกรรมใหม่ๆเพื่อชุมชนยอมรับกฟผ.มีบ้างไหม

5. ทั้งหมด ปัญหาที่เกิดขึ้นจากกระแสต่อต้าน กฟผ.ถูกต่อต้านมากที่สุดเพราะตามกรอบ แต่เอกชนสามารถทำได้สำเร็จก่อนเราในพื้นที่เดียวกัน อาจใช้วิธีทางเศรษฐกิจทำให้เสร็จได้ ทุกหน่วยงานในกฟผ.เคยหารือร่วมกันหรือไม่ เมื่อเดือนที่แล้วมีการประชุมเกี่ยวกับเรื่องนี้ ได้เสนอว่าให้มีศูนย์ทำ CSR ให้ไปในทิศทางเดียวกัน ยังไม่มีการสอน คนที่ทำอาศัยประสบการณ์ล้วนๆ กฟผ.น่าจะมีตัวกลางเผยแพร่งานกฟผ.และทำโครงการให้สำเร็จแต่ละโครงการ

6. Innovation ใหม่ๆด้านการสร้างโรงไฟฟ้ามีอะไรบ้าง

ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์

·  ควรลงไปล่วงหน้าร่วมทุกข์ร่วมสุขกับชุมชน ทำการบ้านเชื่อมสัมพันธ์ล่วงหน้า ควรจ้างมืออาชีพไปช่วยประสานให้นุ่มนวลและเป็นกันเองมากขึ้น นำความรัก ความเมตตา ความเข้าใจไปก่อน ต้องให้ประชาชนตอบคำถามแทนท่าน

คุณสุทธิเดช สุทธิสมณ์

·  กฟผ.ควรถอยมาอยู่ฝ่ายเทคนิคแล้วให้ปลัดกระทรวงพลังงานเป็นผู้นำในการประสานกับชุมชน

·  การหาที่ดินสร้างโรงไฟฟ้า ควรให้กระทรวงพลังงานหาที่ดินให้

·  กฟผ.ควรเป็นเถ้าแก่คุมการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด

ดร.เสรี พงศ์พิศ

·  กฟผ.ก็ควรจะถอยไปตั้งหลัก สู้ด้วยยุทธศาสตร์ รบด้วยปัญญา ชนะด้วยความรู้

·  ต้องสร้างภาคีเป็นหุ้นส่วนกับชุมชน สนองความต้องการของชุมชน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ทั้งองค์กรต้องมีวิญญาณการทำงานร่วมกับชุมชน

·  อาวุธอย่างเดียวที่เหลือของคนยากคือวัฒนธรรม

·  ต้องใช้ทุนทางปัญญาและทุนทางสังคมสร้างนวัตกรรม

·  ถ้าจะตอบโจทย์ในการทำงานร่วมกับชุมชน ต้องทำงานเป็นภาคี ทำให้เกิดทุนทางปัญญาและทุนทางสังคม

·  ควรอ่านบทความของผมโลกเปลี่ยน เรียนรู้ อยู่รอดและบทความ ไฟดับ ก็ดี

·  ควรเข้าไปดูเว็บไซต์มหาวิทยาลัยชีวิต life.ac.th

คุณศานิต นิยมาคม

·  แต่ละที่บริบทไม่เหมือนกัน

·  ในอดีต ที่กระบี่ คนไม่ต่อต้านโรงไฟฟ้าเพราะมีความสัมพันธ์ที่ดี

·  การทำงานต้องบูรณาการกันไป

·  ต้องมองปัญหา ดูว่ามีใครเกี่ยวข้อง ทำตามความต้องการชุมชน จะได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

·  เรื่องชุมชนเป็นเรื่องสำคัญ แต่ก็ยังมีช่องทางที่จะเกิดขึ้น

·  ควรให้ผู้นำระดับกลางและระดับล่างได้เรียนแบบรุ่น 9 แค่วันเดียวจะได้คิดร่วมกัน

·  ถ้าจะทำให้เกิดความสำเร็จ ต้องร่วมกันคิดและให้โอกาสการเรียนรู้เกิดขึ้นในมุมกว้าง ควรจัดโครงการ 2 วันให้คนกฟผ.ได้คิดเกี่ยวกับอนาคตกฟผ.

·  สิ่งสำคัญคือ การจัดการการเปลี่ยนแปลงให้ได้ สถานการณ์การไฟฟ้าเปลี่ยนไปหมดแล้ว

·  ใน HR Function เรายังไม่ได้สร้าง Learning Organization

·  ฟังแล้วต้องหาประเด็นที่เกิด Value Added 

สรุปการบรรยายวันที่ 26 มีนาคม 2556

Learning Forum หัวข้อ เทคนิคการสื่อสารกับการสื่อสารมวลชน

โดย ดร.พจน์ ใจชาญสุขกิจ

·  องค์กรในประเทศไทยเช่น เนคเทคมีการฝึกอบรมสำหรับทุกระดับในเรื่องการสื่อสาร ให้พูดได้ พูดรู้เรื่อง ให้คนเขาใจและมีคนชอบ

·  รู้จักใครต้องรู้จักให้จริง ประเทศไทยบริหารภายใต้ Connection

·  บริหารสื่อต้องเข้าใจลักษณะและบทบาทของแต่ละสื่อ ต้องเข้าใจเหตุผลเบื้องลึกว่าทำไมเขานำเสนอข้อมูลในแง่ดีหรือแง่ร้าย

·  ต้องรู้จักบริหารจัดการประเด็น รู้ว่าเรื่องใดต้องพูดเวลาไหนกับใคร

·  ต้องรู้จักผู้ฟังก่อน เรื่องที่พูดต้องเป็นเรื่องที่เขาอยากฟัง

·  องค์กรมีเรื่องราว 3 ด้าน

1.  Corporate Image เป็นสิ่งที่เราอยากเห็น

2.  Business Image เป็นสิ่งที่องค์กรทำ

·  สิ่งสำคัญคือ คนจำอะไรได้ สิ่งที่คนจำได้คือ Brand Image ไม่ว่าจะเป็นด้านบวกหรือด้านลบ

กิจกรรม อะไรควรเป็น Corporate Image และ Business Image ของกฟผ.และ Brand Image ควรจะเป็นอย่างไร

กลุ่ม 1

Corporate Image

·  โปร่งใส

Business Image

·  ความมั่นคงในการผลิตไฟฟ้า

Brand Image

·  ความมั่นคงในการผลิตไฟฟ้า

กลุ่ม 2

Corporate Image

·  ผลิตไฟฟ้าเพื่อความสุขของคนไทย

Business Image

·  ผลิตไฟฟ้าขายในราคาที่เหมาะสม

Brand Image

·  ยังนึกไม่ออก

กลุ่ม 3

Corporate Image

·  โปร่งใส

·  CSR

Business Image

·  ความมั่นคง

·  ไฟฟ้าราคาถูก

Brand Image

·  ผลิตไฟฟ้าเพื่อความสุขของคนไทย

กลุ่ม 4

Corporate Image

·  ค่าไฟสมเหตุสมผล

Business Image

·  ปฏิสัมพันธ์กับชุมชน

Brand Image

·  ผลิตไฟฟ้าด้วยความโปร่งใส

กลุ่ม 5

Corporate Image

·  โปร่งใส

Business Image

·  ผลิตไฟฟ้าความมั่นคงสูง

Brand Image

·  ผลิตไฟฟ้าเพื่อความสุขของคนไทย

·  อยากให้ค้นหาเจอ เพื่อจะได้เล่าให้ผู้อื่นฟัง เป็นข้อตกลงว่า

·  แม้สื่อมวลชนมีคำถามมากมายแต่สิ่งสำคัญคือคำตอบที่อธิบายให้เขาเข้าใจ

·  สิ่งที่คนจำได้ควรจะเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับภารกิจขององค์กร

·  Corporate Image มาจากภารกิจและวิสัยทัศน์

·  Brand Image ควรแปลงมาจากผลสัมฤทธิ์

·  สิ่งที่คนเชื่อถือศรัทธาในแบรนด์เป็นสิ่งที่มีมูลค่ามหาศาล

·  ต้นทุนชื่อเสียงมีมูลค่ามากกว่าทรัพย์สิน เนื้อหาในข่าวมันเข้าไปสู่ความทรงจำกับกลุ่มเป้าหมาย

·  บางหน่วยงานก็ตั้งสำนักงาน Digital Communication คอยดูว่ามีใครพูดถึงหน่วยงานในโลก Social Media แล้วไปอธิบายให้คนกลุ่มเหล่านั้นให้เข้าใจ

·  Social Media ก็เป็นความเปลี่ยนแปลงในรูปแบบหนึ่งด้านการสื่อสาร

·  วันหนึ่งมีข้อมูลมาถึงตัวเราวันละ 500-1000 ข้อมูลโดยประมาณ แต่เราจำได้ 2-3 เรื่อง

·  เรามีช่องทางสื่อสารข้อมูล แต่ถ้าเรื่องราวของท่านไม่น่าสนใจ ก็ไม่มีประโยชน์

·  เนื้อหาที่มี Business Image,Corporate Image และ Brand Image ต้องได้รับการปรุงแต่งให้น่าสนใจ

·  ดังนั้นต้องวิเคราะห์เป้าหมายผู้รับข้อมูลและความสนใจ รวมถึงวิธีการทำงานของแต่ละสื่อ

·  ถ้าให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ ต้องเป็นเรื่องราวที่คนสนใจและมีผลกระทบต่อสังคม

·  ถ้าให้สัมภาษณ์นิตยสาร ต้องมีข้อมูลเชิงลึกเป็นพิเศษ

·  ดังนั้น Keyword สำคัญที่สุด มีความยาวไม่เกิน 30 วินาที ต้องอธิบายให้ได้ ต้องศึกษาธรรมชาติของแต่ละรายการให้ลึกซึ้ง รูปแบบการถามเป็นอย่างไร มีเวลาตอบเท่าไร ตอบสิ่งสำคัญ

·  สำนักข่าวต่างประเทศต้องการทราบคำตอบที่สะท้อนผลกระทบในระดับภูมิภาค ต้องเป็นข้อมูลผ่านการวิจัยและเป็นข้อเท็จจริง

·  Social Media ทำให้ทุกคนเป็นผู้ให้ข้อมูลได้

·  บางครั้งต้องสนใจผู้นำความคิดผู้มีอิทธิพลทางความคิดด้วย

·  สื่อแต่ละสายมีคำถามที่สะท้อนภารกิจหน่วยงานเขา ซึ่งเป็นความสนใจของเขา

·  แต่ละองค์กรก็มีข้อกำหนดในการให้สัมภาษณ์บ้าง

·  ผู้บริหารสูงสุดต้องตอบได้ทุกประเด็น

·  ถ้าเป็นรองและผู้ช่วย ตอบได้ในส่วนที่เกี่ยวกับตนเอง แต่ไม่รวมเรื่องประเด็นอ่อนไหวเช่นการเงิน

·  ถ้าเป็นระดับต่ำกว่านั้น ตอบได้ในเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับนโยบาย

·  ข้อควรระวัง สิ่งที่พูดไม่เป็นข่าวเพราะ ความเข้าใจไม่ตรงกันระหว่างผู้ให้ข้อมูลและนักข่าว นักข่าวสนใจประเด็นที่เป็นกระแสมากที่สุด ถ้าเรื่องนั้นเกินขอบข่ายหน้าที่ที่จะตอบ ควรจะมีข้อตกลงร่วมกันกับองค์กรว่า จะอธิบายประเด็นอ่อนไหวอย่างไรต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและสื่ออย่างไร

·  การให้สัมภาษณ์ ถ้าไม่ตรงโจทย์ก็ต้องไม่มีใครสนใจ

·  ถ้าอยู่ในฐานะผู้ให้สัมภาษณ์ ต้องมีความพร้อมอธิบาย อย่าตอบในเรื่องที่ไม่รู้และไม่แน่ใจ เพราะมันเป็นชื่อเราและองค์กร

·  ต้องรู้เรา รู้เขา รู้โลก

·  ฝ่ายกลยุทธ์องค์กรแบ่งกันวิเคราะห์คู่แข่งเป็นทีม

·  ต้องรู้ว่า เราจะอธิบายหรือพูดอะไรบ้าง มันคือเนื้อหาหลักที่จะอธิบาย เราต้องศึกษาอย่างลึกซึ้งและเตรียมประเด็นที่ดีพอ

·  ควรใช้ Mindmap มาเรียบเรียงลำดับความคิด

·  เวลาพูดแล้ว ต้องเช็คความเข้าใจว่าเข้าใจตรงกันหรือไม่  ควรมีเอกสารประกอบให้

·  เราต้องมีข้อมูลของสื่อแต่ละสื่อว่าต้องติดต่อใคร (Update list) รวมทั้ง Update ความสัมพันธ์ ส่งการ์ดให้ในเทศกาลต่างๆ ส่งข้อมูลให้สื่ออย่างสม่ำเสมอ

·  ต้องเข้าใจว่า ข้อมูล Lifestyle และกระบวนการการทำงานของแต่ละสื่อ (Media Mapping)

·  อย่ามีประเด็นในการให้สัมภาษณ์มากจนเกินไป (One Message Key Message) ควรมีข้อมูลสำคัญชัดเจนเรื่องเดียว

·  เวลาให้สัมภาษณ์แล้ว ควรมีการทดสอบความเข้าใจ (Double Check)

·  ความใกล้ชิดผูกพัน นำมาซึ่งความสนิทสนมคุ้นเคย ต้องให้เวลาและความสนใจในกิจกรรมของสื่อนั้นบ้าง ส่งกระเช้าไปเยี่ยมเมื่อเจ็บป่วย

·  ต้องดูวิธีการสร้างเครือข่าย สื่อไทยไม่ทำงานโดยลำพัง รู้ว่าเขาชอบใครหรือไม่ชอบใคร

·  ความจริงใจสำคัญที่สุด อย่าคบสื่อเพราะเขามีประโยชน์ ต้องสนใจในระดับความเป็นเพื่อน

·  ความน่าเชื่อถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุด อย่าให้ข้อมูลเท็จ ถ้าเป็นเรื่องที่คุณพูดไม่ได้ ก็บอกว่า ผู้ที่ตอบได้ดีที่สุดในเรื่องนี้คือใครอาจเป็นระดับที่สูงกว่า หรือบอกว่ายังมีข้อมูลไม่พอที่จะตอบเรื่องนี้

·  ต้องมีความสม่ำเสมอ

·  ความจริงใจสำคัญที่สุด

·  วิธีการดูแลเรื่องสื่อ

·  เชิญมาพูดอธิบาย

·  จัดแถลงข่าว ต้องมีประเด็นที่ชัดเจนพอ อย่าบ่อยเกินไปเพราะไม่น่าสนใจ ต้องสร้างบรรยากาศ มีของตัวอย่างมานำเสนอ

·  การสัมภาษณ์ ต้องดูว่าเป็นความอยากของใคร จะได้เตรียมข้อมูลได้เหมาะสม

·  ต้องรู้ว่าสื่อไหนให้ความสนใจ

·  ข่าวแจก

·  จัดกิจกรรมให้นักข่าวสนใจ

·  ในการให้สัมภาษณ์ ต้องรู้สถานการณ์ว่าเกิดอะไรขึ้น ให้พูดตามผู้ใหญ่แล้วจะไม่ผิด

·  ควรมีแผนรองรับภาวะฉุกเฉินหรือภาวะวิกฤติ

·  ปีนี้ ต้องให้ความสำคัญเรื่องสื่อมวลชน Social media และการหลอมรวมสื่อเข้าด้วยกัน

สรุปการบรรยายวันที่ 26 มีนาคม 2556

Learning Forum-Activities & Game Simulation

หัวข้อ Managing Self Performance

โดย อาจารย์อิทธิภัทร ภัทรเมฆานนท์

·  การเป็น The best ต้องเปรียบเทียบกับคนอื่น แต่การเป็น great person เราสามารถเป็นได้ด้วยตนเอง

·  Competency หมายถึง กลุ่มความรู้ ทักษะและคุณลักษณะซึ่งประกอบด้วยพฤติกรรม ทัศนคติและแรงบันดาลใจที่บุคลากรจำเป็นต้องมีเพื่อปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และเพื่อให้บรรลุสำเร็จตรงตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร

·  เราต้องเข้าใจตัวตนเราดีก่อน

·  คุณลักษณะที่มองเห็นคือ ทักษะและความรู้

·  คุณลักษณะที่มองไม่เห็นคือ ความเข้าใจ ทัศนคติ ค่านิยม การมองตนเอง

·  คุณลักษณะหนึ่งที่สำคัญที่เป็นสมรรถนะของผู้ที่จะประสบความสำเร็จ

1.  ความมุ่งมั่นทำงานให้สำเร็จ

กิจกรรม แข่งกระโดดสูง

บทเรียน

·  สิ่งที่ทำให้คนคิดว่าตนทำได้ดีและทำได้ไม่ดี ก็คือการขาดประสบการณ์ทำให้ทำได้ไม่ดี

·  คนเดิมกระโดด 2 ครั้งเป็นการ Benchmark จะได้เป็นการพัฒนา

·  คนทำได้ดีขึ้นเพราะการตั้งเป้าหมาย

·  สิ่งที่ทำให้คนมุ่งมั่นที่จะทำให้ดีขึ้นและไปสู่เป้าหมายที่สูงกว่า ก็คือ การแข่งขัน คนชอบแข่งขันต้องทำให้ผลักดันตนเองได้

·  เคล็ดลับที่ทำให้ประสบความสำเร็จคือฝึกสภาวะจิตให้มองเห็นภาพตนเองเป็นผู้ชนะ

·  ต้องมีเป้าหมาย และลองทำอะไรบางอย่าง จะได้ข้อมูลไปปฏิบัติ

วิธีก้าวจากจุดที่คุณอยู่ข้ามไปสู่จุดที่คุณต้องการ

1.คุณต้องรับผิดชอบชีวิตตนเอง 100%

·  สูตร: รับผิดชอบต่อชีวิตคุณ 100% โดย ดร.โรเบิร์ต เรสนิก นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน

·  E (เหตุการณ์)+R (ตอบสนอง) = O (ผลลัพธ์)

·  ถ้าเรายังไม่พอใจผลลัพธ์ในปัจจุบัน เรามี 2 ทางเลือก

·  โทษเหตุการณ์ที่ทำให้ไม่เกิดผลลัพธ์

·  เปลี่ยนการตอบสนองต่อเหตุการณ์

·  อย่างที่เป็นอยู่จนกว่าว่าจะได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ

·  คนเราไม่ได้เกิดมาล้มเหลว ถ้าไม่ล้มเลิก

·  บางทีเรามีปัญหาการสื่อสารในองค์กร ควรเปลี่ยนปัญหาเป็นคำถามว่า ควรทำอย่างไรให้การมีประสิทธิภาพ

·  ควรจะหยุดโค้ชตอนมีอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง

·  สมองทำงานได้ทีละอย่าง ถ้าทำหลายอย่างจะทำให้เป็นมะเร็งและตายเร็ว ผู้หญิงมีภาระมากจึงทำหลายอย่างในเวลาเดียวกัน

·  เราเป็นผู้ลงมือทำไม่ใช่รอให้สิ่งต่างๆเกิดขึ้น

·  ต้อง Empowerment Accountability

2.เข้าใจให้ชัดว่าทำไมคุณถึงอยู่ตรงนี้ คือ

·  เข้าใจตัวคนของคุณ

·  อะไรคือเหตุผลเบื้องหลังสิ่งที่คุณทำ

·  เห็นภาพการแสดงออกของผู้คนรอบตัวคุณอย่างไรในโลกอันสมบูรณ์แบบต่อการใช้ชีวิต

·  กิจกรรม ชมวีดิทัศน์ โจน จันได บทเรียนคือ คนเรามีสิทธิ์จะเปลี่ยนชีวิตตนเองได้ ต้องรู้จักเผชิญหน้ากับความจริง

·  คำกริยา 3 คำที่ขับเคลื่อนชีวิตมนุษย์ Be, Have, Do

·  ต้องแบ่งเวลามาคุยกันอย่างมีเป้าหมาย

·  จะประสบความสำเร็จได้ ต้องรู้ผลลัพธ์และลงมือปฏิบัติ

·  เวลาบริหารเวลาก็ต้องมีเข็มทิศชีวิตด้วย ต้องมีเป้าหมายก่อนที่จะบริหารจัดการเวลา

·  ภาวะทางจิตมีอิทธิพลต่อผลสำเร็จของการกระทำ

·  กิจกรรม Life Mapping วิเคราะห์ Discover ทำ Historical Scan หาจุดเปลี่ยนของชีวิตอย่างน้อย 5 จุดเปลี่ยน (Tipping Points Life map) แล้วจะทราบ Dream, Design และ Destiny

·  Hierarchy of Ideas

·  Chunking up คือ การคิดถึงจุดประสงค์ เจตนา ภาพรวม

·  Chunkingdown คือ การคิดถึงตัวอย่างเฉพาะเจาะจง

·  Chunkingside way คือ คิดว่ามีอะไรที่สามารถทำได้อีก  ทำให้มีความคิดสร้างสรรค์

·  R.P.M. เป็นการวางแผนชีวิตโดยคิดถึงสิ่งเหล่านี้

·  Result

·  Purpose

·  Massive Action Plan

·  ต้องเข้าใจว่าเป้าหมายในงานให้อะไรกับชีวิต แต่ต้องรู้เป้าหมายสุดท้ายในชีวิต

·  ต้องให้เห็นผลไม่ใช่ให้เห็นว่าเป็นแค่งานเท่านั้น

·  เมื่อรับงานมาแล้ว ถามว่าเราได้ประโยชน์อะไรจากงาน จะกลายเป็นตัวตนของเราในอนาคต

·  ควรชมลูกน้องที่คุณสมบัติที่ช่วยให้งานประสบความสำเร็จ

เอกรัฐ สมินทรปัญญา

การอบรม ในวันที่ 26 มีนาคม 2556 ได้เรียนรู้

·  หังข้อ นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน (Social Innovation) กับการทำงานของ กฟผ.”

โดย   ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์

ดร.เสรี พงศ์พิศ

คุณศานิต  นิยมาคม

หัวข้อ “กรณีศึกษาของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค”

โดย คุณสุทธิเดช สุทธิสมณ์

ดำเนินรายการโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

·  Learning Forum หัวข้อ  เทคนิคการสื่อสารกับสื่อสารมวลชน

โดย  ดร.พจน์ ใจชาญสุขกิจ

·  Learning Forum –Activities & Game Simulationsหัวข้อ  Managing Self Performance

โดย  อาจารย์อิทธิภัทร ภัทรเมฆานนท์

  กฟผ. ได้นำบทเรียนในอดีตในการดำเนินงานของ มาปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามการทนำเอานวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน (Social Innovation) มาใช้สำหรับงานด้านชุมชน ทั้งในส่วนโรงไฟฟ้าของ กฟผ. ที่มีอยู่ในปัจจุบัน และโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าของ กฟผ. ในอนาคต เป็นสิ่งที่ควรต้องเร่งดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งวิธีการใหม่ๆ หรือวิธีการที่ดีขึ้น ซึ่งจะช่วยให้การทำงานด้านชุมชนเพื่อจะให้ กฟผ. อยู่ร่วมกับชุมชน เป็นที่ยอมรับของชุมชน และส่งเสริมชีวิตความเป็นอยู่ที่พอเพียงและยั่งยืนให้แก่สังคมและชุมชน เป็นไปตามเป้าหมายขององค์กร ได้ง่ายขึ้น และเร็วขึ้น

  ปัจจุบัน กฟผ. เกี่ยวข้องกับสื่อมวลชนเป็นอย่างมาก เนื่องจากประเด็นด้านพลังงานไฟฟ้าในประเทศ ได้รับความสนใจในวงกว้างขึ้น ดังนั้นมีเหตุการณ์ต่างๆ เช่น โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้า หรือการหยุดจ่ายก๊าซจากประเทศพม่า  เป็นต้น จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ กฟผ. จะเป็นเป้าหมายในการสื่อสารข่าวสารด้านพลังงานไฟฟ้า ซึ่งจากการเรียนรู้ทราบว่าการสื่อสารโดยเฉพาะการสื่อสารกับสื่อสารมวลชน อย่างมีประสิทธิภาพและได้ผลดี ผู้ที่จะต้องสื่อสาร ควรต้องได้รับการฝึกฝน ดังนั้น กฟผ. ควรต้องจัดให้มีการฝึกฝนการสื่อสารให้กับผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับสื่อสารมวลชน และหากเป็นไปได้ควรจัดให้มีการฝึกฝนการสื่อสารให้กับผู้ปฏิบัติงานทุกระดับ เพื่อให้การสื่อสารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร

  การวางแผนการดำเนินชีวิตของแต่ละบุคคล ยังไม่มีการจัดทำอย่างแพร่หลาย และเป็นรูปธรรม ดังนั้นการส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงานในองค์กร ทุกระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ปฏิบัติงานที่ใกล้ครบวาระเกษียณอายุ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งในขณะทำงาน และหลังจากเกษียณอายุ ซึ่งการวางแผนการดำเนินชีวิตจะเป็นการช่วยในการเพิ่มศักยภาพของผู้ปฏิบัติงาน และเพิ่มศักยภาพขององค์กร นอกจากนี้การนำวิธีการวางแผนการดำเนินชีวิตให้กับชุมชนยังเป็นการช่วยในการมีวิถีชีวิตที่พอเพียง และยั่งยืน ของคนในชุมชนได้อีกด้วย

   


ทีมงานวิชาการ Chiraacademy

Panel Discussion

หัวข้อ ธรรมาภิบาล” ของ กฟผ.

โดย  คุณไกรสีห์ กรรณสูต

อดีตผู้ว่าการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

คุณสมบัติ ศานติจารี

อดีตผู้ว่าการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

อาจารย์ ธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์

ดำเนินรายการโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ศ.ดร.จีระ: อยากให้การพบปะเจอรุ่นพี่รุ่นน้องได้เจอกันแบบนี้บ่อยๆ และมีการเชื่อมโยงกันทาง Social media กันอย่างต่อเนื่อง  อยากให้บรรยากาศวันนี้เป็นการแชร์ความรู้กัน

อาจารย์ ธรรมรักษ์:  ธรรมภิบาล คือ การบริหารกิจการที่ดี สิ่งที่ค้นพบในการทำงาน คือ เปลี่ยนไปตามบริบทการเปลี่ยนแปลงของโลก คนที่บริหารกิจการที่ดีที่ค้นพบ คือ ถูก และสอดคล้องกับสถานการณ์ในขณะนั้น เน้นกรอบคิดและหลักนิยม โดยมีการสอน (teaching) และควบคุมกำกับ บังคับบัญชา ซึ่งเป็นระบบตรวจสอบจากบนลงล่าง ผมรับราชการมีการตรวจสอบทุกขั้นตอน

การบริหารยุคเก่าเป็นการกำกับโดยระเบียบทุกขั้นตอน เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เหมาะสำหรับระบบเครื่องจักร

การบริหารกิจการที่ดีเป็นการริเริ่มของใหม่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 8 ทำอย่างไรให้คนมีความสุข ซึ่งเป็นเรื่องยาก เพราะชินกับการดำเนินการแบบเก่าที่มีระเบียบแผนชัดเจน ขาดการเปลี่ยนแปลงใช้ความคิด แบบเก่า ที่ต้องเปลี่ยนเป็นความคิดแบบใหม่แบบมีส่วนร่วม อย่างบูรณาการไร้พรมแดน

Empower เป็นสิ่งจำเป็น แต่ส่วนใหญ่ก็ยังไม่ค่อยได้ใช้ ใช้แต่ power

การสร้างผู้นำ ต้องเป็นผู้นำที่มีลักษณะที่มีความรู้สึกตระหนักในตนเองในเรื่องธรรมภิบาล

ประเทศไทยขาดเรื่อง Leadership อย่างมาก ซึ่งต่างจากในอดีตมาก

วิธีสร้างผู้นำนั้น ต้องสร้างการเรียนรู้ เรื่องธรรมาภิบาลให้เกิดเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงได้ในองค์กร สิ่งที่ควรจะทำคือ ให้ผู้นำในองค์กร empower  และต้องเรียนรู้และตระหนักด้วยตนเอง คือให้เขาวิเคราะห์สถานการณ์เอง โดยลองให้วิเคราะห์ SWOT โดยให้ทุกคนมีส่วนเรียนรู้

ต้องมองด้วยกันว่าจะบริหารจัดการอย่างไรให้สอดคล้องกับบริบท และต้องทำอย่างโปร่งใส เพราะมีประชาธิปไตย และโลกเปิดกว้าง ถ้าเราไม่เรียนรู้ด้วยตนเองหวังพึ่งคนมาเล่า มาถ่ายทอด ก็ไม่สามารถจะพัฒนาตนเองได้ ยุทธศาสตร์คือ คนระดับกลางบริหารการเปลี่ยนแปลง มีแผนร่วมคิดร่วมทำ ติดตามประเมินผล และต้องสร้างระบบที

ต้องปฎิบัติและเกิดจากการเรียนรู้ในหน่วยงาน เริ่มจากผู้นำหน่วยเริ่มจากคนระดับกลาง เห็นค่านิยมเอง เค้าก็จะไปเป็นตัวนำลูกน้อง และเมื่อขึ้นตำแหน่งก็จะสอนลูกน้องได้อย่างยั่งยืน

อ.จีระ: ในอนาคตขอความร่วมมือจากท่านธรรมรักษ์เพิ่มขึ้น ในรุ่น 9 มี issue อยู่ 4 เรื่อง ต้องจัดการกับชุมชน innovation ไม่เฉพาะเรื่องเทคโนโลยีเท่านั้น จัดการกับความเปลี่ยนแปลงกับนโยบายรัฐบาลกับนักการเมือง  ซึ่งธรรมาภิบาลจะเป็นสิ่งที่ป้องกันไว้ได้ เรื่องสุดท้ายอยากเห็นกฟผ.เป็นองค์กรที่เป็นที่พึ่งของประเทศ ต้องแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นของประเทศ เน้นเรื่องความโปร่งใส

ท่านไกรสีห์: ท่านธรรมรักษ์ปูพื้นฐานเรื่องธรรมาภิบาลไว้เป็นอย่างดี  ข้อหนึ่งที่พ่อค้าบอกกับกฟผ.คือ คนกฟผ.เป็นคนดี และทำงานด้วยความสบายใจ เพราะทำงานแบบไม่มีการทุจริตกัน

ที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะ ได้รับการประท้วงจากชาวบ้านเรื่องสิ่งแวดล้อม ซึ่งทำงานได้ยากขึ้น ส่งผลให้งานบางอย่างต้องยกเลิกไป ส่วนใหญ่เป็นงานที่มักจะเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชุมชน

ความสมดุลในการทำงานเป็นสิ่งที่จำเป็น และต้องมีการทำงานที่นึกถึงความปลอดภัยของชุมชนเรื่องสิ่งแวดล้อมและประชาชน ต้องไม่เน้นน้ำหนักไปที่เรื่องต้นทุนถูก การสร้างและทำแผนต่างๆ มีคนไม่เห็นด้วยเยอะ เพราะเราสร้างสายส่งไม่มีใครอยากให้ทำ เพราะที่จะราคาตก  การทำประชาพิจารณ์น้อยมาก เพราะเราถือว่ามีอำนาจพรบ.อยุ่ในมือ ส่งผลให้เริ่มปัญหา ประชาชนต่อต้าน ส่งผลให้กฟผ.เดินหน้าลำบาก และต้องคิดว่าทำอย่างไรกฟผ.ถึงจะประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน

ธรรมาภิบาล PATE

P=Participation การมีส่วนร่วมของประชาชนมีความสำคัญ

A=Answerability  ความรับผิดชอบในสิ่งที่ทำให้ถูกต้อง

T=Transparency  ความโปร่งใส

E= Efficiency และ Effectiveness

เป็นการบริหารแนวใหม่ เพราะโลกให้ความสนใจกับโลกาภิวัตน์และกาบริหารจัดการที่ดีมากขึ้น มุ่งให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง รัฐธรรมนูญปี 2540-2550 มุ่งส่งเสริมสิทธิเสรีภาพ ในการเป็นมนุษย์ และการกระจายอำนาจ

เรื่องภายนอกที่มากระทบกฟผ.เป็นเรื่องปัญหาจากมวลชน ซึ่งมีการปรับตัวที่ช้าเกินไป แต่ต้องยอมรับว่าปรับตัวช้ากว่าการเปลี่ยนแปลงภายนอก ซึ่งเป็นช่องว่างให้เกิดปัญหา ซึ่งยากที่จะทำการแก้ไข

การดำเนินงานทุกอย่างต้องให้ความสำคัญกับประชาชน และสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่แค่เทคโนโลยีเท่านั้น

องค์ประกอบเพื่อความอยู่รอดของกฟผ.

-  ความคุ้มค่า

-  นิติธรรม ข้อสำคัญ คือ การใช้กฎหมายต้องไม่เลือกปฏิบัติ  คุณธรรม

-  การมีส่วนร่วม  ต้องเชิญประชาชนที่จะได้รับผลกระทบเข้ามาฟัง ก่อนทีจะสร้างอะไรก็ตาม และต้องฟังความเห็นจากประชาชนด้วย ให้ทุกคนเข้าใจเรื่องเทคนิค และความจำเป็นต่างๆ 

ระดับวางแผนร่วมกัน ซึ่งกฟผ.ยังไม่ได้ทำ เป็นสิ่งจำเป็นเพราะต้องฟังความหวังจากประชาชน

-  ความโปร่งใส 

สิ่งที่ประชาชนต้องการกับการทำงานของกฟผ.

-  Society approach แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างเต็มที่

-  มีทางเลือกหลายทาง

-  เข้าใจร่วมกัน

-  มีการออกแบบทางเลือกต่างๆร่วมกัน เปรียบเทียบว่าทางเลือกต่างช่วยด้านไหนไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

-  ต้องให้การศึกษา และคุยเพื่อให้มีการตัดสินใจขั้นสุดท้ายร่วมกัน

อ.จีระ: ทุกปีท่านไกรสีห์จะมาร่วมกับการอบรม สรุปมี 2 เรื่อง คือ ธรรมาภิบาลจะทำให้อยู่อย่างยั่งยืน และเกิดจากการที่บริหารกาเปลี่ยนแปลงให้ได้

อยู่มา 9 รุ่นเห็นความเข้มแข็ง และเห็นจุดแข็งและจุดอ่อน ระหว่างengineering และชุมชน การที่เราต้องสร้างองค์การแห่งความเรียนรู้เป็นสิ่งทีจำเป็นเช่นกัน

ท่านสมบัติ: เรื่องธรรมาภิบาลมาเกิดหลังๆ  สมัยนั้นมีการบริหารงานที่ดี ตรวจสอบได้ ซื่อสัตย์สุจริต ธรรมภิบาลมีการจัดอบรมที่เยอะมาก คือ ขบวนการที่กับดูแลให้บริหารงานดีที่สุด เพื่อให้ผู้ส่วนได้ส่วนเสียได้รับความเป็นธรรม ผุ้ควบคุมคือ ฝ่ายบริหารโดยให้กรรมการมาเป็นคนควบคุม โดยใช้วิธีเดียวกันกับตลาดหลักทรัพย์ ดังนี้

1.บริหารด้วยความครบถ้วน

2. ซื่อสัตย์สุจิตต่อตนเอง

3. ปฏิบัติตรามกฎระเบียบ

4. แสดงข้อมูลให้ทุกฝ่ายรับรู้

ตลาดหลักทรัพย์และองค์กรต่างๆมีการทำวิจัยว่า ธรรมภิบาลได้ประโยชน์อะไรกับองค์กร

หน่วยงานที่ไม่มีธรรมาภิบาล ก็จะไม่มีผลตอบแทนที่ดี ดังนั้นบริษัทต่างๆก็จะแข่งเรื่องธรรมาภิบาล

ดูเว็ปไซด์กฟผ. รู้สึกดีใจ ที่ได้เห็นวัฒนธรรมองค์กรที่ รักองค์กร  เชิดคุณธรรมและมีความสามัคคี ทำงานทุ่มเทเพื่อประโยชน์องค์กรมากกว่าส่วนตน  เป็นสิ่งที่ยืนยันว่ากฟผ.มีธรรมภิบาล สมัยที่ผมทำงานกับผู้ว่าเกษม ปัจจุบันผ่านมา 43 ปี  คุณภาพของกฟผ.ได้รับความเชื่อถือ และมีคุณภาพดี

กฟผ. ในสมัยก่อนไม่ได้ละเลยเรื่องสิ่งแวดล้อม เพราะไม่มีกฏหมาย หลังจากมีกฎหมายก็ทำตามกฎหมาย ปี 35 ปีกาสำรวจความคิดเห็นทางสิ่งแวดล้อม

หลังปี 40 รัฐธรรมนูญแบ่งบาน นโยบายต้องกระจายให้ทุกคนต้องทราบ  พัฒนาปรับปรุงเรื่อยๆ จนกระทั่งมีธรรมาภิบาลกัยผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

หลังจากนั้นพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ มีการทำงานเชิงรุก มีคนต่อต้านบ้างก็เป็นเรื่องธรรมดา

ผู้บริหารไม่เคยละเลยปัญหาการร้องเรียน แต่กฟผ.ไม่ค่อยมีปัญหาเพราะ วัฒนธรรมที่ตกทอดกันมานาน สายงานที่มีคนช่วยกันดู และเรียนรู้ว่าใช้ระเบียบของworld bank ที่มีมาตรฐาน และมีความน่าเชื่อถือ

ผมเข้าเว็บไซด์ กฟผ.เข้าธรรมะออนไลน์  ซึ่งสื่อแล้วว่ากฟผ.มีธรรมาภิบาล ซึ่งสั่งสมวัฒนธรรมเรื่องความโปร่งใสมาอย่างยาวนาน ปัญหาขององค์กรอื่นที่มีเราไม่มี เพราะเจ้าของที่แท้จริง คือ ประชาชน แต่อยู่ในนามรัฐบาลเท่านั้นเอง

อ.จีระ: ท่านผู้ว่าท่าน 2 ท่านมีประสบการณ์และมุมมองที่ชัดเจน  รุ่นต่อไปต้องเชิญคนพูดเรื่องกฎหมายมาบ้างก็ดี ประเด็นของท่านสมบัติ คือ เรื่องความโปร่งใสของกฟผ. ซึ่งต้องมองไปเรื่องผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับคนนอกองค์กร ที่ต้องจัดการเรื่องปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม กับชุมชน  และเรื่องธรรมาภิบาล  ของกฟผ.ก็ต้องรักษาไม่ให้มีอำนาจรัฐแทรกแซง

ปปช. เคยทำเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างสนามบินสุวรรณภูมิ  แต่ในกฟผ.เรื่องการจัดซื้อจัดจ้างเป็นเรื่องที่โปร่งใสมาก

ธรรมาภิบาลของกฟผ.ควรกระเด้งไปช่วยเรื่องของชุมชน และปัญหาระหว่างประเทศที่ต้องจัดการ

คำแนะนำและข้อเสนอแนะของผู้เข้ารับการอบรม

1.  คุณสมเกียรติ ขอบคุณท่านสมบัติที่ทำให้ธรรมาภิบาลของกฟผ. เป็นอันดับต้นๆของประเทศ

เรืองนิติธรรมของท่านไกรสีห์ การบังคับใช้กฎหมายในปัจจุบันทำได้ยาก เพราะในระยะยาวผู้ที่อยู่ไซด์งานกับชุมชนจะอยู่ยาก ควรทำเรื่องพรบ.กฟผ. ควรทบทวนว่าอันไหนแข็งไป และเอาเปรียบชุมชน

อ.จีระ: เห็นด้วยว่าเรื่องธรรมาภิบาลกำลังทำอยู่ แต่ยังไม่เป็นจุดหักเหที่ทำแล้วสำเร็จ เช่นเดียวกับที่ผมทำเรื่องคนมา 35 ปี กฟผ.ต้องทำให้ถึงจุดที่เกิด outcome ไม่ใช่ทำแค่ CSR  ต้องทำให้เกิดเรื่องความสมดุลระหว่างชุมชนและกฟผ.

2. คุณสุวิทย์ เรียนท่านผู้ว่าไกรสีห์เรื่องระบบสายส่งการเมืองเข้ามาไม่ได้ กฟภ.สร้างสายมีสิทธิ์เดินสายตามถนน แต่กฟผ.ไม่มีสิทธิ์ เพราะอำนาจอยู่ที่ regulator ก็จะมีชุมชนมาต่อต้าน  

อีกกรณีหนึ่ง โรงไฟฟ้าเอกชน กฟผ.ก็ต้องสร้างสายส่ง ซึ่งทำได้ช้าเพราะทำตามระเบียบ แต่เอกชนทำทุกอย่างได้เร็ว จึงมาฟ้องกฟผ.ว่าแกล้งบ้าง แต่กฟภ.อยากกฟผ.ให้ยก Network 115

อ.จีระ:ขอชมเชยว่าจับประเด็นดีมาก

3. กฟผ.มีธรรมภิบาลและเป็นจุดแข็งของกฟผ.อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการจัดหาและบริหารงาน ประชาชนภายนอกเห็นอยู่แล้ว แต่ทำไมชาวบ้าไม่ยอมรับเวลาจะไปสร้างโรงไฟฟ้าที่ไหน เพราะมีข้อบกพร่องเช่น เรามีความแตกต่างจากเค้า เช่น รายได้ ส่วนหนึ่งไม่มีการปรับตัว มีการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ซึ่งต้องสร้างค่านิยม สร้างคนให้เป็นคนดี และให้ลงไปทำงานกับมวลชนให้ได้

บริษัทสามารถใช้อำนาจใต้ดินได้ ซึ่งต่างจากกฟผ.ที่ไม่สามารถให้เงินกับผู้มีอิทธิพลได้ซี่งเป็นข้อดีของกฟผ.  

อ.จีระ :  hr for non hr เป็นแนวคิดที่ควรกระจายให้กฟผ. และ ต้องสร้างให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ที่ต้องคิดเป็น วิเคราะห์เป็น

โต๊ะสุดท้ายเรื่องท่าทีของกฟผ.ที่อยู่ชุมชนที่ต้องเฟรนลี่เป็นข้อดีอย่างมาก ที่ต้องได้รับการพัฒนา

Session นี้เป็นนวัตกรรมที่แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ตรงตามความจริง และตรงประเด็น  

คุณธรรมรักษ์:  ได้ความรู้ใหม่ๆมากมาย ประเด็นแรก กฟผ.มีความสำเร็จ มีธรรมาภิบาลในอดีตจนกระทั่งปัจจุบัน โดยเฉพาะความเข้มแข็งนี้โดยเฉพาะผู้นำในยุคแรก จนปัจจุบัน สร้างความยั่งยืนได้ จนถึงอนาคต

ขณะที่เราเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทั้งเทคโนโลยี ต้องไม่ติดยึดกับยุคปัจจุบัน ต้องปรับวิธีคิดไม่ยึดติดกับแนวคิดผู้นำในอดีต
  อ.จีระ: ยุคนี้ต้องเตรียมตัวให้ดี ต้อง grooming new leader และต้อง balancing

อย่างเช่นรุ่นนี้ประธานรุ่นเป็นผู้หญิง

  คุณธรรมรักษ์ สิ่งที่ต้องตระหนัก คือ ต้องวิเคราะห์ว่าสิ่งไหนใช้ได้ สิ่งไหนใช้ไม่ได้ เพระเผชิญกับสิ่งใหม่ๆต่างกับสมัยผู้ว่าเกษม โลกใหม่เน้นไซเบอร์ ต้องทันโลก ต้องมีการตรวจสอบอย่างหนัก จึงต้องโปร่งใส มุ่งเน้นประชาชน มุ่งเน้นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การทำงานต้องbalancing มีทางสายกลาง

  กฟผ. ต้องทำงานรับใช้ลูกค้าให้มีประสิทธิภาพ เข้าไปสู่นาโน ไบโอเทค โลกสมัยนี้และรุ่นผมมันแตกต่างกัน  ปัจจุบัน ไอแพด และไอโฟน มีประโยชน์มาก แต่เราต้องถึงเทคโนโลยีพวกนี้ให้ได้ด้วย  ด้วยการเรียนรู้ ปรับตัวตลอดเวลา และต้องbalance กับนักการเมือง ไม่ให้มาแทรกแซง ซึ่งต้องทำชุมชนให้เข้มแข็ง โปร่งใส ตรวจสอบได้

  ความท้าทายในอนาคตคือ งาน Social network กับชุมชน ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงต้องมองรอบข้าง มองโอกาส มองอุปสรรค ต้องมองให้ครบ การทำงานต้องมีประสิทธิภาพ และต้องมีประสิทธิผล ต้องมองผลลัพธ์ให้สังคมอยู่ดีมีสุข  ด้วยการทำงานร่วมกับชุมชนโดยเข้าไปอยู่เพื่อให้เห็นทั้งโอกาส และการคุกคาม  ทำงานเพื่อให้ชุมชนได้เห็นภาพกว้างๆ

  สิ่งสำคัญที่สุด คือ Facilitators คือ ผู้อำนวยความสะดวกเรียนรู้จากการศึกษา ต้องเปลี่ยนครูให้เป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ เพราะคนที่อยู่ในเหตุการณ์จะรู้ดีกว่าคนที่อยู่ข้างบน

  ผมเปลี่ยนห้องเรียนให้เป็นการเรียนรู้จาก Case มากกว่าเรียนจากทฤษฎี

  นิทาน นกกระจิบอยู่รอด นกกางเขนอกแดงสูญพันธุ์ นกกระจิบบินเป็นฝูง มีผู้นำฝูง จึงอยู่รอดเพราะอยู่เป็นชุมชน เพราะมีการถ่ายทอดความรู้

นกกางเขนอกแดงสูญพันธุ์ เป็นข้าราชการ มันชอบอยู่ที่มืด อยู่กับตัวเมีย เป็นนกรักษาอาณาเขต

เพราะฉะนั้นกาเรียนรู้ละทำงานกับชุมชน ต้องเป็นนกกระจิบจึงจะอยู่รอด 

  ท่านไกรสีห์: ประเด็นวันนี้คือ ทำอย่างไรจึงจะสร้าง trust ให้ชาวบ้านหรือประชาชนให้ไว้วางใจกฟผ. ได้ ไม่ใช่แค่ให้กระบวนการเสร็จเท่านั้น

  ธรรมะหลวงพ่อชา ท่านว่าพระไตรปิฎกเรารู้หมดก็ดี นำไปปฏิบัติก็ดี จนเห็นธรรมก็ดี แต่ที่ดีที่สุด คือ ใจเราเป็นธรรม คือ ยึดหลักความถูกต้อง การส่งคนที่ไปร่วมทำงานกับชุมชน คือ ต้องเลือกคนที่มีใจด้านนี้ด้วย 

  โรงไฟฟ้าจะนะ เป็นตัวอย่างที่ทำสำเร็จคือ

1. คนที่ไปมีใจที่จะไปและเหมาะที่ทำงานด้านนี้

2. วิธีการคือ ศึกษาหมดแล้วว่าต้องคุยกับใคร คือ นักการเมือง ชาวบ้าน ปราชญ์ชาวบ้าน ใช้วิธีปูเสื่อคุยกับชาวบ้าน  และฟังความเห็นจากชาวบ้าน และต้องทำให้เค้ากระจ่าง มีทางป้องกัน ดูแลป้องกันอย่างไร และต้องชี้แจงและนำเสนอทางเลือกร่วมกัน  ซึ่งเป็นวิธีทำให้ชาวบ้านยอมรับได้เป็นอย่างดี ต่างจากโรงไฟฟ้าที่สงขลาเป็นอย่างมาก

การทำงานที่โจทย์เปลี่ยนจะเอาวิธีการสมัยก่อนมาทำไม่ได้แล้ว เพราะวิธีการทำงานก็ต้องเปลี่ยนไปด้วย

แผน PDP รัฐบาล ให้กฟผ.ทำเฉพาะโรงถ่านหิน โรงนิวเคลียร์ ซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องดีลกับนักการเมือง แต่ต้องทำด้วยวิธีการที่ถูกต้องด้วย

ถ้ามีความสัมพันธ์ที่ดีกับนักการเมืองก็ดี เพราะเค้าก็มีอำนาจจัดสรรให้เราเช่นกัน

ท่านสมบัติ: สังคมยอมรับกฟผ.ในการที่เป็นองค์กรที่มีธรรมาภิบาล แต่ทำไมสังคมชุมชนไม่ยอมรับ ซึ่งกฟผ.เองก็ยังปรับปรุงอยู่  

  การทำความเข้าใจกับประชาชน ยังต้องพัฒนากับด้าน soft side หน่วยงานอื่นจ้างที่ปรึกษา ดังนั้นกฟผ.ควรจะจ้างบ้าง การทำ CSR บางทีก็ไม่ได้ผล

  กฟผ.ต้องเปิดตัว ต้องหาคนที่ทำงานเป็น  รอบรู้ทุกด้าน และสามารถเข้ากับชาวบ้านได้

ข้อจำกัดของกฟผ. คือ เราทำยาก หน่วยงานอื่นทำง่าย ต้องมีการพัฒนาบุคลากรที่เรียนรู้ด้านสังคมากขึ้น

ผู้เข้าอบรม

4.  ข้อคิดเห็นคือ ผู้บริหารของเราหลังเกษียณแล้วไม่มีจุดด่างพล้อย ไม่มีเรื่องร้องเรียน องค์กรเราแตกแยกกับองค์กรอื่นมากเกินไป สิ่งที่เราขาด คือ ทำอย่างไรจุดแข็งจึงจะส่งต่อให้สังคมได้รับรู้ว่า ไม่คิดจะเอาเปรียบสังคม ชุมชน เพราะสิ่งที่เราขาดคือเร่องประชาสัมพันธ์

และสิ่งที่บุคคลภายนอกต้องการให้เราทำเพื่ออยู่อย่างยั่งยืนคือ ต้องทำอะไร

5. คุณชัยศักดิ์ ธรรมาภิบาลเป็นเรื่องที่ต้องให้คนนอกมองเราและบอกเรา  สิ่งที่ผมได้รับคือ ยอมรับด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรม แต่กลัวเรื่องการบริหารจัดการเรื่องค่าไฟ 10 ปีที่ผ่านมา FT มีแต่ขึ้นอย่างเดียว คนเลยกลัวว่าไม่มีประสิทธิภาพการจัดการเรื่องค่าไฟอย่างเป็นธรรม และทำอย่างไรคนจึงจะยอมรับ

6. คุณภูวดา ขอถามเรื่องธรรมาภิบาล กฟผ.O&M ธุรกิจบำรุงรักษา และธุรกิจการขาย ซึ่งต้องรวดเร็วเพื่อแข่งกับบริษัทอื่นๆ จึงทำให้ธรรมภิบาลบางข้อขาดไป อยากให้ท่านช่วยแนะนำ Case study ให้ทุกท่านได้รับทราบ

ธุรกิจเพื่อนบ้าน ซึ่งกำลังพัฒนา แต่มักจะทำไม่ได้นาน จึงต้องหาบริษัทนายหน้าเข้ามาช่วย จึงขอถามว่าต้องอาศัยธรรมาภิบาลอย่างไร

  เรื่อง CSR ผมยอมรับว่ามีปัญหาจริงๆ ผมไปสุราษฎร์ชาวบ้านแตกตื่นว่ามาทำไม เพราะการทำ csr เกี่ยวกับทุกคนในองค์กรที่ไปงานกับชาวบ้านจริงๆ ตั้งแต่ คนขับรถ และคนที่เข้าไปทำ Outsource ทุกคน

  อ.จีระ: ขอชมเชยว่าทุกโต๊ะพูดได้ดี อยากให้มีบรรยากาศแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ 

  ท่านสมบัติ: แต่ละกลุ่มให้ข้อสังเกตชัดเจน ต้องทำเรื่อง FT ให้มีความเข้าใจกันทุกฝ่าย ที่ต้องทำงานร่วมกับประชาชนมากขึ้น รวมถึงการประชาสัมพันธ์ ด้านสื่อ และการสื่อสาร

  บริษัทลูกของกฟผ. ต้องทำงานเพื่อให้ได้ผลกำไร ถ้าเราไม่ทำ ก็สู้กับคู้แข่งอื่นไม่ได้ ต้องประเมินผลตัวเองในการรับงานจากข้างนอกด้วย

  จุดแข็งของเราคือ อยู่มานาน ประสบการณ์ดี

ท่านไกรสีห์: ต้องให้ชุมชนรู้ว่าเราเป็นมิตรต่อสังคม ซึ่งเรายังอ่อนประชาสัมพันธ์ การที่จะทำให้สังคมไว้ใจ ต้องอยู่ที่การกระทำของเราให้ดีที่สุด ในอดีตต้องยอมรับว่าเราพลาดไปบ้าง ซึ่งทำให้คนจำและไว้ใจเรา เพราะฉะนั้นตอนนี้ต้องทำให้สังคมไม่เดือดร้อน  และต้องมีการเปิดเผยข้อมูล FT ให้ชัดเจน ซึ่งกฟผ.ต้องเปิดเผยมากขึ้น เพื่อให้มีความเข้าใจมากที่สุดเพื่อปราศจากความกลัว

การทำธุรกิจภายนอกให้รวดเร็ว และแข่งขัน หลักธรรมาภิบาล คือ หลัก Efficiency ต้องไม่ผิดต่อหลักจรรยาบรรณ และไม่ขัดต่อหลักธรรมาภิบาล

เราต้องทำการ Utilization คนกับเครื่องมือ เพื่อหารายได้เข้ามาให้กับกฟผ. ทำเพื่อ Maximization

ท่านธรรมรักษ์: ควรเรียนรู้ความสำเร็จ จากท่านผู้ว่าที่ประสบความสำเร็จ ที่ผ่านมาทุกท่าน ต้องแชร์ข้อมูล เปิดเผยข้อมูลอย่างถูกต้อง ทุกอย่างต้องโปร่งใส ตรวจสอบได้

ช่องทางการประชาสัมพันธ์ ควรเข้าถึง Social network เช่น เฟสบุ๊ค ทวิตเตอร์

อ.จีระ: ขอบคุณท่านผู้เข้าอบรมที่ให้ข้อเสนอแนะและคำถามที่ดี ขอบคุณท่านวิทยากรทุกท่านในวันนี้ที่มาแชร์ความรู้กัน

ผมขอฝาก 2 เรื่อง คือ

1.  ต้องมี Deep exchange กับชุมชนมากขึ้น ต้องทำอย่างสมดุล และต่อเนื่อง ตามconcept Deep drive และต้อง relevance

2.  ภาวะผู้นำของรุ่น 9 นี้มีแน่นอน และท่านต้องขึ้นไปเป็นผู้นำ แต่กฟผ.เป็นองค์กรใหญ่ จึงขาดความคล่องตัวในการฉกฉวยโอกาสที่จะทำอย่างต่อเนื่อง เพราะผลลัพธ์เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อองค์การ แต่ไม่ Relevance ต่อองค์กร

แรงกดดันที่ทำให้เป็น Dynamic leadership ยังมีน้อย

3.  สิ่งที่พูดไปวันนี้คือ Journeyไปสู่เป้าหมาย และต้องลิงค์ไปสู่ Social media เพื่อนำไปสู่วัฒนธรรมการแบ่งปันความรู้กันในอนาคต และต้องมี Process เพื่อให้ไปถึงเป้าหมายให้เร็วขึ้น

-  ถ้าทำงานแบบ Top down ไม่มีความคล่องตัวและไม่มีความยืดหยุ่น ก็จะทำให้ประสบความสำเร็จช้า


ทีมงานวิชาการ Chira Academy

เศรษฐศาสตร์พลังงาน

ฟังบทสัมภาษณ์ อาจารย์มนูญ ศิริวรรณ

ร่วมวิเคราะห์และดำเนินการ Workshop

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

และอ.ทำนอง ดาศรี

ฟังบทสัมภาษณ์ในวีดีโอ

เศรษฐกิจโลกปี 2013 เป็นอย่างไร

-  มีแนวโน้มชะลอตัวลง เพราะวิกฤติเศรษฐกิจของไซปรัส และยุโรปทวีความรุนแรงมากขึ้น

-  ความต้องการน้ำมันของโลกยังไม่ฟื้นตัว และยังไม่มีความยั่งยืนเพราะอัตราการว่างงานยังสูงอยู่  สหรัฐยังไม่เข้มแข็งเท่าที่ควร

-  จีน ก็ยังไม่สามารถเร่งตัวในการขยายเศรษฐกิจได้มากนัก

-  แนวโน้มราคาน้ำมันปีนี้ก็ยังทรงตัว และความต้องการน้ำมันก็เพิ่มขึ้น

ยกตัวอย่างเรื่อง Shale oil และ Shale gas

-  เป็นการขุดเจาะน้ำมันในแนวขวางในชั้นหินดินดาน ทำให้ไล่เอาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติลอยตัวขึ้นมา

-  ผลิตได้ 7.1-7.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ได้มากสูงสุดในรอบ 30 ปี

-  สหรัฐผลิตก๊าซธรรมชาติได้มาก

-  ประเทศไทยยังไม่พบShale oil และ Shale gas

รัฐบาลสนับสนุนให้ใช้ถ่านหินดีกว่าแก๊สธรรมชาติ

-  การผลิตไฟฟ้าในประเทศไทยต้องไม่พึ่งพาแก๊สธรรมชาติมาก เพราะราคาจะแพงขึ้นเรื่อยๆ หลังจากนั้นต้องไปนำเข้าในรูปแก๊สธรรมชาติอัดเหลว

แนวโน้มราคาน้ำมันปี 2013

-  ระดับ 90-100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล

จุดแข็งและจุดอ่อนการลอยตัวก๊าซ NGV และ LPG

-  คนใช้เบนซินมาใช้แก๊ส LPG จึงนำเข้า 800-1000 เหรียญสหรัฐต่อตัน รัฐบาลจึงต้องปรับราคาขึ้นไปตามราคาที่แท้จริง

นโยบายประหยัดพลังงาน

-  มีแผนอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งดำเนินมาอย่างครบถ้วนและสมบูรณ์ ต้องมีการดำเนินมแผนอย่างจริงจัง ต้องมีมาตรการบังคับในหลายๆส่วน รวมทั้งการพัฒนาระบบการคมนาคมขนส่งให้มีการประหยัดพลังงานมากที่สุด

การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ ASEAN 2015

-  ต้องเตรียมความพร้อมพื้นฐาน ถ้าเปิดแล้วจะมีการขนถ่ายสินค้า เช่น จีน เวียดนาม พม่า ไทยตั้งอยู่จุดศูนย์กลางของอาเซียน

-  ต้องเตรียมด้านความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง ท่าเรือ สนามบิน

-  HUB ทางด้านพลังงานทดแทน

-  เตรียมความพร้อมด้านเทคโนโลยี ด้านบุคลากร

-  รัฐต้องให้ความสำคัญ และมีนโยบายปลูกพืชพลังงานทดแทนอย่างจริงจัง

-  ต้นทุนการผลิตแก๊สโซฮอล์น้อยเกินไป

นโยบายพลังงานกับสิ่งแวดล้อมสัมพันธ์กันอย่างไรในเศรษฐกิจ

-  ถ้าใช้พลังงานมาก ก็จะปล่อยก๊าซคาร์บอน ก็จะทำให้เกิดโลกร้อน เพราะฉะนั้นรัฐบาลต้องดูแลเรื่องประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน ไม่ให้สิ้นเปลือง ประเทศไทยใช้พลังงานเป็นอันดับ 2 รองจากอินโดนีเซีย

กฟผ.กับการผลิตไฟฟ้าในอนาคต

-  ต้องปรับองค์กรให้เป็นที่ไว้วางใจกับประชาชน

-  ต้องทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ในการใช้จ่ายงบประมาณ และประหยัดพลังงาน  

-  แสดงให้เห็นว่าการสร้างโรงไฟฟ้าแต่ละแห่งดำเนินด้วยความโปร่งใส และต้องเริ่มจากให้ประชาชนมีส่วนร่วมในระดับชุมชน และให้ได้รับประโยชน์การสร้างโรงไฟฟ้า

Workshop

1.  Demand Side Management ของ กฟผ. มีความสำเร็จ และอุปสรรคอย่างไร?

ความสำเร็จ

-  Demand Side เป็นกลุ่มงานและฝ่ายที่ดำเนินการเรื่องนี้ ที่สำเร็จคือฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5

-  โครงการปลูกฝังเยาวชนให้ตระหนักเรื่องประหยัดพลังงาน คือ โรงเรียนสีเขียว

-  ให้คำปรึกษาหน่วยงานต่างๆว่าทำอย่างไรถึงจะประหยัด

-  สร้างอาคารประหยัดพลังงาน

อุปสรรค

-  การประชาสัมพันธ์ ต้องทำให้มากขึ้นทั้งภายในและภายนอก

-  รัฐบาลสนับสนุนยังไม่จริงจัง ไม่มีบทบาทในการออกกฎหมายบังคับใช้ที่จริงจัง

-  การสร้างอาคารต่างๆต้องมีกฎระเบียบตามมาตรฐานสากล

-  เทคโนโลยีที่ต้องนำมาใช้ และมีส่วนร่วมในการสร้างจิตสำนึกร่วมกัน

2.  ช่วงเมษาฯ ที่จะหยุดส่งก๊าซจากพม่า จะมีผลกระทบอย่างไร? และธุรกิจหรือภาคเอกชน รวมทั้ง กฟผ. และประชาชน ควรจะปรับตัวอย่างไร?

-  ต้องจัดการต้นทุนให้ต่ำที่สุด

-  ขอความร่วมมือกับต่างประเทศ ที่ลาว กับมาเลเซีย

-  ขอเพิ่มพลังงานการผลิตจากพลังงานน้ำ

-  แก๊สหยุดแต่บางโรงไฟฟ้าก็สามารถใช้นำมันดีเซลแทนได้

-  วันที่ 5 เมษายน จะร้อนมาก ก็จะใช้พลังงานสูงขึ้น  ช่วง peak คือ ช่วงบ่าย 2 กำลังผลิต เหลือ 700 เมกะวัตต์

-  ความเสียงเรื่องไฟฟ้าดับก็ยังไม่เยอะมากเท่าไหร่

-  ขอความร่วมมือ กับสร้างแรงจูงใจให้กับโรงงานอุตสาหกรรม

-  ให้ธุรกิจโรงงานอุตสาหกรรมลดการผลิตในช่วงวันที่ 5 เม.ย.

3.  รัฐบาลอยากให้ลดการใช้ก๊าซธรรมชาติจาก 70% เป็นต่ำกว่า 45% โดยเน้นถ่านหินจะเป็นไปได้แค่ไหน?

-  เป็นไปได้ แต่ค่อนข้างยาก ประมาณ 10 ปี

-  โรงไฟฟ้าถ่านหิน ต้องเริ่มจากโรงแรก ถ้าได้รับการยอมรับจากชุมชน โรงต่อไปก็เกิดขึ้นได้

-  กฟผ.ต้องมีการประชาสัมพันธ์ ให้ทุกฝ่ายได้รับข้อมูลอย่างลึกๆ

-  มีการคาดการณ์ก๊าซที่อ่าวไทยจะหมดภายใน 21 ปี

4.  ปัจจัยทางเศรษฐศาสตร์ที่สนับสนุนเรื่องพลังงานทดแทนมีอะไรบ้าง?

-  ต้นทุนการผลิตมีแนวโน้มสูงขึ้นทั้งในเรื่องของแก๊สกับน้ำมันที่สูงขึ้นตามปริมาณที่หายากขึ้น

-  การส่งเสริมการเกษตร

-  สร้างงานและรายได้ให้ชนบท

-  สามารถกระจายแหล่งผลิตให้อยู่ในชนบท

อ.จีระ: การนำเข้า และส่งออกพึ่งพาพลังงานมาก พลังงานทดแทนก็จะช่วยเรื่องพลังงานทดแทน

5.  มองอนาคตของเศรษฐกิจไทยและการเข้าสู่อาเซียนกับ เศรษฐศาสตร์พลังงานไฟฟ้า”อย่างไร เน้นเรื่องร่วมทุนหรือ Outsource อย่างไร?

-  การใช้ไฟฟ้าสูงขึ้นเมื่อเข้าสู่อาเซียนแน่นอน

-  มีdemand หา supply อย่างไร คือ

-  ต้องหาผู้เข้าร่วมลงทุนจากต่างประเทศ หรือ ASEAN GRID ทำให้ลดการลงทุนการใช้ไฟฟ้า

อ.จีระ: เรื่องต่างประเทศเป็นสิ่งที่เราต้องให้ความสำคัญมาก และน่าจะทำไม่ยาก

-  Smart grid เป็นมิเตอร์อัจฉริยะ

6.  ปัจจัยทางเศรษฐศาสตร์ที่สนับสนุนเรื่องการร่วมทุนกับชุมชนในเรื่องโรงไฟฟ้าระดับ Micro จะเป็นไปได้หรือไม่?

-  ตั้ง 1 ชุมชน 1 โรงฟ้า

-  เน้นการมีส่วนร่วมระหว่างชุมชน รัฐบาล กฟผ.

-  ศึกษาความเหมาะสมของพื้นที่

ปัจจัยทางเศรษฐศาสตร์

-  ที่ดิน : ชุมชน

-  เทคโนโลยี:กฟผ.

-  เงินทุน:รัฐบาล กฟผ.

-  แรงงาน: ชุมชน กฟผ.

-  การเดินเครื่อง: ชุมชน

-  ซ่อมบำรุง


ทีมงานวิชาการ Chira Academy

หัวข้อ  ผู้นำกับการสร้างทุนทางจริยธรรมในองค์กร

โดย  คุณดนัย  จันทร์เจ้าฉาย

บริษัท ดีซี คอนซัลแทนส์ แอนด์ มาร์เก็ตติ้ง คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด

27 มีนาคม 2556

ขอถามผู้เข้าอบรมว่าใครเป็นต้นแบบทางจริยธรรม

-  อดีตผุ้ว่ากฟผ. ท่านเกษม

-  ในหลวง

-  ท่านเปรม

สิ่งที่ได้จากการดู VDO

·  การเปลี่ยนแปลง

·  Power of Living

คนไทยเป็นประเทศที่ริเริ่มของอาเซียน แต่ตอนนี้เราอยู่อันดับที่ 8 หรือ 9 แต่เราต้องเข้าไปเป็นอันดับที่ 1 ของอาเซียน

สิ่งที่ฝากไว้คือ คนไทยเป็นคนที่มาแต่ร่างจิตไม่มา

30 ปีก่อน ไทยกับเกาหลีใต้ใครเจริญกว่ากัน ไทยเจริญกว่าในทุกมิติ เมื่อก่อนเป็นไปไม่ได้ที่ประเทศเพื่อบ้านจะมาแข่งกับเราตอนนี้ในบางมิติ ลาว พม่า เขมร แซงหน้าเราไปแล้ว อย่าเรื่องข้าวที่ถูกแซงทั้งเรื่องปริมาณและคุณภาพ

การศึกษาส่วนใหญ่การศึกษาเรื่องที่ไกลตัว  ตอนนี้มีภัยพิบัติเกิดตามธรรมชาติ เป็นการปรับสมดุล เป็นผลพวงจากการที่เราช่วยกันเผาจนโลกเกิดความร้อน

การที่เกิดภัยพิบัติหัวใจความเป็นมนุษย์ทำงาน ออกมาช่วยเหลือกัน

การพัฒนาเพื่อปรับเปลี่ยนตัวเองเพื่อให้เกิดการอยู่รอด

การที่โอบามาชนะกาเลือกตั้งเพราะการเปลี่ยนแปลง เป็นการขยายพื้นที่ชีวิตและปัญหาของเรา ไม่ได้เปลี่ยนอดีตแต่เปลี่ยนปัจจุบัน

คำพูดของเด็กในวีดีโอกล่าวว่า ประเทศไทยไม่ต้องเปลี่ยน เปลี่ยนที่คนไทยดีกว่าคะ

ผู้ใหญ่ดีแต่พูดไม่ทำเป็นแบบอย่าง

องค์กรสีขาวเป็นองค์กรที่มองการไกลเช่นน้ำมันหมดโลกจะทำอย่างไร

สมองซีกซ้ายมีไว้คิด ซีกขวามีไว้รู้สึก

เรื่อง White ocean

-  ทำให้ตลาดเป็นประเด็นที่ไม่สำคัญ

ผลขององค์กรที่ทำให้มีจริยธรรมสูง

-  กำไรและผลประกอบการดี

-  มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าองค์กรอื่น

-  เป็นองค์กรที่มีความสุข

-  เป็นองค์กรที่มีความคิดสร้างสรรค์

-  เป็นองค์กรที่มีความยั่งยืน

** หนังสือเรื่อง White Ocean สามารถดาวน์โหลดได้

องค์กรที่มีhigh performance ประกอบด้วย

1.  Trust สูง

2.  Speed การทำงานเร็ว

3.  ส่งผลให้ Cost ลดลง

ในทางกลับกัน

1.  Trust ต่ำ ส่งผลให้การทำงานสำเร็จน้อย

2.  Speed  การทำงานก็ช้ามาก

3.  ส่งผลให้ Cost สูงขึ้นมาก

สิ่งที่ต้องคำนึง คือ

1.  Where are we?

2.  Where do we want to go?

3.  How do we get there?

1.  Where are we?

-  การเกิดขึ้นขององค์กรเป็นไปเพื่อสร้างผลเชิงบวกต่อสังคมโดยรวม

Steve Jobs : “ถ้าเราหาหัวใจเจอ เราก็เป็นสุข” เค้าชอบวิชาประดิษฐ์ตัวอักษร เป็นที่มาของไอแพด ,ไอพอด

การที่เป็นคนรวยแต่นอนในสุสานก็ไม่มีค่าอะไร

2.  Where do we want to go?

-  ตั้งเป้าหมายระยะยาว

Bill Gates: เรียนไม่จบ ลาออก เพราะตั้งใจมาทำฝันให้เป็นจริง

“มองกว้าง คิดไกล ใฝ่สูง”

-  กระจายโอกาสให้คนทั้งโลก

-  พระพุทธเจ้าตั้งเป้าหมายว่า  1. เราเป็นเลิศที่สุด 2.เราเจริญที่สุด 3. เราประเสริฐที่สุด เรา หมายถึงมนุษย์

-  Purpose and passion เป็นสิ่งที่จำเป็นมากในชีวิตเรา

-  ในหลวงทรงตรัสว่า เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม

3.  How do we get there?

-  People ต้องดูแลคนทุกคนเหมือนเป็นกัลยาณมิตรเช่น ครู อาจารย์ เราจะเป็นอย่างไรดูได้จากคนที่เราคบ และต้องดู Social Progress

-  Planet ทรัพยากรธรรมชาติ

-  Profit กำไรและต้องดูแลสังคม

-  Passion  อุดมการณ์ และความศรัทธาอันแรงกล้า

-  “EVERYONE IS A WINNER”


สมคิด พงษ์ชวนะกุล

หัวข้อ : นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน ( social network ) กับการทำงานของ กฟผ.

สิ่งที่ได้เรียนรู้ : การจะทำอะไรกับชุมชนควรเป็นการเรียนรู้ร่วมกัน  มีท่าที ลีลา และความจริงใจ  ทำเรื่องง่ายๆ  สังคมจะดีขึ้นถ้าเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้  ชาวบ้านหรือชุมชนต้องการระบบที่จะทำให้สามารถพึ่งตนเอง  ระบบที่ดีคือระบบที่ทำให้คนทำถูกได้ง่าย  ต้องหาวิธีสร้างภาคี  เป็นหุ้นส่วนกับชุมชน

การปรับใช้กับ กฟผ. : การทำงานร่วมกับชุมชนต้องเอาความจริงใจเป็นที่ตั้ง  โปร่งใส  ยึดประโยชน์ของส่วนรวม  เรียนรู้ร่วมกับชุมชนเพื่อให้ได้สิ่งที่ชุมชนต้องการ


หัวข้อ : เทคนิคการสื่อสารกับสื่อสารมวลชน

สิ่งที่ได้เรียนรู้ : ต้องรู้และจัดกลุ่มผู้สื่อข่าว และบริหารความสัมพันธ์  รู้จักสร้างเครือข่าย  เชื่อมโยงให้ได้  รู้จักใครรู้จักให้จริง ( รู้รายละเอียดของเขา ) ศึกษากระบวนการทำงานของสื่อ  การให้ข่าวสารแต่ละครั้งอย่ามีประเด็นเยอะ  มีเนื้อหาหลักเนื้อหาเดียว  ต้องมีการทดสอบความเข้าใจของสื่อหลังจากให้ข่าวเพื่อให้แน่ใจในประเด็นที่เราสื่อสาร  ต้องมีปฏิสัมพันธ์แม้ขณะไม่มีข่าวเพื่อรักษาความสัมพันธ์  ต้องพูดความจริงและน่าเชื่อถือ  ต้องมีความสม่ำเสมอและจริงใจ

การปรับใช้กับ กฟผ. : การสร้างเครือข่ายเป็นเรื่องแรกที่ต้องดำเนินการ  ต้องเชื่อมโยงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้ได้  เรื่องอื่นๆค่อยดำเนินการต่อไป

หัวข้อ :Managing Self Performance

สิ่งที่ได้เรียนรู้ : ได้เรียนรู้วิธีการสำรวจตนเอง  การค้นหาความต้องการในใจตนเองและการวางแผนเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

การปรับใช้กับ กฟผ. : นำไปปรับการหา Competency เพื่อการพัฒนา


หัวข้อ "นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน(Social Innovation) กับการทำงานของกฟผ.

เพื่ิอให้การทำงานกับชุมชนของกฟผ.สัมฤทธิ์ผล กฟผ.จะต้องเปลี่ยนวิธีการทำงาน  ต้องทำงานให้เป็น Social Innovation  โดยมีประเด็นที่ต้องคำนึง คือ

- เข้าหาชุมชนก่อน ไม่ต้องรอให้เกิดโครงการก่อน

- เข้าหาชุมชนด้วยความจริงใจ เมื่อชุมชนรู้สึกว่าเราเป็นเพื่อน  เขาก็จะฟังเราพูด

-  ถามชุมชนว่าต้องการอะไร และทำหรือให้ในสิ่งที่ชุมชนต้องการ

- ทำเรื่องธรรมดาให้เป็นเรื่องพิเศษ

- เน้นการให้ ที่จะทำให้ชุมชนเป็นชุมชนเรียนรู้

-สร้างภาคีโดยเป็นหุ้นส่วนกับชุมชน


หัวข้อ เทคนิคการสื่อสารกับสื่อมวลชน

  • ต้องมี list of steakholder => ต้องบริหารความสัมพันธ์กับทุก steakholder
  • ต้องชัดเจนในเรื่องภาพลักษณ์ขององค์กร (Corporate Image & Business Image => Brand Image)
  • เทคนิคการสื่อสาร  : วิเคราะห์ผู้ฟัง / บริหารจัดการประเด็น
การให้สัมภาษณ์

1.เตรียมข้อมูลให้พร้อม

2. วิเคราะห์ผู้ฟัง

3.สอบทานความเข้าใจก่อนจบ จะให้ดีเตรียมบทคัดย่อไปมอบให้เลย

หากมีโอกาสเป็นผู้ให้ข้อมูลจะนำเทคนิคเหล่านี้ไปใช้

หัวข้อ Managing Self Performnce

ทุกคนสามารถพัฒนา competancy ได้  ได้เรียนรู้วิธีค้นหาเป้าหมายของชีวิตและวิธีที่จะบรรลุเป้าหมายนั้น แต่ถ้าจะทำให้สำเร็จจริงๆควรจะต้องเรียนรู้เพิ่มเติมและทำ workshop ด้วย


ชัยรัตน์ เกตุเงิน

อบรมวันที่ 26มีนาคม2556 Social Innovation/Communication

 ช่วงเช้าได้เข้าใจถึง Social Innovation ที่ต้องประกอบด้วย

-Innovation

-Creative

-Knowlage

ช่วงบ่ายได้รู้ถึงการบริหารสื่อ และการใช้สื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ชัยรัตน์  เกตุเงิน


ชัยรัตน์ เกตุเงิน

อบรมวันที่27มีนาคม2556 ธรรมาภิบาล

ช่วงเช้าได้ทราบถึงคำจำกัดความของธรรมาภิบาลของผู้บริหารแต่ละท่าน

อ.ธรรมรักษ์ –เป็นการเรียนรุ้จากการปฏิบัติจริง/การบริหารการเปลี่ยนแปลง

ผู้ว่า ไกร์สีห์-เป็นการทำให้เกิดความสมดุล  โดยมีพื้นฐานมาจาก

  P-การมีส่วนร่วม

  A-ความมีสำนึกรับผิดชอบ

  T-ความโปร่งใส

  E-ความสำเร็จ

ผู้ว่าสมบัติ-ขบวนการที่ใช้ในการกำกับกิจการเพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับความเป็นธรรม

ช่วงบ่าย –เป็นเรื่องของการบริหารพลังงานโดยต้องพิจารณาทั้งด้านdemand side  และsupplyside

  -ได้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของ white ocean

ชัยรัตน์ เกตุเงิน

ชัยรัตน์ เกตุเงิน

อบรมวันที่28มีนาคม2556

ช่วงเช้าผู้ว่าสุทัศน์ได้มาเล่าถึงประสพการณ์ของรุ่น2ที่นำมาใช้ในกฟผ  และได้แนะนำให้ทุกคนควรปรับตัวเพื่อรับกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต  โดยควร

-   รู้ให้กว้าง

-  จับประเด็น

-  ประเมินตนเองและเตรียมความพร้อม

ช่วงบรรยายเรื่องThailand Economy ทำให้ทราบถึงทิศทางของเศรษฐกิจโลกและทิศทางของพลังงานโลกตลอดถึงการ วางแผนในเรื่องของEnergy Management ในส่วนของการใช้ non-fossil

ช่วงบ่ายทำให้ทราบถึงขั้นตอนการดำเนินการในเรื่องของTQA/TQMในกฟผ ตลอดจนปัญหาและอุปสรรค์ที่พบในอดีต  ตลอดจนจุดอ่อน จุดแข็งของกฟผ และทิศทาง/นโยบายของรวห.ซึ่งเป็นหัวเรือใหญ่ในเรื่องดังกล่าวของกฟผ

ชัยรัตน์  เกตุเงิน


นายสุทธิชัย จูประเสริฐพร

26  มีนาคม  2556

บทเรียนที่ได้รับจากการอบรมวันนี้

1. นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชนกับการทำงานของ กฟผ.

ครูบาสุทธินันท์  ปรัชญพฤทธิ์  ได้แนะนำหลักการเข้าถึงใจประชาชนของ กฟผ. คือ

เอาชาวบ้านเป็นเพื่อได้ปัญหาทุกอย่างก็คลี่คลายได้

จะทำงานเชิงรุกได้ ต้องลุกจากเก้าอี้

วัฒนธรรมองค์การยังเป็นทางการเกินไป เอาความรัก ความเมตตา เข้าไปก่อน

ดร.เสรี  พงศ์พิศ 
มอง กฟผ.มี 2 บุคลิกภาพ คือด้านหนึ่งเป็นพระเอก ด้านหนึ่งเป็นผู้ร้าย
กฟผ.ต้องสร้างโรงไฟฟ้าโดยไม่มีโรงไฟฟ้า สร้างภาคีหุ้นส่วนกับชุมชน

คุณสุทธิเดช  สุทธิสมณ์  ได้มาเล่า 5 ทศวรรษ ของการเจริญเติบโตของ กฟภ.
ซึ่งก็เป็นมุมมองที่แตกต่างอีกด้านของ กฟผ. คือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
เสาไปถึงไหนประชาชนยินดีและดีใจได้ใช้ไฟฟ้า แต่เสาแรงสูงของ กฟผ.
ไปถึงไหนประชาชนเสียประโยชน์เพราะถูกเวณคืนที่ดิน

คุณศานิต  นิยมาคม 
ได้เล่าถึงการดำเนินงานด้าน
CSR ของ กฟผ.ที่ประสบความสำเร็จ และไม่ประสบความสำเร็จ

2. เทคนิคการสื่อสารกับสื่อสารมวลชน  ดร.พจน์ ใจชาญสุขกิจ 

ได้แนะนำว่าการรู้จักเขามากมาย แต่เขารู้จักเราหรือไม่ ต้นทุนชื่อเสียงมีมูลค่ามากกว่าทรัพย์สิน สื่อมาหา กฟผ.    สิ่งที่เขาต้องการ คือ

Topic , Issue , Subject การนำเสนอที่ดีควรจัดลำดับความคิดและเชื่อมโยงส่วนที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน

3. Managing  Self  Performance  คุณอิทธิภัทร์  ภัทรเมฆานนท์

ได้พูดถึง กฎแห่ง: การรับผิดชอบตัวเอง เหตุการณ์ (E) + การตอบสนอง (R) = ผลลัพท์ (O)

กฎแห่ง  : การเข้าใจให้ชัดว่าทำไมคุณถึงอยู่ตรงนี้

Life Mapping ตามหลัก 4’D ได้แก่ Discover , Dream , Design , Destiny

 

ทั้ง 3 หัวข้อ สามารถนำไปประยุกต์กับการทำงานใน กฟผ.และสามารถนำไปวางแผนชีวิตได้



 




นายสุทธิชัย จูประเสริฐพร

27  มีนาคม  2556

บทเรียนที่ได้รับจากการอบรมวันนี้

1. ธรรมาภิบาล ของ กฟผ. เป็น Panel Discussion

โดย  อดีต ผวก. ไกรสีห์  กรรณสูต

        อดีต ผวก. สมบัติ  ศานติจารี

        คุณธรรมรักษ์  การพิศิษฐ์

ได้ให้สาระพอสรุปได้ ดังนี้

       ธรรมาภิบาลที่ดีต้องปฏิบัติ และเรียนรู้ในหน่วยงานตนเอง

       กฟผ. ต้องจัดการกับชุมชน  จัดการความหลากหลายทางวัฒนธรรม

       ธรรมาภิบาลจะทำให้เราอยู่อย่างยั่งยืน

       ธรรมาภิบาลจะทำให้เกิดความสมดุลย์ระหว่างเทคโนโลยีกับชุมชน

       ถึงแม้ กฟผ.จะเป็นองค์กรที่มีธรรมาภิบาลมาตลอด แต่เรากำลังต้องปรับตัวกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป เราต้อง  ปรับวิธีการคิดใหม่

2. เศรษฐศาสตร์พลังงาน  ได้พูดถึง Demand Supply และ Price ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ แล้วให้เราทำ Workshop 6 เรื่องทำให้เราได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่าง ๆ

3. ผู้นำกับการสร้างทุนจริยธรรมในองค์กร  โดย  ดนัย  จันทร์เจ้าฉาย

ได้พูดถึง Change Happens! Change is constant  Shift Happens

ได้กล่าวถึงทฤษฎี White ocean strategy กลยุทธน่านน้ำสีขาว

โดยมีหลักการ คือ  1.ทำให้พื้นที่ตลาดเป็นประเด็นที่ไม่สำคัญ

                            2.ทำให้ทุกฝ่ายได้ประโยชน์และเป็นผู้ชนะร่วมกัน

                            3.จับทั้งความต้องการเก่าและใหม่

                           4.สร้างความสมดุลระหว่างคุณค่ากับต้นทุน

                           5. ผสานระบบทั้งหมดของบริษัทเพื่อสร้างผลประโยชน์ให้กับสังคมโดยรวม โดยสร้างผลกำไรอย่างพอเหมาะ และสร้างความยั่งยืนให้กับบริษัท

           แนะนำปัจจัยสำคัญในการมุ่งสู่ความสำเร็จ คือ คิด 1%  พูด 4%  ลงมือปฏิบัติ 95%

          ผู้นำที่ประสบความสำเร็จ ต้องมีกัลยาณมิตร ต้องเป็นคนช่างสังเกต โดยได้นำตัวอย่างองค์กร
บุคคลที่ประสบความสำเร็จในระดับต่าง ๆ มาเสนอเป็นตัวอย่างให้จุดประกายความคิดเปลี่ยนความคิด อันจะนำไปสู่การก้าวขึ้นสู่การเป็นผู้นำที่มีความพร้อมทุกด้าน




 



กิติพันธ์ เล็กเริงสินธุ์

สรุปวันที่ 26 มีนาคม 2556 วันนี้ในช่วงเช้ามีการสัมนา เรื่อง นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน (social Innovation) กับการทำงานของ กฟผ. มีผู้สัมนา คือ ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ ดร.เสรี พงศ์พิศ คุณศานิต นิยมาคม คุณสุทธิเดช สุทธิสมณ์ ดำเนินรายการ โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ จากที่ได้รับฟังแนวคิด และประสบการณ์ จากท่านวิทยากร จะเห็นว่า แนวคิดจะเหมือนกับที่ได้เคยไปฟังมา ชุมชน สังคม นั้นชาวบ้าน ไม่ต้องการอะไร นอกจากชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จากนวัตกรรมชุมชน เป็นแบบที่ง่ายๆ เช่น รวมกันทำเครื่องสีข้าว ทำสวนแบบพอเพียง เป็นต้น การที่ กฟผ. จะเข้าไปช่วยไม่ว่าชุมชนรอบโรงไฟฟ้า สถานที่จะก่อสร้างโรงไฟฟ้า สายส่ง สถานีไฟฟ้า ตลอดจนขยายผลออกไปสู่ชุมชนต่างๆ ให้ใช้วัฒนธรรมของชุมชนที่มีอยู่เป็นหลัก ใช้วัตถุดิบที่มีอยู่แล้วให้เกิดประโยชน์ ต่อยอดออกไป ชุมชนต้องการความรู้ กฟผ. ต้องสนับสนุนความรู้แก่ชุมชน และเข้าไปสอบถามรับฟังปัญหาที่แท้จริง แก้ปัญหาให้ตรงจุด โดยให้ชุมชนพึ่งตนเอง และเป็นหุ้นส่วนที่เท่ากันกับ กฟผ. ทั้งนี้ที่สำคัญคือ กฟผ. ต้องมีความจริงใจ ไว้วางใจซึ่งกันและกัน สำหรับภายใน กฟผ. ทุกหน่วยงานต้องทำหน้าที่ CSR ร่วมกัน และต้องให้พนักงานทุกคนรับทราบและปฏิบัติออกไปแนวทางเดียวกัน

  ในช่วงบ่ายได้รับฟัง เรื่องเทคนิคการสื่อสารกับสื่อมวลชน โดย ดร.พจน์ ใจชาญสุขกิจ ได้รับทราบเรื่องที่มาใช้ คือการจัดทำแผนภูมิผู้มีส่วนได้เสีย จากกลุ่มต่างๆ คือ competitor employee mass media government opinion leader community customer public และ shareholder ซึ่งแผนภูมิจะระบุใครที่มีอิทธิพลต่อเราบ้าง และต้องทันสมัยเสมอ นอกจากนี้ยังได้ทราบถึงการตอบสื่อควรต้องทำอย่างไร ซึ่งหลักๆ รู้เขา รู้เรา และรู้โลก โดยก่อนสัมภาษณ์ต้องรู้จักสื่อว่าเป็นประเภทใด เขาสนใจเรื่องอะไร วิธีทำงานของเขาเป็นอย่างไร ส่วนตัวเราก็ต้องเตรียมข้อมูลที่ถูกต้อง รวดเร็ว ทันสมัย ตอบต้องเป็นแค่ประเด็นเดียว เมื่อจบ ต้องมีการสรุปความเข้าใจ นอกจากนั้นยังได้ทราบกำ 10 ข้อที่ใช้กับการสื่อสาร

  ช่วงที่ 2 ตอนบ่ายต่อเย็น เป็นเรื่อง Managing Self Performance โดยอาจารย์อิทธิภัทร ภัทรเมฆานนท์ ได้ให้หลักการโดยให้สูตร เหตุการร์ + การตอบสนอง = ผลลัพธ์ โดยเราสามารถเลือกทางเลือก 2 ทาง คือ

  1. โทษเหตุการณ์ ที่ทำให้ไม่เกิดผลลัพธื

  2. เปลี่ยนการตอบสนองต่อเหตุการณ์

โดยเราต้องทำตนเป็น cause (เป็นผู้ทำให้เกิด)  มากกกว่า effect (รอให้เกิดขึ้น)  เมื่อมีอะไรให้หยุดคิดก่อนทำ

  ทำ  Life Mapping  เพื่อรู้จักตนเองและบริหารตนตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยต้องทำ Discover Dream Design Destiny เราก็จะรู้ถึงจุดของเรานอกจากนี้ ยังมีวิธีในการกระตุ้นอีก คือ R (Result)  M (Map)  P (Purpose) เป็นกระบวนการที่จะทำให้เราหรือผู้ร่วมงานประสบความสำเร็จในงาน รู้เป้าประสงค์ตนเอง และงาน


ทีมงานวิชาการ Chira Academy

การบรรยายพิเศษ

หัวข้อ ประสบการณ์การเรียนรู้ในรุ่น 2 ของข้าพเจ้า กับการปรับใช้เพื่อการ  บริหาร กฟผ. ในยุคที่โลกเปลี่ยน

โดย    คุณสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์

ผู้ว่าการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

28 มีนาคม 2556

อ.จีระ:  ขอขอบคุณท่านผู้ว่าสุทัศน์ทีมาเป็นเกียรติกับผู้เข้ารับการอบรม EADP9  สิ่งที่มากระทบรุ่นนี้ คือ การจัดการกับความไม่แน่นอน สังคม เศรษฐกิจ ขอเชิญท่านให้โอวาทครับ

ท่านสุทัศน์:  หลักสูตรนี้ดีมากเพราะเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับผู้บริหาร สมัยผมคือรุ่นที่ 2 ผมได้ไปดูงานเป็นช่วงการปรับเปลี่ยนกฟผ. ไปดูงานที่รัฐวิกตอเรีย ประเทศออสเตรเลีย ไปฟังผู้ประกอบการ ชุมชน รัฐบาลท้องถิ่น สหภาพ ฝั่งผู้ลงทุน ผู้ดูแล ชุมชน ทำให้เห็นหลายมุมมอง

ปัญหาคือ การที่จะขึ้นเป็นผู้บริหารระดับสูง ต้องใช้ความรอบรู้มาก และต้องปรับกระบวนทัศน์ และเรียนสิ่งต่างๆให้กว้างขึ้น

เวลาทำงานต้องคำนึงต้องวิสัยทัศน์ ต้องทำให้ชัด ซึ่งต้องมาจากการเรียนรู้ การเรียนหลักสูตรนี้ต้องจับประเด็นให้ได้ อ.จีระกระตุ้นให้เรียนรู้เสมอ และต้องหมั่นแลกเปลี่ยนความรู้ในเรื่องต่างๆ ไปดูblog ของผมในรุ่น 2 ได้ ผมเขียนเรื่องปัญหา HR คือเรื่องอัตรากำลังแรงงาน  มีนโยบายรับใหม่ ช่วงหนึ่งพยายามเตรียมรุ่นใหม่ขึ้นมา เป็นแผนอัตรากำลัง 5 ปี เริ่มตั้งแต่ การสรรหา การพัฒนา

ต้องมีหลักสูตรการพัฒนาผู้นำรุ่นใหม่ หลักสูตรนี้เป็นแผนการพัฒนาเตรียมพร้อมให้กับผู้นำ

ขอเล่าเรื่องการสร้างผู้นำรุ่นใหม่ เป็นแผนProcessor ของเรา พบว่ากลุ่มของ competency ผู้นำกฟผ. มี 5 ด้าน

1.  การปฏิสัมพันธ์

2.  ด้านธุรกิจ แสวงหาโอกาส หาพันธมิตร

3.  การขับเคลื่อนให้มีประสิทธิภาพ โดยการปรับปรุง process

4.  การสร้าง accountability

5.  การสร้างวัฒนธรรมองค์กร ที่ต้องสอดคล้องกับแผนธุรกิจ

ต้องมีการค้นพบตัวเองว่ามี competency ด้านไหน

การเป็นผู้บริหารกฟผ. ทุกคนต้องเตรียมความพร้อมไม่ว่าจะเป็นระดับไหนก็ตาม

บางจังหวะต้องทำให้เราแก้ไขปัญหาในองค์กร จนทุกคนยอมรับ และได้เป็นผู้ว่ากฟผ. สิ่งที่ผมตระหนัก คือ การเตรียมความพร้อมในวันข้างหน้า ทุกท่านมีส่วนร่วมในการพัฒนา และต้องมีโอกาสทำงานให้องค์กรประสบความสำเร็จ เพื่อให้แข่งขัได้ในองค์กรชั้นนำของประเทศ  องค์กรกฟผ.เป็นสิ่งที่คนไทยทุกคนให้ความไว้วางใจเป็นสิ่งที่ชาวกฟผ.ทุกคนอยากให้เป็น

  อ.จีระ ใช้ทฤษฎี 2R คือ ต้องยอมรับความจริง และอะไรเป็นประเด็นที่เราต้องจัดการ

  ฐานะที่เป็นผู้นำขององค์กรต้องคิดว่าเราจะแก้ไขปัญหายังไง ข้อดีของการบริหารจัดการกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จากรายงานของที่ปรึกษา กฟผ.มีการจัดการกับปัญหาได้ดีกว่า norm  เพราะเรามีการปรับวิธีคิดต่างๆ

  ความสำเร็จขององค์กร นอกจากปัจจัยภายในแล้ว ขึ้นอยู่กับความร่วมมือกับหลายฝ่าย จากรัฐบาล จากnetwork

  เรื่องที่อ่อนที่สุดของcompetency คือ เรื่องของ business  แต่เรื่องการขับเคลื่อน efficiency เราดี

  ผู้บังคับบัญชาต้องมีการให้คำแนะนำ coaching มีการให้คำแนะนำ พนักงานทุกคนก็จะใฝ่เรียนรู้ด้วยเช่นกัน

  ในช่วงรุ่นที่ 2 ผมเป็นประธานรุ่น การเดินทางไปต่างประเทศที่ออสเตรเลียดีมาก เพราะอ.จีระ มีเครือข่ายดีมาก  ทุกอย่างผ่านไปได้ด้วยดี ผมถือว่าเป็นการเรียนรู้ทีดีมาก

  สรุปคือ หลักสูตรนี้ สอนให้ผมรู้ให้กว้าง จับประเด็นให้ได้ และต้องประเมินตัวเราตลอดเวลา และต้องเตรียมความพร้อมอยู่เสมอ


เอกรัฐ สมินทรปัญญา

การอบรม ในวันที่ 27 มีนาคม 2556 ได้เรียนรู้ในหัวข้อ

·  “ธรรมาภิบาลของ กฟผ.

โดย  คุณไกรสีห์ กรรณสูต

คุณสมบัติ ศานติจารี

อาจารย์ ธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์

ดำเนินรายการโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

·  เศรษฐศาสตร์พลังงาน

โดย  ศ.ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์   

·  ผู้นำกับการสร้างทุนทางจริยธรรมในองค์กร

โดย  คุณดนัย  จันทร์เจ้าฉาย

 

  กฟผ. เป็นองค์กรที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นองค์กรที่มีธรรมาภิบาล ในระดับแนวหน้าของประเทศ ซึ่งเกิดจากการสร้างของผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานในอดีต ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ซึ่งผู้ปฏิบัติงานทุกระดับในยุคปัจจุบัน ควรต้องสืบทอดธรรมาภิบาล และส่งต่อให้กับผู้ปฏิบัติงานรุ่นต่อๆไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ฏิบัติงานใหม่ของ กฟผ. อีกทั้งควรมีการขยายธรรมมาภิบาลสู่สังคมภายนอก การเป็นองค์กรที่มีธรรมภิบาล ของ กฟผ. ควรถูกนำมาชูประเด็นให้ชุมชนได้รับรู้ ซึ่งเป็นการช่วยเสริมให้เกิดการเชื่อมั่นในการดำเนินงาน และจะช่วยลดการคัดค้าน หรือต่อต้านโครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ ของ กฟผ.

  ในสภาวะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ทำให้ กฟผ. ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น การหยุดส่งก๊าซจากประเทศพม่า เป็นต้น ดังนั้น กฟผ. ควรต้องคาดการณ์ไว้ล่วงหน้า และเตรียมแผนรองรับสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในสิ่งที่จะมากระทบกับองค์กร และในสิ่งที่ กฟผ.ควรจะต้องเดินเกมส์รุกไปข้างหน้า

  แนวทางการดำเนินงานของ กฟผ. เป็นไปในแนวทางที่สอดคล้องกับ White Ocean อาทิการเป็นองค์กรธรรมาภิบาล การมีชมรมทางศาสนาในองค์กร ดังนั้นการทำให้ กฟผ. เป็นหน่วยงาน White Ocean น่าจะเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิต และคุณภาพงาน ให้กับผู้ปฏิบัติงาน และสร้างความยั่งยืนให้กับองค์กรในท้ายที่สุด     


เอกรัฐ สมินทรปัญญา

การอบรม ในวันที่ 28 มีนาคม 2556 ได้เรียนรู้ในหัวข้อ

·  ประสบการณ์การเรียนรู้ในรุ่น 2 ของข้าพเจ้า กับการปรับใช้เพื่อการบริหาร กฟผ. ในยุคที่โลกเปลี่ยน

โดย    คุณสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์

     

·  เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทย..ผลกระทบและการปรับตัวของ  กฟผ.

โดย  รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

  ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล

อาจารย์มนูญ  ศิริวรรณ

   

ดำเนินรายการโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

·  TQM/SEPA: ความเป็นเลิศและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ กฟผ.  

โดย    คุณพิบูลย์ บัวแช่ม

  อาจารย์สัญญา  เศรษฐพิทยากุล

  คุณนริศ ธรรมเกื้อกูล

  กฟผ. ควรต้อง สนับสนุนในด้านต่างๆ เพื่อให้องค์กรมีผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ มีความรู้หลากหลาย สามารถในการปรับตัวให้ได้กับการเปลี่ยนแปลง พร้อมรับสำหรับโอกาสต่างๆ ที่จะเข้ามา มีวิธีคิดที่ดี สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับภายนอกองค์กร สามารถนำนวัตกรรมมาใช้ และสามารถร่วมสร้างองค์กร กฟผ. เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

  กฟผ. ควรต้องวางกลยุทธ์ขององค์กร ในระยะสั้นและระยะยาว และอาจต้องมีการปรับโครงสร้างองค์กรในวาระต่างๆ เพื่อปรับให้เข้ากับการเปลียนแปลง และต้องค้นหาความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับการดำเนินงานขององค์กร และต้องปิดความเสี่ยงเหล่านั้น

กรณีศึกษาในด้านความสำเร็จ และความล้มเหลว ที่เกิดขึ้นในประเทศจีนซึ่งเป็นประเทศใหญ่ น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับ กฟผ. ซึ่งเป็นองค์กรใหญ่ในประเทศ

  กฟผ. สามารถบริหารจัดการด้านพลังงานไฟฟ้าของประเทศ ได้เป็นอย่างดี ดังนั้นหาก กฟผ. จะพิจารณาในการเป็นศูนย์การบริหารด้านพลังงานไฟฟ้า ของประเทศในกลุ่มอาเซียน จากโอกาสประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งน่าจะมีความเป็นไปได้ นอกจากนี้ กฟผ. ควรเน้นเพิ่มเติมในการรณรงค์การใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมการใช้พลังงานสีเขียวให้มากขึ้น

   การนำ TQM/SEPA มาใช้ในองค์กร กฟผ. เป็นสิ่งดีในการใช้เป็นเครื่องมือพัฒนาการทำงาน แต่ยังคงต้องหาวิธีการในการที่จะให้เป็นสิ่งที่เข้าใจได้โดยง่าย เช่น มีกระบวนการที่สั้น ใช้ภาษาที่เข้าใจได้ง่าย เป็นต้น และควรต้องให้ผู้ปฏิบัติงานทุกระดับ รับรู้ เข้าใจ เข้าถึง เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานเต็มใจในการดำเนินการ


ทีมงานวิชาการ Chira Academy

หัวข้อ   แนวคิด Blue Ocean กับการทำงานของ กฟผ.

และการปรับใช้เพื่อสร้างโครงการแบบนวัตกรรมของ กฟผ.

โดย   รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

29 มีนาคม 2556

การขยายร้าน ขยายเครือข่าย ต้องไม่ขยายหลายสาขาเกินไปจนคุณภาพไม่ดี เพราะถ้าเป็นแบบนี้อยู่ได้ไม่นานกิจการก็อยู่ไม่รอด

ที่แต่ละคนดิ้นรนไปเรียนวปอ. จริงๆแล้วไม่ได้ไปเรียนเพื่อหาความรู้ แต่ไปหา Connection มากกว่า

ข้อมูลและความรู้เป็นดาบ 2 คม ต้องเข้าสู่ยุคของการบริหารข้อมูล การอ่านต้องอ่านจากสื่อหลายๆอย่าง ถึงจะมีความรอบรู้ เช่น ถ้าเรารู้แต่ภาษาแต่ไม่รู้ถึงเนื้อหาข้างในเลยก็ไร้ประโยชน์

ถ้าไม่มีการบริหารข้อมูล ก็จะมีข้อมูลในสมองมากเกินไป ต้องรักษาโรคนี้ให้ได้ด้วยวิธีการดังนี้

การรักษาต้องแบ่งข้อมูลเป็น 3 ประเภท

1.  ข้อมูลทั่วไป  รับเฉพาะข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรา  เช่น สื่อช่อง 3 ก็จะให้ข้อมูลทางบวกของรัฐบาลเท่านั้น  

2.  ข้อมูลเชิงกลยุทธ์ เป็นการรับข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับเรา  จึงจะเป็นการปรับสมองของเราเข้าสู่ blue ocean

3.  ข้อมูลที่สำคัญ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง  

- ต้องมี process

-  ต้องตระหนัก  ซึ่งการรู้ กับตระหนักก็แตกต่างกัน คือ การรู้เป็นสิ่งที่เรารู้ผ่านๆ เพราะตระหนักคือ คนที่รู้จริง และมีเหตุผลในการจำต้องมีระบบในการจำที่ดี

- วิธีการเรียนการสอนที่ผิด ส่งผลต่อการรับรู้

- ถ้าบางคนจำได้ ควรวิเคราะห์ให้เป็นด้วย

คำถาม  เนื้อหาการบรรยายของอาจารย์เมื่อวานนี้ เกี่ยวข้องกับวันนี้หรือไม่

-  อาจารย์ทุกคนไม่ได้รู้ล่วงหน้า แต่อาจารย์บางคนมีการคิด และมีการสอนล่วงหน้า วางแผนมาอย่างดี 

-  ถ้าเป็นคนที่ไม่คิดอะไร บางคนก็มีความสุข  แต่อาจารย์ชอบวางแผนยุทธศาสตร์ วางแผนชีวิตเป็นอย่างดี ชีวิตบั้นปลายหลังเกษียณจึงมีความสุข เพราะทำทุกอย่างคุ้มค่าแล้ว

Blue Ocean  คืออะไร

-  ต้องเริ่มต้นรู้จริง  และตระหนัก ถึงเห็นอะไรก็ใช้ได้ทุกเรื่อง

-  ต้องถามว่าทำไม และทำอย่างไร จนถึงทำแล้วเห็นความแตกต่าง

-   รู้ว่าข้อมูลบางอย่างดี หรือไม่ดี และสามารถบริหารข้อมูลได้เป็นอย่างดี

-  สามารถมองนอกกรอบได้  จนทำให้ลูกค้าพอใจ

Blue Ocean  มาสู่การรู้จริง

-  บางครั้งคนฉลาดได้ข้อมูลที่ไม่ดี แต่เปลี่ยนข้อมูลให้เป็นข้อมูลที่ดีได้

-  บางครั้งเจออะไรที่ไม่ดี ก็อย่างยอมแพ้ บางคนสอบตกวิชาอะไร ก็ยอมแพ้  อย่าตำหนิตัวเอง ลุกขึ้นสู้กับมัน

หนังสือ Blue Ocean 

Red Ocean

Blue Ocean

สู้ในตลาดที่มีสินค้าและบริการตัวเก่า  

สร้างสินค้าและบริการตัวใหม่(Innovation)

เอาชนะคู่แข่งโดยใช้กลยุทธ์ด้านราคา

สร้างอุปสงค์(ความต้องการของคน)ใหม่ขึ้นมา (New Demand) ทำให้มีโอกาสเติบโต และมีสัดส่วนกำไรที่มากขึ้น

พยายามเอาลูกค้ามาเป็นของเราหมด

ไม่มุ่งเน้นแข่งขันกับคู่แข่ง ไม่เปรียบเทียบกัน และสร้างลูกค้าใหม่

กลยุทธ์สร้างความแตกต่างเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง

ใช้ได้ทั้งกลยุทธ์ด้านราคาและสร้างความแตกต่างไปพร้อมกัน ซึ่งจะทำให้เกิดนวัตกรรมที่มีคุณค่า (Value Innovation)

Innovation มีหลายแบบ แต่สิ่งที่เป็น Blue ocean คือ product และ service

-  Strategy

-  Product

-  Process

-  Service  มี 2 ประเภท คือ

1.  สินค้า

2.  บริการ

เรียกว่า Trade in Service

Non cosumer  เปลี่ยนเป็น Non Customer ลูกค้าที่อยากบริโภคแต่ไม่มีโอกาสได้บริโภค ต้องสร้างนวัตกรรมสินค้า และบริการ

-  สรุป Red Ocean กรอบเก่า ลูกค้าเก่า Segment เก่า กลยุทธ์ แย่งส่วนแบ่งทางการตลาด

-  สรุป Blue Ocean ยังไม่เคยเป็นลูกค้า Non cosumer  สร้างนวัตกรรมสินค้าและบริการ

ตัวอย่าง

เครื่องบินก็คือ Red Ocean เพราะใช้ Segment เก่าๆ  ราคาแพง แต่กำลังเป็น Blue Ocean ที่ถึงจุดหมายเร็วเหมือนเครื่องบิน ถูกเหมือนรถเมล์  ก็คือ low cost airlines

เช่น นกแอร์ เป็น Blue Ocean  แต่ไม่เป็นเจ้าแรก เพราะเจ้าแรก คือ orient air การที่มีประเทศอื่นแล้ว แต่เป็นที่แรกของประเทศไทย เป็น Blue Ocean หรือไม่  คำตอบ คือ ไม่ได้เป็น Blue Ocean เพราะต้องเป็นนวัตกรรมใหม่ของโลก  (ถ้าเป็น Blue ocean ก็เป็นแบบอนุโลม ให้ไทยมีกำลังใจ ต่อไป)

บ้านไร่กาแฟ เป็น Blue ocean บางส่วน ค้นพบ demand ใหม่ ลูกค้ากินกาแฟระหว่างเดินทาง และขายกาแฟที่ปั๊ม ตอนที่เป็นเจ้าแรก ยังไม่มีคู่แข่ง  แต่ไม่ตรงกับข้อ 1 เพราะกาแฟ เป็นสินค้าเก่าแล้ว

สุกี้โคคาเป็นเมื่อ 30 ปีก่อน  เมื่อก่อนลูกค้าเยอะมากต่อคิวยาว มีนวัตกรรมทำเป็นสุกี้แบบใหม่ ซึ่งเป็นเจ้าแรกของโลก แต่ตอนนี้ไม่ใช่แล้วเพราะคู่แข่งเยอะ

ไก่ย่างห้าดาวไม่ใช่ เพราะไก่ย่างมีนานแล้ว

Jiffy ในปั๊มJet  เป็น  Blue ocean เพราะสามารถทำนายได้ว่าจะมีคนมาประเภทใหม่ ที่มาแวะโดยที่มาเติมน้ำมัน

มุมที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจ คือ

1.  อย่ามองจากมุมตัวเอง 

2.  มองศักยภาพของตนเองว่าทำอะไรบ้าง เป็นสิ่งที่ปัจจุบันยังไม่ได้ แต่มองแล้วว่าในอนาคตทำได้ เรียกว่า Core competency

-  คนเรามีศักยภาพทำได้หลายเรื่องแต่ไม่ใช่ทุกเรื่อง

-  หนังสือเรื่อง Competing in the future  สร้างศัพท์คำว่า Core competency  หมายถึง มีความแตกต่าง ที่คนลอกเลียนแบบยาก ผลิตสินค้าและบริการได้เยอะ นำไปสู่การผลิตสินค้าและบริการได้หลายตัว

-  นวัตกรรมการบริหาร การศึกษาอยู่ที่ passion  ต้องค้นพบตัวเอง และเกิดความชอบในสิ่งที่ตัวเองรัก และเลือกอาชีพที่เรารัก และมีอนาคต

-  มีpassion ชอบกิน ทำอาหาร เช่น มีความสุขเหมือนหมึกแดง และหม่อมถนัดศรี

3.  Core  Process เช่น amazon.com เป็นเจ้าแรกที่ปรับ process ในการขายหนังสือ และได้ลูกค้าใหม่  

เช่น

- ดวงกมล เจ๊ง  ไม่ปรับธุรกิจตัวเอง

-  Google:  Mark Zuckerberg

-  Mcdonald รวยจากการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน อสังหาริมทรัพย์

-  การมีพันธมิตร เป็นการได้ Core competency ใหม่

-  การปรับเปลี่ยนวิธีการขาย เช่น โออิชิ , ซาลาเปาวราภรณ์ ขายออนไลน์

-  เป๊ปซี่ โคล่า ขายตู้น้ำขายด้วยการขยายเครื่องใหญ่มาก

โลกาภิวัตน์ หมายถึง  แผ่ไปสู่ทุกส่วนของโลก และprocess ก็คือ โลกไร้พรมแดน ซึ่งเป็นสถานภาพที่เกิดขึ้นในตอนสุดท้าย

เช่น สีฟ้า ขายไม่ดีในตอนนี้เนื่องจากโลกาภิวัตน์  ที่สามารถนำมาอาหารญี่ปุ่น อาหารอิตาลีเข้ามาในประเทศได้

การดำเนินธุรกิจให้เป็น Hospitality หรือ Wellness

1.  วิเคราะห์ลูกค้าถึงกึ๋น  กลุ่มคนไข้ และกลุ่มพาคนไข้มา

-  Value Innovation มาจาก costs และ Buyer Value  คือ คุณภาพ, คุณภาพที่ไม่เหมือนใคร 

-  วิเคราะห์ให้มีความสมดุลตรงกับตำแหน่งของลูกค้า และสามารถชดเชยความแตกต่างได้

-  สมดุลทางด้านราคา คุณภาพ

-  การไปกินบ้านไร่กาแฟครั้งแรก วางราคาครั้งแรก 80 บาท ซึ่งแพงไป เพราะไม่สมกับราคาและรสชาติ  ต้องดูว่าลูกค้าเป้าหมายเป็น Low หรือ Hi end

-  คนที่ไปนวดฝ่าเท้า และคนที่ไปกินกาแฟที่บ้านไร่กาแฟ เป็นลูกค้ากลุ่มเดียวกัน เพราะส่วนใหญ่เดินทางไปต่างจังหวัด

-  สิ่งสำคัญ ต้องไม่มองจากมุมตัวเอง

-  Amazon60 บาทต้องระวัง ถ้าเจ้าอื่นอร่อยกว่า

กลยุทธ์ของ Blue Ocean

1.  Eliminate จะตัดหรือจะเพิ่มอะไรต้องดูว่าจะกระทบลูกค้าหรือไม่

2.  Reduce

3.  Raise

4.  Create  

ถ้าคนรวยมาใช้บริการ ต้องสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก ให้คนที่พามาคนไข้มา คือ มีที่พัก มีร้านสตาร์บัค, โอปองแปง ให้บริการด้วย  ถือเป็น Blue ocean

2.  Customer centric  คือ การรู้จักและเข้าใจความรู้สึกของลูกค้า

3.  Competitive benchmarking

4.  innovation คิดแบบวิธีการแปลกๆ วิเคราะห์ว่าทำได้ไหม ทำอย่างไร และขายได้ไหม

 


นายภัทรกฤช เตชะศิกานต์

การบ้าน วันที่ 26 มีนาคม 2556

Social  Innovation

ครูบา สุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์

  ได้ให้ความรู้กับพวกที่ไปมหาชีวาลัยอีสาน ที่บุรีรัมย์ โดยพึ่งพาธรรมชาติ เช่น หน้าแล้ง วัวไม่มีหญ้ากิน ก็เอาใบไม้มาบดๆ ก็ให้กินได้ถามว่ารู้ได้อย่างไรว่า วัวกินใบไม้ ท่านก็บอกว่ายัดใส่ปากมันดูไงล่ะท่านได้พูดถึงว่า
กฟผ.น่าจะมีปัญหาในการอธิบายหรือเปล่าในการเข้าพื้นที่ต่างๆและมีความจริงใจหรือไม่ ต้องทบทวน

ดร.เสรี พงศ์ดิศ

  สังคมจะดีชึ้นถ้าเป็นสังคมเรียนรู้มีแต่ท่องตำรา ต้องสร้างประสบการณ์เป็นสังคมใช้อำนาจกับเงิน ไม่ได้ใช้ปัญญา
ยกตัวอย่าง คุณประยงค์ รณรงค์ ได้รับรางวัลแมกไซไซ ที่ ตำบลไม้เรียง จังหวัดนครศรีธรรมราช ทำเกี่ยวกับไม้ยางพารา โดยได้ใช้ความรู้ต่างๆทำยุทธศาสตร์การพัฒนาเช่น

- ยุทธศาสตร์การเรียนรู้

- ยุทธศาสตร์พึ่งพาตนเอง

- ยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากร

- ยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพและพัฒนาจิตใจ

- ยุทธศาสตร์การเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรในชุมชน

และให้ความรู้เรื่องโรงเรียนแก้หนี้แก้จนเครือข่ายมหาวิทยาลัยชีวิต ตามแนวคิดเศรฐกิจพอเพียง

-แผนชีวิต

-แผนเงิน

-แผนอาชีพ-ปลูกไผ่, ทำสบู่ดำ

-แผนสุขภาพ

คุณสุทธิเดช  สุทธิสมณ์

  มาเล่าเรื่องการพัฒนาไฟฟ้าภูมิภาคจากอดีตมาสู่ปัจจุบัน
โดยมุ่งให้ทุกคนมองไกลรอบรู้และไปให้ถึงเหมือนที่ กฟภ. ประสบความสำเร็จ

คุณศาธนิต นิยมาคม

  มุมมองที่วิทยากรหลายๆท่านได้ให้ความรู้มุมมองภายนอก แต่คุณศานิต ได้ให้ความรู้ในมุมมองภายใน กฟผ.
จะไปตรงไหนเราเป็นพระเอก แต่ปัจจุบันไม่ใช่แล้ว สายส่งไปตรงไหนใครๆ ก็กลัว กฟผ. ทำงานลำบากต้องให้ความสำคัญกับStakeholder สร้างสังคมให้อยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืนพวกเราทุกคนต้องขับเคลื่อนเพราะดูแลประชาชน



 

ทีมงานวิชาการ Chira Academy

หัวข้อ High Performance Organization ที่ กฟผ.

โดย  ดร.สมโภชน์ นพคุณ

คุณสมชาย ไตรรัตนภิรมย์

รองกรรมการผู้จัดการ

บริษัท ทริส คอร์ปอเรชั่น จำกัด

ดำเนินรายการโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

29 มีนาคม 2556

ดร.จีระ: การประเมินและ Quality Management เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงตลอดเวลา

คุณสมชาย: กฟผ.เป็นรัฐวิสาหกิจชั้นนำ ริเริ่มนำแนวความคิดการบริหารจัดการ และต้องมีการประเมินผลรัฐวิสาหกิจ 

เมื่อเกิดวิกฤติต้มยำกุ้ง ปรากฏว่ารัฐวิสาหกิจตกชั้น หลังจากนั้น กฟผ.ถูกประเมินผลรัฐวิสาหกิจ  จากกระทรวงการคลัง ของบริษัทแอสเซ็นเจอร์ หลังจากนั้นทริสก็ทำต่อ

เป็นที่ปรึกษาประเมินรัฐวิสาหกิจจากSEPA รวมถึงกฟผ.ด้วย

ของอ.สมโภชน์เน้นของจริงในภาคปฏิบัติ ส่วนผมขอพูดเรื่องแนวคิดทฤษฎี

HPO หมายถึง ทำงานได้อย่างเป็นเลิศ  ต้องมีคำว่า excellent ต้องชนะคู่แข่งขันได้ตลอดเวลา

HPO  เป็นคำศัพท์จากต่างประเทศ พูดถึงในแง่ใดบ้าง ขอนำเสนอดังต่อไปนี้  และมีเรื่องการประเมินผล

HPO ที่พูดถึงบ่อยๆ คือ ปตท. อยู่ใน Fortune 100 ด้วย ส่วนในราชการ คือ กพร. ทั้งในเรื่องของ KPI และยุทธศาสตร์ กพร.ไปรับระบบ TMQA มาด้วย 

  กระทรวงพลังงาน ใช้ระบบนี้ด้วย ท่านดร.นรกุล เป็นปลัดกระทรวงพลังงาน ท่านเป็นคนผลักดันให้ใช้เรื่องนี้อย่างจริงจัง เชื่อว่าจะทำให้องค์กรทำงานได้ดีอย่างมีประสิทธิภาพ และยั่งยืน

  มีการประชุมเรื่องนี้ตลอด  และผู้ที่มีส่วนขับเคลื่อนการทำงานขององค์กรขึ้นอยู่กับพนักงานที่สามารถทำงานเป็นทีม มีความผสมผสาน และมีความเป็นหนึ่งเดียวให้องค์กรพัฒนาเป็นองค์กรชั้นดี และเป็นเลิศ

HPO leadership traits

-  ทัศนคติเชิงบวก

-  มุ่งมั่นตั้งใจ

-  มีวินัย

-  ความคิดริเริ่ม

-  ใช้ปัญญา เหตุผล

-  มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน

-  น่าเชื่อถือ

ผู้นำต้อง มีPurpose ชัดเจน

1.  กำลังไปที่ไหน

2.  ไปอย่างไร

3.  จุดมุ้งหมายคืออะไร

4.  วัดความสำเร็จของจุดมุ่งหมายอย่างไร

พนักงานต้อง

1.  สื่อสารเก่ง

2.  ริเริ่มดี

3.  เข้าใจภารกิจวิสัยทัศน์

ผลลัพธ์การทำงาน

1.  Accountability ความรับผิด รับชอบ สามารถให้คนเช็คบิลได้

2.  มี Commitment

3.  มี Result

ทีมงานต้องมีลักษณะดังนี้

1.  มีเป้าหมายร่วมกัน

2.  สร้างความสัมพันธ์ที่ไว้ใจกัน

3.  สร้างสมดุลของงานและชีวิตครอบครัว

4.  วางแผนงาน

5.  มีส่วนร่วมในการทำงาน

6.  การเคารพเข้าใจในความแตกต่าง

7.  มีการพี่งพาอาศัยกัน

8.  ให้รางวัลกับบุคลากร

9.  มีการสื่อสารอย่างมีประสิทธิผล

10.ปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

หลังจากนั้นจะมีการพัฒนาไปสู่องค์กรที่มี HPO  และต้องถ่ายทอดให้ไปทุกระดับของการทำงาน

แนวคิดขององค์กรที่มี HPO

-  ปตท. จะตั้งเป้าหมายสูง อยู่ใน Fortune 100 ทางด้านยอดขายได้เร็วกว่าเป้าหมาย 45 ปี

-  เน้นที่ผลลัพธ์และสร้าง Value ให้องค์กร

-  เน้นสิ่งที่ตนเองมีความสามารถและโดดเด่น

-  เป็นองค์กรที่มีความยืดหยุ่นสูง ปรับได้ตลอดเวลา

-  ซัมซุง เป็นองค์กรที่มีการพัฒนาจัดการบริหารแบบยืดหยุ่น ย้อนไปเมื่อ 10-15 ปีที่แล้วไม่มีใครกล้าใช้สินค้าที่มาจากเกาหลี

องค์กรที่เป็น HPO ต้องปรับเปลี่ยน

-  เป็นทีม

-  เป็น DYNAMIC Structure

-  ปรับprocess ให้คนทำงาน

APPLE –Key Success Factors

-  นำเสนอบริการลูกค้าด้วยประสบการณ์ที่สุดยอดอยู่เสมอ

-  ออกของใหม่ที่ดีกว่าเดิม

-  สินค้าใช้งานง่าย

-  ทำอะไรง่ายๆเข้าไว้

-  คนคิดสินค้าอยากใช้และมีไว้เองจริงๆ

Strategy-Focus Organization

-  ผู้นำต้องเป็นผู้ทำการขับเคลื่อนและเปลี่ยนแปลงองค์กร

-  การแปลงยุทธศาสตร์สู่สิ่งที่จับต้องได้

-  การทำให้ทั้งองค์กรสอดคล้องและเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์

-  การจูงใจเพื่อให้ทุกคนให้ความสำคัญและปฏิบัติตามยุทธศาสตร์

-  การดูแลให้การบริหารยุทธศาสตร์เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง

ในประเทศญี่ปุ่น ให้ความสำคัญกับเรื่องนวัตกรรมมาก

Seven Categories of the  Business/Nonprofit Criteria

  Leadership

  Strategic Planning

  Customer and Market Focus

  Measurement, Analysis, and Knowledge Management

  Workforce Focus

  Process Management

  Results

แฮมเบอร์เกอร์โมเดล  สามารถสะท้อนไปยังบริบทขององค์กร เหมือนเป็นการเขียนแนะนำองค์กร ซึ่งจริงๆแล้วต้องเข้มข้นกว่านั้น ดูจุดเด่น จุดด้อย ว่าต้องพัฒนาอะไร

องค์ประกอบหลักขององค์การ HPO

1.  การมุ่งเน้นความสมดุล

2.  การนำองค์กรอย่างมีวิสัยทัศน์

3.  ความเป็นเลิศที่มุ่งเน้นลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

4.  การเรียนรู้ขององค์กรและของบุคลากร

5.  การเห็นคุณค่าของพนักงานและคู่ค้า

6.  ความสามารถในการปรับตัว

7.  การมุ่งเน้นบทบาทของรัฐวิสาหกิจในอนาคต

8.  การจัดการเพื่อสร้างนวัตกรรม

9.  การจัดการโดยใช้ข้อมูลจริง

10.การแสดงความรับผิดชอบต่อสาธารณะ รวมทั้งการพัฒนาสังคมและประเทศ

11.การมุ่งเน้นที่ผลลัพธ์

12.การมีมุมมองเชิงระบบ

รายงานผลการประเมินการดำเนินงานตามระบบการประเมินคุณภาพรัฐวิสาหกิจ (SEPA) ประจำปีบัญชี 2554 -คะแนน

อ.จีระ: ขอขอบคุณอ.สมชาย ที่ได้มาให้ความรู้ และเราต้องค้นหาสิ่งที่เป็นจุดอ่อน ของเรา  และเร่งจุดที่เป็น HPO

เน้นเรื่อง 2 R ว่าเราต้องต้องประเด็น และต้องเน้นเรื่องอะไรบ้าง

ดร.สมโภชน์ : ขอพูดถึงประเด็นแรก คือ อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้เบื่อหน่าย เรื่องการบริหารบุคคล เพราะวิศวะจะไม่สนใจเรื่องสังคม แต่จริงๆแล้ว ผู้นำจะต้องสนใจบริบทเรื่องคน เรื่องสังคม จิตวิทยามาก

ผู้บังคับบัญชา ต้องให้ความสนใจนอกจากวิชาชีพของตนเอง  

ความแตกต่างของบุคคล และงานที่หลากหลายเป็นคุณสมบัติของ HPO

เวียดนามมีความหลากหลายในแต่ละจังหวัด แต่สิ่งที่ไม่แตกต่างคือ นโยบายของภาครัฐ

พฤติกรรมของคนไทย การสัมมนาในต่างประเทศ เค้าถามว่า Learning คืออะไรแต่กระบวนการที่จะทำให้เกิด Learning ไม่เกิด เพราะไม่คุยกัน ไม่ถกเถียงความรู้กัน ไม่มี process การเรียน

ภูมิสังคม ในแต่ละประเทศบริบทไม่เหมือนกัน แต่ที่เหมือนกันคือ แบ่งคนออกเป็น 3 ประเภท

1.  อยู่ล่างสุด 25-30% เป็นกลุ่มคนประเภทไม่อยากทำงาน

2.  คนส่วนใหญ่ อยู่ระดับกลาง  45-50% พอไปได้

3.  คนระดับสูง 15-20% เป็นกลุ่มคนที่มีความโดดเด่น อยากเห็นความสำเร็จในงาน เป็นกลุ่มที่จะพัฒนาให้องค์กรโดดเด่นได้

ประเทศไทยมีหลาย policy แต่มาตรฐานเดียว จึงเห็นว่าระบบราชการให้คนคิดไม่เป็น ใครคิดไม่เหมือนหัวหน้าก็เดือดร้อน จึงไม่เกิด HPO ในประเทศไทย

องค์ประกอบการทำงาน

1.  โครงสร้าง

2.  กระบวนการทำงานสัมพันธ์กับโครงสร้าง

3.  กฎระเบียบที่ออกมา นิ่งแต่ต้องไดนามิก

4.  คนที่อยู่ในองค์กร

-    ในมิติ individual person ซึ่งแตกต่างกัน จึงเป็นไม่ได้ที่อยู่ร่วมกันแล้วจะเหมือนกัน

5.  เทคโนโลยี

6.  สถานที่ทำงาน

-  เวลาจะออกแบบโครงสร้างองค์กรต้องสมเหตุสมผล และต้อง dynamic

คำถาม อะไรเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการสร้าง คนให้เป็นHPO เป็นคนเก่ง คนดี ที่ยอมรับของคนทุกคน  และถ้าเราต้องเอาชนะอุปสรรคต้องทำอย่างไร

กลุ่ม 1

คนเก่ง

1.  ต้องใฝ่เรียนรู้ รับฟังกับผู้ให้ความรู้

2.  วิเคราะห์ความรู้ที่ได้มา ว่าเป็นความรู้ที่ถูกต้อง มีคุณค่าหรือไม่

คนดี

1.  มีคุณธรรม จริยธรรม โดยใช้ศีล 5

2.  มีการรับฟังความคิดของคนอื่น

กลุ่ม 2

1.  อยู่ที่วิธีคิด และ Mindset มีทัศนคติการยอมรับ

2.  มีวินัย

3.  ความซื่อสัตย์ น่าเชื่อถือ

คนเก่ง

1.  มีความคิดริเริ่มที่ดี

2.  มีจินตนาการ

กลุ่ม 3

1.  มีจริยธรรม

2.  มีศีลธรรม

คนเก่ง

1.  รู้กว้าง ข้ามศาสตร์

2.  ต้องมีการประเมินตนเองตลอดเวลา

กลุ่ม 4

-  ในกฟผ. ทำอย่างไรให้เป็นคนดี คนเก่งได้ เน้นเรื่องการตรงต่อเวลา

-  มุ่งมั่นทุ่มเท

-  เน้นการสร้างความเข้มแข็ง

กลุ่ม 5

ใช้สโลแกน ว่ากระบวนการให้ได้มา คือ การทำให้ได้คนมา มีสมมติฐานว่า เด็กที่เรียนเก่ง คือ มีดีอะไรหลายๆอย่าง

-  ต้องรักษาคนในองค์กร

-  พัฒนาคนในองค์กร ให้การศึกษาฝึกอบรม

-  กระบวนการฝึกอบรม ที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมองค์กร เป็นวิธีการหนึ่งที่ทำให้คนรักองค์กร มุ่งงานเลิศ เทิดคุณธรรม

-  คนที่ทำงานที่ต่างจังหวัดก็จะมีเครือข่ายมาก และมีเพื่อนมาก 

กลุ่มที่ 6

เรื่องทีผู้ว่าการย้ำเสมอเรื่องคุณสมบัติของ พนักงาน กฟผ.

-  ใฝ่รู้

-  ใฝ่ธรรม เป็นคนดี

-  ใส่ใจผู้อื่น

-  การทำงานแบบให้มีองค์รวมแบบมีองค์รวม

-  บริหารเชิงธุรกิจ

-  มีทีมเวิร์ค และมีเครือข่าย

อ.สมโภชน์:

Human Being กับ Human Resource ต่างกัน เพราะ Human Being คือ

1. คนไม่ใช่สิ่งของ

2. มีชีวิต จิตใจ ความรู้สึก

3. มีความมุ่งมั่น เอาชนะธรรมชาติ

4. มีความคิดเพื่อพัฒนาการต่างๆตลอดเวลา

กระบวนทัศน์ของคนทำงานที่ต่างไปจากเดิม

1.  มีร่างกายที่ต้องดูแล

2.  มีจิตวิญญาณ (SQ) เป็นหัวใจของความเป็นคน

3.  มี IQ

4.  ร่างกาย PQ

5.  มีสัมพันธภาพที่ดี EQ

ความเป็นตัวเราที่มีคุณค่า

1.  มีสุขภาพแข็งแรง

2.  มีวินัยกับตนเอง

3.  ความจำเป็นของร่างกายและคน

MIND

1.  มีวิสัยทัศน์ของตนเอง

2.  ความฉลาดของตนเองไม่เท่ากัน

สิ่งที่ผู้นำประสบความสำเร็จ

1.  Set direction

2.  มีการคิดเชิงวิเคราะห์ความเป็นตัวตน กระตุ้น จูงใจให้คนที่อยู่ในทีมรับผิดชอบ

3.  อย่าหวงอำนาจต้องแชร์อำนาจ

4.  ต้องทำให้หน่วยงานเป็นทีมที่เข้มแข็ง

-สิ่งที่ยากที่สุด คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมคน

- ต้อง Set direction กำหนดทิศทาง กำหนดเงื่อนไข

- ตอบสนองความต้องการของคน

- ต้องผนึกกำลังร่วมกัน

- ระบบ HPO ต้องมีจุดมุ่งหมายร่วมกันอย่างชัดเจน  มีTeamwork,empowerment,ต้องเข้าใจและฝึกทำงานร่วมกัน

อ.สมชาย: ต้องมีบริหารจัดการคนในทีม และต้องมีทัศนิคติเชิงบวก

ชาวญี่ปุ่นบอกว่า ให้มีทัศนคติในการทำงานเหมือนเล่นกีฬา คือให้สนุกกับมัน

อ.จีระ:  2 ประเด็นที่ต้องนำไปคิดต่อ คือ เรื่อง Human being

1. แนวโน้มในอนาคตนอกจากเก่งและดีแล้ว ต้องมีความสุข

2. 2 P คือ Purpose และ Passion


นายสุทธิชัย จูประเสริฐพร

28  มีนาคม  2555
บทเรียนที่ได้รับจากการอบรมวันนี้

- เริ่มตั้งแต่ ผวก.สุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ได้กรุณามาเล่าประสบการณ์จากการอบรม EADP#2  และเมื่อเติบโตเป็นผู้ว่าการได้มีโอกาสนำองค์ความรู้โดยเฉพาะด้าน HRM และ HRD มาใช้ในการบริหารบุคลากร กฟผ. แล้วได้ให้หลักการเป็นผู้นำรุ่นใหม่ 5 ข้อ ได้แก่
       1.ต้องปฏิสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

       2.ต้องมีความรู้ด้านการบริหารธุรกิจ

       3.ต้องผลักดันให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน

       4. ต้องสร้างทีม และมี Accountability

       5. ต้องมีความรู้ความสามารถในการสร้างวัฒนธรรมองค์กร

 

-  Panel Discussion “เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.”

       - รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ ได้มาเล่าถึงภาวะเศรษฐกิจโลกทั้งอเมริกา ยุโรป และเอเซีย ส่งผลให้อาเซียนและประเทศไทยในที่สุด

       - อาจารย์มนูญ ศิริวรรณ ได้มาเล่าถึงภาวะพลังงานของโลก ที่เปลี่ยนแปลงไปจนคิดว่าปฏิวัติที่ 3 ของโลก
คือ
Green Energy และได้ให้ความเห็นว่า กฟผ.ควรจะเป็นศูนย์กลางของการเชื่อมโยงเครือข่ายพลังงานไฟฟ้า
กับประเทศเพื่อนบ้านอย่างไร ซึ่งจะทำให้บทบาทของ กฟผ. เปลี่ยนไป

       - ดร.กอบศักดิ์  ภูตระกูล ได้มาเล่าถึงแนวโน้มเศรษฐกิจไทยมองไป 3 ปีข้างหน้า ซึ่งมีโอกาสที่กำลังเปิดขึ้นจาก AEC

 

-  Panel Discussion “TQM/SEPA ความเป็นเลิศและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ กฟผ.”

       - นายพิบูลย์ บัวแช่ม (รวห.) ได้มาเล่าถึงเส้นทางสู่ TQM โดยใช้ EGAT WAY ได้มีการตั้ง TQM  OFFICE

       - อาจารย์นริศ  ธรรมเกื้อกูล ได้มาเล่าประสบการณ์การดำเนินงาน TQA ของบริษัท Retail Ring และยืนยันว่าองค์กรที่อยากจะได้รางวัล TQA ผู้บริหารเบอร์ 1 (ผวก.) ผู้บริหารเบอร์ 2 (รองผู้ว่าการ) ต้องให้การสนับสนุน

       - อาจารย์สัญญา  เศรษฐพิทยากุล ได้มาเล่าถึงกรอบแนวนางการนำ EGAT WAY ไปสู่การปฏิบัติ
ซึ่งมีข้อกำหนด 9 ข้อ โดย คน (People) ระบบงาน (System) สอดคล้องประสานองค์การสู่ความเป็นเลิศ (Excellent Organization)

        จากบทเรียนทั้งหมดที่ได้รับ จากการอบรมในวันนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการทำงานในองค์กร และกับการพัฒนาตนเองไปสู่ผู้นำรุ่นใหม่ได้



 




การบรรยายวันที่ 26 มีนาคม 2556

หัวข้อ นวัตกรรมสังคมเพื่อชุมชนกับการทำงาน กฟผ.

1.ได้เรียนรู้ว่าการจะให้ชุมชนยอมรับนอกจากจะทำงานในหน้าที่ให้ดีแล้วยังต้องดูแลสังคมให้ดีด้วย

2.ได้รับฟังกรณีตัวอย่างปราชญชาวบ้าน ลุงประยงค์ ที่ ต.ไม้เรียง อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช ทำให้เรียนรู้วิธีการบริหารทรัพยากรและการพึ่งพาตนเองในชุมชน ซึ่งนำมาปรับใช้กับการบริหารของกฟผ.และการดำเนินชีวิต

3.ได้เรียนรู้การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ ของกฟภ.โดยใช้ยุทธศาสตร์การบริหารทรัพยากรมนุษย์ด้วยการสร้างวิสัยทัศน์ รอบรู้ เรียนรู้ มองไกล แล้วไปให้ถึง

4.การเข้าไปในชุมชนต้องเข้าหาบุคคลที่เป็นที่เชื่อถือ แล้วต้องเข้าไปด้วยความนอบน้อม

หัวข้อเทคนิคการสื่อสารกับสื่อสารมวลชน

ในการทำงานบางครั้งอาจต้องพบกับสื่อ วันนี้ได้เรียนรู้การบริหารประเด็น รู้ว่าเมื่อไรควรพูดเรื่องอะไร กับใคร  การสร้าง Image โดยเริ่มจาก Coorperate Image,Business Image แล้วทำให้เกิดBrand Image

หัวข้อ Managing Self Performance

รู้วิธีการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยเริ่มแรกต้องเข้าใจตัวตนก่อน ซึ่งประกอบไปด้วย ทักษะ ความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ ค่านิยม แล้วทำงานด้วยความมุ่งมั่น รวมทั้งรู้จักการเขียน Life Mapping เพื่อออกแบบการไปสู่เป้าหมาย


การบรรยาย 27 มีนาคม 2556

หัวข้อ ธรรมาภิบาล ของ กฟผ.

ธรรมาภิบาลประกอบไปด้วย4ปัจจัย

1.การมีส่วนร่วมของประชาชน

2.ความรับผิดชอบในสิ่งที่ทำ

3.ความโปร่งใส

4.ความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

  ปัจจุบันประชาชนมีความรู้มากขึ้นและตามรัฐธรรมนูญ ระบุไว้ให้ประชาชนมีส่วนร่วม ดังนั้นในทุกๆองค์กรของรัฐ จะต้องมีธรรมาภิบาลพร้อมที่จะให้ตรวจสอบ กฟผ. ก็เช่นกัน

หัวข้อ เศรษฐศาสตร์พลังงาน

ทำให้รู้สถานการณ์ของเศรษฐกิจโลก ทั้งใน ยุโรป สหรัฐ จีนและไทย  ได้รับความรู้เรื่องน้ามันและ ngv , lpg  กฟผ.ต้องเตรียมความพร้อมเข้าสู่ Asiean 2015 และต้องดาเนินการอย่างโปร่งใส มีประสิทธิภาพ

หัวข้อ ผู้นำกับการสร้างทุนทางจริยธรรมในองค์กร

ทำให้รับรู้และตระหนักถึงความเป็นคนดี ซึ่งเมื่อผู้นำเป็นคนดีมีจริยธรรมจะมีผลให้องค์กรมีจริยธรรมสูงด้วย จะทำให้มีกำไร มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูง มีความสุขและยั่งยืน


EGAT in the future in good hand

ชับรัตน์ เกตุเงิน

อบรมวันที่  29  มีนาคม  2556

ช่วงเช้า รศ.ดร.สมชายได้ทราบถึงRed-Blue ocean โดยจะต้องเริ่มจากการบริหารจัดการกับความรู้ที่ได้รับมา เพื่อทำให้เกิดความรู้-รู้จริง-ตระหนัก ตลอดจนสามารถวิเคราะห์หาprocessโดยส่วนประกอบของBlue oceanต้องประกอบด้วย

-Innovation

-New demand

-Value Innovation

ซึ่งทำให้เห็นว่ากฟผ.ควรจะต้องหาวิธีปรับตัวให้เกิดโอกาสของการขยายตัวทางธุรกิจ ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงอุปสรรคในเรื่องของกฎ ระเบียบ รวมถึงพรบ.รัฐวิสาหกิจที่ทำให้ไม่สามารถทำในบางเรื่องได้ (คิดได้ แต่ทำไม่ได้เท่าที่คิด)

ช่วงบ่าย อ.สมโภชน์/อ.สมชาย ได้แนะนำในเรื่องของการดำเนินการเพื่อให้องค์กร ก้าวเป็นhigh performance organization (HPO) ซึ่งจะมีprocessและตัวชี้วัดต่างๆมากมาย ซึ่งส่วนใหญ่กฟผ. ได้ดำเนินการแล้วอาจจะต้องมีการปรับในบางส่วน และต้องทำการบูรณาการของกิจกรรมเพื่อให้ตรงกับตัวชี้วัด ทั้งนี้ต้องเริ่มจากการเตรียมปัจจัยที่สำคัญที่สุดก่อนนั้นก็คือ บุคคลในองค์กรให้เป็นได้ทั้งคนดีและคนเก่ง

ชัยรัตน์  เกตุเงิน


การบรรยาย  28 มีนาคม 2556

หัวข้อประสบการณ์การเรียนรู้ในรุ่น 2 กับการปรับใช้เพื่อการบริหาร กฟผ.

ทำให้รู้หลักการ 5 ด้านในการสร้างผู้นำจากผู้ว่าการ

1.การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

2.ในด้านธุรกิจ ต้องแสวงหาพันธ์มิตร

3.การขับเคลื่อนองค์กรให้มีประสิทธิภาพ

4.การสร้างวัฒนธรรมองค์กร

หัวข้อ TQM/SEPA ;ความเป็นเลิศและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ กฟผ.

รองผู้ว่าการให้ความรู้ว่า กฟผ. นำระบบ TQM มาใช้โดยวางนโยบายไว้ 4 ด้าน

1.นโยบายระดับองค์กร

2.นโยบายระดับสายงาน

3.การบริหารขับเคลื่อนด้วยคน

4.จัดตั้ง TQM office

การจะนำระบบ TQM/SEPA มีปัจจัยที่จะให้เกิดผลสำเร็จดังนี้

1.ผวก และ รอง ผวกต้องสนับสนุนและเอาจริงเอาจังอย่างเต็มที่

2.พนักงานต้องมีความรู้และให้ความร่วมมือ

TQM/TQA  SEPA  มีแนวคิดพื้นฐานดังนี้

1.ต้องรู้ตัวชี้วัดที่ต้องทำ และอะไรที่จะถูกตรวจสอบ

2.สุดท้ายจะได้ผลสำเร็จและความสุข


สิ่งที่ได้เรียนรู้ วันที่ 27 มีนาคม 2556

หัวข้อ "ธรรมาภิบาล" ของ กฟผ.

ธรรมาภิบาล ของ กฟผ. มีมาตั้งแต่เริ่มตั้ง กฟผ.   กฟผ. มีการบริหารกิจการที่ดี มีจริยธรรมภายในองค์กร  ผู้ปฏิบัติงานส่วนใหญ่เป็นคนดีและเป็นคนเก่ง  แต่จะต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบเพื่อให้ทันกับสภาพแวดล้อม สังคมภายนอกที่เปลี่ยนไปอย่างมาก ซึ่งควรต้องเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบบูรณาการ

หัวข้อเศรษฐศาสาตร์พลังงาน

กฟผ.ควรปรับการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าให้มีความสมดุลมากกว่านี้ (ปัจจุบัน ใช้กาซในอัตราส่วนที่มากเกินไป และในอนาคตใกล้ๆ รับซื้อไฟฟ้าจากเพื่อนบ้านในอัตราส่วนที่สูงเกินไป)

หัวข้อ ผู้นำกับการสร้างทุนทางจริยธรรมในองค์กร

องค์กรที่มีจริยธรรมสูง จะมีผลประกอบการที่ดี พนักงานมีความสุขในการทำงาน ส่งผลให้มีการเติบโตที่สูง และยั่งยืน

นำทฤษฎีน่านน้ำสีขาว มาปรับใช้เพื่อให้ กฟผ. เป็นองค์กรที่มีจริยธรรมสูงได้

การบรรยาย 29 มีนาคม 2556

หัวข้อ แนวคิด Blue Ocean กับการทำงานกับกฟผ.

  การแข่งขันในธุรกิจเดิมๆเป็นแบบ Red Ocean คือการสู้กันในตลาดเดิมๆ เอาชนะด้วยราคา และพยายามแย่งลูกค้าจากกลุ่มเป้าหมายเดียวกัน แต่ Blue Ocean คือแนวการทำธุรกิจสมัยใหม่ โดยการสร้างสินค้าตัวใหม่ ใด้ลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้นจากกลุ่มเป้าหมายใหม่ที่ยังไม่ใด้ตัดสินใจ โดยไม่มุ่งเน้นแข่งขันกับคู่แข่งแต่ใช้ความแตกต่างของสินค้าเป็นสำคัญ

  มุมมองที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจที่นำมาปรับใช้กับ กฟผ.ใด้

1.อย่ามองจากมุมมองของตัวเอง

2.มองหา Core Competency

3.มองหาCore Process

หัวข้อ High Performance Organization ที่ กฟผ.

  แนวคิดของ HPO

1.ตั้งเป้าหมายให้สูง

2.เน้นผลลัพธ์และสร้าง Value

3.เน้นสิ่งที่ตนเองโดดเด่น

4.องค์กรต้องมีความยืดหยุ่นสูง

  การจะทำใด้ตามแนวคิดดังกล่าว ผู้นำและพนักงานจะต้อง

1.ผู้นำจะต้องมีทัศนคติเชิงบวก มุ่งมั่น มีวินัย มีความคิดริเริ่ม ใช้ปัญญา มีความน่าเชื่อถือ และมีเป้าหมาย 

  ที่ชัดเจน

2.พนักงาน ต้องสื่อสารดี ริเริ่มดี เข้าใจภารกิจ

  โดยสรุปแล้ว กฟผ.จะทำให้องค์กรเป็น HPO จะต้องดำเนินการตามข้างต้นและจะต้องเน้น Human Being และ Passion และ Purpose ของคนในองค์กร       


นายอภิชาต ทรงเจริญ

วันที่ 26 มีนาคม 2556

Social innovation กับการทำงานของ กฟผ.

นวัตกรรมทางสังคม (Social Innovation) มี 3 ขั้นตอน

  - ทำอะไรใหม่มีความคิดสร้างสรรค์

  -  ทำเป็น project

  -  ทำให้โครงการประสบความสำเร็จเป็นที่ยอมรับ

โดย

ต้องเข้าไปมีความสัมพันธ์และสร้างความเป็นมิตรกับชุมชน ล่วงหน้านานๆ

เน้นความต้องการของชุมชนเป็นหลักและรับฟังปัญญหาโดยไม่โต้แย้ง

ให้ชุมชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นโดยตระหนักว่า กฟผ. เป็น Partner ของความสำเร็จ

Learning Forum

หัวข้อ เทคนิคการสื่อสารกับสื่อสารมวลชน

สะท้อนภาระกิจขององค์กร

ตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย

Update ความสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง

การปรับใช้กับ กฟผ.

ต้องสร้างให้พนักงานทุกคนมีจิตสำนึกในการสร้าง Brand ของ กฟผ. ต้องมีเข้าใจในสิ่งที่ กฟผ. ทำเป็นอย่างดี และเป็นตัวแทนในการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อชุมชน และประชาชนทั่วไป ในทุกโอกาสที่สามารถทำได้ ต้องมีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อภาพลักษณ์ขององค์กรอยู่เสมอ

หัวข้อ Manage self performance

คนทุกคนต้องมีการวางแผนชีวิต และ Career ตัวเองตั้งแต่เริ่มเข้ามาทำงาน กฟผ. ควรมีหลักสูตรเรื่องนี้ให้กับพนักงานที่เริ่มเข้าทำงาน เพื่อสอนการ Manage ตัวเอง เพื่อร่วมงาน และ Stakeholder รวมทั้งการวางแผนอนาคตในเรื่องอื่นๆด้วย

วันที่ 27 มีนาคม 2556

  ธรรมาภิบาลของ กฟผ.

-  ที่ผ่านมา กฟผ.มีการแต่งตั้งผู้นำที่มีจุดแข็งและ Style การทำงานที่เหมาะสมกับแต่ละช่วงเวลาและสถานการณ์ ข้อจำกัดต่างๆ  

-  การสร้างแนวคิดเรื่องธรรมาภิบาลต้องเริ่มจากการสร้างผู้นำให้เป็น Role Model และมีการกำหนดตัวชี้วัดเรื่อง  ธรรมาภิบาลในงานต่างๆ และเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินผลการปฏิบัติงาน นอกเหนือจาก KPI เรื่องงาน

  เศรษฐศาสตร์พลังงานและผู้นำกับการสร้างทุนทางจริยธรรมในองค์กร

-  หัวข้อนี้เป็นการสร้างความเข้าใจเรื่อง Demand Supply ราคา และการใช้พลังงานในอนาคต ดังนั้น กฟผ.ควรต้องเตรียมการล่วงหน้าอย่างเป็นรูปธรรม และสื่อสารให้พนักงานรับทราบผลกระทบที่จะเกิดขึ้น เพื่อสร้างจิตสำนึกร่วมกันในการเตรียมรับมือเรื่องต่างๆ

  วันที่ 28 มีนาคม 2556

  ประสบการณ์การเรียนรู้จาก ผู้ว่าการ กฟผ. และ เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทย ผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.

-  ได้เรียนรู้ประสบการณ์ของผู้นำผ่านวิธีคิด และแนวทางการทำงาน

-  ได้เรียนรู้เศรษฐกิจโลกที่สัมพันธ์และมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยซึ่งเป็นประโยชน์

-  กฟผ. ควรมีการกำหนดแนวทางในการเตรียมรับมือและมีการทำ Scenario planning ล่วงหน้า

TQM/SEPA : ความเป็นเลิศและการพัฒนาอย่างยั่งยืน

-  การทำ บทบาทของผู้นำองค์กรเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ผู้บริหารระดับสูงต้องแสดงให้เห็นว่าให้ความสำคัญ  และลงมาเป็นประธานคณะทำงาน

-  การทำ TQA ต้องเริ่มจากการเอา Result ขององค์กรคือหมวด 7 มาเป็นตัวตั้ง แล้ว Work กลับไปที่หมวดต่างๆ

วันที่ 28 มีนาคม 2556

หัวข้อ แนวคิดเรื่อง Blue Ocean กับการทำงานของ กฟผ.

-  กฟผ. อาจต้องปรับ Business Model เพื่อรองรับธุรกิจใหม่ๆ และเน้นการทำ Business innovation

-  ต้องพัฒนาทีมงานด้านนี้ขึ้นมาอย่างเป็นรูปธรรม

หัวข้อ High Performance Organization

-  กฟผ.ต้องพยายาม  Apply เกณฑ์ TQA/SEPA  และมีการ Implement ให้ได้ตามเกณฑ์

-  ผู้นำต้องเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการ Lead องค์กร

-  ต้องสร้าง Excellence ในทุกด้านโดยเริ่มจาก Core หลักขององค์กรก่อน เช่น Operational excellence

-  ปรับองค์กรให้เป็น Dynamic organization


นายอภิชาต ทรงเจริญ

วันที่ 29 มีนาคม 2556

หัวข้อ แนวคิดเรื่อง Blue Ocean กับการทำงานของ กฟผ.

-  กฟผ. อาจต้องปรับ Business Model เพื่อรองรับธุรกิจใหม่ๆ และเน้นการทำ Business innovation

-  ต้องพัฒนาทีมงานด้านนี้ขึ้นมาอย่างเป็นรูปธรรม

หัวข้อ High Performance Organization

-  กฟผ.ต้องพยายาม  Apply เกณฑ์ TQA/SEPA  และมีการ Implement ให้ได้ตามเกณฑ์

-  ต้องสร้าง Excellence ในทุกด้านโดยเริ่มจาก Core หลักขององค์กรก่อน เช่น Operational excellence

-  ปรับองค์กรให้เป็น Dynamic organization


เอกรัฐ สมินทรปัญญา

การอบรมในวันที่ 29 มีนาคม 2556 ได้เรียนรู้ในหัวข้อ

· แนวคิด Blue Ocean กับการทำงานของ กฟผ. และการปรับใช้เพื่อสร้างโครงการแบบนวัตกรรมของ กฟผ.

โดย  รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

· High Performance Organization ที่ กฟผ.

  โดย    ดร.สมโภชน์ นพคุณ

คุณสมชาย ไตรรัตนภิรมย์

ดำเนินรายการโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

 

             สัดส่วนการผลิตพลังงานไฟฟ้าของ กฟผ. ลดลงจากเดิมในอดีต จากเหตุผลต่างๆ เช่น ต้นทุนการผลิตพลังงานไฟฟ้า ที่สูง หรือ กฎระเบียบที่ใช้อยู่ในองค์กรที่ไม่เอื้อให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
ในการผลิตพลังงานไฟฟ้าขององค์กร เป็นต้น ซึ่งหากเมื่อเข้าสู่ประชาคมสังคมเศรษฐกิจอาเซียน
องค์กรจะได้รับผลกระทบทั้งด้านบวก และลบ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  ดังนั้น กฟผ. ควรควรต้องหันมามองว่าองค์กรจะมีแนวคิดใหม่ๆ ตามแนวคิด Blue Ocean เพื่อให้ กฟผ. ยังคงเป็นองค์กรผลิต และจัดหาพลังงานไฟฟ้าของประเทศ เช่น การนำ นวัตกรรรมมาใช้ในการดำเนินการขององค์กรในด้านต่างๆ ให้มากขึ้น เป็นต้น อย่างไรก็ตาม องค์กรคงจะต้องไม่ลืมว่ายังมีการดำเนินการในแนวคิด Red Ocean และ White Ocean สำหรับการดำเนินการในแต่ละด้าน ซึ่งจะต้องมีการพิจารณานำแนวคิดมาใช้ให้เหมาะสม
และควรต้องมีการบูรณาการทั้งสามแนวคิดอย่างลงตัว

 

            ผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. ที่เป็นคนเก่ง คนดี มีเครือข่าย และทำงานอย่างมีความสุข จะช่วยให้องค์กรเป็น High Performance Organization ได้ง่าย และเร็วขึ้น ดังนั้นองค์กรต้องสนับสนุน และส่งเสริม ให้ผู้ปฏิบัติงานมีคุณสมบัติต่างๆ ข้างต้น เช่น การสร้างบรรยากาศการทำงานให้เอื้อต่อการเป็นคนเก่ง คนดีฯ หรือ การให้โอกาสคนเก่ง คนดีฯ ได้ทำงานมากขึ้น หรือการให้ผู้ฏิบัติงานทุกระดับได้มีโอกาสที่จะเป็นคนเก่ง คนดีฯ เป็นต้น  รวมทั้งการสนับสนุน ส่งเสริม และรักษาไว้ สำหรับผู้ปฏิบัติงานที่ช่วยองค์กรในเรื่อง High Performance Organization




 

HR from the Outside in จะเห็นได้ว่าจะเป็นประโยชน์กับ กฟผ. ดังนี้

  คน กฟผ.จะต้องทำงานสไตล์  HR from the Outside in การทำงานจะต้องคำนึงถึงสภาวะภายนอก(ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย)มาตอบสนอง  ที่สำคัญก็คึอลูกค้า และ ชุมชนสังคมสิ่งแวดล้อม  นั่นก็คือจะต้องรวบรวมข้อูลที่สำคัญจำเป็นรวมทั้งปัญหาอุปสรรคจากภายนอกเพื่อนำมาแก้ไขภายในองค์กร

  คนกฟผ.จะต้องยกระดับมาตรฐานการทำงานเพื่อ

-  สร้างให้เกิดความเชื่อมั่นจากลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

-  มีการใช้เทคโนโลยี่เพื่อเสริมประสิทธิภาพในการทำงาน

-  จะต้องมี Research and Development เพื่อพัฒนางานให้ดีขึ้นๆ

-  จะต้องมี กลยุทธ์เพื่อจะแข่งขันในธุรกิจได้

  HR Innovator and Integrator จะต้องสร้างนวัตกรรมและบูรณาการองค์ประกอบต่าง ๆ มาแก้ไขปัญหาขององค์กร ด้วยการสร้างสรรค์คิดค้นโครงการหรือกิจกรรมใหม่ๆ ขึ้นมาเพื่อเป็นแนวทางที่ฉีกจากกรอบเดิมๆ เพื่อกระตุ้นให้คนสร้างผลงานออกมา หรือพัฒนาคนขององค์กรให้มีความสามารถยิ่งขึ้น ทั้งนี้ต้องดูว่าเหมาะกับองค์กรของเราหรือไม่ หรือเลือกวิธีการเพื่อให้ได้นวัตกรรมด้าน HR มาใช้ในองค์กร เช่น การปรับประยุกต์จากกรณีศึกษาที่ดีๆ จากองค์กรอื่น (Best Practice) คิดปรับให้เหมาะสมกับเรา หรือคิดต่อยอดจากของเดิม เพื่อให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมของคนขององค์กรเราที่เปลี่ยนแปลงไปก็ได้ แต่สิ่งสำคัญที่สุดหลังจากการคิดค้นหาโครงการหรือกิจกรรมด้าน HR ใหม่ๆ ก็คือ “การต้องกล้าเปลี่ยนแปลง” ถึงนวัตกรรม HRนั้นดีขนาดไหนแต่ไม่เคยถูกนำมาปฏิบัติจริง กลัวจะถูกปฏิเสธจากคนในองค์กรของเราทั้งที่ยังไม่ได้ลอง ก็ย่อมไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและองค์กรก็ไม่มีการพัฒนาเกิดขึ้น

A Framework for innovation and integration(เครือข่ายสำหรับนวัตกรรมและการบูรณาการ)

  เนื่องจากนวัตกรรม( Innovation) ใดๆที่ทำให้เกิดขึ้น จะต้องมีการตรวจสอบถึงคุณค่า(value)ของมันก่อนด้วยเพื่อให้ได้ผลที่เป็น win-win  ดังนั้น หาก กฟผ. จะมีนวัตกรรมใดๆที่จะนำมาใช้หรือปฏิบัติ ก็ต้องมีการตรวจสอบถึงคุณค่าของนวัตกรรมนั้นๆก่อนด้วยว่าไม่มีผลเสียหายในด้านอื่นๆตามมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวกับมวลชนและสิ่งแวดล้อม

การปรับตุ้นทุนบุคลากรให้เหมาะสมผ่านการวิเคราะห์และการวางแผนกำลังคน

  เนื่องจากการเพิ่มประสิทธิภาพทุนมนุษย์(optimizing human capital)เป็นสิ่งท้าทายและทำได้ยากอย่างมาก  ดังนั้น กฟผ.จะต้องมีกระบวนการในการรักษาทักษะต่างๆที่มีอยู่ในแต่ละบุคคลเอาไว้ให้ได้ โดยใช้หลักการ 4 ข้อดังนี้

-  กำหนดบทบาทเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญ

-  ประเมินจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และ อุปสรรค (SWOT)

-  ซื้อ หรือ สร้างผู้ที่มีความสามารถ หรือทั้งสองอย่าง ทั้งนี้ กฟผ.น่าจะเป็นการสร้างมากกว่า โดยอาจจะมีกระบวนการถ่ายโอนความรู้จากรุ่นสู่รุ่นให้เข้มข้นขึ้น

-  บริหารจัดการกระบวนการเปลี่ยนแปลง

การพัฒนาผู้ที่มีความสามารถ

  การพัฒนาขีดความสามารถ(talent) ต้องทำให้ทักษะของบุคลากรในหน่วยงานเพิ่มขึ้น ทั้งด้านเทคนิคและไม่ใช่เทคนิค เพื่อเพิ่มผลงานและความพึงพอใจในชีวิตการทำงาน ประโยชน์ที่ กฟผ.ได้รับ คือ ทำให้ทราบว่าการดำเนินการ(action)เพื่อให้เกิดการพัฒนาขีดความสามารถของผู้ปฏิบัติงานมีองค์ประกอบอยู่ 4 เรื่องที่ กฟผ.ควรนำไปประยุกต์ใช้คือ

-  การกำหนดมาตรฐาน โดยการเปลี่ยนความคาดหวังของลูกค้าในอนาคตไปเป็นข้อกำหนดของพนักงานในปัจจุบัน

-  การประเมิน โดยประเมินว่าตรงตามมาตรฐานมากแค่ไหน

-   การลงทุนในการเพิ่มขีดความสามารถ เป็นการเติมเต็มช่องว่างระหว่างบุคคลและองค์กรต่างๆ ซึ่งกระทำได้หลายวิธีการเช่น ซื้อ  สร้าง  หยิบยืม  กระตุ้น เป็นต้น

-  การติดตามผล เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้รู้ว่าการพัฒนานั้นๆได้ตามเป้าหมายหรือไม่

การทำให้องค์กรและแนวปฏิบัติในเรื่องการสื่อสารเป็นรูปเป็นร่าง

  การปรับองค์กรและการสื่อสารองค์กร หากมีการผสานกัน(combine)ให้พอดีแล้ว จะทำให้องค์กรมีศักยภาพ(capabilities)อย่างมาก  ประโยชน์ที่ กฟผ.จะได้รับ คือ ในการที่จะปรับปรุงองค์กรให้มีศักยภาพมากขึ้นนั้น ควรจะต้องตอบคำถามเหล่านี้ให้ได้ชัดเจนก่อนคือ

-  ผลที่ได้รับทางธุรกิจอะไรที่เราพยายามที่จะบรรลุ

-  ศักยภาพอะไรบ้างที่ต้องจัดเตรียมไว้เพื่อบรรลุผลลัพธ์ทางธุรกิจและรักษาไว้ตลอดไป

-  เราจะกระตุ้นศักยภาพต่าง ๆ เหล่านี้ผ่านระบบ HR และแนวปฏิบัติ HR อย่างไร

-  เราจะนำการเปลี่ยนแปลงในวิธีการที่ส่งเสริมวงจรที่หลากหลายนี้มาใช้ประโยชน์ได้อย่างไร

-  เรามีการวัดประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างไร

-  เราจะแน่ใจการปรับองค์กรและการสื่อสารให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน(alignment)ตลอดไปได้อย่างไร

การผลักดันผลการดำเนินการ

  HR มีบทบาทสำคัญมากในหลายๆเรื่องที่เกี่ยวกับการจัการด้านนวัตกรรมและการบูรณาการด้าน HR ดังนั้น HR ของ กฟผ.ต้องมีบทบาทมากขึ้นในเรื่องเหล่านี้คือ

-  การกำหนดมาตรฐานการทำงานที่ชัดเจน

-  นำกระบวนการประเมินความสามารถที่อธิบายไว้อย่างชัดเจนมาใช้งาน

-  จัดทำความคิดเห็นเกี่ยวกับจุดแข็งและความจำเป็นต่างๆในการปรับปรุงและพัฒนา

-  มีกระบวนการให้รางวัลและชมเชยสำหรับผู้ที่มีผลงานดี

-  ดำเนินการสอนทักษะเกี่ยวกับให้ผู้ปฏิบัติงาน(employee)และผู้บริหาร(line manager)เกี่ยวกับเรื่องการให้และรับ feedback

-  ปรับมาตรฐานการทำงานเพื่อการเปลี่ยนแปลง strategic demand

-  มีวิธีการจัดการหรือตกลงกับผู้ที่ด้อยความสามารถอย่างยุติธรรมและทันเวลา

การสร้าง แบรนด์ที่เป็นผู้นำ (leadership brand)

  การสร้างแบรนด์ของผู้นำ (leadership brand) มีองค์ประกอบที่สำคัญสองอย่าง คือ

-  จรรยาบรรณของความเป็นผู้นำ (leadership code) ศักยภาพในความเป็นผู้นำในพื้นฐานต่าง ๆ(common) ของการทำหน้าที่ซึ่งแต่ละองค์กรคาดหวังว่าจะมี ผู้นำแต่ละระดับของ กฟผ.ควรจะต้องทำหน้าที่ในบทบาทที่องค์กรคาดหวังเหล่านี้ได้ คือ

-  นักวางกลยุทธ์  วางตำแหน่งองค์กรสำหรับอนาคตโดยการมีวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่สำคัญที่มุ่งเน้นในเรื่องการให้บริการลูกค้าหลัก

-  ผู้ปฏิบัติการ  กำหนดระเบียบวินัยเรื่องผลการดำเนินการและแผนการดำเนินการเพื่อบรรลุผลลัพธ์และประเมินวัดผลที่ได้รับ

-  ผู้บริหารที่มีความสามารถฝึกฝนและทำการสื่อสารกับพนักงานที่มีความสามารถที่ทำงานในองค์กรในปัจจุบัน

-  นักพัฒนาต้นทุนบุคลากร: กำหนด รับสมัครและพัฒนาผู้ที่มีความสามารถที่จำเป็นในการแก้ไขอุปสรรคที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

-  ความเชี่ยวชาญส่วนบุคคล (Personal proficiency) : การได้รับสิทธิ์ในการเรียนรู้ผ่าน Personal attribute ต่าง ๆ เช่น ความฉลาดทางอารมณ์ ความสามารถในการเรียนรู้ ความมีศีลธรรมจรรยา และการวางเครือข่ายทางสังคม

**** หากผู้นำคนใดยังขาดบางข้อ กฟผ.ก็ต้องพัฒนาหรือปรับปรุงผู้นำนั้นๆให้ทำหน้าที่ในบทบาทนั้นๆได้

-  ความแตกต่างของความเป็นผู้นำ(leadership differentiators)

  เป็นการกำหนดแบรนด์ที่โดดเด่น(unique)ที่องค์กรจำเป็นจะต้องกำหนดขึ้นมาให้กับผู้นำของตนเอง(ดังเช่น Apple มีผู้นำที่รู้กันทั่วไปว่าเกี่ยวกับด้านนวัตกรรม)  ปัจจุบัน กฟผ.น่าจะยังไม่มีการกำหนดแบรนด์ที่โดดเด่นของผู้นำในองค์กร 

องค์ประกอบสำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จของกฟผ. หนึ่งในนั้นก็คือ เทคโนโลยีที่นำมาใช้เพื่อเพิ่มมูลค่าให้ธุรกิจ โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารทนเทศสำหรับการตัดสินใจเพื่อลดเวลาการประชุมผู้บริหาร

  งานทรัพยากรบุคคลควรเข้ามามีบทบาทในการจัดการ เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น

-  เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร เพื่อเชื่อมโยงความสามารถพิเศษภายใน และ ประสานความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสียภายนอก

-  ดูแลพนักงานเช่นจัดการระบบสารสนเทศสำหรับการตรวจสุขภาพ สร้างระบบแรงจูงใจให้พนักงานปรับปรุงสุขภาพให้ดีขึ้น

-  ให้คำปรึกษาในการปรับปรุงกระบวนการ  และการฝึกอบรม  เพื่อเพิ่มผลผลิตขององค์กร มีระบบ บันทึกการฝึกอบรมที่ฝ่ายบริหารสามารถเข้าไปดูได้ และให้พนักงานทำแบบทดสอบบนคอมพิวเตอร์ทุกสัปดาห์ หลังจากนั้นจะติดตามผลการปฏิบัติงานตามแบบทดสอบดังกล่าว

-  มีการจัดลำดับการประเมินผลการปฏิบัติงาน เพื่อการ  Promotion

-  ใช้ประโยชน์จากเครื่องมือ Social Media โดยการเสนอโครงการนวัตกรรมใหม่ๆ บน Social Media เพื่อสื่อให้เห็นถึงวัฒนธรรมองค์กร  หรือ ใช้ Social Media เพื่อการสื่อสารภายในองค์กร ทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน ได้แนวคิดใหม่ๆ วิธีการแก้ปัญหาหรือสร้างนวัตกรรม

-  นำข้อมูลสารสนเทศทางการตลาดสู่องค์กร มูลสารสนเทศทางการตลาดสู่องค์กร โดยให้พนักงานช่วยทำการวิจัยตลาด เนื่องจากลูกค้าจะให้ความไว้วางใจพนักงานขององค์กรมากกว่าบุคคลภายนอก

-  ลดจำนวนข้อมูลสารสนเทศที่มีมูลค่าต่ำ

-  สร้างแบรนด์สู่ภายนอกแบบค่อยเป็นค่อยไปอย่างมั่นคง

การพัฒนาตนแบบ HR มืออาชีพ : HR from the outside in

-  มี 4 ลูกคลื่นด้วยกัน โดยวิวัฒนาการจากการจัดการแบบทั่วไป เป็นการปรับปรุงความเป็นเลิศในแต่ละด้าน (Functional Expertise) เช่น ค่าตอบแทน ประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการ ภาวะ ผู้นำ ส่วนในคลื่นลูกที่สามเน้นในเรื่องบทบาทของพันธมิตรทางธุรกิจเชิงกลยุทธ์ (The role of strategic business partner) จนมาถึงคลื่นลูกที่สี่ที่เรียกว่า “Outside-in HR” ที่เน้นด้านแนวโน้ม ของปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อความสำเร็จของ กฟผ. ทั้งด้านส่วนแบ่งการผลิตไฟฟ้า ความเชื่อมั่นผู้ลงทุน ชื่อเสียง และ สถานะทางการเงิน

-  มีสองด้าน ด้านแรกการพัฒนาตนเอง ด้านที่สองเป็นการพัฒนาภาวะผู้นำ

-  การสร้างโครงการที่ท้าทายเพื่อหาคำตอบและเรียนรู้ไปพร้อมกันโดยการนำปัญหาในการทำงานมาตั้งเป็นหัวข้อการศึกษา ซึ่งจะพัฒนาทักษะ และทำให้องค์กรมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เช่น ประชาคม อาเซียนมีผลกระทบอย่างไรต่อการปฏิบัติงานด้าน HR ในอนาคต”

-  เรียนรู้ร่วมกับหุ้นส่วนการถ่ายโอนนวัตกรรมของแต่ละองค์กร โดยเน้นการนำจุดแข็งของแต่ละองค์กรมาร่วมมือกันเป็นเครือข่าย

การปรับปรุงภาพลักษณ์ของ HR

-  การเปลี่ยนภาพลักษณ์ของ HR ในที่นี้คือต้องสร้างจิตสำนึก Outside-in ให้กับองค์กร ที่ใช้กันทั่วไป คือ การพบปะกับลูกค้า การแฝงตัวเข้าไปเพื่อทดลองเป็นลูกค้าขององค์กรตนเอง สร้างจิตสำนึกว่าถ้าเรา เป็นลูกค้าจะคิดอย่างไร ต้องการอย่างไร

  กฟผ. เป็นองค์กรที่มีรูปแบบการกระจายอำนาจมีความจำเป็นต้องกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของกลุ่มงานและหน่วยธุรกิจให้ชัดเจนเพื่อให้การทำงานสอดคล้องไม่ขัดกัน

  HR Professional ควรเน้นการให้ความสำคัญกับกลุ่ม Outside Stakeholder ให้มากพอๆกับ Inside Stakeholder

  การเชื่อมโยงงานของ HR เข้ากับความคาดหวังของ Outside Stakeholder

  การจัดรูปแบบ HR

-  เป็น Service Center ก็จะบริหารประสิทธิภาพการทำงาน

-  เป็น Center of Expertise ก็จะสนใจด้านนวัตกรรม และองค์ความรู้เฉพาะทางเชิงลึก ในงาน HR

-  เป็น Embedded HR ก็จะตรวจหาความต้องการของลูกค้าและรวบรวมไปสู่ยังผลลัพธ์

-  เป็น Corporate HR ก็จะตอบสนองทั้งธุรกิจ ลูกค้า ผู้ลงทุน และชุมชน ที่องค์กรต้องการ

  HR มืออาชีพมีความสำคัญต่อผลสำเร็จของธุรกิจ โดยมีผลร้อยละ 8 เปรียบเทียบHR เมื่อให้ความใส่ใจต่อผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายใน (พนักงาน, ผู้บริหาร) และภายนอกองค์กร (ลูกค้า, นักลงทุน, สังคม) โดยมีผลต่อความสำเร็จของธุรกิจถึงร้อยละ 32

  นักสังเกตุ โดยต้องสามารถสังเกตุภาวะธุรกิจภายนอกเพื่อปรับกลยุทธ์ขององค์กรให้ธุรกิจสร้างรายได้

  นักวินิจฉัย ต้องสามารถคาดการณ์ผลที่จะเกิด  กำหนดความสำคัญและติดตามผล

  ผู้นำด้านความคิด ต้องมีความสร้างสรรค์

  นักปฏิบัติ เพื่อให้มั่นใจว่าองค์กรสามารถตอบสนองต่อความต้องการของสภาพแวดล้อมได้อย่างรวดเร็ว


how is your first day after workshop

know yourself and improve tour mindset

นายสุทธิชัย จูประเสริฐพร

29  มีนาคม  2556


บทเรียนที่ได้รับจากการอบรมวันนี้

ภาคเช้า

- เริ่มจาก รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย  ภคภาสน์วิวัฒน์ ซึ่งเมื่อวานนี้มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเวที Panel Discussion วันนี้ได้บรรยาย “แนวคิด Blue Ocean กับการทำงานของกฟผ. และการปรับใช้เพื่อสร้างโครงการแบบนวัตกรรมของ กฟผ.” ต้องขอบคุณอาจารย์เป็นอย่างยิ่งที่พยายามจุดประกายให้พวกเราคิดตาม ซึ่งอาจารย์สอนให้เรารู้จักวิเคราะห์ข้อมูล ไม่ใช่เอาแต่บริโภคข้อมูลมากเกินไป เพราะบางครั้งอาจทำให้เราโง่หรือฉลาดได้เพราะหากบริโภคข้อมูลที่บิดเบือนแล้วเราไม่รู้จักวิเคราะห์เราก็กลายเป็นคนโง่นั่นเอง เพราะฉนั้นจึงควรจะบริโภคข้อมูลที่สำคัญ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง แล้วพินิจวิเคราะห์เพื่อจะได้พัฒนาไปสู่ข้อมูลเชิงกลยุทธ์

หลักการแนวคิดของ Blue Ocean คือ

1.เน้นมองหาและสร้างตลาดใหม่ที่ยังไม่มีการแข่งขัน

2. ทำให้การแข่งขันไร้ความสำคัญ

3. สร้างและจับความต้องการใหม่

4. ทำลายข้อจำกัด ที่ต้องเลือกระหว่างคุณค่าหรือต้นทุน

5. ผสานระบบทั้งหมดของบริษัทเพื่อใช้ทั้งกลยุทธ์ การสร้างความแตกต่างและกลยุทธ์ความเป็นผู้นำด้านต้นทุนไปพร้อม ๆ กัน  โดยอาจารย์ได้พยายามนำสินค้าและบริการต่าง ๆ มาให้วิเคราะห์ว่าเป็น Blue Ocean หรือไม่
ทำให้เราทราบว่าธุรกิจจะก้าวไปต้องสร้างความแตกต่างคิดในสิ่งที่คนอื่นยังคิดไปไม่ถึง ทำในสิ่งที่คนอื่นยังไม่ทำ
แล้วตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ ธุรกิจก็จะก้าวไปสู่ความสำเร็จได้ ดังนั้น กฟผ. จึงสามารถนำหลักการมาปรับใช้เพื่อสร้างโครงการแบบนวัตกรรมของ กฟผ. ต่อไป (อย่ามองแต่ในมุมของตัวเอง หรืออย่าใช้ไม้บรรทัดของตัวเองไปวัดคนอื่นนั่นเอง)

ภาคบ่าย

    เป็นกิจกรรม Panel Discussion ในหัวข้อ “High Performance Organization ที่ กฟผ.” โดย  ดร.สมโภช  นพคุณ  อ.สมชาย  ไตรรัตนภิรมย์ และ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ เริ่มด้วย อ.สมชายฯ ได้นำประสบการณ์ การตรวจประเมินองค์กรที่มีขีดสมรรถนสูง ซึ่งมีปัจจัยการวัดผลมากมาย ได้แก่ โครงสร้างองค์กร , ทีมงาน, พนักงานในองค์กร และผู้นำ จากนั้นแล้ว ดร.สมโภชน์ฯ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ แล้วให้แต่ละกลุ่มแสดงความเห็น ซึ่งผลออกมาไม่มีกลุ่มไหนถูกเลย  มันเป็นเพราะอะไรนะนี่ น่าสงสัยจังเลย จากนั้นก็บอกว่าบทบาทผู้นำ3 ประการ คือ

   1. การออกคำสั่งเพื่อกำหนดทิศทางที่เราจะเดินไปให้ถึง

  2. ตอบสนองและให้ความช่วยเหลือคนทำงาน สอนอธิบายและแนะนำ

  3. ต้องเป็นหัวหน้าทีมเพื่อสร้างทีมและสร้าง Brand Presentation ของอาจารย์น่าสนใจมากเสียอย่างเดียวไม่มีแจกและบรรยายไวมากติดตามไม่ทันแต่ก็ยังได้บทสรุปสุดท้ายที่เห็นว่าเป็นประโยชน์มาก คือ The High
Performance Model  

ซึ่งสามาถนำมาบูรณาการกับแนวทางของ EGAT  WAY ของ กฟผ. ได้ซึ่งมุ่งสู่จุดมุ่งหมายเดียวกัน




 


 
  
  
 
  
   
  


  

 
  
  


   
 
  
  
   
   
   
  
  
  
   
 


 
  
   
  


  

 
  
  


  

 
  
  


  

 
  
  


  

 
  
  


  

 
  
  


  

 
  
  


  

 
  
  


  

 
  
  


  

 
  
  


  
 



 




กิติพันธ์ เล็กเริงสินธุ์

สรุปวันที่ 27 มีนาคม 2556 วันนี้เช้ามีการสัมนา เรื่อง ธรรมาภิบาลของ กฟผ. มีผู้สัมนา คือ คุณไกรสีห์ กรรณสูค คุณสมบัติ ศานติจารี คุณธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์ ดำเนินรายการ โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ จากที่รับฟัง ธรรมาภิบาลต้องเรียนรู้ด้วยตนเอง รู้จักประโยชน์ และปฎิบัติต่อบุคคลทั่วไป ด้วยความจริงใจ  สำหรับ กฟผ. ธรรมาภิบาลมีการดำเนินการมาด้วยดี แต่อ่อนเรื่องหลักการมีส่วนร่วม เนื่องจากยุคนี้มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน แต่ กฟผ. ปรับตัวรับช้า ทำให้เรื่องนี้ดำเนินการไปได้ไม่ดี ดังนั้น กฟผ. ต้องปรับการทำงานให้สมดุลย์ ยึดความอยู่ดีมีสุขของประชาชนเป็นหลัก การเข้าดำเนินการชุมชน ให้เลือกคนที่มีจิตด้านนี้เข้าไปดำเนินาการ จ้างที่ปรึกษาช่วย และเรียนรู้จากกรณีศึกษาต่างๆ และต้องเข้าไปก่อน โดยไปอย่างจริงใจ และดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ให้ชุมชนมีส่วนร่วมดำเนินการ

สำหรับความเห็นข้าพเจ้า คิดว่าเรื่องนี้ถ้าคนเรายึดหลักศาสนาเป็นหลัก ศาสนาพุทธก็มีศีล 5 ยึดปฏิบัติ ก็จะทำให้สังคมอยู่กันได้ การคอรัปชั่นจะไม่มี สาเหตุที่ยังเกิดอยู่ที่ตัวบุคคลไม่ปฏิบัติ ข้าพเจ้าเห็นหน่วยงานราชการดำเนินการจัดหาอย่างถูกต้องตามขั้นตอนระเบียบ แต่ปรากฎว่าก็ยังมีการเรียนเงิน จากผู้ที่ได้งาน ดังนั้นต้องหยุดที่ทั้ง 2 ฝ่าย ออก กม. ตรวจสอบทรัพย์สินตั้งแต่ตำแหน่งเล็ก ตรวจสอบทุกสิ้นปี ไม่ใช่ตรวจเมื่อเป็นใหญ่

ช่วงที่ 2 ตอนบ่ายเป็นเรื่องเศรษฐศาสตร์พลังงาน ฟังบทสัมภาษณ์ อาจารย์มนูญ ศิริวรรณ พอสรุปเศรษฐกิจในปี 2013 ไม่ขยายตัว ทำให้การใช้น้ำมันไม่สูง อเมริกามีเทคโนโลยีใหม่ทำให้มีการขุดใช้ shale gas  shale  oil  ทำให้ต่อไปอเมริกาเป็นผู้ส่งออก สำหรับปรเทศไทย เฉพาะที่เกี่ยวกับ กฟผ. ในเรื่องแผนอนุรักษ์พลังงาน ให้มีการดำเนินการในรายละเอียด และติดตามควบคุมการปฏิบัติให้จริงจัง รวมทั้งออกกฏหมาย เช่นอาคารอนุรักษ์ เป็นต้น และลดการใช้เชื้อเพลิง Gas ลง

ตอนเย็น เรื่อง ผู้นำกับการสร้างต้นทุนทางจริยธรรมในองค์กร โดยคุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย มาเน้นเรื่อง White ocean ให้การเปลี่ยนแปลงจากตัวเรา ให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงในระยะยาว สำหรับองค์กรที่มีทุนทางจริยธรรม นั้นมีผลลัพธื 3 ข้อ คือ มีกำไรสูงกว่า 6 เท่า เป็นองค์กรแห่งความสูข และเป็นองค์กรที่ยั่งยืน หลักการสร้างองค์กร คือ ต้องเป็นองค์กรที่ดำเนินการเป็นประโยชน์ต่อสังคม  มีความสมดุลย์ทั้ง 4 P (People Passion Planet Profit) มีกัลยาณมิตร
กิติพันธ์ เล็กเริงสินธุ์

สรุปวันที่ 28 มีนาคม 2556 ช่วงเช้ามี 2 ช่วง ช่วงแรก บรรยายพิเศษเรื่อง ประสบการณ์การเรียนรู้ในรุ่น 2 ของข้าพเจ้ากับการปรับใช้เพื่อบริหาร กฟผ. ในยุคที่โลกเปลี่ยน โดย คุณสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ผวก. กฟผ. สรุปว่าผู้นำต้องประกอบด้วย รอบรู้มาก เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ มีวิสัยทัศน์ ร่วมคิดเสนอแนวคิด  ผวก. ได้นำแนวคิดด้าน HR มาใช้คือ อัตรากำลังที่ขาด และการพัฒนาผู้นำรุ่นใหม่ นอกจากนี้ ผวก. ได้พูดเรื่อง Competency ทั้ง 5 ด้าน โดนเน้นที่ กฟผ. ยังอ่อนคือ เรื่อง ธุรกิจ ซึ่ง กฟผ. ต้องใช้กลุ่มธุรกิจ ให้เป็นประโยชน์ เรื่องที่ 2 เป็นเรื่องวัฒนธรรมองค์กร สร้างองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

ช่วงที่ 2 เป็นการสัมนาเรื่อง เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทบ ผลกระทบและการปรับต้วของ กฟผ. โดย รศ. สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล อาจารย์มนูญ ศิริวรรณ ดำเนินรายการ โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ อาจารย์ทำนอง ดาศรี จากที่รับฟัง เศรษฐกิจทั่วโลกฟื้นตัวทำให้อาเซียนซึ่งพึ่งพาประเทศพวกนี้ จะทำให้อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น ประเทศไทยจะเติบโต และเมื่อกู้เงินอีก 2.2 ล้านล้านบาทมากระตุ้น แต่ต้องระวัง 2 เรื่องคือภัยพิบัติธรรมชาติ และเรื่องวิกฤตของจีน

ด้านอาจารย์มนูญ ได้ให้ข้อมูลพลังงาน ที่มีการบริโภคเปลี่ยนแปลง จาก OECD ที่บริโภคมากก็จะลดลง ไปเพิ่มที่ประเทศจีน อินเดีย ตะวันออกกลาง และประเทศอื่นที่เหลือ มีการใช้พลังงานหมุนเวียนมากขึ้น สำหรับผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ. ให้มีการปรับองค์กรรองรับการแข่งขันในระดับภูมิภาค พัฒนาโครงสร้างพื้อนฐานรองรับการเป็นศูนย์กลางโครงข่ายด้านพลังงานในอาเซียน

อ. ดร. กอบศักดิ์ เศรษฐกิจไทย 3 ปีข้างหน้ายังคงมีวิกฤตอยู่ การเปิดอาเซียนและรัฐบาลลงทุนจะทำให้ เกิดการลงทุนเพิ่มจากเอกชน มีการใช้พลังงานมากขึ้น ความต้องการใช้ไฟมากขึ้น ให้ กฟผ.เตรียมการรับ อาศัย  ASEAN ออกไปดำเนินการภายนอกภูมิภาค

ช่วงบ่าย สัมนาเรื่อง TQM/SEPA ความเป็นเลิศและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ กฟผ. โดย คุณพิบูลย์ บัวแช่ม อาจารย์สัญญา เศรษฐพิทยากุล คุณนริศ ธรรมเกื้อกูล ดำเนินรายการโดย อาจารย์ทำนอง ดาศรี สรุปโดนรวม ได่รับแนวคิดพื้นฐานของ HPO และการดำเนินการ TQM ต้องผู้นำองค์กรสูงสุด และรองลงมาต้องเข้าใจและดำเนินการจึงสำเร็จ นอกจากนี้ยังได้ทราบเพิ่มจากเดิมถึงการทำ TQM ของแบบ กฟผ. ซึ่งจะมีการคู่มือและแนวทางให้ รวมทั้งการสนับสนุน จาก รวห. ในการตั้งสำนักงานขึ้น ส่วนการเขียนจะดำเนินการเขียนรวมโดยการสัมภาษณ์จากหน่วยงานต่างๆ ไม่ใช่ต่างฝ่ายเขียนและไปรวมภายหลัง ผมคาดว่าคงจะดำเนินสำเร็จได้ถ้าทุกสายงานให้ความสำคัญ ร่วมมือกันโดย กฟผ. เป็นภาพรวม มิใช่สายงานใดสายงานหนึ่ง


กิติพันธ์ เล็กเริงสินธุ์

วันที่ 29 มีนาคม 2556 ช่วงเช้าเป็นเรื่อง แนวคิด Blue Ocean กับการทำงานของ กฟผ. และการปรับใช้เพื่อสร้างโครงการแบบนวัตกรรมของ กฟผ. โดย รศ. ดร. สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ สรุปประเด็น การเป็น Blue Ocean ต้องมีหลักใหญ่ 3 ข้อ ขาดข้อใดข้อหนึ่งไม่ได้ คือ

1. ต้องมีนวัตกรรมสินค้า บริการ (บริการ + สินค้าบริการ)

2. Make the competition irrelevant ทำให้การแข่งขันไม่เกี่ยว เพราะเป็นเจ้าแรก ข้อนี้ถ้าเกิดมีเจ้าที่สอง ก็อาจกลายเป็น Red Ocean ไปได้

3. Create and capture new demand เป็นเรื่องของลูกค้า หาลูกค้าที่อยากบริโภคแต่ยังไม่บริโภค

การเป็น Blue Ocean มีการเป็นแบบกึ่ง หรืออนุโลมได้  ดังนั้น กฟผ. อาจต้องหาวิธีการ คือ

1. ต้องมองศักยภาพของตนเอง ทำอะไรได้บ้าง (ปัจจุบันยังไม่ได้ทำ แต่อนาคตทำได้= Core Competency)

2. ขยายทรัพย์สินเดิมออกไป ให้เกิดประโยชน์

3. เปลี่ยนวิธีการ หรือกระบวนการ (Core Process)

ทั้งนี้ให้ใช้ value innovation เป็นหลักโดยดูความสมดุลย์ด้านราคาและลูกค้า

  ช่วงบ่าย สัมนาเรื่อง High Performance Organization โดย ดร. สมโภชน์ นพคุณ คุณสมชาย ไตรรัตนภิรมย์ ดำเนินรายการ โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ จากสัมนาได้รับทราบเรื่อง กรอบแนวคิดเกี่ยวกับตัวเรา และแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำในตนเอง  เน้นกระบวนการเรียนรู้สำคัญที่สุดไม่ใช่เรื่องผลลัพธื นอกจากนี้ยังได้รับทราบ HP Model

  ท้ายสุด การเป็น HPO มีวิธีการ เครื่องมือหลายอย่าง ผู้บริหารจะต้องนำไปใช้ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมขององค์กร เพื่อให้องค์กร เก่ง ดี และมีความสุข


ทีมงานวิชาการ Chira Academy

หัวข้อ TQM/SEPA : ความเป็นเลิศและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ กฟผ.

วันที่ 28 มีนาคม 2556

อภิรายโดย    คุณพิบูลย์ บัวแช่ม

                      อาจารย์สัญญา เศรษฐพิทยากุล

                       นริศ  ธรรมเกื้อกูล

ดำเนินการอภิปรายโดย อาจารย์ทำนอง ดาศรี

คุณพิบูลย์ บัวแช่ม

-  มอง กฟผ. ในเชิงคุณภาพเป็นอย่างไร  และในฐานะที่เป็น รฟห. สายบริหารต้องทำอย่างไร

ในมุมมองของคนภายนอก กฟผ. เก่งจริงหรือไม่ มีคุณภาพหรือไม่ อยู่ที่อันดับที่เท่าไหร่ของประเทศ

-  ในมุมมองของคุณพิบูลย์ ถ้ามุมมองขอคนภายนอก จะตั้งคำถามว่าคุณภาพของกฟผ.เป็นอย่างไร ประเด็นที่สื่อให้เห็น คือถ้าเปรียบเทียบกับร้านอาหาร คืออร่อย ราคาเป็นอย่างไร การต้อนรับเป็นอย่างไร กระบวนการเป็นอย่างไร สรุปคือ การมองคุณภาพต้องมองในหลายมิติ ตั้งแต่กระบวนการแรกที่เข้าไป จนกระทั่งออกจากร้านอาหาร เป็นต้น

-  เรื่องคุณภาพในกฟผ.  ความจริงติดกับดักเรื่องเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพมาก เรื่องของระบบบางสายเรียนรู้มา 10 กว่าปีแล้ว  ระบบวังวนการเข้าใจคุณภาพของกฟผ.มีมานานแล้วไม่ใช่เรื่องใหม่ ต่างคนต่างยึดมั่นในเครื่องมือของตนเอง เรื่อง TQM มีหลายสำนักและค่อนข้างเป็นระบบที่สมบูรณ์ ไม่ใช่ดูที่มิติเดียว ต้องดูที่กระบวนการที่เกี่ยวข้อง มีเกณฑ์ที่เกี่ยวพันกัน หมายถึงว่าเวลาดูอะไรก็ตามต้องดูให้รอบด้าน

-  วิสัยทัศน์ กฟผ. คือ เราต้องการผลิตไฟฟ้าเพื่อความสุขของคนไทย  ความสุขเกิดจาก ความสะดวกสบาย ความปลอดภัย กฟผ. วางเป้าไว้ว่าเป็นองค์กรชั้นนำในระดับภูมิภาคและระดับสากล กฟผ.สามารถจำกัดความคำว่าชั้นนำได้หรือไม่ เช่นเป็นองค์การชั้นนำในระดับสากล  ใน 5 มิติ ที่กฟผ.กำหนดไว้ คือ

1. กฟผ.ต้องดำเนินการแบบธรรมาภิบาล

2. กฟผ. ต้องเป็น High Performance Organization  หรือ Premium Organization

3. กฟผ. เป็นองค์การบริหารจัดการที่ยอดเยี่ยม Operational Excellent

4. กฟผ. ต้องเป็นองค์กรสร้างความภูมิใจในระดับประเทศ เป็นองค์กรที่เป็นยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ Organizational Pride

5. กฟผ. ต้องเป็นองค์กรที่มีความมั่นคงทางการเงิน Financial Stability

สรุปคือทั้ง 5 ตัวต้องมีตัววัด  ทิศทางกฟผ. เป็นชั้นนำ ผวก. ได้กำหนดคุณลักษณะ เพื่อการขับเคลื่อนไว้ โดยเน้นการสร้างระบบที่ดีและสร้างความเชื่อมั่น

การทำให้กฟผ. เป็น HPO ได้คือเรื่องระบบงาน ถ้าได้ TQM /TQA แล้ว HPO ไปได้ 70-80%

People + System = Excellence

TQM เป็นระบบที่แข็งแรง มีการจัดโครงสร้างที่เหมาะสม ให้นโยบาย 4 ด้าน  คนเข้าใจคำว่า EGAT เยอะแล้ว เป็น Style ของ กฟผ. EGAT มีวัฒนธรรม วิธีการ ต้องดูแลระบบให้ดี อย่าทำแยกส่วนหรือ Silo

1. นโยบายระดับองค์กร

2. นโยบายระดับสายงาน

3. การบริหารขับเคลื่อนด้วยคน

4. EGAT TQM Office เป็นศูนย์กลางการทำงาน 24 ชั่วโมง มีการขับเคลื่อน ติดตาม เป็นตัวจักรตัวหนึ่งที่จะขับเคลื่อน  แต่ ผวก.ต้องดูความเป็นอยู่ของเขา จะดูแลคนพวกนี้ได้อย่างไร

สรุปคือ นโยบาย 4 ข้อ  Hot Spot ผวก. ประกาศแล้ว ต้องฝันให้ไกลและไปให้ถึง

SEPA – เป็นระบบอ่อน ๆ ที่มาตะล่อมไว้ จริง ๆ คือ TQM นั่นเอง

ฝันให้ไกล คือ เอาให้ใหญ่ เอา TQM ให้มั่นคง และยั่งยืน ส่วน SEPA เป็น Subset  ของ TQM อยู่แล้ว  ต้องทำภาพ EGAT ให้สอดคล้อง ในฐานะคนนอกของ กฟผ. ต้องทำให้เห็นชัดว่าคืออะไร  ต่อไป กฟผ. คือการไฟฟ้าฝ่ายผลิต หรือการไฟฟ้าฝ่ายส่ง

โอกาสได้มาซึ่งผลลัพธ์ ภาพ กฟผ.ต้องเป็นภาพที่ดี ไม่แยกส่วน

อาจารย์นริศ  ธรรมเกื้อกูล

-  SEPA ระบบประเมินคุณภาพรัฐวิสาหกิจ

CP Retailing ไม่จ้างที่ปรึกษามาแม้แต่ครั้งเดียว ส่วนใหญ่ทำเองหมดเลย  บางครั้งไม่จำเป็นต้องจ้างที่ปรึกษา หรือจ้างเขียน เพื่อกดดันให้ได้รางวัล แต่ไม่ทำจริง คือโศกนาฏกรรมของประเทศ ทำให้ TQA เป็นยาขม ประกอบกับ Assessor ไม่สามารถพูดจาได้รู้เรื่อง และใช้ศัพท์วิชาการให้น้อยลง

-  อย่าทำ TQA / SEPA ถ้า ผวก. และ รองผวก.ไม่เอาด้วย

-  องค์กรที่อยากจะได้ TQA จริง ๆ ให้ไปตรวจสอบที่เบอร์ 1 และเบอร์ 2

-  องค์กรที่พนักงานมีความรู้สูงโอกาสได้จะสูง

-  สรุปต้องถามให้แน่ชัดว่าเอา TQA มาทำไม  เพราะกลัวที่จะตกอยู่ใน Comfort Zone คือนิ่งแล้ว ดีแล้ว สบายแล้ว จึงอยากให้ตั้งเป้าหมายในสิ่งที่เป็นอยู่ และโลกของจริงนั้นมีคู่แข่งด้วย แต่กฟผ.คู่แข่งไม่มี ยิ่งหน้าง่ายใหญ่

-  กฟผ. ต้องตอบให้ได้ว่า ทำ TQA / TQM ไม่ได้ทำเพื่อตัวท่านเอง แต่ทำเพื่อสังคม เพื่อลูกน้อง เพื่อประเทศ สรุปคือมีความสำคัญอย่างไร ทำแล้วได้อะไร และมีประโยชน์อย่างไร

อาจารย์สัญญา เศรษฐพิทยากุล

-  รู้จัก TQM ตั้งแต่ 1998 

-  ไม่ว่าเครื่องมืออะไรผ่านหน้าได้ลองนำเอามาใช้เกือบหมด  หน่วยแรกที่ทำ TQA/TQM ให้คือหน่วยงานศูนย์การศึกษาต่อเนื่องของ จุฬาฯ  ปัญหาติดตรงที่ Blend คือเอาเครื่องมือมาปั่นแล้วกลายเป็นอะไรที่เสริมตัวเองให้โดดเด่น หมายถึงเสริมคุณค่าตัวเองให้โดดเด่น

-  หลังจากที่จุฬาฯ ได้เข้ามาอยู่ที่ซี.พี. ชวนท่านประธาน ธนินทร์ ทำ 2 เรื่องคือ BSC,TQM

-  วันนี้จะพูด 2 เรื่อง คือเรื่องแนวคิดพื้นฐาน และ EGAT

1. HPO / TQM เป็นเรื่องเดียวกัน TQA /SEPA คือหลักแห่งการบริหาร เป็นตัววัดอะไรบ้างที่ต้องทำ อะไรบ้างที่ต้องเป็น  การมีคนข้างนอกมาตรวจ มาเช็คเสมือนเป็นกระจกสะท้อนว่าหลักบริหารที่เอามาใช้สอดคล้องกับองค์กรท่านได้อย่างแท้จริงหรือไม่ สามารถเชื่อมและประสานได้ดีจริงไหม  TQM เชื่อมโยงกับคุณภาพ ขอยกตัวอย่างของร้านอาหาร เช่นร้านอาหารที่มีคุณภาพคืออะไร ร้านแรกที่พุ่งไปคือร้านเปเล่ หลายท่านมีร้านอาหารในใจ ทำไมถึงกลับไปร้านนั้นอีก หมายถึงความพึงพอใจที่เรามี และเหนือกว่านั้นคือความประทับใจ องค์กรจะสำเร็จ เป็น HPO /TQM สร้าง Wow สร้างคุณค่าได้หรือไม่ ความพอใจ ความประทับใจ Wow มีคุณค่า ถ้ามีคุณค่าหมายถึงคนเรียกร้อง ถ้าไม่มีคุณค่า ก็ไม่มีมูลค่า เรียกว่า Value Chain 

-  คุณค่าที่ท่านสร้างคนอื่นก็สร้างเช่นกัน สิ่งที่ต่อเนื่องมาคือ Brand  มี Blue Ocean  คือคุณค่าที่โดดเด่น แตกต่างจากคนอื่นไหม

-  ทำอย่างไรสร้างคุณค่าที่โดดเด่น แตกต่าง ประทับใจ ให้กลับมาที่มนุษย์ เพราะทุกอย่างจบที่คน คนมี 2 อย่าง คือความต้องการ และความคาดหมาย

-  หน้าที่ขององค์กรทุกองค์กรคือตอบความต้องการ เช่นคนใช้ไฟ ความต้องการคือมีไฟใช้ ถ้ามีไฟใช้เสมอตัว แต่ถ้าไม่มีไฟใช้ มีปัญหา  และถ้าเป็นผู้นำต้องตอบเหนือความคาดหวัง และความต้องการแล้วคนจะจำท่านได้คือความประทับใจ 

-  ความคาดหวังเปลี่ยนเสมอ เมื่อความคาดหวังได้แล้วจะเปลี่ยนเป็นความต้องการ EGAT ไม่ได้มีแค่ผลิตและส่งไฟ เพราะถ้าดูจาก GDP market share เท่าเดิม และภายใต้ Supply ลด EGAT ต้องรออะไร นอกเหนือจากบริการ การปรับนอกจากปรับ Product และส่งมอบคุณค่าเป็นเรื่องสำคัญ

2. สุดท้ายการตอบสนองความต้องการและความคาดหวังได้อยู่ที่การจัดการ HPO / TQM ต้องการให้ระบบจัดการที่ดี  ระบบการจัดการเปลี่ยนวิธีคิด  ระบบเกิดจากคน และระบบ Impact วิธีคิดคน ผลสุดท้ายที่ต้องการคือความสุข  สุข และฉันทะต้องมี ผลงานจึงเกิด สรุปคือ เอาคุณค่า และผลสำเร็จของงานสร้างความสุข แล้วเอาความสุขมาหนุนคุณค่าให้สูงขึ้น ดังนั้นหลักในการทำ EGAT Way คือจัดระบบและจัดคน คนต้องมีความสุข และระบบต้องดี

-  สรุปคือการหยิบเครื่องมือทั้งหมดมา Blend เพื่อสร้าง EGAT Way  เป็น Sample of Whiskey ใน EGAT  จุดใหญ่คือ Integration การ Survey ความต้องการของลูกค้า

การทำ Strategic Planning ของ กฟผ.  

-  ใน EGAT Way คือหลักการบริหาร และสร้างเครื่องมือ 9 ข้อ

People คือ คนต้องเน้นการสร้างคุณค่า สร้าง Wow  หลักของเรา Wow อย่างไรให้กับผู้รับบริจาค  ลูกค้า สังคม ประเทศได้อะไร สิ่งที่ได้ Basic คือ Wow  คนต้องพัฒนาขีดความสามารถหลัก  การปลูกฝังค่านิยมที่ถูกต้องเป็นเป็นวัฒนธรรมองค์กร

System เน้น Green & Governance , การสมดุล , Factness Management ต้องคู่กับคนข้างบน คือ Face & Fact

EGAT หวังคือ พร้อมสำหรับ Change,วิกฤต,การแข่งขันในเวทีโลก

Execellent Organization Egat เป็น National Pride ?

นวัตกรรมคือสร้างคุณค่าใหม่ให้เกิดขึ้น เรื่องความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม คุณภาพชีวิตชุมชน

คุณพิบูลย์ บัวแช่ม

-  จะวางกลยุทธ์อย่างไรให้ Momentum เรื่อง TQM ไปเรื่อย ๆ  

-  TQM /TQA ถ้ายั่งยืนจะไปได้ไกลมากอยากผลักดันให้เข้าใจ แข็งแรง และเดินตาม

แสดงความคิดเห็น

ถาม

-จากที่เคยดูวิธีแบ่งงานกันทำ จาก 7 หมวด จะมองว่าแต่ละหมวดเนื้อหาคืออะไร และในระดับกฟผ. ก็แบ่งให้แต่ละรอง ฝ่ายบุคคล ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรบุคลากร อยู่รองไหน ให้รองนั้นรับผิดชอบ  ด้านกระบวนการ เป็นเรื่องรองผลิตไฟฟ้า แต่พอถึงเวลาทุกรองทำอยู่ดี ดังนั้นการแบ่งฝ่ายรับผิดชอบใช่หรือไม่

- ในมุมมองเรื่อง SEPA หรือ TQA หรือ EGAT Way ในปัจจุบันมีอยู่ 2 แห่งคือ โรงไฟฟ้าบางปะกง และโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ที่พยายามและส่งประกวดอยู่ ที่มีคำถามในปัจจุบัน แต่ละรองที่รับผิดชอบ มี 10 รอง บางรองไม่เกี่ยวข้องในเรื่องของการเขียน มีปัญหาอยู่ที่เวลาแยกไปแล้วเวลาทำภาพรวม อยู่ที่การเชื่อมโยง Integrate จินตนาการ เมื่อมี TQM Office มี ที่ดูแลภาพรวมและดูแลให้ทั้ง EGAT หรือไม่  รองสายการผลิตเคยบอกว่าทุกเขื่อนต้องทำ OPR จึงทำให้เห็นภาพรวม เป็นข้อดีที่ทำให้เห็นภาพรวม เพราะอยากให้เห็น EGAT ได้รางวัล 350 คะแนนเหมือนกัน

ตอบ

อาจารย์สัญญา เศรษฐพิทยากุล

-  สมัยอยู่ปตท. เห็นว่าจุฬาได้รางวัล แต่ปตท.ไม่ได้ เนื่องจากมี 2 อย่างคือ ประสิทธิภาพ ปลอดภัย สุดท้ายคือ Integration

-  EGAT ได้ 2 ประเด็นไว้

-  TQA / SEPA

-  เรื่อง Integration เราจะทำอย่างไร เวลาถูกสอบสวน 6 หมวด ผู้ขึ้นให้การมีคนเดียวคือ ผวก. ปัญหา Integration คือทำอย่างไร EGAT แต่ละปี การวัด SEPA ภาระหนักอยู่ที่คนเขียน OPR คือคนที่สะท้อนกิจกรรมและผลการพัฒนา หัวใจอยู่ที่การทำจริง OPR เป็นแค่กระจกมาสะท้อน

-  6 หมวด แต่ละหมวดต้องรับผิดชอบ Result  ครม.ต้องทำหน้าที่เปรียบเสมือน ผวก. ไม่ใช่ รผวก. นี่คือสิ่งที่ EGAT ต้องทำ

-  บุคคลอยู่ทุกสาย ในสาย รฟผ. มีอทบ. อพบ. เป็น Actor หลักในการกำหนด Policy หมวด 5 ที่อยู่ที่หน่วยจะเป็น Actor ในหมวด 5

-  แผนวิสาหกิจ จะทำที่แผนหลักการต่อเนื่องกันไป  อะไรที่ขาดอยู่ อะไรที่มีอยู่เป็น Approach หรือยัง

-  หมวด 4,5,6 ทุกหมวดดำเนินการเอง

-  EGAT อยากจะสร้างนอกจาก EGAT Way  9 ข้อ อยากมี 20 คู่มือเป็น Work System  ทำอย่างไร EGAT ถึงเติบโตยั่งยืน  มีธรรมาภิบาล และส่งมอบงานอย่างมีคุณภาพ วิธีการคือเอาโครงสร้างมาจับแล้วเอาคู่มือมาช่วย ว่างานไปเชื่อมกับคนอื่นอย่างไร

คุณพิบูลย์ บัวแช่ม

วันนี้ทีม กฟผ.ต้องสามารถเข้าไปตรวจสอบได้ว่ามีการปฏิบัติตามกฎระเบียบหรือไม่อย่างไร ถ้าไม่เป็นธรรม จะไม่พร้อมเพรียง เกิด Work Cross  ระบบเลื่อนขั้นไม่อัตโนมัติ  คนเป็น Champion หมวดต่าง ๆ ทำหน้าที่แล้วสามารถไปตรวจสอบกระบวนการหรือวิธีการของฝ่ายแต่ละส่วนทำสอดคล้องหรือไม่ เอาผลงานทั้งปี มารับฟังทั้ง 9 สายงาน 

อาจารย์นริศ  ธรรมเกื้อกูล

ที่แยกกันเขียน ทำทุกคนหรือไม่ ตัวอย่าง CP all มีการแยกกันเขียน เชื่อตามที่ Assessor บอกทุกประการ แต่บางครั้งต้องดูด้วยว่าเหมาะกับตัวท่านหรือไม่

ปีแรก เคยให้แต่ละท่านแบ่งกันเขียน ไปเช่าโรงแรม เปิดห้องเขียน พอมารวมกันไม่รู้เรื่อง เนื่องจากไม่บูรณาการ ยิ่งแยกกันเขียน Silo หนัก ทุกคนต้องทำทุกหมวด  ปีที่ 2 เขียนในเวลางาน แล้วให้ทุกคนเขียนแบบ Relax  จะได้ผลงานที่ดีกว่า  ให้ทำแบบความสนุก และเป็นธรรมชาติ ให้เขียนที่คนทำงานแต่ละเรื่องบอกให้เขียน เหมือน Rewriter  ให้ทีมเขียนส่งไปเรียน แต่พอจะสอบ Assessor ห้ามสอบ ให้สละสิทธิ์  แล้วมานั่งรวมกัน ให้ผู้บริหารรับผิดชอบเรื่องบุคคล จัดการ ฝ่ายขาย เข้ามา แล้วมาบอกคนเขียน  ทดสอบแบบดีสุด และแย่สุดมองแบบ Assessor ประเมิน  แล้วมาดูกันอีกรอบ จะทำให้ไม่บอบช้ำ  ผู้นำระดับสูงมีวิสัยทัศน์ พันธกิจอย่างไร สื่อสารถึงพนักงานในองค์กรอย่างไร

คุณพิบูลย์ บัวแช่ม

  การเขียนรายงานข้อเท็จจริง เป็นสิ่งที่เราสามารถปรับปรุงพัฒนาได้  ถ้าบูรณาการจริง ๆ จะสามารถทำได้ดีขึ้น สามารถได้บุคลากรที่มากลั่นกรองข้อเท็จจริงตามแนวนี้ แนวทางที่จะปรับปรุงให้ได้ซึ่ง OPR กฟผ. ทำได้

แสดงความคิดเห็น

ถาม

-  ที่พูดมาเป็นองค์กรเล็ก แต่กฟผ.ในองค์กรใหญ่ ถามว่าทุกฝ่ายทำเป็นต้องเขียนหรือไม่ หรือให้เฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำได้หรือไม่

ตอบ

อาจารย์สัญญา เศรษฐพิทยากุล

ทำกับเขียน ต่างกัน แต่ประเด็นคืออยู่ที่ต้องทำ เขียนขึ้นอยู่กับส่งประกวด มีหลายครั้งที่เขียนแล้วไม่รู้ว่าทำจริงคืออะไร จะสะท้อนความหล่อความสวยไม่ถูกต้อง  ในแต่ละหมวด จะมีการประกาศว่าจะพัฒนาอะไรและเท่าไหร่ เป็นที่มาที่ต้องมีเป้าใหญ่ ๆ จากแผนแม่บทก่อน Theme ที่จะพัฒนาเน้นอะไร เน้น Learning Result ต้องคุยกับ SEPA เน้นภาพรวมว่าจะไปทางไหน และเอากี่แต้ม เช่นประกาศว่าจะได้ 350 แต้ม หมวด 1 ,2,3 ได้เท่าไหร่ แล้วประกาศโดยใคร ต้องประกาศทั้งเป้ากับแผนว่าสิ่งที่ต้องทำคืออะไร สิ่งที่ต้องพัฒนาคือทีมเขียน ไปตามสายที่ต้องทำ แล้วแบ่งมาเป็นเดือน สรุปคืออยากแยกคนทำกับคนเขียน เสร็จแล้วมีการ Self Assess คือการประเมิน สะท้อนภาพเขียนที่ต้องทำ และหน่วยไหนคือหน่วยนำร่อย อย่าง ปตท.เอาหน่วย Strategic Unit เป็นหน่วยนำร่อง ให้เลือกหน่วยที่มีผลต่อการประกอบการ และส่งผลกับแรงกดดันภายนอก เป็นหน่วยที่ต้องทำเพราะเป็นการแสดงว่าเรามีคุณภาพชั้นเลิศ เช่น สายการผลิตเป็นส่วนที่ต้องทำ คือ การผลิต และตอบสนองต่อประชาชน เป็นต้น  น่าทำหมายถึงน่าส่งประกวด

ถาม

-  ติดตาม EGAT Way อยู่เหมือนกัน พ.ร.บ. เคยตั้งเป้าหมายไว้หรือไม่ว่าจะทำอะไร อย่างไร และจะนำไปใช้อย่างไร จะกระจายความรู้ไปสู่ผู้ปฏิบัติงานอย่างไร ด้วยกลยุทธ์อย่างไร

ตอบ

คุณพิบูลย์ บัวแช่ม

เรื่อง Target ที่ไปสู่เป้าหมาย ที่จะเป็น HPO หรือ TQA ด้วย พอเห็นความรับรู้ มาดูเป้าหมายนิดนึงที่เวลา คราวนี้เขยิบไปหน่อย จะทำให้ชัดเจนขึ้นใน Timeline และเป้าหมาย แต่ที่ทำได้คือ EGAT Way แน่นอน น่าจะเป็นแนวทางที่ใช้ได้ด้านวัฒนธรรม คุณค่า และสิ่งที่น่านับถือ  EGAT Way 9 ข้อ เป็นวัฒนธรรมของ กฟผ. และเข้าใจได้ง่าย  เป้าหมายในอนาคตไปสู่ TQM /TQA Award จะชัดเจนขึ้น

ถาม

ตอนแรกที่ ทำ SEPA ไม่ชอบ แต่พอปีถัดมาเริ่มมีคนไปเรียนรู้มาช่วยทำ สิ่งที่อยากถามคือการบูรณาการ และการกระจายไปให้ทั่วทั้งองค์กร ทำอย่างไรให้องค์กรรู้เรื่อง SEPA ทำอย่างไรให้มุ่งเน้นบุคลากร พบว่าช่วงที่ผ่านมาการผูกพันองค์กรยังไม่เข้าสู่สายเลือด แต่ฝีมือยังดีอยู่ อยากเน้นให้ผลักดันเป็นจุดแรกในการรักองค์กรเหมือนบ้าน ให้รักแบบเข้าสายเลือดแล้วทุกอย่างจะไปได้เอง

ตอบ

คุณพิบูลย์ บัวแช่ม

ความผูกพันของ Engagement กฟผ. ประมาณ 70%  ความพึงพอใจทุกวันนี้ประมาณ 50% การมุ่งไปที่การสร้างความผูกพัน ผวก. ให้ทำ มีกลยุทธ์ 

การสร้างความผูกพันต้องประกอบด้วย 3 ส่วน

1.  Satisfaction

2.  Retention  บางครั้งไม่พอใจแต่ก็ยังอยู่

3.  Performance Index

-  Workforce Satisfaction พนักงานพึงพอใจ ผูกพัน และพึงพอใจ

-  Environment Satisfaction สร้างบรรยากาศในการทำงาน ให้สิ่งแวดล้อมดี แล้วพึงพอใจ

-  สิ่งแวดล้อม ความก้าวหน้า การเติบโต คนกฟผ.ทำเพื่อกฟผ.

-  เรื่องกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กฟผ. ช่วย 9-11% ของเงินเดือน ทุกวันนี้ขยับเป็น 11-13%  นี่แสดงว่าเราดูแลเรื่องสุขภาพ ดูแลเรื่องความเป็นอยู่ทางการเงิน ที่หลังเกษียณแล้ว พนักงานจะไม่เดือดร้อน ดูแลขนาดนี้ พนักงานให้อะไรกฟผ. จะสร้างอย่างไรให้กฟผ.เติบโตในอนาคต วันนี้มีแผน IDP แผนพัฒนารายบุคคลแล้ว วิเคราะห์เสร็จ อ่อนตรงนี้พัฒนาอะไร แข็งตรงนี้พัฒนาอะไร จะยกให้

-  การดูแลคนจากที่กล่าวมาจะทำให้ Engagement เพิ่มขึ้น ต้องเข้าใจวัฒนธรรมว่าเขาเติบโตในรุ่นที่วัฒนธรรมเขาเป็นอย่างไร ให้ดูที่ผลของงาน สร้างกลยุทธ์ให้ทั้ง 3 รุ่นอยู่ด้วยกันอย่างดี

-  ผวก. เน้นย่ำว่าเรื่อง HR ต้องทำ และต้องมีกลยุทธ์ที่หลากหลายด้วย

ถาม

ตอนอยู่บางปะกง เป็น Pilot ที่โดนเขียนเช่นกัน พอทำเสร็จไป แต่ละหมวดมานำเสนอไม่เชื่อมโยงกันเลยต้องนำมา Rewrite ใหม่ และที่สำคัญที่เจอคือผู้ปฏิบัติงานระดับล่างไม่เข้าใจว่าเรามีแผนที่ต้องทำเรื่องนี้มองเป็นงานที่ต้องเพิ่มขึ้น หารู้ไม่ว่าเป็นสิ่งที่เขาทำอยู่แล้ว จะสนใจเฉพาะผู้บริหารหรือหน่วยงานที่เขียนแผน เป็นปัญหาที่ต้องถ่ายทอดไปข้างล่างจะทำอย่างไร และแผนแม่บท EGAT โรงไฟฟ้าไหนต้องทำ

ตอบ

คุณพิบูลย์ บัวแช่ม

เนื่องจากเบ็ดเสร็จในหน่วยงาน โรงไฟฟ้าที่มีคุณภาพ ถ้าหน่วยงานพร้อมแล้วจะเดินไปได้ ภาพใหญ่ต้องให้การสนับสนุนด้วย  และการ Deploy ต้องทำความเข้าใจ กฟผ.ส่วนใหญ่บางที่มีลักษณะ Comfort Zone ไม่ค่อยอยากให้ใครมายุ่ง เป็นคนขีดข้อจำกัดตัวเอง ไม่ค่อยเปิด มองว่าการแสดงความคิดเห็นหรือวิพากษ์เป็นการตำหนิมากกว่า ทั้ง ๆ ที่ ความจริง อาจให้เราพัฒนาก็ได้ ให้ผู้ส่งงานวิพากษ์ วิจารณ์ได้ ข้ามโซน ทำ Cross functional จะละลายเส้นแบ่ง และเปิดใจกัน บางครั้งอยู่องค์กรไหนนาน ความคิดจะตัน แต่บางครั้งกฟผ.เองก็จะ Defense จะทำให้มีการกระตุกเช่นกัน  แต่ความเข้าใจเรื่อง TQM ต้องสื่อทั้ง 24,000 คน  แต่ทำความเข้าใจต้องเป็น Network ให้กฟผ. ให้ TQM Office เปิด 24 ชั่วโมง ให้มีความรู้ความสามารถ ท้ายสุดคือการขยายความรู้และเผื่อแผ่ สร้างสังคมการเรียนรู้

อาจารย์สัญญา เศรษฐพิทยากุล

ภาพเดิมที่อยากให้ กฟผ.ชัดขึ้นคือการทำ KPI ของ Head Office   ได้ TQM แล้วได้ SEPA ด้วยหรือไม่ คะแนน SEPA เป็นเท่าไหร่ คะแนน SEPA ยกภาพในภาพรวม คะแนนรวมมาจากคะแนนย่อย คุยกับประธานในหมวด เราพัฒนา 2 เรื่องคือ ระบบ กับคน จะทำอะไรเพื่อไปตอบเป้า แผนแม่บทพูดใกล้เคียงกระบวนการไม่ได้ ต้องเน้นการ Involve  ใน Knowledge Skill และ Attitude จะ Involve ต้นปี หรือเข้าไปถึงกิจกรรม Kaizen การที่ EGAT จะมีเป้าที่ชัดเจน เป้าที่อยากเห็นไม่ใช่ชัดเจนแค่ตัวแรก ต้องต้องทำให้ชัดคืออะไร แต่ละหมวดมีอะไร แล้วให้เติมในแต่ละปี

ถาม

จากการสัมผัสเรื่อง TQM / TQA โดยตลอด พบว่ากฟผ.มีจุดแข็งเรื่องบุคลากร ในจุดอ่อนก็น่าจะมีบ้างอยากขอข้อเสนอแนะว่า ตัวอุปสรรคที่ทำให้เราเดินไปถึงจุดนี้ยากน่าจะเป็นเรื่องอะไร

ตอบ

คุณพิบูลย์ บัวแช่ม

กฟผ. ยังคงภูมิใจในความสำเร็จเก่า ๆ สิ่งที่ผู้บริหารรุ่นก่อนทำไว้ติดในสำนึกเราว่าอย่างไรก็ตาม กฟผ.ก็จะไปได้ กฟผ.อยู่ใน Comfort Zone ทำให้ความกระตือรือร้น หรืออัตตา ความยึดมั่นถือมั่นใน ตัวเอง ในแผนกสูงมาก การยึดมั่นความสำเร็จในอดีตเป็นสิ่งที่กฟผ.นั้นยึดถือ ผลการสำรวจกฟผ.ในภาพรวม คือเรื่องการสื่อสาร คือการพูดจาภาษาคนไม่ค่อยรู้เรื่อง การพูดจาภาษาชาวบ้าน ภาษาสังคมอ่อน นี่คือสิ่งที่คนภายนอกมอง  กฟผ.ไม่ใช่นักยุทธศาสตร์ เช่นเรื่องกระบี่ ยุทธศาสตร์ที่จะทำให้ประชาชนยอมรับ และมีความเข้าใจคืออะไร ยุทธศาสตร์ทำให้คนรักกฟผ. ทำอย่างไร ให้ประชาชนเข้าใจภารกิจว่าทำเพื่อประเทศชาติทำอย่างไร คนกฟผ.ไม่ใช่นักยุทธศาสตร์ที่ดี การสื่อสาร 2 ทางไม่ค่อยมี  ท้ายสุดถ้าคนกฟผ.เปลี่ยนเจตคติได้ คือมองโลกกว้าง ไม่อยู่ในกะลา จะทำให้ทัศนคติเปลี่ยนได้เอง  การทำงานต้องโปร่งใส และ Transparency ต้องรับฟังเสียงลูกค้าและปรับปรุง แต่ส่วนใหญ่ เราไม่ค่อยฟังใคร  ถ้ากฟผ.กล้าเปลี่ยนแปลงเปลี่ยนทัศนคติ กฟผ.จะ Smart

อาจารย์สัญญา เศรษฐพิทยากุล

คำถามแรก ถ้าถามคนที่เข้า EGAT ถามว่าทำไมอยากทำงาน EGAT คำตอบแรกคือความมั่นคง องค์กรที่มั่งคง และมีคนอยากเข้ามาสูง คนที่เข้ามาได้จะเป็นคนเก่งและแข็งแรง คนเก่งแสวงหาความมั่นคง ต่างคนต่างเก่งจะเกิด การขีดเส้นแบ่ง ตัวกูเรื่องของกู EGAT เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่คนเลือกได้ มีข้อสังเกต 3 ข้อ ภายใต้เรื่องความมั่นคง จริง ๆ แล้วอาจไม่มั่นคง เพราะสรรพสิ่งในโลกล้วนอนิจจัง สิ่งที่ต้องเติมคือ Elasticity ประเทศ Growth เท่าไหร่ Consume Energy เท่าไหร่ Growth ต้องมี Consume ต้องลดลง ดังนั้นการ Move จะ Move อย่างไร  การอยู่ตรงกลางในแง่ชัยภูมิใน ASEAN จะบริหารอย่างไร การไม่เพิ่ม Supply แม้ GDP เพิ่มขึ้น เน้นลักษณะการประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ ส่งเสริม Demand Size ให้คนใช้ไฟต่อหน่วยน้อยลง เน้นการมองเรื่อง Business mind บางครั้ง Face สำคัญไม่แพ้ Fact คนฟังมีศรัทธา บางครั้งเรามี Fact แต่พูดไปคนไม่ Face เราจะบริหาร Face ของชุมชน ของสังคมอย่างไร ผลงานจริงที่ทำให้เขาเห็นแต่ละเรื่องแล้วสื่อกลับมา  การบริหารคือ Integration กับ Independence

ขอฝาก 3 เรื่องคือ

1.  Business Mind

2.  Face Management

3.  Integration

อาจารย์นริศ  ธรรมเกื้อกูล

  เคล็ดลัพธ์ได้ไม่ได้อยู่ที่หมวด 0 คือช่วยจด ช่วยจำ หมวด 0 เหมือนเสาเข็มที่ต่อไปในพื้นดิน  ต้องรู้เรื่ององค์กรท่านเอง ตัวตนเป็นอย่างไร บุคลากรเป็นอย่างไร ถ้าหมวด 0 เขียนมั่วจะ Integration ไป 1,2,3,4,5 ทำให้แย่ไปเลย  ให้เชื่อมั่นว่ากฟผ.ทำได้และได้แน่นอน

  ข้างล่างจะรู้ได้อย่างไร อยู่ที่ทุกท่านจะแปลงความรู้เป็นภาษาง่าย ๆ ไม่ต้องบอกว่าเป็น TQA หรือ SEPA  ให้ลองเขียนการ์ดง่าย ๆ ข้างซ้ายเขียนเกณฑ์ ข้างขวา เอารูปมาแปะ คือเป็นลักษณะ Show เกณฑ์ Show Activity หา Process


กิติพันธ์ เล็กเริงสินธุ์

จากหนังสือ China Daily  Asea Weekly  ระหว่างวันที่ 29 มีนาคม – 4 เมษายน 2556 หน้า 6 เรื่องประธานาธิบดี Xi Jinping  เดินทางเยือนรัฐเซีย พบกับประธานาธิบดี Vladimir Putin มีการลงนามร่วมกันเรื่องพลังงานและข้อตกลงอื่น หลังจากนั้น วันที่ 23 มีนาคม 2556 ประธานาธิบดี Xi Jinping ยังได้กล่าวถึงนโยบายใน Moscow State Institute of International Relations  ว่า ในช่วงการเปลี่ยนแปลงสงครามเย็นและการดำเนินการแบบ Zero-sum game หมดไปแล้ว แต่เป็นช่วงที่เกิดการพัฒนา เติบโต กับหลายๆกลุ่ม ประเทศ ไม่มีประเทศใดประเทศหนึ่งที่จะนำไปเองได้ นอกจากนี้ยังได้เตือนต่างประเทศที่เข้าไปเแทรกแซงการเมืองภายในประเทศ  การเมืองในประเทศเป็นเรื่องของรัฐบาลและประชาชนของประเทศนั้น ต่างประเทศ ไม่ควรแทรกแซงแต่มีบทบาทเป็นผู้ไกล่เกลี่ยระหว่างรัฐบาลกับประชาชน  นอกจากนี้ การไปรับเซีย ยังได้เกิดความร่วมมือ 2 ประเทศทางด้านยุทธศาสตร์และความร่วมมือระหว่างกัน

  Xi HIGHLIGHTS BONDS OF “ SHARED DESTINY”  จีนกำลังเพิ่มความสัมพันธ์กับ Africa  โดยประธานาธิบดี Xi Jinping  ได้กล่าวที่ Tanzania ว่านโยบายต่างประเทศที่เป็นฐานสำคัญคือการเป็นหนึ่งเดียวและความร่วมมือกับ Africa  จีนและ Africa จะสนับสนุนกันอย่างต่อเนื่องในผลประโยชน์ร่วมกัน ในช่วงประวัติศาสตร์นี้จีนและ Africa เป็นชุมชนที่ร่วมจุดหมายปลายทางเดียวกัน จีนจะให้ความช่วยเหลือโดยไม่คำนึงถึงเรื่องการเมือง จีนได้ขยายความช่วยเหลือทั้งการลงทุน โครงสร้างพื้นฐาน ให้การอบรมและทุนการศึกษาแก่ Africa ในช่วง ปี 2013-2015 จีนจะช่วยประเทศอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่คำนึงว่าเป็นเทศนั่นมีขนาด ความแข็งแร่ง หรือความมั่งคั่ง เป็นอย่างไร นอกจากนี้ เขาได้กล่าวถึง ว่าจีนคาดหวังให้มีความเป็นหนึ่งเดียวใน Africa และ Africa มีความสัมพันธืที่ดีขึ้นกับประเทศอื่นๆ  Africa  เป็นของประชาชนอัฟริกัน ในการพัฒนา Africa ประเทศต่างควรจะเครพเกียรติและความเป็นอิสระของ Africa จีนและ Africa จะเผชิญและแก้ปัญหาด้วยจิตวิญาณและความร่วมมือไปสู่ชัยชนะที่ร่วมกัน เรามีโอกาสที่มากกว่าการแข่งขันและมีทางการปํญหาที่มากกว่าความยาก

  Grouping on track to be “global force”  ในการประชุมกลุ่มประเทศ BRICS ครั้งที่ 5 ประกอบด้วย Brazil Russia India China และ South Africa ที่ Durban  ประเทศ South Africa  ประธานาธิบดี Xi Jinping  ได้ตอกย้ำเมื่อ 27 มีนาคม 2556 ถึงความมุ่งหวังในความร่วมมือที่มากขึ้นทางด้านเศรษฐกิจในขณะที่เศรษฐกิจโลกชลอตัว

การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ช้าลงไม่มีต่อ BRICS ศักยภาพในการพัฒนากำลังสดใส BRICS ก่อตั้งมา 5 ปี และยังอยู่มนขั้นพัฒนา และควรมุ่งไปที่การสร้างความผูกพันธ์ให้มากขึ้น การปรับปรุงมาตรฐานชีวตคน 3 พันล้านคน จะสร้างโอกาส ศักยภาพการร่วมมือของ BRICS ยังมีไม่เต็มที่ กาค้าระหว่าง 5 ประเทศมีเพียง 1 % ของโลก  XI ประกาศให้ผู้ลงทุนจีนมีส่วนในการพัฒนาเศรษฐกิจโดยไปลงทุนในประเทศ BRICS และเชิญชวนนักลงทุนอื่นมาลงทุนที่จีน

  BRICS และ Africa ควรดำเนินการร่วมกันอย่างใกล้ชิด Africa เป็นจุดใหม่ของเศรษฐกิจโลก  Xi เรียกร้องให้มีการประชุมเฉพาะและมีกี่ตั้ง Business council เป็นเวทีในการที่สมาชิกจะได้พบปะพูดคุยกัน โดยBusiness council จะประกอบด้วยตัวแทนทั้ง 5 ชาติ ที่มีฐานะเท่าเทียมร่วมกันดำเนินการ และไม่มีการตั้งผู้นำที่ถาวร เหมือนกับ World Trade Organization เพียงแต่ลดขนาดลง จุดประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาทางการค้า  และเป็นดครงร่างการบริหารเมื่อเกิดการค้าเสรีของ BRICS

  ในที่ประชุมมีการเป็นพยานลงนามในข้อตกลงด้านการเงินสำหรับเศรษฐกิจสีเขียวและด้าโครงสร้างพื้นฐานใน Africa นอกจากนั้นยังมีการตั้งกองทุนร่วมเป็นเหมือนธนาคารด้านการพัฒนาที่มุ่งให้การสนับสนุนโครงการโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งจะมีเงินถึง 4.5 ล้านล้านเหรียญดอลล่าร์ ในอีก 5 ปีข้างหน้า

  จากวิสัยทัศน์การดำเนินการของประธานาธิบดี จีน ที่มุ่งสู่โลก โดยการนำการค้า และความร่วมมือ เป็นหลักในกลุ่ม BRICS และ Africa  โดยไม่เน้นเรื่องการเมืองจะเห็นว่า Africa จะเป็นเป้าหมายทางเศรษฐกิจต่อไป ซึ่ง ผู้นำ กฟผ. ควรที่จะดำเนินการในรูปแบบเดียวกัน โดยใช้ความร่วมมือและเป็นหุ้นส่วนกับประเทศในกลุ่ม ASEAN นำพาไปสู่ความสำเร็จร่วมกัน 


นายภัทรกฤช เตชะศิกานต์

การอบรมในวันที่ 27 มีนาคม 2556  ได้เรียนรู้ในหัวข้อ

- ธรรมาภิบาล โดย

อดีต ผวก. คุณไกรสีห์ กรรณสูต

อดีต ผวก. คุณสมบัติ ศานติจารี

อาจารย์ ธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์

สรุปได้ว่า กฟผ.
เป็นองค์กรที่มีธรรมาภิบาลมานานแล้ว แต่พึ่งมาเรียกธรรมาภิบาลกัน
อดีตผู้บริหารที่ผ่านมาเป็นตัวอย่างที่ดี โปร่งใส ตรวจสอบได้ เป็นสิ่งที่นาภูมิใจ
ซึ่งแต่ละท่านก็ให้พวกเราใส่ใจเรื่องสังคม ประชาชน และต้องมีส่วนร่วมอย่างจริงใจ
และต่อเนื่องซึ่งมันต้องใช้เวลา Key Words ของอดีต ผวก. ไกรสีห์ คือ

P – Participation

A – Accountability

T- Transparency

E – Effectiveness & Efficiency

ตอนบ่าย

- เศรษฐศาสตร์พลังงาน โดย
อ.พรายพล คุ้มทรัพย์

กฟผ.ได้รับผลกระทบจากการหยุดส่งก๊าซจากประเทศพม่า ดังนั้น กฟผ.
ต้องวางแผนรองรับสถานการณ์ต่างๆ และต้องเดินเกมรุกอย่างไร
เพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยง

- ผู้นำกับการสร้างทุนทางจริยธรรมในองค์กร

โดยคุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย

ท่านพูดเรื่องคอรัปชั่น โดยนำ VDO เด็กตาบอดซึ่งได้พูดเรื่องคนโกงว่าไม่สายเกินไปที่จะกลับใจ
และได้บรรยายเรื่อง White Ocean การที่ กฟผ. จะเป็น White Ocean
ต้องมีทุนทางจริยธรรมสูง Happywork place, องค์กรที่มีความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งจะสร้างองค์กรให้ยั่งยืนต่อไป



สมคิดพงษ์ชวนะกุล

วันที่ 27 มี.ค. 2556

หัวข้อ : ธรรมาภิบาลของ กฟผ.

สิ่งที่ได้เรียนรู้ : ธรรมาภิบาล คือ การบริหารกิจการที่ดี

หลักธรรมาภิบาลมี 4 หลักใหญ่ๆ คือ PATE

P = Participation คือ การมีส่วนร่วม

A = Accountability คือ ความรับผิดชอบ

T = Transparency คือ ความโปร่งใส

E = Efficiency คือ มีประสิทธิภาพ

กฟผ. ทำงานยากขึ้นเพราะโครงการของ กฟผ. มักจะต้องเกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมหรือเปลี่ยนวิถีชีวิตของชุมชน กฟผ. อยู่ได้ด้วยคนเก่งและคนดี

การปรับใช้กับ กฟผ. : กฟผ. ต้องปรับตัวและเปลี่ยนแปลงให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงภายนอกต้องยึดหลักนิติธรรม

ไม่เลือกปฏิบัติ เพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างแท้จริง พร้อมรับการตรวจสอบ และซื่อสัตย์ต่อตนเอง


หัวข้อ : เศรษฐศาสตร์พลังงาน

สิ่งที่ได้เรียนรู้ : ในอนาคตก๊าซธรรมชาติแพงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากใกล้หมด ปัจจุบันสหรัฐอเมริกาสามารถนำ Shale oil และ Shale gas มาใช้ ในอนาคตจะเปลี่ยนจากผู้นำเข้าเป็นผู้ส่งออกพลังงาน ประเทศไทยต้องหาทางลดสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากแก๊ส และหาพลังงานทดแทน รัฐบาลควรเลิกการตรึงราคาพลังงานบางประเภทโดยให้เงินอุดหนุน

กฟผ. ต้องปรับองค์กรให้เป็นที่ไว้วางใจของประชาชน


หัวข้อ : ผู้นำกับการสร้างทุนทางจริยธรรมในองค์กร

สิ่งที่ได้เรียนรู้ : องค์กรที่ได้รับความเชื่อถือไว้วางใจ จะทำให้การทำงานสำเร็จได้เร็วและมีต้นทุนต่ำ ในทางกลับกันองค์กรที่ไม่ค่อยได้รับความเชื่อถือ ไม่น่าไว้วางใจจะทำงานได้ช้าและต้นทุนสูง เพราะไม่ค่อยมีใครกล้าร่วมมือ

Purpose (เป้าหมาย) และ Passion(อุดมการณ์หรือความศรัทธา) เป็นสิ่งที่จำเป็นมากสำหรับชีวิตที่จะทำให้ประสบผลสำเร็จ

องค์กรที่เป็น White ocean ซึ่งมีทุนทางจริยธรรมสูงจะมีผลประกอบการดีกว่าองค์กรทั่วไป เป็นองค์กรที่มีความสุข เป็นองค์กรที่สร้างผลเชิงบวกต่อสังคมโดยรวม


สมคิดพงษ์ชวนะกุล

วันที่  28 มี.ค. 2556

หัวข้อ: ประสบการณ์การเรียนรู้ในรุ่น2 ของข้าพเจ้ากับการปรับใช้เพื่อการบริหารกฟผ. ในยุคที่โลกเปลี่ยน (โดย ผวก . สุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ )

สิ่งที่ได้เรียนรู้ : กฟผ. ต้องเตรียมองค์กรให้พร้อม สามารถปรับตัว เป็นองค์กรที่เป็นที่ไว้วางใจ เป็นที่ยอมรับ พร้อมที่จะเปิดรับ

ผู้นำไม่จำเป็นต้องทำได้ทุกเรื่อง แต่ต้องรู้ว่าต้องทำอะไรและหาผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญมาทำ

ความสำเร็จขององค์กรไม่ได้เกิดจากปัจจัยภายในเท่านั้น ปัจจัยภายนอกมีส่วนมาก

ผู้ที่มีต้นทุนทางสังคม มีเครือข่าย เมื่อมีปัญหาจะแก้ง่าย

คนของ กฟผ. ยังขาด Competency ด้านทำธุรกิจ

ต้องรู้ให้กว้าง จับประเด็นและประเมินตนเอง


หัวข้อ : เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย…ผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.

สิ่งที่ได้เรียนรู้ : เศรษฐกิจโลกหลายๆแห่งกำลังมีปัญหา หลายๆแห่งมีแนวโน้มที่จมีปัญหา ซึ่งส่งผลกระทบถึงเศรษฐกิจของไทยแน่นอน ในระยะสั้นส่วนใหญ่ยังเห็นตรงกันว่า เศรษฐกิจไทยยังสามารถเติบโตต่อได้ แต่ควรมีการเผื่อความเสี่ยงอย่ามองแต่ในแง่ดี กฟผ. ควรมองหาโอกาสในภูมิภาคในขณะที่เศรษฐกิจในภูมิภาคขยายตัว ความต้องการพลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างมาก เป็นโอกาสของ กฟผ. ซึ่งมีความพร้อมต้องปรับตัวให้ทัน


หัวข้อ : TQM/SEPA : ความเป็นเลิศและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ กฟผ.

สิ่งที่ได้เรียนรู้ : กฟผ. กำลังทำระบบซึ่งเป็นแนวทางของ กฟผ. ที่เรียกว่า EGAT WAY เพื่อใช้เป็นแม่บทในการบริหารองค์กร ซึ่งจะสำเร็จได้ต้องมีความเชื่อมั่น ศรัทธา พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและบูรณาการอย่างสมดุลย์


สมเกียรติ พนัสชัย

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันที่  26 มีนาคม 2556

08.00-12.00 น.

Panel discussion “นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน (Social Innovation)”

องค์ประกอบของ Social Innovation ต้องประกอบด้วย

1.  New – ต้องทำอะไรใหม่ๆ

2.  Creative – ต้องมีความคิดสร้างสรรค์

3.  Knowledge – ต้องใช้ความรู้สติปัญญา

การพัฒนาสังคมและชุมชน

บทบาทของ กฟผ. ในสังคม อันดับแรกต้องทำหน้าที่ของตนเองให้สมบูรณ์ ครบถ้วน ในขณะเดียวกันต้องมีหน้าที่ดูแลสังคมไปด้วย ในการเข้าไปดูแลช่วยเหลือชุมชนต้องเข้าไปเรียนรู้ร่วมกับชุมชนเพื่อหาความต้องการที่แท้จริงจากชุมชนความต้องการของชุมชนชุมชนจะเป็นผู้บอกไม่ใช่เราเป็นผู้กำหนด และการพัฒนาต้องทำให้ชุมชนมีความแข้มแข็งสามารถพึ่งพาตนเองได้ บางครั้งเงินไม่ใช่ปัจจัยสำคัญความรู้และปัญญาคือสิ่งที่ต้องให้กับชุมชน มียุทธศาสตร์การพัฒนาดังนี้

1.  ยุทธศาสตร์การเรียนรู้

2.  ยุทธศาสตร์การพึ่งตนเอง

3.  ยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากร

4.  ยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพและจิตใจ

5.  ยุทธศาสตร์การพัฒนาประสิทธิภาพขององค์กรในชุมชน

เน้นการเรียนรู้เพื่อการพัฒนา

ปัจจุบันค่าไฟฟ้าถูกเพราะส่วนหนึ่งมาจากการลงทุนด้านสายส่งยังใช้กฎหมายช่วยซึ่งจะมีผลให้เกิดการต่อต้านมากขึ้นในปัจจุบัน

ทำไม กฟภ. เข้าไปปักเสาเดินสายไฟฟ้าในหมู่บ้านชาวบ้านล้วนดีใจให้การต้อนรับ แต่กลับกันกับ กฟผ. ที่จะเข้าไปปัดเสาพาดสาย ชาวบ้านล้วนไม่ต้องการ ? – การเข้าไปทำงานของ กฟผ. นำความเจริญความสะดวกสบายเข้าไปให้ชุมชน แต่ กฟผ. เข้าไปใช้ประโยชน์จากชุมชนบางครั้งถึงกับสร้างความเดือดร้อนให้กับคนในชุมชนด้วยซ้ำ ประเด็นนี้ กฟผ. น่าจะต้องทบทวนบทบาทให้หนักขึ้นแม้สิทธิการเวนคืนการกำหนดเขตเดินสายจะเป็นของ Regulator ไปแล้วก็ตามแต่ผู้ทีรับหน้าเสื่อก็คือ กฟผ. อยู่ดี ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ต้องมีการจัดตั้งกองทุนพัฒนาชุมชนใกล้แนวสายส่ง เช่นเดียวกับกองทุนพัฒนาชุมชนรอบโรงไฟฟ้า การรอนสิทธิ์การเวนคืนที่ดินยังสามารถใช้ได้โดยผู้ได้รับผลกระทบพอใจหรือไม่

และสุดท้ายจาก Panel Discussion ทำให้ทราบประเด็นปัญหาของ กฟผ. ดังนี้

1.  วัฒนะธรรมขององค์กรยังเป็นทางการเกินไปทำให้การเข้าไปแก้ไขปัญหาต่างๆทำได้ช้า

2.  การเข้าหาชุมชนของ กฟผ. ช้าเกินไปส่วนมากจะเข้าไปตอนที่เกิดปัญหาแล้ว

3.  บางเรื่องอาจไม่จำเป็นต้องเข้าไปชนถอยออกมาใช้หลักยุทธศาสตร์ และถ้าทำได้ดีชุมชนจะเป็นผู้ตอบคำถามต่างๆแทน กฟผ. เอง

4.  กฟผ. ควรเข้าไปสร้างภาคีเป็นหุ้นส่วนกับชุมชนไม่ควรรอให้ชุมชนเข้ามาหาเราเอง

“ระบบที่ดีต้องเป็นระบบที่ทำถูกต้องได้ง่ายๆและทำผิดได้ยากๆ”

13.00-16.00 น. “เทคนิคการสื่อสารกับสื่อมวลชน”

ดร.พจน์  ใจชาญสุกิจ

ทำให้รู้ว่า Image ขององค์กรมี 3 แบบ

-  Corporate Image คือภาพที่แสดงถึงตัวตน เช่น กฟผ. เป็นองค์กรที่มีความโปร่งใสซื่อสัตย์สุจริต

-  Business Image คือภาพที่แสดงถึงธุรกิจ งาน ที่ทำ เช่น กฟผ. ผลิตและจัดหาไฟฟ้าที่มีคุณภาพและความมั่นคง

-  Brand Image เป็นภาพที่ทำให้ทุกคนคิดถึงองค์กร เช่น กฟผ. ผลิตไฟฟ้าเพื่อความสุขของคนไทย

เทคนิค 10 Win-Win Code

1.  ควรมีข้อมูลของสื่อที่ทันสมัย Update การ updat ไม่ใช่เพียงแค่ปรับปรุงรายชื่อให้ทันสมัยเท่านั้นควรมีการ update ความสัมพันธ์ด้วย

2.  ทำ Media Mapping ศึกษากระบวนการ กลไก การทำงานของสื่อต่างๆ (รู้จักใครต้องรู้จักให้จริง)

3.  การให้ข่าวต่างๆต้องใช้หลัก One Message Key Message

4.  ต้องมี Double Check ตรวจสอบความเข้าใจให้ถูกต้อง

5.  หมั่นไปสร้างความสัมพันธ์ด้วยในโอกาสต่างๆ

6.  สร้างเครือข่ายในกลุ่มของสื่อ แต่ละกลุ่ม (Media Network) 

7.  รักษาสัมพันธ์ภาพในระดับเพื่อนซึ่งจะให้การช่วยเหลือกันดีกว่าแบบต่างตอบแทน หรือผลประโยชน์

8.  ใช้หลักความจริงและความเชื่อใจ (Truth / Trust)

9.  มีความสม่ำเสมอ

10.  มีความจริงใจ (Sincerity)

16.00-18.30 น. “Managing Self Performance”

อ.อิทธิภัทร์  ภัทรเมฆานนท์

Action kill the fear – การลงมือทำจะช่วยลดความกลัวความเคลียดลง

จากสูตร Event + Response = Outcome หาก outcome ไม่เป็นไปตามต้องการหรือไม่พอใจสามารถทำได้ 2 ทางคือ

1.  โทษเหตุการณ์ที่ทำให้ outcome ไม่เป็นไปตามที่ต้องการ

2.  เปลี่ยนการตอบสนองต่อเหตุการณ์

เราต้องเป็น Cause ไม่ใช่เป็น Effect

Cause = Make it happen

Effect = Wait it Happen

ได้รู้วิธีการทำแผนที่ชีวิต (Life Mapping) 4 ขั้นตอน Discover / Dream / Design / Destiny

“Result oriented rather than task”


สมเกียรติ พนัสชัย

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันที่  27 มีนาคม 2556

08.00-12.00 น.

Panel discussion “ธรรมาภิบาล ของ กฟผ.”

อดีต ผวก. ไกรสีห์  กรรณสูตร อดีต ผวก. สมบัติ  ศานติจารี และ อ.ธรรมรักษ์  การพิศิษฐ์

  ธรรมาภิบาล คือการบริหารกิจการที่ดี มีกระบวนการสอน การควบคุม การกำกับ และบังคับบัญชา เดิมเน้นการรวมศูนย์ การควบคุมให้เป็นไปตามมาตรฐาน ระเบียบ ข้อบังคับ เดียวกัน และต้องมีการปรับเปลี่ยนไปตามการเปลี่ยนแปลงของโลกและสถานการณ์

  ธรรมาภิบาลที่ดีต้องปฏิบัติ และการปฏิบัติเกิดจากการเรียนรู้ด้วยตนเอง การสร้างการเรียนรู้ และการเปลี่ยนแปลต้องเน้นที่ระดับกลาง

  ในอดีต กฟผ. ประสบความสำเร็จเพราะมีผู้นำที่ดี มีคนเก่งเข้ามาร่วมงาน มีการทำงานที่ดีไม่มีทุจริต แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือปัญหาที่หลายๆโครงการได้ถูกต่อต้าน ทำไมองค์กรที่มีประสิทธิภาพสูทำงานด้วยความโปร่งใสกลับถูกปฏิเสธจากประชาชนไม่ยอมรับในโครงการใหม่ๆ แสดงว่าธรรมาภิบาลของ กฟผ. ยังไม่ดีพอไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ตามที่ท่าน ผวก.ไกรสีห์ฯได้ให้แนวทางการทำงานตามหลักธรรมาภิบาลไว้ดังนี้

1.  การมีส่วนร่วม (Participation)

2.  ความสำนึกและรับผิดชอบ (Accountability)

3.  ความโปร่งใส (Transparency)

4.  ประสิทธิภาพประสิทธิผล (Efficiency and Effective)

ความด้อยในข้อที่1 อาจจะมีผลทำให้เกิดความไม่ยอมรับจากประชาชนก็ได้แต่ทั้งนี้ต้องครบถ้วนทั้ง4ข้อถึงจะแก้ไขปัญหาได้ การสร้างการมีส่วนร่วมต้องทำอย่างจริงใจ

-  มีการให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับประชาชนได้รับรู้

-  รับฟังข้อคิดเห็นจากประชาชน (การรับฟังต้องนำมาใช้ด้วยไม่ใช่รับฟังแล้วเฉยๆ)

-  วางแผนและตัดสินใจร่วมกัน ซึ่ง กฟผ. ยังขาดในขั้นตอนนี้หรือมีก็น้อยมาก

วัฒนธรรมที่ยังอยู่กับ กฟผ. คือการไม่มีทุจริตคอร์รัปชั่น ใน กฟผ. แต่ที่ต้องทำคือการ สร้างความสมดุล (Balancing) ระหว่าง เทคนิค บริหาร และสังคมภายนอก ให้เมาะสม”

12.00-13.00 น. “เศรษฐศาสตร์พลังงาน”

จากปัจจัยเศรษฐกิจโลกในปี 2013 นี้การขยายตัวความต้องการน้ำมันยังคงมีเพิ่มไม่มากนักทั้ง สหรัฐอเมริกาการขยายตัวยังไม่แน่นอน ทางยุโรปยังคงซมไปถึงปลาบปี และของจีนที่การขยายตัวมีแต่ไม่มาก จะส่งผลให้ราคานำมันดิบในปี 2013 อยู่ที่ประมาณ 90-110 ดอลลาสหรัฐต่อบาร์เรล

สหรัฐอเมริกาอาจจะเป็นประเทศที่ส่งออกทั้งน้ำทัน และ ก๊าซธรรมชาติ ได้ในอนาคต เนื่องจากมีเทคโนโลยี Shale Oil และ Shale Gas ที่สามารถดึงน้ำมันและก๊าซธรรมชาติออกมาจากชั้นหินดินดานได้

ในปี 2015 เมื่อมีการเปิดเสรีทางการค้าใน ASEAN ประเทศไทยจะต้องเตรียมระบบขนส่งให้พร้อมในการรองรับการขนถ่ายสินค้าและการท่องเที่ยว และเมื่อรัฐบาลมีโครงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของประเทศโดยการกู้เงิน 2.2 ล้านๆบาท กฟผ. จะต้องเตรียมความพร้อมและปรับตัวเพื่อจัดหาพลังงานให้เพียงพอในการใช้ทดแทนน้ำมันที่ลดลงไป

16.00-18.00 น. “ผู้นำกับการสร้างทุนทางจริยธรรมในองค์กร” อ.ดนัย  จันทร์เจ้าฉาย

กลยุทธ์ “White Ocean”

-  ทำให้พื้นที่ตลาดเป็นประเด็นที่ไม่สำคัญ

-  ทำให้ทุกฝ่ายได้ประโยชน์และเป็นผู้ชนะร่วมกัน

-  จับทั้งความต้องการเก่าและใหม่

-  สร้างความสมดุลระหว่างคุณค่าและต้นทุน

-  ผสานระบบทั้งหมดของบริษัทเพื่อสร้างผลประโยชน์ให้กับสังคมโดยรวม โดยสร้างผลกำไรอย่างพอเหมาะ และสร้างความยั่งยืนให้กับบริษัท

 ผลลัพธ์จาก White Ocean หรือองค์กรที่มีจริยธรรมสูง หรือ องค์กรสีขาว

-  เป็นองค์กรที่มีผลประกอบการ/ประสิทธิ์ภาพ/ประสิทธิผล มากขึ้นกว่าเดิม 6 เท่า

-  เป็นองค์กรแหงความสุข (Happy Work Place) และมี Creativity สูง

-  เป็นองค์กรที่มีความยั่งยืน

สาเหตุที่ทำให้องค์กรที่มีจริยธรรมสูงมีผลประกอบการที่ดีเพราะ

-  High Trust Organization

-  High Speed Organization

-  Low Cost Organization

กลยุทธ์ White Ocean สามารถนำใช้กับ กฟผ. เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในระยะยาวได้เป็นอย่างดี เพราะการดำเนินงานของ กฟผ. สร้างผลกระทบต่อสังคมชุมชน ทั้งด้านลบและบวก กิจกรรมของ กฟผ. เป็นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ต้องมองถึงอนาคตให้สามารถมีทรัพยากรใช้อย่างพอเพียง ต้องสร้างความสมดุลใน Triple Bottom Line (Social / Environment / Economic)


สมเกียรติ พนัสชัย

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันที่  28 มีนาคม 2556

08.00-08.30 น. “ประสบการณ์เรียนรู้ในรุ่น2 ของข้าพเจ้า กับการปรับใช้เพื่อการบริหาร กฟผ. ในยุคที่โลกเปลี่ยน” โดย ผวก. สุทัศน์  ปัทมสิริวัฒน์

1.  จับประเด็นให้ได้ไม่ต้องลงลึก

2.  การเป็นผู้บริหารต้องรอบรู้กว้างในหลายๆสาขา

3.  Competency ที่จำเป็นในผู้นำยุคใหม่ของ กฟผ.

-  มีปฏิสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

-  แสวงหาพันธมิตรในการทำธุรกิจ

-  สามารถ Drive ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดใน Process

-  สามารถสร้างทีมและ Alignment ในองค์กร

-  สามารถสร้างวัฒนธรรมในองค์กรที่สอดคล้องกับเป้าหมายทางธุรกิจ

4.  สร้างความสัมพันธ์กับผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดวามสำเร็จของงานและองค์กร

5.  สร้างบรรยากศให้เอื้อต่อการแสดงออกมีความสุขกับการทำงาน

09.00-12.00 น. Panel Discussion “เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทย ผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.”

รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

ในปี 2556 อัตราการเติบโตเศรษฐกิจไทยน่าจะดีมีต่างชาติเข้ามาลงทุนมากขึ้นเนื่องจาก

1.  เศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัว

2.  มีการลงทุนในโครงการใหญ่ๆ โดยเฉพาะการกู้เงิน 2.2 ล้านล้านบาทมองตามหลังเศรษฐศาสตร์อาจจะไม่มีปัญหาแต่ต้องตระหนักถึง ภัยธรรมชาติ เหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงที่อาจมีผลกระทบกับเศรษฐกิจของประเทศ

3.  ความเสี่ยงจากประเทศจีน เนื่องจาก

-  อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเริ่มไม่แน่นอน

-  ความสามารถในการแข่งขันลดลงโดยเฉพาะต้นทุนค่าแรงสูงขึ้น

-  ถูกกดดันจากประเทศสหรัฐอเมริกา และยุโรปทำให้ค่าเงินหยวนแข็งขึ้น

-  มีการปรับเปลี่ยนไปสู่การเปิดประเทศจีน เป็น จีนเสรี

อ.มนู  ศิริวรรณ

-  ความท้าท้าย กฟผ. คือการจัดหาพลังงานให้เพียงพอกับความต้องการที่เติบโต

-  การส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนต้องเลิกการสนับสนุน ก๊าซ และน้ำมัน Diesel

ดร.กอบศักดิ์  ภูตระกูล

1.  ความเสี่ยงปัจจุบันยังอยู่ที่ สหรัฐอเมริกา และยุโรป

2.  โอกาส AEC

-  ขยายกิจการไปลงทุนในต่างประเทศ

-  โอกาสการค้าชายแดน

-  โอกาสที่ไทยจะเป็น Land Bridge แห่งใหม่ของ ASEA

3.  โอกาสในประเทศในต่างจังหวัด

-  มีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานรอบใหม่

-  โอกาสที่จะดูแลนักลงทุนต่างประเทศที่เข้ามาเลือกลงทุน

EGAT ต้องเป็นรัฐวิสาหกิจของภูมิภาค ไม่ใช่เฉพาะของประเทศไทย ถ้าไม่ออกไปทำในปีนี้อีก 5 ปีจะมีคนไปทำแทนเรา EGAT ต้องออกไปปักธงไว้ก่อน”

13.00-16.00 น. “TQM/SEPA : ความเป็นเลิศและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ กฟผ.”

รวห.พิบูลย์  บัวแช่ม อ.สัญญา เศรษฐพิทยากุล อ.นริศ  ธรรมเกื้อกูล

 หลักการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (TQM) ของ กฟผ.

1.  คุณธรรมธรรมาภิบาล

2.  HPO

3.  Operational Excllent

4.  National Pride

5.  ความมั่นคงทางการเงิน

HPO = TQM เป็นหลักการบริหาร

TQA = SEPA เป็นเกณฑ์การวัด

EGAT WAY เป็นการบริหารจัดการคุณภาพทั้งองค์กรในรูปแบบของ กฟผ. โดยให้ความสำคัญใน 3 ประเด็นคือ  People + System = Excellent Organization ใช้รูปแบบการบริหารแบบ Matrix Organization

·  สร้างความเชื่อมั่น ศรัทธา และส่งมอบคุณค่าสู่ลูกค้า สังคม และประเทศ

·  พัฒนาขีดความสามารถหลักควบคู่กับรักษาบุคลิกภาพความอ่อนน้อม

·  ปลูกฝังค่านิยมและวัฒนธรรมองค์การ

·  มุ่งเน้นธุรกิจสีเขียวและการกำกับกิจการที่ดี

·  บริหารเชิงสมดุลระหว่างการบูรณาการระบบงานและความเป็นอิสระคล่องตัวของหน่วยงาน โดยเน้นการมีส่วนร่วม

·  บริหารบนพื้นฐานข้อมูลจริง

·  พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง เหตุวิกฤตและบริบทการแข่งขันในเวทีโลก

·  เป็นความภาคภูมิใจของประเทศ เป็นเลิศ เป็นต้นแบบ เทียบเคียงได้กับสากล

·  ปรับปรุงต่อเนื่องพร้อมสร้างนวัตกรรม เพื่อมุ่งยกระดับคุณค่าที่ส่งมอบ

“SEPA Score คือ By product จาก EGAT WAY”


นายภูวดา ตฤษณานนท์

วันที่ 26  มีนาคม  2556 ( 09.00 – 12.30 .)

หัวข้อวิชา       :         นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน(Social Innovation)กับการทำงานของ กฟผ.

โดย               :         ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์

                    :         ดร.เสรี           พงศ์พิศ

                    :         คุณศานิต        นิยมาคม

                    :         คุณสุทธิเดช     สุทธิสมณ์

โดยวิทยากร 4 ท่านได้บรรยายประสบการณ์และยกตัวอย่างประกอบอย่างชัดเจนพร้อมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้เข้ารับการอบรมรุ่น 9 โดยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้

·       ทำไมกฟผ. ผลิตไฟฟ้าให้ประชาชนใช้ แต่ประชาชนไม่ยอมรับกฟผ.

·       กฟผ. ต้องดูแลสังคมให้ครบถ้วน  มิใช่ให้ประชาชนมีความรู้สึกว่า กฟผ. จะทำเพื่อต้องการสิ่งแลกเปลี่ยน

·       กฟผ. ต้องคิดทำเรื่องเล็กๆใกล้ตัวและต่อยอดให้เป็นนวัตกรรม ชาวบ้านได้ประโยชน์

·       เน้นทำนวัตกรรมจากสิ่งที่ชุมชนใช้ในชีวิตประจำวัน

·       พนักงานทุกๆคนต้องร่วมมือกันเพื่อขับเคลื่อน CSR ของกฟผ.ให้อยู่ในใจของประชาชน

เรียนในห้องได้ความรู้          เรียนนอกห้องได้ความจริง

 

 

 

 

 

 

วันที่ 26  มีนาคม  2556 ( 13.00 – 16.00 .)

หัวข้อวิชา       :         เทคนิคการสื่อสารกับสื่อสารมวลชน

โดย               :         ดร.พจน์                   ใจชาญสุขกิจ

การสื่อสารมี Stake-holders  มาเกี่ยวข้องหลายด้านเช่น  Employee , Public , Customer , Government โดยการสื่อสารมีช่องทางการสื่อสารได้หลายทาง ดังนี้

·      หนังสือพิมพ์              :         ประเด็นน่าสนใจ

·      วิทยุ                        :         เร็ว/สร้างอารมณ์

·      TV                          :         ข้อมูลและภาพต้องไปด้วยกัน

·      สำนักข่าวต่างประเทศ  :         ความรวดเร็ว/ชัดเจนแหล่งอ้างอิง

·      บุคคล                      :         โต้ตอบได้/ความสามารถในการจัดการ

โดยสรุป เทคนิคการสื่อสารต้องมีเทคนิคการบริการข่าว  ต้องเตรียมข้อมูลให้พร้อมและมีที่อ้างอิงและเป็นจริง มีการซักซ้อมเพื่อสร้างความพร้อมและความเข้าใจข่าว

วันที่ 26  มีนาคม  2556 ( 16.30 – 18.45 .)

หัวข้อวิชา       :         Managing Self Performance

โดย               :         อาจารย์อิทธิภัทร                 ภัทรเมฆานนท์

กระบวนการสร้างกลยุทธ์เพื่อสร้างความสำเร็จ

เป้าหมาย               กำหนดกลยุทธ์                วางแผน                ถ่ายทอด             ปฏิบัติ

เมื่อปฏิบัติแล้วต้องติดตามทบทวนปรับปรุงตลอดเวลา(PDCA)

นายภูวดา ตฤษณานนท์

นายภูวดา ตฤษณานนท์

วันที่ 27  มีนาคม  2556 ( 09.00 – 12.00 .)

หัวข้อวิชา       :         ธรรมาภิบาลของ กฟผ.

โดย               :         คุณไกรสีห์                กรรณสูต       

อดีตผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย  

                    :         คุณสมบัติ                 ศานติจารี

อดีตผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย  

                    :         อาจารย์ธรรมรักษ์      การพิศิษฏ์

ดำเนินรายการ :         .ดร.จีระ                 หงส์ลดารมภ์

ในอดีต กฟผ.อาจจะมองเรื่องต้นทุนค่ากระแสไฟฟ้าที่กระทบกับประชาชนมากไปจึงขาดความสมดุลด้านชุมชนและสิ่งแวดล้อม  โดยหลักธรรมาภิบาลจะต้องประกอบด้วย PATE

P   การมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย (Participate)

A   ความรับผิดชอบ , ความสำนึกในหน้าที่ (Account)

T   ความโปร่งใส , ตรวจสอบได้ (Transparency)

E   ความมีประสิทธิภาพ (Efficiency)

กฟผ. ต้องบริหารและกำกับดูแลให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกๆด้านได้รับความเป็นธรรมและโปร่งใส ตรวจสอบได้ กล้าเปิดเผยข้อมูล

โดยสรุป ธรรมาภิบาลต้องทำให้เข้าถึงจิตใจของผู้ปฏิบัติงานของกฟผ.ทุกๆคนจึงจะประสบความสำเร็จ

 

 

 

 

วันที่ 27  มีนาคม  2556 ( 13.00 – 16.00 .)

หัวข้อวิชา       :         เศรษฐศาสตร์พลังงาน

โดย               :         บทสัมภาษณ์ อาจารย์มนูญ              ศิริวรรณ

ในปัจจุบันจนถึงอนาคตอันใกล้นี้ พลังงานเป็นเรื่องสำคัญของคนทั้งโลก เมื่อมาคิดถึง กฟผ. โจทย์ใหญ่ คือ ความต้องการการใช้กระแสไฟฟ้ามากขึ้น แต่ไม่สามารถสร้างโรงไฟฟ้าได้เนื่องจากถูกต่อต้าน กฟผ.จะมีกลยุทธ์อย่างไร

วันที่ 27  มีนาคม  2556 ( 16.00 – 18.30 .)

หัวข้อวิชา       :         ผู้นำกับการสร้างทุนทางจริยธรรมในองค์กร

โดย               :         คุณดนัย                   จันทร์เจ้าฉาย

          ทุกวันนี้ในโลกธุรกิจได้เปลี่ยนแปลงไปมากมาย หากองค์กรเราไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวเข้าหา องค์กรเราจะอยู่ไม่ได้ หากปล่อยให้การเปลี่ยนแปลงภายนอกเกิดก่อนภายในองค์กรของเรานั่นเป็นสัญญาณแห่งความล้มเหลวขององค์กร

“If the rate of change on the outside is farther than the rate of change”

กฟผ.ต้องทำให้ชุมชน คนภายนอกเชื่อถือ ยอมรับองค์กร เมื่อทุกคนเชื่อมั่นกฟผ.แล้วจะทำให้ Speed ดี ต้นทุนต่ำ

Thrust                             Speed                    Cost

มองกว้าง  คิดไกล   ใฝ่สูง

-          Passion         ต้องมีอุดมการณ์ที่มั่นคง

-          ต้องดูแลเรื่องคนเป็นหลักและไม่ทอดทิ้งสังคม

ทำใดก็ไร้ค่า             ถ้าไม่ลงมือทำ

 

นายภูวดา   ตฤษณานนท์ 

 

นายนพดล มั่งพร้อม

สรุปการบรรยายวันที่ 26 มีนาคม 2556

Panel Discussion หัวข้อนวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน
(
Social Innovation) กับการทำงานของ กฟผ.

โดย

ครูบาสุทธินันท์  ปรัชญพฤทธิ์

ดร.เสรี พงศ์พิศ

คุณศานิต  นิยมาคม

คุณสุทธิเดช  สุทธิสมณ์

ดำเนินรายการโดยศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์….สรุปเนื้อหาคือ

- การพัฒนาสังคมต้องเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคน  และต้องคำนึงถึงความสุข
ความสมานฉันท์ของประชาชน

- จะมีวิธีการบริหารข่าวสารดีๆให้เป็นข่าวสารพิเศษได้อย่างไร?

- นวัตกรรมเพื่อชุมชนก็คือการทำเรื่องเล็กๆให้เป็นเรื่องพิเศษ
เช่นหากให้ชุมชนสีข้าวเองผลพลอยได้มีประโยชน์มากมายเช่น รำข้าว  ปลายข้าว 
แกลบ เป็นต้น

- การพัฒนาที่ถูกต้อง
จะต้องทำให้ชุมชนพึ่งตนเองได้ 
โดยสิ่งที่ต้องการให้สนับสนุนคือเทคโนโลยี 
วิชาการต่างๆ

- สิ่งที่สำคัญคือต้องให้ชุมชนบอกแก่เราว่าต้องการอะไร?
ต้องประกอบด้วยท่าทีที่ดีและมีความจริงใจ

- จะต้องได้ทั้ง 2 ฝ่าย(win-win)

- จะดีมากขึ้นหากมีการไปเป็นส่วนตัวไม่เป็นทางการ

- ในการเปิดโครงการนั้น  ที่สำคัญคือผู้ใหญ่หลักๆต้องร่วมมือ
ลงแรงด้วยกัน

- ยุคนี้ต้องทำงานเชิงรุก จะทำได้ต้องลุกจากเก้าอี้เสียก่อน

ดร.เสรี  พงศ์พิศ….สรุปเนื้อหาคือ

- กฟผ.มี 2 บุคลิกคือ พระเอกและผู้ร้าย

- สังคมจะดีถ้าเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้  แต่สังคมไทยไม่ใช่  ....ทำให้ความคิดสร้างสรรค์ไม่เกิด  ต้องสร้างเองจากประสบการณ์

- ประเทศไทยมีการวิจัยมี แค่ 0.2%
ของGDP เท่านั้น  นับว่าน้อยมาก

- ไทยเป็นประเทศที่ใช้เงินนำหน้า  ปัญญาตามหลัง 
....เหมือนไม้ในกระถางจะไม่โต พ่งตัวเองไม่ได้....  ต้องทุบกระถางแล้วนำลงดิน จึงจะทำให้พึ่งตนเองได้

- เงินแก้ปัญหาสังคมไม่ได้  ปัจจุบันมีเงินท่วมโลก ไม่ได้ขาดแคลนเลย
.....สิ่งที่ขาดคือความรู้และปัญญา

- คนที่โชคดีที่สุดคือคนที่มีปัจจัยการผลิตที่ดิน  คนที่โชคร้ายคือมีที่ดินแล้วไม่มีปัญญาหรือความรู้

คุณสุทธิเดช   สุทธิสมณ์.........สรุปเนื้อหาคือ

-  ลำดับ Social Innovation ของกฟภ. มีมาเป็นระยะนับแต่ก่อตั้ง กฟภ.ในปี 2503

· กฟภ.ใช้เงินอย่างประหยัดมากเมื่อเทียบกับ กฟผ.

· กฟภ.ลงทุน infrastructureน้อย

· กฟภ.สร้างองค์กรการเรียนรู้โดยใช้แนวคิด
Peter Senge จะทำห้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
มีการเจริญเติบโตและมีนวัตกรรม  แล้วนำมาทำเป็นยุทธศาสตร์ 3 ขั้นคือ

1. LO Awareness

2. Knowledge Auditing

3. Knowledge Critique

คุณศานิต นิยมาคม.........สรุปเนื้อหาคือ

- กฟผ.หลีกเลี่ยงผลกระทบจากชาวบ้านไม่ได้

- สายส่ง กฟผ.ประชาชนไม่ยอมรับ  แต่สายส่งของ กฟภ.ประชาชนกลับยอมรับ  ซึ่ง ผวก.ก็เป็นห่วงในเรื่องนี้

- เกี่ยวกับการทำ CSR .....เราจะรวยอยู่บนความทุกข์ของชาวบ้านที่อยู่รอบๆไม่ได้

- บางหน่วยงานทำ CSV สร้างShared Value ซึ่งเหนือกว่า CSR

ช่วงถาม-ตอบ

- ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์..........กฟผ.ต้องลงไปหาประชาชนล่วงหน้า  ไม่ใช่ไปในช่วงเข้าตาจนแล้ว  เอาความรักเข้าไปด้วย  ใช้ชีวิตร่วมกับชุมชน.........การประเมินโครงการต้องทำโดยประชาชนเป็นผู้ตอบ

- คุณสุทธิเดช สุทธิสมณ์.............คนที่จะไปเข้าหาชุมชนควรเป็นกระทรวงพลังงาน

- ดร.เสรี  พงศ์พิศ..........................กฟผ.ควรจะถอยมาตั้งหลัก  เพื่อเดินหน้าใหม่

                                       ...............ให้กฟผ.สร้างภาคี/เครือข่ายกับชุมชนโดยมีศักดิ์ศรีเท่ากัน

                                         .............ให้ กฟผ.สร้างนวัตกรรมทางสังคมโยสร้างทุนทางปัญญาและทุนทางสังคม

- คุณศานิต  นิยมาคม .........เสนอแนะว่ากฟผ.คงต้องถอยมาดูว่าปัญหาคืออะไร?

                               .........กฟผ.มีความต่อเนื่องกับประชาชนมากน้อยเพียงใด? ต้องไปพบประชาชนก่อน

                                ........การกินบุญเก่าดังเช่นที่ รฟ.กระบี่ คงทำไม่ได้

.....................................................................................................................................................................................................................

วันที่ 26 มีนาคม
2556 ( 13.00 – 16.00 น.)

หัวข้อวิชา : เทคนิคการสื่อสารกับสื่อสารมวลชน

โดย :ดร.พจน์  ใจชาญสุขกิจ

- ให้ดูว่าหน่วยงานของเราต้องเกี่ยวข้องกับหน่วยงานใดบ้าง.....ต้องรู้เทคนิคการบริหารความสัมพันธ์

- ต้องรู้ว่าสื่อมีทรรศนะคติกับเราอย่างไร?(ต้องรู้ความหมายระหว่างบรรทัดด้วย)

- ถ้ารู้จักใครต้องรู้จักให้จริง  ต้องเชื่อมโยงความสัมพันธ์ให้ได้

- เพราะมีเรื่องต่างๆมากมายการจะเลือกพูดกันในเรื่องอะไร? ก็ต้องทำการวิเคราะห์ผู้ฟังด้วย

- คำถามไม่สำคัญเท่าคำตอบ

- ธุรกิจที่ต้องการให้จดจำต้องสอดคล้องกับภารกิจหลักของหน่วยงานด้วย

- ต้นทุนของชื่อเสียง  มีค่ามาก

- ต้องอธิบายเรื่องที่สื่อสงสัยให้มากที่สุด
เรื่องที่เราอยากแถลงอาจต้องให้สำคัญน้อยลงไป

- ในการออกรายการ 
ต้องศึกษษลักษณะรายการและพิธีกรด้วย

- ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลง(change)มาก  สื่อ social  media อาจไม่ต้องลงทุนมากเท่ากับสื่ออื่นๆ

- ผู้ที่จะเป็นคนพูด/ให้ข่าวคือ CEO  , รองลงมาคือผู้มีหน้าที่โดยตรง

- ประเด็นที่ sensitive ควรมีการตกลงร่วมกันก่อน  เพื่อให้พูดได้ตรงกัน

-ชาวบ้านต้องการคำตอบ  ไม่ใช่คำอธิบาย

- ถ้าไม่รู้อย่าตอบ  ถ้าไม่เข้าใจอย่าอธิบาย

- ต้องรู้เรา รู้เขา และรู้โลก



..........................................................................................................................................................................................................

หัวข้อวิชา :
Managing Self Performance

โดย :
อาจารย์อิทธิภัทร ภัทรเมฆานนท์


- ทุกคนต้องรับผิดชอบต่อชีวิตของตนเอง 100%

- สูตรการรับผิดชอบต่อชีวิตคุณ100% คือ

                  E(เหตุการณ์)+R(ตอบสนอง) = O(ผลลัพธ์)


- ถ้าเรายังไม่พอใจผลลัพธ์ในปัจจุบันเรามี 2 ทางเลือกคือ

1. โทษเหตุการณ์(E) ที่ทำให้ไม่เกิดผลลัพธ์(O)

2. เปลี่ยนการตอบสนอง(R) ต่อเหตุการณ์ (E) อย่างที่เป็นอยู่จนกว่าจะได้ผลลัพธ์(O)ตามที่ต้องการ

3. เราต้องเป็นCause(Make it happen ) ไม่ใช่เป็นEffect (Wait it Happen )

 
 



 


 


 




สรุปประเด็นที่สามารถปรับนำใช้ได้ ในการอบรมวันที่ 26-29 มีนาคม 2559 

// อรรถพร ชูโต //


วันที่ 26 มีนาคม 2556

นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน(Social Innovation) กับการทำงานของกฟผ.

-  มีส่วนร่วมกับชุมชนด้วย ท่าที ลีลา ความจริงใจ ทำจากเรื่องง่ายๆ

-  การเข้าหาชุมชนควรทำตั้งแต่เนิ่นๆ ตอนที่ยังไม่มีปัญหา

-  ส่งเสริมชุมชนให้มีการเรียนรู้ / พึ่งพาตนเอง เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

-  ต้องตระหนักเสมอว่า กฟผ.ไม่สามารถอยู่โดยลำพังได้

เทคนิคการสื่อสารกับสื่อมวลชน

-  การ “ถอดบทเรียน” จาก case อื่นๆ ทั้งในภาพบวกและลบ สามารถนำมาปรับใช้กับเราได้

-  เมื่อมีโอกาสเจอสื่อ ควรวิเคราะห์ / พูดเรื่องที่สื่อสนใจให้มากที่สุด

-  คนถามต้องการคำตอบ ไม่ใช่คำอธิบาย

-  ไม่รู้ – ไม่มั่นใจ อย่าตอบ

-  ถ้าเป็นไปได้ ควรสอบถามความเข้าใจของคนฟังด้วย

-  หา Key Word / พูดในแนวเดียวกับผู้บริหาร – ผวก. / รมต. จะไม่ผิด

Managing Self  Performance

-  ตัวเรารับผิดชอบต่อชีวิตเราเอง 100%

-  ต้องมีความเชื่อว่าเราสามารถพัฒนาความสามารถ / ศักยภาพ ตัวเองได้


วันที่ 27 มีนาคม 2556

ธรรมาภิบาล ของ กฟผ.

-  เปลี่ยนจากการสอนเป็นการเรียนรู้

-  ผู้นำระดับกลางมีความสำคัญในการเปลี่ยนแปลง

-  กฟผ.ปรับต้วเองช้าไป เมื่อเทียบกับภายนอก

 เศรษฐศาสตร์พลังงาน 

-  นโยบายพลังงานจากรัฐบาลควรมีความชัดเจน ทั้งในเรื่องสัดส่วนเชื้อเพลิงและราคา

-  ในอนาคต กฟผ. ต้องผลักดันให้เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานชีวมวล และ พลังงานหมุนเวียน

ผู้นำกับการสร้างทุนทางจริยธรรมในองค์กร

-  ทฤษฎี White ocean strategy

-  ปัจจัยสู่ความสำเร็จ คือ คิด 1% พูด 4% ลงมือปฏิบัติ 95%


วันที่ 28 มีนาคม 2556

ผวก.บรรยายพิเศษ

-  ปัจจัยผู้นำรุ่นใหม่ หาพันธมิตร / สร้างวัฒนธรรมองค์กรให้สอดคล้องกับแผนธุรกิจ

-  อนาคตให้มองกิจการทั้งกลุ่ม กฟผ. ไม่ใช่แค่ กฟผ.

-  ต้องพร้อมปรับตัวเองตลอดเวลา ปฎิสัมพันธ์มากขึ้น อย่าสันโดษ

เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทย..ผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ

-  อย่าประมาท ประเทศที่มีปัญหามักเริ่มมาจากมองโลกแง่ดีเกินไปทั้งนั้น

-  ความท้าทายในอนาคตคือการจัดหาพลังงาน

-  ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไม่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ด้านพลังงาน

TQM/SEPA: ความเป็นเลิศและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ กฟผ.

-  ควรต้องวางกลยุทธ์ขององค์กร ในระยะสั้นและระยะยาว

-  การพัฒนาบุคลากร ต้องทำต่อเนื่องเพื่อให้ กฟผ. เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างยั่งยืน


วันที่ 29 มีนาคม 2556

แนวคิดBlue Oceanกับการทำงานของ กฟผ. และการปรับใช้เพื่อสร้างโครงการแบบนวัตกรรมของ กฟผ.

-  บริหารจัดการกับความรู้ที่ได้รับมา เพื่อทำให้เกิดความรู้-รู้จริง-ตระหนัก

-  ต้องหาวิธีปรับตัวให้เกิดโอกาส นวัตกรรมใหม่ๆ /  ความต้องการใหม่ๆ

-  ต้องมองหาศักยภาพของตนเอง ที่เป็น  Core Competency

High Performance Organizationที่ กฟผ.

-  ควรทำการบูรณาการกิจกรรมใน กฟผ. เพื่อให้ตรงกับตัวชี้วัด

-  ผลักดันกิจกรรมที่ทำให้บุคคลในองค์กร เป็นได้ทั้งคนดีและคนเก่ง

-  ผู้นำต้องมีทัศนคติเชิงบวก มุ่งมั่น  มีความคิดริเริ่ม และมีเป้าหมาย ที่ชัดเจน

-  พนักงาน ต้องเข้าใจภารกิจ สื่อสารกันชัดเจน


 อรรถพร ชูโต 

นายนพดล มั่งพร้อม

วันที่ 27มีนาคม 2556

Panel Discussion

หัวข้อ “ธรรมาภิบาล” ของ กฟผ.

โดยคุณไกรสีห์  กรรณสูต

อดีตผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

 

คุณสมบัติ ศานติจารี

อดีตผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

 

อาจารย์ ธรรมรักษ์  การพิศิษฎ์

ดำเนินรายการโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

อาจารย์ธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์...............สรุปเนื้อหาได้ดังนี้

- ธรรมาภิบาลหมายถึงการบริหารกิจการที่ดี

-ในประเทศไทยเดิมคือการรวมศูนย์อำนาจ  โดยมีหลักนิยมคือการสอน และควบคุมกำกับ 
มีการตรวจสอบจากบนลงล่างซึ่งเหมาะกับในอดีต  เหมาะกับเครื่องจักร ......ไม่มองลูกค้าเป็นศูนย์กลางแต่ต้องการมาตรฐานเดียวกัน.....มักใช้แต่
power แต่ไม่ได้ empower

- ธรรมาภิบาล......สอน(ทำให้รู้)ไม่ได้  lecture ไม่ได้  แต่ต้องเรียนรู้เองต้องระเบิดจากข้างใน

- การสร้างchange ให้ดีต้องสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงจากผู้นำระดับกลาง  ประเทศไทยขณะนี้ขาด leadership อยู่มาก

- สิ่งที่ควรทำคือต้องกระจายอำนาจ (empower)

 ......ต้องให้มีการเรียนรู้ด้วยตนเอง ตระหนักด้วยตนเอง 
 ......วิเคราะห์
SWOT ของตนเอง

 .......ติดตามด้วยตนเอง

-สรุป   ธรรมาภิบาลที่ดี ต้องปฏิบัติจากการเรียนรู้ในหน่วยงานเอง 
เริ่มจากผู้นำหน่วยระดับกลางเป็นผู้นำลูกน้องรองๆลงไป

คุณไกรสีห์ กรรณสูต .......สรุปได้ดังนี้คือ

- กฟผ.เดิม ได้ ผวก.เกษมที่มีภาวะผู้นำสูง  ได้คนเก่งและดีมาทำงานเป็นจำนวนมาก  ทำให้งานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดี  คน กฟผ.ไม่มีการทุจริตคู่ค้าขายไม่ต้องเผื่อราคาเอาไว้

- ต่อมากฟผ.เริ่มมีอุปสรรคเช่นมีการประท้วงที่แม่เมาะเกี่ยวกับด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งกระทบต่อวิถีชีวิตคนรอบข้างที่อาจต้องเปลี่ยนอาชีพ  ทำให้กฟผ.ทำงานได้ยากขึ้น

- ทำไมมีปัญหากับ กฟผ.ทั้งๆที่กฟผ.ก็ดูดีหมด  อาจเป็นไปอย่างที่อ.จีระกล่าวไว้คือการขาดความสมดุลย์ 
กฟผ.ยังด้อยในเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชน

- หลักธรรมาภิบาลมี 4 ส่วนคือ

1.  การมีส่วนร่วม

2.  การรับผิดชอบ

3.  ความโปร่งใส

4.  ความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

- กฟผ. Change ได้ช้ากว่า change จากภายนอกทำให้มี gap และเป็นปัญหาที่ต้องแก้

คุณสมบัติ  ศานติจารี.....................สรุปเนื้อหาได้ดังนี้

- ธรรมาภิบาลของ กฟผ.มีมา 40 ปีแล้วไม่ใช่เพิ่งจะมี  ......โครงการต่างๆของกฟผ.ผ่านสภาพัฒน์ไม่ยากเป็นการแสดงถึงความไว้เนื้อเชื่อใจเป้นอย่างดี  .......วัฒนธรรมองค์กรของ กฟผ.ก็เป็นการส่งเสริมหรือยืนยันอยู่ในตัวว่า
กฟผ.มีธรรมาภิบาลอยู่แล้ว

-  ธรรมาภิบาลก็คือการบริหารให้ดีที่สุด  เป็นธรรมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม

- หากองค์กรมีธรรมาภิบาลดี ก็จะได้ประโยชน์ผลตอบแทนจะดีตามเพราะไม่มีการรั่วไหล

- ที่ผ่านมา กฟผ.ไม่ได้ละเลยสิ่งแวดล้อมเราทำตามมาตรฐานสากลอยู่ตลอดมา......เพียงแต่ในอดีตยังไม่มีกฎหมายมาบังคับเท่านั้น

- ปัญหา corruption เช่นการจัดซื้อจัดจ้าง  ไม่มีปัญหาสำหรับกฟผ.หน่วยงานภายนอกให้การยอมรับเสมอมา 
หากมีปัญหาเกิดขึ้นทางหน่วยงานก็ไม่เคยละเลยแต่รีบดำเนินการตรวจสอบและแก้ไขทันที

- การมีธรรมาภิบาลที่ดีจะเป็นยันต์กันการแทรกแซงจากภายนอกได้

……………………………………………………………………….


หัวข้อวิชา : เศรษฐศาสตร์พลังงาน

โดย :บทสัมภาษณ์ อาจารย์มนูญ ศิริวรรณ

- เศรษฐกิจโลกปี 2013 น่าจะดีกว่าปีที่แล้วแต่ยังไม่ขยายตัวมากนัก เนื่องจาก EU ยังไม่ฟื้น 
ฟองสบู่ภาคอสังหาริมทรัพย์เริ่มก่อตัวในจีน

- แนวโน้มราคาน้ำมันจะยังทรงตัว  และความต้องการน้ำมันก็ยังเพิ่มขึ้น

- อเมริกามีเทคโนโลยีใหม่ในการผลิตshale oil และ shale gas จากชั้นหินดินดานได้เป็นจำนวนมาก จนอาจเป็นผู้ส่งออก gas ในอนาคตได้ เนื่องจากคำนวณดูแล้วอาจมีปริมาณ gas สำรองสูงกว่ารัสเซียเสียอีก

- ปัญหาของไทยคือเรามีสัดส่วนการใช้ gas สูงมาก  และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  หากจำเป็นก็ต้องนำเข้า LNG ที่มีราคาแพงสูงขึ้น......จะแก้ปัญหานี้กันอย่างไร?

- การควบคุมราคาLPG ก็ยิ่งทำให้หันมาใช้กันมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคขนส่ง

- NGV ปัจจุบัน ปตท.แบกรับผลขาดทุนอยู่ หากมีการควบคุมราคาไว้ก็ทำให้ ปตท.ไม่มีแรงจูงใจในการขยายกิจการ NGV

- เกี่ยวกับนโยบายพลังงาน  ประเทศไทยมีแผนอนุรักษ์พลังงานอยู่แล้ว  ควรดำเนินการตามแผนนั้นอย่างจริงจัง

- ควรมีการเตรียมโครงสร้างพื้นฐานในการขนส่งคน วัตถุหรือสิ้นค้าต่างๆครั้งละมากๆเพื่อประหยัดพลังงาน
เช่นระบบขนส่งทางราง  ทางน้ำเป็นต้น

- ประเทศไทยมีพลเมืองเป็นลำดับที่ 4 แต่ใช้พลังงานมีสัดส่วนต่อหัวเป็นลำดับที่ 2 ......ควรมีการปรับปรุงเรื่องนี้

- กฟผ.กับการผลิตไฟฟ้าในอนาคต.......ต้องทำให้ชาวบ้านเข้าใจ   ต้องมีการชี้แจงและโปร่งใส ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ หรือการบริหาร เป็นต้น

......................................................................................................................................................................

หัวข้อผู้นำกับการสร้างทุนทางจริยธรรมในองค์กร

โดยคุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย

- การเปลี่ยนแปลงในโลกเกิดขึ้นด้วยอัตราเร็วมากกว่าในอดีตเป็นอย่างมาก
เช่น หลายแสนปีก่อนอุณหภูมิของโลกเฉลี่ย 10 องศา C ตลอดมา  แต่ได้ภายในไม่กี่ร้อยปีนี้เองสูงขึ้นเป็น
15 องศา C

- ผลการเปลี่ยนแปลงเช่นโลกร้อนนี้ ทำให้เกิดภัยพิบัติมีจำนวนมากขึ้นและรุนแรงขึ้น

- แต่ก่อนไทยเจริญกว่าหลายๆประเทศในเอเชีย แต่ปัจจุบันกำลังถูกแซงไปเรื่อยๆ

- ถ้าอัตราการ change ภายนอกสูงกว่าอัตราการ change ภายในแล้วนั่นก็คือจุดจบ

- คนไทยเป็นคนที่มาแต่ร่างจิตไม่มาเราอ่านหนังสือเฉลี่ยกันเพียงไม่เกิน 10 บรรทัดต่อปี แต่คนเวียดนามอ่าน 70 เล่มต่อปี

- ผู้ใหญ่เมื่อพูดอย่างไรแล้วต้องทำตามที่พูดเพื่อเป็นตัวอย่างให้เด็กทำตาม

- เรื่อง“กลยุทธ์ White Ocean” คือ

- ทำให้พื้นที่ตลาดเป็นประเด็นที่ไม่สำคัญ

- ทำให้ทุกฝ่ายได้ประโยชน์และเป็นผู้ชนะร่วมกัน

- ผลลัพธ์จากกลยุทธ์ White Ocean

......เป็นองค์กรที่มีผลประกอบการ/ประสิทธิ์ภาพ/ประสิทธิผลสูงกว่าองค์กรชนิดเดียวกัน

......เป็นองค์กรแหงความสุข (Happy Work Place) และมี Creativity สูง

  ......เป็นองค์กรที่มีความยั่งยืน

- กลยุทธ์White Ocean สมควรมีการศึกษาในรายละเอียดแล้วนำมาประยุกต์ใช้กับ กฟผ. เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในระยะยาว สามารถอยู่ร่วมกับชุมชน อยู่ในโลกโดยไม่ทำร้ายโลก




นายนพดล มั่งพร้อม

วันที่ 28มีนาคม 2556

การบรรยายพิเศษ

หัวข้อ ประสบการณ์การเรียนรู้ในรุ่น 2 ของข้าพเจ้า กับการปรับใช้เพื่อการบริหาร กฟผ.ในยุคที่โลกเปลี่ยน

โดยคุณสุทัศน์  ปัทมสิริวัฒน์

ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

- ผวก.กล่าวว่าผู้บริหารระดับสูงนั้น  vision เป็นเรื่องสำคัญต้องจับประเด็นให้ได้แต่ไม่จำเป็นต้องลึก 
- ผวก.เคยเป็นผู้เข้าอบรมEADP รุ่นที่ 2 ......ได้เคยเขียนเสนอแนะไว้ใน blog ขณะนั้น 2 เรื่อง ซึ่งได้นำมาปฏิบัติจริงหลังจากได้รับตำแหน่งผวก.แล้วคือเรื่อง

1.  เรื่อง อัตรากำลัง .....ที่อายุ < 35 ปีมีน้อยมาก ทำให้ภายใน 10 ปีจะมีผู้เกษียณจำนวนมาก ขณะนี้ได้มีการทยอยรับผู้ปฏิบัติงานใหม่ปีละ600-700 คนเป็นเวลา 5 ปี 

2.  เรื่องการพัฒนาผู้นำรุ่นใหม่....ผวก.กล่าวว่าหากเรามีการสร้างsuccessor plan ที่ดีแล้ว ก็หมายถึงว่า
กฟผ.มีปัจจัยแห่งความสำเร็จขององค์กรที่สำคัญอย่างหนึ่งแล้ว

- กรอบ competency ที่จำเป็นของผู้บริหารมี 5 ด้านคือ


1. การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

2. การแสวงหาพันธมิตรในการทำธุรกิจ

3. การสามารถDrive ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในProcess

4. การสามารถสร้างทีมและAlignmentในองค์กร

5. การสามารถสร้างวัฒนธรรมในองค์กรที่สอดคล้องกับเป้าหมายทางธุรกิจ

- กฟผ.ต้องเตรียมพร้อมในการสร้างผู้นำรุ่นใหม่

- วันนี้ต้องไม่มองเฉพาะกฟผ.แต่ต้องมองไปถึงบริษัทลูกและหลานในการขับเคลื่อนให้เติบโตในภูมิภาค  โดยการขับเคลื่อนต้องไปเป็นกลุ่ม EGAT Group

- เราต้องเตรียมตัวให้พร้อมไว้เมื่อโอกาสมาถึงก็จะสามารถทำได้ เตรียมองค์กรให้พร้อมสำหรับวันข้างหน้าซึ่งไม่ได้ผูกกับตำแหน่งเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

- คนเราเปลี่ยนได้ยากคือวิธีคิด  ผวก.แนะนำให้นำ 2R ของ อ.จีระมาปรับใช้คือ R-real และ R-relevant


ผวก.สรุป....

1. ต้องรู้ให้กว้างขึ้น

2.จับประเด็นให้ได้

3. ต้องประเมินตนเองตลอดเวลา
ไม่มองเฉพาะตำแหน่งปัจจุบัน แต่ให้มองให้สูงขึ้น

........................................................................................................................................................................

หัวข้อ: เศรษฐกิจโลก
และเศรษฐกิจไทย..ผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.

โดยรศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล

อาจารย์มนูญ  ศิริวรรณ

รศ.ดร.สมชาย  ภคภาสน์วิวัฒน์…….มีเนื้อหาดังนี้

- พูดเป็น 2 เรื่องคือ 1. ระยะสั้นคือเรื่องตลาดหุ้นและ  2. ระยะยาวได้มาเล่าถึงภาวะเศรษฐกิจโลกทั้งอเมริกา
ยุโรป และเอเซีย ส่งผลให้อาเซียนและประเทศไทยในที่สุด

- การกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทของรัฐบาลโดยหลักการแล้วถือว่าดี  แต่หากมีเหตุไม่คาดฝันเช่นเกิดภัยธรรมชาติใหญ่ๆ
ที่รุนแรงและถี่ขึ้นเรื่อยๆ ก็จะมีผลกระทบที่รุนแรงตามมาได้  ......อย่างไรก็ตามผลจากการกู้เงินครั้งนี้จะทำให้ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการก่อสร้างเส้นทางคมนาคมต่างๆจำนวนมากทั่วประเทศจะเปลี่ยนวิถีชีวิตของประชาชนไปตลอด

อาจารย์มนูญ   ศิริวรรณ........มีเนื้อหาดังนี้

- ปัญหาที่ กฟผ.ต้องพบคือการจัดหาพลังงานมาผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอกับความต้องการที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆ

- ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไม่สอดคล้องกับยุทศาสตร์ด้านพลังงาน  เช่นการส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนต้องเลิกการสนับสนุนก๊าซ และน้ำมัน Diesel.......รวมถึงการไม่พัฒนาระบบรางและการขนส่งทางน้ำทำให้ต้นทุนการใช้พลังงานสูงเป็นต้น

- การนำ NGV จากอ่าวไทยมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในภาคขนส่งโดยตรงโดยไม่ได้ผ่านการแยก
gas ประเภทต่างๆก่อน เป็นการใช้ที่ไม่คุ้มค่า  ทั้งๆที่รู้อยู่แล้วทำไมรัฐบาลจึงยังคงทำกันอยู่

- การใช้พลังงานหมุนเวียนขึ้นกับนโยบายการสนับสนุนจากภาครัฐบาลบวกกับเทคโนโลยีที่จะทำให้ราคาลดลงมา

  ดร.กอบศักดิ์   ภูตระกูล ...........มีเนื้อหาดังนี้

- อธิบายแนวโน้มเศรษฐกิจไทยมองไป 3 ปีข้างหน้า

- ความเสี่ยงระยะสั้นๆที่ต้องพิจารณาคือ
.....เมื่ออเมริกาดูดสภาพคล่องกลับคืน จะเกิดอะไรขึ้น? 
.....ยุโรปมีปัญหาที่ไวปรัส  ยังมีวิกฤตอยู่ ทำลายความเชื่อมั่น ต่อไปจะมีปัญหากับประเทศใดอีก?

  - ปัจจุบันAEC กำลังเข้ามาทำให้มีโอกาสทางธุรกิจมากขึ้นในหลายๆด้านเช่นขยายโอกาสลงทุนต่างประเทศ  การค้าชายแดน

ช่วงถาม-ตอบ

- อ.สมชายเสริมว่าปัญหาไซปรัส ดูเผินๆน่าจะมีผลกระทบไม่มาก
แต่จากการที่มีธนาคาร 2 แห่งที่ให้ให้ดอกเบี้ยดีประกอบกับการฟอกเงิน รับฝากเงินไว้ถึง 900%
GDP ทำให้มีผลกระทบมาก

- อ.มนูญ เสริมว่า

  ..........การใช้ไฟฟรี  โดยหลักการแล้วไม่ควรมี แต่หากมีบางกลุ่มที่เดือดร้อนจริงๆก็ควรให้สวัสดิการเฉพาะกลุ่มกันไปเลยจะดีกว่า
  ............น่าจะมีการส่งเสริม solar cell บนหลังคาอย่างจริงจังและรวดเร็วมากกว่านี้ทั้งของบ้านเรือนทั่วไป  คอนโดมิเนียม โรงงานต่างๆ เป็นต้น

- อ.กอบศักดิ์ เสริมว่า

  .......ตลาดหุ้นเมืองไทยน่าจะเจ๊งภายใน 10
ปีนี้ แต่ไม่รู้ว่าปีไหนแน่ๆ
ซึ่งตามปกติแล้วหุ้นจะตกก่อนประมาณ 1-2 ปี

  ......เมืองไทยมีปัญหาในการลงมือทำ(execuse) 
มีแต่แผนแต่ไม่ทำ

......ผู้ที่จะรวยหุ้นคือผู้ที่คิดได้ว่า พอแล้ว

...........................................................................................................................................................

หัวข้อ: TQM/SEPA : ความเป็นเลิศและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ กฟผ.

รวห.พิบูลย์  บัวแช่ม

อ.สัญญา เศรษฐพิทยากุล

อ.นริศ  ธรรมเกื้อกูล


รวห.พิบูลย์  บัวแช่ม.........มีเนื้อหาดังนี้


- รวห.ให้ข้อสังเกตว่า กฟผ.เก่งนั้น  เก่งอยู่ลำดับใด?

- คุณภาพที่ดีจะต้องสร้างความพึงพอใจด้วย

- กฟผ.ติดกับดักเรื่องเครื่องมือคุณภาพที่มีหลายตัวหรือไม่
- กฟผ.มี vision ให้เป็นองค์กรชั้นนำซึ่งประกอบด้วย

1.  มีธรรมาภิบาล(cooperate governance)

2.  เป็นองค์กรสมรรถนะสูง(HPO)

3.  มีการบริหารจัดการที่ยอดเยี่ยม(Operational Excllent)

4.  เป็นองค์กรที่ประเทศชาติภูมิใจ(National Pride)

5.  ความมั่นคงทางการเงิน(financial value)

  - คน กฟผ.มีอัตตาสูง มักอยู่ใน comfort zone ทำให้เป็นอุปสรรคในการทำ TQA

  - การสื่อสารภายใน กฟผ.ก็เป็นจุดอ่อนมาก

อ.นริศ  ธรรมเกื้อกูล..............มีเนื้อหาดังนี้

  -  การทำ TQA/SEPA เป็นเรื่องที่ดีจริง  แต่อย่าทำถ้า ผวก.หรือ รอง ผวก.ไม่เอาด้วย

- ทำ TQA เพื่ออะไร?.....ไม่ใช่เพื่อตัวเอง  แต่ให้ทำเพื่อสังคมเพื่อประเทศและเพื่อประชาชน

- การทำ TQA ก็เพื่อปิดgap ระหว่างสิ่งที่เราเป็นอยู่กับเป้าหมายที่เราต้องการ

- หมวด 0(ศูนย์)สำคัญมาก  เพราะหมวดอื่นๆต้องสอดคล้องกับหมวดนี้ที่บรรยายไว้ทั้งหมด

- สำหรับ กฟผ.ที่ได้เริ่มดำเนินการมาประมาณ 2 ปีแล้ว ......หากยังไม่ได้ TQA ไม่ใช่ถามว่าทำไม กฟผ.ถึงไม่ได้  แต่ต้องถามว่าทำไมถึงไม่เอามากกว่า

- การแยกกันเขียนแล้วนำมารวมกันภายหลัง = ไม่รู้เรื่อง..................ดังนั้นควรจะรวมกันเขียนโดยมีทีมเขียนโดยเฉพาะโดยนำผู้รู้แต่ละสาขามาให้ข้อมูล

อ.สัญญา   เศรษฐพิทยากุล.........มีเนื้อหาดังนี้

- แนวคิดพื้นฐานนั้นคือ  HPO = TQM เป็นหลักการบริหาร  และ TQA = SEPA เป็นเกณฑ์การวัด

- EGAT WAY เป็นการพัฒนา HPO/TQM ในรูปแบบของกฟผ.โดยนำหลายๆระบบคุณภาพมารวมเป็นหนึ่งเดียวโดยมี SEPA Score เป็นby-product

- EGAT WAY …..ดำเนินการโดยสร้างหลัก 9 ข้อ และสร้างคู่มือ 20 เล่ม




สรุปบทความจากหนังสือพิมพ์

Creating mutual opportunities

ประธานาธิบดีจีน Xi Jinping ได้เดินทางเยือนรัสเซียเมื่อวันที่ 23 มีนาคมเป็นการเดินทางออกนอกประเทศครั้งแรกหลังจากได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานาธิบดี ในงานฉลองการลงนามให้ความร่วมมือร่วมกันระหว่างจีนและรัสเซียในเรื่องพลังงานและข้อตกลงอื่นๆ Xi ได้กล่าวสุนทรพจน์ว่า

  “แนวโน้มของโลกในปัจจุบัน คือ การเพิ่มขึ้นของการพัฒนาและให้ความร่วมมือและผูกพันธ์กับชุมชนต่างๆในโลก การเผชิญหน้ากันจากสงครามเย็นได้หมดไปแล้ว ไม่มีประเทศใดจะไปครอบงำประเทศอื่น เราต้องเคารพการเลือกวิถีทางในการพัฒนาของประเทศอื่น เราขอคัดค้านการเข้าแทรกแทรงกิจการที่เป็นอำนาจอธิปไตยของประเทศนั้นๆ เรื่องภายในประเทศเป็นเรื่องที่ประชาชนและรัฐบาลภายในประเทศจะต้องตกลงกันเอง”

  Ji Zhiye, Vice-president ของ China Institutes of Contemporary ได้ให้ความเห็นว่า “Xi ได้เพียงกระชับสัมพันธ์ระหว่างเยาวชนทั้ง 2 ประเทศ โดยการพูดท่ามกลางนักศึกษารัสเซียที่ Moscow State Institute of International Relations

  Xi ยังถูกเชิญไปเยี่ยมสำนักงานใหญ่ของการป้องกันประเทศซึ่งเป็นผู้นำจีนคนแรกที่ได้รับเชิญ นั่นแสดงให้เห็นถึงความไว้วางใจในความร่วมมือทางทหาร อย่างลึกซึ้ง

  ที่ Moscow , Xi ยังได้พบและพูดคุยกับนายกรัฐมนตรี Dmitry Medvedw

หลังจากการเยี่ยมรัสเซีย Xi ได้บินไปเยี่ยม Tanzania แล้วเข้าร่วมประชุม BRICS ครั้งที่ 5 ที่ South Africa

Xi highlights bonds of ‘Shared destiny’

ประธานาธิบดีของจีน Xi Jinping ได้ไปเยือน Tanzania เพื่อร่วมพิธีส่งมอบ Julius Nye ere International Convention Center ในวันที่ 25 มีนาคม โดบจีนเป็นผู้ออกเงินสร้างให้ และท่าน Xi ได้กล่าวสุนทรพจน์ไว้ว่า นโยบายต่างประเทศของจีนคือความร่วมแรงร่วมใจกัน กับประเทศในแอฟริกา อย่างต่อเนื่องไม่เปลี่ยนแปลงแม้ว่าจีนจะเติบโตขึ้นอย่างแข็งแกร่งในระดับนานาชาติ ความช่วยเหลือกันและกัน แสดงให้เห็นถึงความเป็นพวกเดียวกันที่มีเป้าหมายร่วมกัน

เมื่อปีที่แล้วการค้าระหว่างจีนและแอฟริกามีมูลค่าถึง $200 billion  และยังได้ให้เงินช่วยเหลืออีก $20 billion และช่วยฝึกอาชีพให้คนแอฟริกา 30,000 คนให้ทุนนักเรียน 18,000 คนในระหว่างปี 2013-2015

Xi ยืนยันในความเท่าเทียมกันแม้ว่าประเทศต่างๆจะมีขนาด, กำลัง และความร่ำรวยไม่เท่ากัน ในการพัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศในแอฟริกาทุกประเทศควรเคารพในเกียรติและความเป็นอธิปไตย

นั้นเป็นสุนทรพจน์ของประธานาธิบดีจีนที่แสดงให้เห็นความเอาจริงในความพยายามเพิ่มความสัมพันธ์กับประเทศในแอฟริกา 

Grouping on Track to be ‘global force’

การประชุมครั้งที่ 5 ของ BRICS (หมายถึง 5 ประเทศ คือ บลาซิล, รัสเซีย, อินเดีย, จีน และ เซาท์แอฟริกา) เมื่อวันที่ 27 มีนาคม นี้ที่เมือง Durban, South Africa เป็นการประชุมเพื่อความร่วมมือกันในเรื่องเศรษฐกิจและการเมือง

Xi Jinping ได้แสดงความเชื่อมั่นแม้ว่าเศรษฐกิจโลกจะเติบโตช้าลง แต่จะไม่กระทบกับเศรษฐกิจของ BRICS เนื่องจากศักยภาพที่มีอยู่ของ BRICS การปรับปรุงมาตรฐานความเป็นอยู่ของคน 3 billion คน จะทำให้สร้างโอกาสในการเกิดโครงการหลักๆขึ้น

Xi ได้กระตุ้นผู้บริหารธุรกิจของจีนเข้าไปลงทุนในประเทศทั้ง 5 (BRICS) ในการประชุมครั้งนี้ได้มีการจัดตั้ง BRICS Business Council บริหารงานโดยตัวแทนจาก 5 ประเทศ มีหน้าที่คล้ายกับ World Trade Organization แต่ขนาดเล็กกว่ามีจุดประสงค์แก้ปัญหาทางการค้า รวมถึงการโต้แย้งเรื่องธุรกิจระหว่าง 5 ประเทศ

ยิ่งไปกว่านั้นยังร่วมกันจัดตั้ง ธนาคารเพื่อการพัฒนา เพื่อเป็นเงินลงทุนสนับสนุนโครงการต่างๆในการสร้างระบบสาธารณูปโภค


นายภัทรกฤช เตชะศิกานต์

การอบรม วันที่ 28 มีนาคม 2556

ผวก. สุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์

 การปรับเปลี่ยนเตรียมความพร้อมเป็นผู้บริหารระดับสูงโดยท่านได้ให้แนวการสร้างผู้นำรุ่นใหม่ กฟผ. ต้องสนับสนุนในด้านต่าง ๆเพื่อให้องค์กร มีผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ ความรู้หลากหลาย ปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับStakeholder สร้างนวัตกรรมและให้กฟผ.เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้

ร.ศ. ดร. สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

  เศรษฐกิจโลกและของไทยในปี2015 ที่ไทยจะต้องเข้าสู่ AEC ทุกๆ อย่างจะเปลี่ยนแปลง
ระยะสั้น ระยะยาว กฟผ. ต้องปรับไม่อย่างนั้นจะลำบากต้องค้นหาความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับการดำเนินการและปิดความเสี่ยงนั้น

อ. มนูญ ศิริรววณ

  ท่านได้ให้ความรู้เกี่ยวกับพลังงานของประเทศและให้ กฟผ. รณรงค์ การใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ

อ. กอบศักดิ์ ภูตระกูล

 มองภาพเศรษฐกิจโลก 3 ปีข้างหน้า เศรษฐกิจในของไทยจะเติบโต พลังงานก็โตด้วย
ตามตะเข็บชายแดนที่ดินราคาสูงขึ้น โอกาสของไทยกำลังเกิดขึ้นเป็นโอกาสแก้ตัวหลังจากพังมา 15 ปี

TQM/SEPA ความเป็นเลิศและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ กฟผ.

รวห. คุณพิบูลย์  บัวแช่ม

อ. สัญญา เศรฐพิทยกุล

อ. นริศ ธรรมเกื้อกูล

  การพัฒนาองค์กรแบบองค์รวมเพื่อนำสู่องค์กรชั้นเลิศ/องค์กรสมรรถนะสูง โดยนำ TQM/SEPA มาใช้เป็นเครื่องมือพัฒนาการทำงานแต่ต้องให้ผู้ปฏิบัติงานทุกระดับ รับรู้เข้าใจ เข้าถึง เพื่อให้เขาเหล่านั้น เต็มใจในการดำเนินการ




นายภัทรกฤช เตชะศิกานต์

วันที่ 29 มีนาคม 2556

แนวคิด Blue Oceanกับการทำงานของ กฟผ. และการปรับใช้เพื่อสร้างโครงสร้างแบบนวัตกรรม ของ กฟผ.

โดย ร.ศ. ดร.  สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

  อาจารย์สอนให้พวกเราได้คิดถึงนวัตกรรมโดยมองศักยภาพของตัวเอง และสร้างของใหม่ๆ ที่ไม่ได้ลอกเลียนแบบ ซึ่งในปี 2015 ประเทศไทยเข้าสู่ AEC องค์กรจะได้รับผลกระทบทั้งบวกและลบ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

HPO โดย ดร.สมโภชน์ นพคุณ

         อ. สมชาย ไตรรัตน์ภิรมย์

  ผู้นำต้องให้ความสำคัญกับลูกน้องและการทำงานเป็นทีมเพื่อนำไปสู่การเป็น HPO ภาพรวมของ กฟผ.
ถูกประเมินในระบบ SEPA มีเกณฑ์ต่ำในเรื่อง HR ดังนั้น กฟผ. ต้องปรับปรุง อะไรเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุด HPO เช่น คนเก่ง คนดี Networking เป็นต้น




สรุป วันที่  26  มีนาคม  2556

โดย ศิริภา  ชูจันทร์

1.  สรุป หัวข้อ “นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน (Social Innovation) กับการทำงานของ กฟผ.”

  - Social Innovation มี  3 Process คือ

  1.  ต้องทำอะไรใหม่ๆ (New)

  2.  ต้องมีความคิดสร้างสรร (Creative)

  3.  ต้องมีการเรียนรู้ (Knowledge)

  -  กฟผ. ต้องมีบทบาท ทำหน้าที่ตามภาระกิจของ กฟผ. และต้องทำหน้าที่ช่วยดูแลสังคมอย่างจริงใจ

  -  กฟผ. ต้องเข้าไปในชุมชนแต่เนิ่นเนิ่นคลุกคลีกับชุมชน ทั้งในรูปแบบของโครงการ และฐานะส่วนตัว ใช้ความคุ้นเคยเข้าไปหาชาวบ้าน

  -  กฟผ. ต้องสามารถเอาชาวบ้านเป็นเพื่อนได้แล้ว กฟผ. จะคุยกับชาวบ้านได้ง่าย กฟผ. ต้องสร้างความรู้สึกที่ดีให้เกิดกับชาวบ้านให้ได้
  - ปัจจุบันปัญหาของ กฟผ. คือการยึดติดอยู่วัฒนธรรมขององค์กรที่ยังไม่สอดคล้องกับการเข้าหาชุมชน

  - กฟผ. ต้องทำงานร่วมกันกับชาวบ้านแบบภาคี โดยใช้ทุนทางปัญญา ทุนทางสังคม

  -  กฟผ. ต้องเสริมสร้างความตั้งใจจริงให้สังคม ถ้า กฟผ. ทิ้งสังคม สังคมก็จะทิ้ง กฟผ.

  -  กฟผ. ต้องทำงานเชิงรุก สร้างสังคมแห่งการยั่งยืน และต้องประเมินการทำโครงการ CSR ที่ผ่านมา

  -  กฟผ. ต้องจัดทำแผนยุทธศาสตร์และ Action Plan ที่จะให้หน่วยงานต่างๆ จากทุกสายงานมีส่วนร่วมใน   
การจัดทำกิจกรรม CSR อย่างจริงจังและต่อเนื่อง

  -  กฟผ. ควรให้กระทรวงพลังงานเป็นผู้พบชาวบ้าน
และชี้แจงเรื่องการเวนคืนที่ดิน การสร้างโรงไฟฟ้าใหม่
  - ควรมีการทำแผนยุทธศาสตร์ Social Innovation ร่วมกันระหว่าง 3 การไฟฟ้า

2.  สรุปหัวข้อเทคนิคการสื่อสารกับสื่อสารมวลชน

  - ต้องรู้จักวิเคราะห์สื่อแต่ละสื่อว่ามีมุมมองกับเราอย่างไร?

  - Brand Image ต้องสอดคล้องกับภารกิจของ กฟผ.

  - กฟผ. ต้องสื่อสารสิ่งที่ Stakeholder อยากฟัง ไม่ใช่แค่สิ่งที่ กฟผ. อยากพูดเท่านั้น

  - ต้องมีการเตรียมข้อมูลที่ถูกต้องให้เพียงพอ และตอบคำถามให้ตรงประเด็นในการให้ข้อมูลสื่อ

  - ทุกครั้งหลังจากจบการให้ข่าว กฟผ. ต้องมีการสอบทานและตรวจสอบทุกประเด็นของคำถามว่าสื่อมีความเข้าใจข้อมูลตรงกันและถูกต้อง (Double Cheek) เพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนรับข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง

  - ต้องใช้หลักการ 10 win-win Codes with Media

3.  สรุปหัวข้อ Managing Self Performance

  -  ต้องมีการปรับความคิดและพฤติกรรมของตนเอง เพื่อให้เราสามารถมี Competency ที่สูงขึ้นอย่างมีความสุข

  - ใช้กฎแห่ง “การเข้าใจให้ชัดเจนว่าทำไมเราถึงอยู่ตรงนี้คือ   1. เข้าใจตัวตนว่าเป็นคนเช่นไร

  2.อะไรคือเหตุผลเบื้องหลังสิ่งที่เราทำ

  3.เราเห็นภาพการแสดงออกของผู้คนรอบ        ตัวอย่างไร? ในโลกอันสมบูรณ์แบบต่อการใช้ชีวิต




สรุปความรู้ที่ได้จากการเรียนในวันที่ 26 มี.ค. 56

นวัตกรรมทางสังคม (Social Innovation) เพื่อชุมชน กับการทำงานของ กฟผ.

การทำงานของ กฟผ. กับชุมชน

- ต้องมีการประชาสัมพันธ์ล่วงหน้า และเข้าถึงชุมชนด้วยคามจริงใจ

- ต้องเรียนรู้ร่วมกันกับชุมชน ให้ชุมชนบอกเราว่ามีปัญหาอะไร มีข้อเสนอแนะอะไร เพื่อจะพัฒนาชุมชนได้อย่างยั่งยืน

- ต้องให้ชุมชนพึ่งพาตนเองได้ ไม่ใช่หวังพึ่งแต่การให้

- ต้องสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ และยั่งยืน

เทคนิคการสื่อสารกับสื่อมวลชน

เทคนิคการสื่อสารกับสื่อมวลชน มีกฎ 10 ข้อ

- Update List มีข้อมูลของสื่อแต่ละสื่อ และหมั่น Update

- Media Mapping ศึกษาและวิเคราะห์การทำงานของสื่อแต่ละสื่อ รู้จักใครต้องรู้จักให้จริง

- One Message Key Message มีหัวข้อหลักที่ให้สัมภาษณ์เพียง 1 หัวข้อ

- Double Check มีการสรุปบทสัมภาษณ์อีกครั้ง

- Participation and Convenience มีกิจกรรมร่วมกับสื่อ เพื่อสร้างความใกล้ชิดและคุ้นเคย

- Media Network ทราบเครือข่ายของแต่ละสื่อ

- Value Relationship รักษาสัมพันธภาพ คบสื่อแบบเพื่อน

- Truth / Trust มีความน่าเชื่อถือ อย่าให้ข้อมูลเท็จ

- Consistency มีความสม่ำเสมอ

- Sincerity มีความจริงใจ

วิธีการดูแลสื่อ

- Press Brief เชิญมาคุย

- Conference แถลงข่าว

- Interview ให้สัมภาษณ์

- Program กำหนดช่วงเวลาให้ข่าว

- Meet the Press พบปะบ้างเป็นครั้งคราว

Managing Self Performance

การพัฒนาตนเอง ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อให้บรรลุสำเร็จตรงตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร ต้องพัฒนาทักษะ ความรู้ ทัศนคติ และแรงบันดาลใจ ด้วยการมุ่งมั่นทำงานให้สำเร็จอย่างมีเป้าหมาย


สรุปความรู้ที่ได้จากการเรียนในวันที่ 27 มี.ค. 56

ธรรมาภิบาลของ กฟผ.

กฟผ. เป็นหน่วยงานที่มีธรรมาภิบาล แต่ขาดการยอมรับจากสังคม ต้องเร่งส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยการให้ข้อมูลข่าวสาร เปิดรับฟังความคิดเห็น และสร้างสมดุลในการทำงาน ที่คำนึงถึงสังคม สิ่งแวดล้อม ความเป็นอยู่ และความปลอดภัยของประชาชน

เศรษฐศาสตร์พลังงาน

ได้รับความรู้เรื่องแนวโน้มเศรษฐกิจโลก การใช้เชื้อเพลิงต่างๆในอนาคต  และการทำงานของกฟผ. ที่จะต้องปรับตัวในการใช้เชื้อเพลิงให้เหมาะสม  บริหารจัดการองค์กรให้เป็นที่ไว้วางใจของประชาชน

ผู้นำกับการสร้างทุนทางจริยธรรมในองค์กร

องค์กรที่มีจริยธรรมสูง จะส่งผลให้มีกำไรและผลประกอบการดี มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าองค์กรอื่น เป็นองค์กรที่มีความสุข มีความคิดสร้างสรรค์ และมีความยั่งยืน หากนำหลักการ White Ocean มาใช้ จะช่วยให้องค์กรมีจริยธรรมสูง


นายนพดล มั่งพร้อม

29 มีนาคม 2556

หัวข้อแนวคิด Blue Ocean กับการทำงานของกฟผ.และการปรับใช้เพื่อสร้างโครงการแบบนวัตกรรมของ
กฟผ.

โดยรศ.ดร.สมชาย  ภคภาสน์วิวัฒน์

- เป้าหมายองค์กรที่ไม่ตรงกับเป้าหมายลูกค้า = องค์กรเจ๊ง 

- ต้องปรับ mindset จึงจะเป็น blue ocean ได้

- ข้อมูลมีมากมาย ที่สำคัญคือเราต้องกรองหาข้อมูลเชิงกลยุทธ์ให้ได้ 

- ข้อมูลเชิงกลยุทธ์คือข้อมูลที่เกี่ยวข้อง  สำคัญและนำไปใช้ประโยชน์ได้

- รู้จริงคือรู้คำตอบ  แต่ผู้ที่เก่งคือผู้ที่รู้วิธีที่จะรู้คำตอบ

- ต้องตั้งคำถามว่าทำไม  ไม่ใช่ตั้งคำถามอะไร?

- ความสำเร็จขององค์กรอยู่ที่ passion

- ราคาต้องสมดุลกับคุณค่าที่ลูกค้าต้องการ

- อย่ามองจากมุมตัวเองแต่ให้มองจากมุมภายนอกมองเข้าไป

- ต้องมีศักยภาพในการสร้างความแตกต่าง

การเปรียบเทียบระหว่าง Red ocean และ Blue ocean

 



 
 


 
 


 
 


 
 


 
 


 

Red Ocean


 

 

Blue Ocean


 

 

สู้ในตลาดที่มีสินค้าและบริการตัวเก่า


 

 

สร้างสินค้าและบริการตัวใหม่(Innovation)


 

 

เอาชนะคู่แข่งโดยใช้กลยุทธ์ด้านราคา


 

 

สร้างอุปสงค์(ความต้องการของคน)ใหม่ขึ้นมา
  (New Demand) ทำให้มีโอกาสเติบโต และมีสัดส่วนกำไรที่มากขึ้น


 

 

พยายามเอาลูกค้ามาเป็นของเราหมด


 

 

ไม่มุ่งเน้นแข่งขันกับคู่แข่ง
  ไม่เปรียบเทียบกันและสร้างลูกค้าใหม่


 

 

กลยุทธ์สร้างความแตกต่างเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง


 

 

ใช้ได้ทั้งกลยุทธ์ด้านราคาและสร้างความแตกต่างไปพร้อมกันซึ่งจะทำให้เกิดนวัตกรรมที่มีคุณค่า (Value Innovation)


 



Innovation มีหลายแบบ แต่สิ่งที่เป็น Blue ocean คือ product และ service

- สรุป Red Ocean กรอบเก่า ลูกค้าเก่า Segment เก่า กลยุทธ์แย่งส่วนแบ่งทางการตลาด

- สรุป Blue Ocean ยังไม่เคยเป็นลูกค้า Non consumer สร้างนวัตกรรมสินค้าและบริการ


.................................................................................................................................................................................

หัวข้อ High Performance Organization ที่ กฟผ.

โดยดร.สมโภชน์  นพคุณ

คุณสมชาย ไตรรัตนภิรมย์

รองกรรมการผู้จัดการบริษัททริส คอร์ปอเรชั่น จำกัด

ดำเนินรายการโดยศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

- หลังวิกฤตต้มยำกุ้ง กฟผ.ก็ได้เริ่มเข้าสู่ระบบการประเมินของกระทรวงการคลัง

- หัวใจของความสำเร็จขึ้นกับความเป็นทีมไม่ใช่เฉพาะพนักงานเท่านั้น

- องค์ประกอบของ HPO อยู่ในกรอบการให้รางวัลของ SEPA นั่นเอง

- สิ่งที่เป็นอุปสรรคในการเป็น HPO คือ..

  1.ทิศทาง/นโยบายไม่ชัดเจน เปลี่ยนแปลงบ่อย

  2. ขาดการ learning

  3.ปล่อยให้คนคิดไม่เป็นแต่บังคับให้ทำงาน

- ผู้ที่จะบอกว่าเป็น HPO หรือไม่?คือ stakeholder

- องค์ประกอบของ HPO

  .....โครงสร้าง

......กระบวนการทำงาน

  ......กฎระเบียบ  ต้อง dynamic

  .....คนทั้ง  individual และ group

....เทคโนโลยี/องค์ความรู้

  ....สถานที่ทำงาน / facility ต่างๆ

เกรียงไกร ไชยช่วย

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันที่ 26 มีนาคม 2556

  -รู้จักทำเรื่องง่ายๆให้เป็นเรื่องพิเศษ เห็นคุณค่าของสิ่งที่มีอยู่ในชุมชน ที่คนทั่วไปนึกไม่ถึง มาดัดแปลง

    แก้ไข เพิ่มเติม เพื่อให้เกิดคุณค่าและเป็นประโยชน์ต่อชุมชน

  -รู้จักวิธีการสื่อสารกับคนหมู่มาก  ทั้งท่าทีและลีลาต้องเนียน และทันกับเหตุการณ์  ต้องรู้ความสำคัญ

    one message , key message

  -ศักยภาพของตัวเรามีมากกว่าที่เราคิด ต้องรู้จักตั้งเป้าหมาย รู้จักสำรวจตนเอง และรู้จักตั้งสมมติฐาน    ที่เชื่อแล้วจะช่วยให้ตัวเองทำงานอย่างมีความสุข  เช่น “การทำงาน คือการประพฤติธรรม”

  สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันที่ 27 มีนาคม 2556

  -องค์กร จะยั่งยืนได้ต้องมีธรรมาภิบาลที่ดี

  -ระบบที่ดี คือ ระบบที่เอื้อให้คนทำถูกได้มาก  ทำห่วยได้น้อย

  -ต้องหาคำตอบให้ได้ว่า อะไรคือ Corporate image,Bussiness image,และ Brand image ของ

    กฟผ.

  -กฟผ.ต้องให้ความสำคัญในเรื่องแผนการอนุรักษ์พลังงานอย่างจริงจัง  ทั้งในระยะสั้น และ ระยะยาว 

    ต้องประชาสัมพันธ์ให้สาธารณชนภายนอกได้รับรู้ และสามารถติดตามการดำเนินงานได้

  -องค์กรที่มีผู้นำเป็นคนดี มีคุณธรรมและจริยธรรม เป็นที่ยอมรับในสังคมทั่วไป จะมีผลประกอบการที่ดี

    กว่าองค์กรทั่วๆไป

  สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันที่ 28 มีนาคม 2556

  -กฟผ.ต้องปรับตัว หากต้องการความอยู่รอด อันเนื่องจากผลกระทบของเศรษฐกิจในภูมิภาคต่างๆของ

    โลก

  -โลกกำลังเผชิญกับวิกฤติการณ์ต่างๆ  ผู้นำต้องติดตามอย่างใกล้ชิด และต้องรู้ว่ามันจะมีผลกระทบ    กับองค์กรของเราอย่างไร

  -ต้องเข้าใจให้ลึกซึ้งถึงคำกล่าว “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว”  หรือ  “ปรากฎการณ์ผีเสื้อกระพือ    ปีก The butterfly effects”

  -รวห.ให้ความมั่นใจถึงความมุ่งมั่นของผู้บริหารที่ต้องการใช้เครื่องมือ TQM/SEPA เป็นเครื่องมือหนึ่ง

    ในการพัฒนาองค์กร กฟผ.ให้ยั่งยืน

  -ระบบดี คนต้องมีความสุข และมีความคาดหวัง

  -ความคาดหวังเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ  อะไรที่ได้อยู่เสมอ จะกลายเป็นความต้องการ

  -จุดอ่อนของคน กฟผ.ที่เป็นปัญหาต่อการทำ TQM

  -อัตตา(Attitutde)ภายในสูง

  -อยู่ในSafety zone มากเกินไป จนกลายเป็นความเคยชิน

  -การสื่อสารต่อstakeholderไม่เป็น (พูดจาภาษาชาวบ้านไม่ค่อยรู้เรื่อง)

  -พื้นฐานไม่ใช่นักยุทธศาสตร์ 

  สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันที่ 29 มีนาคม 2556

  -Blue Ocean เกี่ยวข้องกับวิธิคิดสร้างนวัตกรรมใหม่  เพื่อการเป็นคนแรกในตลาด ทำให้ไม่มีคู่แข่งขัน

  -Value Innovation  ผมอดนึกถึงรถทัวร์ไม่ได้ครับ  สองสามทุ่มยังไม่ดึกผมนอนไม่ค่อยหลับ คุณก็    ปิดทีวีให้ผมนอน  กว่าจะหลับก็เกือบเที่ยงคืน  อ้าว ดันปลุกให้กินข้าว  ขนาดบางทีไม่มีแรงลุกยัง    หวังดีมาเขย่าให้ตื่น บอกไม่กินข้าว เอาหางตั๋วไปแลกเครื่องดื่มก็ได้พี่  นี่ถ้ามีบริษัททัวร์บริษัทไหน     ประกาศนโบายไม่ปลุกผู้โดยสารกินข้าวตอนเที่ยงคืน  ผมจะจองทั้งปีเลย(ผมกลับบ้าน กรุงเทพฯ-    ลำปาง  เดือนละ 2 ครั้ง โดยเฉลี่ย)  และผมก็เชื่อว่าผู้โดยสารที่คิดแบบเดียวกับผมนี่เยอะพอสมควร

  -วิสัยทัศน์, พันธกิจ  ต้องมาทีหลังการวิเคราะห์ SWOT ขององค์กร  คำถามคือบริษัทส่วนใหญ่ได้    ตระหนักและปฎิบัติตามนี้หรือไม่ 

  -ต้องรู้จักการบริหารข้อมูล  โดยการคิดให้เป็นระบบ เพื่อให้มองเห็นความแตกต่างภายใต้ความเหมือน

  -กลยุทธ์  สำคัญกว่า KPI

  -จะเป็น HPO ได้ ต้องมองที่การพัฒนาคน เพราะคน มิใช่สิ่งของ  มีชีวิตจิตใจ มีอารมณ์ เรียนรู้ และ    มีกระบวนการตัดสินใจ  สามารถปรับตัวเองได้


นายภูวดา ตฤษณานนท์

วันที่ 28  มีนาคม  2556 ( 08.00 – 08.30 .)

หัวข้อวิชา       :         ประสบการณ์การเรียนรู้ในรุ่น 2 ของข้าพเจ้ากับการปรับใช้เพื่อการ

บริหารกฟผ.ในยุคที่โลกเปลี่ยน

โดย               :         คุณสุทัศน์                 ปัทมสิริวัฒน์   

ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย  

ในปัจจุบันโลกเปลี่ยนแปลงไปรวดเร็วมาก องค์กรต้องพร้อมรับกับการเปลายนแปลงตามกระแสโลกาภิวัฒน์ของโลก กฟผ.เน้นพัฒนาบุคลกรให้เป็นองค์กร HPO ได้รับการยอมรับ เชื่อถือ ทำให้บุคลากรภายนอกมองกฟผ.อย่างภาคภูมิใจว่ากฟผ.เป็นองค์กรมืออาชีพแบะมีธรรมาภิบาล โดยเน้นสร้างผู้บริหารรุ่นใหม่ให้

1.      ต้องมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

2.      การแสวงหาโอกาศในการพัฒนาธุรกิจ

3.      ปรับปรุงพัฒนาในการเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรในกระบวนการต่างๆ

4.      การสร้างทีมงาน

5.      การส้รางวัฒนธรรมที่ดีขององค์กร

ถ้าชาวกฟผ.ทุกๆคนช่วยกันสร้างวัฒนธรมมที่ดีขององค์กร องค์กรก็จะอยู่อย่างสง่างามและยั่งยืนในอนาคต

 

 

 

 

 

 

 

วันที่ 28  มีนาคม  2556 ( 09.00 – 12.20 .)

หัวข้อวิชา       :         เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย ผลกระทบและการปรับตัวของกฟผ.

โดย               :         รศ.ดร.สมชาย           ภคภาสน์วิวัฒน์

                             ดร.กอบศักดิ์              ภูตระกูล

                             อาจารย์มนูญ            ศิริวรรณ

ดำเนินรายการ :         อภิปรายโดยศ.ดร.วีระ หงส์ลดารมภ์

          โดยภาพรวมการอภิปรายของวิทยากรทั้งสามท่านแล้วมีทิศทางเดียวกันว่า ในอนาคตประเทศไทยต้องมีโอกาศอย่างสูงมากๆในการเจริญเติบโตทางธุรกิจและประเทศไทยมีความพร้อมมากที่สุดในการลงทุนของนานาประเทศ ทำให้การใช้พลังงานมีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว กฟผ.จะต้องพบกับการหาพลังงานไฟฟ้าให้พอเพียงต่อการขยายตัวทางธุรกิจอย่างก้าวกระโดดและอีกมิคิหนึ่งกฟผ.ก็มีอุปกรณ์ในการสร้างโรงไฟฟ้าจึงทำให้กฟผ.ต้องเร่งพัฒนาบุคลากรและทำความเข้าใจกับสังคมโดยด่วน

·       กฟผ.ต้องพัฒนาคนเพื่อรองรับการแข่งขันในโลกธุรกิจ

·       กฟผ.ต้องเป็นผู้นำทางด้าน Green Energy

·       กฟผ.ต้องแสวงหาโอกาศในการร่วมลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน

·       กฟผ.ต้องปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อรองรับการเป็นศูนย์กลางโครงข่ายด้านพลังงานแห่งภูมิภาคให้ได้ในโอกาศนี้

 

 

 

 

 

 

วันที่ 28  มีนาคม  2556 ( 13.00 – 16.30 .)

หัวข้อวิชา       :         การพัฒนาอย่างยั่งยืนของกฟผ.

โดย               :         คุณพิบูลย์                 บัวชุ่ม

                             อาจารย์สัญญา          เศรษฐพิทยากุล

                             คุณนริศ                   ธรรมเกื้อกูล

ดำเนินรายการ :         ดำเนินการอภิปรายโดย อาจารย์ทำนอง         ดาศรี

          ในองค์กรใหญ่ๆอย่างกฟผ. คน(People) ระบบงาน(System) เป็นเรื่องสำคัญที่สุดต้องสอดประสานจะทำให้เป็นองค์กรสู่ความเป็นเลิศ โดยกฟผ.ต้องพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง การแข่งขันอันเข้มข้น กฟผ.จะต้องพัฒนาคน+ระบบงานให้เท่ากับสากลและปรับปรุงอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา

กฟผ.ต้องสร้างความเชื่อมั่น มอบคุณค่าให้ลูกค้า สังคม ประเทศ ปลูกฝังค่านิยมที่ดีให้แก่ผู้ปฏิบัติงานทุกคน

People+System      =        Excellence

 

 

 

นายภูวดา   ตฤษณานนท์   

นายภูวดา ตฤษณานนท์

วันที่ 29  มีนาคม  2556

หัวข้อวิชา       :         แนวคิด Blue Oceanกับการทำงานของกฟผ.และปรับใช้เพื่อสร้างโครงการแบบนวัตกรรมของกฟผ.

โดย               :         รศ.ดร.สมชาย           ภคภาสน์วิวัฒน์         

Blue Ocean คืออะไร

-          ต้องเริ่มต้นรู้จริง และตระหนักถึง เห็นอะไรก็ใช้ได้ทุกเรื่อง

-          ต้องถามว่า ทำไมและทำอย่างไร จนถึงทำแล้วเห็นความแตกต่าง

-          ต้องบริหารข้อมูลซึ่งมีมากมายจนรับไม่ไหว

-          สามารถมองนอกกรอบเพื่อสร้างลูกค้ากลุ่มใหม่ให้เกิดความพึงพอใจ

Real Ocean                                              Blue Ocean

สู้ในตลาดที่มสินค้าและบริการตัวเก่า                 สร้างสินค้าและนวัตกรรมตัวใหม่

โดยสรุป Blue Ocean คิอยังไม่เคยเป็นลูกค้า(Non Consumer สร้างนวัตกรรมสินค้าและการบริการขึ้นมาใหม่โดยไม่เคยเกิดที่ไหนมาก่อน

หัวข้อวิชา       :         High Performance Organization ที่กฟผ.

โดย               :         ดร.สมโภชน์              นพคุน

                             คุณสมชาย               ไตรรัตนภิรมย์

          องค์กรที่จะเป็น HPO ได้นั้น จะต้องคำนึงถึงหลักการสำคัญ ดังนี้

          Employee     -         ต้องมีความคิดริเริ่ม

-         รู้จักเข้าใจ เข้าถึงลูกค้า+ชุมชน

-         ปรับปรุงตนเองและทีมงานเพื่อเติบโต

-         สร้างมิตรเพิ่มขึ้นตลอดเวลา

-         เข้าใจภารกิจ

-         ต้องสื่อสารให้สังคมเข้าใจกฟผ.อย่างแท้จริง

-         ต้องมีธรรมาภิบาลในทุกคนขององค์กร

          Leadership   -         ต้องมีวินัย

                             -         มีความคิดริเริ่ม

                             -         คิดบวกเสมอ

                             -         ใช้ปัญญา อดทน

                             -         สร้างความเชื่อมั่น เชื่อถือกับสังคม

                             -         สร้างทีมงานตลอดเวลา

 

 

 

นายภูวดา   ตฤษณานนท์   

สรุปบทความ

Creating mutual opportunities

ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน เยือนรัสเซีย ซึ่งถือเป็นภารกิจแรกในการเดินทางสู่ต่างประเทศ หลังจากที่เขาได้ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้นำจีนอย่างเป็นทางการ โดยในวันที่ 23 มีนาคม 2556 ประธานาธิบดีสี ได้ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ต่อหน้านักศึกษาชาวรัสเซียในกรุงมอสโก ซึ่งมีใจความสำคัญว่า ความสัมพันธ์ที่มั่นคงและเข้มแข็งระหว่างจีนและรัสเซีย จะเป็นสิ่งที่ช่วยให้นานาประเทศเกิดความสมดุล และมีแต่ความสงบสุข นอกจากนี้ยังนำพาให้จีนและรัสเซียมีอำนาจในการต่อรองในด้านการค้ากับประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้ดีขึ้นอีกด้วย

ทั้งนี้จีนและรัสเซียเคยขัดแย้งกันในยุคสมัยของสงครามเย็น แต่ก็สามารถคลี่คลายความขัดแย้งลง และพัฒนากลายเป็นความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งได้เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ ซึ่งก็ช่วยให้จีนและรัสเซียสามารถคานอำนาจของสหรัฐได้เป็นอย่างดี

Xi highlights bonds of ‘shared destiny’

นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีนกล่าวคำปราศรัยในหัวข้อ "ความเป็นเพื่อนแท้ที่สนับสนุนกันตลอดไป" ที่ศูนย์การประชุมระหว่างประเทศแทนซาเนีย โดยนายสี จิ้นผิง ได้สรุปประสบการณ์การพัฒนามิตรภาพระหว่างจีนกับแอฟริกา และเน้นว่า สองฝ่ายต่างเผชิญความยากลำบากเช่นกันในประวัติศาสตร์ มีภาระหน้าที่ด้านการพัฒนาเช่นกัน มีผลประโยชน์เชิงยุทธศาสตร์เช่นกัน และมีโชคชะตาร่วมกัน ภายใต้สถานการณ์ใหม่ จีนจะส่งเสริมความสัมพันธ์กับแอฟริกาต่อไป

การพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างสองฝ่ายมาจากการร่วมทุกข์สุขกันมาโดยตลอดของสองฝ่าย ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับแอฟริกามีลักษณะ "จริงใจ ฉันมิตร เคารพกัน เที่ยงธรรม เอื้อประโยชน์แก่กัน และพัฒนาด้วยกัน"

Grouping on track to be ‘global force’

บรรดาผู้นำของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเฟื่องฟูใหม่รายใหญ่ที่สุดของโลก หรือ “BRICS” ซึ่งประกอบด้วยบราซิล รัสเซีย อินเดีย สาธารณรัฐประชาชนจีน และแอฟริกาใต้ มีกำหนดเดินทางเข้าร่วมการประชุมสุดยอดที่นครเดอร์บัน ทางตะวันออกของแอฟริกาใต้ในวันอังคาร (26) โดยหนึ่งในหัวข้อสำคัญของการหารือที่ถูกจับตาจากทั่วโลกมากที่สุด คือ แผนจัดตั้งสถาบันการเงินระหว่างประเทศแห่งใหม่ ซึ่งถูกมองเป็นการ “ท้าทายอำนาจ” ของธนาคารโลก และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ)

สมคิด พงษ์ชวนะกุล

วันที่ 29 มีนาคม 2556

หัวข้อ : แนวคิด Blue Ocean กับการทำงานของ กฟผ.

และการปรับใช้เพื่อสร้างโครงการแบบนวัตกรรมของ กฟผ.

สิ่งที่ได้เรียนรู้ : ได้รู้เรื่อง Blue Ocean ซึ่งในเมืองไทยมีน้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นการนำสิ่งที่มีการดำเนินการในต่างประเทศแล้วมาใช้ แต่ก็พอจะถือได้ว่าเป็น Blue Ocean โดยอนุโลม เนื่องจากการเป็น Blue Ocean ต้องประกอบด้วย

  1. ต้องเป็นนวัตกรรม คือเป็นสินค้าหรือบริการใหม่

  2. ต้องทำให้การแข่งขันไม่เกี่ยว (ไม่มีการแข่งขัน) เพราะเป็นเจ้าแรก

  3. สร้างลูกค้าใหม่ ลูกค้าที่ต้องการบริโภคแต่ยังไม่มีโอกาส

การจะเป็น Blue Ocean

  • ให้คิดแปลก ๆ อย่ามองแต่มุมของตัวเอง

  • เอาสิ่งที่คิดแปลก ๆ มาวิเคราะห์ว่าทำได้ไหม

  • ทำแล้วขายได้ไหม

กฟผ. ต้องทบทวนศักยภาพของตัวเอง อะไรคือ Core Competency คิดหาทางทำทรัพย์สินที่มีอยู่

ให้เกิดประโยชน์


หัวข้อ:High Performance Organization ที่ กฟผ.

สิ่งที่ได้เรียนรู้ : เหตุที่คนเก่งมารวมกันแต่ไม่เกิด High Performance

  • นโยบายและทิศทางไม่ชัดเจน ในขณะที่ระดับล่างต้องให้เป็นรูปแบบเดียวกัน ไม่หลากหลาย

  • ไม่ชอบกระบวนการเรียนรู้ มุ่งไปที่ผล

  • มุ่งเน้นการควบคุม


สมคิด พงษ์ชวนะกุล

สรุปบทความ

Creating mutual opportunities

 China Daily Asia Weekly ฉบับประจำวันที่ 28 มีนาคม – 4 เมษายน 2556 ได้รายงานการเดินทางเยือนรัสเซียของประธานาธิบดี Xi Jinping (สี จิ้นผิง) ของจีน นับเป็นการเดินทางออกนอกประเทศครั้งแรกหลังจากรับตำแหน่ง เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2556 หลังได้พบกันประธานาธิบดี Vladimir Putin ประธานาธิบดี Xi Jinping ได้กล่าวสุนทรพจน์เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศ และความสัมพันธ์กับรัสเซียที่กรุงมอสโค โดยกล่าวว่ายุคสงครามเย็นได้สิ้นสุดลงแล้ว จากนี้ไปเป็นการเปลี่ยนไปสู่การพัฒนาและเติบโตไปด้วยกัน เป็นการกล่าวภายหลังจากร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามความร่วมมือกันเรื่องพลังงาน และข้อตกลงอื่น ๆ โดยประธานาธิบดี Xi Jinping ยังได้กล่าวถึงการแทรกแซงทางการเมืองระหว่างประเทศว่า ควรให้แต่ละประเทศแก้ปัญหาภายในด้วยตัวเอง ไม่ควรเข้าไปแทรกแซง แต่ควรเป็นผู้ไกล่เกลี่ยระหว่างรัฐบาลกับประชาชน เราต้องเคารพสิทธิ์ของแต่ละประเทศในการกำหนดแนวทางพัฒนาของตัวเอง เปรียบเช่นคุณจะไม่รู้หรอกว่ารองเท้าจะเหมาะสมพอดีกับเราหรือไม่จนกว่าคุณจะได้ลองด้วยตัวเอง

ประธานาธิบดี Xi Jinping ยังได้พบปะกับนักศึกษาที่ Russian College เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างคนรุ่นใหม่ของทั้งสองประเทศ นอกจากนี้ประธานาธิบดี Xi Jinping ยังได้รับเชิญให้ไปเยือนสำนักงานป้องกันประเทศของรัสเซีย นับเป็นผู้นำระดับสูงของจีนคนแรกที่ได้รับเชิญ แสดงถึงความไว้เนื้อเชื่อใจและความร่วมมือทางทหารในอนาคต ทั้งยังได้พบกับนายกรัฐมนตรี Dmity Medvedev. ด้วย

Xi highlights bonds of ‘shared destiny’

ประธานาธิบดี Xi Jinping ได้ไปเยือน Tanzania เป็นประเทศที่สอง จีนกำลังเพิ่มความสัมพันธ์และให้ความสำคัญกับ Africa โดยประธานาธิบดี Xi Jinping ได้กล่าวว่า จีนจะให้ความช่วยเหลือโดยไม่คำนึงถึงเรื่องการเมือง จีนได้ขยายความช่วยเหลือทั้งการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ให้การอบรมและทุนการศึกษาแก่นักศึกษาอัฟริกัน โดยการค้างระหว่างจีนกับ Africa มีมูลค่าถึง สองแสนล้านดอลล่าร์ เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา


Grouping on track to be ‘global force’

ในการประชุมกลุ่มประเทศ BRICS ครั้งที่ 5 (ประกอบด้วยประเทศ Brazil Russia India China และ South Africa) ที่เมื่อ Durban ประเทศอัฟริกาใต้ ประธานาธิบดี Xi Jinping ได้ตอกย้ำถึงความมุ่งหวังในความร่วมมือที่มากขึ้นในขณะที่เศรษฐกิจชลอตัว

BRICS ก่อตั้งมา  5 ปี และยังอยู่ในขั้นพัฒนา และควรมุ่งไปที่การสร้างความผูกพันให้มากขึ้น การปรับปรุงคุณภาพชีวิตคน 3 พันล้านคนจะสร้างโอกาส ศักยภาพการร่วมมือของ BRICS การค้าระหว่าง 5 ประเทศ มีมูลค่าเพียง 1% ของโลก ประธานาธิบดี Xi Jinping ประกาศให้นักลงทุนจีนมีส่วนในการพัฒนาเศรษฐกิจโดยไปลงทุนในกลุ่มประเทศ BRICS และเชิญชวนนักลงทุนจากประเทศสมาชิกมาลงทุนในจีน

ในการประชุมได้มีการก่อตั้ง BRICS Business Council ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากทั้ง 5 ประเทศ ที่มีฐานะเท่าเทียมกัน ร่วมกันดำเนินการโดยไม่มีการตั้งผู้นำที่ถาวร โดยจะทำหน้าที่คล้ายกับ World Trade Organization แต่มีขนาดเล็กกว่า มีจุดประสงค์เพื่อแก้ปัญหาข้อขัดแย้งทางการค้า

ที่ประชุมยังได้ตกลงร่วมกันที่จะจัดตั้ง BRICS new development bank ต่อไป



สรุปการบรรยายวันที่ 26มีนาคม 2556

Panel Discussionหัวข้อนวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน (Social Innovation) กับการทำงานของ กฟผ.

ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์

การบริหารข่าวสาร ทำเรื่องราวดีๆให้เป็นเรื่องวิเศษ เป็นหน้าที่ชาวกฟผ.ทุกคน นอกจากจะทำหน้าที่ตามภารกิจของกฟผ.ให้ดีแล้วยังต้องช่วยเหลือดูแลสังคมด้วย โดยต้องสนับสนุนในด้าน ความคิด กำลังใจ และเทคโนโลยี่ เพื่อให้ชุมชนสามารถดูแลพึ่งตนเองได้ ในการลงพื้นที่ต้องให้ได้ใจทั้ง 2 ฝ่าย ให้ชาวบ้านเป็นเพื่อนและพร้อมเข้าใจกฟผ. ทุกอย่างก็จะราบรื่น รวมทั้งกฟผ.มีผลงานในด้านไฟฟ้าซึ่งเป็นจุดแข็งทีสร้างประโยชน์ให้ชุมชน แต่ไม่ค่อยรวบรวมเก็บเป็นผลงานรวมทั้งเมื่อเกิดปัญหาไม่อธิบายทำความเข้าใจ ซึ่งต้องเน้นทำงานเชิงรุกให้มากขึ้น

ดร.เสรี พงศ์พิศ

เงินไม่สามารถแก้ปัญหาความยากจนได้ เนื่องจากยังขาดความรู้และปัญญา ดังนั้นสังคมจะดีขึ้นต้องเป็นสังคมเรียนรู้ ซึ่งควรต้องลงทุนในเรื่องของการเรียนรู้และวิจัย

ซึ่งยุทธศาสตร์การเรียนรู้เป็น หนึ่งใน 4 ของยุทธศาสตร์การพัฒนา รวมทั้งชุมชนที่เป็นหนี้มีสาเหตุจากสื่อสังคมที่คอยกระตุ้น ทำให้เกิดความต้องการ จึงต้องกลับมาสร้างระบบที่ให้ชาวบ้านจัดการรับมือได้อย่างมีพลัง โดยหลักการของระบบที่ดีคือ ทำผิดยาก ทำถูกง่าย รวมทั้งต้องยึดนามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง สร้างให้เกิด แผนชีวิต แผนการเงิน แผนอาชีพ และ แผนสุขภาพ

คุณสุทธิเดช สุทธิสมณ์

กฟภ.ดำเนินการSocial Innovation ในรูปของการพัฒนาบุคลากร แต่ปัญหาคือนโยบายขาดความต่อเนื่อง

รวมทั้งเน้นและอยากให้มี Network 3 การไฟฟ้าฯให้มากขึ้น

คุณศานิต นิยมาคม

ปัจุบันการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  สร้างความสุขคุณภาพชีวิตให้ประชาชนแต่บนเส้นทางที่ทำให้บรรลุเป้าหมายอาจกระทบชีวิตความเป็นอยู่ประชาชนเช่นในเรื่องของสิ่งแวดล้อม รวมทั้งในเรื่องของกฏหมายและการกำกับดูแล ทำให้การทำงานของกฟผ.ยากขึ้น โดยเห็นว่านอกจากทำ CSR แ ล้วยังต้องปรับเปลี่ยนให้เป็น CSV สร้าง share value รวมทั้งต้องหากลยุทธ์ทำอย่างไรให้สังคมยอมรับซึ่งต้องเน้นให้เกิดการสร้างสังคมที่ดีขึ้นและยั่งยืน ต้องเพิ่มทุนวิจัยทางสังคม ฝึกให้ทุกคนในองค์การมี CSR ในหัวใจ ซึ่งครูบาสุทธินันท์ เห็นว่าโดยปัจจุบันวัฒนธรรมองค์กรยังเป็นทางการเกินไป ควรจ้างมืออาชีพไปช่วยประสานให้นุ่มนวลและเป็นกันเองมากขึ้น นำความรัก ความเมตตา ความเข้าใจไปก่อน ต้องให้ประชาชนเป้นผู้ตอบคำถามแทน

Learning Forum หัวข้อ เทคนิคการสื่อสารกับการสื่อสารมวลชน

โดย ดร.พจน์ ใจชาญสุขกิจ

ต้องวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย รู้ความต้องการความสนใจโดยต้องทำให้เกิดความเข้าใจหายสงสัย รู้จักการบริหารจัดการรู้ว่าเรื่องใดต้องพูดเวลาไหนกับใครรวมถึงระยะเวลาในการตอบคำถาม IMAGE ขององค์การมี 3 ด้านโดยต้องปรุงแต่งให้เกิดความน่าสนใจ เชื่อถือ ศรัทธา ประเด็นในการให้สัมภาษณ์ไม่ควรมากไปควรมีข้อมูลที่สำคัญชัดเจนเรื่องเดียวและต้องทดสอบความเข้าใจผู้สัมภาษณ์ด้วย

Learning Forum-Activities & Game Simulation

หัวข้อ Managing Self Performance

โดย อาจารย์อิทธิภัทร ภัทรเมฆานนท์

คนจะทำได้ดีและประสบผลสำเร็จ ต้องรู้จักตั้งเป้าหมายและพัฒนารวมทั้งผลักดันตนเองในเชิงแข่งขัน รวมทั้งลงมือปฏิบัติให้เกิดผลลัพธ์ตามที่ตั้งไว้ รู้จักวางแผนการดำเนินชีวิต และรู้เป้าหมายสุดท้ายของชีวิต ในหัวข้อนี้ทำให้รู้จักแนวทางการสำรวจตนเอง ค้นหาความต้องการและวางแผนให้บรรลุเป้าหมาย สามารนำไปปรับใช้หา Competency เพื่อการพัฒนาได้


สรุปบทความ

Creating mutual opportunities

ประธานาธิบดี Xi Jinping ของจีนได้เดินทางไปต่างประเทศครั้งแรกหลังจากได้รับตำแหน่ง ซึ่งประเทศแรกที่ไปคือรัสเซีย โดยในวันที่ 23 มีนาคม 2556 ประธานาธิบดีสี ได้ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ต่อนักศึกษาชาวรัสเซียในกรุงมอสโก ประเด็นสำคัญคือความสัมพันธ์ที่มั่นคงและสงบสุข หมดยุคสงครามเย็นไปแล้ว และปัญหาภายในของประเทศต่างๆที่เกิดขึ้นไม่ควรเข้าไปก้าวก่าย ต้องเคารพสิทธิของแต่ละประเทศ ปัจจุบันความขัดแย้งของจีนและรัสเซียไม่มีอีกต่อไปแล้ว มีแต่ความสัมพันธืที่ดีและยั่งยืนเพื่อแสวงหาโอกาสทางเศรษฐกิจในเวทีโลกร่วมกัน

Xi highlights bonds of ‘shared destiny’

ประเทศที่สองที่ประธานาธิบดี Xi Jinping ไปเยือนคือประเทศ Tanzania โดยได้กล่าวว่าจะเสริมสร้างมิตรภาพระหว่างจีนกับประเทศในแอฟริกา ซึ่งจีนจะให้ความช่วยเหลือและประสานผลประโยชน์อย่างจริงใจ เป็นธรรม รวมทั้งจะร่วมพัฒนาไปด้วยกัน

Grouping on track to be ‘global force’

การประชุมครั้งที่ 5 ของ BRICS(ประกอบด้วยประเทศ Brazil Russia India China และ South Africa) ประธานาธิบดี Xi Jinping ได้แสดงความเห็นในส่วนของการเติบโตของเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศ BRICS ว่าจะยังมีต่อไป ไม่ผันผวนกับเศรษกิจโลก รวมทั้งได้กระตุ้นให้มีการลงทุนในจีน รวมทั้งนักลงทุนของจีนมาลงทุนในกลุ่มประเทศ BRICS

การประชุมได้มีการจัดตั้ง BRICS Business Council ประกอบด้วยตัวแทนจากทั้ง 5 ประเทศ โดยจะทำหน้าที่คล้ายกับ World Trade Organization แต่มีขนาดเล็กกว่าเพื่อความคล่องตัว มีจุดประสงค์เพื่อแก้ปัญหาข้อขัดแย้งทางการค้า / ธุรกิจ ของสมาชิกในกลุ่ม และที่ประชุมยังได้ตกลงร่วมกันที่จะจัดตั้ง BRICS new development bank เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนของการพัฒนาที่จะเกิดขึ้นในกลุ่มประเทศ BRICS ด้วย

** อรรถพร ชูโต **
ชัยรัตน์ เกตุเงิน

สรุปบทความจากนสพ.

Creating mutual opportunities

  หลังจากXi jinping ขึ้เป็นประธานาธิปดีของจีน ได้ไปเยือนรัสเซียอย่างเป็นทางการ ได้กล่าวสุนทรพจน์ โดยเน้นถึงความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศที่จะทำให้เกิดความร่วมมือที่มั่นคงในทุกๆด้าน

Xi highlights bonds of shared destiny

   Xi jinping ได้ไปเยือน Tanzania ได้กล่าวสุนทรพจน์เน้นให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่พยายามเพิ่มความสัมพันธ์ระหว่างประเทศให้มั่นคงยิ่งขึ้น

Grouping on Track To be “global force”

  กลุ่มประเทศผู้นำ”BRICS”(บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน แอฟริกาใต้)ได้กำหนดให้มีการประชุมร่วมกัน  เพื่อกำหนดแนวทางการจัดสร้างกองทุนสถาบันทางการเงินระหว่างประเทศแห่งใหม่เพื่อถ่วงดุลของสถาบันการเงินแหล่งเดิม

ชัยรัตน์  เกตุเงิน


สรุปวันที่ 26 มีนาคม 2556

เรื่องนวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน (social Innovation) กับการทำงานของ กฟผ.

มีผู้สัมนา คือ ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ ดร.เสรี พงศ์พิศ คุณศานิต นิยมาคม คุณสุทธิเดช สุทธิสมณ์

ดำเนินรายการ โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

จากการฟังแนวคิดและฟังบรรยายจากท่านวิทยากรจะเห็นว่าวิถีชีวิตของคนในชุมชนนั้นไม่ต้องการอะไรมากมายนอกจากชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น การที่ กฟผ. จะเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องและช่วยเหลือให้ชีวิตความเป็นอยู่ในชุมชนให้ดีขึ้นนั้น กฟผ. จะต้องเข้าถึงสังคมของชุมชนก่อน ซึ่งจะต้องรับทราบถึงปัญหาในชุมชนนั้น ๆ และต้องทราบถึงความต้องการในชุมชนนั้นด้วยจึงจะสามารถสร้างเป็น “นวัตกรรมทางสังคม” เพื่อชุมชนได้ และในขณะเดียวกันก็ต้องทำหน้าที่ของตนเองให้ดีด้วย ปัจจุบันหน่วยงานทุกหน่วยงานใน กฟผ.ต้องทำหน้าที่ CSR ร่วมกันเพื่อเป็นการสร้างนวัตกรรมทางสังคมให้เกิดขึ้นในชุมชนและพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ในชุมชนให้ดีขึ้นในระดับหนึ่ง

เรื่องเทคนิคการสื่อสารกับสื่อมวลชน

โดย ดร.พจน์ ใจชาญสุขกิจ

เทคนิคการสื่อสารกับสื่อมวลชนเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งในการสื่อสารแต่ละครั้งควรดูโอกาส สถานที่และเวลาที่เหมาะสม เทคนิคในการสื่อสารมีหลักอยู่ 3 ข้อ คือ

Corporate Image คือ ภาพที่แสดงถึงตัวตน สะท้อนภารกิจขององค์กร

Business Image คือ ภาพที่แสดงถึงธุรกิจ ตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย

Brand Image คือ ภาพที่ทำให้ทุกคนจดจำ ไม่ว่าจะเป็นด้านบวกหรือลบ

เพื่อเป็นการเสริมสร้างทางเทคนิคในด้านการสื่อสาร กฟผ. ควรมีการจัดอบรมหลักสูตรในเรื่องของการสื่อสารอีกทั้งควรมีการฝึกและทดลองเกี่ยวกับในเรื่องของสื่อสาร เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถนำมาใช้และปฏิบัติงานได้จริงเพราะทุกคนคือภาพลักษณ์ขององค์กร

เรื่อง Managing Self Performance

โดยอาจารย์อิทธิภัทร ภัทรเมฆานนท์

การวางแผนการดำเนินชีวิตของแต่ละคนล้วนแต่ไม่เหมือนกัน ซึ่งบุคคลที่จะทราบดีนั้นก็คือตัวเราเอง ในการวางแผนชีวิตไม่ใช้เพียงแค่หวังเพี่อที่จะประสบความสำเร็จชีวิตในด้านหน้าที่ การงานเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการดำเนินชีวิตในปั่นปลายของชีวิตหลังจากที่เกษียณงานด้วย เพื่อเป็นสิ่งยืนยันว่าคุณภาพชีวิตของผู้ปฏิบัติงานจะดีและมีคุณภาพทั้งในขณะที่ทำงานและหลังจากที่เกษียณงาน องค์ควรมีการส่งเสริมและสนับสนุนการวางแผนชีวิตสำหรับผู้ปฏิบัติงานทุกระดับ เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพขององค์กรและเพิ่มคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้ปฏิบัติงานทั้งในขณะที่ทำงานและหลังจากที่เกษียณอายุ


สรุปการบรรยายวันที่ 27 มีนาคม 2556

เรื่อง  ธรรมาภิบาลของ  กฟผ.

ผู้สัมมนา คือ คุณไกรสีห์ กรรณสูต , คุณสมบัติ ศานติจารี , คุณธรรมรักษ์ การพิศิษฏ์

ดำเนินรายการโดย ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

หลักธรรมาภิบาล เป็นหลักในการบริหารและปฏิบัติที่จะทำให้องค์กรหรือธุรกิจประสบผลสำเร็จ ซึ่งอาจจะเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาก็ได้ หลักธรรมาภิบาลนี้ไม่ใช่เพียงแต่สำหรับผู้บริหารเท่านั้น ผู้ใต้บังคับบัญชา ก็สามารถปฏิบัติได้เช่นกัน หลักธรรมาภิบาลมี 4 หลักใหญ่ คือ

1.การมีส่วนร่วม 

2.การมีความรับผิดชอบ

3.  มีความโปร่งใส 

4.มีประสิทธิภาพ

คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่า กฟผ. เป็นองค์กรที่ใหญ่ระดับหนึ่ง ซึ่งเกิดจากการบริหารของผู้บริหารที่มีหลักธรรมาภิบาลและผู้ใต้บังคับบัญชาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน หลักธรรมาภิบาลนี้ควรได้รับการขยายจากรุ่นไปสู่รุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ปฏิบัติงานใหม่ของ กฟผ. เพื่อให้การทำงานมีความสะดวก  มีประสิทธิภาพ เพิ่มความเชื่อมั่นในการดำเนินงานและสังคมภายนอกยอมรับ อีกทั้งเพิ่มจุดแข็งให้กับองค์กร กฟผ. ควรมีการชูประเด็นในเรื่องของหลักธรรมาภิบาลนี้ ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อองค์กรเป็นอย่างมาก

เรื่อง  เศรษฐศาสตร์พลังงาน

บทสัมภาษณ์  อาจารย์มนูญ ศิริวรรณ

ในสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ยังคงส่งผลถึงทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดเสมอ ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม ซึ่งปัจจุบันทรัพยากรที่สามารถนำมาสร้างเป็นพลังงานเริ่มมีน้อยลงเพราะความต้องการในปัจจุบันมีมากขึ้นเรื่อย ๆ และในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้เองยังส่งผลถึง กฟผ. ด้วยเช่นกัน ปัจจุบัน กฟผ. เล็งเห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและมีนโยบายที่จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยลดการใช้พลังงานนี้ เช่น นโยบายประหยัดพลังงาน ซึ่งเป็นแผนอนุรักษ์พลังงานโดยมีผู้ปฏิบัติงานในองค์กร กฟผ. หลาย ๆ ฝ่ายช่วยกัน รวมทั้งมีการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งให้มีการประหยัดพลังงานมากขึ้นด้วย

เรื่องผู้นำกับการสร้างต้นทุนทางจริยธรรมในองค์กร

โดยคุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย

ผู้นำ ถือได้ว่าเป็นแบบอย่างในการดำเนินงานและเป็นผู้กำหนดทิศทางในการดำเนินงานขององค์กร ผู้นำที่ดีควรมีการสร้างทุนทางจริยธรรมให้เกิดขึ้นในองค์กร สิ่งหนึ่งที่ทำให้ กฟผ. เป็นองค์กรขนาดใหญ่และเป็นแนวหน้าของประเทศไทยก็น่าจะมาจากการที่มีทุนทางจริยธรรมในองค์กร โดยมีผู้บริหารที่เป็นแบบอย่าง โดยนำหลักธรรมาภิบาลมาบริหารจัดการกับองค์กร  และสิ่งที่เป็นผลจากการมีจริยธรรมในองค์กรคือ กฟผ. เป็นองค์กรที่มีความยั่งยืนหากนับจากอดีตถึงปัจจุบันและการมีทุนทางจริยธรรมของผู้นำในองค์กรก็น่าจะเพิ่มคุณภาพชีวิตและคุณภาพงานให้กับผู้ปฏิบัติงานด้วย


สรุปการบรรยายวันที่ 28 มีนาคม 2556

เรื่อง ประสบการณ์การเรียนรู้ในรุ่น 2 ของข้าพเจ้ากับการปรับใช้เพื่อบริหาร กฟผ.

โดย คุณสุทัศน์  ปัทมสิริวัฒน์  ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

การเป็นผู้บริหารระดับสูงต้องมีความรู้ที่หลากหลายและต้องปรับกระบวนการทางความคิดให้กว้างขึ้น ซึ่งต้องคำนึงถึงวิสัยทัศน์และเป้าหมายขององค์กรเสมอ ผู้บริหารใน กฟผ. จะต้องเตรียมความพร้อมในทุกๆ ด้านและจะต้องสามารถสร้างการยอมรับจากผู้ปฏิบัติงานหรือผู้ใต้บังคับบัญชาได้ ซึ่งการที่จะสร้างการยอมรับจากผู้คนรอบข้างนั้น เราจะต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาและต้องมีโอกาสทำงานให้ประสบผลสำเร็จ ทั้งนี้และทั้งนั้นตัวเราสำคัญที่สุด เราจะต้องประเมินตัวเองอยู่ตลอดเวลาและต้องเตรียมความพร้อมอยู่เสมอ

เรื่อง เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทย ผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.

โดย รศ. สมชาย  ภคภาสน์วิวัฒน์  ดร. กอบศักดิ์  ภูตระกูล  อาจารย์มนูญ  ศิริวรรณ

ดำเนินรายการโดย  ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์

ในสถานการณ์ที่เศรษฐกิจโลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งแน่นอนประเทศไทยย่อมได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม การเปลี่ยนแปลงในระยะสั้นนี้คนส่วนใหญ่ยังเห็นตรงกันว่า เศรษฐกิจไทยยังสามารถเติบโตต่อได้ เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงและปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลก กฟผ. ควรมีการวางแผนกลยุทธ์ขององค์กรทั้งในระยะสั้นและระยะยาวเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลง อีกทั้งยังควรมีการปรึกษาหารือถึงแนวทางการแก้ไขในเรื่องของความเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อองค์กรว่ามีแนวทางแก้ไขอย่างไร แต่ในขณะเดียวกัน กฟผ. ก็ควรมองหาโอกาสที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจโลกนี้ด้วยเช่นกัน

เรื่อง  ความเป็นเลิศและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ กฟผ.

โดย คุณพิบูลย์  บัวแซ่ม  อาจารย์สัญญา  เศรษฐพิทยากุล  คุณนริศ  ธรรมเกื้อกูล

ดำเนินรายการโดย  อาจารย์ทำนอง ดาศรี

วิสัยทัศน์ กฟผ. คือ การผลิตไฟฟ้าเพื่อความสุขของคนไทย  กฟผ. ได้วางเป้าไว้ว่าจะเป็นองค์กรชั้นนำในระดับภูมิภาคและระดับสากล การที่ กฟผ. จะเป็นเลิศและพัฒนาองค์กรให้ยั่งยืนนั้น กฟผ. จะต้องปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้และดำเนินงานตามวิสัยทัศน์ที่ว่าไว้ หน้าที่ของ กฟผ. คือ ตอบสนองความต้องการของประชาชนดังวิสัยทัศน์ดังกล่าว  การที่จะพัฒนาองค์กรให้เป็นเลิศและยั่งยืนนั้น ผู้นำก็มีส่วนสำคัญที่จะนำพาให้องค์กรไปสู่ความเป็นเลิศ ดังนั้น ผู้นำต้องทำงานอย่างมีความสุข ดังหลักการทำงานของ EGAT WAY คือ คนต้องมีความสุขและระบบต้องดี ผลงานก็จะออกมาดีและมีประสิทธิภาพ


สรุปการบรรยาย วันที่ 29 มีนาคม 2556

เรื่อง Blue Ocean กับการทำงานของ กฟผ. และการปรับใช้เพื่อสร้างโครงการแบบนวัตกรรมของ กฟผ.

โดย  รศ. ดร. สมชาย 

Red Ocean เป็นการแข่งขันธุรกิจในแบบเดิม ๆ ซึ่งการแข่งขันจะเป็นการแข่งขันทางด้านราคาและแย่งลูกค้ามาจากกลุ่มเป้าหมายเดียวกันโดยที่สินค้ามีความคล้านคลึงกัน ปัจจุบันเศรษฐกิจของโลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาจึงได้เกิดเป็นแนวคิดทางธุรกิจใหม่ ๆ ขึ้นนั้นคือ Blue Ocean เป็นแนวทางการทำธุรกิสมัยใหม่ โดยการสร้างสินค้าตัวใหม่ขึ้นและมีกลุ่มเป้าหมายใหม่เพื่อเรียกลูกค้าคนใหม่ ๆ ให้เพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันการทำธุรกิจทั้งขนาดเล็กและใหญ่หรือแม้กระทั่งองค์กรขนาดเล็กและใหญ่ก็มีการแข่งขันสูงมากขึ้น ดังนั้นเพื่อเป็นการพัฒนาและรับมีกับการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย  ๆ กฟผ. ควรมีการวางโครงสร้างทางธุรกิจให้เหมาะสมกับเศรษฐกิจของโลกโดยเฉพาะควรมีการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ และนำหลัก Blue Ocean มาปรับใช้ในองค์กรให้เหมาะสมกับโอกาสแต่ในขณะเดียวกันก็ควรนำข้อดีและข้อเสียของหลัก Red Ocean มาปรับใช้และพิจารณาควบคู่ไปด้วย

เรื่อง  High Performance Organization

HPO หมายถึง การทำงานที่เป็นเลิศ มีประสิทธิภาพและต้องชนะคู่แข่งขันได้ตลอดเวลา ซึ่งบุคคลที่ทำงานดีมีประสิทธิภาพต้องเป็นคนดีและคนเก่ง สิ่งที่จะทำให้ กฟผ. เป็นองค์กร High Performance Organization ได้นั้น ไม่ใช่เพียงอยู่ที่ผู้บริหารเท่านั้นอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญอยู่ที่พนักงานผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งพนักงานถือได้ว่าเป็นส่วนที่ขับเคลื่อนการทำงานขององค์กรให้ก้าวไปข้างหน้าจึงจะสามารถพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศได้ โดยเฉพาะพนักงานที่สามารถทำงานเป็นทีมได้ มีการผสมผสานที่ลงตัวและเป็นหนึ่งเดียวกัน ดังนั้นองค์กรต้องสนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงานมีคุณสมบัติต่างๆข้างต้นโดยต้องเน้นในเรื่องของการทำงานเป็นทีมและเป็นหนึ่งเดียวกัน


สรุปบทความ จากหนังสือพิมพ์

Xi highlights bonds of ‘Shared destiny’

ประธานาธิบดีของจีน Xi Jinping  ได้ไปเยือน Tanzania เพื่อร่วมพิธีส่งมอบ Julius Nye ere International Convention Center ในวันที่ 25 มีนาคม และ ได้กล่าวสุนทรพจน์ว่า นโยบายต่างประเทศของจีนคือจะให้ความช่วยเหลือ African  อย่างต่อเนื่องด้วยความร่วมแรงร่วมใจกัน โดยไม่คำนึงถึงเรื่องการเมือง รวมทั้งให้ความช่วยเหลือลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานโดย ให้การอบรมและทุนการศึกษาแก่นักศึกษา African

เมื่อปีที่แล้วการค้าระหว่างจีนและแอฟริกามีมูลค่าถึง $200 billion  และจีนจะให้เงินช่วยเหลืออีก $20 billion และช่วยฝึกอาชีพให้คนแอฟริกา 30,000 คนให้ทุนนักเรียน 18,000 คนในระหว่างปี 2013-2015

Grouping on Track to be ‘global force’

การประชุม BRICS ครั้งที่ 5 (ประกอบด้วย บราซิล, รัสเซีย, อินเดีย, จีน และ เซาท์แอฟริกา) เมื่อวันที่ 27 มีนาคม นี้ที่เมือง Durban, South Africa เป็นการประชุมเพื่อความร่วมมือกันในเรื่องเศรษฐกิจและการเมือง

Xi Jinping ได้แสดงความเชื่อมั่นว่า การชลอตัวของเศรษฐกิจโลก จะไม่กระทบกับเศรษฐกิจของ BRICS เนื่องจากเป็นกลุ่มประเทศที่มีศักยภาพในการเจริญเติบโต การปรับปรุงมาตรฐานความเป็นอยู่ของคน 3 พันล้านคน จะสร้างโอกาสในการเติบโตและสร้างโครงการหลักที่เป็นความร่วมมือระหว่างกัน

ในการประชุมครั้งนี้ได้มีการจัดตั้ง BRICS Think-Tank Council โดยมีจุดประสงค์ร่วมมือกันทางการค้า

Creating mutual opportunities

ประธานาธิบดีจีน Xi Jinping ได้เดินทางเยือนรัสเซียเมื่อวันที่ 23 มีนาคม  และ ได้กล่าวสุนทรพจน์มีใจความสำคัญว่า ความสัมพันธ์ที่มั่นคงและเข้มแข็งระหว่างจีนและรัสเซีย จะเป็นสิ่งที่ช่วยให้นานาประเทศเกิดความสมดุล และมีแต่ความสงบสุข ทำให้จีนและรัสเซียมีอำนาจในการต่อรองในด้านการค้ากับประเทศต่างๆ ทั่วโลก แนวโน้มของโลกในปัจจุบัน คือ การพัฒนาและให้ความร่วมมือกับชุมชนต่างๆในโลก สงครามเย็นได้หมดไปแล้วจะไม่มีการไปครอบงำประเทศอื่น เราต้องเคารพการเลือกวิถีทางในการพัฒนาของประเทศต่างๆ  ขอคัดค้านการเข้าแทรกแทรงกิจการที่เป็นอำนาจอธิปไตยของประเทศนั้นๆ 


สรุปบทความจากหนังสือพิมพ์

Xi highlights bonds of ‘Shared destiny’

ประธานาธิบดีของจีน Xi Jinping  ได้ไปเยือน Tanzania เพื่อร่วมพิธีส่งมอบ Julius Nye ere International Convention Center ในวันที่ 25 มีนาคม และ ได้กล่าวสุนทรพจน์ว่า นโยบายต่างประเทศของจีนคือจะให้ความช่วยเหลือ African  อย่างต่อเนื่องด้วยความร่วมแรงร่วมใจกัน โดยไม่คำนึงถึงเรื่องการเมือง รวมทั้งให้ความช่วยเหลือลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานโดย ให้การอบรมและทุนการศึกษาแก่นักศึกษา African

เมื่อปีที่แล้วการค้าระหว่างจีนและแอฟริกามีมูลค่าถึง $200 billion  และจีนจะให้เงินช่วยเหลืออีก $20 billion และช่วยฝึกอาชีพให้คนแอฟริกา 30,000 คนให้ทุนนักเรียน 18,000 คนในระหว่างปี 2013-2015

Grouping on Track to be ‘global force’

การประชุม BRICS ครั้งที่ 5 (ประกอบด้วย บราซิล, รัสเซีย, อินเดีย, จีน และ เซาท์แอฟริกา) เมื่อวันที่ 27 มีนาคม นี้ที่เมือง Durban, South Africa เป็นการประชุมเพื่อความร่วมมือกันในเรื่องเศรษฐกิจและการเมือง

Xi Jinping ได้แสดงความเชื่อมั่นว่า การชลอตัวของเศรษฐกิจโลก จะไม่กระทบกับเศรษฐกิจของ BRICS เนื่องจากเป็นกลุ่มประเทศที่มีศักยภาพในการเจริญเติบโต การปรับปรุงมาตรฐานความเป็นอยู่ของคน 3 พันล้านคน จะสร้างโอกาสในการเติบโตและสร้างโครงการหลักที่เป็นความร่วมมือระหว่างกัน

ในการประชุมครั้งนี้ได้มีการจัดตั้ง BRICS Think-Tank Council โดยมีจุดประสงค์ร่วมมือกันทางการค้า

Creating mutual opportunities

ประธานาธิบดีจีน Xi Jinping ได้เดินทางเยือนรัสเซียเมื่อวันที่ 23 มีนาคม  และ ได้กล่าวสุนทรพจน์มีใจความสำคัญว่า ความสัมพันธ์ที่มั่นคงและเข้มแข็งระหว่างจีนและรัสเซีย จะเป็นสิ่งที่ช่วยให้นานาประเทศเกิดความสมดุล และมีแต่ความสงบสุข ทำให้จีนและรัสเซียมีอำนาจในการต่อรองในด้านการค้ากับประเทศต่างๆ ทั่วโลก แนวโน้มของโลกในปัจจุบัน คือ การพัฒนาและให้ความร่วมมือกับชุมชนต่างๆในโลก สงครามเย็นได้หมดไปแล้วจะไม่มีการไปครอบงำประเทศอื่น เราต้องเคารพการเลือกวิถีทางในการพัฒนาของประเทศต่างๆ  ขอคัดค้านการเข้าแทรกแทรงกิจการที่เป็นอำนาจอธิปไตยของประเทศนั้นๆ 


สรุปการบรรยายวันที่ 27มีนาคม 2556

Panel Discussion

หัวข้อธรรมาภิบาล” ของ กฟผ.

โดย  คุณไกรสีห์ กรรณสูต อดีตผู้ว่าการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

คุณสมบัติ ศานติจารี อดีตผู้ว่าการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

อาจารย์ ธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์ รองเลขาธิการสภาพัฒน์

ดำเนินรายการโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

อาจารย์ ธรรมรักษ์ แนวคิด ธรรมาภิบาล เริ่มในแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 8 โดยต้องการ outcome คนมีความสุขไม่ใช่ output เศรษฐกิจโต ปัจจุบันไทยยังขาด Leadership อย่างมาก ต้องสร้างให้เกิดผู้นำการเปลี่ยนแปลงขึ้นในระดับองค์กร โดยเฉพาะผู้นำระดับกลางที่จะเป็นการสร้างระบบให้เอื้ออำนวยอย่างยั่งยืน

โดยต้องตระหนักในตน(empower) ถึงธรรมาภิบาลและปฏิบัติเป็นแบบอย่าง ทางศ.ดร.จีระ เสริมในองค์กร กฟผ.ควรต้องจัดการกับ issue4 เรื่องคือ จัดการชุมชน ไม่เน้นเพียงเทคโนโลยี่  จัดการกับความหลากหลายทางวัฒนธรรม จัดการกับความเปลี่ยนแปลงของนโยบายรัฐบาลและนักการเมือง สุดท้าย ต้องให้กฟผ.เป็นองค์กรที่เป็นที่พึ่งของประเทศ(ยืนหยัดแก้ปัญหาคอรัปชั่น)เน้นความโปร่งใส

อดีตผู้ว่าการไกรสีห์ กรรณสูต ในอดีตกฟผ.ประสบความสำเร็จ เนื่องจาก มีผู้นำโดย ผวก.เกษม ถึง 25 ปี

มีคนเก่งๆอยากเข้ามาทำงานกฟผ.เป็นอันดับแรก มุมมองจากผู้ทำธุรกิจกับกฟผ.เห็น่า กฟผ. โปร่งใส บริสุทธิ์

ปัจจุบันเวลาเปลี่ยนไป งานกฟผ.เริ่มมีอุปสรรค รวมทั้งงานยากขึ้นเช่น กระทบสิ่งแวดล้อม หรือ วิถีชีวิตคน

โดยอยากให้กฟผ.มองในเรื่อง ความสมดุลย์(Balancing) ไม่มองเพียงต้นทุนให้ดูแลใส่ใจ สังคม สิ่งแวดล้อม ประชาชนให้มากขึ้นด้วย กฟผ.ต้องเริ่มให้เกิดธรรมาภิบาลจากใจ เพื่อให้องค์กรยั่งยืน รวมทั้งต้องบริหารความสมดุลย์ระหว่างเทคโนโลยี่กับชุมชน ต้องใช้กฏหมายโดยไม่เลือกปฏิบัติ ทำความเข้าใจ ให้ประชาชนมีส่วนร่วม

ป้องกันการเกิดข้อสงสัย รวมถึงการให้ข้อมูลไม่เพียงแต่ให้รับทราบ ควรต้องเริ่มตั้งแต่ วางแผนร่วมกันและร่วมตัดสินใจ ซึ่ง กฟผ.ยังไม่ได้ทำในส่วนนี้

อดีตผู้ว่าการสมบัติ ศานติจารี ธรรมภิบาลตามแนวคิดของ ตลาดหลักทรัพย์ มี

1.บริหารด้วยความครบถ้วน รอบคอบ ข้อมูลพร้อมตัดสินใจ

2.ซื่อสัตย์สุจริตสุจริต ไม่คอรัปชั่น

3.ปฏิบัติตามกฎระเบียบ

4.แสดงข้อมูลให้สาธารณชนรับทราบ

ตลาดหลักทรัพย์และองค์กรต่างๆมีการทำวิจัยว่า ธรรมภิบาลได้ประโยชน์อะไรกับองค์กร

หน่วยงานที่ไม่มีธรรมาภิบาล ก็จะไม่มีผลตอบแทนที่ดี ดังนั้นบริษัทต่างๆก็จะแข่งเรื่องธรรมาภิบาล

ในส่วนตัวเห็นว่า  คุณภาพของกฟผ.ได้รับความเชื่อถือ และมีคุณภาพดี  บน web กฟผ.มีธรรมะออนไลน์  ซึ่งสื่อแล้วว่ากฟผ.มีธรรมาภิบาล ซึ่งสั่งสมวัฒนธรรมเรื่องความโปร่งใสมาอย่างยาวนาน

กฟผ. ในสมัยก่อนไม่ได้ละเลยเรื่องสิ่งแวดล้อม เพราะไม่มีกฏหมาย หลังจากมีกฎหมายก็ทำตามกฎหมาย ปี 2535 เริ่มมีการสำรวจความคิดเห็นทางสิ่งแวดล้อมหลังปี 2540รัฐธรรมนูญเบ่งบาน นโยบายต้องกระจายให้ทุกคนรับทราบ  พัฒนาปรับปรุงเรื่อยๆ จนกระทั่งมีธรรมาภิบาลกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

สรุปการถาม-ตอบ ผู้นำต้องสร้างความยั่งยืน โดยไม่ยึดติดความคิดในอดีต คำนึงถึง Complexity & Globalization รู้การจัดการความรู้บนโลก Cyber รวมทั้งการบริหารความสมดุลย์ และต้องปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ กฟผ.ต้องสร้างให้เกิด Trust และใช้คนให้เหมาะกับงานและมีใจที่จะทำ อีกทั้งต้องให้เกิดการ SHARE INFORMATION

เศรษฐศาสตร์พลังงาน

ฟังบทสัมภาษณ์ อาจารย์มนูญ ศิริวรรณ

ร่วมวิเคราะห์และดำเนินการWorkshop

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ควรปรับราคาก๊าซให้สะท้อนต้นทุนแท้จริง ให้เกิดความสำนึกในเรื่องความประหยัด ทั้งนี้รัฐมีนโยบายประหยัดพลังงานโดยมี แผนอนุรักษ์พลังงาน ในด้านการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ AEC โดยต้องเตรียมโครงสร้างพื้นฐาน เช่นการคมนาคม การเป็น HUB ด้านพลังงาน เช่นส่งเสริมการปลูกพืชพลังงานทดแทน ดูแลผลผลิต ความผันผวนด้านราคาในด้านกฟผ.ต้องคำนึงในเรื่องจะกระจายความเสี่ยงอย่างไรหากสร้างโรงไฟฟ้าไม่ได้ รวมทั้งต้องปรับองค๋การให้เป็นที่ไว้ใจต้องทำด้านสังคมชุมชนอย่างเต็มที่ และคำนึงในด้าน Demand side นอกจาก Supply side ด้วย ในการสร้างโรงไฟฟ้าแต่ละแห่งต้องเป็นไปอย่างโปร่งใส และด้วยความเห็นชอบและร่วมมือของประชาชน

หัวข้อ  ผู้นำกับการสร้างทุนทางจริยธรรมในองค์กร

โดย  คุณดนัย  จันทร์เจ้าฉาย

บริษัท ดีซี คอนซัลแทนส์ แอนด์ มาร์เก็ตติ้ง คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด

ได้พูดถึง Change Happens! Change constant  Shift Happens

If the rate of change on the outside is faster than the rate of change on the inside : The end is insight.

ได้กล่าวถึงทฤษฎี White ocean strategy กลยุทธ์น่านน้ำสีขาว

เราผ่าน ยุค Hunter agricultural industrial อยู่ระหว่าง ยุค Information ซึ่งจะเปลี่ยนผ่านไปสู่ Wisdom โดยต้องฝึกการจิตนาการไม่ทำอะไรซ้ำๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ใหม่

องค์กรที่มีจริยธรรมสูง High Trust ก่อให้เกิด High speed + Low cost ทำให้

 –ผลประกอบการสูง  –Happy worhplace  -High Creative and -Sustainable

การสร้างต้นทุนประกอบด้วยหลักการ 7 ข้อ สิ่งที่ต้องคำนึง คือ

1. Where are we?

2. Where do we want to go?

3. How do we get there?

4. People

5. Planet

6. Profit

7. Passion

และต้องมีเป้าหมายและอุดมการณ์อันแรงกล้า (Purpose @ Passion)

แนะนำปัจจัยสำคัญในการมุ่งสู่ความสำเร็จ คือ คิด 1%  พูด 4%  ลงมือปฏิบัติ 95%

    ผู้นำที่ประสบความสำเร็จ ต้องมีกัลยาณมิตร ต้องเป็นคนช่างสังเกต โดยได้นำตัวอย่างองค์กร
บุคคลที่ประสบความสำเร็จในระดับต่าง ๆ มาเสนอเป็นตัวอย่างให้จุดประกายความคิดเปลี่ยนความคิด อันจะนำไปสู่การก้าวขึ้นสู่การเป็นผู้นำที่มีความพร้อมทุกด้าน


สรุปการบรรยายวันที่ 28มีนาคม 2556

หัวข้อ ประสบการณ์การเรียนรู้ในรุ่น 2ของข้าพเจ้า กับการปรับใช้เพื่อการบริหาร กฟผ.ในยุคที่โลกเปลี่ยน

โดยคุณสุทัศน์  ปัทมสิริวัฒน์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

ปัจจุบันกฟผ.เติบโตแบบไซโล ต้องปรับให้รู้รอบด้าน มี participation ปรับกระบวนทรรศน์เสริมสร้าง Competency โดยผู้บริหารระดับสูง วิสัยทัศน์ สำคัญ ต้องรู้จักเรียนรู้มุมมองและจับประเด็นให้ได้

สิ่งที่ กฟผ.ต้องแก้ 2 เรื่อง คือ 1.อัตรากำลัง(Generation)ของคน โดยต้องมีแผนอัตรากำลัง 5 ปี เพื่อรับ Generation รุ่นใหม่ รวมทั้งทำแผนRecruit พัฒนา Coaching 2.ขาดการพัฒนาผู้นำรุ่นใหม่(Successer) จากการทำร่วมกับที่ปรึกษา Competency ที่เป็นปัจจัยสำคัญของผู้นำเหล่านี้ มี 5 ด้าน คือ

1.การปฏิสัมพันธ์/บริหารผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผลสำรวจขีดความสามารถดีกว่าค่า Norm

2.ธุรกิจและการแสวงหาโอกาสสร้างพันธมิตรธุรกิจ เป็นจุดอ่อนที่สุดไม่มีคนที่ Ready อย่างมาก OK สามารถ พัฒนาได้

3.การขับเคลื่อนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด อยู่ในเกณท์ดี

4.การสร้าง Alignment Accountability Team อยู่ในเกณท์ดี

5.สร้าง วัฒนธรรมองค์กร ที่สอดคล้องกับแผนธุรกิจนั้น ซึ่งยังขาดในด้านนี้ เช่น นวัตกรรม การใฝ่เรียนรู้

โดยต้องหันมามองและประเมินตนเอง มีจุดอ่อนเพื่อพัฒนาอย่างไร ไม่มองเฉพาะ กฟผ.ต้องมองดูทั้งกลุ่ม โดยให้สามารถสร้างความแข่งขันกับทั้งโลก(นานาชาติ)ได้ เตรียมองค์กรให้พร้อมในวันข้างหน้า ให้องค์กรมีผลงานเป็นที่ยอมรับ เชื่อถือ สุดท้ายเป็น Trust และความภูมิใจโดยต้องเปิดตัวให้มาก สิ่งที่เปลี่ยนยากคือวิธีคิด

กล่าวโดยสรุป ต้อง รู้ให้กว้างขึ้น จับประเด็นให้ได้ ประเมินตนเองและเตรียมความพร้อม

หัวข้อ:เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย..ผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.

โดยรศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล อาจารย์มนูญ ศิริวรรณ

ได้รับทราบมุมมองและแนวคิด ในการวิเคราะห์ เศรษฐกิจของโลกในอนาคต และผลกระทบที่จะเกิดตามมาในไทย

มุมมอง รศ.ดร.สมชาย เห็นว่า อาเซียนจะดี การส่งออกขยายตัวได้ การที่รัฐบาลกระตุ้นโดยการกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท โดยคิดว่าจะมีอัตราการเติบโต 7-8% ซึ่งมองโลกในแง่ดี (ประเทศที่มีปัญหามักเป็นแบบนี้) โดยมีความเห็นว่า ปัญหาโลกร้อนไม่มีทางแก้ เนื่องจาก การปรับมาใช้ Alternative Energy + IT ใช้เวลา 20-30 ปี

ข้อตกลงเกียวโตไม่สำเร็จ เนื่องจาก จีน และ อเมริกาต้องมีการเติบโตติดลบหลายปี อนาคตจีนจะมีปัญหา จากจุดแข็งค่าแรงต่ำหายไป และค่าเงินจะแข็งจากการเปิดประเทศ ซึ่งจะกระทบทั้งหมดรวม ASEAN ดังนั้นที่คาดว่าอัตราการเติบโต 7-8% นั้นน่าจะลดลง ส่งผลให้หนี้สาธารณะดอกเบี้ยจะขึ้นไป 80-90% จากที่คาด 50% กอรปกับถ้ามีเหตุการณ์ไม่คาดคิดเกิดขึ้นเช่นภัยธรรมชาติใหญ่ๆที่มักเกิดบ่อยและถี่ขึ้น ผลกระทบจะยิ่งร้ายแรงขึ้น

มุมมองอาจารย์มนูญ ศิริวรรณ

-ปัญหาที่ กฟผ.ต้องพบคือการจัดหาพลังงานมาผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอกับความต้องการที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆ

ต้องชิงความเป็นวิสาหกิจของภูมิภาค ขยายการลงทุนในต่างประเทศ รวมทั้งเป็น Service Provider Energy Cosultant และ ให้กฟผ.เป็นจุดเชื่อมโยงเครือข่ายพลังงานไฟฟ้า

-ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไม่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ด้านพลังงาน ไม่ควรอุดหนุนด้านราคา  และควรมีการส่งเสริมด้านพลังงานทดแทนซึ่งมีแผนอยู่แล้ว ปัจจุบันเทคโนโลยี่ก้าวหน้าไปมาก ควรเร่งให้เกิดความชัดเจน

มุมมองดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล

-ไทยมีโอกาสเป็น Regional Player ได้

-ไทยเกิดปัญหาขาดแรงงาน

-เศรษฐกิจมีโอกาสไปต่อ หุ้นมีโอกาสขึ้นได้ดี โดยระหว่างทางมีขึ้นๆลงๆ แต่ฟันธง 10 ปีข้างหน้า ตลาดหุ้นไทยไปไม่รอดแน่

-ความเสี่ยงและกังวลกับเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท เนื่องจากการขาดวินัยในการ Execute และ ผลตอบแทนที่ได้จริงหรือ
-เมื่ออเมริกาดูดสภาพคล่องกลับคืน จะเกิดอะไรขึ้น? 
-ยุโรปมีปัญหาที่ไซปรัส  ยังมีวิกฤตอยู่ ทำลายความเชื่อมั่น ต่อไปจะมีปัญหากับประเทศใดอีก?

หัวข้อ:TQM/SEPA :ความเป็นเลิศและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ กฟผ.

รวห.พิบูลย์ บัวแช่ม อ.สัญญา เศรษฐพิทยากุล อ.นริศ ธรรมเกื้อกูล

รวห.พิบูลย์ บัวแช่ม ให้นิยามองค์กรชั้นนำ

โดยประกอบด้วย -ต้องเป็น CG  -HPO  -Opearational Excellent  -National pride  & -Financial Viability

ปัจจุบัน กฟผ.กำลังจัดทำ EGAT WAY โดยสายงานรวห.จะผลักดันให้เกิด EGAT TQM OFFICE ที่จะเป็นตัวจักรในการขับเคลื่อน

อ.นริศ  การทำ TQM โดยจ้างที่ปรึกษามาเป็นเรื่องไม่ควรทำและน่าเศร้า การทำ SEPA ของกฟผ.จะสำเร็จ ผวก.และรองผวก.ต้องลงมาจัดการด้วย อย่าทำเพียงขอให้ PA ผ่าน แนวคิด TQA เพื่อหา Gap analysis ที่จะไปสู่เป้าหมายจากสิ่งที่เป็นอยู่ปัจจุบัน

อ.สัญญา แนวคิด EGAT WAY คือ เอาทุก Tool ที่มีมา Blend แล้วเสริมคุณค่าให้

โดย เป็นการพัฒนา HPO/TQM ในรูปแบบของ กฟผ.  SEPA Score คือ By-product จัดทำแผนแม่บท TQM ของ กฟผ. และ Integration ระหว่างสายงาน


นายทนงศักดิ์ ไกรรวี

สรุปความรู้ที่ได้จากการเรียนในวันที่ 28 มี.ค. 56

ประสบการณ์การเรียนรู้ในรุ่น 2 ของข้าพเจ้า กับการปรับใช้เพื่อการบริหาร กฟผ. ในยุคที่โลกเปลี่ยน

ผวก. สุทัศน์ กล่าวว่าหลักสูตรนี้เป็นการเตรียมความพร้อมให้กับผู้บริหาร ซึ่งจะต้องมีความรอบรู้มาก ต้องปรับกระบวนทัศน์ทางความคิด จับประเด็นให้ได้ ต้องมีวิสัยทัศน์ และต้องประเมินตัวเราตลอดเวลาให้มีความพร้อมอยู่เสมอ

เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทย ผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.

ทำให้ทราบถึงทิศทางของเศรษฐกิจโลกและทิศทางของพลังงานโลก ซึ่งส่งผลต่ออาเซียนและประเทศไทยในที่สุด ตลอดถึงการวางแผนบริหารจัดการของ กฟผ.ในการจัดหาพลังงานมาผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอกับความต้องการที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆ

TQM/SEPA ความเป็นเลิศและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ กฟผ.

TQM/SEPA เป็นระบบการจัดการที่ดี การทำ TQM/SEPA ใน กฟผ. ผู้บริหารระดับสูงต้องกระทำอย่างจริงจัง และอธิบายให้ผู้ปฏิบัติงานทุกระดับรับรู้และเข้าใจถึงความสำคัญ ทำแล้วได้อะไร และมีประโยชน์อย่างไร เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานเต็มใจในการดำเนินการ


สรุปการบรรยายวันที่ 29มีนาคม 2556

หัวข้อ  แนวคิดBlue Ocean กับการทำงานของ กฟผ.
และการปรับใช้เพื่อสร้างโครงการแบบนวัตกรรมของ กฟผ.โดย   รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

ต้องรู้จักบริหารจัดการข้อมูล ไม่ให้เกิด Information overflow

ทราบแนวคิดในกระบวนการเรียนรู้ ต้องตั้งคำถาม Why ให้ได้รู้ที่มาของคำตอบ

แนวคิด Blue Ocean เป็นนวัตกรรมที่สร้างสินค้าและบริการใหม่(Innovation) มองลูกค้าเป็นตัวตั้งอย่ามองจากมุมตนเอง หา New demand และสร้างลูกค้าใหม่ ปรับกระบวนการใหม่ๆ ใช้กลยุทธ์ด้านราคาและสร้างความแตกต่างเพื่อให้เกิด Value Innovation

หัวข้อHigh Performance Organization ที่ กฟผ.
โดย  ดร.สมโภชน์ นพคุณ 
คุณสมชาย ไตรรัตนภิรมย์
รองกรรมการผู้จัดการ
บริษัท ทริส คอร์ปอเรชั่น จำกัด
ดำเนินรายการโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

องค์กรจะเป็น HPO ได้ ต้องไม่เป็น One standard form ต้องให้มีความเห็นต่าง(คิดนอกกรอบ) ต้องปรับโครงสร้างให้ Realistic ปรับ Process รวมทั้งระบบต้องเป็น Dynamic ในด้านผู้นำ ต้องจัดกรอบความคิดและแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำในตนเอง Teamwork Empowerment และ Passion รวมถึงการสื่อสารต้อง Realistic และต้อง Aware ผู้ฟัง เข้าใจถึงคำว่า Human Being โดยคนไม่ใช่สิ่งของหรือทรัพยากร ดังนั้นกระบวนทรรศน์มองคนทำงานต้องต่างไปจากเดิม โดยอนาคตคนนอกจากเก่ง และ ดีแล้ว ต้องมีความสุข รวมทั้ง Worklife forces บทบาทผู้นำที่ประสบความสำเร็จ ต้อง กำหนดทิศทาง เงื่อนไข ตอบสนองความต้องการ (Responsed & Tools) สร้างทีมให้เข้มแข็งและแบรนด์ด้วยตัวผู้นำเอง(Representing)


นายสาเรศ อินทุเศรษฐ

วันที่  26  มีนาคม  2556

หัวข้อ “ นวัตกรรมทางสังคมเพิ่อชุมชนกับการทำงานของ กฟผ.”

โดย  ครูบาสุทธินันธ์  ปรัชญพฤทธิ์  ดรเสรี  พงศ์พิศ  คุณศานิต  นิยมาคม  คุณสุทธิเดช  สุทธิสมณ์

กล่าวถึงบทบาทของ กฟผ.ในฐานะหน่วยงานที่สร้างสาธารณูปโภคที่สำคัญและเป็นหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจยังประโยชน์ให้แก่ประชาชน แต่เหตุใดจึงมีปัญหาถูกขัดขวางต่อต้านจาก ประชาชน ทั้งที่ทุกคนต้องใช้ไฟฟ้า สาเหตุอาจจะมาจากการละเลยหรือห่างเหินกับประชาชน ไม่ได้สร้างความคุ้นเคยหรือสร้างสัมพันธ์ที่ดีอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น กฟผ.ควรนำเอานวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน (Social Innovation)มาใช้สำหรับงานด้านชุมชน และสังคม สำหรับโครงการในอนาคต  และควรสร้างความเชื่อมั่น และภาพลักษณ์ใหม่เป็นองค์กรที่อยู่ร่วมกับชุมชนและสังคมได้อย่างสง่างาม จริงใจ สามารถพึ่งพาซึ่งกันและกัน

หัวข้อ “ เทคนิคการสื่อสารกับสื่อสารมวลชน”

โดย  ดร.พจน์  ใจชาญสุขกิจ

  กฟผ.ควรต้องเตรียมการและเข้าใจสื่อสารมวลชน หรือผู้ผลิตสื่อ เพราะปัจจุบัน กฟผ.ไม่สามารถอยู่ลำพังหรือปิดตัวเอง โดยไม่สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่สังคมได้ และวิธีการที่จะให้สังคมได้ทราบข่าวสารข้อเท็จจริงของ กฟผ.ได้อย่างกว้างขวางคือสื่อต่างๆ ดังนั้นจะ ต้องสร้างความสัมพันธ์ และบริหารความสัมพันธ์  รู้จักสร้างเครือข่าย  เชื่อมโยงสื่อต่างๆให้ได้  รวมทั้งศึกษากระบวนการทำงานของสื่อ  ต้องมีความจริงใจและสร้างความน่าเชื่อถือ  มีความสม่ำเสมอ

หัวข้อ “Managing  Self  Performance ”

โดย  อ.อิทธิภัทร์  ภัทรเมฆานนท์

เป็นการเรียนรู้วิธีการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยเริ่มแรกต้องเข้าใจตัวตนก่อน ซึ่งประกอบไปด้วย ทักษะ ความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ ค่านิยม แล้วทำงานด้วยความมุ่งมั่น รวมทั้งรู้จักการเขียน Life Mapping เพื่อออกแบบการไปสู่เป้าหมาย

วันที่  27  มีนาคม  2556

หัวข้อ “ ธรรมาภิบาลของ กฟผ.”

โดย  อดีต ผวก.คุณไกรสีห์  กรรณสูตร  อดีต ผวก.คุณสมบัติ  ศานติจารี  และ อ.ธรรมรักษ์  การพิศิษฐ์

   กฟผ. เป็นองค์กรที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นองค์กรที่มีธรรมาภิบาล ในระดับแนวหน้าของประเทศ ซึ่งเกิดจากการสร้างของผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานในอดีต ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ซึ่งผู้ปฏิบัติงานทุกระดับในยุคปัจจุบัน ถือเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่ควรต้องสืบทอด และส่งต่อให้กับผู้ปฏิบัติงานรุ่นต่อๆไป อีกทั้งจะต้องขยายขอบข่ายธรรมมาภิบาลสู่สังคมภายนอกเพื่อทราบ เป็นการนำจุดแข็งด้านสังคมของ กฟผ.มาชูประเด็นให้ชุมชนได้รับรู้ ซึ่งเป็นการช่วยเสริมให้เกิดการเชื่อมั่นในการดำเนินงาน และจะช่วยลดการคัดค้าน หรือต่อต้านโครงการพัฒนาโรงไฟฟ้า ของ กฟผ.

หัวข้อ “ เศรษฐศาสตร์พลังงาน”

อ.พรายพล คุ้มทรัพย์

ในสภาวะเศรษฐกิจสังคมโลกในปัจจุบัน จะต้องมีการติดตามข้อมูลต่างๆในด้านพลังงานอย่างใกล้ชิด เพราะการปรับเปลี่ยนด้านพลังงานจากที่หนึ่งจะมีผลกระทบไปทั่ว ดังเช่น กฟผ.ได้รับผลกระทบจากการหยุดส่งก๊าซจากประเทศพม่า เพราะจำเป็นต้องพึ่งพาก๊าซในการผลิตไฟฟ้าเป็นหลักดังนั้น กฟผ.ต้องวางแผนรองรับสถานการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดในอนาคต จะต้องรู้จักวางแผนล่วงหน้า สร้างพันธมิตรด้านพลังงาน วางแผนสำรองในทุกด้านเพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงด้านพลังงานในประเทศ

หัวข้อ “ ผู้นำกับการสร้างทุนทางจริยธรรมในองค์กร”

โดย  คุณดนัย  จันทร์เจ้าฉาย

สิ่งที่ได้เรียนรู้ คือองค์กรที่ได้รับความเชื่อถือไว้วางใจ สามารถจะทำงานให้สำเร็จได้เร็วและมีต้นทุนต่ำ ในทางกลับกันองค์กรที่ไม่ได้รับความเชื่อถือ ไม่น่าไว้วางใจจะทำงานได้ช้าและต้นทุนสูง เพราะจะไม่มีใครกล้าร่วมมือ Purpose (เป้าหมาย) และ Passion (อุดมการณ์หรือความศรัทธา) เป็นสิ่งที่จำเป็นมากสำหรับทำให้ประสบผลสำเร็จ ดังนั้นการสร้างองค์กรที่เป็น White ocean ซึ่งมีทุนทางจริยธรรมสูงจะมีผลประกอบการดีกว่าองค์กรทั่วไป เป็นองค์กรที่มีความสุข เป็นองค์กรที่สร้างผลเชิงบวกต่อสังคมโดยรวม  ฉะนั้น กฟผ.จึงควรสร้างจุดยืนขององค์กรให้เป็น White ocean

วันที่  28  มีนาคม 2556

หัวข้อ “ ประสบการณ์การเรียนรู้ในรุ่นที่ 2 ของข้าพเจ้ากับการปรับใช้เพื่อการบริหาร กฟผ. ในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลง”

โดย  ผวก.สุทัศน์  ปัทมสิริวัฒน์

ผวก.กล่าวว่าในปัจจุบันโลกเปลี่ยนแปลงไปรวดเร็วมาก องค์กรต้องพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงตามกระแสโลกาภิวัฒน์ ขณะนี้ กฟผ. มุ่งเน้นพัฒนาบุคลกรเพื่อสร้าง กฟผ.ให้เป็นองค์กร HPO สร้างการยอมรับ เชื่อถือ ทำให้สังคมภายนอกมอง กฟผ.ด้วยความภาคภูมิใจว่ากฟผ.เป็นองค์กรมืออาชีพและมีหลักธรรมาภิบาล โดยเน้นสร้างผู้บริหารรุ่นใหม่ ให้เน้นองค็ประกอบการทำงานดังนี้

1. การทำงานต้องมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

2. การแสวงหาโอกาสในการพัฒนาธุรกิจ

3. ปรับปรุงพัฒนาในการเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรในกระบวนการต่างๆ

4. การสร้างทีมงาน

5. การสร้างและรักษาวัฒนธรรมที่ดีขององค์กร

หัวข้อ “ เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทย ผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.”

โดย  รศ.ดร.สมชาย  ภคภาสน์วิวัฒน์  อ.มนู  ศิริวรรณ  ดร.กอบศักดิ์  ภูตระกูล 

    เป็นการกล่าวถึงภาวะเศรษฐกิจโลกทั้งอเมริกา ยุโรป และเอเซีย ในปัจจุบันซึ่งส่งผลกระทบต่อประเทศในอาเซียนรวมถึงประเทศไทย  ภาวะพลังงานของโลก ที่เปลี่ยนแปลงไปจนคาดว่าเป็นปฏิวัติที่ 3 ของโลกคือGreen Energy และได้ให้ความเห็นว่า กฟผ.ควรหาแนวทางที่จะเป็นศูนย์กลางของการเชื่อมโยงเครือข่ายพลังงานไฟฟ้ากับประเทศเพื่อนบ้านอย่างไรเนื่องจากภูมิศาสตร์ที่เหมาะสม ซึ่งจะทำให้บทบาทของ กฟผ. เปลี่ยนไป และแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในอีก  3 ปีข้างหน้า ซึ่งมีโอกาสที่กำลังเปิดเพราะการรวมตัวของประเทศต่างๆ ขึ้นเป็น AEC 

หัวข้อ “TQM / SEPA : ความเป็นเลิศและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ กฟผ.”

โดย  รวห.คุณพิบูลย์  บัวแช่ม  อ.สัญญา  เศรษฐพิทยากุล  อ.นริศ  ธรรมเกื้อกูล

- เป็นการกล่าวถึงเส้นทางสู่TQM โดยใช้ EGAT WAY เพื่อให้สำเร็จตามเป้าหมายได้มีการตั้ง TQM  OFFICE ประสบการณ์การดำเนินงานTQA ของบริษัท Retail Ring และองค์กรที่อยากจะประสบความสำเร็จได้รางวัล TQA ผู้บริหารสูงสุด และผู้บริหารระดับรองทุกคน ต้องให้การสนับสนุน

- กรอบ/แนวทางการนำEGAT WAY ไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งมีข้อกำหนด 9 ข้อ เน้นเรื่อง คน (People) ระบบงาน (System) เพื่อสอดประสานให้องค์การสู่ความเป็นเลิศ (Excellent Organization)

วันที่  29  มีนาคม  2556

หัวข้อ “Blue Ocean กับการทำงานของ กฟผ.และการปรับใช้เพื่อสร้างโครงสร้างแบบนวัตกรรมของ กฟผ.”

โดย  รศ.ดร.สมชาย  ภคภาสน์วิวัฒน์

   กล่าวถึงสัดส่วนปริมาณการผลิตพลังงานไฟฟ้าของ กฟผ. ถูกกำหนดให้ลดลงจากเดิมในอดีต จากเหตุผลต่างๆ เช่น ต้นทุนการผลิตพลังงานไฟฟ้า ที่สูง หรือ กฎระเบียบที่ใช้อยู่ในองค์กรที่ไม่เอื้อให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและนโยบายรัฐบาล หากเมื่อถึงเวลาเข้าสู่ประชาคมสังคมเศรษฐกิจอาเซียนองค์กรจะได้รับผลกระทบทั้งด้านบวก และลบ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  ดังนั้น กฟผ. ควรต้องปรับมุมมองใหม่เพื่อให้องค์กรเกิดแนวคิดใหม่ๆ สร้างสิ่งที่ยังไม่มีใครคิด หรือทำมาก่อน ตามแนวคิดBlue Ocean เพื่อให้ กฟผ.สามารถเป็นองค์กรผลิต และจัดหาพลังงานไฟฟ้าชั้นนำของประเทศ กฟผ. อาจต้องปรับBusiness Model เพื่อรองรับธุรกิจใหม่ๆ และเน้นการทำ Business innovation และต้องพัฒนาทีมงานด้านนี้ขึ้นมาอย่างเป็นรูปธรรม

หัวข้อ “High  Performance Organization ที่ กฟผ..”

โดย  ดร.สมโภชน์  นพคุณ  คุณสมชาย  ไตรรัตนภิรมย์

  กล่าวถึง กฟผ.เป็นองค์กรที่มีผู้ปฏิบัติงาน ที่เป็น คนเก่ง คนดี มีเครือข่าย และทำงานอย่างมีความสุข ซึ่งสามารถจะช่วยให้องค์กรเป็นHigh Performance Organizationได้ง่าย และเร็วขึ้น ดังนั้นผู้บริหารองค์กรต้องสนับสนุน และส่งเสริม ให้ผู้ปฏิบัติงาน เช่น การสร้างบรรยากาศการทำงานให้เอื้อต่อการเป็นคนเก่ง คนดี หรือ การให้โอกาสคนเก่ง คนดี ได้ทำงานมากขึ้น รวมทั้งการสนับสนุน ส่งเสริม และรักษาไว้ สำหรับผู้ปฏิบัติงานที่ช่วยองค์กรในเรื่องHigh Performance Organization และ

กฟผ.ต้องพยายาม  Apply เกณฑ์ TQA/SEPA  และมีการ Implement ให้ได้ตามเกณฑ์ ผู้นำต้องเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการ Lead องค์กร ต้องสร้าง Excellenceในทุกด้านโดยเริ่มจาก Core หลักขององค์กรก่อน เช่นOperational excellence  ปรับองค์กรให้เป็น Dynamic organization


สรุปบทความจากหนังสือพิมพ์

  1. Shared Destiny

จีนจะยกระดับความสัมพันธ์กับประเทศในทวีปอัฟริกาให้มีความเป็นเอกภาพและมีความร่วมมือกันมากยิ่งขึ้น ด้วยการสนับสนุนกันและกันในหัวข้อหรือประเด็นที่มีความสนใจร่วมกัน ผ่านวิธีการ ดังนี้

-  ฝึกอบรมและให้ทุนการศึกษากับประเทศต่างๆ ในทวีปอัฟริกา

-  เพิ่มการถ่ายโอนเทคโนโลยีและแบ่งปันเทคโนโลยีต่างๆ ร่วมกัน

-  ให้ความเสมอภาคกับทุกประเทศในอัฟริกา โดยไม่คำนึงถึงความร่ำรวย หรือจุดแข็งต่างๆ

  1. Global Force

เป็นการจับมือกันของ 5 ประเทศได้แก่ จีน บราซิล รัสเซีย อินดัย และอัฟริกาใต้ (BRICS) 

-  เพิ่มความร่วมมือกันทางเศรษฐกิจ แก้ปัญหาข้อขัดแย้งในการซื้อสินค้าระหว่างกัน

-  ก่อตั้งธนาคารเพื่อสนับสนุนทางการเงินในการลงทุนก่อสร้างโครงการพื้นฐานต่างๆ

  เป็นการเพิ่มสภาพคล่องในระยะสั้น และสร้างสเถียรภาพทางการเงินในระยะยาว

  1. Mutual Opportunities

การพบปะระหว่างผู้นำจีนกับรัสเซีย เพื่อสอดประสาน และร่วมมือในการพัฒนาสิ่งต่างๆ ร่วมกัน

-  รักษาความเข้มแข็งทางกลยุทธ์ และเพิ่มความร่วมมือกันทางเศรษฐกิจ

-  ขยายความสัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างกัน ผ่านเยาวชนของทั้งสองประเทศ 


เรียน อ.จีระ หงส์ลดารมภ์

วันที่ 26 มีนาคม 2556

นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน (Social Innovation) กับการทำงานของ กฟผ.

โดย  ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญาพฤทธิ์, ดร.เสรี พงศ์พิศ, คุณศานิต นิยมาคม, คุณสุทธิเดช สุทธิสมณ์

ประโยชน์ที่ได้รับ/เรียนรู้

  การสร้างวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน (Social Innovation) ต้องทำอะไรใหม่ๆ มีความคิดสร้างสรรค์ และต้องมีการเรียนรู้

-  การดูแลสังคมเป็นหน้าที่ของทุกคน เราทิ้งสังคม สังคมทิ้งเรา

-  มีความจริงใจ

-  ทำเรื่องธรรมดาให้เป็นเรื่องวิเศษ เช่น สอนทำอาชีพ

-  ให้ความคุ้นเคย เข้ากับชุมชน

-  ต้องทำตัวให้เนียน ในการเป็นมิตรภาพกับชุมชน

จุดอ่อนของ กฟผ.

-  มีวัฒนธรรมองค์กรที่เป็นทางการเกินไป

-  กฟผ. ทำทิ้ง ทำขว้าง ไม่อธิบายเมื่อเจอปัญหา

-  กฟผ. เน้นทางเทคนิค

วันที่ 26 มีนาคม 2556

เทคนิคการสื่อสารกับการสื่อสารมวลชน

โดย   ดร.พจน์ ใจชาญสุขกิจ

ประโยชน์ที่ได้รับ/เรียนรู้

  กลยุทธ์การสื่อสารกับการสื่อสารมวลชน ต้องมีความรู้ ความเข้าใจ เช่น

·  ต้องเข้าใจหน้าที่สื่อ

·  การบริหารจัดการประเด็น

-  Corporate Image (เกี่ยวกับองค์กร วิสัยทัศน์ การดูแลชุมชน)

-  Business Image (ภารกิจองค์กร)

-  Brand Image (เป้าหมายเชิงผลลัพธ์)

·  ช่องทางการเผยแพร่

  - หนังสือพิมพ์, นิตยสาร เน้นการวิเคราะห์เนื้อหา

  - โทรทัศน์ Keyword อยู่ที่ 30 วินาทีแรก

  - วิทยุ ทุกที่, ทุกเวลา

  - สำนักข่าวต่างประเทศ เป็นข้อมูล World Wide/ชัดเจนมีผลกระทบในระดับภูมิภาคได้

  - Online/New & Social Media

  - บุคคล ผู้นำทางความคิด

·  คุณลักษณะของสื่อ

·  ข้อมูล ต้องมีความพร้อม โปร่งใส น่าเชื่อถือ

·  มีการวิเคราะห์ผู้ฟัง

ความสำเร็จในการสื่อ

  “It’s not how well we Communicate, but how well they are Understood”

-  Update ข้อมูลผู้มีส่วนได้เสีย

-  ศึกษาขบวนการทำงาน รู้จักใครให้จริง

-  อย่ามีประเด็นเยอะ

-  ตรวจสอบความเข้าใจ

-  มีปฏิสัมพันธ์, ใกล้ชิด และคุ้นเคย

-  การสร้างเครือข่าย

-  การมีสัมพันธภาพอย่างเพื่อน

-  ความจริงและความเชื่อถือ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุด

-  สม่ำเสมอ

-  ความจริงใจ

วันที่  26 มีนาคม 2556

Managing Self Performance

โดย   อ.อิทธิภัทร ภัทรเมฆานนท์

  การเป็น The Best ต้องเปรียบเทียบกับคนอื่น แต่การเป็น Great Person เราเป็นได้ด้วยตนเอง คนเราจะประสบความสำเร็จได้ ต้องรู้จักสำรวจตัวเอง มีเป้าหมาย ลงมือปฏิบัติ และต้องทำให้บรรลุเป้าหมาย

  การรู้จักก้าวข้ามจากจุดที่อยู่ สู่จุดที่ต้องการ ต้องมีความรับผิดชอบชีวิตตนเอง

  เหตุการณ์ (ห) + การตอบสนอง (ต)  =  ผลลัพธ์ (ผ)

  หากยังไม่พอใจในผลลัพธ์ในปัจจุบัน มี 2 ทางเลือก คือ โทษเหตุการณ์ที่ทำให้ไม่เกิดผลลัพธ์ หรือเปลี่ยนการตอบสนองต่อเหตุการณ์อย่างที่เป็นอยู่จนกว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ

  ความรู้ที่ได้สามารถนำไปปรับใช้ในการทำงานการวางกลยุทธ์เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายองค์กร

  นายวีระ วิสุทธิ์

  ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรมแหล่งพลังงาน

   สายงานเชื้อเพลิง

สรุปบทความจากหนังสือพิมพ์

Xi highlights bonds of ‘shared destiny’

ประเทศจีนพยายามกระชับ และขยายความสัมพันธ์กับประเทศในแอฟริกาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแสดงให้เห็นได้จากการเปรียบเปรยความสัมพันธ์ครั้งนี้ในสุนทรพจน์ว่า “การมีพรหมลิขิตร่วมกัน” ซึ่งความสัมพันธ์มีความเน้นแฟ้นมากยิ่งขึ้น เขาเป็นผู้นำจีนที่ไปเยือนประเทศในแอฟริกาอย่างสม่ำเสมอ เขาให้ความช่วยเหลือประเทศในแอฟริกาอย่างต่อเนื่อง โดยกล่าวว่าไม่มีเงื่อนไขทางการเมืองใดๆ มูลค่าการค้าระหว่างจีนและแอฟริกาสูงถึง 200,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และจีนจะให้วงเงินกู้ยืมมูลค่า 20,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ไปยังประเทศในแอฟริการะหว่างปี 2013-2015 รวมถึงให้ความช่วยเหลือในการฝึกอาชีพ พัฒนาการศึกษา และโครงสร้างพื้นฐาน จีนในความเสมอภาคในทุกประเทศในแอฟริกา และพร้อมที่จะร่วมพัฒนาเศรษฐกิจร่วมกันในอนาคต โดยยึดถือความต้องการพื้นฐานที่เกิดจากประชาชนในประเทศนั้นๆ เพื่อก่อให้เกิดความร่วมมือแบบมีชัยชนะร่วมกัน และเคารพซึ่งสิทธิของกันและกัน บนพื้นฐานของรูปแบบการปกครองประเทศนั้น

Grouping on track to be ‘global force’

การรวมกลุ่มกันของประเทศที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ซึ่งประกอบด้วย ประเทศบราซิล, รัสเซีย, อินเดีย, จีนและแอฟริกาใต้ (Brazil, Russia, India, China and South Africa) เพื่อความร่วมมือ และช่วยเหลือกันทางด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ การรวมกลุ่มนี้ เกิดขึ้นเมื่อ 5 ปีที่แล้ว และกำลังพัฒนาเชื่อมความสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่อง ผู้นำจีนให้การสนับสนุนแก่ผู้ประกอบการจีน เพื่อการลงทุนในประเทศของกลุ่ม BRICS และต้อนรับต่อการลงทุนในจีนเองด้วย เขาเน้นย้ำให้เกิดการร่วมมือกันอย่างจริงจัง เพื่อสร้างกลุ่มเศรษฐกิจใหม่ของโลกขึ้น โดยยึดถือความเท่าเทียมกันในทุกประเทศ พร้อมทั้งเรียกร้องให้มีการประชุมร่วมกันของผู้นำประเทศในกลุ่มสมาชิก รวมถึงการก่อตั้ง สภาเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เพื่อการประสานงานร่วมกัน ในการประชุมนี้ ยังมีการลงนามในข้อตกลงร่วมกัน เพื่อจัดหาเงินทุนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของแต่ละประเทศ และร่วมกันสร้างกลุ่มเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วย

นอกจากนี้ ยังมีมติให้ร่วมกันสร้างธนาคารเพื่อการพัฒนาร่วมกัน ในการจัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อใช้ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงจัดตั้งกองทุนสำรองระหว่างประเทศไว้ เพื่อป้องกันผลกระทบระยะสั้นจากการรวมกลุ่มกันด้วย

Creating mutual opportunities

ประธานาธิบดีของจีน กล่าวถึงการพัฒนาความสัมพันธ์ต่อรัสเซียว่าเป็นการร่วมมือกัน เพื่อสร้างโอกาสที่สำคัญในอนาคต ในการพบกันนี้เขายังได้ลงนามในข้อตกลงกันเพื่อพลังงาน และข้อตกลงอื่นๆ เขาให้ความสนใจต่อการร่วมมือกันในระดับนานาชาติ เพื่อการเชื่อมโยงกันทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะเป็นแนวโน้มของการพัฒนาในอนาคต และเน้นย้ำว่าการเผชิญหน้าต่อกัน ในรูปแบบของสงครามเย็น และการแข่งขันที่ไร้จุดหมาย จะมีเกิดขึ้นอีกต่อไป การปกครองภายในประเทศใดๆ ควรมาจากการบริหารงานของรัฐบาลและประชาชนประเทศนั้นๆ ไม่ควรเกิดการแทรกแซงกันระหว่างประเทศ ซึ่งนานาชาติจะสามารถช่วยเหลือได้เพียงการเจรจาต่อรองระหว่างรัฐบาลและประชาชนเท่านั้น ความสัมพันธ์ระหว่างจีนและรัสเซียนี้ ไม่เพียงเพื่อผลประโยชน์เท่านั้น แต่ยังเพื่อสร้างความสมดุลทางยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศ และความสงบสุขด้วย ความร่วมมือกันและสืบสานความสัมพันธ์กันควรมีอย่างต่อเนื่อง และสืบทอดไปยังรุ่นต่อรุ่น จีนและรัสเซียมีความสัมพันธ์ที่แนบแน่นมายาวนาน และผ่านวิกฤตร่วมกันมาตลอด ซึ่งยังคงแสดงให้เห็นจากการเชิญให้ไปเยือนกระทรวงกลาโหมรัสเซีย และถือเป็นการแสดงความเชื่อใจอย่างลึกซึ้ง 


เรียน   อ.จีระ หงส์ลดารมภ์

วันที่ 27 มีนาคม 2556

ธรรมาภิบาลของ กฟผ.

โดย  คุณไกรสีห์ กรรณสูต, คุณสมบัติ ศานติจารี, อ.ธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์

ประโยชน์ที่ได้รับ/เรียนรู้

ธรรมาภิบาล การบริการกิจการที่ดี สร้างผู้นำที่รู้สึกตระหนักในธรรมาภิบาล

การบริหารกิจการต้องเปลี่ยนไปตามบริบทของโลก ซึ่งการบริหารแบบเก่า คือ การบริหารงานแบบรวมศูนย์อำนาจ มีการตรวจสอบทุกขั้นตอนเพื่อให้มีประสิทธิภาพ และเป็นมาตรฐานเดียวกัน ไม่มองลูกค้าต่าง จากปัจจุบัน เน้นการมีส่วนร่วมใช้คนเป็นศูนย์กลาง

ผู้นำต้องรู้สึกตระหนักในธรรมาภิบาล ต้องสร้างการเรียนรู้ ตระหนักการเรียนรู้ด้วยตนเอง

การบริหารบนข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วน ก่อนการตัดสินใจ

การบริหารกิจการที่ดี ต้องมีความงซื่อสัตย์ สุจริต

การบริหารกิจการที่ดี ต้องทำตามกฎ ระเบียบ

จุดอ่อนของ กฟผ.

-  การสื่อสารทำความเข้าใจ

-  การเปิดเผยข้อมูล แบบกระชั้นชิดทำให้ประชาชน/ผู้มีส่วนได้เสียต้องยอมรับตามนั้น

-  เป็นองค์กรใหญ่ อุ้ยอ้าย

-  การจะพัฒนาได้อย่างยั่งยืนต้องทำด้วยใจ

-  กฟผ. เปลี่ยนแปลงช้ากว่า การเปลี่ยนแปลงภายนอก

วันที่ 27 มีนาคม 2556

เศรษศาสตร์พลังงาน

บทสัมภาษณ์ อ.มนูญ ศิริวรรณ

ความรู้ที่ได้รับ/ประโยชน์

-  ให้ทราบถึงเศรษฐกิจโลกปี 2013 ซึ่งมีแนวโน้มชะลอตัว เนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจไซปรัส และยุโรป สหรัฐยังไม่เข้มแข็งเท่าที่ควร

-  จีน ไม่สามารถเร่งอัตราการขยายตัว

-  Shale oil และ Shale gas เป็นการขุดเจาะในระดับลึกกว่าการขุดเจาะน้ำมัน ซึ่งต้องใช้เทคนิคชั้นสูงพบมากใน สหนัฐอเมริกา ซึ่งผลิตได้ 7 ล้านบาร์เรลต่อวัน

-  การเตรียมความพร้อมสู่ AEC 2015 ไทยตั้งอยู่ศูนย์กลางอาเซียนต้องเตรียมตัวด้านโครงสร้างพื้นฐานการขนถ่ายสินค้า การคมนาคมขนส่ง ท่าเรือ สนามบิน, เตรียมความพร้อมด้านบุคคลากรและเป็น HUB ด้านพลังงานทดแทน

-  กฟผ. กับการผลิตไฟฟ้าในอนาคต ก็มีการปรับองค์กรให้เป็นที่ไว้วางใจกับประชาชน

-  กฟผ. ต้องแสดงให้เห็นว่าการสร้างโรงไฟฟ้าดำเนินอย่างโปร่งใส ประชาชนมีส่วนร่วมในระดับขุมชนและได้รับประโยชน์กับการสร้างโรงไฟฟ้า

วันที่ 27 มีนาคม 2556

ผู้นำกับการสร้างทุนทางจริยธรรมในองค์กร

โดย  อ.ดนัย  จันทร์เจ้าฉาย

ความรู้ที่ได้รับ/ประโยชน์

  ผลขององค์กรที่มีจริยธรรมสูง เป็นองค์กรกำไรดี ผลประกอบการดี

  - เป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูงกว่าองค์กรอื่น

  - เป็นองค์กรที่มีความสุข

  - เป็นองค์กรที่มีความคิดสร้างสรรค์

  - เป็นองค์กรที่มีความยั่งยืน

  การมุ่งสู่ความสำเร็จตามเป้าหมาย ต้องคิด 1% พูด 4% และลงมือปฏิบัติ 95%

  ผู้นำที่มุ่งสู่ความสำเร็จต้องมีกัลยาณมิตรเป็นคนช่างสังเกตุและโปร่งใส

นายวีระ วิสุทธิ์

ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรมแหล่งพลังงาน

สายงานเชื้อเพลิง


นายภูวดา ตฤษณานนท์

สรุปบทความจากหนังสือพิมพ์

Grouping on track to be “global force”, creating mutual opportunities และ Xi highlights bonds of “shared destiny” จากสามหัวข้อนี้ชี้ให้เห็นถึงการดำเนินนโยบายต่างประเทศของจีนเพื่อเป็นมหาอำนาจและพยายามสร้างสมดุลทางขั้วอำนาจของโลก โดยไม่ยอมให้ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นมหาอำนาจแต่เพียงผู้เดียว

ในหัวข้อแรก Grouping on track to be “global force” จีนซึ่งเป็น 1 ในประเทศสมาชิกกลุ่ม BRICS (บริกส์) ซึ่งประกอบด้วย บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และ ประเทศแอฟริกาใต้ ตามลำดับตัวอักษร กลุ่ม BRICS นั้นได้ถูกขนานนามว่าเป็นประเทศมหาอำนาจใหม่มารวมตัวเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การเงิน เป็นต้น โดยในการประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมของกลุ่มครั้งที่ 5 โดยมีประเทศแอฟริกาใต้เป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุมดังกล่าว ในการประชุมนั้นได้พูดคุยกันถึงประเด็นในการตั้งคณะกรรมมาธิการทางด้านธุรกิจของกลุ่มซึ่งจะทำหน้าที่คล้ายกับองค์การองค์การการค้าระหว่างประเทศ (WTO; World Trade Organization) คือ ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยกรณีพิพาททางด้านการค้า การพาณิชย์ระหว่างประเทศสมาชิก นอกจากนี้ยังกล่าวถึงการขยายการลงทุนของประเทศสมาชิกในทวีปแอฟริกา และ มีความคิดที่จะจัดตั้งธนาคารเพื่อการพัฒนาของประเทศสมาชิกทั้ง 5 อีกด้วย

ในหัวข้อที่ 2 creating mutual opportunities ในหัวข้อนี้ได้กล่าวถึงการกระชับสัมพันธ์กับประเทศรัสเซียเป็นหลักโดยได้มีการเซ็นข้อตกลงทางด้านการทำธุรกิจทางด้านพลังงานซึ่งจีนคือผู้บริโภคพลังงานรายใหญ่และในทางเดียวกันรัสเซียคือผู้ส่งออกพลังงานน้ำมันรายใหญ่เช่นกัน ในการเยือนของประธานธิบดี สี จิ้นผิง ของจีนที่รัสเซียครั้งนี้จะเป็นการบ่งบอกให้โลกรู้ว่าจีนกำลังจะก้าวไปเป็นมหาอำนาจแทนที่สหรัฐอเมริกา โดยใช้วิธีการสร้างสัมพันธ์กับประเทศรัสเซียเพื่อถ่วงดุลอำนาจของสหรัฐฯ นอกจากนี้ ปธน. สี จิ้นผิง ยังได้กล่าวถึงเรื่องการละเมิดอำนาจอธิปไตยของรัฐโดยการแทรกแทรงจากภายนอกเป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำอย่างยิ่ง โดยการแทรกแซงการเมืองภายในของประเทศอื่นนั้นสามารถทำได้มากที่สุดก็แค่เพียงการเจรจาไกล่เกลี่ยเท่านั้น ซึ่งคำพูดนี้ถือเป็นการสื่อถึงและเสียดสีประเทศสหรัฐฯที่ชอบแทรกแซงกิจการภายในประเทศอื่นๆ นอกจากความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ยุทธศาสตร์ และ ความมั่นคงแล้วนั้น ผู้นำจีนและผู้นำรัสเซียยังได้กระชับความสัมพันธ์ทางด้านสังคมกล่าวคือ มีโครงการให้เยาวชนของทั้งสองประเทศได้มีโอกาสกระชับความสัมพันธ์การมากขึ้นอีกด้วย

ในหัวข้อที่ 3 Xi highlights bonds of “shared destiny” ปธน.สี จิ้นผิง ของจีนได้กระชับสัมพันธ์กับประเทศในทวีปแอฟริกามากขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายในการขยายตลาดและการลงทุนในทวีปแอฟริกา เนื่องจากแอฟริกายังมีทรัพยากรที่ไมได้ใช้เยอะเพราะไม่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย จีนเห็นช่องทางจึงเข้ากระชับสัมพันธ์กับหลายๆประเทศในทวีปโดยให้ความช่วยเหลือด้านต่างๆ เช่น การศึกษา เทคโนโลยี เป็นต้น

นายภูวดา ตฤษณานนท์

สรุปการบรรยาย โดยทีมวิชาการ Chira Academy

วันที่ 28 มีนาคม 2556

Panel Discussion หัวข้อเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทย...ผลกระทบและการปรับตัวของกฟผ.

โดย รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

อาจารย์มนูญ ศิริวรรณ

ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล

ดำเนินการอภิปราย โดย อาจารย์ทำนอง ดาศรี

รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

·  ปีนี้เศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้น

·  เศรษฐกิจอเมริกาเริ่มฟื้น ตั้งแต่ 5 เดือนก่อนถึงปลายปีที่แล้ว เพราะมันตกมาตั้งแต่ปี 2550 อสังหาริมทรัพย์ฟื้น

·  เศรษฐกิจยุโรป มีโอกาสจะพัง 30-40% ยูโรผลตอบแทนลดลง

·  ปีที่แล้ว เศรษฐกิจจีนแย่ เป็นครั้งแรกในรอบ 24 ปี ตอนนี้ เศรษฐกิจจีนเริ่มฟื้นเพราะแรงกระตุ้น

·  เศรษฐกิจญี่ปุ่นดีแต่ยังไม่ฟื้น

·  สหรัฐอมริกากับยุโรปเกิดวิกฤติเพราะ uncharted course มีหลายอย่างเปลี่ยนแปลง

·  AEC ทำให้คนมาลงทุนในอาเซียนมาก

·  หนังสือ The Next กล่าวว่า เรากำลังเข้าสู่โลกที่อันตรายที่สุดเพราะภูมิประเทศเปลี่ยนแปลงและภาวะโลกร้อน จะแก้ได้ ศ.ไมเคิล สเปนส์ บอกว่าต้องใช้ Third Industrial Revolution ใช้Alternative Energy & IT เพื่อลดภาวะโลกร้อน เพราะ Second Industrial Revolution ใช้พลังงานฟอสซิล จะทำให้ตายทั้งโลก

·  อีกวิธีแก้ภาวะโลกร้อน อเมริกากับจีนต้องเสียสละยอมติดลบด้านอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจหลายปี เขาไม่ยอม

·  ข้อตกลงโตเกียวไม่สำเร็จ น้ำแข็งขั้วโลกละลายต่อเกิดน้ำท่วม โลกร้อนขึ้น อีก 15 ปีข้างหน้า ประชากรโลกเพิ่ม 1 พันล้านคน 15 ปีต่อจากนั้น 8 พันล้านคน อีก 15 ปี 9 พันล้านคน

·  ปี 1997 คนบอกว่าอัตราแลกเปลี่ยนไม่เปลี่ยนแปลง ผมอยู่ในกรรมการ LPN เตือนให้ป้องกันความเสี่ยง

·  ในกรณีจีน จะมีความเสี่ยงในอีก 10 ปีหน้าความเสี่ยงคือ

1.จีนเคยมีอัตราการเติบโตเป็นเลข 2 หลักมาตลอด ความสามารถในการแข่งขันของจีนที่พึ่งแรงงานต้นทุนต่ำกำลังจะหมดไปเพราะเจริญขึ้น รายได้ต่อหัวสูงขึ้น ค่าแรงสูงขึ้น ต้องพึ่งการศึกษาพัฒนาสินค้าระดับล่างขึ้นไประดับกลาง จีนต้องปรับโครงสร้างเพราะค่าจ้างสูงขึ้น มีผลกระทบต่อการส่งออก

2.จีนต้องเปิดประเทศเพราค่าเงินหยวน จำเป็นต้องเชื่อมโยงกับไทย ถ้าไม่เชื่อมโยงจะมีปัญหาความสามารถในการแข่งขัน ตอนนี้สหรัฐอเมริกาเปิดเขตการค้าเสรีกับยุโรปเพื่อไล่ล่าจีน

จีนจะถูกกดดันเพราะขาดดุลบัญชีเดินสะพัดหลายทาง

จีนต้องแปรรูปรัฐวิสาหกิจซึ่งล้าหลังมาก จีนต้องปรับโครงสร้างภายในเพราะการส่งออกถูกกระทบ

·  เหตุการณ์ของจีนมีผลต่อไทยเพราะ

1.จีนเป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ของไทย ญี่ปุ่นลงทุนเป็นอันดับหนึ่งในไทย และจีนลงทุนเป็นอันดับสองในไทย

2.นักท่องเที่ยวจีนมาเที่ยวไทยเป็นอันดับ 1

3.ถ้าจีนมีปัญหา อาเซียนทุกประเทศจะได้รับผลกระทบ จีนจะไล่ล่ามากขึ้นด้วย ที่ไม่มีปัญหาเพราะเราเกาะกลุ่มกันแน่น

·  AEC เกิดจาก AFTA เปิดเสรีสินค้า บริการ แรงงาน ทำมห้เราหลบจากภัย นี่เป็นสาเหตุให้คนมาลงทุน

·  จากวันนี้ไป ไทยจะมีการเปลี่ยนแปลง

·  อาเซียนจะขยายแบบ Deepening and Widening

·  มีอาหารลูกผสมมากขึ้น

·  ปี 1993 เรามี AFTA มีการเปิดเสรีสินค้า 6 ประเทศอาเซียนเดิม

·  เวลาทำเขตการค้าเสรีกำแพงภาษีเหลือศูนย์

·  ใน 6 ประเทศอาเซียน มีการค้าขายกันเองมากขึ้น

·  เกิดการแปลงสัญชาติเป็นสินค้าที่ผลิตในอาเซียน

·  ประชากรเพิ่มถึง 600 ล้านคน

·  BOI ต้องปรับ คนย้ายฐานไปลาว เวียดนาม

·  ต้องให้คนไทยทำสิ่งทอระดับกลาง

·  ต้องมีการเปิดเสรีเงินทุน บริการ แรงงาน

·  มีประเทศในอาเซียน +3+6 เอเปค อาเซพ มาเกี่ยวข้อง จึงได้ภาษี 0 เมื่อมาค้ากับอาเซียน

·  ต้องเข้า TPP (Trans-pacific Partnership) ทำให้ประเทศในกลุ่ม ภาษีเหลือ 0

·  North-South Economic Corridor ยูนนาน เชียงราย กรุงเทพ อินโดนีเซีย

·  East-West Economic Corridor เว้ ดานัง ลาว พิษณุโลก ประเทศกลุ่มบิมสเทค

·  South-south Economic Corridor เกาะกงเสียมเรียบ

·  ทำให้เกิดเขตเศรษฐกิจพิเศษ

·  การบริหารพลังงานคิดหนัก มีอันตราย NGOs ต้องป้องกันความเสี่ยง

·  ถ้าจีนมีปัญหา ความฝันก็ดับ

·  ระยะยาว มีทั้งรุ่งโรจน์และเสี่ยง

อาจารย์ทำนอง ดาศรี

·  หุ้นสูงขึ้นเพราะต่างประเทศเข้ามา และได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน

·  เราต้องมีปฏิวัติอุตสาหกรรมรุ่น 3

อาจารย์มนูญ ศิริวรรณ

·  ระยะหลัง องค์กรใหญ่ของไทยที่ทำงานเกี่ยวข้องประชาชน เป็นเป้าถูกโจมตี

·  มีวิกฤติหนี้สาธารณะในยุโรป วันนี้ธนาคารไซปรัสจะเปิดทำการวันแรก ธนาคารกลางไซปรัสกำหนดว่าถอนเงินได้ไม่เกิน 300 ยูโร ห้ามใช้เช็ค ไปต่างประเทศใช้เงินได้ไม่เกิน 5,000 ยูโร

·  นอกจากวิกฤติการเงิน ยังมีวิกฤติความยากจน สิ่งแวดล้อม ภัยธรรมชาติ วิกฤติการจัดหาพลังงานให้เพียงพอ

·  ความต้องการพลังงานของประเทศนอก OECD จะมากขึ้น ความสำคัญประเทศพัฒนาแล้วน้อยลง

·  จากรายงาน IEA เปิดเผยว่า

·  จะมีการเปลี่ยนแปลงปัจจัยพื้นฐานพลังงานโลก

·  จะลดการใช้พลังงานนิวเคลียร์

·  สหรัฐจะผลิตก๊าซธรรมชาติได้มากขึ้น ราคาถูกเพราะไม่ผูกกับราคาน้ำมัน ต่างจากที่อื่น

·  ในเอเชียสูงกว่า 8 เท่า ในยุโรป สูงกว่า 5 เท่า ต้องมีการปรับเปลี่ยน

·  มีการอุดหนุนพลังงานฟอสซิลมาก พบในภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกา เพื่อประชาชนไม่เกิดปัญหา

·  ทำให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ อุตสาหกรรมพลังงานทดแทนแข่งขันไม่ได้

·  การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 3 ต้องใช้พลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

·  ประชาชนยังไม่มีไฟฟ้าใช้เพียงพอ

·  ปี 1975 OECD ต้องการพลังงานสูงมาก จีนยังต้องการพลังงานน้อย

·  ปี 2035 จีนประเทศเดียวจะต้องการพลังงานมากเท่ากับ OECD

·  อิรักจะผลิตน้ำมันแซงหน้าซาอุดิอาระเบีย จะมีบทบาทในตลาดน้ำมันมากขึ้น

·  น้ำมันจากตะวันออกกลางไปจีนมากที่สุด รองลงมาเป็นอินเดีย ในอนาคตสหรัฐไม่ต้อพึ่งพาน้ำมันจากตะวันออกกลาง และอาจเป็นผู้ส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ

·  ต่อไปก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยจะลดลงเหลือ 2 พันล้านลูกบาศก์ฟุตใน 10 ปีข้างหน้า

·  จีนมีสัดส่วนการใช้พลังงานในการผลิตไฟฟ้าที่สมดุลมาก

·  อินเดียพึ่งถ่านหิน ก๊าซ พลังงานหมุนเวียน

·  ยุโรป พึ่งพาก๊าซพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น

·  ประเทศกำลังพัฒนาต้องการพลังงานคิดเป็น 70% ของโลก

·  ต้องพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนให้ถูกลงและรัฐต้องสนับสนุน

·  ในภาคอุตสาหกรรม ได้ทำการประหยัดพลังงานไปแล้ว

·  ภาพรวมพลังงานในอนาคต ยังพึ่งพาน้ำมันใช้มากที่สุด แต่อัตราเพิ่มมีน้อย ก๊าซธรรมชาติเป็นที่ 2 แต่อัตราเพิ่มมาก รองลงมาเป็นถ่านหิน พลังงานหมุนเวียน

·  เป็นผู้นำเข้าพลังงานสุทธิ (net importer)

-  มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

·  ทรัพยากรธรรมชาติด้านพลังงานมีจำกัด มีแต่จะหมดไปและหาทดแทนได้ยากขึ้น

-  ก๊าซธรรมชาติอ่าวไทยมีแนวโน้มจะหมดไปในอีกไม่เกิน 15-18 ปีข้างหน้า

-  ควรจะใช้อย่างประหยัดและมีคุณค่ามากที่สุด เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังมีโอกาสได้ใช้ประโยชน์บ้าง

·  ประเทศชาติต้องสูญเสียเงินตราต่างประเทศอย่างมหาศาลในการนำเข้าพลังงาน

-  ปึละ 1-1.2 ล้านล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าเพื่อการบริโภค

·  ประสิทธิภาพในการใช้พลังงานของไทยยังไม่ดีพอ

-  เราบริโภคพลังงานสูงเป็นอันดับสองในกลุ่มอาเซียนรองจากอินโดนีเซีย

-  ทั้งๆที่เรามีจำนวนประชากรเป็นอันดับสี่ในกลุ่มอาเซียน (อินโดนีเซีย/ฟิลิปปินส์/เวียตนาม)

-  สัดส่วนการบริโภคพลังงานของคนไทยต่อ GDP สูงกว่าทุกประเทศในกลุ่มอาเซียน

-  และสูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลก

·  มีความเสี่ยงสูงในการต้องพึ่งพาพลังงานจากภายนอกประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ

-  โดยเฉพาะจากประเทศเพื่อนบ้าน

-  ทั้งก๊าซธรรมชาติและไฟฟ้า

·  นำเข้าก๊าซธรรมชาติเพิ่มจาก 21% ในปัจจุบันเป็น 52% ในปีพ.ศ. 2573

-  เริ่มนำเข้าก๊าซธรรมชาติอัดเหลว (LNG) ตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป

-  ในระคับ 5 ล้านตัน/ปี และเพิ่มเป็น 30.2 ล้านตัน/ปี ในปีพ.ศ. 2573

-  นำเข้าก๊าซ LPG จาก 1.8 ล้านตัน/ปี เป็น 8 ล้านตัน/ปี ในปีพ.ศ. 2573

-  นำเข้าไฟฟ้าจากประเทศพื่อนบ้านเพิ่มจาก 3% เป็น 21% ในปีพ.ศ. 2573 (สูงกว่า15%ในแผนPDP)

-  ล่าสุดรมว.พลังงานสั่งการให้ปรับแผนซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านเพิ่ม

-  พม่า: จาก 1,500 MW เป็น 10,000 MW

-  ลาว: จาก 7,000 MW เป็น 10,000 MW

-  มากกว่าที่กำหนดไว้ในแผน PDP 2010 Rev.3 ที่ให้ซื้อไฟจากประเทศเพื่อนบ้าน 6,572 MW

-  เนื่องจากปรากฏการณ์ NIMBY

·  ผลกระทบและความเสี่ยง

·  รายจ่ายด้านพลังงานของประเทศจะขยายตัวในอัตราที่สูงกว่าการขยายตัวของรายได้ของประเทศ

-  ทำให้ฐานะทางเศรษฐกิจและการคลังของประเทศอ่อนแอลง

-  อาจขาดดุลทั้งการค้า/ดุลการชำระเงิน/และขาดดุลงบประมาณในอัตราสูง

·  การพึ่งพาการนำเข้าพลังงานในระดับสูง ทำให้พลังงานมีราคาแพง

-  ค่าไฟฟ้าฐานอาจขึ้นไปถึง 5-6 บาท/หน่วยในปีพ.ศ. 2573

-  จากการนำเข้า LNG และใช้พลังงานหมุนเวียนในการผลิตไฟฟ้า

·  อุตสาหกรรมปิโตรเคมีซึ่งสร้างรายได้ให้กับประเทศจะขาดแคลนวัตถุดิบในอนาคต

-  ประมาณ 36 ล้านตัน (ปีพ.ศ. 2562-2573)

-  สูญเสียรายได้ประมาณ 2 ล้านล้านบาท

-  ต้องเปลี่ยนจาก Gas Base เป็น Liquid Base

-  ทำให้ความสามารถในการแข่งขันลดลง จนอาจต้องย้ายฐานการผลิตหรือเลิกกิจการ

-  มูลค่าธุรกิจภาคปิโตรเคมีต่อเศรษฐกิจไทยสูงถึง 700,000 ล้านบาทต่อปี

-  กระทบการส่งออกซึ่งติดอันดับ 3 ของประเทศ และการจ้างงานมากกว่า 3 แสนคน

·  การพึ่งพาพลังงานชนิดเดียวในการผลิตไฟฟ้ามากเกินไป และพึ่งพาการนำเข้าในอัตราที่สูง

-  ทำให้มีความเสี่ยงต่อการที่จะเกิดไฟฟ้าดับเป็นบริเวณกว้าง (Black Out) สูงมาก

·  การพึ่งพาประเทศเพื่อนบ้านในด้านพลังงานมากจนเกินไป

-  ทำให้ขาดความเป็นอิสระในการดำเนินนโยบายด้านการเมืองระหว่างประเทศ

·  ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไม่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ด้านพลังงาน

·  นโยบายโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์ไทยในช่วง 50 ปีผ่านมา

-  เน้นการพัฒนาระบบคมนาคมทางถนนมากจนเกินไป

-  ละเลยระบบขนส่งมวลชนที่ขนคนได้ในปริมาณมากๆ สะดวกและรวดเร็ว

-  ไม่สนับสนุนระบบขนส่งทางราง ปล่อยให้ดำเนินการอย่างไร้ประสิทธิภาพ

-  ไม่พัฒนาการขนส่งทางน้ำที่มีต้นทุนที่ต่ำกว่า

-  ไม่ส่งเสริมให้มีการขนส่งระบบท่อที่มีประสิทธิภาพสูง ลดการสูญเสีย และอุบัติเหตุ

·  ส่งผลให้ต้นทุนด้านโลจิสติกส์ต่อ GDP ของไทยสูงถึง 15.2%

-  เพราะมีการขนส่งสินค้าและบริการทางถนนสูงถึง 82.6%

-  มีการใช้น้ำมันในภาคการขนส่งเป็นสัดส่วนสูงถึง 35%

-  คิดเป็นเงินถึง 7 แสนล้านบาท/ปี

·  ความสามารถในการแข่งขันลดลงอย่างต่อเนื่อง

-  โดยเฉพาะด้านโครงสร้างพื้นฐานล้าหลังประเทศเพื่อนบ้าน

-  ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพถนน/ระบบราง/ท่าเรือ/ท่าอากาศยาน

-  ล้วนแต่ล้าหลังสิงคโปร์และมาเลเซียทั้งสิ้น

·  เร่งปรับโครงสร้างราคาพลังงานทั้งระบบโดยรีบด่วนโดยเฉพาะ LPG/ดีเซล

-  เพื่อลดภาระเงินอุดหนุนของกองทุนน้ำมันฯ

-  เพิ่มรายได้ให้กับภาครัฐในส่วนของภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล

-  เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงานอย่างประหยัด

-  ลดการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ

·  ส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและพลังงานหมุนเวียนตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 10 ปี (AEDP) อย่างจริงจัง

·  ปฏิบัติการตามแผนอนุรักษ์ 20 ปี (EE) เพื่อลดการใช้พลังงานฟอสซิลลง

-  หันไปพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในระบบรางที่ใช้ไฟฟ้าแทน

-  ส่งเสริมให้มีการผลิตและใช้รถยนต์/รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าให้มากขื้น

-  โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพปริมณฑล/ในเมืองใหญ่ๆและในเขตเทศบาล

·  ผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.

·  ปรับองค์กรเพื่อรองรับการแข่งขันและโอกาสทางธุรกิจที่จะเข้ามาในอนาคต

-  จากวิสาหกิจระดับนำของชาติเป็นองค์กรชั้นนำในระดับภูมิภาค

·  พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการเป็นศูนย์กลางโครงข่ายด้านพลังงานในอาเซียน

·  ตอบสนองโจทย์ด้านพลังงานเพื่อความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อมที่ดี (green energy)

-  พลิกบทบาทเป็นผู้นำด้านพัฒนาพลังงานหมุนเวียนและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในอาเซียน

·  แสวงหาลู่ทางการลงทุนด้านพลังงานในประเทศเพื่อนบ้านโดยใช้ประโยชน์จากข้อตกลง AEC

·  ใช้ประโยชน์จากความเป็นผู้นำและผู้ชำนาญการด้านพลังงานไฟฟ้าให้บริการด้านเทคโนโลยีและการซ่อมบำรุงกับประเทศในกลุ่ม CLMV

·  พัฒนาบุคคลากรให้มีความสามารถในการเรียนรู้และทำงานในระดับสากล

บทบาทของผู้บริหารยุคใหม่กับการนำการจัดการด้านพลังงานในพื้นที่

·  รณรงค์สร้างจิตสำนึกให้เห็นคุณค่าของพลังงานและการประหยัดพลังงานอย่างจริงจังในวิถีชีวิตประจำวัน/ในการปฏิบัติราชการ

·  ส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการพึ่งพาตนเองด้านพลังงานในชุมชน

·  ประสานกับหน่วยงานต่างๆจัดให้มีการบรรยาย อบรมและสัมมนา ให้ความรู้เกี่ยวกับการประหยัดพลังงานและพัฒนาพลังงานทดแทนเพื่อการพึ่งพาตนเอง

·  พัฒนาแหล่งพลังงานหมุนเวียนขนาดเล็กในพื้นที่ที่มีศักยภาพ เช่น แหล่งน้ำขนาดเล็ก กังหันลม หรือ เซลล์แสงอาทิตย์ เป็นต้น

·  สร้างความเข้าใจกับชุมชนว่าการลดการใช้พลังงานคือการลดภาวะโลกร้อน

·  สร้างความเข้าใจกับชุมชนในโครงการพัฒนาแหล่งพลังงานต่างๆโดยไม่กระทบกับวิถีชีวิตของชุมชน

ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล

·  ในช่วง 3 ปีข้างหน้า ช่วงสั้นๆ วิกฤติยังไม่จบโดยเฉพาะในยุโรปและสหรัฐอเมริกา หลังจากนั้นจะต้องมีกระบวนการดึงสภาพคล่องกลับคืน ขึ้นดอกเบี้ย

·  กรณีไซปรัส ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่น่าสนใจ ความเชื่อมั่นการฝากเงินที่ยุโรปลดลง เพราะเงินที่ฝากไว้ที่ธนาคารในยุโรปอาจจะถูกยึดไปใช้

·  อิตาลีเลือกตั้งแล้วไม่มีรัฐบาลชัดเจน ในขณะเดียวกันก็เริ่มกู้ลำบากขึ้น

·  สหรัฐอเมริกาฟื้นได้แบบค่อยๆฟื้นแต่มีความเสี่ยงเหมือนกัน

·  มีโอกาสต่างๆ คือ

·  การขยายกิจการลงทุนต่างประเทศ

·  กรณีที่พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาทน่าสนใจ รัฐบาลขับเคลื่อนแล้วเอกชนตาม ต่างชาติก็เข้ามาบวก ถ้ามีความชัดเจนว่าจะทำอะไรหรือมีเม็ดเงินชัดเจนลงทุน ไม่มีการเปลี่ยนไปมา ก็น่าจะไปได้

·  รัฐบาลลงทุนคิดเป็น 5% ของ GDP แต่เอกชนลงทุนคิดเป็น 20% ของ GDP ถ้ารัฐบาลเดินหน้า เอกชนก็ไปด้วย ต่างชาติก็ลงทุนด้วย

·  บางจังหวัดราคาที่ดินเพิ่มขึ้นมากเท่าตัวของปีที่แล้ว

·  ที่ดินจังหวัดขอนแก่นไร่ละ 60-80 ล้านบาท

·  ที่ดินจังหวัดชายขอบไร่ละ 30 ล้านบาท

·  ที่ดินเมืองพัทยาไร่ละ 150 ล้านบาท

·  จะมีความต้องการไฟฟ้ามากขึ้น

·  มีโอกาสการขยายธุรกิจไปต่างประเทศมากขึ้น บริษัทใหญ่ๆได้ขยายธุรกิจไปต่างประเทศแล้ว

·  มีโอกาสการค้าชายแดนและการตอบสนองกับลูกค้าในภูมิภาค

·  โครงสร้างพื้นฐานพัฒนาขึ้น เช่นระบบการขนส่ง การสร้างตึกรามบ้านช่องทำให้เกิดโอกาสที่น่าสนใจคือ โอกาสที่ประเทศไทยจะเป็น Land bridges ใหม่ของเอเชีย หัวเมืองใหญ่ต่างจังหวัดและต่างจังหวัดที่อยู่แนวชายแดนมีความสำคัญมากขึ้นเพราะเป็นเมืองหน้าด่านการค้า

·  AEC เป็นโอกาสแก้ตัวของอาเซียน

·  จีนน่าสนใจ เพราะเป็นประเทศใหญ่ที่มาทำการค้ากับอาเซียน แต่จีนก็มีปัญหาในตัวคือความฟุ้งเฟ้อ คนจึงมามองเกาหลีใต้และไทย

·  จากการไปสัมมนาก็ได้ถามชาวต่างชาติว่า ประเทศใดในอาเซียนน่าสนใจ คำตอบมี 2 ประเทศคือฟิลิปปินส์และไทย

·  วันนี้ The most attractive town in the world คือประเทศไทย

·  เวลานี้ เวลาพูดถึงเอเชีย คนนึกถึงจีน อินเดีย และอาเซียน

·  ที่จีนมีโครงการใหญ่ๆสร้างมากขึ้นในเมืองใหญ่และเล็ก ถ้าเศรษฐกิจดี ก็ไปได้ ถ้าเศรษฐกิจไม่ดี ก็เสียหาย บางแห่งสร้างแล้วกลายเป็นเมืองร้าง

·  ความต้องการไฟฟ้าจะมากขึ้นเพราะมีการพัฒนาของเมือง

รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

·  ไซปรัสมีความสำคัญต่อสหภาพยุโรปน้อยมาก เพราะมีประชากร 9 แสนคน 0.2% ของจีดีพียุโรป

·  ไซปรัสมี 2 ธนาคาร ให้ดอกเบี้ยดีและเป็นแหล่งฟอกเงิน มีเงินฝากรวมกันแล้วเท่ากับ 900% ของจีดีพี

·  ตอนนี้ไซปรัสถูกแบ่งสอง ส่วนบนของตุรกี ส่วนล่างของกรีซ

·  ไซปรัสเข้ามาเป็นสมาชิกอียูพร้อมกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก และใช้เงินยูโร

·  ทั้งสองธนาคารของไซปรัสนำเงินไปซื้อพันธบัตรกรีซ กรีซล้มจึงมีปัญหา ต้องชดเชยด้วยการเก็บภาษี

·  17 ประเทศในสหภาพยุโรปกำลังจะตั้ง European Union System Banking

·  เก็บเงินคนสูงกว่าแสน เล่นงานพวกฟอกเงิน ปล่อยให้พวกฝากเงินได้รับความเสียหาย เปลี่ยนเงินฝากมาเป็นเจ้าของหุ้น ทำให้คนกลัวว่าไม่รู้จะเกิดอะไรขึ้นแล้วไปแอบถอนเงิน เช่น ที่สเปนมีธนาคารเกีย คนถอนเงินไปฝากที่เยอรมนี ทำให้ต้นทุนธนาคารมาก

·  หัวใจสำคัญของเอเชียคือ คุณภาพการศึกษาแต่ปัญหาบางประเทศคุณภาพคนยังไม่ดี

ช่วงถาม-ตอบ

คนที่ 1

·  พอดีอาจารย์มนูญพูดถึงเรื่องพลังงานหมุนเวียน รัฐบาลกำลังอุดหนุนการใช้ไฟฟ้าฟรี รถฟรี ใช้ไฟฟ้าฟรีภาครัวเรือนประมาณ 25% ของภาคการผลิตพลังงานทั้งหมด มันไม่กระตุ้นการอนุรักษ์พลังงาน ควรมีกระบวนการสร้างให้ทุกคนประหยัดพลังงานนำพลังงานหมุนเวียนเข้ามา จะไปคนละทิศ มีแนวทางการแก้ปัญหาอย่างไร

·  ขอถามดร.กอบศักดิ์ การสร้างระบบ Logistics ปัจจุบันที่จะทำเป็น Macro-logistics มอง Infrastructure ด้าน Macro อย่างเดียว แต่ในด้าน Micro มีผลกระทบเพราะด้านการศึกษาหรือในด้านคนตามไม่ทัน Macro กับMicro ต้องไปด้วยกัน จะทำให้เจริญเติบโต เศรษฐกิจดี ระบบการศึกษายังมีปัญหา ทำอย่างไรให้ Micro เดินไปในทิศทางเดียวกับ Macro เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อสังคม

คนที่ 2

·  ขอถามดร.กอบศักดิ์ผมได้ดูวีดิโออาคารศูนย์การค้าร้าง นึกย้อนหลังไปถึงอาคารของเราก็เกิดขึ้นมีหลายสาเหตุ ในประเทศไทยเป็นเพราะมีวิกฤติต้มยำกุ้งปี 2540 ในจีน เศรษฐกิจเติบโตตลอด ทำไมมีอาคารร้าง

คนที่3

·  ขอถามดร.กอบศักดิ์ เราอยู่ในเรื่องการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ยังไม่ได้ข่าวจะกู้จากที่ไหน จะมีผลดีต่อระบบธนาคาร คนฝากเงินธนาคารอย่างไร

คนที่4

·  ดร.กอบศักดิ์เคยพูดไว้ในรายการช่อง Money Channel ว่าสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นสามารถผลิตเงินได้ แต่สร้างคนเพื่อไปทำงานไม่ได้ เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นถดถอยและคงที่ คนกฟผ.เรามีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ แต่ละคนลงทุนในส่วนนี้มาก ในแง่ตลาดหุ้น จากที่ได้ฟังดร.สมชายและดร.กอบศักดิ์ ไม่ว่าจะเป็นจีนหรืออียู กอดคอกันตาย กรณีนี้จะกระทบไทยในแง่เศรษฐกิจหรือตลาดหุ้น ถ้าตลาดหุ้นเจ๊ง คนของกฟผ.ก็อยู่ไม่ได้ เหลือแค่ 15 ปีก็จะเกษียณแล้ว ภายใน 10 ปีนี้ ตลาดหุ้นจะเจ๊งไหม

คนที่ 5

·  อีก 15 ปีข้างหน้า กฟผ.ควรเน้นด้านใดเป็นพิเศษ กฟผ.ควรลงทุนในต่างประเทศหรือซื้อขายไฟฟ้าจากต่างประเทศ

คนที่6

·  ขอถามดร.กอบศักดิ์ ช่วงนี้ ประเด็นร้อนคือเรื่องพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ผลกระทบที่ตามมาคือเรื่องหนี้สาธารณะในเรื่องหนี้สาธารณะในเรื่องการนำเงินมาใช้เพื่อสาธารณูปโภค จนเกิดปัญหาบางงาน Value ไม่ได้ จะทำให้เกิดผลกระทบอะไรในอนาคตกับคนไทย เกิดมามีหนี้เท่าไร

คนที่7

·  ขอถามดร.กอบศักดิ์ เรื่องที่จีนมีตึกร้าง ถ้าเศรษฐกิจจีนล้มเนื่องจากการสร้างสิ่งก่อสร้างที่เกินความจำเป็น กระทบต่อเราอย่างไร และเราจะปฏิบัติตนอย่างไร ควรลงทุนแบบใด

อาจารย์มนูญ ศิริวรรณ

·  คำถามแรก เรื่องใช้ไฟฟรี โดยหลักการ รัฐบาลไม่ควรจะอุดหนุนเรื่องของพลังงานทั้งสิ้น เช่น ไฟฟ้าฟรี อุดหนุนราคา LPG ดีเซล เพราะสิ่งเหล่านี้ทำให้การใช้ไม่มีประสิทธิภาพ ต่อไปต้นทุนด้านพลังงานจะแพงขึ้นเรื่อยๆ เรื่องไฟฟ้า เราต้องนำเข้าพลังงานมาในราคาแพงขึ้น เพราะฉะนั้นต้นทุนค่าไฟจะแพง เช่นค่าไฟฟ้าพื้นฐานหรือค่าเอฟที ภาระหนักจะตกอยู่ที่ประชาชน การที่จะใช้พลังงานหมุนเวียนผลิตไฟฟ้า ค่าไฟก็ต้องแพงขึ้น รัฐบาลต้องหาทางผ่อนเบาภาระให้กับประชาชน โดยเฉพาะประชาชนมีรายได้น้อย ทุกวันนี้รัฐบาลช่วยโดยให้กฟผ.แบกรับค่าไฟไว้บางส่วน ก็ขึ้นราคาไม่เต็มที่ รัฐบาลควรดูว่า ประชาชนคนกลุ่มไหนที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้จริงๆ โดยจัดสวัสดิการจ่ายให้โดยตรงกับคนกลุ่มนั้นจริงๆ

·  เรื่องบทบาทการไฟฟ้าฝ่ายผลิตอีก 10 ปีข้างหน้า เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงเรื่องตลาดอาเซียนรวมกันเป็นหนึ่งเดียว กฟผ.ต้องปรับบทบาทตนเองจากวิสาหกิจแห่งชาติไปเป็นวิสาหกิจของภูมิภาค มองบทบาทให้กว้างขึ้นว่า เราไม่ใช่วิสาหกิจของประเทศอีกต่อไป แต่เป็นวิสาหกิจของภูมิภาค ทำให้มีโอกาสมากขึ้น การลงทุนในต่างประเทศขณะนี้อาจไปลงทุนในลาว กัมพูชา อินโดนีเซีย ต้องมองว่า โอกาสเปิดสำหรับเราไปลงทุนไหม อาจไปในนามบริษัทลูก ในแง่ Service Provider อาจไปในนามบริษัทลูก ในแง่ตัวเชื่อมโยงระหว่างภูมิภาค เราสามารถไปได้ เชื่อมโยงเครือข่ายการไฟฟ้าในภูมิภาคในฐานะที่เรามีความได้เปรียบด้านชัยภูมิ หรือบทบาทเป็นที่ปรึกษาด้านพลังงาน

·  พลังงานทดแทนเป็นเรื่องของเทคโนโลยี ขณะนี้รัฐบาลมีแผนพลังงานทดแทนแล้ว พยายามเดินตามแผน ติดขัดคือรัฐบาลส่งเสริมจริง คนไปขออนุญาตไว้แล้วไม่เดินตามแผน รัฐบาลก็ไม่จัดการคนพวกนี้ ต้องไปกำหนดว่าใบอนุญาตกี่ปี ขณะนี้เทคโนโลยีก้าวหน้าไปมากกว่า เราไม่ได้นำเทคโนโลยีนี้มาใช้อย่างจริงจัง ถ้าทำ Solar-cell rooftop ได้ก็จะลดการพึ่งพาไฟฟ้าจากพลังงานฟอสซิล รัฐบาลยังไม่มีโครงการส่งเสริม Solar-cell rooftop อย่างแท้จริง อยากให้ BOI หรืออุตสาหกรรมบังคับว่า โรงงานทุกแห่งที่มีโกดังให้ทำ Solar-cell rooftop ถ้ามีคนซ่อมบำรุงจะเป็นการส่งเสริมพลังงานแสงอาทิตย์ได้มาก ถ้าท่วประเทศจะได้พลังงานที่มาเสริม Grid ได้มาก จากการไปดูงานบางจาก มีพื้นที่ประมาณ 800 ไร่ เขาสามารถจ่ายได้ประมาณ 49 เมกกะวัตต์ ถ้าสนับสนุนโครงการหมู่บ้าน แต่ละแห่งผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ขึ้นมาแล้วใช้จ่ายภายในหมู่บ้าน ที่เหลือเข้า Grid

ผู้เข้าร่วมสัมมนา

·  นี่ตรงแผนอนุรักษ์พลังงานออกมาตรฐานให้โรงงานและสำนักงานรุ่นใหม่ติดตั้ง Energy rooftop ผลิตพลังงาน ควรทำอย่างจริงจังและออกเป็นกฎหมาย ถ้าบังคับคอนโดมีเนียมให้ใช้การทำน้ำร้อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ จะประหยัดไฟฟ้า บ้านมูลค่า 10 ล้านบาทขึ้นไปต้องผลิตไฟฟ้าใช้ในบ้านด้วยพลังงานแสงอาทิตย์

ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล

·  ถ้าไปดูในภูมิภาค ประเทศที่เก่งกว่าเราคือ สิงคโปร์ มาเลเซียก็สูสีกับเรา สิ่งที่เข้ามาเป็นโอกาสทุกเรื่องแต่สิ่งสำคัญคือเราจะเห็นมันไหม ถ้าเราไม่ไปลงทุนต่างประเทศ 5 ปีข้างหน้าก็ไม่ต้องไป ไปตอนนี้ยังไม่มีคู่แข่ง เพราะเป็นรายแรกและคนอื่นก็จะมาพึ่งพาเรา

·  ในเรื่องอาคารร้าง เวลาสร้าง จีนมีมุมมองว่า สร้างเสร็จก็จะมีคนมาอยู่สร้างเสร็จแล้วสร้างใหม่เพราะมั่นใจว่าคนจะมาแย่งซื้อ มีคนประเมินว่า อพาร์ตเม้นท์ในจีนมีราคาเท่ากับเงินเดือน 45 ปี  ทำให้หาคนมาซื้อยาก ดังนั้นถ้าไม่มีการเก็งกำไร ก็ไม่มีการซื้อ

·  โครงการก่อสร้างปัจจุบันไม่มีแรงงาน ถ้าใครไปพม่า จะพบว่า ทุกสี่แยกจะมีตึกที่กำลังก่อสร้างหรือซ่อมแซม พม่าไม่ได้จน แต่กำลังสร้างวางโครงข่ายอาคาร

·  ภายใน 10 ปี ตลาดหุ้นจะเจ๊ง เพราะเศรษฐกิจจะดึงดูดเงินไหลเข้าประเทศไทย การพนันขึ้นมากพอสมควร อาจจะต้องระวังหุ้นขึ้นๆลงๆ คนไทยขายหุ้นโดยการ Cut loss หุ้นจะตกก่อนเศรษฐกิจพัง 1-2 ปี ต้องรู้จักพอ ก็จะอยู่รอดได้ อย่าให้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพเน้นหุ้นอย่างเดียว

·  เรื่องพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ควรนำโครงการต่างๆมาใส่แนบท้าย ควรหารือกันว่าจะทำอย่างไรให้เกิดความต่อเนื่องและดำเนินการต่อไปได้ โครงการเหล่านี้มีผลตอบแทนไหม จะเป็นหนี้กับเราแน่ และมีหนี้ซุกซ่อนอีกมาก คิดเป็น 50% ของ GDP

·  สรุปแล้วมีทั้งโอกาส ความท้าทายและความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น

ทศพร เนตยานุวัฒน์

วันอังคารที่ 26 มีนาคม 2556

ความรู้ที่ได้รับจาก Panel Discussion หัวข้อ “ นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชนกับการทำงานของ กฟผ.
โดยครูบาสุทธินันท์  ปรัชญพฤทธิ์  เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ
  ดร.เสรี  พงศ์พิศ  อาจารย์ ม.ธรรมศาสตร์
  คุณสุทธิเดช  สุทธิสมณ์  กฟภ.
  คุณศานิต  นิยมาคม  วก.
11  กฟผ.

โดยสรุป ปัญหาของกฟผ.คือปัจจุบันไม่สามารถสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ๆได้  จะต้องทำอย่างไรให้สังคมเชื่อมั่นไว้วางใจและยอมรับ  กระทรวงพลังงานควรมีบทบาทมากขึ้นเนื่องจากเป็นปัญหาระดับประเทศ

ความรู้ที่ได้รับจากหัวข้อเทคนิคการสื่อสารกับสื่อสารมวลชนโดย ดร.พจน์  ใจชาญสุขกิจ 

โดยสรุปถ้าต้องสื่อสารกับสื่อสารมวลชนจะต้องเตรียมตัวเตรียมข้อมูลให้พร้อมเนื่องจากทุกอย่างที่ให้สัมภาษณ์ออกไปจะเป็นภาพพจน์ของ กฟผ.  เรื่องที่ต้องเตรียมมีดังนี้

-  จะสัมภาษณ์นานแค่ไหน
-  นักข่าวจากที่ไหน ทีวี หรือ  หนังสือพิมพ์
- 
หาข้อมูลกระแสที่นักข่าวอยากรู้ประเด็นไหน จะสัมภาษณ์เรื่องอะไร
-  อาจต้องปรึกษากันก่อนว่าจะตอบอย่างไรตอบได้แค่ไหน
-  มีข้อมูลที่Update โปร่งใส น่าเชื่อถือ
-  ต้องเตรียมประเด็นที่ดีพอ  แสดงเหตุผลได้ทุกแง่ทุกมุม

ความรู้ที่ได้รับจากหัวข้อ Managing  Self  Performance โดยอาจารย์ อิทธิภัทร  ภัทรเมฆานนท์ 

โดยสรุป เป็นการสำรวจตัวเองเพื่อรู้จักและค้นหาเป้าหมายความสำเร็จของแต่ละคนซึ่งจะไม่เหมือนกัน  จากนั้นก็ลงมือทำ  ซึ่งเมื่อค้นตัวเองเจอเชื่อว่าจะทำงานอย่างมีความสุขและประสบความสำเร็จ 

วันพุธที่ 27 มีนาคม 2556

ประโยชน์ที่ได้รับจาก Panel Discussion หัวข้อธรรมาภิบาลของ กฟผ. โดยอดีตผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ  คุณไกรสีห์  กรรณสูต และ คุณสมบัติ  ศานติจารี  อาจารย์ ธรรมรักษ์  การพิศิษฏ์  และ อาจารย์จิระ  หงส์ลดารมภ์ 

โดยสรุป ปัญหาของ กฟผ.ปัจจุบันคือปัญหามวลชน ที่ทำให้ไม่สามารถสร้างโรงไฟฟ้าได้  การทำงานกับชุมชนที่จะประสบความสำเร็จ  ทีมงานที่จะทำจะต้องมีทักษะทางด้านนี้จริงๆ  มีใจรักทางด้านนี้ไม่ใช่ใครก็ได้  ตัวอย่างโรงไฟฟ้าที่ประสบความสำเร็จ โรงไฟฟ้าจะนะ

ประโยชน์ที่ได้รับจากหัวข้อเศรษฐศาสตร์พลังงานจากอาจารย์มนูญ  ศิริวรรณ 

โดยสรุป กฟผ ต้องบริหารจัดการโรงไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้ค่าไฟฟ้าที่มีราคาสมเหตุสมผล  และมีความมั่นคงในระบบ

ประโยชน์ที่ได้รับจากหัวข้อ ผู้นำกับการสร้างทุนทางจริยธรรมในองค์กรโดยคุณดนัย  จันทร์เจ้าฉาย

โดยสรุปต้องการให้กฟผ.เป็นองค์กรที่เป็น White Ocean เป็นองค์กรที่พนักงานมีความสุข เป็นองค์กรที่มีความยั่งยืน มีผลประกอบการสูง ทำประโยชน์เพื่อสังคม  ตั้งเป้าหมายระยะยาว

วันพฤหัสที่ 28 มีค. 2556

ประโยชน์ที่ได้รับจากการบรรยายพิเศษหัวข้อประสบการณ์การเรียนรู้ในรุ่น 2 ของข้าพเจ้ากับการปรับใช้เพื่อการบริหาร กฟผ.ในยุคที่โลกเปลี่ยน โดยคุณสุทัศน์  ปัทมสิริวัฒน์  ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ

ทำให้รู้ว่า คน กฟผ.ยังต้องปรับปรุงอะไรอีกดังนี้ 

-  โดยธรรมชาติ คน กฟผ.เป็นคนสันโดษ ไม่มี Network ดังนั้นต้องพยายามสร้าง Network
-  คน กฟผ.อ่อนทางด้านธุรกิจต้องพยายามพัฒนาทางธุรกิจเพิ่ม
-  คน กฟผ.อยู่กันอย่างเป็น Silo  ต้องเปลี่ยนเป็นรู้ให้กว้างขึ้น  มีมุมมองที่หลากหลายมากขึ้น

ประโยชน์ที่ได้รับจาก  Panel Discussion หัวข้อเศรษฐกิจโลกและเศรษฐไทย ผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.โดย รศ.ดร. สมชาย  ภคภาสน์วิวัฒน์  คณะรัฐศาสตร์  ม.ธรรมศาสตร์  ดร.กอบศักดิ์  ภูตระกูล  อาจาร์มนูญ  ศิริวรรณ  ที่ปรึกษาอาวุโส บ.จัดการธุรกิจ จำกัด อาจารย์ทำนอง  ดาศรี

อีก 2-3 ปี AEC จะเริ่มแล้ว ซึ่งดูแล้วการติดต่อค้าขาย การคมนาคมขนส่ง ของประเทศในกลุ่มอาเซียนจะเกิดขึ้น  เป็นไปได้ว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศไทยจะเจริญเติบโตขึ้นอย่างมากดังนั้น กฟผ.ก็ต้องวางแผนเตรียมการสำหรับความต้องการไฟฟ้าที่จะเพิ่มขึ้นและโอกาสที่จะขยายธุรกิจด้านต่างๆ

ประโยชน์ที่ได้รับจาก Panel Discussion หัวข้อ TQM/SEPA : ความเป็นเลิศและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ กฟผ. โดย รองผู้ว่าการบริหาร การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ คุณพิบูลย์  บัวแช่ม  อาจารย์สัญญา เศรษฐพิทยากุล  คุณนริศ  ธรรมเกื้อกูล  รองกรรมการผู้จัดการบริษัท ซีพีออลล์ จำกัด ( มหาชน )  คุณทำนอง  ดาศรี 

โดยสรุปเพื่อความเป็นเลิศและการพัฒนาอย่างยั่งยืน กฟผ.จะต้องมีดังต่อไปนี้

-  มีธรรมาภิบาล
-  แสวงหาโอกาสสร้างพันธมิตร ธุรกิจ
-  ผลักดัน Process ให้เป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพสูง
-  คำนึงถึงสังคมและสิ่งแวดล้อม
-  สร้างองค์กรให้เป็น National  Pride
- 
ผู้บริหาร กฟผ.จะต้องมีวิสัยทัศน์ที่จะนำองค์กรสำหรับภารกิจในอนาคต 

วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม 2556

ประโยชน์ที่ได้รับจากหัวข้อแนวคิด Blue Ocean กับการทำงานของ กฟผ. และการปรับใช้เพื่อสร้างโครงการแบบนวัตกรรมของ กฟผ. โดย รศ.ดร.สมชาย  ภคภาสน์วิวัฒน์ 

โดยสรุปแนวคิด Blue Ocean คือนวัตกรรมสินค้าและบริการคือเป็นสิ่งที่คิดขึ้นมาใหม่ create and capture new demand บริษัท CP เป็นบริษัทที่น่าจะเป็นตัวอย่างได้อย่างดี จากแต่เดิมเป็นแค่ขายอาหารสัตว์ แต่แตก Line  ขยายธุรกิจ ไส้กอก , ไก่ย่าง ,เกี๊ยวกุ้ง, Seven eleven และ True

ซึ่งสำหรับ กฟผ. ได้คำนึงถึงเรื่องนี้อยู่แล้วโดยมีฝ่ายวิจัยซึ่งทำเรื่องนี้โดยเฉพาะ นอกจากนั้นในทุกๆปีก็จะมีการมอบรางวัลให้กับพนักงานที่ได้สร้างผลงานที่เป็นนวัตกรรมดีๆ

ประโยชน์ที่ได้รับจากหัวข้อ High Performance Organization ที่ กฟผ. โดย ดร.สมโภชน์  นพคุณ และ คุณ สมชาย  ไตรรัตนภิรมย์ 

โดยสรุป องค์กร HPO จะต้องมี
-  High  Trust
- 
Produce Knowledge
-  Team Discussion
-  Horizontal Flow-based Organization
-  Dynamic Structure Companies without walls



นายสุวิทย์  กฤษดำ  ช.อผฟ-รส.

การอบรม วันที่ 26 มีนาคม 2556 ได้เรียนรู้

หัวข้อ  นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน (Social Innovation) กับการทำงานของ กฟผ.

นวัตกรรมเกิดจากการคิดค้นทำอะไรขึ้นมาใหม่ หรือปรับปรุงของเดิม โดยมีความคิดสร้างสรรค์ และความรู้ สามารถพัฒนาขึ้นไปเป็นระดับโครงการได้  นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชนเป็นเรื่องใหญ่   ชาว กฟผ. ทุกคน ควรมีบทบาทและทำงานในหน้าที่ให้ดี พร้อมกับดูแลสังคมควบคู่กันไป  กฟผ. ควรที่จะต้องเข้าไปศึกษาเรียนรู้ร่วมกับชุมชน ว่า ชุมชนต้องการอะไร  มีปัญหาอะไร  มีข้อเสนอแนะอะไร วิธีนี้จะทำให้ได้รับความไว้วางใจมากขึ้น ไม่ใช่เราให้อย่างเดียว สิ่งที่สำคัญก็คือ ความสมานฉันท์  ความเป็นญาติ เป็นมิตร มีชาวบ้านเป็นแนวร่วม มีปัญหาอะไรก็หาทางออกได้  กฟผ. ต้องอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างยั่งยืน เสมือนคนในครอบครัว ใช้วัฒนธรรมเข้าหา อ่อนน้อมถ่อมตน มีความอดทน มีความตั้งใจจริง และต้องเป็นผู้ฟังที่ดี เข้าใจบริบทชุมชน  ปัญหาชุมชนแก้ไขได้ ถ้ามีการจัดการ ความรู้ และใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาช่วย เช่น  กฟผ. สามารถช่วยสนับสนุนโดยมีการประสานงาน และร่วมทำงานทางด้านโภชนาการ และการตลาดกะปินาทับ ที่มีมูลค่ามหาศาล เป็นการสร้างนวัตกรรมที่มีส่วนร่วมกับชุมชน สังคมจะดีขึ้นได้ต้องมีการเรียนรู้  ส่งเสริมให้ชาวบ้านมีความรู้ ความเข้าใจ โดยจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ เพื่อเอาประสบการณ์ บทเรียน มาศึกษาวิจัย เพื่อสร้างนวัตกรรม รวมทั้งช่วยให้ชาวบ้านรู้จักวางแผนชีวิต แผนการเงิน แผนอาชีพ แผนสุขภาพ เพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน กลายเป็นชุมชนที่เข้มแข็งต่อไป

หัวข้อ  เทคนิคการสื่อสารกับสื่อสารมวลชน

ได้เรียนรู้ว่า การบริหารสื่อต้องเข้าใจลักษณะหน้าที่ บทบาท และทัศนคติของแต่ละสื่อ รวมทั้งต้องรู้จักบริหารจัดการประเด็น  รู้ว่าเรื่องใดต้องพูดเวลาไหนกับใคร อย่างไร  ต้องรู้จักผู้ฟังก่อน ว่าเรื่องที่พูดต้องเป็นเรื่องที่เขาอยากฟัง  องค์กรมีภาพใหญ่  3 ภาพ คือ

1.  Corporate Image เป็นสิ่งที่เราอยากเห็น มาจากวิสัยทัศน์ขององค์กร

2.  Business Image เป็นสิ่งที่องค์กรทำ มาจากเป้าหมายขององค์กร

3.  Brand Image มาจากผลสัมฤทธิ์ เป็นสิ่งที่คนจำได้ ไม่ว่าจะเป็นด้านลบหรือด้านบวก

ต้นทุนชื่อเสียง เป็นต้นทุนที่ต้องรักษา สิ่งที่คนเชื่อถือศรัทธาใน Brand เป็นสิ่งที่มีมูลค่ามหาศาล Social Media เป็นรูปแบบหนึ่งด้านการสื่อสารที่ทุกคนเป็นผู้ให้ข้อมูลได้ ดังนั้นเราต้องวิเคราะห์เป้าหมายผู้รับข้อมูลและความสนใจ รวมถึงวิธีการทำงานของแต่ละสื่อ  ถ้าให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ ต้องเป็นเรื่องราวที่คนสนใจและมีผลกระทบต่อสังคม  ถ้าให้สัมภาษณ์นิตยสาร ต้องมีข้อมูลเชิงลึกเป็นพิเศษ เช่น ภาพ กราฟ ที่มีสีสัน และการวิเคราะห์ สำหรับ Keyword สำคัญที่สุด ควรมีความยาวไม่เกินครึ่งนาทีและต้องอธิบายให้ได้ (พูด 15 – 30 นาที ออกทีวี ตัดเหลือครึ่งนาที)

นักข่าวสนใจประเด็นที่เป็นกระแสมากที่สุด ถ้าอยู่ในฐานะผู้ให้สัมภาษณ์ต้องมีความพร้อมอธิบาย อย่าตอบในเรื่องที่ไม่รู้และไม่แน่ใจ ต้องรู้ว่าจะพูดอะไรกับสื่อ ศึกษาและเตรียมประเด็น ต้องรู้เรา รู้เขา  รู้โลก ควรใช้ Mindmap มาช่วยเรียบเรียงลำดับความคิด (วาดภาพได้ อธิบายเป็นขั้นตอน) อย่ามีประเด็นในการให้สัมภาษณ์มากเกินไป ควรมีข้อมูลสำคัญเนื้อหาหลักเรื่องเดียว (One Message Key Message) จะได้ไม่แย่งพื้นที่กันเอง เวลาให้สัมภาษณ์แล้วควรต้องเช็คความเข้าใจว่า เข้าใจตรงกันหรือไม่ คบสื่ออย่างเพื่อน ดูแลอย่างเพื่อน ในการให้สัมภาษณ์ต้องรู้สถานการณ์ และพูดตามผู้ใหญ่จะได้ไม่ผิด ควรมีแผนรองรับภาวะฉุกเฉินหรือภาวะวิกฤติ เพื่อให้เรามีสติ

หัวข้อ Managing Self Performance

Competency หมายถึง กลุ่มความรู้ ทักษะและคุณลักษณะ ซึ่งประกอบด้วย พฤติกรรม  ทัศนคติ และแรงบันดาลใจที่บุคลากรจำเป็นต้องมี เพื่อปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และบรรลุผลสำเร็จ ตรงตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายองค์กร

การวางแผนชีวิต จำเป็นต้องสำรวจตนเอง เพื่อเข้าใจตัวเองก่อนที่จะหาเป้าหมาย เป้าหมายเปรียบเสมือนเข็มชีวิต (ไม่หลงทิศ ผิดทาง) ความมุ่งมั่นทำงานให้เสร็จ (ล้มเหลว แต่ไม่ล้มเลิก) เป็นคุณลักษณะหนึ่งที่สำคัญของผู้ที่จะประสบความสำเร็จ สิ่งที่ทำให้คนคิดว่าตนทำได้ดี คือ ประสบการณ์ แต่คนสามารถทำได้ดีขึ้นอีกเพราะมีการตั้งเป้าหมาย การแข่งขัน จะทำให้เรามุ่งมั่นที่จะทำให้ดีขึ้น และไปสู่เป้าหมายที่สูงกว่า  การตั้งเป้าหมาย (เราควรมีเป้าหมายรายวัน) และลองทำอะไรบางอย่าง จะได้ข้อมูลไปปฏิบัติเช่นเดียวกัน การเปลี่ยนแปลง การตอบสนองต่อเหตุการณ์ สามารถนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ต้องการได้ คนเรามีสิทธิจะเปลี่ยนชีวิตตนเองได้ ลองหาจุดเปลี่ยนในชีวิตที่ผ่านมาอย่างน้อย 5 จุดเปลี่ยน การวางแผนชีวิตควรคำนึง Result  Purpose และ Massive Action Plan ต้องเข้าใจเป้าหมายในงานให้อะไรกับชีวิตเรา เราได้ประโยชน์อะไรจากงาน เพื่อจะได้รู้และเข้าใจตัวตนของเราในอนาคต


การอบรม วันที่ 27 มีนาคม 2556 ได้เรียนรู้

หัวข้อ  “ธรรมาภิบาล” ของ กฟผ.

ธรรมาภิบาล คือ ขบวนการที่กำกับดูแล หน่วยงานบริษัท เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับความเป็นธรรม  ธรรมาภิบาลยุคเก่า  เน้นการรวมศูนย์อำนาจ  มีเป้าหมายให้เศรษฐกิจเติบโต มีการควบคุมกำกับทุกขั้นตอน ด้วยระเบียบเดียวกันจากบนลงล่าง  ธรรมาภิบาลยุคใหม่ เริ่มจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 8 เน้นให้ประชาชนมีส่วนร่วม เป้าหมายคือ ให้คนมีความสุข โดยทำจากล่างขึ้นบน  การสร้างผู้นำให้ตระหนักในเรื่องธรรมาภิบาล จำเป็นต้องให้ผู้นำเรียนรู้ด้วยตนเอง  ยุทธศาสตร์ คือ ให้ผู้นำระดับกลางเรียนรู้ วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลง (change) โดยเริ่มจากหน่วยงานของตนเอง สร้างวิสัยทัศน์  ค่านิยมเอง และนำไปเผยแพร่ให้แก่ลูกน้อง

ธรรมาภิบาลของ กฟผ. ประกอบด้วย 4 หลัก คือ

P = Participation การมีส่วนร่วมของประชาชน

A = Answerability ความรับผิดชอบในสิ่งที่ทำ

T = Transparency ความโปร่งใส

E = Efficiency และ Effectiveness

การทำงานของ กฟผ. ต้องมีความสมดุล ต้องให้ความสำคัญและคำนึงถึงความปลอดภัยของชุมชนและสิ่งแวดล้อม ต้องไม่เน้นน้ำหนักไปที่เรื่องต้นทุนถูก หรือเทคโนโลยีเท่านั้น  การใช้กฎหมาย พรบ. ของ กฟผ. ต้องไม่เลือกปฏิบัติ มีความโปร่งใส (การให้คุณให้โทษ) ให้ประชาชนมีส่วนร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมตัดสิน (โดย กฟผ. ให้ข้อมูลระดับเบื้องต้น) การทำให้ชาวบ้าน หรือ ประชาชนยอมรับไว้วางใจ กฟผ. ต้องมีธรรมาภิบาล และมีใจเป็นธรรม  กฟผ. ต้องพัฒนาการประชาสัมพันธ์ด้านสื่อและการสื่อสาร  กฟผ. ต้องเปิดตัว  ต้องมีการพัฒนาบุคลากรให้เรียนรู้ด้านสังคมมากขึ้น และสามารถเข้ากับชาวบ้านได้

หัวข้อ  เศรษฐศาสตร์พลังงาน

เศรษฐกิจโลกปี 2556 มีแนวโน้มชะลอตัวลง เพราะวิกฤติเศรษฐกิจของไซปรัสและยุโรปทวีความรุนแรงมากขึ้น  ราคาน้ำมันปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 90-100 เหรียญสหรัฐต่อบาเรล  รัฐบาลไทยสนับสนุนให้การผลิตไฟฟ้าในประเทศ ต้องไม่พึ่งพาแก๊สธรรมชาติมาก เพราะต้นทุนค่าไฟฟ้าจะแพงขึ้นเรื่อย ๆ หลังจากนำเข้าแก๊สธรรมชาติอัดเหลว (LNG) การลอยตัวราคา LPG  ทำให้สะท้อนต้นทุน ไม่ต้องนำเงินจากกองทุนน้ำมันมาสนับสนุน  นโยบายประหยัดพลังงาน ต้องมีมาตรการบังคับในหลาย ๆ ส่วน รวมทั้งการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งให้มีการประหยัดพลังงานมากที่สุด

การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558

-  ต้องเตรียมความพร้อมด้านเทคโนโลยีและบุคคลากร

-  ต้องเตรียมความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะคมนาคม ขนส่งสินค้า ระบบรางรถไฟความเร็วสูง  ท่าเรือน้ำลึก ท่าอากาศยานสนามบินการท่องเที่ยว

-  พร้อมเป็นศูนย์กลาง (HUB) ด้านพลังงานทดแทน

-  ส่งเสริมการปลูกพืชพลังงานทดแทนอย่างจริงจัง

กฟผ. จำเป็นต้องปรับองค์กรให้เป็นที่ไว้วางใจของประชาชน ต้องใช้จ่ายงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ การสร้างโรงไฟฟ้าแต่ละแห่งต้องเริ่มจากการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในระดับชุมชน และให้ชุมชนได้รับประโยชน์จากการสร้างโรงไฟฟ้า

หัวข้อ  ผู้นำกับการสร้างทุนทางจริยธรรมในองค์กร

การเปลี่ยนแปลงเป็นสัจธรรมของโลกใบนี้ เราต้องปรับตัว ปรับองค์กร ในการทำธุรกิจ เพื่อให้อยู่กับการเปลี่ยนแปลงได้ ถ้าการเปลี่ยนแปลงข้างนอกเร็วกว่าการเปลี่ยนแปลงข้างใน องค์กรก็ไม่สามารถอยู่รอดได้ การเปลี่ยนแปลงควรเริ่มจากสิ่งใกล้ตัวก่อน เช่น ตัวเรา  จากนั้นจึงส่งผลเป็นวงกระเพื่อมออกไปภายนอก  กลยุทธ์น่านน้ำสีขาว (White Ocean Strategy) เป็นการสร้างองค์กรสีขาวที่หวังผลกำไรอย่างพอเหมาะพร้อมกับสร้างผลประโยชน์ให้แก่ประเทศ ช่วยเหลือสังคม โดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาส

ผลขององค์กรที่มีจริยธรรมสูง

-  เป็นองค์กรที่มีความสุข มีความคิดสร้างสรรค์

-  เป็นองค์กรที่มีความยั่งยืน มีกำไรและผลประกอบการดี

องค์กรที่มี High Performance ประกอบด้วย

-  Trust สูง

-  Speed การทำงานเร็ว

-  ส่งผลให้ Cost ลดลง

ผู้นำต้องสร้างทุนทางจริยธรรมโดยคำนึงถึง

-  การนำองค์กรเพื่อสร้างประโยชน์ต่อสังคม

-  การตั้งเป้าหมายระยะยาว มองกว้าง คิดไกล ใฝ่สูง กระจายโอกาสให้คนทั้งโลก

-  ดูแลทุกคนเหมือนกัลยาณมิตร

-  ใช้ทรัพยากรอย่างพอเพียง

-  มีอุดมการณ์และศรัทธา


การอบรม วันที่ 28 มีนาคม 2556 ได้เรียนรู้

หัวข้อ  ประสบการณ์การเรียนรู้ในรุ่น 2 ของข้าพเจ้า กับการปรับใช้เพื่อการบริหาร กฟผ.

  ในยุคที่โลกเปลี่ยน

สมัยที่ ผวก. สุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ อบรม EADP คือ รุ่นที่ 2 ได้ไปดูงานที่รัฐวิคตอเรีย ประเทศออสเตรเลีย ทำให้เห็นภาพกว้าง หลายมุมมอง การเติบโตเป็นผู้บริหารระดับสูง ต้องมีความรอบรู้หลายด้าน ต้องเรียนรู้ให้กว้าง ทั้งภายในองค์กรและภายนอกองค์กร เวลาเรียนรู้ต้องจับประเด็นให้ได้ ผู้บริหารต้องมีส่วนร่วมกับชุมชน กฟผ. สร้างผู้นำรุ่นใหม่ ตามแผน Successor โดยมีที่ปรึกษา

กลุ่ม Competency เป็นปัจจัยขับเคลื่อน กฟผ. มี 5 ด้าน คือ

1.  การปฏิสัมพันธ์ กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

2.  แสวงหาโอกาสด้านธุรกิจ หาพันธมิตร

3.  ปรับปรุง process ให้มีประสิทธิภาพ

4.  สร้างทีม

5.  สร้างวัฒนธรรมองค์กร ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และแผนธุรกิจ

ผู้บริหาร กฟผ. ต้องปรับตัว เตรียมความพร้อมในวันข้างหน้า ให้ กฟผ. เป็นองค์กรที่ได้รับความไว้วางใจและเป็นองค์กรที่แข่งขันได้  ความสำเร็จของ กฟผ. นอกจากปัจจัยภายในแล้วยังขึ้นอยู่กับความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐและจากเครือข่ายองค์กร

โดยสรุป ผู้บริหาร กฟผ. ต้องเรียนรู้ให้กว้าง ยอมรับความจริง จับประเด็นให้ได้ ประเมินตนเองตลอดเวลา ปรับเปลี่ยน เรียนรู้ และเตรียมความพร้อมอยู่เสมอ

หัวข้อ  เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย..ผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.

โลกกำลังเผชิญกับวิกฤติต่าง ๆ เช่น

-  วิกฤติหนี้สาธารณะ

-  วิกฤติด้านพลังงานไม่เพียงพอ

-  วิกฤติสิ่งแวดล้อม

-  วิกฤติความขัดแย้ง

ราคาน้ำมัน ก๊าซที่สูงขึ้น ทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจหยุดชะงัก การที่รัฐบาลไทยเอาเงินมาสนับสนุนพลังงานประเภท Fossil มาก มีข้อเสีย คือ เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น และอุตสาหกรรมพลังงานทดแทนไม่เกิด รัฐบาลควรหันมาส่งเสริมภาคขนส่ง เช่น ระบบราง เรือ ที่มีต้นทุนต่ำ รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนให้มีราคาถูกลง ประเทศไทยมีความเสี่ยงสูงในการต้องพึ่งพาพลังงานจากภายนอกประเทศมากขึ้นเรื่อย ๆ ขณะที่ กฟผ. ต้องพยายามควบคุมไม่ให้ราคาค่าไฟแพงขึ้น

โอกาสจาก AEC ทำให้นักลงทุนสามารถขยายกิจการลงทุนต่างประเทศ การค้าขายบริเวณชายแดนที่จะเกิดขึ้น คือ เมืองหน้าด่าน เช่น เชียงราย อุดรธานี กาญจนบุรี ทันทีที่เปิดการค้าเสรี จะทำให้สินค้าเงินทุนเคลื่อนย้ายใน 6 ประเทศ ระยะสั้นไทยมีความเสี่ยงที่คุณภาพของคน

หัวข้อ  TQM/SEPA : ความเป็นเลิศและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ กฟผ.

กฟผ. ติดอยู่กับเครื่องมือวัดคุณภาพมายาวนาน ความคาดหวังของภาคส่วนต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอและมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ “HPO = TQM” เป็นหลักการบริหาร TQA โดยใช้ SEPA เป็นเกณฑ์วัดคุณภาพที่สร้างความพึงพอใจ ความประทับใจจะนำไปสู่คุณค่า คุณค่าที่โดดเด่นแตกต่าง จะกลายเป็น Brand และไปสู่ Blue Ocean

EGAT WAY เป็นการพัฒนา HPO/TQM ในรูปแบบของ EGAT โดยใช้หลักคน (People) ระบบงาน (Work System) สอดคล้องประสานไปสู่องค์การความเป็นเลิศ (Excellent Organization)


การอบรม วันที่ 29 มีนาคม 2556 ได้เรียนรู้

หัวข้อ  แนวคิด Blue Ocean กับการทำงานของ กฟผ. และการปรับใช้เพื่อสร้างโครงการ

  แบบนวัตกรรมของ กฟผ.

ข้อมูลและความรู้เป็นสิ่งสำคัญ เราต้องรู้จักบริหารข้อมูล รับเฉพาะข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับเรา และข้อมูลเชิงกลยุทธ์ การรู้กับรู้จริงก็แตกต่างกัน เพราะการรู้จริงต้องตระหนัก มีเหตุผล และวิเคราะห์เป็นด้วย

Blue Ocean มาจากการรู้จริง และตระหนัก มีการบริหารข้อมูล ทำแล้วเห็นความแตกต่าง  มองนอกกรอบ ทำให้ลูกค้าพอใจ

สรุป Red Ocean  ตลาดเก่า ลูกค้าเก่า กลยุทธ์ คือ แข่งขันแย่งส่วนแบ่งการตลาด

สรุป Blue Ocean ตลาดใหม่ สร้างลูกค้าใหม่ (การแข่งขันยังไม่มี) สร้างนวัตกรรมสินค้า และบริหารที่มีคุณค่า

มุมที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจ

1.  อย่ามองจากมุมตัวเอง มองจากมุมลูกค้า

2.  มองศักยภาพของตัวเอง (Core Competency) ว่าทำอะไรได้บ้างที่ปัจจุบันยังไม่ได้ทำ แต่มองแล้วว่าในอนาคตสามารถทำได้ ต้องค้นพบตัวเอง เลือกอาชีพที่เรารักและมีอนาคต

3.  ปรับเปลี่ยน Core Process เช่น ปรับธุรกิจ เปลี่ยนวิธีขาย การมีพันธมิตร (เป็นการได้ Core Competency ใหม่)

Value Innovation คือ คุณภาพที่ไม่เหมือนใคร ลูกค้าพอใจในความสมดุลย์ระหว่างราคากับความแตกต่างจากเดิม หรือคุณค่าที่ลูกค้าได้รับ Vertical Innovation คือ คิดแปลก ๆ วิเคราะห์ทำได้ไหม ทำอย่างไร และขายได้ไหม

หัวข้อ  High Performance Organization ที่ กฟผ.

HPO คือ องค์กรที่ดี มีการปรับตัวในหลายภาคส่วน แข่งขันได้ตลอดเวลา หัวใจความสำเร็จขององค์กร ต้องทำงานเป็นทีม (ต้องสร้างคนเก่งและคนดี) ผู้นำมีสมรรถนะสูง มีเป้าหมายชัดเจน คนทำงานมีความสุข

แนวคิดขององค์กรที่มี HPO

1.  ตั้งเป้าสูง

2.  เน้นการสร้าง Value ให้องค์กร

3.  เน้นสิ่งที่ตนเองมีความสามารถและโดดเด่น

4.  เป็นองค์กรที่มีความยืดหยุ่นสูง ปรับตัวได้ตลอดเวลา

Human Being กับ Human Resource ต่างกัน เพราะ

1.  คนไม่ใช่สิ่งของ

2.  มีชีวิต จิตใจ ความรู้สึก

3.  มีความมุ่งมั่น เอาชนะธรรมชาติ

4.  มีความคิดเพื่อพัฒนาการต่าง ๆ ตลอดเวลา


นายสุรชัย เจริญศักดิ์

กลุ่ม 5

  บทเรียนที่ได้จากการศึกษาดูงาน ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ตำบลหนองสาหร่ายและ Panel Discussion “Networking Capital กับการพัฒนาเพื่อประชาชน” ระหว่างวันที่  27 - 28  กุมภาพันธ์ 2556

  1. การศึกษาดูงาน ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ตำบลหนองสาหร่าย (ภาคประชาชน) จากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

  “เศรษฐกิจพอเพียง เป็นเสมือนรากฐานของชีวิต รากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน เปรียบเสมือนเสาเข็มที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือน ตัวอาคารไว้นั่นเอง สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็ม แต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็ม และลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ำไป”

  “ระเบิดจากข้างใน ต้องสร้างความเข้มแข็งให้คนในชุมชนที่เราเข้าไปพัฒนาให้มีสภาพพร้อมที่จะรับเสียก่อน แล้วจึงค่อยออกมาสู่สังคมภายนอก มิใช่การนำเอาความเจริญหรือบุคคลจากสังคมภายนอกเข้าไปหาชุมชนหมู่บ้าน ที่ยังไม่ทันได้มีโอกาสเตรียมตัวหรือตั้งตัว”

ปัจจัยความสำเร็จของการนำปรัชญาดังกล่าวไปปฏิบัติต้อง

·  รู้จักคน 

1. หัวไวใจสู้ 20%

2. รอดูทีท่า 57 %

3. ไม่เอาไหนเลย 23 %

·  รู้จักผู้นำ 

1. สามัคคี

2. คิดดี พูดดี ทำดี

3. ซื่อสัตย์ มุ่งมั่นตั้งใจจริง

4. เสียสละ กล้าคิด กล้านำ

5. กล้าตัดสินใจ มีความรับผิดชอบ

·  รู้จักชุมชน 

1. แผนชีวิต

2. แผนชุมชน

3. แผนแม่บทชุมชน

4. แผนพัฒนาท้องถิ่น

  ชุมชนตำบลหนองสาหร่าย เลือกที่จะดำเนินการจัดทำแผนแม่บทชุมชนพึ่งตนเองสร้างกระบวนการเรียนรู้  สู่การแก้ไขปัญหาความยากจนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  8 ขั้นตอน

  1) การเตรียมพื้นที่และเตรียมทีมงาน 

    2) การเปิดเวทีประชุมประชาคมสร้างความเข้าใจ

    3) การสำรวจและรวบรวมข้อมูลชุมชน

    4) การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลชุมชน

    5) การยกร่างแผนแม่บทชุมชน

    6) การประชาพิจารณ์แผนแม่บทชุมชน

    7) การนำแผนแม่บทชุมชนไปสู่การปฏิบัติ

  8) การติดตามประเมินผล และการสรุปบทเรียน

วิเคราะห์ภาพปัญหาของชุมชน ตำบลหนองสาหร่าย

    1)  ด้านภาวะหนี้สินของประชาชน

    2)  ด้านอาชีพและรายได้

    3)  ด้านวัฒนธรรมประเพณี

    4)  ด้านการเมืองและกลุ่มผู้นำในชุมชน

    5)  ด้านการศึกษาของบุคลากรในชุมชน

    6)  ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

    7)  ด้านการดูแลสุขภาพอนามัย

  1)  ฐานการเรียนรู้  การทำปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด ตราสาหร่ายทอง

    2)  ฐานการเรียนรู้  การทำน้ำดื่ม ตราสาหร่ายทอง

    3)  ฐานการเรียนรู้  ธนาคารขยะ

    4)  ฐานการเรียนรู้  สถาบันการเงินชุมชน ตำบลหนองสาหร่าย

    5)  ฐานการเรียนรู้  กองทุนสวัสดิการชุมชน , ธนาคารความดี

    6)  ฐานการเรียนรู้  การทำน้ำยาซักผ้า , ล้างจาน ตราสาหร่ายทอง

    7)  ฐานการเรียนรู้  ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง

    8)  ฐานการเรียนรู้  การทำแก๊สชีวภาพ , ตลาดกลางรับซื้อข้าวเปลือก ธนาคารต้นไม้

    9)  ฐานการเรียนรู้  การทำเครื่องจักสานเส้นพลาสติก

    10) ฐานการเรียนรู้  การทำน้ำหมักอินทรีย์ชีวภาพ

    11) ฐานการเรียนรู้  การทำเบเกอรี่ ตราสาหร่ายทอง

    12) ฐานการเรียนรู้  การทำไม้กวาดทางมะพร้าว

    13) กิจกรรมตลาดนัดความรัก (รักตัวเอง , รักสุขภาพ , รักวัฒนธรรม , รักครอบครัว , รักญาติสนิทมิตรสหาย , รักชุมชน และรักสิ่งแวดล้อม)

2. เวที Panel Discussion Networking Capital กับการพัฒนาเพื่อประชาชน

  - นายบุญอินทร์  ชื่นชวลิต  ผู้อำนวยการเขื่อนศรีนครินทร์

  - นายวสันต์  สุนจิรัตน์  ผู้ใหญ่บ้าน บ้านช่องสะเดา

  - นายปณต  สังข์สมบูรณ์  พลังงานจังหวัดกาญจนบุรี

  - นายวิชาญ  อุ่นอก  ปราชญ์ชาวบ้าน

ทั้ง 4 ท่าน ก็ได้มาเล่าบทบาทหน้าที่ของแต่ละท่านในภารกิจที่ท่านได้รับมอบหมาย กับการพัฒนาเพื่อประชาชน พอจะสรุปสาระสำคัญ คือ

  ·  การทำสิ่งที่ทำง่าย ๆ ก่อนแล้วสำเร็จ เพื่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจ

  ·  การสร้างความเข้าใจกับชุมชนเป็นปัจจัยความสำเร็จในการทำโครงการต่าง ๆ

  ·  การสร้างเครือข่าย เปรียบเสือนต้นกล้วยมี ลำต้น มีเครือ มีหัว มีลูก

  ·  การแข่งขัน 3 ยุค เกษตร  อุตสาหกรรม  สื่อสาร ยุคต่อไปที่สำคัญ คือ การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ

3. จากการศึกษาดูงานและฟังการอภิปรายในการอบรมครั้งนี้

  มีความเห็นว่าสามารถนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาประยุกต์ ใช้กับการทำงานด้าน CSR ของ กฟผ. ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะปัจจุบันนโยบาย กฟผ. มุ่งเน้นให้ กฟผ.เป็นโรงไฟฟ้าของชุมชน ให้ทำงาน CSR in process ซึ่งอดีตที่ผ่านมา กฟผ. มุ่งเน้นแต่ทำภารกิจของ กฟผ.  ให้บรรลุเป้าหมาย คือ ผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอต่อความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าอันจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศในที่สุด จึงมิได้ให้ความสำคัญกับชุมชนเฉกเช่นปัจจุบันนี้  ทุกแห่งที่เป็นที่ตั้งของหน่วยงาน กฟผ. ก็จะมุ่งเน้นและให้ความสำคัญแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด การสร้างความเข้าใจของชุมชนกับความจำเป็น  ที่ต้องมีโรงไฟฟ้า แต่ก็ต้องใช้เวลาเพราะทัศนคติของบุคคลเป็นเรื่องที่แก้ไขไม่ได้ ต้องสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ ข้อสำคัญคือ ต้องเข้าไปนั่งในใจเขาให้ได้  สำหรับการพัฒนาชุมชนรอบโรงไฟฟ้าก็ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องและสามารถทำให้ชุมชนรอบโรงไฟฟ้าสามารถพัฒนาตนเองเหมือนชุมชนหนองสาหร่าย ซึ่ง กฟผ. สามารถสนับสนุนได้หลายรูปแบบไม่ว่าจะด้านความรู้ ด้านปัจจัยสนับสนุน ด้าน Supply Chain ต่าง ๆ ที่ กฟผ.เกี่ยวข้อง แต่ปัจจุบันเรามักคิดทำแบบแยกส่วน หรือที่เราเรียกว่า ทำเป็นทีม ๆ คือ ทีมใครทีมมัน หากการพัฒนางาน CSR in process ของ กฟผ. จะบรรลุผลสำเร็จ ได้ Model หนองสาหร่าย ก็น่าจะเป็นต้นแบบของการพัฒนาแบบพอเพียง กฟผ. ค่อยเป็นพี่เลี้ยงที่ไปทานข้าวบ้านไหนก็ได้ แบบผู้นำชุมชน (นายแรมฯ) เล่า กฟผ.จะทำอะไรผมคิดว่าคงไม่ยากนะครับ

4.  HR FOR Non-HR และการสร้างทุนมนุษย์ที่ กฟผ.

    1)  HR Department

    2)  HR Function ต้องเปลี่ยน Role มาเป็น Smart HR

    3)  Non-HR ต้องช่วยหรือเสริม CEO ให้สนใจเรื่องนี้

    4)  Stakeholders อื่น ๆ

    5)  เนื่องจากงานของ กฟผ.เปลี่ยนไป

    6)  Role ของ Non-HR ต้องทำอย่างไร

แนวคิดของ ดร.จีระ.............................

  ·  8K’s + 5K’s (ใหม่)

  ·  3 วงกลม (Context, Competencies, Motiration)

  ·  HRDS (Happiness, Respect, Dignity, Sustainability)

  ·  HR Execution

  ถือว่าเรื่องทรัพยากรมนุษย์ คือการลงทุน  การลงทุน คือการเสียโอกาสวันนี้ เพื่อจะให้ได้ประโยชน์หรือผลตอบแทนที่มากขึ้นในวันหน้า และสิ่งสำคัญของการทำงานเรื่องคนให้สำเร็จ คือผู้นำหรือองค์กรจะต้องมอง “คน” หรือ “ทรัพยากรมนุษย์” เป็นการลงทุน

ปัจจัยในการบริหารองค์กรสู่ความเป็นเลิศ

    1)  ข้อสังเกต  3 ข้อ

  -  เรื่องคน

  -  องค์กร

  -  ความเป็นเลิศ

    2)  การจะทำงานสำเร็จได้ต้องมีตัวละคร 3 กลุ่ม

  -  CEO

    -  Smart HR

    -  Non-HR

    3)  ทรัพยากรมนุษย์ต้องเชื่อมโยงกับเป้าหมายขององค์กร

    จากนั้นให้ดำเนินการจัดทำ Workshop ในงานของ กฟผ. ที่เกี่ยวข้องกับ CEO, HR และ Non-HR ตั้งแต่สรุปภาพรวมของ HR ( ทั้ง HRD + HRM) ในกฟผ.ว่ามีจุดอ่อน และจุดแข็งอย่างไร? ในฐานะ Non-HR มีจุดอ่อน จุดแข็งที่สำคัญ หรือ Non-HR ต้องปรับปรุงอะไรบ้าง HR Function จะเปลี่ยนเป็น HR Strategy ให้สร้างประโยชน์ต่อ กฟผ. ได้อย่างไร? อุปสรรคอะไร? และในฐานะ Non-HR จะช่วยได้อย่างไร? ระดับบอร์ด ผู้ว่าการ รองผู้ว่าการ มีจุดอ่อน จุดแข็งอย่างไร ในระดับนโยบายด้าน HR และจะต้องปรับปรุงอย่างไร?  ทำให้ทราบจุดอ่อนจุดแข็ง ของการดำเนินงานด้าน HRD + HRM ของ กฟผ.

5.  จากการดูงานวัดป่าหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโณ ( 1 มีนาคม  2556)

    กลุ่มได้รับความรู้แนวคิดต่าง ๆ โดยเฉพาะคำสอนของหลวงพ่อ “รุ่นลูกควรจะให้เขาลำบากเท่ากับเราหรือมากกว่าเรา เพราะว่าเราลำบากมาก่อนจึงได้ฐานะมั่นคงเพียงนี้ ไม่ควรคิดว่าทำให้ลูกเพื่อมันจะไม่ต้องลำบากเหมือนเรา”  สำหรับการนำเสนอประวัติความเป็นมาของวัด ทำให้ทราบวัดก็ต้องทำ CSR in process เช่นกัน เพราะจุดเริ่มต้นของวัดมาจนถึงปัจจุบันและยังพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่งต่อไป ในอนาคตน่าจะเป็นสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก โดยเฉพาะเรื่องเขตอภัยทาน สำหรับสัตว์ป่านานาชนิด แต่ที่เป็นจุดเด่นสูงสุดน่าจะเป็นแหล่งรวมเสือสายพันธุ์ต่าง ๆ จำนวนมาก ซึ่งหาดูที่ไหนไม่ได้ในโลก ต้องมาที่วัดป่าหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน แห่งนี้เท่านั้น เปรียบเทียบวัดกับโรงไฟฟ้าของ กฟผ.  กฟผ.จะทำอย่างไรให้เป็นที่พึ่งพาของชาวบ้านในพื้นที่ เป็นแหล่งประกอบอาชีพต่าง ๆ ที่ทำให้เกิด WIN – WIN Situation คือต่างฝ่ายต่างได้รับประโยชน์ที่แตกต่างกัน การดำเนินงานก็เป็นไปอย่างราบรื่น


นายสุรชัย เจริญศักดิ์

วันที่  26  มีนาคม  2556

หัวข้อ “ นวัตกรรมทางสังคมเพิ่อชุมชนกับการทำงานของ กฟผ.”

โดย  ครูบาสุทธินันธ์  ปรัชญพฤทธิ์  ดรเสรี  พงศ์พิศ  คุณศานิต  นิยมาคม  คุณสุทธิเดช  สุทธิสมณ์

              กล่าวถึงบทบาทของ   กฟผ.ในฐานะหน่วยงานที่สร้างสาธารณูปโภคที่สำคัญและเป็นหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจยังประโยชน์ให้แก่ประชาชน แต่เหตุใดจึงมีปัญหาถูกขัดขวางต่อต้านจาก ประชาชน ทั้งที่ทุกคนต้องใช้ไฟฟ้า สาเหตุอาจจะมาจากการละเลยหรือห่างเหินกับประชาชน ไม่ได้สร้างความคุ้นเคยหรือสร้างสัมพันธ์ที่ดีอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น กฟผ.ควรนำเอานวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน (Social Innovation)มาใช้สำหรับงานด้านชุมชน และสังคม สำหรับโครงการในอนาคต  และควรสร้างความเชื่อมั่น และภาพลักษณ์ใหม่เป็นองค์กรที่อยู่ร่วมกับชุมชนและสังคมได้อย่างสง่างาม จริงใจ สามารถพึ่งพาซึ่งกันและกัน

หัวข้อ “ เทคนิคการสื่อสารกับสื่อสารมวลชน”

โดย  ดร.พจน์  ใจชาญสุขกิจ

           กฟผ.ควรต้องเตรียมการและเข้าใจสื่อสารมวลชน หรือผู้ผลิตสื่อ เพราะปัจจุบัน กฟผ.ไม่สามารถอยู่ลำพังหรือปิดตัวเอง โดยไม่สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่สังคมได้ และวิธีการที่จะให้สังคมได้ทราบข่าวสารข้อเท็จจริงของ กฟผ.ได้อย่างกว้างขวางคือสื่อต่างๆ ดังนั้นจะ ต้องสร้างความสัมพันธ์ และบริหารความสัมพันธ์  รู้จักสร้างเครือข่าย  เชื่อมโยงสื่อต่างๆให้ได้  รวมทั้งศึกษากระบวนการทำงานของสื่อ  ต้องมีความจริงใจและสร้างความน่าเชื่อถือ  มีความสม่ำเสมอ

หัวข้อ “Managing  Self  Performance ”

โดย  อ.อิทธิภัทร์  ภัทรเมฆานนท์

              เป็นการเรียนรู้วิธีการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยเริ่มแรกต้องเข้าใจตัวตนก่อน ซึ่งประกอบไปด้วย ทักษะ ความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ ค่านิยม แล้วทำงานด้วยความมุ่งมั่น รวมทั้งรู้จักการเขียน Life Mapping เพื่อออกแบบการไปสู่เป้าหมาย

วันที่  27  มีนาคม  2556

หัวข้อ “ ธรรมาภิบาลของ กฟผ.”

โดย  อดีต ผวก.คุณไกรสีห์  กรรณสูตร  อดีต ผวก.คุณสมบัติ  ศานติจารี  และ อ.ธรรมรักษ์  การพิศิษฐ์

            กฟผ. เป็นองค์กรที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นองค์กรที่มีธรรมาภิบาล ในระดับแนวหน้าของประเทศ ซึ่งเกิดจากการสร้างของผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานในอดีต ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ซึ่งผู้ปฏิบัติงานทุกระดับในยุคปัจจุบัน ถือเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่ควรต้องสืบทอด และส่งต่อให้กับผู้ปฏิบัติงานรุ่นต่อๆไป อีกทั้งจะต้องขยายขอบข่ายธรรมมาภิบาลสู่สังคมภายนอกเพื่อทราบ เป็นการนำจุดแข็งด้านสังคมของ กฟผ.มาชูประเด็นให้ชุมชนได้รับรู้ ซึ่งเป็นการช่วยเสริมให้เกิดการเชื่อมั่นในการดำเนินงาน และจะช่วยลดการคัดค้าน หรือต่อต้านโครงการพัฒนาโรงไฟฟ้า ของ กฟผ.

หัวข้อ “ เศรษฐศาสตร์พลังงาน”

อ.พรายพล คุ้มทรัพย์

                ในสภาวะเศรษฐกิจสังคมโลกในปัจจุบัน จะต้องมีการติดตามข้อมูลต่างๆในด้านพลังงานอย่างใกล้ชิด เพราะการปรับเปลี่ยนด้านพลังงานจากที่หนึ่งจะมีผลกระทบไปทั่ว ดังเช่น กฟผ.ได้รับผลกระทบจากการหยุดส่งก๊าซจากประเทศพม่า เพราะจำเป็นต้องพึ่งพาก๊าซในการผลิตไฟฟ้าเป็นหลักดังนั้น กฟผ.ต้องวางแผนรองรับสถานการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดในอนาคต จะต้องรู้จักวางแผนล่วงหน้า สร้างพันธมิตรด้านพลังงาน วางแผนสำรองในทุกด้านเพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงด้านพลังงานในประเทศ

หัวข้อ “ ผู้นำกับการสร้างทุนทางจริยธรรมในองค์กร”

โดย  คุณดนัย  จันทร์เจ้าฉาย

                 สิ่งที่ได้เรียนรู้ คือองค์กรที่ได้รับความเชื่อถือไว้วางใจ สามารถจะทำงานให้สำเร็จได้เร็วและมีต้นทุนต่ำ ในทางกลับกันองค์กรที่ไม่ได้รับความเชื่อถือ ไม่น่าไว้วางใจจะทำงานได้ช้าและต้นทุนสูง เพราะจะไม่มีใครกล้าร่วมมือ Purpose (เป้าหมาย) และ Passion (อุดมการณ์หรือความศรัทธา) เป็นสิ่งที่จำเป็นมากสำหรับทำให้ประสบผลสำเร็จ ดังนั้นการสร้างองค์กรที่เป็น White ocean ซึ่งมีทุนทางจริยธรรมสูงจะมีผลประกอบการดีกว่าองค์กรทั่วไป เป็นองค์กรที่มีความสุข เป็นองค์กรที่สร้างผลเชิงบวกต่อสังคมโดยรวม  ฉะนั้น กฟผ.จึงควรสร้างจุดยืนขององค์กรให้เป็น White ocean

วันที่  28  มีนาคม 2556

หัวข้อ “ ประสบการณ์การเรียนรู้ในรุ่นที่ 2 ของข้าพเจ้ากับการปรับใช้เพื่อการบริหาร กฟผ. ในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลง”

โดย  ผวก.สุทัศน์  ปัทมสิริวัฒน์

              ผวก.กล่าวว่าในปัจจุบันโลกเปลี่ยนแปลงไปรวดเร็วมาก องค์กรต้องพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงตามกระแสโลกาภิวัฒน์ ขณะนี้ กฟผ. มุ่งเน้นพัฒนาบุคลกรเพื่อสร้าง กฟผ.ให้เป็นองค์กร HPO สร้างการยอมรับ เชื่อถือ ทำให้สังคมภายนอกมอง กฟผ.ด้วยความภาคภูมิใจว่ากฟผ.เป็นองค์กรมืออาชีพและมีหลักธรรมาภิบาล โดยเน้นสร้างผู้บริหารรุ่นใหม่ ให้เน้นองค็ประกอบการทำงานดังนี้

1. การทำงานต้องมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

2. การแสวงหาโอกาสในการพัฒนาธุรกิจ

3. ปรับปรุงพัฒนาในการเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรในกระบวนการต่างๆ

4. การสร้างทีมงาน

5. การสร้างและรักษาวัฒนธรรมที่ดีขององค์กร

หัวข้อ “ เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทย ผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.”

โดย  รศ.ดร.สมชาย  ภคภาสน์วิวัฒน์  อ.มนู  ศิริวรรณ  ดร.กอบศักดิ์  ภูตระกูล

            เป็นการกล่าวถึงภาวะเศรษฐกิจโลกทั้งอเมริกา ยุโรป และเอเซีย ในปัจจุบันซึ่งส่งผลกระทบต่อประเทศในอาเซียนรวมถึงประเทศไทย  ภาวะพลังงานของโลก ที่เปลี่ยนแปลงไปจนคาดว่าเป็นปฏิวัติที่ 3 ของโลกคือGreen Energy และได้ให้ความเห็นว่า กฟผ.ควรหาแนวทางที่จะเป็นศูนย์กลางของการเชื่อมโยงเครือข่ายพลังงานไฟฟ้ากับประเทศเพื่อนบ้านอย่างไรเนื่องจากภูมิศาสตร์ที่เหมาะสม ซึ่งจะทำให้บทบาทของ กฟผ. เปลี่ยนไป และแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในอีก  3 ปีข้างหน้า ซึ่งมีโอกาสที่กำลังเปิดเพราะการรวมตัวของประเทศต่างๆ ขึ้นเป็น AEC

หัวข้อ “TQM / SEPA : ความเป็นเลิศและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ กฟผ.”

โดย  รวห.คุณพิบูลย์  บัวแช่ม  อ.สัญญา  เศรษฐพิทยากุล  อ.นริศ  ธรรมเกื้อกูล

- เป็นการกล่าวถึงเส้นทางสู่TQM โดยใช้ EGAT WAY เพื่อให้สำเร็จตามเป้าหมายได้มีการตั้ง TQM  OFFICE ประสบการณ์การดำเนินงานTQA ของบริษัท Retail Ring และองค์กรที่อยากจะประสบความสำเร็จได้รางวัล TQA ผู้บริหารสูงสุด และผู้บริหารระดับรองทุกคน ต้องให้การสนับสนุน

- กรอบ/แนวทางการนำEGAT WAY ไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งมีข้อกำหนด 9 ข้อ เน้นเรื่อง คน (People) ระบบงาน (System) เพื่อสอดประสานให้องค์การสู่ความเป็นเลิศ (Excellent Organization)

วันที่  29  มีนาคม  2556

หัวข้อ “Blue Ocean กับการทำงานของ กฟผ.และการปรับใช้เพื่อสร้างโครงสร้างแบบนวัตกรรมของ กฟผ.”

โดย  รศ.ดร.สมชาย  ภคภาสน์วิวัฒน์

           กล่าวถึงสัดส่วนปริมาณการผลิตพลังงานไฟฟ้าของ กฟผ. ถูกกำหนดให้ลดลงจากเดิมในอดีต จากเหตุผลต่างๆ เช่น ต้นทุนการผลิตพลังงานไฟฟ้า ที่สูง หรือ กฎระเบียบที่ใช้อยู่ในองค์กรที่ไม่เอื้อให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและนโยบายรัฐบาล หากเมื่อถึงเวลาเข้าสู่ประชาคมสังคมเศรษฐกิจอาเซียนองค์กรจะได้รับผลกระทบทั้งด้านบวก และลบ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  ดังนั้น กฟผ. ควรต้องปรับมุมมองใหม่เพื่อให้องค์กรเกิดแนวคิดใหม่ๆ สร้างสิ่งที่ยังไม่มีใครคิด หรือทำมาก่อน ตามแนวคิดBlue Ocean เพื่อให้ กฟผ.สามารถเป็นองค์กรผลิต และจัดหาพลังงานไฟฟ้าชั้นนำของประเทศ กฟผ. อาจต้องปรับBusiness Model เพื่อรองรับธุรกิจใหม่ๆ และเน้นการทำ Business innovation และต้องพัฒนาทีมงานด้านนี้ขึ้นมาอย่างเป็นรูปธรรม

หัวข้อ “High  Performance Organization ที่ กฟผ..”

โดย  ดร.สมโภชน์  นพคุณ  คุณสมชาย  ไตรรัตนภิรมย์

            กล่าวถึง กฟผ.เป็นองค์กรที่มีผู้ปฏิบัติงาน ที่เป็น คนเก่ง คนดี มีเครือข่าย และทำงานอย่างมีความสุข ซึ่งสามารถจะช่วยให้องค์กรเป็นHigh Performance Organizationได้ง่าย และเร็วขึ้น ดังนั้นผู้บริหารองค์กรต้องสนับสนุน และส่งเสริม ให้ผู้ปฏิบัติงาน เช่น การสร้างบรรยากาศการทำงานให้เอื้อต่อการเป็นคนเก่ง คนดี หรือ การให้โอกาสคนเก่ง คนดี ได้ทำงานมากขึ้น รวมทั้งการสนับสนุน ส่งเสริม และรักษาไว้ สำหรับผู้ปฏิบัติงานที่ช่วยองค์กรในเรื่องHigh Performance Organization และ

           กฟผ.ต้องพยายาม  Apply เกณฑ์ TQA/SEPA  และมีการ Implement ให้ได้ตามเกณฑ์ ผู้นำต้องเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการ Lead องค์กร ต้องสร้าง Excellenceในทุกด้านโดยเริ่มจาก Core หลักขององค์กรก่อน เช่นOperational excellence  ปรับองค์กรให้เป็น Dynamic organization


นายพลศรี สุวิศิษฏ์อาษา

วันที่ 26 มีนาคม 2556 หัวข้อ นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน (Social Innovation)

กับการทำงานของ กฟผ.

ได้แนวคิดต่างๆดังนี้

การทำเรื่องธรรมดา ให้เป็นเรื่องพิเศษ เพื่อให้คนสนใจ

การอธิบายในห้อง/นอกห้อง, ความรู้, ความจริง จะทำให้เป็น คนรู้จริง

ปัญหาของ กฟผ. ต้องทำตัวให้เนียนกับคนอื่น อย่าทำตัวแตกต่าง

การทำงานเชิงรุก อย่างแรกต้องลุกจากเก้าอี้ก่อน

สังคมไทย คนส่วนใหญ่ ได้ปริญญา แต่... ไม่ได้ความรู้ จึงเอาตัวไม่รอด

ความรู้ต้องสร้างจากประสบการณ์

สังคมไทย ใช้เงินนำหน้า จึง...เกิดปัญหาตามหลัง

ชุมชนจะเข้มแข็งต้อง มีการพัฒนา, มีการเรียนรู้, มีการพึ่งพาตนเอง, 

มีการพัฒนาทรัพยากรณ์, พัฒนาสุขภาพ & จิตใจ

และที่สำคัญคือ การพัฒนาประสิทธิภาพของคนในชุมชน

นายพลศรี สุวิศิษฏ์อาษา

วันที่ 26 มีนาคม 2556 หัวข้อ เทคนิคการสื่อสารกับสื่อสารมวลชน

แนวคิดที่ได้รับ

    E    +       R      =      O

Event + Reaction = Outcome

ถ้าไม่พอใจผลลัพธ์ สิ่งที่คนจะทำคือ

- โทษ E ที่ไม่ทำให้เกิด O

- เปลี่ยน R ต่อเหตุการณ์ E จนกว่าจะได้ O

สมองส่วนหน้า => การแก้ไขปัญหา, การตัดสินใจ

สมองส่วนกลาง => ความรู้สึก, อารมณ์

Cause ทำให้เกิด Effect

ไม่ใช่ Effect เพราะ Cause

เรียนอาจารย์จีระ

ผมขอส่งงานที่ค้างครับ

กิจกรรม CSR & กิจกรรมรักษ์กาย -รักษ์ใจ  วันที่ 27 กุมภาพันธ์ -1 มีนาคม  2556

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง  ต.หนองสาหร่าย อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี 

จากการที่ได้ฟังผู้อำนวยการศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง คุณแรม เชียงกา พูดถึงรายละเอียดของชุมชนหนองสาหร่าย โดยส่วนใหญ่แล้วในเรื่องของการทำงานจะเน้นในเรื่องของความสามัคคีเป็นหลัก ซึ่งในการทำงานจะต้องมีการวางแผนทุกครั้ง ที่ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงแห่งนี้มีเป้าหมายและการวางแผนที่ชัดเจนจึงทำให้ทุกคนที่อาศัยในชุมชนแห่งนี้มีทิศทางการดำเนินชีวิตและการดำเนินการไปในทิศทางเดียวและการพัฒนาชุมชนสิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็ว่าได้คือ การมีผู้นำที่ดีและเข้มแข็ง สามารถแก้ไขปัญหาและวางกลยุทธ์ต่างๆที่จะสามารถพัฒนาชุมชนให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้โดยให้ทุกคนในชุมชนมีส่วนร่วมและสามัคคีกัน ในขณะเดียวกัน กฟผ.เองก็มีการวางเป้าหมายและวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนซึ่งพนักงานทุกคนก็ทราบกันดีและมีแนวทางการปฏิบัติไปในแนวทางเดียวกัน

วิสัยทัศน์จังหวัดกาญจนบุรี และ Panel Discussion Networking Capital กับการพัฒนาเพื่อประชาชน เขื่อนท่าทุ่งนา จ.กาญจนบุรี

จากอดีตถึงปัจจุบัน การสร้างเขื่อนหรือโรงไฟฟ้าต่างๆยังคงมีการขัดแย้งและความไม่เข้าใจกันระหว่าง กฟผ.และชุมชน ซึ่งส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาหรือความขัดแย้งน่าจะมาจากการสื่อสารไม่เข้าใจกันและไม่ตรงกัน ซึ่ง กฟผ. ควรมีการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนได้ทราบถึงวัตถุประสงค์ของการสร้างและข้อดี-ข้อเสียของการสร้างโรงไฟฟ้าและเขื่อนต่างๆ เพราะเหตุผลหนึ่งที่สร้างโรงไฟฟ้าและเขื่อนต่างๆก็ล้วนแต่เพื่อความสุขของคนไทยซึ่งนั้นก็หมายถึงคนในชุมชนนั้นด้วย

กิจกรรม ณ วัดเสือ วัดป่าหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน จ.กาญจนบุรี  พระอาจารย์ภูสิต (จันทร์) ขันติธโรและ นายสัตวแพทย์สมชัย วิเศษมงคลชัย

วัดเสือ วัดป่าหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน เป็นวัดที่แปลกอีกที่ก็ว่าได้เพราะมีการเลี้ยงเสือไว้ภายในวัด ซึ่งปัจจุบันวัดแห่งนี้เป็นที่ยอมรับของบุคคลทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศ ผู้ที่ไปวัดแห่งนี้สามารถถ่ายรูปเล่นกับเสือได้ ทำให้วัดแห่งนี้มีจุดที่น่าสนใจมากนอกจากการเข้าไปทำบุญและไหว้พระ พระอาจารย์ภูสิตเล่าว่าเสือเป็นสัตว์ที่ดุร้ายแต่หากเลี้ยงด้วยใจ เอาใจใส่ ความดุร้ายของมันก็จะสยบลง พระอาจารย์ฯบอกว่าการจะทำให้ชาวบ้านยอมรับกับเรื่องที่วัดเลี้ยงเสือเป็นเรื่องที่ง่ายหากเราต้องทำด้วยใจ  หากเปรียบเทียบ กฟผ.  กฟผ. ก็ต้องทำให้ชุมชนยอมรับและไว้เนื้อเชื่อใจให้ได้เพื่อความสะดวกในการสร้างเขื่อนและโรงไฟฟ้าต่างๆ มันจะไม่ยากเลยหากเราทำด้วยความจริงใจและสุจริตดังที่ทางวัดป่าหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน จ.กาญจนบุรี ปฏิบัติ


นายพลศรี สุวิศิษฏ์อาษา

วันที่ 27 มีนาคม 2556 หัวข้อ ผู้นำกับการสร้างทุนทางจริยธรรมในองค์กร

ได้รับแนวความคิดต่างๆดังนี้

White Ocean

ISR = Individual Social Responsibility

อุณหภูมิโลกเฉลี่ยจาก 10 -> 15 องศา ===>>> โลกกำลังปรับตัว

สิ่งมีชีวิตที่แข็งแรงที่สุด ก็ไม่แน่ว่าจะรักษาสายพันธ์ไว้ได้ ถ้าไม่มีการปรับเปลี่ยน

การเปลี่ยนแปลงต้องเริ่มที่ตัวเอง

ความโง่งม คือการทำซ้ำในสิ่งเดิมๆ แล้วหวังว่าจะได้ผลลัพธ์ใหม่ๆตามที่ต้องการ

What analysis?

What are we?

What do you want to go? 

นายพลศรี สุวิศิษฏ์อาษา

วันที่ 28 มีนาคม 2556 การบรรยายพิเศษโดย ผวก.

ได้รับแนวความคิดดังนี้

การเติบโต ต้องมีการปรับปรุง โดยเฉพาะ EGAT ต้องปรับกระบวนทัศน์ วิสัยทัศน์

การพัฒนา HR

นโยบายการหยุดรับคนที่ผ่านมา เป็นเรื่องที่ผิดพลาด

ปัจจุบันเริ่มทะยอยรับ ซึ่งต้องมี แผนการรับ, คุณสมบัติ, การพัฒนา

การสร้างผู้นำรุ่นใหม่ Competency ต่างๆ

การประเมินตนเอง => การวางแผนการพัฒนา

องค์กรณ์จะเจริญเติบโต ต้องได้รับการไว้วางใจจากสังคม

การสร้างวัฒนธรรม

รู้ให้กว้าง, จับประเด็น, ประเมินตนเอง, เตรียมตัวให้พร้อม

คนเป็นเรื่องที่สำคัญ 

นายพลศรี สุวิศิษฏ์อาษา

วันที่ 28 มีนาคม 2556

ได้แนวความคิดดังนี้

ประชากรมนุษย์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ 1,000 ล้านคน ทุกๆ 15 ปี

จีนเติบโตมากในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาเป็นตัวเลข 2 หลัก แต่ปีที่แล้วเหลือ 7% เกิดอะไรขึ้น?

ประเทศไทย จะมีการเปลี่ยนแปลงมากอย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อน เนื่องจากการขยายตัวของทุนนิยม

เราพร้อมหรือยัง?

ไทยนำเข้าพลังงานมาก ทำให้สูญเสียเงินตราต่างประเทศอย่างมหาศาล

มีความเสี่ยงสูงในการต้องพึ่งพาพลังงานจากภายนอกประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ

ไม่มีปัญญาสร้างพลังงานจากภายในประเทศ เป็นเพราะอะไร?

ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ไม่สอดคล้องกับการพัฒนาด้านพลังงาน

การอุดหนุนราคาพลังงานเป็นเรื่องถูกต้องหรือไม่?

ต้องรีบส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน และพลังงานทางเลือก

การสร้างจิตสำนึก สร้างความเข้าใจกับชุมชนในโครงการพัฒนาแหล่งพลังงานต่างๆ

โดยไม่กระทบกับวิถีชีวิตของชุมชน

การปรับองค์กรเพื่อรองรับการแข่งขัน

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ วันที่ 28 มีค.56

หัวข้อ ประสบการณ์การเรียนรู้ในรุ่น 2 ของข้าพเจ้า กับการปรับใช้เพื่อการบริหาร กฟผ. ในยุคที่โลกเปลี่ยน

โดย ผวก.

การเข้าอบรมหลักสูตร EADP เป็นการเปิดมุมมองในด้านอื่นๆ นอกเหนือจากงานที่รับผิดชอบ เพื่อสร้างความหลากหลาย เตรียมความพร้อมสำหรับสำหรับภารกิจที่อาจจะได้รับในภายหน้า  และได้รับการกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้

หัวข้อ เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย ผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.

เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย กำลังดีขึ้น  รวมถึงเขตการค้าเสรีอาเซียนกำลังจะเริ่มต้น  กฟผ. จะต้องปรับตัว เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงภายนอก

หัวข้อ TQM/SEPA : และการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ กฟผ.

นโยบายด้านคุณภาพของ กฟผ. คือ การเป็นองค์กรชั้นนำในระดับสากล  ต้องมีคุณสมบัติ 5 ประการดังนี้

1.  Corporate Good Governance

2.  High Performance Organization

3.  Operational Excellent

4.  National Pride

5.  Financial Variability

กฟผ. ใช้ TQM ในการดำเนินนโยบายด้านคุณภาพ โดยปรับให้เข้ากับวัฒนธรรมของ กฟผ. และเรียกว่า EGAT WAY ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำ โดยที่ปรึกษา

TQM เป็นเครื่องมือด้านคุณภาพที่ดี แต่ผู้นำสูงสุดขององค์กรจะต้องร่วมมือด้วยจึงจะสัมฤทธิ์ผล


สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ วันที่ 29 มีค.56

หัวข้อ แนวคิด Blue Ocean กับการทำงานของ กฟผ. และการปรับใช้เพื่อสร้างโครงการแบบนวัตกรรมของ กฟผ

การเข้าสู่ Blue Ocean

-  ต้องปรับ Mindset จึงจะเข้าสู่ ได้

-  ต้องรู้จักบริหารความรู้และข้อมูล คือ รับเฉพาะข้อมูลที่เกี่ยวข้องและให้มีมุมมองรอบด้าน

-  ต้องคิดก่อนทำทุกครั้ง

หัวข้อ  High Performance Organization ที่ กฟผ.

HPO คือ องค์กรที่มีสมรรถนะสูง มีการปรับตัวให้รับกับการเปลี่ยนแปลง แข่งขันได้ตลอดเวลา ต้องทำงานเป็นทีม  ผู้นำมีสมรรถนะสูง องค์กรมีเป้าหมายชัดเจน คนทำงานมีความสุข


สรุปความรู้ที่ได้จากการเรียนในวันที่ 29 มี.ค. 56

แนวคิด Blue Ocean กับการทำงานของ กฟผ. และการปรับใช้เพื่อสร้างโครงการแบบนวัตกรรมของ กฟผ.

แนวคิด Blue Ocean เป็นแนวคิดในการทำธุรกิจสมัยใหม่ ที่จะต้องสร้างสินค้าและบริการตัวใหม่ (Innovation) เพื่อสร้างความต้องการใหม่ (New Demand) โดยไม่เน้นการแข่งขันกับคู่แข่ง แต่จะใช้กลยุทธ์และสร้างความแตกต่างไปพร้อมกัน เพื่อให้เกิดนวัตกรรมที่มีคุณค่า (Vulue Innovation)

การปรับใช้กับ กฟผ. อย่ามองจากมุมมองของตัวเอง มองศักยภาพของตัวเองว่าในปัจจุบันยังไม่ได้ทำ แต่ต้องทำในอนาคต

High Performance Organization ที่ กฟผ.

กฟผ. จะเป็นองค์การที่มี High Performance Organization ต้องประกอบด้วย

-  ผู้นำ ต้องมีทัศนคติเชิงบวก มีวิสัยทัศน์ มีวินัย มีความมุ่งมั่น มีเป้าหมาย และมีความน่าเชื่อถือ

-  พนักงาน ต้องทำงานเป็นทีม เข้าใจภารกิจ

-  องค์การ ต้องเป็น Dynamic Structure

-  วิธีการทำงาน ต้องมุ่งเน้นให้พนักงานทำงานอย่างมีความสุข

สรุปบทความจากหนังสือพิมพ์

Creating mutual opportunities

ประธานาธิบดี Xi Jinping ของจีน เดินทางเยือนรัสเซีย นับเป็นการเดินทางออกนอกประเทศครั้งแรกหลังจากรับตำแหน่ง หลังจากพบกันประธานาธิบดี Vladimir Putin ในการร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามความร่วมมือเรื่องพลังงานและข้อตกลงอื่นๆ เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2556 ประธานาธิบดี Xi Jinping ได้กล่าวสุนทรพจน์เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศ และความสัมพันธ์กับรัสเซียที่กรุงมอสโค โดยกล่าวว่ายุคสงครามเย็นได้สิ้นสุดลงแล้ว จากนี้ไปเป็นการเปลี่ยนไปสู่การพัฒนาและเติบโตไปด้วยกัน ประธานาธิบดี Xi Jinping ยังได้กล่าวถึงการแทรกแซงทางการเมืองระหว่างประเทศว่า ควรให้แต่ละประเทศแก้ปัญหาภายในด้วยตัวเอง ไม่ควรเข้าไปแทรกแซง แต่ควรเป็นผู้ไกล่เกลี่ยระหว่างรัฐบาลกับประชาชน เราต้องเคารพสิทธิ์ของแต่ละประเทศในการกำหนดแนวทางพัฒนาของตัวเอง

ประธานาธิบดี Xi Jinping ยังได้พบปะกับนักศึกษาที่ Russian College เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างเยาวชนของทั้งสองประเทศ นอกจากนี้ประธานาธิบดี Xi Jinping ยังได้รับเชิญให้ไปเยือนสำนักงานป้องกันประเทศของรัสเซีย นับเป็นผู้นำระดับสูงของจีนคนแรกที่ได้รับเชิญ แสดงถึงความไว้เนื้อเชื่อใจและความร่วมมือทางทหารในอนาคต

Xi highlights bonds of ‘shared destiny’

ประธานาธิบดี Xi Jinping เยือนแทนซาเนียเป็นประเทศที่สอง จีนกำลังเพิ่มความสัมพันธ์และให้ความสำคัญกับแอฟริกา โดยประธานาธิบดี Xi Jinping ได้กล่าวว่า นโยบายต่างประเทศที่เป็นฐานสำคัญคือการเป็นหนึ่งเดียวและความร่วมมือกับแอฟริกา  จีนและแอฟริกจะสนับสนุนในผลประโยชน์ร่วมกันอย่างต่อเนื่องไม่เปลี่ยนแปลง แม้ว่าจีนจะเติบโตขึ้นอย่างแข็งแกร่งในระดับนานาชาติ จีนจะให้ความช่วยเหลือโดยไม่คำนึงถึงเรื่องการเมือง จีนได้ขยายความช่วยเหลือทั้งการลงทุน โครงสร้างพื้นฐาน ให้การอบรมและทุนการศึกษาแก่แอฟริกา จีนจะช่วยประเทศอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่คำนึงขนาดของประเทศ ความแข็งแกร่ง หรือความมั่งคั่ง นอกจากนี้ เขาได้กล่าวว่าจีนคาดหวังให้มีความเป็นหนึ่งเดียวในแอฟริกา และมีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นกับประเทศอื่นๆในแถบแอฟริกา  แอฟริกาเป็นของประชาชนแอฟริกัน ในการพัฒนาแอฟริกา ประเทศต่างๆ ควรจะเคารพเกียรติและความเป็นอิสระของแอฟริกา จีนและแอฟรืกาจะเผชิญและแก้ปัญหาด้วยจิตวิญาณและความร่วมมือไปสู่ชัยชนะที่ร่วมกัน

Grouping on Track to be ‘global force’

การประชุมครั้งที่ 5 ของ BRICS ซึ่งประกอบด้วย 5 ประเทศ คือ บลาซิล, รัสเซีย, อินเดีย, จีน และแอฟริกาใต้ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2556 ที่เมือง Durban ประเทศแอฟฟริกาใต้ เป็นการประชุมเพื่อความร่วมมือกันในเรื่องเศรษฐกิจและการเมือง

ประธานาธิบดี Xi Jinping ได้แสดงความเชื่อมั่นแม้ว่าเศรษฐกิจโลกจะเติบโตช้าลง แต่จะไม่กระทบกับเศรษฐกิจของ BRICS เนื่องจากศักยภาพที่มีอยู่ของ BRICS การปรับปรุงมาตรฐานความเป็นอยู่ของคน 3 พันล้านคน จะทำให้สร้างโอกาสในการเกิดโครงการหลักๆ ขึ้น

ประธานาธิบดี Xi Jinping ประกาศให้นักลงทุนจีนมีส่วนในการพัฒนาเศรษฐกิจโดยไปลงทุนในกลุ่มประเทศ BRICS และเชิญชวนนักลงทุนจากประเทศสมาชิกมาลงทุนในจีน

ในการประชุมได้มีการก่อตั้ง BRICS Business Council ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากทั้ง 5 ประเทศ ที่มีฐานะเท่าเทียมกัน ร่วมกันดำเนินการโดยไม่มีการตั้งผู้นำที่ถาวร โดยจะทำหน้าที่คล้ายกับ World Trade Organization แต่มีขนาดเล็กกว่า มีจุดประสงค์เพื่อแก้ปัญหาข้อขัดแย้งทางการค้า

ยิ่งไปกว่านั้นยังร่วมกันจัดตั้ง ธนาคารเพื่อการพัฒนา เพื่อเป็นเงินลงทุนสนับสนุนโครงการต่างๆในการสร้างระบบสาธารณูปโภค


วุฒิไกร สร่างนิทร

วันที่ 26 มีนาคม 2556

เรื่อง นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน(Social Innovation)กับการทำงาน กฟผ.”

ครูบาสุทธินัน ปรัชญพฤธิ์

ดร.เสรี พงศ์พิศ

คุณศานิต นิยมาคม วิทยากรระดับ 11 กฟผ.

คุณสุทธิเดช สุทธิสมณ์

ดำเนินการอภิปราย โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

 ในหลักสูตร EGAT Assistant Director Development Program (EADP) ในช่วงที่ 3 นี้ อาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่ได้นำประเด็นเรื่องใกล้ตัว เป็นเรื่องเส้นผมบังภูเขาที่ กฟผ.พยายามและทุ่มเทอย่างยิ่ง แต่ยังไม่สามารถสรุปได้ว่า กฟผ.ประสบผลสำเร็จและยังคงเป็นศาสตร์ที่ กฟผ.ต้องเรียนรู้ต่อไป ได้แก่ เรื่อง นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน(Social Innovation) กับการทำงาน กฟผ.

ครูบาสุทธินัน ปรัชญพฤธิ์ แห่งมหาชีวาลัยอีสาน ได้กล่าวถึงประเทศไทยในปัจจุบัน  สังคมคุยกันไม่รู้เรื่อง การพัฒนาไม่ก้าวหน้า มีการทำลายพื้นที่ป่า ลักลอบตัดต้นไม้ กฎหมายยังล้าหลัง  นอกกจากนี้ ครูบาสุทธินันฯ ยังได้เล่าถึงเรื่องมหาชีวาลัยอีสาน ซึ่งมีบุคคลมากมายทั้งในและต่างประเทศ เช่น คณะอาจารย์และนักศึกษาแพทย์มาร่วมกันเรียนรู้ชีวิต ครูบาสุทธินันฯสอนให้ คนรู้จักพึ่งพาตนเองไม่เป็นทาสให้กับนายทุนที่เอาเปรียบ กดขี่ ทำให้คนเป็นทาส ทำงานให้ผลประโยชน์แก่บริษัท การเรียนรู้ในมหาชีวาลัย ต้องลึกซึ้งถึงการปฏิบัติ มีท่าทีและลีลาเป็นยุทธศาสตร์ มีความจริงใจ ทำงานต้องได้ใจ

สำหรับ กฟผ.แล้วคนไทยยินดีเปิดรับ ขอให้ กฟผ.รู้จักบทบาทและทำงานในหน้าที่ของตนเองให้ดีและรู้จักผสมผสานการเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด กฟผ.ทำอะไรไว้เยอะแต่ไม่เก็บผงงาน ทำทิ้งทำขว้าง ต้องรู้จักการทำตัวให้เนียน ยุคนี้ คนไทยต้องทำงานเชิงรุก ลุกจากเก้าอี้ ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ ประเทศไทยเราเปราะบาง ประเทศไทยไม่ใช่ประเทศแห่งการเรียนรู้จริง การเรียนรู้ต้องเกิดจากประสบการณ์จริง ประเทศไทยในปัจจุบัน ยังใช้เงิน-อำนาจนำหน้า สังคมตามหลังมาโดยตลอด ประเทศไทยจะอยู่ในวังวนนี้ไปตลอดหากเราต้องไม่รู้จักคิดนอกกรอบ เช่นต้นไม้ในกระถางที่ไม่มีวันเติบโตเป็นต้นไม้ใหญ่ถ้าไม่ทุบกระถางแล้วปลูกลงดิน

ดร.เสรี พงศ์พิศ ได้นำตัวอย่างที่ดีเยี่ยมเรื่องของนายประยงค์ รณรงค์ ได้รับรางวัลแมกไซไซ ในการเป็นผู้นำในชุมชนไม้เรียง อำเภอชวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งมียุทธศาสตร์การพัฒนาของชุมชนไม้เรียง ดังนี้

1.  ยุทธศาสตร์เริ่มการเรียนรู้

2.  ยุทธศาสตร์การพึ่งพาตนเอง

3.  ยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากร

4.  ยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพและพัฒนาจิตใจ

5.  ยุทธศาสตร์การพัฒนาประสิทธิภาพขององค์กรในชุมชน

  คุณสุทธิเดช สุทธิสมณ์ อดีตรองผู้ว่า กฟภ. ท่านได้เล่าถึงการพัฒนาองค์กร กฟภ.ตั้งแต่ ปี 2503 ซึ่งเป็นยุคก่อตั้งไฟฟ้าชนบท ก่อสร้างและพัฒนาสานส่ง พัฒนาบุคคลากร -ปัจจับัน ที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย ที่เรียกว่า Innovation

คุณศานิต นิยมาคม วิทยากรระดับ 11 กฟผ. ได้ยืนยันว่า กฟผ.ไม่อยู่ตามลำพัง กฟผ. หลีกเลี่ยงไม่ได้ต่อผลกระทบจากประชาชน กฟผ.จะต้องฟังเสียงสะท้อนจากประชาชน วันนนี้เราจะต้องทำอย่างไร Steak Holder กับ ใครบ้าง กฟผ.จะต้องกลับมาทบทวนชุมชน กฟผ.จะอยู่รอดเมื่อสังคมยอมรับ

สิ่งที่นำมาประยุกต์ใช้กับ กฟผ.จากบทเรียนนี้ กฟผ.จะอยู่รอดก็ต่อเมื่อสังคมยอมรับ การที่จะให้ประชาชนยอมรับจะต้องทำให้ประชาชนเชื่อใจ และความเชื่อใจ เกิดจาก การรับฟัง ความเข้าใจ ความจริงใจ เข้าใจสิ่งที่ชุมชนเดือดร้อนและสิ่งที่ชุมชนต้องการอย่างแก่นแท้


เรื่อง เทคนิคการสื่อสารกับสื่อสารมวลชน”

โดย ดร.พจน์ ใจชาญสุขกิจ

ดร.พจน์ ใจชาญสุขกิจ ได้นำเสนอความหมายของ Communication ซึ่งในการสื่อสารสิ่งที่สำคัญคือให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ถึง Stakeholder ในการ Corporate ซึ่งประกอบด้วย Competitor Employee Mass Media Government Opinion Leader Communication Customer Public และ Shareholder ซึ่งทั้งหมดจะสื่อนำมาสู่ Brand Image

อีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญคือChange(Communication)Management  ซึ่งเราควรรู้พฤติกรรมในการับรู้ข้อมูลที่มีความจำเป็นต้องสื่อสารโดยตรงกับผู้บริโภค โดยเฉพาะอินเตอร์เน็ตที่มีอัตราส่วนถึง 50%เมื่อเทียบกับช่องทางสื่อสารทั้งหมด ได้แก่ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร โทรทัศน์ สำนักข่าวต่างประเทศ Online/Social Media และบุคคล จะต้องมีความเข้าใจถึง Stakeholders ประเภทและการแบ่งหมวดหมู่ของสื่อมวลชน ลักษณะของสื่อ  เทคนิคการให้ข้อมูลคือจะต้องมัความพร้อมของข้อมูลที่โปร่งใส น่าเชื่อถือ รวดเร็ว ชัดเจน เป็นข้อเท็จจริง ไม่ดั้โต้เถียง แสดงเหตุทุกแง่มุม สื่อสารทันสมัยและข้อมูลต้อเนื่องเป็นระยะ

บุคคลที่ให้ข่าวต้องมีความน่าเชื่อถือ มีไหวพริบ มีปฏิภาณ เข้าถึงเป้าหมายได้ทุกกลุ่ม

สิ่งที่นำมาประยุกต์ใช้กับ กฟผ.จากบทเรียนนี้ ปัจจุบันการที่ให้ Stakeholder เข้าถึงข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของ กฟผ.บทเรียนนนี้ ผู้บริหาร กฟผ.ทุกท่านจะต้องเข้าใจอย่างชัดเจนและนำไปใช้อย่างเหมาะสม บางเรื่องต้องใช้เวลา เช่น การเชื่อใจ บางเรื่องจะต้องระบุให้ชัดเจนว่าใครควรให้ข่าว เป็นต้น


เรื่อง “Managing Self Performance”

โดย คุณอิทธิภัทร์ ภัทรเมฆานนท์

  อาจารย์ อิทธิภัทร์ ภัทรเมฆานนท์ ได้นำเสนอในเรื่อง Competency หมายถึง กลุ่มของความรู้ ทักษะและคุณลักษณะ ซึ่งประกอบด้วย พฤติกรรม ทัศนคติ และแรงบันดาลใจที่บุคคลากรจำเป็นต้องมี เพื่อปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร

คุณสมบัติหนึ่งที่สำคัญที่มีสมรรถนะของผู้ที่ประสบผลสำเร็จ คือความมุ่งมั่นทำงานให้สำเร็จ เป็นความมุ่งมั่นในการปฏิบัติ Achievement Orientation

อาจารย์ได้เปิดแนวคิด โดยนำเสนอ กิจกรรม “กระโดดสูง 2 ครั้ง “ ครั้งแรกให้กระโดดติดป้ายแต่ครั้งที่ 2 ให้มีผู้แนะนำ กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน  ซึ่งทำให้เราสามารถตอบคำถามที่สำคัญได้ดังนี้

1.  อะไรทำให้บางคนมั่นใจ นึกว่าทำได้

2.  อะไรทำให้คนกระโดสูงได้กว่าครั้งแรก

3.  อะไรทำให้เรามุ่งมั่น ทำใด้ดีกว่าเดิมและสูงกว่าเป้าหมาย

4.  แชร์ร่วมกันอะไรเป็นเคล็ดลับหือหลักการที่ทำให้เกิดความสำเร็จ

ตัวอย่าง VDO ที่น่าสนใจให้แง่คิดที่ดีอีกเรื่อง สร้างบ้านดิน เล่าเรื่องคนอีสานท่านหนึ่ง ที่มาหางานทำที่ กทม.เป็นขี้อาย ความไม่กล้าที่จะเผชิญกับสังคม ไม่มีงานทำแทบเอาชีวิตไม่รอด จนในที่สุดมีสติเริ่มทบทวนตนเองและค้นพบตนเอง สิ่งที่กลัวคือความอาย ทำไมต้องอายคนอื่น ชีวิตต้องต่อสู้ตนเองกับความอาย เขายืนยันชีวิตมีทางเลือก

สิ่งที่นำมาประยุกต์ใช้กับ กฟผ.จากบทเรียนนี้ การจะทำงานใดๆก็ตามการรู้จักตนเอง รู้จุดอ่อน จุดแข็ง รู้ความต้องการในใจตนเอง รู้การบริหารตนเองให้ได้เป็นสิ่งที่สำคัญทั้งในชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว

เกรียงไกร ไชยช่วย

สรุปบทความจากหนังสือพิมพ์

     Creating mutaul opportunities
Xi Jinping  ประธานาธิบดีคนใหม่ของจีน  ได้เดินทางไปเยือนรัสเซียเป็นประเทศแรกหลังการเข้ารับตำแหน่ง แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของรัสเซียที่มีต่อจีน  และได้กล่าวสุนทรพจน์ที่กรุงมอสโคว โดยมีเนื้อหาดังนี้
    -การพัฒนาของประเทศจีนจะเป็นการสร้างโอกาสแทนที่จะเป็นภัยคุกคาม
    -ผลประโยชน์ของประชาคมโลกทุกภาคส่วนเพิ่มความสำคัญขึ้นเรื่อยๆ แทบแยกกันไม่ออก
    -ความร่วมมือและการพัฒนาเป็นแนวโน้มใหม่ในยุคปัจจุบัน  การเผชิญหน้าแบบช่วงสงครามเย็นจะ 
                            ไม่มีอีกต่อไป  ไม่มีผู้แพ้-ผู้ชนะ  มีแต่ผู้ชนะทั้งคู่
    -เป็นไปไม่ได้ที่ประเทศใดประเทศหนึ่งหรือกลุ่มประเทศหนึ่งๆ  จะมีบทบาทครอบงำนาๆชาติอีกต่อไป
    -ไม่เห็นด้วยกับการแทรกแซงกิจการภายในและอำนาจอธิปไตยของประเทศอื่น
    -เรื่องระหว่างประเทศต้องแก้ไขโดยการเจรจาระหว่างรัฐบาลและประชาชน
    -ความสัมพันธ์ที่ดีของสองประเทศระหว่าง จีน-รัสเซีย  จะเป็นประโยชน์กับประชาคมโลกทั่วไป
    -การพัฒนาประเทศของทั้งคู่ จะเป็นการเสริมสร้างโอกาสให้แก่กัน
Xi  ยังได้รับเชิญให้ไปเยือนสำนักงานใหญ่ป้องกันประเทศของรัสเซีย  นับเป็นครั้งแรกของผู้นำระดับสูงสุดของจีน

แสดงให้เห็นถึงความเชื่อใจที่มีต่อกันอย่างลึกซึ้ง และมีความเป็นไปได้สูงที่จะมีความร่วมมือทางการทหารต่อกันในอนาคต

      Grouping on track  to be “global force”
การประชุมสุดยอดครั้งที่5 ของBRICS    จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในทวีปแอฟริกา   ประกอบด้วย 5 ชาติมหาอำนาจเศรษฐกิจโลกใหม่  คือ บราซิล,รัสเซีย,อินเดีย,จีน  และ แอฟริกาใต้   ซึ่งมีประชากรร่วมกันมากกว่า 3 พัน ล้านคน
ประธานาธิบดี Xi Jinping ของจีนกล่าวว่า  กลุ่มBRICS ยังไม่ได้นำศักยภาพออกมาใช้อย่างเต็มที่  ปริมาณการค้าขายในกลุ่ม เป็นแค่ 1 %  ของสัดส่วนการค้าทั้งโลกเท่านั้น  ทั้งยังได้เรียกร้องให้ผู้ประกอบการชาวจีนไปลงทุนในกลุ่มประเทศดังกล่าวมากขึ้น  และได้เชื้อเชิญนักลงทุนในกลุ่มให้มาลงทุนในจีนเพิ่มขึ้นด้วย
การประชุมดังกล่าว  แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการและความเข้มแข็งของกลุ่มได้เป็นอย่างดี ในการรับมือกับเศรษฐกิจโลกและปัญหาการเมืองระหว่างประเทศที่กำลังตกต่ำ  โดยใช้เวลาประชุม 2 วัน   ที่ประชุมมีมติให้จัดตั้งสมาคมธุรกิจของกลุ่ม โดยมีตัวแทนเป็นสมาชิกประเทศละ 1 คน เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนการแก้ปัญหาข้อขัดแย้งด้านการค้า  และ การพานิชย์ในกลุ่มสมาชิก  ด้วยการเจรจา   ทำหน้าที่เสมือนเป็นองค์กรการค้าโลกในกลุ่ม
ที่ประชุมยังได้เป็นสักขีพยานการลงนามข้อตกลงสนับสนุนด้านการเงิน ,ด้านเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม(Green economy)  ,ด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน  ,จัดตั้งThink Thank Council ,จัดตั้งธนาคารกลุ่มเพื่อจัดหาแหล่งเงินทุนให้กับโครงการสาธารณูปโภค  ในวงเงินกว่า  4.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในระยะ 5 ปีข้างหน้า  ทั้งนี้ยังไม่มีการเปิดเผยในรายละเอียด  และกำลังพิจารณาจัดตั้งกองทุนสำรองอีก 1 แสนล้านเหรียญ เพื่อแก้ปัญหาการขาดสภาพคล่องในระยะสั้น  และเป็นการเพิ่มเสถียรภาพด้านการเงิน
     Xi  highlights bonds of “shared destiny”
ประธานาธิบดี Xi Jinping ของจีน  กล่าวสุนทรพจน์ที่แทนซาเนีย   ระหว่างการเยือนแอฟริกา ว่า
-จีนจะพยายามเพิ่มความสัมพันธ์กับแอฟริกาให้มากขึ้น  และร่วมทุกข์ร่วมสุข ด้วยกันอย่างเต็มที่
-เอกภาพและความร่วมมือกับแอฟริกา เป็นรากฐานอันสำคัญของนโยบายต่างประเทศของจีน และจะไม่มีวัน   
               เปลี่ยนแปลง
-จะสนับสนุน ส่งเสริม ซึ่งกันและกันในผลประโยชน์ร่วม และประเด็นหลัก
-จีนจะจัดสรรเงินกู้ วงเงิน2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ให้กับชาติต่างๆในแอฟริกา ในช่วงระหว่าง ปี 2013-2015
-จีนจะขยายความร่วมมือกับแอฟริกา ในเรื่อง การลงทุน ,การเงิน,การพัฒนาสาธารณูปโภคต่างๆ
-จีนจะฝึกอบรมชาวแอฟริกัน 30,000 คน  และจัดหาทุนการศึกษา 18,000 ทุน ให้กับนักศึกษาชาวแอฟริกันใน 
      ระหว่างปี 2013-2015
-จะแลกเปลี่ยนความรู้ด้านเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น
-ยืนยันถึงความเท่าเทียมของทุกประเทศโดยไม่คำนึงถึงขนาด  ความเข้มแข็ง และความร่ำรวย
-จีนพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับทุกปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อความสัมพันธ์ของทั้งคู่ อย่างตรงไปตรงมาด้วยความ
      จริงใจ
-แอฟริกา เป็นของชาวแอฟริกันทั้งมวล ทุกประเทศควรให้ความเคารพในความสง่างามและความเป็นเอกราช        ของชาวแอฟริกัน
  ประธานาธิบดีแทนซาเนีย กล่าวว่า “  จีน เป็นมิตรแท้ ของชาวแอฟริกัน และประเทศโลกที่สามทั้งมวล"
 James F Mbatia  ประธานที่ประชุม การปฎิรูปและการก่อสร้างแห่งชาติ กล่าวว่า “ชาวแอฟริกันรู้ดีว่าใครคือผู้ที่กำลัง          ช่วยเหลือเรา”
วุฒิไกร สร่างนิทร

วันที่ 27 มีนาคม 2556

หัวข้อเรื่อง ธรรมาภิบาล ของ กฟผ.”

โดย คุณไกรสีห์ กรรณสูตร อดีตผู้ว่าการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

        คุณสมบัติ ศาสนติจารี อดีตผู้ว่าการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

        อาจารย์ ธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์

ดำเนินรายการโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

            อาจารย์ ธรรมรัตน์ การพิศิษฏ์ ได้กล่าวย้อนหลังถึงแนวคิด ธรรมาภิบาล ที่ได้เริ่มบรรจุลงในแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 8 โดยได้เน้นย้ำถึงการมีความสุขของประชาชนชาวไทยเป็นความสำคัญลำดับต้นๆซึ่งสิ่งเหล่านี้จะต้องได้รับการสานต่อจากผู้นำขององค์กร ต้องสร้างให้ เกิดผู้นำการเปลี่ยนแปลงขึ้นในระดับองค์กร ส่วนผู้นำระดับกลางจะเป็นผู้สนับสุนระบบให้เกิดความยั่งยืน

             คุณไกรสีห์ กรรณสูตร และคุณสมบัติ ศาสนติจารี อดีตผู้ว่าการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้ให้ข้อคิดถึงการประสบผลสำเร็จของ กฟผ.ที่ผ่านมาเพราะเรามีผู้นำที่ภาวะผู้นำ เริ่มตั้งแต่สมัยบุกเบิกผู้ว่าฯเกษมฯ จนถึงปัจจุบัน ซึ่ง กฟผ.ได้ยึดหลักบริหารตามหลักธรรมาภิบาล 4 ข้อ ได้แก่ ทำงานอย่างมีส่วนร่วม มีความสำนึกรับผิดชอบ มีความโปรงใส และความมีประสิทธิภาพ

            ในปัจจุบันการทำงานยากขึ้นและซับซ้อนกว่าเดิม การบริหารงานต้องมีสมดุลย์ ระหว่าง สังคม สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีกับชุมชน ในระดับธุรกิจก็มีการนำหลักธรรมภิบาลมาเป็นบรรทัดฐานซึ่ง กฟผ.จะต้องนำมาพิจารณาถือปฏิบัติได้อย่างสอดคล้อง ได้แก่ ธรรมภิบาลตามแนวคิดของตลาดหลักทรัพย์ มีดังนี้

1.บริหารด้วยข้อมูลครบถ้านและรอบด้าน มีหลักบูรณาการ พร้อมตัดสินใจ

2. มีความโปร่งใส ซื่อสัตย์สุจริต

3.ปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบต่างๆ

4.มีความเปิดเผย มีช่องทางในการการแสดงข้อมูลให้สาธารณชน


หัวข้อเรื่อง "เศรษฐศาสตร์พลังงาน"

ได้ ชม VDO เป็นบทสัมภาษณ์ อาจารย์มนูญ ศิริวรรณ  

            บทสัมภาษณ์ อาจารย์มนูญฯได้เล่าถึงข้อมูลและสภาพการใช้พลังงานของประเทศไทยในปัจจุบัน ที่มีการใช้อย่างฟุ่มเฟือย ใช้พลังงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ประเทศไทยผลิตก๊าซธรรมชาติได้เป็นอันดับที่ 24 ของโลก แต่ใช้ก๊าซ/และนำเข้าก๊าซเป็นอันดับที่ 20 ,21 ของโลกตามลำดับและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ผลทำให้ประเทศไทยสูญเสียเงินตราต่างประเทศอย่างมหาศาลในการนำเข้าพลังงาน ค่าก๊าซไม่สะท้อนถึงต้นทุนจริงเพราะมีรัฐบาลมาพยุงราคา อย่างไรก็ตามประเทศไทยจะต้องเตรียมพร้อมเพื่อเข้าสู่ AEC ในปี 2558 ได้แก่ ลอยตัวค่าก๊าซ ส่งเสริมและกำหนดนโยบายเพื่อสร้างจิตสำนึกในเรื่องความประหยัดพลังงาน และเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน 

             สำหรับอนาคตเศรษฐกิจโลกปี 2556  ยังไม่สดใสนักมีแนวโน้มชะลอตัวลง เพราะวิกฤติเศรษฐกิจของไซปรัสและยุโรปทวีความรุนแรงมากขึ้น แม้ที่อเมริการเศรษกิจจะเริ่มฟื้นตัวอย่างช้าๆ  คาดว่าราคาน้ำมันปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 90-100 เหรียญสหรัฐต่อบาเรล  รัฐบาลไทยต้องไม่พึ่งพาแก๊สธรรมชาติมาก ราคาก๊าส LPG จะต้องลอยตัวเพื่อสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง ต่อไปนี้การนำเข้าแก๊สธรรมชาติอัดเหลว (LNG) การลอยตัวราคา LPG  ไม่ต้องนำเงินจากกองทุนน้ำมันมาสนับสนุน  นโยบายประหยัดพลังงาน และจะต้องมีมาตรการ ควบคุมและบังคับในหลายๆ มิติ

             ประเทศไทยจะต้องเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558   ทั้งด้านเทคโนโลยี ด้านบุคคลากร ด้านโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะคมนาคม ขนส่งสินค้า ระบบรางรถไฟความเร็วสูง  ท่าเรือน้ำลึก ท่าอากาศยานสนามบินการท่องเที่ยว และพร้อมเป็นศูนย์กลาง (HUB) ด้านพลังงานทดแทนจะต้องส่งเสริมการปลูกพืชพลังงานทดแทนอย่างจริงจัง มีการผลิตไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ ให้ชุมชนในพื้นที่มีการยอมรับและการมีส่วนร่วมในการก่อสร้างโรงไฟฟ้า

หัวข้อเรื่องผู้นำกับการสร้างทุนทางจริยธรรมในองค์กร”

โดย คุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย บริษัท ดีซี คอนซัลแทนส์ แอนด์ มาร์เก็ตติ้ง คอมมูนิเคชั้นส์ จำกัด

            ในปัจจุบันประเทศไทย มีหลายองค์กรที่ทำธุรกิจแบบไม่หวังผลเงินกำไร แต่หวังที่จะสร้างบริการเพื่อสังคมเป็น First Priority คือเป็นองค์กรที่มีจริยธรรมสูงหรือที่เรียกว่า White Ocean องค์ที่เป็น White Ocean  ผู้นำจะต้องมีอุดมการณ์อันหนักแน่น ผลพลอดได้จากการเป็นองค์กร White Ocean ทำให้เป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า เป็นองค์กรที่ได้รับความเชื่อถือไว้วางใจ เป็นองค์กรแห่งความสุขและเป็นองค์กรที่มีความยั่งยืน การทำธุรกิจไม่จำเป็นต้องประชาสัมพันธ์ ในการลงทุนต่างๆสามารถทำงานได้สำเร็จด้วยความรวดเร็วและใช้ต้นทุนต่ำ

            กฟผ.เป็นองค์กรหนึ่งที่อยู่ในข่าย White Ocean โดยมีรัฐเป็นเจ้าของ มีนโยบายบริการประชาชนไทยเป็นหลัก เป็นองค์กรที่มีความยั่งยืนในระยะยาว การดำเนินงานของ กฟผ. สร้างผลกระทบต่อสังคมชุมชน 

วุฒิไกร สร่างนิทร

วันที 28 มีนาคม 2556

หัวข้อเรื่อง ประสบการณ์การเรียนรุ่น 2 ของข้าพเจ้า กับการปรับใช้เพื่อการบริหาร กฟผ.ในยุคที่โลกเปลี่ยน”

โดย คุณสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ผู้ว่าการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

         ผวก.กฟผ.ได้เล่าถึงสมันที่เรียนหลักสูตร EADPรุ่น 2 ได้ไปดูงานที่ประเทศออสเตรีย ที่พึ่งแปรรูป ซึ่งมีการทำงานแบบ Functional เช่นเดียวกับ กฟผ.ซึ่งจะต้องมีความรอบรู้ มองหาโอกาส เรื่องการสร้าง Competency ก็ดี ไปดูงานท่องเทียวไปในอาณาจักรที่เราไม่รู้จักมาก่อน เรื่องวิสันทัศน์เป็นเรื่องสำคัญ เรื่องมุมมองเป็นเรื่องของตัวเรา

         ผวก.กฟผ.ได้ให้ความสำคัญในเรื่อง HR. และย้ำถึงการสร้างผู้นำรุ่นใหม่ Competency ของ กฟผ.ประกอบด้วย

1.  มองการปฏิสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

2.  ด้านธุรกิจ แสวงหาโอกาส ด้วยการสร้างพันธมิตร

3.  การ Drive ให้เกิดประสิทธิภาพที่สูง

4.  การสร้างทีมและ Alignment ในองค์กร

5.  การคิด ความสามรถในการสร้างวัฒนธรรมองค์กร

ผวก.กฟผ.ได้ให้ข้อคิด เราจะไม่มองเฉพาะตัว กฟผ.เราจะมองกลุ่ม กฟผ.ได้เติบโตไปในภูมิภาค สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ใน Class นี้จะมีบางท่านได้ก้าวขึ้นสู่ผู้บริหารระดับสูงขึ้น ส่วนที่เหลือจะต้องช่วยกันดูแล กฟผ.ผวก.กฟผ.ยืนยันว่า โครงสร้าง กฟผ.(EGAT Organization Chart) เป็นสิ่งหนึ่งที่คนไทยภูมิใจและเชื่อใจ ขอเน้นกรอบ Competency พวกเราต้องเปิดหัวมากๆรู้ว่าต้องทำอะไร 2H ยอมรับ Fact  อะไรเป็นประเด็น Leader ต้องมีสายตากว้างไกลบางครั้งไม่จำเป็นต้องนำองค์กรเข้าสู่ปัญหา(ไม่ใช่เป้าตรง)ในปัญหา Leader จะทำอย่างไรที่จะหนีจากอุปสรรคไปได้ ข้อดีของ Competency ข้อแรก(มองการปฏิสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย) หาก Leader มีต้นทุนทางสังคมช่วยได้กรณีมีปัญหาซึ่งต้นทุนนี้จะต้องสะสมมาตลอดเวลาทำงาน กผฟ.ยังขาดงานด้านธุรกิจ นวัตกรรม องค์กรแห่งการเรียนรู้ “ สิ่งใดที่วัฒนธรรมไม่สอดรับเป็นไปได้ยาก” องค์กรทุกองค์กรขับเคลื่อนด้วยคนทั้งสิ้น เรื่องทั้งหมดนี้ จาก อดีต-ปัจจุบัน-อนาคต เราทำกันมากแค่ใหน

           เทคนิคใน Leader คือ จับประเด็นให้ได้ ต้องมีความรอบรู้ในทุกมิติ สร้างความสัมพันธ์กับผู้เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนความสำเร็จขององค์กรและสร้างบรรยายการที่เอื้อต่อการทำงาน


หัวข้อเรื่อง เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทย..ผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ. ”

โดย รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ คณะรัฐศาสตร์ธรรมศาสตร์

  ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล

  อาจารย์มนูญ ศิริวรรณ ที่ปรึกษาอาวุโส บริษัท จัดการธุรกิจ จำกัด

ดำเนินรายการโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

            รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ ได้กล่าวถึงแนวโน้มของเศรฐกิจไทย ซึ่งระยะนี้หุ้นไทยดีดตัวสูงขึ้นอันดับ  5 ของโลกและอันดับ 1 ของเอเชีย สำหรับประเทศไทยน่าจะมีอัตราเจริญเติมโตที่สูงขึ้นต่อเนื่อง เนื่องจากยังมีปัจจัยต่างๆสนับสนุน เช่น มีอัตราแลกเปลี่ยนแข็งขึ้น เศรษฐกิจของอเมริกาเริ่มพื้นตัวตั้งแต่ 5 เดือนก่อนปี 2556 ยุโรปเริ่มดีขึ้น ญี่ปุ่นยังไม่พื้นแต่มีการกระตุ้นอย่างแรง จีนมีการกระตุ้นเช่นเดียวกัน เศรษฐกิจอาเซียนภาพรวมดี(ประเทศไทยซึ่งพึงการส่งออกอาเซียนเป็นส่วนใหญ่) อีกทั้งประเทศไทยจะมีการกระตุ้นถึง 2 ล้านล้านบาท จึงถือว่ามีแนวโน้มโดยภาพรวมของประเทศไทยจะดีขึ้นตามลำดับ แต่อย่าลืมภัยต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นในโลกนี้ซึ่งมีเป็นระยะๆ ตัวอย่างปัญหาของประเทศไซปรัสเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจที่มีการลงทุนจากต่างชาติเป็นบวกมาโดยตลอดในที่สุดก็ไปไม่รอด

           อาจารย์มนูญ ศิริวรรณ ได้เล่าเรื่องการใช้พลังงาน การทวงคืน ปตท. สหรัฐอเมริกาออกกฎหมายห้ามส่งออกก๊าสและน้ำมัน ซึ่งอีก 10 ปีข้างหน้าก๊าซในอ่าวไทยลดลง มีคำถามว่าการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนจะทำได้เพียงใด การประหยัดพลังงานเป็นทางออกอีกที่ดี

           ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ได้นำเสนอประเด็นเรื่องวิกฤติยังไม่จบ หากอเมริกาจะหยุดปล่อยสภาพคล่องปลายปีนี้ ยุโรปยังไม่จบเช่นกันปัญหาเศรษฐกิจประเทศไซปรัสซึ่งเป็นจุดปลี่ยนที่น่าสนใจ เพราะความเชื่อมั่นหมดไป(เช่นเขื่อนแตก) อิตาลีมีเลือกตั้งเริ่มลำบากขึ้น

           สำหรับ New investment cycles จะเกิดขึ้นจาก Opportunity in Asia and AEC 2015 ประเทศไทยจะได้รับโอกาสที่จะเป็น Land Bridges ใหม่ในเอเชีย สามารถขยายกิจการและการลงทุนในต่างประเทศ รวมทั้งโอกาสจากการค้าขายตามแนวชายแดด โอกาสในโครงสร้างพื้นฐานรอบใหม่  โอกาสที่จะดูแลนักลงทุนต่างประเทศที่กำลังจะเลือกเข้ามาลงทุน

            อาจารย์มนูญ ศิริวรรณ ได้ตอบคำถามตามแนวคิดเรื่องบทบาทของ กฟผ.ใน 10-15 ปี ข้างหน้า กฟผ.ต้องปรับบทบาทของตนเอง จากรัฐวิสาหกิจแห่งชาติเป็นรัฐวิสาหกิจของภูมิภาค กฟผ.จะต้องดูโอกาสในต่างประเทศ ลาว พม่า และในแง่ Service provider จะเป็นตัวเชื่อมโยงของภูมิภาคของเครือข่ายได้อย่างไร


หัวข้อเรื่อง ” TQM/SEPA:ความเป็นเลิศและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ กฟผ. ”

โดย คุณพิบูลย์ บัวแช่ม รองผู้ว่าการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

  อาจารย์สัญญา เศรษพิทยากุล

  อาจารย์นริศ ธรรมเกื้อกูล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซี.พี.ออลล์ จำกัด(มหาชน)

ดำเนินรายการโดย อาจารย์ทำนอง ดาศรี

           คุณพิบูลย์ บัวแช่ม รองผู้ว่าการ กฟผ. ได้นำเสนอระบบการประเมินคุณภาพรัฐวิสาหกิจ ประกอบด้วย

1.  กฟผ.ต้องมีหลักธรรมาภิบาล

2.  กฟผ.ต้องมีสมรรถนะสูง HPO

3.   เป็นองค์กรที่มีการบริหารจัดการที่เยี่ยม

4.  เป็นองค์กร National Pride(ขายไฟฟ้า 500,000 M฿.)

5.  มีความมั่นคงทางการเงิน

           อาจารย์นริศ ธรรมเกื้อกูล ได้นำเสนอเส้นทางสู่ TQA ประเทศไทยมีประมาณ 50 บริษัท สำหรับประเทศสิงคโปร ปีเดียวได้รับรางวัลถึง 100 บริษัท ปัญหาของประเทศไทยคือหากเป็นรัฐวิสาหกิจจะจ้างที่ปรึกามาเขียน จ้างอาจารย์มาสอน ฟังแล้วไม่รู้เรื่อง สิ่งสำคัญผู้ว่าการฯและรองผู้ว่าการฯต้องเอาด้วย

           อาจารย์สัญญา เศรษพิทยากุล ได้นำเสนอแนวคิดพื้นฐานสำคัญ

Ø  “HPO=TQM”เป็นหลักการบริหาร TQA=>SEPA เป็นเกณฑ์การวัด

Ø  คุณภาพ คือ ความพอใจ ความประทับใจ ”WOW” เป็นคุณค่า “คุณค่าที่โดดเด่น คือความแตกต่าง” นำสู่ Brand สู่ Blue Ocean

Ø  ความต้องการ ความคาดหวัง”ของภาคส่วนต่างๆที่เปลี่ยนแปลงเสมอ สำหรับ กฟผ.ผลิตภัณฑ์ คือผลิตและส่งกระแสไฟฟ้า/บริการ/DSM

Ø  การจัดการ”ระบบงาน”และ”บุคลากร”เพื่อมุ่งสู่ HPO

Ø  EGAT WAY เป็นการพัฒนาจาก HPO สู่ TQM ในรูปแบบของ EGAT

     o  SEPA SCORE เป็น By Product

     o  แผนแม่บท TQM ของ EGAT

     o  Integration ระหว่างสายงาน

     o  ผลลัพธ์ที่คาดหวัง ได้แก่ ส่วนผสมระหว่างความสำเร็จกับ ความมีความสุขในการทำงานที่เกิดจากความสัมพันธ์ของระบบบริหารและบุคคลากร

Ø  สุดท้าย EGAT ตอบโจทย์ ลูกค้า สังคมและประเทศ

สรุปบทความจากหนังสือพิมพ์

Create Mutual Opportunities

  เมื่อวันที่ 23  มีนาคม 2556 ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ได้เดินทางไปเยือนกรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย และได้เข้าพบหารือกับประธานาธิบดี วลาดิมีร์ ปูติน ผู้นำทั้งสองได้ลงนามข้อตกลงด้านพลังงานและอื่น ๆ โดยเห็นพ้องต้องกันว่า การรวมกลุ่มทางด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาร่วมกัน จะสร้างโอกาสอันดีให้กับทั้งสองประเทศ

Xi highlights bonds of ‘shared destiny’

  เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2556 ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ได้เดินทางไปเยือนประเทศแทนซาเนียในทวีแอฟริกา เพื่อขยายความสัมพันธ์กับแอฟริกา  นายสีได้กล่าวในแถลงการณ์ว่า ความสามัคคี และความร่วมมือกับกลุ่มประเทศในแอฟริกาเป็นนโยบายต่างประเทศที่สำคัญของจีนเสมอมา  จีนจะยังคงให้ความช่วยเหลือแก่แอฟริกาอย่างต่อเนื่องโดยปราศจากเงื่อนไขทางการเมืองใด ๆ ทั้งในด้านการลงทุน การเงิน การพัฒนา โครงสร้างพื้นฐาน การถ่ายทอดเทคโนโลยีและอื่น ๆ  จึนพร้อมจะเผชิญกับการพัฒนาใหม่ ๆ และปัญหาใหม่ ๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อความสัมพันธ์ระหว่างจีนและแอฟริกาอย่างเต็มที่และจริงใจ  ขณะที่ Jakaya Mrisho Kikwete ประธานาธิบดีแทนซาเนีย ได้กล่าวว่า กาลเวลาได้เป็นเครื่องพิสูจน์ให้เห็นว่าความสัมพันธ์ของจีนและแทนซาเนีย เติบโตเข้มแข็งขึ้นเรื่อย ๆ และเราจะยังคงเป็นเพื่อนกันตลอดไป

Grouping on track to be ‘global force’

  ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ได้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเติบโตรวดเร็ว หรือ BRICS Summit ครั้งที่ 5 ระหว่างวันที่ 26 – 27 มีนาคม 2556 ที่เมืองเดอร์บัน ประเทศแอฟริกาใต้ โดยมีผู้นำกลุ่มประเทศ BRICS 5 ประเทศ ได้แก่ บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และ แอฟริกาใต้ เข้าร่วมการประชุม  ในการประชุมครั้งนี้ได้มีการจัดตั้งสภาธุรกิจ BRICS (BRICS Business Council) โดยมีวัตถุประสงค์ขององค์กรเพื่อแก้ปัญหาและข้อขัดแย้งทางด้านการค้าของประเทศสมาชิก  องค์กรนี้ยังสามารถทำหน้าที่เป็นผู้บริหารจัดการในกรณีที่มีการจัดตั้ง Free Trade Zone ภายใต้กลุ่ม BRICS  ผู้นำทั้ง 5 ประเทศ ยังได้ตกลงที่จะร่วมกันจัดตั้งธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่ง BRICS ขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ประเทศสมาชิก รวมทั้งมีการหารือเรื่องการจัดตั้งระบบเงินทุนสำรองระหว่างประเทศร่วมกัน เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางการเงินและป้องกันผลกระทบจากวิกฤติทางการเงิน


เรียน อ.จีระ หงส์ลดารมภ์

สรุปบทความจาก หนังสือพิมพ์

Creating mutual opportunities

ประธานาธิบดีจีน ได้กล่าวไว้ว่า การเจรจา 2 ฝ่าย (bilateral) ที่เข้มแข็งจะเป็นการสร้างกลยุทธ ของความสมดุลและ ความสงบได้

แนวทางการสร้างสรร ในการพัฒนาประเทศของจีน เป็นการสร้างโอกาสทดแทนการสร้างจุดอันตราย 

ประธานาธิบดี ซิ จินปิงของจีนกล่าวสุนทรพจน์ ครั้งแรกไว้เมื่อเดือนมีนาคม และเป็นกล่าวในการเยื่อน

กรุง มอสโคว  ซิได้มองสถานการณ์ระหว่างประเทศ และได้อธิบายนโยบายการต่างประเทศของจีนและการสร้างสัมพันธ์กับประเทศรัสเซีย

การกล่าวสุนทรพจน์ หลังจาก ซิ ได้พบกับคู่เจรจาของเขาคือ Vladimir Putin และ ผู้เข้าร่วมพิธีลงนาม การลงทุน floating platform ทางด้านพลังงานและสัญญาอื่นๆ ในการเยื่อนต่างประเทศครั้งแรกของเขาเมื่อได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี

การแสดงตัวต่อกลุ่มฝูงชนของนักเรียนในกรุงมอสโคว  ซิ ได้กล่าวไว้น่าสนใจในเรื่องการสือสารระหว่างประเทศจากความแตกต่างของส่วนต่างๆของโลกกลับเพิ่มความใกล้ชิดและประสานกันอย่างเป็นการพัฒนาแนวโน้มหลักในยุคใหม่

การเผชิญหน้าในสงครามเย็นจะไม่ยั่งยืนอีกต่อไป  ขณะนี้การก้าวสู่ขั้นของการเปลี่ยนแปลง จากอดีตยุคเก่าที่เป็นแบบสงครามเย็นและยุค Zero-sum game จะถูกกำจัดออกจากระบบ

มันอาจจะเป็นไปไม่ได้สำหรับประเทศที่เป็นประเทศเดี่ยวๆ หรือกลุ่มประเทศที่จะครอบงำระหว่างประเทศ เหมือนเป็นประเทศที่กำลังโผล่ขึ้นมา (emerging economics and developing country) ซึ่งจะเข้าสู่การพัฒนาประทศและการเจริญเติบโตในหลายรูปแบบและเป็นศุนย์กลางของโลก

ซิยังเตือน โดยต่อต้านการแทรกแซงนโยบายระหว่างประเทศ ของประเทศต่างๆ เขากล่าวว่า เราควรเคารพสิทธิของแต่ละประเทศ โดยให้มีความอิสระในการเลือกแนวทางการพัฒนาประเทศ เราไม่สนับสนุการเข้าแทรกแซงอธิปไตยของประเทศอื่น

จีน ควรที่จะแสดงความเป็นอธิปไตยของประเทศอย่างเข้มแข็ง  โดยภาครัฐและประชาชน ในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นเพียงแค่การแก้ปัญหาโดยผ่านการเจรจาระหว่างภาครัฐบาลและประชาชน

สิ่งเหล่านี้เป็นหลักเกณฑ์ของประชาธิปไตยเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์ของจีนและรัสเซียนั้นควรเป็นสัญญาร่วมกันก่อนที่จะเริ่มทางการฑูต และพัฒนาโอกาสของทั้งสองประเทศ

ความสัมพันธ์ที่เข้มแข็ง ไม่เพียงแต่ 2 ประเทศเท่านั้น  ซิ ได้ตัดสินใจที่จะเจรจากับ นักศึกษาในวิทยาลัยในรัสเซีย โดยทั้งสองประเทศจะยกระดับความเข้าใจของทั้งสองประเทศ และเป็นการเจรจา 2 ฝ่ายในการพัฒนาเยาวชนของทั้งสองซึ่งจะผูกพันธ์ถึงระยะเวลาที่ทั้งสองประเทศเกิดภาวะวิกฤตของการฟื้นฟูประเทศ

ทั้งสองประเทศมีความชัดเจนมากในการเริ่มสร้างความฝันและการพัฒนาที่จะมาสนับสนุนข้อตกลงของแต่ละประเทศ ซึ่งจะรักษากลยุทธและความร่วมมือทางเศรษฐกิจอย่างเข้มแข็ง

ซิ ได้รับเชิญที่กระทรวงกระลาโหม สำนักงานใหญ่ ของรัสเซีย ซึ่งเป็นผู้บริหารระดับสูงสุดของจีนคนแรก ผู้เชี่ยวชาญได้วิเคราะห์ไว้ว่า การเยือนครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความไว้วางใจอย่างลึกซึ้ง ของทั้งจีนและรัสเซีย ได้มีการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือทางการทหารในอนาคต

ในกรุงมอสโคว ซิ ยังได้เข้าพบกับนายกรัฐมนตรีของรัสเซีย Dmityr Medvedev

ต่อมาประธานาธิบดีของรัสเซีย ได้บินไปเยือนแอฟริกาใต้และสาธารณรัฐ คองโก ในแอฟริกาใต้เขาได้เข้าร่วมประชุมสุดยอด BRICS ครั้งที่ 5

5Grouping on track to be ‘ grobal force ‘

การประชุมร่วมกันของ 5 ผู้นำประเทศ BRICS ครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2556 ที่เมืองเดอบาน  อาฟริกาใต้  เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาเศรษฐกิจและการเมือง  รวมทั้งให้ความร่วมมือกันในการแก้ปัญหาทางการเงินและการทำ

ธุรกิจ  ทั้ง 5 ประเทศประกอบด้วย บราซิล , รัสเซีย , อินเดีย , จีน และ อาฟริกาใต้ ซึ่ง นายสี  จิ้นผิง

ประธานาธิบดีของจีนได้แสดงความเชื่อมั่นถึงความสำเร็จของความร่วมมือกันในทางเศรษฐกิจถึงแม้

ว่าขณะนี้เศรษฐกิจโลกจะถดถอย

BRICS ก่อตั้งมา 5 ปีและยังอยู่ในช่วงของการพัฒนาและควรส่งเสริมให้มากขึ้น

การปรับปรุงมาตรฐานความเป็นอยู่ขอประชาชน 3,000 ล้านคน สร้างโอกาสในการ

ทำธุรกิจมหาศาล

จากการสำรวจศักยภาพของความร่วมมือกันของ BRICS พบว่าปริมาณการค้าของ 5 ประเทศ

นี้น้อยกว่า 1 % ของปริมาณการค้าโลก 

เขาสนับสนุนนักลงทุนชาวจีนเข้ามาร่วมทำธุรกิจในกลุ่ม BRICS ร่วมทั้งนักลงทุนประเทศอื่นในกลุ่ม BRICS ด้วย  นอกจากนั้นเขายังสนับสนุน BRICS และประเทศต่างๆในทวีปอาฟริการ่วมมือกันเพื่อส่งเสริมให้อาฟริกาเป็นเขตเศรษฐกิจใหม่ของโลก

ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ขอให้มีการประชุมในกลุ่มของ BRICS และขอให้สนับสนุนคณะกรรมการ

BRICS Business ที่ถูกตั้งขึ้นมา  คณะกรรมการจะปฏิบัติงานภายใต้ผู้แทนของแต่ละประเทศ

ทั้ง 5 ประเทศ  ซึ่งจะทำให้การปฎิบัติงานต่างๆมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นซึ่ง

การทำงานจะคล้ายกับองค์การการค้าโลก เพียงแต่Scaleเล็กกว่าเท่านั้นเพื่อแก้ปัญหาทางการค้าต่างๆและพยายามให้เกิด Free Trade Zone นอกจากนั้นยังมีการลงนามร่วมกันก่อตั้งสภา BRICS Think Tank จนพัมนามาเป็นธนาคารเพื่อการพัฒนา BRICS ( BRICS new

Development  bank ) วงเงิน 4.5 ล้านล้านเหรียญดอลล่าห์  เพื่อใช้ในการพัฒนาสาธารณูปโภคต่างๆ

Xi highlights bonds of shared destiny

การแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ จะเป็นการขยายเพิ่มเติมของคำมั่นสัญญาของ ประธานาธิบดี และเพิ่มความเข้มแข็ง ของกลุ่มประเทศในภูมิภาค

จีน จะใช้ความพยายามในการขยายความสัมพันธ์กับแอฟริกา เหมือนเป็นการเชื่อมความสำคัญของกลุ่มประเทศดังกล่าว ท่ามกลาง การร่วมชะตากัน เป็นคำกล่าวของประธานาธิบดี ซิ ของจีนเมื่อวันที่ 25 มีนาคม ในการกล่าวสุนทรพจน์ ครั้งแรกของเขาในนโยบายความร่วมมือของทั้งสองประเทศ

ปักกิ่ง ก็มีความหวังเช่นเดียวกันที่จะเห็นความสัมพันธ์ทั้งสองประเทศ รวมทั้งประเทศอื่นๆและแอฟริกาดีขึ้น

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ความสัมพันธ์ของจีนและแอฟริกามีความซับซ้อนมากขึ้นเมื่อเทียบกับในอดีตที่ผ่านมา และผู้นำประเทศจะต้องแสดงเชาว์ปัญญาในการจัดการรูปแบบความสัมพัพันธ์ดังกล่าว

ซิ ให้ข้อสังเกตระหว่างการกล่าวสุนทรพจน์ที่ ทานซาเนีย (Tanzania) ซึ่งเป็นประเทศที่ 2 ของการเยือนต่างประเทศหลังจากได้รับเลือกตั้งเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา ประธานาธิบดี ซิ ได้ไปเยือนแอฟริกาเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง และกล่าวที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติ Julius Nyerere ซึ่งเป็นศูนย์ประชุมที่จีนสร้างให้ใน Tanzania และ ฉลองการส่งมอบในวันที่ 25 มีนาคม ว่า “ขอให้มั่นใจว่า จีนจะมุ่งมั่นขยายความสัมพันธ์กับแอฟริกาอย่างเข้มข้น”

ความเป็นหนึ่งเดียวและความร่วมมือของประเทศในแอฟริกาเป็นรากฐานที่สำคัญของนโยบายการต่างประเทศของจีนมาโดยตลอด ซึ่งสิ่งนี้จะไม่มีวันเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจีนจะเติบโตแข็งแกร่งขึ้นและก้าวสู่ความเป็น International มากขึ้นก็ตาม จีนแลแอฟริกาจะยังคงสนับสนุนซึ่งกันและกันในสิ่งที่เรามีความสนใจและความตระหนักอย่างเดียวกัน ซึ่งในข่วงเวลาที่ผ่านมมาในประวัติศาสตร์ได้แสดงให้เห็นว่าจีนและแอฟริกา เป็นชุมชนที่ได้แบ่งปันจุดหมายปลายทางร่วมกันมาโดยตลอด และจีนจะยังคงให้ความช่วยเหลือแอฟริกาโดยปราศจากเงื่อนไขทางการเมืองต่อไป

การค้าระหว่างจีนกับแอฟริกามีมูลค่าถึง 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐเมื่อปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ จีน ยังจะให้เครดิตแก่ประเทศแอฟริกา2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ตั้งแต่ปี 2013-2015 และปักกิ่งจะขยายความร่วมมือในการลงทุน, ภาคการเงิน, และการพัฒนาสาธารณูปโภคการคมนาคมระหว่างประเทศและระหว่างูมิภาคในแอฟริกาอีกด้วย

จีนจะฝึกอบรมในระดับอาชีพให้แก่ชาวแอฟริกันจำนวน 30,000 คน และจะมอบทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนจากแอฟริกาจำนวน 18,000 คน และเพิ่มการถ่ายทอดเทคโนโลยีรวมถึงการแบ่งปันประสบการณ์

ประธานาธิบดี ซิ ยืนยันความเสมอภาคเท่าเทียมกันระหว่าง 2 ประเทศ โดยไม่แบ่งแยกด้วยขนาดของประเทศ ความแข็งแกร่งของประเทศ หรือความมั่งคั่งของประเทศ นอกจากนี้ยังกล่าวว่า ปักกิ่งคาดหวังความเป็นหนึ่งเดียวของประเทศแอฟริกาและความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นกับประเทศอื่นๆ

แอฟริกาเป็นของชาวแอฟริกันทุกคนดังนั้นในการพัฒนาความสัมพันธ์กับแอฟริกาประเทศต่างๆจะต้องให้เกียรติและเคารพความเป็นอิสรภาพของแอฟริกา ซึ่งจีนจะต้องให้ความจริงใจในการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนี้ โดยจีนจะต้องธำรงความสัมพันธ์แบบให้เกียรติกันและกัน และก่อให้เกิดความร่วมมือแบบ วิน-วิน (win-win) ซึ่งผมเชื่อว่ามีโอกาสและมากกว่าความท้าทายและมีหนทางแก้ไขปัญามากกว่าความยากลำบาก แถมท้ายด้วยการพูดอย่างมีอารมณ์ขันเกี่ยวกับหนังชุดของจีนที่ฉายและโด่งดังใน Tanzania ในปีที่แล้ว ซึ่งอาจทำให้ผู้ชมชาวแอฟริกันได้มองเห็นความสลับซับซ้อนของชีวิตชาวจีนได้บ้าง

ประธานาธิบดีของ Tanzania นาย Jakaya กล่าวว่า “ความสัมพันธ์ระหว่าง  Sino-Tanzania มีมาอย่างมั่นคงยาวนาน และเป็นบทพิสูจน์ทางกาลเวลาว่าเราต่างเป็นเพื่อนที่จะเติบโตไปด้วยกัน” นอกจากนี้ยังกล่าวด้วยว่า “นโยบายของ Tanzania ต่อจีนนั้นถูกชี้นำด้วยการตัดสินของ Tanzania เองซึ่งมาจากความสนใจขั้นพื้นฐาน และที่ผ่านมาจีนได้เป็นผู้สนับสนุนที่พึ่งพาได้ และการรวมตัวของประเทศต่างๆในแอฟริกา และประเทศโลกที่ 3 จะถูกดึงดูดด้วยความเที่ยงตรงในโลกเศรษฐกิจเท่านั้น”

นอกจากนี้ James F Mbatia ประธานกรรมการวิศวกรก่อสร้างศูนย์ประชุมยังกล่าวอีกว่า “ชาวแอฟริกันมีศักยภาพที่จะตัดสินว่าใครเป็นผู้ช่วยเหลือพวกเรา”

นายวีระ วิสุทธิ์

ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรมแหล่งพลังงาน

สายงานเชื้อเพลิง


เรียน   อ.จีระ หงส์ลดารมภ์

วันที่ 29 มีนาคม 2556

แนวคิด Blue Ocean กับการทำงานของ กฟผ. และการปรับใช้ เพื่อสร้างโครงการแบบนวัตกรรมของ กฟผ.

โดย  รศ. ดร. สมชาย ภคภาสน์ วิวัฒน์

ประโยชน์ที่ได้รับ/เรียนรู้

-  Red Ocean เป็นการแข่งขันทางธุรกิจแบบเดิม ๆ ในตลาดที่มีอยู่ทั้งแข่งขันด้านราคาและ แย่งลูกค้ากลุ่มเดียวกัน

-  Blue Ocean เป็นแนวคิดการทำธุรกิจที่ต้องมีการสร้างสินค้าใหม่ ๆ คือ ต้องมีนวัตกรรมใหม่ ๆ สร้างลูกค้าใหม่ และที่สำคัญต้องคิดก่อนคนอื่น

-  การนำ Blue Ocean มาปรับใช้ใน กฟผ. ควรมองถึง Core Competency เป็นหลัก

High Performance Organization ที่ กฟผ.

โดย ดร.สมโภชย์ นพคุณ, คุณสมชาย ไตรรัตนภิรมย์

ประโยชน์ที่ได้รับ/เรียนรู้

High Performance Organization(HPO) หมายถึงองค์กรที่ทำงานได้อย่างเป็นเลิศ ชนะคู่แข่งได้ตลอดเวลา การขับเคลื่อนองค์กรนอกจากผู้นำแล้ว พนักงานต้องทำงานเป็นทีม มีความผสมผสานเป้นหนึ่งเดียว

-  ลักษณะผู้นำ HPO ต้องมีทัศนคติเชิงบวก มุ่งมั่น มีวินัย มีความคิดริเริ่ม น่าเชื่อถือ และมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน

-  พนักงานต้องสื่อสารเก่ง ความคิดริเริ่มดี มีความเข้าใจในภาระกิจ วิสัยทัศน์องค์กรและต้องมีการทำงานเป็นทีมผสมผสานเป็นหนึ่งเดียว

-  HPO ต้องเน้นที่ผลลัพท์ และสร้าง Value ในองค์กร

-  HPO ต้องมีความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา

-  HPO ต้องเน้นความสามารถและความโดดเด่นขององค์กรนั้น ๆ

นายวีระ วิสุทธิ์

ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรมแหล่งพลังงาน

สายงานเชื้อเพลิง


เรียน อ.จีระ หงส์ลดารมณ์

วันที่ 28 มีนาคม 2556

ประสบการการณ์เรียนรู้ในรุ่น 2 ของข้าพเจ้า กับการปรับใช้ เพื่อการบริหาร กฟผ. ในยุคที่โลกเปลี่ยน

โดย  คุณสุทัศน์  ปัทมสิริวัฒน์

ผู้ว่าการได้ให้นโยบาย Competency 5 ด้าน สำหรับผู้นำรุ่นใหม่

-  การมีปฏิสัมพันธ์การบริหาร Stakeholder

-  การบริหารในเชิงธุรกิจ

-  การขับเคลื่อนให้เกิดประสิทธิภาพ

-  สร้าง Alignment, ทีม

-  สร้างวัฒนธรรมองค์กร

นอกจากนี้ผู้ว่าการฯ เน้นว่า กฟผ. ควรเป็นองค์กรที่ประชาชนภูมิใจ และไว้ใจ การมีวิสัยทัศน์ดี แต่วัฒธนธรรมองค์กรไม่สอดรับ ก็ไม่สามารถขับเคลื่อนได้

เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทย ผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.

โดย รศ. ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์, ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล,  อ.มนูญ ศิริวรรณ

ประโยชน์ที่ได้รับ

-  ความต้องการพลังงานที่เติบโต ขึ้นตามจำนวนของประชากร ทั้ง OECD และ Non OECD คือ Non OECD ความต้องการในทิศทางที่สูงขึ้น ขณะที่ OECD ค่อนข้างคงที่

-  สถานการณ์ด้านพลังงานในปัจจุบันและอนาคตของโลก เช่น สหรัฐอเมริกา มีปริมาณสำรองสามารถผลิต Unconventional gas และ Unconventional oil สู่ตลาดโลก จะมีผลกระทบกับพลังงานด้านอื่นได้

-  สหรัฐอเมริกาซึ่งปัจจุบันส่งออกก๊าช แต่อนาคตอาจจะส่งน้ำมันได้

-  แนวโน้มเศรษฐกิจไทย และเศรษฐกิจโลกในอนาคต เช่น ประเทศไทยเศรษฐกิจในระยะสั้นดี และระยะยาวอาจจะต้องขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจของประเทศจีน ซึ่งจีนเศรษฐกิจที่ผ่านมาเติบโตสูงมาก หากมีวิกฤติในจีนก็จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของไทยได้

TQM/SEPA  : ความเป็นเลิศและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ของ กฟผ.

โดย คุณพิบูลย์ บัวแช่ม, อ.สัญญา เศรษฐพิทยากุล, คุณนริศ ธรรมเกื้อกูล

ประโยชน์ที่ได้รับ

1. การเป็นองค์กรชั้นนำ กฟผ. ต้องมี

-  ธรรมาภิบาล

-  High Performance Organization (HPO)

-  Operation Excellence

-  National Pride การลงทุน, เศรษฐกิจของประเทศเติบโต

-  มีความมั่นคงทางการเงิน

  2. ในการทำ TQM/SEPA ผู้นำ ผู้ว่าการ และรองผู้ว่าการ สายงานต่าง ๆ ต้องสนับสนุนอย่างจริงจัง

นายวีระ วิสุทธิ์

ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรมแหล่งพลังงาน

สายงานเชื้อเพลิง


สรุปบทความจากหนังสือพิมพ์

หัวข้อ Grouping on track to be “global force”, creating mutual opportunities และ Xi highlights bonds of “shared destiny” จากบทความนี้แสดงให้เห็นว่าการดำเนินนโยบายต่างประเทศของจีนเพื่อมุ่งสู่การเป็นมหาอำนาจและสร้างสมดุลทางขั้วอำนาจของโลก โดยไม่ยอมให้มีประเทศใดประเทศหนึ่งเป็นมหาอำนาจแต่เพียงผู้เดียว

หัวข้อ Grouping on track to be “global force” การประชุมสุดยอด BRICS  ครั้งที่ห้าใน Durban, แอฟริกาใต้ พิสูจน์ให้เห็นว่ากลุ่มที่มีการพัฒนา สามารถทำให้ข้อตกลงมีผลบังคับใช้ระดับโลก ที่จะแก้ไขปัญหาในช่วงของปัญหาทางเศรษฐกิจและการเมือง ที่มี 5 ข้อหลักที่เกิดขึ้นใหม่  เป็นเอกสารข้อตกลงทางเศรษฐกิจในธุรกิจใหม่และการเตรียมการความร่วมมือทางการเงินจีนซึ่งเป็น 1 ในประเทศสมาชิกกลุ่ม BRICS (บริกส์) ซึ่งประกอบด้วย บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และ ประเทศแอฟริกาใต้ ตามลำดับตัวอักษร กลุ่ม BRICS นั้นได้ถูกขนานนามว่าเป็นประเทศมหาอำนาจใหม่มารวมตัวเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การเงิน เป็นต้น ในการประชุมผู้นำของประเทศ บราซิล, รัสเซีย, อินเดีย, จีนและแอฟริกาใต้ ประธานาธิบดี Xi Jinping แสดงความเชื่อมั่นเมื่อวันที่ 27 มีนาคม2556 ถึงโอกาสของความร่วมมือระหว่างประเทศที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจชั้นนำใหม่ ของโลก ของเขาแม้จะมีการชะลอตัวทั่วโลก "การเติบโตทางเศรษฐกิจช้าลงไม่ได้หมายความถึงเส้นทางลงเขาสำหรับ BRICS ตรงกันข้ามจะเป็นการพัฒนาศักยภาพมากกว่า มันก็ยังคงอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาและควรมุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมความสัมพันธ์ การปรับปรุงมาตรฐานการครองชีพสำหรับ 3 พันล้านคนจะสร้างโอกาสที่ยิ่งใหญ่ และเขาเรียกร้องให้มีโครงการความร่วมมือที่สำคัญ ถึงประเด็นในการตั้งคณะกรรมมาธิการทางด้านธุรกิจของกลุ่มซึ่งจะทำหน้าที่คล้ายกับองค์กรการค้าระหว่างประเทศ (WTO; World Trade Organization) คือ ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยกรณีพิพาททางด้านการค้า การพาณิชย์ระหว่างประเทศสมาชิก นอกจากนี้ยังกล่าวถึงการขยายการลงทุนของประเทศสมาชิกในทวีปแอฟริกา และ มีความคิดที่จะจัดตั้งธนาคารเพื่อการพัฒนาของประเทศสมาชิกทั้ง 5 อีกด้วย

หัวข้อ creating mutual opportunities ในหัวข้อนี้ได้กล่าวถึงการกระชับสัมพันธ์ระหว่างจีนกับรัสเซีย เป็นหลัก การพัฒนาของจีนเป็นการสร้างโอกาสแทนภัยคุกคาม โดยได้มีการเซ็นข้อตกลงทางด้านการทำธุรกิจทางด้านพลังงานซึ่งจีนคือผู้บริโภคพลังงานรายใหญ่และในทางเดียวกันรัสเซียคือผู้ส่งออกพลังงานน้ำมันรายใหญ่เช่นกัน ในการเยือนของ สี จิ้นผิง ประธานธิบดีของจีนที่รัสเซียครั้งนี้จะเป็นการบ่งบอกให้โลกรู้ว่าจีนกำลังจะก้าวไปเป็นมหาอำนาจ โดยใช้วิธีการสร้างสัมพันธ์กับรัสเซียเพื่อถ่วงดุลอำนาจของสหรัฐฯ นอกจากนี้ สี จิ้นผิง ยังได้กล่าว เราต้องเคารพสิทธิของแต่ละประเทศที่จะเป็นอิสระของตน เลือกเส้นทางของการพัฒนาของตนเอง และเราไม่เห็นด้วยกับการแทรกแซงในเรื่องของอำนาจอธิปไตยในประเทศอื่น ๆ การแทรกแซงทางการเมืองภายในของประเทศอื่นนั้นสามารถทำได้มากที่สุดก็แค่เพียงการเจรจาไกล่เกลี่ยเท่านั้น ซึ่งคำพูดนี้ถือเป็นการสื่อถึงและเสียดสีประเทศที่ชอบแทรกแซงกิจการภายในประเทศอื่นๆ นอกจากความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ยุทธศาสตร์ และ ความมั่นคงแล้วนั้น ผู้นำจีนและผู้นำรัสเซียยังได้กระชับความสัมพันธ์ทางด้านสังคมกล่าวคือ มีโครงการให้เยาวชนของทั้งสองประเทศได้มีโอกาสกระชับความสัมพันธ์การมากขึ้นอีกด้วย สี จิ้นผิง ยังได้รับเชิญไปยังสำนักงานป้องกันภัยของรัสเซียเป็นครั้งแรกสำหรับผู้นำจีน แสดงให้เห็นถึงการไว้วางใจจีน และอาจจะขยายไปสู่ศักยภาพที่แข็งแกร่งสำหรับความร่วมมือทางทหารในอนาคต

หัวข้อ Xi highlights bonds of “shared destiny” ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ของจีนมีนโยบายกระชับสัมพันธ์กับประเทศในทวีปแอฟริกามากขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายในการขยายตลาดและการลงทุนในทวีปแอฟริกา เนื่องจากแอฟริกายังมีทรัพยากรที่ยังไมได้นำมาใช้อีกมากเพราะไม่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย จีนเห็นช่องทางจึงเข้ากระชับสัมพันธ์กับหลายๆประเทศในทวีปแอฟริกา โดยให้ความช่วยเหลือด้านต่างๆ เช่น การศึกษา เทคโนโลยี เป็นต้น จีนจะฝึกอาชีพให้ชาวแอฟริกัน 30,000 คน และให้ทุนการศึกษากับนักเรียนแอฟริกัน 18,000 ทุน ในช่วงปี 2013-2015 และถ่ายทอดเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นและการแบ่งปันประสบการณ์กับแอฟริกา ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับแอฟริกาจะมีความซับซ้อนมากขึ้นเมื่อเทียบกับผู้นำรุ่นก่อนหน้านี้ และต้องให้แอฟริกัน สามารถที่จะตัดสินว่าจะให้ใครช่วยเขา


วันที่ 29 มีนาคม 2556

หัวข้อเรื่อง แนวคิด Blue Ocean กับการทำงาน กฟผ.และการปรับใช้เพื่อสร้างโครงการวัตกรรมของ กฟผ.”

โดย รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ คณะรัฐศาสตร์ธรรมศาสตร์

              อาจารย์ รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ ได้เน้นให้ผู้เข้ารับการอบรมได้เกิดมุมมองใหม่ๆ โดยหยิบเอาเรื่องใกล้ตัว “คำคม"ต่างๆ เพื่อมาสร้างความเข้าใจที่ง่ายขึ้น เช่น เอาอยู่ คนรวยไม่โกง ฝันให้ไกล ไปให้ถึง บางคนความรู้งอกได้ บางคนความรู้อยู่กับที่ เอกชนทำงานมี 2 เป้าหมายคือเป้าหมายเปิดเผยกับป้าหมายไม่เปิดเผย อาหารอร่อยในมุมมองของเจมส์(ลูกค้าอร่อย)และมุมมองของจอห์น(อากง-อร่อย) ร้านดอกหญ้าเจ้งเพราะอะไร สิ่งทอระดับล่างเจ้ง คุณโชคดีที่เจอแต่ อาจารย์เก่งๆ ผมโชคดีเจอแต่ อาจารย์ห่วยๆ เป็นต้น

ตารางเปรียบเทียบระหว่าง Red Ocean กับ Blue Ocean

Red Ocean

Blue Ocean

1.สู้ในพื้นที่ตลาดที่มีอยู่

1.สร้างขึ้นในตลาดที่ยังไม่มี

2.เอาชนะในการแข่งขัน

2.ทำให้ไม่เกี่ยวกับการแข่งขัน

3.ใช้ประโยชน์จากความต้องการที่มีอยู่

3.สร้างลูกค้าใหม่และจับลูกค้าใหม่

4.ภายใต้มูลค่าที่เหมาะกับต้นทุน

4.สร้างมูลค่าเพิ่ม

5.จัดการทั้งระบบของกิจกรรมแบบมีทางเลือกเชิงกลยุทธ์ของความแตกต่างหรือค่าใช้จ่ายต่ำ

5. จัดการทั้งระบบของกิจกรรมโดยการแสวงหาความแตกต่างและมีค่าใช้จ่ายต่ำ

การเรียนรู้มุ่งสู่ Blue Ocean  เริ่มจาก รู้ => รู้จริง=>ตระหนัก=>เห็นสิ่งเดียวกัน(แต่มองคนละมุม)ยกตัวอย่าง เช่น Southwest-Airline สายการบินราคาต่ำ

Blue Ocean =>ซักระยะหนึ่ง=>Red Ocean

นวัตกรรมถือว่าเป็น Blue Ocean เช่น ทำสินค้าตัวใหม่ เช่น CP หลายตัวที่นำไปผลิตสินค้าได้ ยากที่จะเลียนแบบ เจ้าแรกของโลก มีความชำนาญมองเห็นศักยภาพของตนเองแล้วผันตนเอง เช่น ดาราตลกผันตัวไปสร้างหนังตลก  McDonald ขายไก่ไม่รวยแต่รวยเพราะอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น

กลยุทธ์ของนวัตกรรม อย่ามองว่าเราทำอะไร ให้มองว่าสามารถทำอะไรได้อีก

Value Innovation  เป็นการวิเคราะห์ถึงความเหมาะสมระหว่าง Cost กับ Value


หัวข้อเรื่อง “High Performance Organization ที่ กฟผ.”

โดย ดร.สมโภชน์ นพคุณ

         คุณสมชาย ไตรรัตน์ภิรมย์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ทริส คอร์ปอร์เรชั่น จำกัด

ดำเนินรายการโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          High Performance Organization หมายถึง องค์กรที่มี ผู้นำ พนักงาน วิธีการทำงานที่ผสมผสาน เริ่มตั่งแต่ ผู้นำ ต้องมีทัศนคติเชิงบวก มีวิสัยทัศน์ มีวินัย มีความมุ่งมั่น มีเป้าหมาย และมีความน่าเชื่อถือ พนักงานต้องทำงานเป็นทีม เข้าใจภารกิจ ทำงานอย่างมีความสุขและองค์การมีโครงสร้างแบบ Dynamic Structure

          กระทรวงพลังงาน ได้นำระบบนี้เข้าใช้งาน โดย ดร.ณอคุณ สิทธิพงษ์ เป็นปลัดกระทรวงพลังงาน ซึ่งเป็นผู้นำสูงสุดและเป็นผู้ผลักดันหลัก ภายใต้นโยบายองค์กรทำงานได้ดี มีประสิทธิภาพและยั่งยืน ผลลัพธ์ขององค์กรขึ้นอยู่กับพนักงานที่สามารถทำงานเป็นทีม มีความผสมผสาน เพื่อให้ กระทรวงพลังงาน พัฒนาเป็นองค์กรชั้นดีและองค์กรชั้นเลิศต่อไป

           อาจารย์ ดร.สมโภชน์ นพคุณ อาจารย์สมชาย ไตรรัตน์ภิรมย์ ได้นำเสนอการประเมิน SEPA และได้นำเสนอตัวอย่างผู้นำแนวคิดขององค์กรที่มี HPO  เช่น ปตท. จะตั้งเป้าหมายสูง อยู่ใน Fortune 100 สร้างยอดขายได้เร็วกว่าเป้าหมาย 45 ปี สร้าง Value ให้องค์กร เป็นองค์กรที่มีความยืดหยุ่นสูง ซั

มซุง เป็นองค์กรที่มีการพัฒนาจัดการบริหารแบบยืดหยุ่น ที่ก้าวขึ้นมาเป็นสินค้าชั้นนำของโลกภายในระยะเวลา 10-15 ปี สินค้าอื่นอื่ๆที่มีวัตกรรม เช่น APPLE เป็นต้น

            สิ่งสำคัญหรือแก่นแท้ของ HPO คือ ทัศนคติเชิงบวกและการมีส่วนร่วม ดังเช่น ชาวญี่ปุ่นบอกว่าให้มีทัศนคติในการทำงานเหมือนเล่นกีฬาคือให้สนุกกับมัน ทีมงาน HPO ต้องมีลักษณะคือ มีเป้าหมายร่วมกัน สร้างความสัมพันธ์ที่ไว้ใจกัน สร้างสมดุลของงานและชีวิตครอบครัว วางแผนงาน มีส่วนร่วมในการทำงาน การเคารพเข้าใจในความแตกต่าง มีการพี่งพาอาศัยกัน ให้รางวัลกับบุคลากร มีการสื่อสารอย่างมีประสิทธิผล ปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

            HPO ที่ กฟผ. กฟผ.จะต้องรู้จุดเด่นจุดด้อยในองค์ประกอบหลักเหล่านี้ ได้แก่ การมุ่งเน้นความสมดุล การนำองค์กรอย่างมีวิสัยทัศน์ ความเป็นเลิศที่มุ่งเน้นลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การเรียนรู้ขององค์กรและของบุคลากร การเห็นคุณค่าของพนักงานและคู่ค้า ความสามารถในการปรับตัว การมุ่งเน้นบทบาทของรัฐวิสาหกิจในอนาคต การจัดการเพื่อสร้างนวัตกรรม การจัดการโดยใช้ข้อมูลจริง การแสดงความรับผิดชอบต่อสาธารณะ รวมทั้งการพัฒนาสังคมและประเทศ การมุ่งเน้นที่ผลลัพธ์ การมีมุมมองเชิงระบบ

            สำหรับผลการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมใน กฟผ.ได้แก่ การประเมิน SEPA ซึ่งผู้บริหารและพนักงานทุกคนมีความตระหนักและเข้าใจเป็นอย่างดี การจะประสบผลสำเร็จเร็วขึ้นเพียงไรคงขึ้นอยู่กับปัจจัยความพร้อมของ ผู้นำ ร่วมมือทำงานเป็นทีมของพนักงานและวิธีการทำงานอย่างมีความสุข และอื่นๆ ตามองค์ประกอบหลักที่ได้เรียนรู้มาในครั้งนี้

สรุปหาก กฟผ.ต้องการเป็นองค์กร HPO กฟผ.จะต้องทำงานได้อย่างเป็นเลิศ ต้องชนะคู่แข่งขันได้ตลอดเวลา

สรุปบทความจากหนังสือพิมพ์

Creating mutual opportunities

โดย Wu JIAO,ZHAO SHENGNAN in Moscow and QIN ZHONGWEI in Beijing.

นับเป็นครั้งแรกหลังจากที่เข้ารับตำแหน่ง ของประธานาธิบดี Xi Jinping ของจีน ได้เดินทางออกนอกประเทศเพื่อเยือนรัสเซีย ประเด็นสำคัญคือการประกาศนโยบายต่างประเทศของจีน โดยท่านประธานาธิบดี Xi Jinping ได้กล่าวสุนทรพจน์ ที่กรุงมอสโค เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2013 กล่าวว่ายุคสงครามเย็นได้สิ้นสุดลงแล้ว จากนี้ไปเป็นยุคของการหาโอกาสสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่และประเทศที่กำลังพัฒนาไปด้วยกันและเราไม่ควรเข้าแทรกแซงทางการเมืองระหว่างประเทศ เราต้องเคารพในการเลือกการแนวทางพัฒนาของแต่ละประเทศ


Xi highlights bonds of ‘Shared destiny’

โดย Wu JIAO,ZHAO IN DAR ES SALAAM and LI XIAOKUN in Beijing.

ประธานาธิบดี Xi Jinping ของจีน ที่ได้เดินทางมายั งประเทศแทนซาเนีย ทวีปแอฟริกา  ประธานาธิบดี Xi Jinping ของจีนได้ประกาศนโยบายต่างประเทศอย่างชัดเจนที่จะเป็นประเทศมุ่งสู่การหาประเทศพันธมิตรในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยในการขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ เมื่อ วันที่ 25 มีนาคม 56 กล่าวว่า เราหวังอย่างยิ่งที่จะเห็นความสัมพันธที่ดีระหว่างประเทศต่างๆกับประเทศในแอฟริกา ปัจจุบันความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับแอฟริการมีความซับซ้อนมากขึ้นเมื่อเทียบกับผู้ที่อยู่ในรุ่นก่อนหน้านี้ จีนจะให้การช่วยเหลือกับกลุ่มประเทศแอฟริกา ทั้งในด้านการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน จะช่วยเหลือประเทศต่างๆในแอฟริกาอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่คำนึงขนาดของประเทศ ความแข็งแกร่ง หรือความมั่งคั่ง การเมือง จีนคาดหวังจะเห็นแอฟริกามีความเป็นหนึ่งเดียวและจีนมีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นกับประเทศอื่นๆในแถบแอฟริกา ประเทศต่างๆควรจะเคารพเกียรติและความเป็นอิสระของแอฟริกา


‘Grouping Track to be ‘global force’

โดย Wu JIAO,ZHAO IN Durban, South Africa, WIE TIAN in Beijing and HE EEI in Shanghai.

การประชุม BRICS ครั้งที่ 5 ที่เมือง Durban ประเทศแอฟฟริกาใต้ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2556 มีความเห็นร่วมกันเพื่อความร่วมมือกันในเรื่องเศรษฐกิจและการเมือง BRICS ซึ่งประกอบด้วย 5 ประเทศ คือ บลาซิล, รัสเซีย, อินเดีย, จีน และแอฟริกาใต้

ประธานาธิบดี Xi Jinping ได้แสดงความเชื่อมั่นแม้เศรษฐกิจโลกจะเติบโตช้าลงแต่จะไม่กระทบกับเศรษฐกิจของ BRICS เนื่องจากศักยภาพที่มีอยู่ สำหรับ BRICS พึ่งจัดตั้งได้เพียง  5 ปี ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงพัฒนา จึง Focus ที่ด้านความสัมพันธ์  BRICS มีทำหน้าที่คล้ายกับ World Trade Organization แต่มีขนาดเล็กกว่าเพื่อความคล่องตัว มีจุดประสงค์เพื่อแก้ปัญหาข้อขัดแย้งทางการค้า/ธุรกิจ ของสมาชิกในกลุ่ม การรวมของ BRICS จะเป็นการปรับปรุงมาตรฐานความเป็นอยู่ของคน 3 พันล้านคน จะทำให้สร้างโอกาสในการเกิดโครงการหลักๆ ขึ้น ศักยภาพของ BRICS ยังไม่ได้ขยายถึงขีดสุด การค้าของกลุ่ม 5 ประเทศพึ่งนับได้  1 เปอร์เซ็นของปริมาณทั้งหมด

ประธานาธิบดี Xi Jinping ได้ประกาศเชิญชวนนักลงทุนจีนมาลงทุนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศ BRICS และเชิญชวนนักลงทุนจากประเทศสมาชิกมาลงทุนในจีน

สรุปบทความ

1.Creating mutual opportunities

China Daily Asia Weekly ฉบับประจำวันที่ 28 มีนาคม – 4 เมษายน 2556 ได้รายงานการเดินทางเยือนรัสเซียของประธานาธิบดี Xi Jinping (สี จิ้นผิง) ของจีน นับเป็นการเดินทางออกนอกประเทศครั้งแรกหลังจากรับตำแหน่ง เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2556 และได้พบกันประธานาธิบดี Vladimir Putin ของรัสเซีย ที่กรุงมอสโค ประธานาธิบดี Xi Jinping ได้กล่าวสุนทรพจน์เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศ และความสัมพันธ์กับรัสเซีย โดยกล่าวว่ายุคสงครามเย็นได้สิ้นสุดลงแล้ว จากนี้ไปเป็นการเปลี่ยนไปสู่การพัฒนาและเติบโตไปด้วยกัน เป็นการกล่าวภายหลังจากร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามความร่วมมือกันเรื่องพลังงาน และข้อตกลงอื่น ๆ โดยประธานาธิบดี Xi Jinping ยังได้กล่าวถึงการแทรกแซงทางการเมืองระหว่างประเทศว่า ควรให้แต่ละประเทศแก้ปัญหาภายในด้วยตัวเอง ประเทศอื่นไม่ควรมีการเข้าไปแทรกแซง แต่ควรเป็นผู้ไกล่เกลี่ยระหว่างรัฐบาลกับประชาชน เราต้องเคารพสิทธิ์ของแต่ละประเทศในการกำหนดแนวทางพัฒนาของตัวเอง ประธานาธิบดี Xi Jinping ยังได้พบกับนักศึกษาที่ Russian College เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างคนรุ่นใหม่ของทั้งสองประเทศ นอกจากนี้ประธานาธิบดี Xi Jinping ยังได้รับเชิญให้ไปเยือนสำนักงานป้องกันประเทศของรัสเซีย นับเป็นผู้นำระดับสูงของจีนคนแรกที่ได้รับเชิญ แสดงถึงความไว้เนื้อเชื่อใจและความร่วมมือทางทหารในอนาคต ทั้งยังได้พบกับนายกรัฐมนตรี Dmity Medvedev. ด้วย

  1. Xi highlights bonds of ‘shared destiny’

ประธานาธิบดี Xi Jinping ได้ไปเยือน Tanzania เป็นประเทศที่สอง ขณะนี้จีนกำลังเพิ่มความสัมพันธ์และให้ความสำคัญกับ Africa โดยประธานาธิบดี Xi Jinping ได้กล่าวว่า จีนจะให้ความช่วยเหลือโดยไม่คำนึงถึงเรื่องการเมือง จีนได้ขยายความช่วยเหลือทั้งการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ให้การอบรมและทุนการศึกษาแก่นักศึกษาอัฟริกัน โดยการค้าระหว่างจีนกับ Africa มีมูลค่าถึง สองแสนล้านดอลล่าร์ เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา

  1. Grouping on track to be ‘global force’

ในการประชุมกลุ่มประเทศ BRICS ครั้งที่ 5 (ประกอบด้วยประเทศ Brazil Russia India China และ South Africa) ที่เมื่อ Durban ประเทศอัฟริกาใต้ ประธานาธิบดี Xi Jinping ได้ตอกย้ำถึงความมุ่งหวังในความร่วมมือที่มากขึ้นในขณะที่เศรษฐกิจชลอตัว

BRICS ซี่งก่อตั้งมาประมาณ 5 ปี ยังอยู่ในขั้นพัฒนา และควรมุ่งไปที่การสร้างความผูกพันให้มากขึ้น การปรับปรุงคุณภาพชีวิตคน 3 พันล้านคนจะสร้างโอกาส ศักยภาพ จากการร่วมมือของ BRICS ขณะนี้การค้าระหว่าง 5 ประเทศ มีมูลค่าเพียง 1% ของโลก ประธานาธิบดี Xi Jinping ประกาศให้นักลงทุนจีนมีส่วนในการพัฒนาเศรษฐกิจโดยไปลงทุนในกลุ่มประเทศ BRICS และเชิญชวนนักลงทุนจากประเทศสมาชิกมาลงทุนในจีน. ในการประชุมได้มีการก่อตั้ง BRICS Business Council ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากทั้ง 5 ประเทศ ที่มีฐานะเท่าเทียมกัน ร่วมกันดำเนินการโดยไม่มีการตั้งผู้นำที่ถาวร ทำหน้าที่คล้ายกับ World Trade Organization แต่มีขนาดเล็กกว่า มีจุดประสงค์เพื่อแก้ปัญหาข้อขัดแย้งทางการค้า ที่ประชุมยังได้ตกลงร่วมกันที่จะจัดตั้ง BRICS new development bank ต่อไป

สรุปวันที่  27  มีนาคม  2556

1.  สรุป หัวข้อ “ธรรมาภิบาล” ของ กฟผ.

วิทยากร :  คุณไกรสีห์  กรรณสูต /  คุณสมบัติ  ศานติจารี / ศาสตราจารย์ ดร.ดิเรก  ลาวัณย์ศิริ

-  ความคิดแบบเก่า  -  ธรรมาภิบาลที่ดี คือ การกำกับดูแลที่ดี การบริหารจัดการที่ดีแบบรวมศูนย์จากบนลงล่าง      เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ และเป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยใช้เศรษฐกิจเป็นศูนย์กลาง

-  ความคิดแบบใหม่  -  ใช้ผู้คนเป็นศูนย์กลาง

-  การสร้างองค์กรที่เป็นธรรมาภิบาลที่ยั่งยืน (Sustainability) กฟผ. จะต้องสร้างผู้นำที่มีการปฏิบัติด้วยตนเอง   (Empower) โดยการให้วิเคราะห์สถานการณ์ ทำแผนงาน คิดและเรียนรู้อย่างจริงจังด้วยตนเอง ควรเริ่มที่ผู้  บริหารระดับหัวหน้ากองขึ้นไป

-  กฟผ. ยังขาดการจัดการการเปลี่ยนแปลงความคิดแบบระบบเก่ามาเป็นความคิดระบบใหม่ เพราะยังยึดติดกับ  การมีอำนาจ

-  กฟผ. เป็นหน่วยงานที่มีบุคคลากรที่มีศักยภาพและความเชี่ยวชาญสูง ที่ผ่านมา กฟผ. มีอุปสรรคในการปฏิบัติงาน   และไม่ประสบความสำเร็จในหลายโครงการ  เนื่องจาก กฟผ. มุ่งเน้นไปที่เรื่องต้นทุนค่าไฟราคาถูก และมุ่งเน้น  เทคโนโลยี โดยไม่ค่อยสนใจเรื่องการมีส่วนร่วมของชุมชนและสิ่งแวดล้อม

-  กฟผ. ขาดการบริหารความสมดุลย์ในเรื่องความเชี่ยวชาญเทคโนโลยีกับเรื่องสังคมชุมชน

-  กฟผ. ปรับตัวและเปลี่ยนแปลงตนเองช้ากว่าการเปลี่ยนแปลงของโลกภายนอก

-  กฟผ. ควรใช้หลักธรรมาภิบาลที่ดีเปรียบเสมือน 4 เสาหลัก ซึ่งจะทำให้ กฟผ. อยู่อย่างยั่งยืน คือ

  P  =  Participation  =  การมีส่วนร่วมของประชาชน

  A  =  Accountability  =  การมีความรับผิดชอบ

  T  =  Transparancy  =  ความโปร่งใส

  E  =  Efficiency  =  ประสิทธิภาพ

-  กฟผ. ต้องสร้างกระบวนการเรียนรู้ระหว่าง กฟผ. กับชุมชน การทำงานร่วมกับชุมชนจะมองเห็นโอกาส ภัยคุกคาม    มองเห็นการเปลี่ยนแปลงร่วมกัน  การคำนึงถึงการอยู่ดีมีสุขของประชาชน การสร้างความเข้มแข็งของชุมชน จะ  ทำให้  กฟผ. เป็นองค์กรที่เข้มแข็งอย่างยั่งยืน โปร่งใส และที่สำคัญที่สุดคือ ชุมชนยอมรับ ดังนั้นโอกาสที่การเมือง  จะแทรกแซงทำได้ยาก

-  กฟผ. ควรมีการประชาสัมพันธ์เรื่องค่า Ft ให้ประชาชนเข้าใจและต้องกล้าแสดงความคิดเห็นที่ถูกต้องและ    เหมาะสมอย่างเป็นทางการต่อกระทรวงพลังงาน

  2.  สรุปหัวข้อ  -  ผู้นำกับการสร้างทุนจริยธรรมในองค์กร

  วิทยากร :  คุณดนัย  จันทร์เจ้าฉาย

-  องค์กรที่เป็นองค์กรสีขาว จะมีลักษณะ

  1.  ต้นทุนต่ำ (Cost)

  2.  ทำงานได้เร็ว (Speed)

  3.  มีความน่าเชื่อถือ (Trust)

-  ผลลัพธ์ 3 ข้อ ขององค์กรสีขาว

  1.  เป็นองค์กรแห่งความสุข Happy Work Place Creative

  2.  เป็นองค์กรที่มีความคิดสร้างสรรค์

  3.  เป็นองค์กรแห่งความยั่งยืน

-  หลัก 4 P ที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จสูง คือ

  1.  People  - Social ดูแลคนในองค์กรเหมือนเป็นกัลยาณมิตร

  2.  Profit  - ผลกำไร

  3.  Planet  - ต้องดูแลรักษาโลก สิ่งแวดล้อม ธรรมชาติ

  4.  Passion  - ต้องมีอุดมการณ์อันแรงกล้า ศรัทธามั่นคงในหัวใจ

-  การเปลี่ยนแปลงต้องเริ่มที่ตัวเองก่อน

-  องค์กรสีขาวเปลี่ยนแปลงสังคมได้


สรุปวันที่  28  มีนาคม  2556

หัวข้อ  ประสบการณ์การเรียนรู้ในรุ่น 2 ของข้าพเจ้ากับการปรับใช้เพื่อการบริหาร กฟผ.  ในยุคที่โลกเปลี่ยน

โดย  ผู้ว่าการ สุทัศน์  ปัทมสิริวัฒน์  (ประธานรุ่น EADP # 2)

  -  ผู้บริหาร กฟผ. ต้องมีความรอบรู้มาก มีการฝึกคิด และการมีส่วนร่วม (Participation) ของสังคม    ภายนอก กฟผ.

  -  ต้องพิจารณาว่า กฟผ. ควรจะทำตัวอย่างไรในสังคม

  -  มีการฝึกคิด

  -  การพัฒนา HR เป็นสิ่งที่ผู้ว่าการนำมาใช้ทันทีเป็นรูปธรรมหลังจากจบหลักสูตร รุ่น 2

  เช่น  เรื่องอัตรากำลังของ กฟผ. การจัดการ GAP ขององค์กร

  -  องค์กรจะไม่สำเร็จเลยถ้าไม่มีการสร้างวัฒนธรรมขององค์กรให้สอดคล้องกับธุรกิจของ กฟผ.

  -  ในการเป็นผู้บริหารระดับสูงของ กฟผ. ต้องเตรียมความพร้อมของตัวเองให้สามารถแก้ไขปัญหา และ    เป็นที่ยอมรับของผู้อื่น

  -  กฟผ. ต้องเตรียมคนเพื่อไปขับเคลื่อนใน EGAT Group

  -  คน กฟผ. ต้อง Open mind เปลี่ยนวิธีคิดให้มีวิธีคิดที่ดี

  -  การใช้  2 R (Relavance and)

  -  ในฐานะ Leader ขององค์กร ต้องทราบความสำเร็จขององค์กร

  -  สรุป  1.  ดูให้กว้างขึ้น และมองหลากหลายรอบด้าน

  2.  จับประเด็นให้ได้

  3.  เตรียมความพร้อมและพัฒนาตัวเองให้พร้อมสำหรับงานที่หลากหลายอย่ามองเฉพาะใน    ตำแหน่งที่เราทำ

หัวข้อ เศรษฐกิจ และเศรษฐกิจไทย..ผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.

โดย  รศ.ดร.สมชาย  ภคภาสน์วิวัฒน์ คณะรัฐศาสตร์ มธ.

  ดร.กอบศักดิ์  ภูตระกูล

  อาจารย์มนูญ  ศิริวรรณ

อภิปรายโดย อ.ทำนอง  ภาศรี

-โลกกำลังเผชิญกับวิกฤติการณ์ต่างๆ

  -  วิกฤติเศรษฐกิจการเงิน

  -  วิกฤติความขัดแย้งระหว่างประเทศ

  -  การจัดหาพลังงานให้เพียงพอกับความต้องการพลังงานที่เติบโตขึ้นตามจำนวนประชากรและ    เศรษฐกิจ

-  สรุปภาพรวมสถานการณ์พลังงานไทยและแนวโน้มในอนาคต (Thailand Energy Outlook) เช่น  -  เป็นผู้นำเข้าพลังงานสุทธิ

  -  ทรัพยากรธรรมชาติด้านพลังงานมีจำกัด

  -  มีความเสี่ยงสูงในการต้องพึ่งพาพลังงานจากภายนอกประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ

  -  ผลกระทบและความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

-  ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไม่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ด้านพลังงาน เช่น

  -  นโยบายโครงสร้างพื้นฐานตามโลจิสติกส์

-  ผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.

  -  ปรับองค์กรเพื่อรองรับการแข่งขันและโอกาสทางธุรกิจที่จะเข้ามาในอนาคต

-  สรุป  -  ภาคประชาชนอยากเข้ามามีบทบาทและการมีส่วนร่วมกับภาครัฐ โดยเฉพาะ กฟผ. มีการปรับตัว    ด้านโครงสร้างและพลังงาน  กฟผ. จะต้องปรับตัวเองจากวิสาหกิจของชาติ เป็น วิสาหกิจระดับ    ภูมิภาค (Regional) รัฐบาลต้องส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนอย่างจริงจังและออกเป็น     กฎหมายบังคับใช้แผนอนุรักษ์พลังงาน  AEC จะเป็นโอกาสของ กฟผ.

  หัวข้อ  TQM/SEPA : ความเป็นเลิศและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ กฟผ.

  โดย  คุณพิบูลย์  บัวแช่ม  รวห. กฟผ.

  อาจารย์สัญญา  เศรษฐพิทยากุล

  คุณนริศ  ธรรมเกื้อกูล

  -  กฟผ. จะเป็นองค์กรชั้นนำ ต้องประกอบด้วย 5 อย่าง

  1.  ต้องมี CG  Corporate Govermmance

  2.  High Perfernance Organization / Premium Organization

  3.  Operational Excellent การบริหารจัดการที่ดี

  4.  National Pride ความภาคภูมิใจของประเทศ

  5.  Financial

  -  70%  เป็นเรื่องของคุณภาพ (TQM) ถ้า กฟผ. ได้ TQM ก็มีโอกาสเป็น MPO สูง

  -  ผู้บริหาระดับสูง  ผู้ว่า  รองผู้ว่า  ต้องลงมาร่วมจัดทำด้วย

  -  แนวคิดพื้นฐานสำคัญ

  -  HPO = TQM เป็นหลักการบริหาร TQA=> SEPA เป็นเกณฑ์วัด

  -  คุณภาพ => “ความพึงพอใจ ความประทับใจ WOW” => คุณค่า

  *  คุณค่าที่โดดเดน แตกต่าง => Band =>Blue ocean พื้นที่ที่มีคุณค่าโดดเด่นแตกต่าง      จากคนอื่นหรือไม่

  -  ความต้องการ  ความแตกต่าง ของภาคส่วนต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

  *  ผลิตภัณฑ์ => ผลิตและส่งไฟฟ้า / บริการ / DSM

  -  การจัดการ “รายงาน” และบุคคลากรเพื่อมุ่งสู่ HPO

  -  EGAT Way => การพัฒนา HPO / TQM ในรูปแบบของ EGAT

  -  SEPA Score เป็น By-Product

  -  ต้องจัดทำแผนแม่บท TQM ของ EGAT

  -  Integration ระหว่างสายงาน

  -  คน.กฟผ. ต้องเปิดใจกว้างรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น

  -  คน.กฟผ. มีจุดอ่อนในเรื่องการสื่อสาร 2 ทาง คือ การพูด และรับฟังผู้อื่นมากขึ้น รับฟังเสียง    วิจารณ์ของลูกค้าทั้งภายในองค์กรและภายนอก กฟผ.

  1. กฟผ. ต้องมองในเรื่อง Business Mind เช่น Demand Side Management  กฟผ. ต้อง    บริหาร Faith ความศรัทธาของประชาชนได้

  2.  Faith base Management

  3.  Integration


สรุปวันที่  29  มีนาคม  2556

หัวข้อ  แนวคิด Blue Ocean กับการทำงานของ กฟผ. และการปรับใช้เพื่อสร้างโครงการแบบวัตกรรมของ กฟผ.

โดย  รศ.ดร.สมชาย  ภคภาสน์นิวัฒน์

  -  Blue Ocean ต้องเป็นองค์กรประเภทที่เปลี่ยน Concept ในการถามคำถามว่า ทำไม? และทำอย่างไร?

    Read Ocean Vesus Blue Ocean Strategy

1. Compete in existry market Space

  -  สู้กันในเนื้อที่การตลาด

  -  สู้กันด้วยสินค้ากับสินค้าบริการตัวเก่า      เช่น การขับรถ Bus การขึ้นรถบริการมี       มานานแล้ว

2. Best the Compititions Exploit

  - ต้องชนะการแข่งขันเพื่อแย่งส่วนแบ่งการ    ตลาด

3. Exploit existing Denament

  - พยายามชักจูงลูกค้า

4. Makr the Value-cost trade-off

5. Align the Whole system of a firm's  actenuties with its strategic choice of differentiation or low cost

1. Create uncontested market space

  - สร้างสินค้าใหม่ด้วยการสร้างวัตกรรม     สินค้า

  -  สู้กันด้วยสินค้าและสินค้าบริการตัวใหม่

2. Make the Competition irelevant

  - ทำให้ไม่มีการแข่งขันมาเกี่ยว เพราะเป็น     สินค้าใหม่ยังไม่มีใครทำแข่ง ฉะนั้นยังไม่มี    ส่วนแบ่งการตลาด

3. Create and Capture new demand สร้างลูกค้า

  -  ลูกค้าที่ยังไม่บริโภค (Non Consumer)  จึงต้องต้องการกระจายสินค้าและบริการ

4. Break the value-cost trade off

5. Align the Whole system of a firm's actenuties in pursent of differentiations and low cost

  -  ความสำเร็จขององค์กรอยู่ที่ต้องมี Passion

  -  Core Competenry  เป็นเรื่องของพลวัตร

  -  Value Innovation การวางตำแหน่งให้สอดคล้องกับราคาต้นทุนและความต้องการของลูกค้า

  -  ความสมดุลย์ของราคาต้องสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าระหว่างราคาที่เขาจ่ายกับคุณค่าที่ได้รับ

  -  ต้องเกิดความสมดุลย์ในด้านราคาและความแตกต่าง

  -  โลกาภิวัฒน์ แผ่ไปสู่ทุกจุดของโลก ทำให้โลกไร้พรมแดน

  -  กฟผ. ต้องบริหารความแตกต่างและต้องสร้างกระบวนการใหม่ๆ (Innovation) และสามารถวาง     ตำแหน่งสินค้าให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า

 

  กรอบความคิดเกี่ยวกับ “ตัวเรา” และแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำตนเอง

  โดย  ดร.สมโภชน์  นพคุณ  จาก  สำนักงาน ก.พ.

  -  สรุปประเด็นที่ กฟผ. ควรพิจารณา คือ

  1.  ปัจจัยที่ทำให้ผู้ปฏิบัติงานเบื่อที่ทำงานมากที่สุดคือ ผู้บังคับบัญชา

    ต้องให้ความสนใจในด้านจิตวิทยาในการบริหารงานลูกน้อง

  2.  80% ในแต่ละวันใช้ในการบริหารคน

  3.  การผสมผสานการใช้คนให้เป็น

  4.  คนเก่งด้วยกันมาอยู่ด้วยกัน

  5.  หลักคือ ความแตกต่างของการทำงานและภาระกิจของแต่ละบุคคลนำมารวมกันจึงจะเป็น    High Performance Organization

  6.  ต้องมี Single Policy (One Policy)

    ต่างประเทศ  ของไทย

  One Policy  หลายๆ Policy แต่ใช้ One Standard

  วัดหลายๆ องค์กร

  7.  สิ่งที่เหมือนกันทั่วโลก คือ ต้องแบ่งคนเป็น 3 แบบด้วยกัน

1.  ระดับล่างสุดขององค์กร  25-30%

2.  คนส่วนใหญ่ระดับกลางไม่โดดเด่น  45-50%

3.  Top of the King โดดเด่น  15-20%

  8.  องค์ประกอบที่สำคัญในการเป็น MPO ของ กฟผ.

  -  Organization ของ กฟผ. จัดระบบและโครงสร้างต้องเป็นแบบ Retional

  -  คนเป็นองค์ประกอบเดียวที่ Dynamine ในการสร้าง MPO กฟผ. ไม่ใช่ดำเนินการแค่

1.  ปรับโครงสร้าง

2.  ปรับกระบวนการ

3.  ปรับเทคโนโลยี

  แต่งต้องให้ความสำคัญกับการบริหารคน

  -  ปัจจัยอะไรที่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในตัวบุคคลที่ทำให้คนของเราเก่ง ดี และ    ทำงานกับคนอื่นได้และสร้าง MPO ได้

  -  ในการเป็น MPO ต้องใช้หลัก

  -  Where are we

  -  Where are we going

  -  How do we go

  -  คน (Human Being) แตกต่างจาก Human Resource ที่มองคนเป็นทรัพยากรสิ่งของ

  1.  มิใช่สิ่งของ (Thing) หรือทรัพยากร (Resource)

  2.  มีชีวิตจิตใจ

  3.  มีความมุ่งมั่นเอาชนะทุกสิ่ง (ธรรมชาติ)

  4.  มีความคิดเพื่อพัฒนาการต่างๆ

  -  MPO จะไม่เกิดถ้าคิดว่าคนเป็น Human Resource ไม่ใช่ Human Being

  -  กฟผ. ต้องมีกระบวนทัศน์มองคนทำงานที่ต่างไปจากเดิม

  บทบาทของผู้นำในการเป็นองค์กรสมรรถนะสูง

1.  ออกคำสั่ง Set Directive กำหนดทิศทางและเงื่อนไข

2.  ตอบสนองความต้องการของคนทำงาน

ต้องบอก  ต้องสอน  ต้องอธิบายในชัดเจน เครื่องไม้เครื่องมือที่ใช้

3.  Represented

เป็นตัวแทนองค์กรในการสร้างทีมสร้าง Brand

  -  กฟผ. ต้องวิเคราะห์ ต้องสร้างหาแรงต้านและต้องสร้างแรงผลักดันในการขับเคลื่อนให้เป็นองค์กร MPO     องค์กรที่เป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุข

  -  ต้องมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนร่วมกัน และมี Comnitment ร่วมกัน

  -  ฝึกการทำงานเป็นทีม Work

  -  ต้องให้ Power แก่ผู้เกี่ยวข้อง


สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่านหนังสือ Think like Zuckและ การปรับใช้กับ กฟผ.

  กลุ่ม 1

  นาย กิติพันธ์  เล็กเริงสินธุ์

  นายเกรียงไกร  ไชยช่วย

  นาย เฉลิม  จรัสวรวุฒิกุล

  นาย ชนฏ  ศรีพรวัฒนา

  นาย ชวลิต  อภิรักษ์วนาลี

  นาย ชัยรัตน์  เกตุเงิน

  น.ส.พนา  สุภาวกุล

ปัจจัยหลักของความสำเร็จ 5 อย่างในการสร้างองค์กร  ได้แก่ Purpose (วัตถุประสงค์)  passion (ความหลงไหล) Product  (ผลิตภัณฑ์) people (คน) และ partnership (พันธมิตร)  และผู้นำจะต้องไฝ่เรียนรู้มีความยืดหยุ่นและคล่องตัวต่อสภาพแวดล้อม สามารถปรับตัวได้ดี และส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งวิธีปฏิบัติของ Zuck ไม่สามารถนำมาใช้กับ กฟผ. ได้ทั้งหมดเนื่องจาก กฟผ. ยังต้องปฏิบัติตามคำสั่งและระเบียบของราชการ แต่ก็สามารถนำแนวความคิดมาปรับใช้ได้

How to Think Like Zuckerberg

ผู้ก่อตั้ง Facebook Mark Zuckerberg เป็นหนึ่งในมหาเศรษฐีที่อายุน้อยที่สุดในโลกและมีวิสัยทัศน์  ที่มีกว่าพันล้านลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากการตัดสินใจของเขาเป็นประจำ

แน่นอนว่า Mark ไม่ได้ทำงานด้วยตัวเอง แต่เขาได้สร้างวัฒนธรรมและนำไปสู่หุ้นส่วนระดับบน เช่น Shery Sandberg ที่ทำงานในพื้นที่ที่เหมาะสมกับจุดแข็งของเธอ ตามที่ผู้เขียนหนังสือ Think Like Zuck คือ Ekaterina Walter เล่าว่าผู้ประกอบการเช่น Zuckerberg  ใช้ ปัจจัยหลัก 5 อย่างในการสร้าง บริษัท  ได้แก่ Purpose (วัตถุประสงค์)  passion (ความชอบ) Product  (ผลิตภัณฑ์) people (คน) และ partnership (พันธมิตร) Walter ผู้เป็น "นวัตกรรมทางสังคม" ที่อินเทลให้สัมภาษณ์พนักงานหลายคนและ พันธมิตร Facebook เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับอะไรที่เป็นการคิดแบบ Zuck

 The 5 P's

"วิสัยทัศน์ของผู้ประกอบการทุกคนไม่ซ้ำกัน"  Walter กล่าว และกล่าวต่อว่า  "ความรักความหลงไหลของ  Zuck  เป็นเชื้อในวัตถุประสงค์ของเขาและพื้นฐานความรักความหลงไหลนี้ทำให้เขาตระหนักว่าเขาจะไปทางใด  วิสัยทัศน์ของเขาคือ  “ ฉันจะทำอย่างไรให้สังคมของโลกสื่อสารกันมากขึ้นและมีความโปร่งใส ”  วัตถุประสงค์ควรจะเป็นศูนย์กลางของทุกธุรกิจ  Zuck รู้จุดประสงค์ของเขาโดยไม่คำนึงถึงแรงกดดันภายนอกและมีทิศทางที่ชัดเจนสำหรับกลยุทธ์ระยะยาว เมื่อมีวัตถุประสงค์แล้วจึงสร้างผลิตภัณฑ์ที่คนสามารถเชื่อมโยงและใช้งาน แต่คุณไม่สามารถสร้างมันคนเดียว คุณต้องนำคนที่เหมาะสมมาร่วมกันสร้างวัฒนธรรมที่เหมาะสมและให้พวกเขาผลักดันวัตถุประสงค์ของคุณ  และคุณยังต้องมีพันธมิตรที่ชาญฉลาด ที่เติมเต็มทักษะและความต้องการของคุณ "

ตัวอย่างเช่น Sandberg เสริม Zuck ในหลายงานของ บริษัท

คุณสามารถสร้าง บริษัท จากวัตถุประสงค์ได้หรือไม่

ในหนังสือเล่มนี้ Walter กล่าวถึงวิธีการที่ประโยชน์ทางธุรกิจควรสอดคล้องกับปรัชญาส่วนตัวของผู้ประกอบการ ตัวอย่างเช่น Jake Nickell จาก Threadless  ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้อำนาจชุมชนของศิลปินที่จะแบ่งปันงานศิลปะของพวกเขากับคนทั่วโลก "เขาไม่รู้อะไรเกี่ยวกับธุรกิจหรือการปฏิบัติตาม แต่ช่วยทำให้มองเห็นศิลปินเหล่านี้และนำเป็นชุมชนที่มีชีวิต" เธอกล่าว ฉันถามผู้ประกอบการทุกความต้องการเพื่อวัตถุประสงค์ที่ยิ่งใหญ่ Walter กล่าวถึง  Ramon DeLeon  เจ้าของแฟรนไชส์พิซซ่า  ที่ส่งพิซซ่าผ่านหิมะหรือสุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่ส่งสัญญาณว่าพวกเขากำลังหิวเพราะ Ramon DeLeon  เป็นคนที่หลงใหลเกี่ยวกับลูกค้า สำหรับเขามันไม่ใช่เป็นเรื่องของอาหาร แต่เป็นเรื่องของลูกค้า   "เจ้าของร้านกาแฟต้องรักกาแฟ ต้องรักลูกค้าที่เข้ามา" เธอกล่าวเสริม นั่นก็เป็นการทำผลิตภัณฑ์ที่ดีเยี่ยม เช่น Zuck และทีม Facebook

ความสนุกในที่ทำงานเป็นเพียงกลไกหรือไม่

ที่ Facebook มีการจัดอาหารกลางวันให้ฟรี และมี hackathons (แฮกเกอร์ที่เจาะระบบในด้านดี) ทำงานตลอด ผู้จัดการ Zappos นั่งอยู่ในกลุ่มของตกแต่ง คือ ลิง ต้นปาล์มและกล้วย ทั้งหมดนี้เป็นเพียงกลไกหรือไม่ "มีเวลาในการเล่นและเวลาสำหรับการทำงานที่ บริษัท เหล่านี้"  Walter กล่าวว่า "พวกเขาจ้างคนที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมและมันไม่ได้รู้สึกเหมือนทำงาน. Facebook มีอาหารฟรีเพื่อให้คนของพวกเขาสามารถนั่งรวมกันและพูดคุยเกี่ยวกับความคิด  ได้พบกับสมาชิกทีมงานอื่นๆและสร้างความสัมพันธ์กัน  ฉันได้พบกับทุกทีมของฉันที่อินเทล พาพวกเขาออกไปรับประทานอาหารกลางวันและเรียนรู้เกี่ยวกับพวกเขา. เมื่อคุณรู้ลักษณะของพวกเขา คุณก็มีโอกาสที่จะช่วยให้พวกเขาสร้างการสนับสนุนและสร้างอิทธิพลในองค์กรอย่างเมทริกซ์. ถ้าคุณมีความยืดหยุ่นกับพนักงานซึ่งจะเกี่ยวกับวิกฤตบุคคล คุณจะได้รับความจงรักภักดีกลับมา"

ผู้นำเป็นเหมือนนก Hummingbirds

หนึ่งในส่วนที่ดีที่สุดของหนังสือเล่มนี้ คือ  " ผู้นำแบบนก Hummingbird "

เธอยกปัจจัย 10 อย่างที่เป็นลักษณะของนก Hummingbird  แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือความยืดหยุ่น "นกHummingbirds สามารถบินไปข้างหน้า บินถอยข้างหลัง สามารถหยุดและเลื่อนขึ้นลงได้ ซึ่งมีสัตว์เพียง 2–3 ชนิดที่ทำเช่นนี้ได้  ผู้นำต้องสามารถไปได้อย่างรวดเร็วเมื่อมีความจำเป็น และต้องรู้จักหยุด/คิด/ประเมิน และมีความคล่องตัวต่อสภาพแวดล้อม พวกเขาสามารถเรียนรู้และไปได้อย่างยืดหยุ่น ผู้นำเช่น Zuck และ Jobs มีความสามารถเช่นนี้ พวกเขามีสัญชาตญาณและเชื่อใจในวัตถุประสงค์ของพวกเขา ตัวอย่างเช่น Zuck มีความคิดเรื่อง Facebook เป็นแบบร่างใน "หนังสือการเปลี่ยน (Book of Change) ของเขา ก่อนที่จะถูกประกาศใน ที่ประชุมนักพัฒนา


Home Work  อ่านและสรุปหนังสือ

THINK LIKE ZUCK

ของ HADP 9 กลุ่ม 6

INTRODUCTION

CONNECTING THE WORLD

  “เช้าวันนี้มีมากกว่า 1,000 ล้านคนใช้  Facebook ขอบคุณสำหรับตัวฉันและทีมงานที่มีโอกาสได้รับใช้คุณในการช่วยเหลือผู้คนในพื้นที่หางไกลกันให้สามารถติดต่อกันเป็นความภูมิใจในชีวิตของฉัน ฉันสัญญาว่าจะพัฒนา  Facebook ให้ดีขึ้นเรื่อยๆเพื่อคุณและหวังว่าวันหนึ่งเราจะสามารถติดต่อเชื่อมโยงได้ทั่วโลก” นี่เป็นคำกล่าวของ Mark Zuekerberg ในวันที่ 4 ต.ค.2012

  Facebook ก่อตั้งโดย Mark Elloit Zuekerberg เมื่อวันที่ 4 ก.พ.2004 ณ เวลา นั้น Zuek อายุได้เพียง 19 ปี เรียนอยู่ที่ Harvard  University ด้านคอมพิวเตอร์ โดยเริ่มแรกเพื่อติดต่อสื่อสารกับนักศึกษาด้วยกันเองต่อมาจึงแพร่หลายออกไปอย่างมากทั่วโลก ในเดือนกันยายน 2012 มีผู้คนใช้ Facebook 1,000 ล้านคน เทียบกับคนที่ใช้ Internet 2,000 ล้านคน และประชากรทั้งหมดของโลก 7,000 ล้านคน เท่ากับว่า 1 ใน 7 คนใช้ Facebook

  ประโยชน์ของ Facebook มีอยู่มากมายเช่น ในกรณีของ Doueth  ลูกสาวอายุ 10 ขวบของเธอเจ็บป่วยต้องได้รับการเปลี่ยนไต เธอใช้ Facebook ในการกระจายข่าวเพื่อขอความช่วยเหลือ จนกระทั้ง Cathy Olsen ได้อ่านเจอเธอมีความสงสารและเธอได้บริจาคไตเพื่อช่วยเหลือ

  หรือในเรื่องที่ทำให้ครอบครัวได้กลับมาอยู่ด้วยกัน ในกรณีของ Gibson ซึ่งเคยเป็นทหารและไปประจำที่ United Kingdom และมีภรรยาและลูกที่นั่น เมื่อเขาได้ถูกย้ายกลับมาอเมิรกาได้ขาดการติดต่อทำให้ไม่ได้พบหน้ากัน 21 ปี เมื่อปี 2012 เขาได้พบกันใน Facebook ทำให้ครอบครัวได้กลับมาอยู่ด้วยกันอีกครั้ง

  ในหนังสือเล่มนี้ไม่เพียงจะกล่าวถึงความสำเร็จที่เกิดขึ้นกับ Facebook เท่านั้น ยังกล่าวถึงตัวอย่างความสำเร็จของบริษัทต่างๆในหลายๆอุสาหกรรม ซึ่งจะช่วยให้เรียนรู้จากเส้นทางของผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จของบริษัทฯเหล่านั้น ซึ่งมีปัจจัยที่ทำให้เกิดความสำเร็จอยู่ 5 ปัจจัย คือ 1.Passion 2.Purpose 3.People 4.Product 5.Partnerships โดยจะกล่าวในรายละเอียดในบทต่อๆไป

 

CHAPTER 1 – PASSION

  Mark  Zuekerberg  กล่าวว่า “หลักการของ Facebook คือการทำให้โลกดีขึ้น คนมีความเข้าใจกันมากขึ้น โดยใช้การติดต่อสื่อสารและการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ดีขึ้น

  เมื่อตอนที่ Mark  ยังเล็ก Mark สนใจ Video game อย่างมาก ต่อมาพ่อของ Mark ซื้อคอมพิวเตอร์เครื่องแรกในปี 1978 และ Mark ก็ได้ใช้เรียนรู้ จากนั้นไม่นาน  Mark ได้ซื้อ IBM’s XT ทำให้เรียนรู้ด้านคอมพิวเตอร์ได้มากขึ้น Mark ได้สร้างระบบการสื่อสาร เรียกว่า “Zucknet” ใช้ขึ้นเองที่บ้าน ใช้ติดต่อสื่อสารกับน้องสาว 3 คน ด้วยคอมพิวเตอร์ส่วนตัวในแต่ละห้อง

  ใน High School ช่วงปีแรกของการเรียนในวิทยาลัย Mark ได้สร้าง Programs เล็กๆหลายอัน เช่น Synapse, Course Match, and  Face mash  ทำให้บริษัท Microsoft และ AOL พยายามที่จะจ้าง Mark ไปร่วมงานด้วย แต่ Mark เลือกที่จะไปเรียนที่ Harvard

  Course Match เป็น Programs ที่ช่วยนักศึกษาลงทะเบียนเรียนในวิชาต่างๆ และต่อมาก็สร้าง Face mash  เป็น Programs ที่ค้นหาผู้ที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในวิทยาลัย และทำให้เป็นที่นิยมอย่างมากในหมู่นักศึกษา

  อันเนื่องมาจาก Face mash ซึ่ง Mark ได้ Hack ข้อมูลจากมหาวิทยาลัย เพื่อจะใช้ข้อมูลส่วนตัวของนักศึกษาโดยไม่ได้รับอนุญาติจากเจ้าตัว ทำให้ Mark ถูกลงโทษ ภาคทัณฑ์และ Face Mash ก็ต้องหยุดไป

  Mark  มีความหลงไหลที่จะเปิดโลกโดยให้ผู้คนสามารถติดต่อกันอย่างเปิดเผย ความหลงไหลคือสิ่งที่ช่วยให้เขาเปลี่ยนจากความล้มเหลวของ Face mash เป็นการสร้าง  Facebook  บางที Mark อาจจะไม่คิดว่าเป็นความล้มเหลวก็ได้

  Facebook  แตกต่างจาก Myspace เพราะถูกออกแบบให้เปิดเผยชื่อจริงและลักษณะตัวตน อย่างโปร่งใสและแท้จริงต่างจาก Myspace  ที่ยอมให้ใช้ชื่อได้หลายชื่อและสามารถใช้ข้อมูลที่ไม่เป็นจริงได้ และถึงแม้ว่า  Facebook จะออกแบบให้เปิดเผยข้อมูลที่เป็นจริงแต่ก็ยังสามารถจำกัดระดับของการเปิดเผยได้ด้วย

  Zuck ไม่ได้คิดถึงเรื่องเงินเป็นอันดับแรก เขาสนใจในการสร้างผลงานของเขามากกว่า เห็นได้จากคำพูดของเขา “เราไม่สร้างสรรงานบริการเพื่อเงิน แต่เราทำเงินเพื่อที่จะสร้างงานบริการที่ดีขึ้น” คล้ายกับที่ Steve Jobs ได้พูดว่า “ความเป็นคนรวยไม่ใช่ตัวฉัน การไปนอนตอนกลางคืนโดยสามารถพูดได้ว่าได้ทำในสิ่งที่สำคัญ เป็นสื่งซึ่งสำคัญในตัวฉัน”

  ในหนังสือเรื่อง Getting Rich Your Own Way ได้กล่าวถึงการสำรวจนักศึกษาที่จบการศึกษาจากโรงเรียนด้านธุรกิจ จำนวน 1,500 คนซึ่งจบการศึกษามา 20 ปี ในจำนวน 255 คนที่เลือกที่จะทำงานในสิ่งที่ตนชอบ ประสบความสำเร็จอย่างมาก 100 คน และใน 1,245 คนที่เลือกทำงานที่จะหาเงินให้ได้มากในตอนแรก ประสบผลสำเร็จเป็นเศรษฐีมีเพียงคนเดียว เป็นไปตามที่ Warrom Baffett ได้พูดว่า “Withant passion , you don’t have energy. Withont energy , you have nothing”

  Zuck ได้พูดอีกว่าความหลงใหลในจุดประกายเรา กระตุ้นเราและช่วยเราให้สู้กับความท้าทาย ไม่เพียงแต่ Zuck เท่านั้นที่ถูกขับดันด้วยความหลงใหล แต่ความหลงใหลยังเป็นสิ่งที่ผู้บริหารจำนวนมากที่ประสบความสำเร็จต้องมี

  ความหลงใหล (passion) ช่วยให้เข้าใจในสิ่งที่ต้องการจะทำในชีวิต โดยไม่ก่อให้เกิดเป้าหมายที่จะสร้างสรรผลผลิตและนวัตกรรม ดังนั้นเป้าหมาย (purpose) เป็นหัวใจในการทำธุรกิจ

  CHAPTER 2 – PURPOSE

  “ภาระหน้าที่ของ Facebook คือ ช่วยทำให้ผู้คนบนโลกติดต่อเชื่อมโยงกันอาจเป็นเพื่อนหรือครอบครัว และยังช่วยให้รับรู้ความเป็นไปบนโลก รวมทั้งแบ่งปันและเปิดเผยเรื่องราวต่างๆให้ผู้คนได้รับรู้” เป็นคำกล่าวของบริษัทฯ

  ในช่วงปี 1960 มีเรื่องราวของทหารโซเวียด 4 คน ที่โด่งดังขึ้นมาพร้อมๆกับ The Beatles แต่เป็นคนละแบบกัน ที่เกาะ kuril อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิค ทหารหนุ่มทั้ง 4 คนอยู่บนเรือที่จอดทอดสมออยู่ในคืนวันที่ 17 มกราคม 1960 เกิดพายุ Hurricane ทำให้เชือกขาดเรือหลุดลอยไปกลางมหาสมุทร พวกเขาต้องคอยวิดน้ำออกจากเรือ เนื่องจากพายุ พวกเขาสู้กับพายุถึง 50 ชม.ในขณะที่มีอาหารสำรองเพียงแค่ 2 วัน และมีมันฝรั่ง 2 ตระกร้าพวกเขาให้สัญญากันและกันว่า ในสถานะการณ์แบบนี้พวกเขาต้องสามัคคีกัน ทำทุกอย่างเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์คือการกลับบ้านอย่างปลอดภัย พวกเขาค่อยๆกินอาหารกันอย่างประหยัด กินน้ำจากน้ำฝนที่รองได้จากฝนที่ตกบางครั้งบางคราว กระทั่งหลายวันต่อมาอาหารหมด พวกเขาต้องประทังชีวิตด้วยการใช้หนังจากรองเท้าต้มกิน สุดท้ายเมื่อเวลาผ่านไป 49 วัน เรือของอเมริกาได้ผ่านมาพบจึงได้ช่วยเหลือไว้ได้ นี่แสดงให้เห็นถึงความมีน้ำหนึ่งใจเดียวกันโดยมีจุดประสงค์เดียวกัน สามารถกระตุ้นให้พวกเขาทำทุกอย่างและช่วยเหลือกันจนมีชีวิตรอด จุดประสงค์จะเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดแรงพลักดันให้ทุกคนปฏิบัติตามภาระหน้าที่ จนกระทั่งองค์กรประสบความสำเร็จ

  บริษัทฯต่างๆที่ประสบความสำเร็จจะต้องตั้งจุดประสงค์เพื่อให้คนในองค์กรรับรู้และปฏิบัติไปในแนวทางเดียวกันเช่น บริษัท Ford คือ “เปิดถนนไปสู่ทุกคน” สายการบิน South west Airlines คือ “จัดหาการเดินทางที่สะดวกสบายให้กับคนธรรมดา” จุดประสงค์ของ Star Buckts คือ “การนำคนมาอยู่รวมกัน โดยใช้ Slogan 1คน, 1ถ้วย, และหนึ่งเพื่อน” และจุดประสงค์ของ Face book คือ “to make  the world more open and connected”

  Facebook ใช้หลักการ 5 อย่าง ที่ทำให้บริษัทเจริญก้าวหน้า

1.  Focus on impact มุ่งเน้นการแก้ปัญหาสำคัญที่มีผลกระทบสูง

2.  Move fast ทำงานเร็วและเรียนรู้เร้ว

3.  Be bold กล้าเผชิญกับความเสี่ยง

4.  Be open ทำงานแบบเปิดใจ เพื่อที่จะได้รับรู้ข้อมูลจากทุกๆคนมาใช้ในการตัดสินใจ

5.  Build Social value ไม่เพียงสร้างคุณค่าให้แก่บริษัทแต่ต้องสร้างคุณค่าให้กับสังคมด้วย  

ลองมาดูตัวอย่างศัก 2-3 ธุรกิจที่ใช้จุดประสงค์นำไปสู่ความสำเร็จ เช่น

College Humor เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจด้านสื่อ Online โดยรวบรวมเรื่องราวสนุกสนานในรูปแบบ Videos, Pictures, Articles, Joke มีผู้เข้าชมมากกว่า 15 ล้านคนต่อเดือน

College Humor ก่อตั้งโดยเด็กหนุ่ม 2 คน ชื่อ Van Veen และ Abramson เริ่มต้นบริษัท โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายมากนักเพราะเด็ก 2 คนนี้ ใช้ห้องเล็กๆเปิดเป็นที่ทำการบริษัทและกินอยู่อย่างง่าย โดยมีจุดประสงค์ เพื่อที่จะสร้างเสียงหัวเราะและความสุขให้ตัวเองและผู้อื่น เขาเลือคนที่มาทำงานให้เหมาะกับลักษณะงานของบริษัท และสอนให้เข้าใจถึงจุดประสงค์ของบริษัท

Toms เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับรองเท้า Blake My Coskie เป็นผู้บริหารของบริษัท ใช้ Slogan “Tomorrows Shoes” ก่อนหน้าที่ Blake จะเข้ามาบริหารงาน เขาเคยทำงานมาหลายอย่างและเดินทางไปหลายที่ โดยเฉพาะที่อเมริกาใต้เข้าเห็นเด็กยากจนไม่มีรองเท้าใส่ จนเท้าเป็นแผล และทำให้เกิดโรค เขาได้ร่วมกับโรงงานทำรองเท้าที่อาร์เจนติน่า และจัดตั้งบริษัทที่อเมริกาผลิตและขายรองเท้าและในขณะเดียวกันก็บริจาครองเท้าใหม่ให้เด็กๆยากจน มากกว่า 40 ประเทศ Blake ได้ให้จุดประสงค์ของบริษัทไว่ว่า “ใส่รองเท้าให้กับเด็กทุกๆคนที่ต้องการ” ซึ่งสรุปได้ว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่จุดประสงค์ของธุรกิจเป็นจุดประสงค์ที่ทำให้กับคนอื่นๆ เมื่อนั้นพนักงานและลูกค้าก็จะพอใจที่จะยืนอยู่ข้างคุณ

Threadless เป็นบริษัทที่ออกแบบลายเสื้อ โดยให้สมาชิกร่วมกันออกแบบและเสนอความเห็น เมื่อสมาชิกเลือกลายเสื้อที่ดีที่สุดแล้วจึงมาพิมพ์ลงในเสื้อผ้า และขยายไปทั่วโลก ในปี 2012 มีสมาชิกถึง 2.2 ล้านคน บริษัทก่อตั้งโดย Jake Nickell and Jacob Dehart มีจุดประสงค์คือ “ให้ชุมชนนักศิลป์แบ่งปันงานออกแบบกับคนทั่วโลก”

โดยสรุปแล้วถ้ามีจุดประสงค์แล้วจะทำให้ภาระหน้าที่มีความชัดเจนและจะทำให้พนักงานช่วยกันผลักดันธุรกิจให้เจริญก้าวหน้า

CHAPTER 3 – PEOPLE

“ฉันมุ่งเน้นเสมอๆอยู่ 2 เรื่อง คือ 1.เป้าหมายที่ชัดเจนในการดำเนินการ 2.ต้องมีคนที่มีคุณภาพตรงกับความต้องการ” เป็นคำพูดของ Mark Zuckerberg

ในระยะยาวแล้วไม่มีปัจจัยไหนสำคัญไปกว่า ทุนมนุษย์ ที่มีผลต่อความสำเร็จของบริษัท คุณต้องมีทีมงานที่จะรับเอาวิสัยทัศน์, ความฝัน, และเป้าหมายของคุณไปดำเนินการในธุรกิจของคุณ

บริษัท Zappos เป็นบริษัทที่ขายรองเท้า Online : Tomy Hsieh เป็น CEO ได้ให้ความสำคัญ 3 เรื่องที่ทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จคือ ต้องมีประสบการณ์ที่ได้รับจากลูกค้า, มีวัฒนธรรมองค์กร, และมีการลงทุนในการจ้างคนและพํมนาคน

ในปี 2009 ถูกจัดอันดับโดย Fortune magazine อยู่อันดับที่ 23 ปี 2010 อันดับที่ 15 และปี 2011 อยู่อันดับที่ 6 Tomy ได้สอบถามพนักงานโดยให้พนักงานออกความเห็นเกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์กรที่ต้องการแล้วสรุปรวบรวมเป็นหนังสือซึ่งมีทั้งสิ่งที่ดีและไม่ดี และยังรวบรวมมุมมองของพนักงาน, ลูกค้า โดยมีการปรับปรุงทุกๆปี อีกทั้งยังเปิดเผยให้กับคนภายนอกที่ต้องการรู้อีกด้วย

จากข้อมูลที่ได้ถูกรวบรวมในหนังสือนั้น Tomy ได้ให้ทีมงานสรุปประเด็นสำคัญที่จะใช้เป็นคุณสมบัติในการจ้างคนให้ตรงกับวัฒนธรรมองค์กร

บริษัท XPLANE เป็นอีกตัวอย่างที่ใช้วัฒนธรรมองค์กร นำไปสู่ความสำเร็จ เป็นบริษัทออกแบบระบบข้อมูลข่าวสาร Dave Gray เป็น CEO

XPLANE’s Culture Map มี 6 ปัจจัย

-  สื่อสารอย่างโปร่งใสและต้องมีความไว้วางใจ

-  เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ

-  แบ่งปันความรู้ในทีมงานเพื่อสร้างสิ่งใหม่ๆ

-  มีทีมงานช่วยเหลือทั้งด้านการอบรมและสนับสนุนทรัพยากร

-  มอบอำนาจและเชื่อใจ

-  เป้าหมายชัดเจน

บริษัทใช้ Culture Map เป็นยุทธศาสตร์ในการดำเนินการโดยใช้คนที่มีคุณภาพช่วยพลักดันและนำวัฒนธรรมองค์กรไปใช้ให้ได้ผล บริษัทประสบความสำเร็จโดยมีผลประกอบการเจริญเติบโตขึ้น 40% จากปี 2004 ถึงปี 2010

ในหนังสือเล่มนี้ Lim Collins ได้แสดงความเห็นไว้การจะมี good-to-great leaders ขั้นแรกจะต้องได้คนที่ดีและหาตำแหน่งที่เหมาะสมให้จากนั้นจึงบอกเป้าหมายแก่เขาคนจึงเป็นทรัพย์สินที่มีค่ามากที่สุด

Facebook ดูแลพนักงานอย่างดี ให้อาหารฟรี, รวมทั้งดูแลคุณภาพชีวิตอื่นๆ ทำให้สามารถดึงดูดคนดีและเก่งเข้ามาเป็นพนักงาน เสนอเส้นทางเจริญเติบโตในหน้าที่บนพื้นฐานความตั้งใจทำงานและการช่วยเหลือบริษัท มากกว่าความอาวุโส

ฝีมือสามารถสอนได้แต่ความชอบแบบหลงไหลไม่สามารถสอนได้ Steve Jobs พูดว่า “ส่วนหนึ่งที่ทำให้ Macintosh ประสบความสำเร็จได้เพราะคนของเขามีความรู้หลายๆด้านบางคนเป็นนักดนตรี บางคนเป็นนักประพันธ์ บางคนเป็นนักประวัติศาสตร์”

Southwest’hr department รับครู, พนักงานเสริฟ,และตำรวจ เข้าทำงานเพราะต้องการความกระตือรือร้นและมุมมองด้านอื่นเข้ามาปรับใช้ในที่ทำงานมากกว่าจะเปลี่ยนแปลงนิสัยของพนักงานเดิม

ความเปิดเผยและการมอบอำนาจจะทำให้เกิดการอุทิศตัวคความซื่อสัตย์และความไว้วางใจ เมื่อเกิดความไว้วางใจจะทำให้เกิดความคิดสร้างสรรและนวัตกรรม สอดคล้องกับความเห็นของ Mark Zuekerberg “ฝีมือและความสามารถไม่เพียงพอ จะต้องมีความเชื่อวัฒนธรรมองค์กรและในผู้บริหาร จะทำให้พนักงานทุ่มเททำงานเกิน 100%

สร้างวัฒนธรรมของความไม่กลัว เพราะความกลัวจะทำลายวัฒนธรรม วัฒนธรรมที่ Zuck ได้สร้างไว้คือ ทำเร็ว, กล้าเสี่ยง และไม่กลัวที่จะเกิดผลกระทบขึ้นบ้างถ้าสิ่งนั้นจะทำให้องค์กรณ์ดีขึ้น

การเข้มงวดในการคัดกรองคนที่ไม่เหมาะสมจะต้องเข้มงวดกับการจ้างคนที่เหมาะสมเท่าๆกัน ดังเช่น Zappos ได้ทดลองงานให้กับคนที่รับเข้ามาใหม่ 3 อาทิตย์แรก ถ้าพบว่าวัมนธรรมองค์กรไม่เหมาะสมกับพนักงาน บริษัทจะจ่ายเงินให้ 4,000 $ สำหรับการจากกันด้วยดี

ความเอาจริงเอาจังในธุรกิจทำให้บริษัทประสบความสำเร็จแต่การสร้างบรรยากาศในที่ทำงานให้มีความสุขสนุกสนานจะกระตุ้นให้พนักงานทำงานได้ดีขึ้น ที่ทำงานของ Facebook จะมีห้องฟังดนตรี มีช่วงเวลา Break สำหรับเล่นเกมส์

Your People are Your Brand ลูกจ้างแต่ละคนคือหน้าตาของบริษัท เป็นตัวแทนและนักการตลาดที่ดีที่สุดของบริษัทเหมือนกับที่วิสัยทัศน์ของ Southwest Airlines “พนักงานมาเป็นอันดับแรก ถ้าปฏิบัติต่อพนักงานดี พนักงานก็จะปฏิบัติดีต่อผู้คนภายนอก และผู้คนก็จะกลับมาใช้บริการอีกทำให้ผู้ถือหุ้นมีความสุข”

ผู้เขียนได้สรุปคุณสมบัติ 10 ประการของผู้นำ โดยเปรียบเทียบกับคุณสมบัติของนก Humming bird เรียกว่า “The Hummingbird Effect of Leadership”

1.Flesibility ความยืดหยุ่นของผู้นำ เปรียบกับความสามารถของนก hummingbird ที่สามารถบินได้ทุกทิศทุกทางรวมทั้งบินถอยหลังได้ด้วย

2.Management ผู้บริหารจะต้องรู้จังหวะและสามารถเพิ่มความเร็วหรือช้าในการบริหารธุรกิจ เปรียบเหมือนกับนกชนิดนี้ที่สามารถเพิ่มความเร็วในการบินหรือลดความเร็วได้อย่างดี

3.Agility นกชนิดนี้บินเกือบตลอดเวลาไม่ค่อยได้พักเหมือนกับผู้ริหารที่มองหานวัตกรรมใหม่ๆเสมอ

4.Strategic Thinking  นกชนิดนี้วางแผนตลอดเวลาในการหาอาหารแม้จะต้องเดินทางไกล ผู้บริหารต้องวางแผนระยะยาว

5.Persistence นกชนิดนี้เดินทางไกลแทบไม่หยุดพัก ผู้บริหารต้องมีวิสัยทัศน์ยาวไกล

6.Fealesness ผู้นำที่ดีต้องไม่กลัวเหมือนกับนกชนิดนี้ที่กล้าที่จะสู้กับนกที่ใหญ่กว่เมื่อสถานการณ์บังคับ

7.Result-orientation นกชนิดนี้สามารถปรับตัวให้สงวนการพลังงานเมื่อจำเป็น ผู้นำที่ดีต้องใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสม

8.Intuition นกชนิดนี้เดินทางได้ 3,000 ไมล์ โดยอาศัยสัญชาติญาณและความสามารถในกการนำทางที่ได้จากธรรมชาติ ผู้นำที่ดีจะต้องสามารถตัดสินใจด้วยสมองของตัวเอง

9.Character ผู้นำที่ดีจะต้องมีหัวใจที่ยิ่งใหญ่คิดถึงผู้อื่นก่อนเสมอเหมือนกับนกชนิดนี้ที่มีหัวใจใหญ่ 30% เมื่อเทียบกับน้ำหนักตัว

10.Personal development ผู้นำมีการเรียนรู้ปรับปรุงพฤติกรรมส่วนตัวให้เหมาะสม เหมือนกับนกชนิดนี้สามารถปรับเปลี่ยนสีของขนให้เหมาะกับสภาพแวดล้อม

สรุป เมื่อธุรกิจยังเล็กอยู่ง่ายที่จะทำความเข้าใจกับจุดประสงค์ขององค์กร เพราะความใกล้ชิดกับผู้บริหาร เมื่อธุรกิจโตขึ้นมันจำเป็นที่ผู้บริหารจะต้องสื่อสารอย่างต่อเนื่องกับพนักงาน จุดปประสงค์และความหลงไหลใฝ่ฝันจะต้องถูกบูรณาการไปเป็นวัฒนธรรมขององค์กร

CHAPTER 4 – PRODUCT

“ฉันเชื่อตลอดเวลาว่าคนจะจำในสิ่งที่ตัวเองได้สร้างไว้และถ้าคุณสร้างบางอย่างที่ยิ่งใหญ่ คนจะไม่สนใจในสิ่งที่บางคนพูดเกี่ยวกับตัวคุณ แต่เขาจะสนใจในสิ่งที่คุณสร้าง” Mark Zuckerberg พูด

ในบทนี้จะพิจารณา 3 ปัจจัยหลัก ที่กล่าวไว้ในบทที่ผ่านมา คือ Passion, Purpose and People ทำให้เกิด Product ที่ดีได้อย่างไรจากตัวอย่างของ Facebook, 3M  และ Janaes Dyson

Zuck ได้เฝ้าดู Network อื่นๆเช่น Friendster และ My Space ตั่งแต่เริ่มเป็นที่นิยมแล้วก็เสื่อมไป Friendster เป็น Network ที่ช่วยในการหาคู่ เริ่มเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็วเนื่องจากเมื่อมีผู้ใช้งานมากขึ้น ทำให้ระบบมีปัญหาทำงานได้ช้าและยากที่จะใช้ทำให้ผู้คนค่อยๆลดความนิยม โดยทีมงานของ Friendster เข้ามาแก้ไขช้าไป Mark รู้ถึงปัญหานี้ที่เกิดจาก การโตอย่างรวดเร็วโดยทีมงานไม่สามารถรับมือได้อย่างถูกต้อง ต้องไปตื่นเต้นกับจำนวนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของผู้ใช้และหาทางรับมือให้ได้ทันเวลา ตอนที่ Facebook เริ่มเป็นที่นิยมโดยเริ่มแพร่หลายในมหาวิทยาลัย เขาคอยดึงให้ช้าลงโดยยังไม่รีบขยายไปยังโรงเรียนอื่นๆมากนัก รอจนกระทั่งทีมงานจัดระบบและกระบวนการให้รองรับกับจำนวนผู้ใช้ก่อน

ต่อมา Facebook ได้แนะนำ Group Pages ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น Brand Pages เป็นการสื่อสารของกลุ่มนักศึกษาใน Facebook ในเรื่องเฉพาะ เช่น เรื่อง Paramount Picture, Aple หรืออื่นๆ

ทีมงาน Facebook ยังสร้างนวัตกรรมใหม่ในปี 2005 มี Facebook Photos แต่เดิมเคย Upload รูปได้ ครั้งละ 1 รูปแต่ตอนนี้สามารถ Upload  ได้หลายรูปโดยการบีบอัดรูปในระหว่างกระบวนการ Upload ในปี 2012 เฉลี่ยแล้วมีการ Upload รูปมากกว่า 300 ล้านรูปต่อวัน

ต่อมาในปี 2006 Facebook ออก News Feed ซึ่งเป็นที่ทำให้ทราบข้อมูลของคนอื่น โดยที่ยังไม่ได้มีการแนะนำวิธีอนุญาติให้ผู้คนเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวทำให้เกิดกระแสต่อต้านขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ Mark เรียนรู้ว่าจะต้องมีการสื่อสารอย่างชัดเจนกับผู้ใช้งานก่อนจะนำ Product ใหม่ๆมาใช้งาน ต่อมา New Feed จึงเป็นที่ยอมรับและนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ

Slogan ที่เป็นที่นิยมใน Facebook’s Ulster คือ

-  Done is beter than perfect.

-  Move fast and break things.

-  Stay focused and keep shipping.

-  This journey is 1 percent finished.

นอกจากนี้แล้ว Facebook ยังสร้างบรรยากาศในที่ทำงานให้พร้อมสำหรับ พนักงานที่จะคิดหรือสร้างนวัตกรรม และรู้ว่าเมื่อไหร่จะหยุดหรือจะดินหน้าต่อ

การยอมรับความคิดเห็นของพนักงานหรือเปิดโอกาสให้พนักงานแสดงความคิดเห็นจะทำให้เกิดนวัตกรรมได้ อย่างเช่น ในปี 1974 Art Fry นักวิทยาศาสตร์ของ 3M คิด Product เรียกว่า Post-it Note ที่ธรรมดาแต่มีชื่อเสียงมาก

การเรียนรู้จากความล้มเหลว นำไปสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ได้ Thomas Edison, Mark Zurkerberg และ James Dyson เป็นตัวอย่างที่ดีของผู้ที่เรีนรู้จากความล้มเหลว

James Dyson เป็นผู้ประดิษฐ์ Vacuum cleaner เขาใช้เวลาลองผิดลองถูกอยู่หลายปีจนความพยายามครั้งที่ 5,127 ก็ประสบความสำเร็จ เขาเป็นชาวอังกฤษแต่ที่อังกฤษเขาไม่ได้รับการยอมรับเขาจึงไปทำขายที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งต่อมาได้รับรางวัลการออกแบบในระดับชาติ ต่อมาจึงเป็นที่นิยมไปทั่ว ทั้งอังกฤษและอเมริกา

ดังนั้น การยอมรับความล้มเหลวเป็นขั้นแรกที่จะก้าวไปสู่ความสำเร็จ การเปิดใจรับความเป็นไปได้ของสิ่งที่เป็นไปไม่ได่นำไปสู่การแก้ปัญหาที่ไม่ได้คาดหวัง อย่ากลัวที่จะถามคำถามง่ายๆเช่น Why, and Why not ? Step job ชอบใช้คำถามนี้ Zuck และ Dyson ก็เช่นกัน

  CHAPTER 5 – PARTNERSHIPS
  “ ฉันคิดว่าเหตุผลที่ Mark และฉันเข้ากันได้ดีเพราะเราใช้เวลาส่วนใหญ่พูดถึงสิ่งที่เราทั้ง 2 สนใจและฉันได้เห็นสิ่งที่ Mark ต้องการสร้างเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง”

  Sheryl Somolberg, Facebook’ Chicf Operating Officer

“Sheryl เป็นคู้คิดของฉันในการทำงานที่ Facebook และเป็นหัวใจของความสำเร็จและการเจริญเติบโตของเราในช่วงที่ผ่านมา

Mark Zuckerberg , Face book’s  Forander and CEO

ควาสำเร็จที่เกิดจากการทำงานเป็นทีม ไม่มีใครสามารถทำงานเพื่อให้ประสบความสำเร็จด้วยตัวคนเดียว จะต้องมีเพื่อนที่ช่วยทำงานซึ่งอาจมีหลายคนประกอบกันขึ้นเป็นทีมงาน ซึ่งอาจประกอบด้วยนักลงทุน, พนักงาน, บริษัทจัดหา resources, เพื่อน หรือแม่กระทั้งลูกค้า ในบทนี้จะกล่าวถึง partnership ในแบบที่เป็นเพื่อนทางความคิดที่นำไปสู่ความสำเร็จ

Zuckerberg – Sandberg เป็นตัวอย่างของ Partnership Sandberg เข้ามาช่วยงานที่ Facebook ในปี 2008 เป็น CEO ดูแลด้าน Operation เช่น การขาย, การตลาด, กฏหมาย, HR และการสื่อสาร ส่วน Zuck ดูแลด้าน Product ในฐานะ CEO Sandberg เคยทำงานกับ Google ในเรื่องของการโฆษณาขายของ Online ก่อนหน้านี้เคนทำงานในกระทรวงการคลังและ World Bank ตั้งแต่ Sandberg เข้ามาอยู่ที่ Facebook ทำให้ Facebook มีทรัพย์สินเพิ่มจาก 150$ ล้าน เป็น 4$ พันล้าน ในปี 2012 จากการจัดอันดับของ Fortune เธออยู่อันดับที่ 6 ของผู้หญิงที่มีบทบาทมากที่สุดในโลก

รูปแบบการบริหารงานใน Facebook เป็นการบูรณาการของการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการดำเนินการที่ยอดเยี่ยม โดยผ่านการ Partnership ของ Zuck  และ Sandberg เรียกรูปแบบนี้ว่า “The Visionary and The Builder” The Visionary คือ Partner ในส่วนที่สร้างและออกแบบผลิตภัณฑ์ ผ่านจุดประสงค์และวิสันทัศน์ The Builder คือ Partner ในส่วนที่ทำให้บริษัทมีมูลค่าเพิ่มขึ้น โดยการบริหารงานเพื่อสนับสนุนภาระหน้าที่ของ The Visionary

รูปแบบของ The Visionary – Builder มีตัวอย่างให้เห็นเช่น Hewlett and Packard, Sears and Roebuck, Mc Grow and Hill และอาจมี Partnership ในแบบที่มีมากกว่า 2 คน เช่น College Humor, Warner Bros, and Johnson & Johnson

Warner Bros บริหารโดย 4 พี่น้องคือ Sam, Albert, Harry และ Jack Warner เป็นบริษัทที่ผลิตภาพยนต์ ภาพยนต์เรื่องแรกคือ “The Jazz Singer” ผลิตออกมาในปี 1927 และโด่งดังมาก

 Johnson & Johnson ก่อตั้งในปี 1886 โดย 3 พี่น้องคือ Robert Wood, James Wood, Edward Mead Johnson สร้างผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับแม่และเด็ก ในปี 1932 ได้ผลิต dental floss

การร่วมมือเป็นพลังอย่างยิ่งใหญ่ ดังตัวอย่างของ Sears and Roebuck ก่อตั้งโดย Alvah Curtis Roebuck และ Warren Sears 2 คนนี้มีมุมมอง รวมทั้งประสบการณ์ที่แตกต่างกันและไม่ได้รู้จักกันมานานก่อนที่จะมารวมตัวกันตั้งบริษัทแต่เป็นเพราะความเชื่อใจทำให้เกิดความร่วมมือและประสบผลสำเร็จได้

Walt Disney เป็นสัญญลักษณ์ของผู้ที่สร้างการ์ตูนที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลก ได้ให้พี่ชาย Ray O Disney ดูแลด้านธุรกิจเมื่อ Walt Disney จากไป Roy ยังคงรักษาแนวทางเดิมของบริษัทคงไว้ซึ่งความฝันของ Walt แต่ Roy ใช้ความรู้ความสามารถด้านธุรกิจ ปัจจุบันนี้ บริษัท Walt Disney ยังคงสร้างเรื่องราวที่เข้าถึงความฝันของเด็กทั่วโลก

William Hewlett and David Packard ทั้ง 2 คนรู้จักกันตั้งแต่ยังเป็นนักศึกษาเรียนวิศกรรมวิทยุที่ Stamford University และหลังจากจบมหาวิทยาลัยเขาตั้งบริษัท Hewlett and Packard (HP) ทั้ง 2 คนชอบด้าน อิเลคโทรนิค ชอบตกปลา, ชอบเดินเขา เหมือนๆกัน ทั้ง 2 คนมีวิสัยทัศน์ในการบริหารที่น่าเชื่อถือ เขาให้อิสระต่อผู้จัดการในการตัดสินใจและกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมเกิดขึ้น

บริษัทออกแบบ Jess 3 ก่อตั้งโดย Jess Thomas และ Leslie Bradshaw การบริหารงานของบริษัทมาจาก Leslie ส่วน Jess เป็นผู้มีความคิดสร้างสรรค์ โดยการออกแบบที่เป็นเอกลักษณ์จนได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ทั้ง 2 คนไม่เหมือนกัน Jess ไม่ชอบทำตามกฎ ชอบคิดนอกกรอบ เรียนออกแบบแต่ไม่จบ ส่วน Leslie เป็นคนทำตามกฎ มีความเป็นผู้นำ เรียนเก่ง บริษัทได้รับงานออกแบบจากบริษัทดังๆเช่น Nike, Samsung, Google, American Express เป็นต้น

Partnerships มีพื้นฐานมาจากปัจจัยต่างๆดังนี้

1.  Clear expectations : Partners ต้องมีความคาดหวังที่ชัดเจนในความต้องการประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่ายต้องวางบทบาทหน้าที่ให้ชัดเจนเพื่อป้องกันการเข้าใจผิด

2.  Share values and vision : แบ่งปันในสิ่งที่มีคุณค่าซึ่งแต่ละคนมีและต้องมีวิสัยทัศน์ไปในแนวทางเดียวกัน

3.  Mutual trust : ต้องมีความไว้ใจกันและกัน ซึ่งจะนำมาซึ่งความสุขและความสำเร็จ

4.  Fair exchange value : แลกเปลี่ยนและช่วยเหลือด้านทรัพยากร, เครือข่าย, ประสบการณ์ และเวลา เป็นต้น อย่างยุติธรรมทั้ง 2 ฝ่าย

5.  Complementary Strengths : ทั้ง 2 ต้องทำงานเสริมกันและกันไม่มีใครทำทุกอย่างคนเดียว

6.  Commitment : มีคำมั่นสัญญา

7.  Mutual Respect : เคารพซึ่งกันและกัน

QUI AUDET ADIPISCITUR: WHO DARES,WINS

Qui audit adipiscitur “Who dares, wins” มีความหมายว่า ใครกล้าผู้นั้นจะชนะ เป็นคำภาษาลาตินที่ Mark ใช้เป็นคติพจน์ ประจำวัน ทุกวันนี้

  ผู้ยิ่งใหญ่หลายคนประสบความสำเร็จในธุรกิจ โดยยังไม่มีประสบการณ์มากนัก Bill Gates ยังไม่รู้อะไรเกี่ยวกับบริษัทฯ เมื่อเขาก่อตั้ง Microsoft, Jeff Bezos ยังเป็นนักลงทุน เมื่อเขาเริ่มธุรกิจในโรงรถ จัดตั้ง Amazon Larry Page และ Sergey Brin ยังเรียนอยู่เมื่อเขาทำ Google และ Mark Zuckerberg ก็เริ่มก่อตั้ง Facebook เมื่ออายุ 19 ปี

ปัจจุบัน Facebook เป็นบริษัทมหาชน Mark ต้องบริหารงานให้เกิดความสมดุลย์ ระหว่างความต้องการของผู้ใช้งานและความต้องการของผู้ลงทุน Mark เปิดเผยแผนกลยุทธต่อผู้ลงทุนและผู้คนภายนอกเพื่อต้องการความสนับสนุน

เมื่อ Amazon เข้าเป็นบริษัทมหาชนในปี 1997 ได้เผชิญกับคำวิจารณ์เกี่ยวกับความสามารถในการสร้างรายได้ Jeff Bezos ยังถูกวิจารณ์ว่าเขามีความรู้เกี่ยวกับการทำธุรกิจหรือเปล่า แต่เขาไม่สนใจเขาปล่อยเวลาให้ผ่านไปโดยเขายังคงดูแล เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทยังคงดำเนินการให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ โดยแสดงให้เห็นวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนและได้เห็นผลในระยะยาว Amazon มีอัตราการเจริญเติบโต 31% ใน 10 ปีที่ผ่านมา

Steve Jobs ได้ซื้อ Pixar จาก George Lugas ในปี 1986 และเมื่อ John lasseter หนึ่งในสี่ Animator ของ Pixar ได้นำเรื่องสั้น คือ Tin Toy มาเสนอ Jobs บอก lasseter ว่าให้ทำมันให้ยิ่งใหญ่ “Just make it great” เมื่อนำออกฉาย Tin Toy เป็น animation เรื่องแรกที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก และได้รับรางวัล Oscar ในปี 1988 ในปี 2006 Disney ได้เข้ามาเป็นเจ้าของ

Kimberly – Clark บริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับกระดาษมีปัญหาราคาหุ้นตก เมื่อเข้าตลาดหลักทรัพย์ ใช้เวลาต่อสู้เพื่อให้อยู่รอดจน 20 ปีให้หลัง กลายเป็นบริษัทชั้นนำที่ผลิต ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับกระดาษ

ตัวอย่างที่กล่าวมานี้แสดงให้เห็นว่าผู้นำของบริษัทต้องมี Passion, Purpose และนำไปสู่ Long-Term Vision แม้จะประสบปัญหาอย่างหนัก แต่การมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนและยาวนาน ก็เป็นจุดแข็งที่ทำให้บริษัทกลับมาประสบความสำเร็จได้

ความล้มเหลวและการประสบความสำเร็จเพียงเล็กน้อยจะนำไปสู่ความสำเร็จที่ใหญ่กว่า เป็นเส้นทางนำไปสู่ความฝัน และหลักการที่ได้นำมาพูดถึงในหนังสือเล่มนี้จะช่วยให้นำไปใช้ประโยชน์

“เวลาของคุณมีจำกัด อย่าเสียเวลากับเรื่องอื่นๆอย่าถูกจำกัดโดยความคิดของผู้อื่น ต้องมีความกล้าที่จะทำตามความต้องการและสัญชาติญาณของตัวเอง ให้เรื่ออื่นเป็นเรื่องรอง” Steve Jobs กล่าว

“ถ้าคุณคิดว่าคุณมีความสามารถหรือคุณคิดว่าไม่มีความสามารถคุณจะเป็นอย่างนั้น” Henry Ford กล่าว

สิ่งที่นำมาปรับใช้กับการทำงานใน กฟผ.

1.ตัวอย่างของธุรกิจหลายธุรกิจที่กว่าจะประสบความสำเร็จได้ต้องผ่านความล้มเหลว และใช้เวลาในการสร้างความมั่นคงให้กับบริษัทหรือบางตัวอย่าง ธุรกิจสามารถประสบความสำเร็จโดยตัวผู้นำไม่ต้องมีประสบการณ์แต่อาศัย Passion นำไปสู่การมี Purpose และ Vision ที่ดีทำให้บริษัทประสบความสำเร็จ ตัวอย่างเหล่านี้จุดประกายให้ผู้อ่าน มีความกระตือรือร้นที่จะมุ่งมั่นทำงานให้ กฟผ.ดียิ่งขึ้น

2.รู้ปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ เช่น 5P Passion, Purpose, People, Product และ Partnerships

3.รู้การทำงานและหลักการของ Facebook ซึ่งมุ้งเน้นกับงานที่มีผลกระทบสูง โดยทำงานอย่างรวดเร็ว, กล้าเสี่ยง, เปิดใจ และตอบแทนสังคม

4.รู้คุณสมบัติของผู้นำ โดยนำไปเปรียบเทียบกับคุณสมบัติของนก Hummingbird 10 ประการ ซึ่งนำมาใช้ในการบริหารงาน

   กลุ่ม 6  EADP รุ่น 9

นาย

แสงเงิน

สระวาสี

นาย

อติชาติ

โซวจินดา

นาย

อภิชาต

ทรงเจริญ

นาย

อรรณพ

ภมะราภา

นาย

อรรถพร

ชูโต

นาย

เอกรัฐ

สมินทรปัญญา


Creating mutual opportunities

ประธานาธิบดีจีน ได้กล่าวไว้ว่า การเจรจา 2 ฝ่าย (bilateral) ที่เข้มแข็งจะเป็นการสร้างกลยุทธ ของความสมดุลและ ความสงบได้

แนวทางการสร้างสรร ในการพัฒนาประเทศของจีน เป็นการสร้างโอกาสทดแทนการสร้างจุดอันตราย 

ประธานาธิบดี ซิ จินปิงของจีนกล่าวสุนทรพจน์ ครั้งแรกไว้เมื่อเดือนมีนาคม และเป็นกล่าวในการเยื่อน

กรุง มอสโคว  ซิได้มองสถานการณ์ระหว่างประเทศ และได้อธิบายนโยบายการต่างประเทศของจีนและการสร้างสัมพันธ์กับประเทศรัสเซีย

การกล่าวสุนทรพจน์ หลังจาก ซิ ได้พบกับคู่เจรจาของเขาคือ Vladimir Putin และ ผู้เข้าร่วมพิธีลงนาม การลงทุน floating platform ทางด้านพลังงานและสัญญาอื่นๆ ในการเยื่อนต่างประเทศครั้งแรกของเขาเมื่อได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี

การแสดงตัวต่อกลุ่มฝูงชนของนักเรียนในกรุงมอสโคว  ซิ ได้กล่าวไว้น่าสนใจในเรื่องการสือสารระหว่างประเทศจากความแตกต่างของส่วนต่างๆของโลกกลับเพิ่มความใกล้ชิดและประสานกันอย่างเป็นการพัฒนาแนวโน้มหลักในยุคใหม่

การเผชิญหน้าในสงครามเย็นจะไม่ยั่งยืนอีกต่อไป  ขณะนี้การก้าวสู่ขั้นของการเปลี่ยนแปลง จากอดีตยุคเก่าที่เป็นแบบสงครามเย็นและยุค Zero-sum game จะถูกกำจัดออกจากระบบ

มันอาจจะเป็นไปไม่ได้สำหรับประเทศที่เป็นประเทศเดี่ยวๆ หรือกลุ่มประเทศที่จะครอบงำระหว่างประเทศ เหมือนเป็นประเทศที่กำลังโผล่ขึ้นมา (emerging economics and developing country) ซึ่งจะเข้าสู่การพัฒนาประทศและการเจริญเติบโตในหลายรูปแบบและเป็นศุนย์กลางของโลก

ซิยังเตือน โดยต่อต้านการแทรกแซงนโยบายระหว่างประเทศ ของประเทศต่างๆ เขากล่าวว่า เราควรเคารพสิทธิของแต่ละประเทศ โดยให้มีความอิสระในการเลือกแนวทางการพัฒนาประเทศ เราไม่สนับสนุการเข้าแทรกแซงอธิปไตยของประเทศอื่น

จีน ควรที่จะแสดงความเป็นอธิปไตยของประเทศอย่างเข้มแข็ง  โดยภาครัฐและประชาชน ในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นเพียงแค่การแก้ปัญหาโดยผ่านการเจรจาระหว่างภาครัฐบาลและประชาชน

สิ่งเหล่านี้เป็นหลักเกณฑ์ของประชาธิปไตยเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์ของจีนและรัสเซียนั้นควรเป็นสัญญาร่วมกันก่อนที่จะเริ่มทางการฑูต และพัฒนาโอกาสของทั้งสองประเทศ

ความสัมพันธ์ที่เข้มแข็ง ไม่เพียงแต่ 2 ประเทศเท่านั้น  ซิ ได้ตัดสินใจที่จะเจรจากับ นักศึกษาในวิทยาลัยในรัสเซีย โดยทั้งสองประเทศจะยกระดับความเข้าใจของทั้งสองประเทศ และเป็นการเจรจา 2 ฝ่ายในการพัฒนาเยาวชนของทั้งสองซึ่งจะผูกพันธ์ถึงระยะเวลาที่ทั้งสองประเทศเกิดภาวะวิกฤตของการฟื้นฟูประเทศ

ทั้งสองประเทศมีความชัดเจนมากในการเริ่มสร้างความฝันและการพัฒนาที่จะมาสนับสนุนข้อตกลงของแต่ละประเทศ ซึ่งจะรักษากลยุทธและความร่วมมือทางเศรษฐกิจอย่างเข้มแข็ง

ซิ ได้รับเชิญที่กระทรวงกระลาโหม สำนักงานใหญ่ ของรัสเซีย ซึ่งเป็นผู้บริหารระดับสูงสุดของจีนคนแรก ผู้เชี่ยวชาญได้วิเคราะห์ไว้ว่า การเยือนครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความไว้วางใจอย่างลึกซึ้ง ของทั้งจีนและรัสเซีย ได้มีการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือทางการทหารในอนาคต

ในกรุงมอสโคว ซิ ยังได้เข้าพบกับนายกรัฐมนตรีของรัสเซีย Dmityr Medvedev

ต่อมาประธานาธิบดีของรัสเซีย ได้บินไปเยือนแอฟริกาใต้และสาธารณรัฐ คองโก ในแอฟริกาใต้เขาได้เข้าร่วมประชุมสุดยอด BRICS ครั้งที่ 5

5Grouping on track to be ‘ grobal force ‘

การประชุมร่วมกันของ 5 ผู้นำประเทศ BRICS ครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2556 ที่เมืองเดอบาน  อาฟริกาใต้  เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาเศรษฐกิจและการเมือง  รวมทั้งให้ความร่วมมือกันในการแก้ปัญหาทางการเงินและการทำ

ธุรกิจ  ทั้ง 5 ประเทศประกอบด้วย บราซิล , รัสเซีย , อินเดีย , จีน และ อาฟริกาใต้ ซึ่ง นายสี  จิ้นผิง

ประธานาธิบดีของจีนได้แสดงความเชื่อมั่นถึงความสำเร็จของความร่วมมือกันในทางเศรษฐกิจถึงแม้

ว่าขณะนี้เศรษฐกิจโลกจะถดถอย

BRICS ก่อตั้งมา 5 ปีและยังอยู่ในช่วงของการพัฒนาและควรส่งเสริมให้มากขึ้น

การปรับปรุงมาตรฐานความเป็นอยู่ขอประชาชน 3,000 ล้านคน สร้างโอกาสในการ

ทำธุรกิจมหาศาล

จากการสำรวจศักยภาพของความร่วมมือกันของ BRICS พบว่าปริมาณการค้าของ 5 ประเทศ

นี้น้อยกว่า 1 % ของปริมาณการค้าโลก 

เขาสนับสนุนนักลงทุนชาวจีนเข้ามาร่วมทำธุรกิจในกลุ่ม BRICS ร่วมทั้งนักลงทุนประเทศอื่นในกลุ่ม BRICS ด้วย  นอกจากนั้นเขายังสนับสนุน BRICS และประเทศต่างๆในทวีปอาฟริการ่วมมือกันเพื่อส่งเสริมให้อาฟริกาเป็นเขตเศรษฐกิจใหม่ของโลก

ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ขอให้มีการประชุมในกลุ่มของ BRICS และขอให้สนับสนุนคณะกรรมการ

BRICS Business ที่ถูกตั้งขึ้นมา  คณะกรรมการจะปฏิบัติงานภายใต้ผู้แทนของแต่ละประเทศ

ทั้ง 5 ประเทศ  ซึ่งจะทำให้การปฎิบัติงานต่างๆมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นซึ่ง

การทำงานจะคล้ายกับองค์การการค้าโลก เพียงแต่Scaleเล็กกว่าเท่านั้นเพื่อแก้ปัญหาทางการค้าต่างๆและพยายามให้เกิด Free Trade Zone นอกจากนั้นยังมีการลงนามร่วมกันก่อตั้งสภา BRICS Think Tank จนพัมนามาเป็นธนาคารเพื่อการพัฒนา BRICS ( BRICS new

Development  bank ) วงเงิน 4.5 ล้านล้านเหรียญดอลล่าห์  เพื่อใช้ในการพัฒนาสาธารณูปโภคต่างๆ

Xi highlights bonds of shared destiny

การแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ จะเป็นการขยายเพิ่มเติมของคำมั่นสัญญาของ ประธานาธิบดี และเพิ่มความเข้มแข็ง ของกลุ่มประเทศในภูมิภาค

จีน จะใช้ความพยายามในการขยายความสัมพันธ์กับแอฟริกา เหมือนเป็นการเชื่อมความสำคัญของกลุ่มประเทศดังกล่าว ท่ามกลาง การร่วมชะตากัน เป็นคำกล่าวของประธานาธิบดี ซิ ของจีนเมื่อวันที่ 25 มีนาคม ในการกล่าวสุนทรพจน์ ครั้งแรกของเขาในนโยบายความร่วมมือของทั้งสองประเทศ

ปักกิ่ง ก็มีความหวังเช่นเดียวกันที่จะเห็นความสัมพันธ์ทั้งสองประเทศ รวมทั้งประเทศอื่นๆและแอฟริกาดีขึ้น

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ความสัมพันธ์ของจีนและแอฟริกามีความซับซ้อนมากขึ้นเมื่อเทียบกับในอดีตที่ผ่านมา และผู้นำประเทศจะต้องแสดงเชาว์ปัญญาในการจัดการรูปแบบความสัมพัพันธ์ดังกล่าว

ซิ ให้ข้อสังเกตระหว่างการกล่าวสุนทรพจน์ที่ ทานซาเนีย (Tanzania) ซึ่งเป็นประเทศที่ 2 ของการเยือนต่างประเทศหลังจากได้รับเลือกตั้งเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา ประธานาธิบดี ซิ ได้ไปเยือนแอฟริกาเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง และกล่าวที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติ Julius Nyerere ซึ่งเป็นศูนย์ประชุมที่จีนสร้างให้ใน Tanzania และ ฉลองการส่งมอบในวันที่ 25 มีนาคม ว่า “ขอให้มั่นใจว่า จีนจะมุ่งมั่นขยายความสัมพันธ์กับแอฟริกาอย่างเข้มข้น”

ความเป็นหนึ่งเดียวและความร่วมมือของประเทศในแอฟริกาเป็นรากฐานที่สำคัญของนโยบายการต่างประเทศของจีนมาโดยตลอด ซึ่งสิ่งนี้จะไม่มีวันเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจีนจะเติบโตแข็งแกร่งขึ้นและก้าวสู่ความเป็น International มากขึ้นก็ตาม จีนแลแอฟริกาจะยังคงสนับสนุนซึ่งกันและกันในสิ่งที่เรามีความสนใจและความตระหนักอย่างเดียวกัน ซึ่งในข่วงเวลาที่ผ่านมมาในประวัติศาสตร์ได้แสดงให้เห็นว่าจีนและแอฟริกา เป็นชุมชนที่ได้แบ่งปันจุดหมายปลายทางร่วมกันมาโดยตลอด และจีนจะยังคงให้ความช่วยเหลือแอฟริกาโดยปราศจากเงื่อนไขทางการเมืองต่อไป

การค้าระหว่างจีนกับแอฟริกามีมูลค่าถึง 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐเมื่อปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ จีน ยังจะให้เครดิตแก่ประเทศแอฟริกา2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ตั้งแต่ปี 2013-2015 และปักกิ่งจะขยายความร่วมมือในการลงทุน, ภาคการเงิน, และการพัฒนาสาธารณูปโภคการคมนาคมระหว่างประเทศและระหว่างูมิภาคในแอฟริกาอีกด้วย

จีนจะฝึกอบรมในระดับอาชีพให้แก่ชาวแอฟริกันจำนวน 30,000 คน และจะมอบทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนจากแอฟริกาจำนวน 18,000 คน และเพิ่มการถ่ายทอดเทคโนโลยีรวมถึงการแบ่งปันประสบการณ์

ประธานาธิบดี ซิ ยืนยันความเสมอภาคเท่าเทียมกันระหว่าง 2 ประเทศ โดยไม่แบ่งแยกด้วยขนาดของประเทศ ความแข็งแกร่งของประเทศ หรือความมั่งคั่งของประเทศ นอกจากนี้ยังกล่าวว่า ปักกิ่งคาดหวังความเป็นหนึ่งเดียวของประเทศแอฟริกาและความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นกับประเทศอื่นๆ

แอฟริกาเป็นของชาวแอฟริกันทุกคนดังนั้นในการพัฒนาความสัมพันธ์กับแอฟริกาประเทศต่างๆจะต้องให้เกียรติและเคารพความเป็นอิสรภาพของแอฟริกา ซึ่งจีนจะต้องให้ความจริงใจในการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนี้ โดยจีนจะต้องธำรงความสัมพันธ์แบบให้เกียรติกันและกัน และก่อให้เกิดความร่วมมือแบบ วิน-วิน (win-win) ซึ่งผมเชื่อว่ามีโอกาสและมากกว่าความท้าทายและมีหนทางแก้ไขปัญามากกว่าความยากลำบาก แถมท้ายด้วยการพูดอย่างมีอารมณ์ขันเกี่ยวกับหนังชุดของจีนที่ฉายและโด่งดังใน Tanzania ในปีที่แล้ว ซึ่งอาจทำให้ผู้ชมชาวแอฟริกันได้มองเห็นความสลับซับซ้อนของชีวิตชาวจีนได้บ้าง

ประธานาธิบดีของ Tanzania นาย Jakaya กล่าวว่า “ความสัมพันธ์ระหว่าง  Sino-Tanzania มีมาอย่างมั่นคงยาวนาน และเป็นบทพิสูจน์ทางกาลเวลาว่าเราต่างเป็นเพื่อนที่จะเติบโตไปด้วยกัน” นอกจากนี้ยังกล่าวด้วยว่า “นโยบายของ Tanzania ต่อจีนนั้นถูกชี้นำด้วยการตัดสินของ Tanzania เองซึ่งมาจากความสนใจขั้นพื้นฐาน และที่ผ่านมาจีนได้เป็นผู้สนับสนุนที่พึ่งพาได้ และการรวมตัวของประเทศต่างๆในแอฟริกา และประเทศโลกที่ 3 จะถูกดึงดูดด้วยความเที่ยงตรงในโลกเศรษฐกิจเท่านั้น”

นอกจากนี้ James F Mbatia ประธานกรรมการวิศวกรก่อสร้างศูนย์ประชุมยังกล่าวอีกว่า “ชาวแอฟริกันมีศักยภาพที่จะตัดสินว่าใครเป็นผู้ช่วยเหลือพวกเรา”


วีระพงษ์ ประสาทศิลปิน

วีระพงษ์ ประสาทศิลปิน   วันที่ 13 พฤษภาคม 2556

สรุปบทความ

Creating mutual opportunities

   หลังจากที่ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีนได้ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้นำจีนอย่างเป็นทางการ เขาได้เดินทางไปเยือนรัสเซียเมื่อ วันที่ 23 มีนาคม 2556 ซึ่งถือเป็นภารกิจแรกในการเดินทางสู่ต่างประเทศ  ประธานาธิบดี สี ได้ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ต่อหน้านักศึกษาชาวรัสเซียในกรุงมอสโก ซึ่งมีใจความสำคัญว่า ความสัมพันธ์ที่มั่นคงและเข้มแข็งระหว่างจีนและรัสเซีย จะเป็นสิ่งที่ช่วยให้นำพาให้จีนและรัสเซียมีอำนาจในการต่อรองในด้านการค้ากับประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้ดีขึ้น การเยือนครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าผู้นำชุดใหม่ของจีนให้ความสำคัญอย่างสูงต่อความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับรัสเซียซึ่งย่อมจะเพิ่มพูนพลังใหม่ต่อการพัฒนาความสัมพันธ์แบบหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์อย่างทั่วด้านให้ลึกซึ้งต่อไป

Xi highlights bonds of ‘shared destiny’

  ที่ศูนย์การประชุมระหว่างประเทศแทนซาเนีย นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีนกล่าวคำปราศรัย ในหัวข้อ "ความเป็นเพื่อนแท้ที่สนับสนุนกันตลอดไป" โดยนายสี จิ้นผิง ได้สรุปประสบการณ์การพัฒนามิตรภาพระหว่างจีนกับแอฟริกา และเน้นว่า ภายใต้สถานการณ์ใหม่ จีนจะส่งเสริมความสัมพันธ์กับแอฟริกาต่อไป ในการสร้างและพัฒนาความเป็นพันธมิตรที่สมบูรณ์แบบเพื่อสร้างผลประโยชน์ร่วมกันรวมถึงเสริมสร้างความมีมิตรภาพระหว่างประชาชน การพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างสองฝ่ายระหว่างจีนกับแอฟริกามีลักษณะ เอื้อประโยชน์แก่กัน และพัฒนาไปด้วยกัน

Grouping on track to be ‘global force’

  การประชุมผู้นำกลุ่มประเทศ  BRICS ครั้งที่ 5 ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองเดอร์บันของแอฟริกาใต้ บรรดาผู้นำของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเฟื่องฟูใหม่รายใหญ่ที่สุดของโลก หรือ “BRICS” ซึ่งประกอบด้วยบราซิล รัสเซีย อินเดีย สาธารณรัฐประชาชนจีน และแอฟริกาใต้ หนึ่งในหัวข้อสำคัญของการหารือที่ถูกจับตาจากทั่วโลกมากที่สุด คือ แผนจัดตั้งสถาบันการเงินระหว่างประเทศแห่งใหม่ ซึ่งถูกมองเป็นการ “ท้าทายอำนาจ” ของธนาคารโลก และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ)

สรุปความรู้ที่ได้จากการเรียน วันที่26มีนาคม 2556

หัวข้อ นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน(Social innovation)กับการทำงานของ กฟผ.

·  Panel Discussion โดย ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์  ดร.เสรี  พงศ์พิศ  คุณสุทธิเดช  สุทธิสมณ์  และคุณศานิต  นิยมาคม

ทำให้เข้าใจองค์ประกอบของความเป็นนวัตกรรม ที่ต้องเป็นสิ่งใหม่ ที่มีความคิดสร้างสรรค์ และประกอบไปด้วยองค์ความรู้  โดยเฉพาะเมื่อเป็นนวัตกรรมทางสังคม ที่ค่อนข้างจะเป็นนามธรรม กฟผ. ควรต้องวางบทบาท และ ดูแลสังคมและชุมชน อย่างมีท่าที และ ลีลาที่เข้าใจความต้องการของชุมชน ที่ต้องการองค์ความรู้ และความช่วยเหลือที่ทำให้เค้าพึ่งพาตนเองได้ เหมือนคนในครอบครัว ซึ่ง ควรต้องเปลี่ยนแนวคิดแบบ CSR (Responsibility) เป็น CRV (Value)

หัวข้อ เทคนิคการสื่อสารกับสื่อสารมวลชน

·  Learning Forum โดย ดร. พจน์ ใจชาญสุขกิจ

ทำให้ ทราบแนวคิดจากผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสาร ที่ กฟผ. จะต้องรู้ว่าหน่วยงานใดบ้าง เกี่ยวข้องกับ กฟผ. และ จะต้องบริหารความสัมพันธ์อย่างไร โดยต้องจัดลำดับความสำคัญ ที่จะปฏิบัติ  อีกทั้งยังต้อง เข้าใจบทบาทหน้าที่ของสื่อแต่ละประเภท การให้ข้อมูลข่าวสารที่ประสบความสำเร็จ เพื่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีต่อ กฟผ. อันเป็นต้นทุนที่สำคัญ ต่อชื่อเสียงขององค์กร

หัวข้อ Manage self performance

·  Learning Forum โดย อจ.อิทธิภัทร  ภัทรเมฆานนท์

ทำให้ได้แนวคิดแห่งความสำเร็จ (Success Principle) ที่ทำให้เข้าใจได้ว่า ผลลัพธ์ (Outcome) ย่อมเกิดขึ้น มาจาก เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น (Event) และ การตอบสนองต่อเหตุการณ์ (Response) อันเป็นกระบวนการคิดที่สำคัญ เพื่อให้ประสบความสำเร็จ ของผลลัพธ์ อีกทั้งยังควรที่จะต้องเข้าใจหลักการ Cause and Effect และต้องเข้าใจให้ชัดเจนว่าทำไมถึงต้องอยู่ตรงนี้ (Have , Be ,Do)  อันเป็นแนวคิดที่สำคัญ ที่จะทำให้ทุกคนได้ใช้ชีวิต (manage) ตนเองสู่ความสำเร็จ

สรุปความรู้ที่ได้จากการเรียน วันที่ 27 มีนาคม 2556

หัวข้อ ธรรมาภิบาลของ กฟผ.

·   Panel Discussion โดย อจ.ธรรมรักษ์ การพิศิษฏ์ , คุณไกรสีห์  กรรณสูต และคุณสมบัติ  ศานติจารี

ทำให้เข้าใจถึงหลักการธรรมาภิบาล หรือการบริหารกิจการที่ดี ที่จะต้องเปลี่ยนแปลงไปตามการเปลี่ยนแปลงของโลก  ที่เกิดจากการเรียนรู้และประสบการณ์ ของผู้นำแต่ละคนที่ต้องตระหนักในตนเอง ให้เกิดธรรมาภิบาลด้วยใจ ที่ต้องตระหนักถึง การมีส่วนร่วม  สำนึกถึงความรับผิดชอบ  มีความโปร่งใส  และ มีประสิทธภาพและประสิทธิผล ในการดำเนินงาน  โดยจากประสบการณ์ของ อดีตผวก.  กฟผ. ควรต้องปรับตัว โดยต้องยึดหลักนิติธรรม และ หลักการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนอย่างสมดุล

หัวข้อ เศรษฐศาสตร์พลังงาน

·  Learning Forum จากบทสัมภาษณ์ อจ.มนุญ  ศิริวรรณ

ทำให้เข้าใจถึงหลักเศรษฐศาสตร์  ที่เป็นการทำงานของ ตลาด ในเชิง Demand / Supply ที่เป็นตัวกำหนดราคา ซึ่งควรต้องนำมาปรับใช้กบด้านพลังงาน ด้วยนโยบายของ กระทรวงพลังงาน ซึ่ง กฟผ. ต้องเข้าใจ และเตรียมการเพื่อรองรับอย่างเป็นรูปธรรม

หัวข้อผู้นำกับการสร้างทุนทางจริยธรรมในองค์กร

·  Learning Forum โดย คุณดนัย  จันทร์เจ้าฉาย

ทำให้เข้าใจถึงหลักการของต้นทุนทางจริยธรรม ที่จะนำไปสู่การบริหารงานที่เป็นองค์กรสีขาว ที่จะสร้างผลลัพธ์ที่ดีและมีประสิทธิภาพต่อองค์กร นำไปสู่ความศรัทธาที่สูงขึ้น ซึ่งจะทำให้เข้าใจจุดยืนของตนเอง เป้าหมายในระยะยาว และ  ยุทธศาสตร์ที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายนั้น

สรุปความรู้ที่ได้จากการเรียน วันที่28มีนาคม 2556

หัวข้อประสบการณ์การเรียนรู้ในรุ่น 2 ของข้าพเจ้า กับการปรับใช้เพื่อการบริหาร กฟผ.  ในยุคที่โลกเปลี่ยน

·  การบรรยายพิเศษ โดย คุณสุทัศน์  ปัทมสิริวัฒน์

จากประสบการณ์ของท่าน ผวก. ทำให้เห็นว่าปัญหาที่สำคัญของ กฟผ. ในปัจจุบันนอกจากจะเป็นเรื่องการยอมรับของชุมชนในการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่แล้ว ก็เป็นเรื่องการบริหารงานบุคคล ทั้ง อัตรากำลัง ที่ต้องทดแทนผู้ที่จะเกษียณอันใกล้ และ การพัฒนาผู้นำรุ่นใหม่ ที่ต้องมีความคิดกว้างขวาง และมองการณ์ไกล อีกทั้งต้องมี networking อันเป็นต้นทุนทางสังคม ซึ่ง ทุกคนต้องปรับเปลี่ยนตัวเอง ให้พร้อมรับสถานการณ์

หัวข้อ เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทย ผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.

·  Panel Discussion โดย ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์,  อจ.มนูญ  ศิริวรรณ, ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล และ อจ.ทำนอง  ดาศรี

ทำให้ได้ เรียนรู้ถึง สภาวะเศรษฐกิจโลก และ การเปลี่ยนแปลงสภาวะต่างๆของโลก ที่นำไปสู่ความเสี่ยงต่างๆมากมาย ที่ทุกองค์กร ต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง  อีกทั้ง คงต้องรู้จักเปลี่ยนวิกฤติต่างๆให้เป็น โอกาส ไม่ว่าจะเป็นการเปิดเสรีทางการค้า  หรือ AEC ที่จะมาถึง

หัวข้อ TQM/SEPA :ความเป็นเลิศและการพัฒนาอย่างยั่งยืน

·   Panel Discussion โดย คุณพิบูลย์  บัวแช่ม, อจ.สัญญา  เศรษฐพิทยากุล และ อจ.นริศ  ธรรมเกื้อกูล

ทำให้เห็นว่าด้วยวิสัยทัศน์ ของ ผวก. ที่ต้องการให้ กฟผ. เป็นองค์กรชั้นนำนั้น  ทุกคนในองค์กรคงต้องช่วยกัน พัฒนาตน พัฒนางาน ให้เกิดประสิทธิผล และ ประสิทธิภาพ ให้เกิดความเป็นเลิศ และยั่งยืน โดย กฟผ. จะนำแนวทางการพัฒนาแบบ TQM มาปรับใช้ ในรูปแบบของ กฟผ.เอง ที่เรียกว่า EGAT Way ที่มีทั้งการพัฒนาคน และ การพัฒนาระบบงาน เพื่อให้เกิดคุณค่า (Values) ที่ส่งมอบตรงตามความต้องการ และ ความคาดหวังของลูกค้า และผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ โดยจะมี SEPA เป็นเครื่องมือวัด

สรุปความรู้ที่ได้จากการเรียน วันที่29มีนาคม 2556

หัวข้อ  แนวคิดเรื่องBlue Ocean กับการทำงานของ กฟผ.และการปรับใช้เพื่อสร้างโครงการแบบนวัตกรรมของ กฟผ.

·  Learning Forum โดย ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

ทำให้ได้เรียนรู้ หลักการ Red Ocean ที่นำมาใช้กับ ตลาดเก่า ที่มีการแข่งขันด้วยสินค้าและบริการเดิม  เปรียบเทียบกับ Blue Ocean ในตลาดใหม่ ที่มุ่งเน้นการสร้างนวัตกรรม และ การสร้างลูกค้าใหม่ เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกไร้พรมแดน ซึ่งเป็นแนวคิดที่ กฟผ. ควรรับมาปรับใช้ในการพัฒนาบนศักยภาพ และความสามารถพิเศษ ที่มี ที่ทำได้ (Core competency) แต่ยังไม่ได้ทำ

หัวข้อHigh Performance Organization ที่กฟผ.

·   Panel Discussion โดย ดร.สมโภชน์  นพคุณ และ คุณสมชาย  ไตรรัตนภิรมย์

ทำให้ได้เรียนรู้ถึงปัจจัย ที่สนับสนุนให้เป็น องค์กรประสิทธิภาพสูง (HPO) คือ คน ที่อยู่ในองค์กรที่มีความหลากหลายนั่นเอง ที่ต้องเป็น ทั้งคนเก่ง และ คนดี ที่ประกอบไปด้วย IQ ( Mind) / EQ (Heart) และ PQ ( Body) ที่นำไปสู่ SQ ( Spirit ) ก่อให้เกิดเป็นDynamic organization


บทสรุปจากบทความข่าว

Creating mutual opportunities

    ประธานาธิบดี Xi Jinping ได้เดินทางไปประเทศรัสเซียหลังรับตำแหน่ง เพื่อกระชับความสัมพันธ์และมีการตกลงทำธุรกิจทางด้านพลังงานกับรัสเซีย ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงการถ่วงดุลอำนาจกับสหรัฐอเมริกา

Xi highlights bonds of shared destiny

    ประธานาธิบดี Xi Jinping ได้เดินทางไปประเทศ Tanzania เพื่อกระชับความสัมพันธ์และการทำธุรกิจกับประเทศในแอฟริกา ซึ่งจีนคาดว่าจะมีการช่วยเหลือและกระชับความสัมพันธ์กับหลายๆ ประเทศในอัฟริกาด้วยความจริงใจ เป็นธรรม และพัฒนาในด้านการศึกษา เทคโนโลยีไปด้วยกัน

Grouping on Track To be ‘global force’

    ในการประชุมกลุ่มประเทศผู้นำ  ‘BRICS’  (บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน แอฟริกาใต้) เป็นการประชุมของกลุ่มครั้งที่ 5 โดยมีประเทศแอฟริกาใต้เป็นเจ้าภาพ  โดยประเด็นสำคัญจะมีการตั้ง BRICS Business Council ซึ่งจะทำหน้าที่แก้ปัญหาข้อขัดแย้งทางการค้าและธุรกิจ ของสมาชิก 5 ประเทศ  รวมทั้งจะมีการจัดตั้ง BRICS new development bank เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนของการพัฒนาที่จะเกิดขึ้นในกลุ่มประเทศ BRICS ด้วย

   สรุปจะเห็นว่า จีนได้เปิดตัวออกให้โลกเห็นว่า จีนพร้อมที่จะเป็นมหาอำนาจในด้านเศรษฐกิจ สังคม โดยพร้อมจะร่วมมือกับประเทศต่างๆ


บทเรียนที่ได้รับจากการอบรม 28  มีนาคม  255608.00 – 08.30 น. การบรรยายพิเศษ หัวข้อ   ประสบการณ์การเรียนรู้ในรุ่น 2 ของข้าพเจ้า กับการปรับใช้เพื่อการบริหาร กฟผ. ในยุคที่โลกเปลี่ยน

โดย  คุณสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์  ผู้ว่าการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

- ผวก. สุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ได้เล่าประสบการณ์จากการอบรม EADP#2 การไปดูงานที่รัฐวิกตอเรีย ประเทศออสเตรเลีย ไปฟังผู้ประกอบการ ชุมชน รัฐบาลท้องถิ่น สหภาพ ผู้ลงทุน ผู้ดูแลชุมชน ทำให้เห็นหลายมุมมอง

ปัญหาคือ การที่จะขึ้นเป็นผู้บริหารระดับสูง ต้องใช้ความรอบรู้มาก และต้องปรับกระบวนทัศน์ และเรียนรู้สิ่งต่างๆให้กว้างขึ้น เวลาทำงานต้องคำนึงถึงวิสัยทัศน์ ต้องทำให้ชัด

 และเมื่อเติบโตเป็นผู้ว่าการได้มีโอกาสนำองค์ความรู้โดยเฉพาะด้าน HRM และ HRD มาใช้ในการบริหารบุคลากร กฟผ.  การเป็นผู้บริหาร กฟผ. ทุกคนทุกระดับ ต้องเตรียมความพร้อมเสมอ

หลักการเป็นผู้นำรุ่นใหม่ 5 ข้อ ได้แก่
   1. ต้องปฏิสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

   2. ต้องมีความรู้ด้านการบริหารธุรกิจ หาพันธมิตร

  3. ต้องผลักดันให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน ปรับปรุง Process

  4. ต้องสร้างทีม และมี Accountability

  5. ต้องมีความรู้ความสามารถในการสร้างวัฒนธรรมองค์กร

หลักสูตรนี้ สอนให้รู้ให้กว้าง จับประเด็นให้ได้ และต้องประเมินตัวเราตลอดเวลา และต้องเตรียมความพร้อมอยู่เสมอ

-  จากที่ได้เรียนรู้ผมเห็นว่าหลักการเป็นผู้นำรุ่นใหม่ 5 ข้อ ของ ผวก. เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้บริหารทุกคนต้องทำให้สำเร็จและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะข้อ 3 เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ กฟผ. ยืนหยัดอยู่ได้อย่างยั่งยืน

09.00 – 12.00  Panel Discussion หัวข้อ เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทย..ผลกระทบและการปรับตัวของ  กฟผ.

โดย  รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์  คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 

ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล

อาจารย์มนูญ  ศิริวรรณ  ที่ปรึกษาอาวุโส บริษัท จัดการธุรกิจ จำกัด 

 ช่วงนี้เป็นการสัมมนา ดำเนินรายการ โดย อาจารย์ทำนอง ดาศรี จากที่รับฟัง

- รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย  เศรษฐกิจทั่วโลกฟื้นตัวทำให้อาเซียนซึ่งพึ่งพาประเทศพวกนี้ จะทำให้อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น ประเทศไทยจะเติบโต และเมื่อกู้เงินอีก 2 ล้านล้านบาทมาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน แต่ต้องระวัง 2 เรื่องคือภัยพิบัติธรรมชาติ และเรื่องวิกฤตของจีน

- ด้านอาจารย์มนูญ ได้ให้ข้อมูลพลังงาน ที่มีการบริโภคเปลี่ยนแปลง จาก OECD ที่เคยบริโภคมากก็จะลดลง ไปเพิ่มที่ประเทศจีน อินเดีย ตะวันออกกลาง และประเทศอื่นที่เหลือ มีการใช้พลังงานหมุนเวียนมากขึ้น สำหรับผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ. ให้มีการปรับองค์กรรองรับการแข่งขันในระดับภูมิภาค พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับการเป็นศูนย์กลางโครงข่ายด้านพลังงานในอาเซียน

- ดร. กอบศักดิ์ เศรษฐกิจไทย 3 ปีข้างหน้ายังคงมีวิกฤตอยู่ การเปิดอาเซียนและรัฐบาลลงทุนจะทำให้ เกิดการลงทุนเพิ่มจากเอกชน มีการใช้พลังงานมากขึ้น ความต้องการใช้ไฟมากขึ้น ให้ กฟผ.เตรียมการรับการเปลี่ยนแปลงและอาศัย  ASEAN ในการออกไปดำเนินการภายนอกภูมิภาค

- รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ ได้มาเล่าถึงภาวะเศรษฐกิจโลกทั้งอเมริกา ยุโรป และเอเชีย จะส่งผลกระทบกับให้อาเซียนและประเทศไทยในที่สุด

- อาจารย์มนูญ ได้เล่าถึงภาวะพลังงานของโลก ที่เปลี่ยนแปลงไปจนคิดว่าทิศทางพลังงานของโลกจะเปลี่ยนไป คือ Green Energy และได้ให้ความเห็นว่า กฟผ. ควรจะเป็นศูนย์กลางของการเชื่อมโยงเครือข่ายพลังงานไฟฟ้ากับประเทศเพื่อนบ้านอย่างไร ซึ่งทำให้บทบาทของ กฟผ. จะเปลี่ยนไป

- ดร.กอบศักดิ์ ได้มาเล่าถึงแนวโน้มเศรษฐกิจไทยมองไป 3 ปีข้างหน้า ซึ่งมีโอกาสที่กำลังเกิดขึ้นจาก AEC ความเสี่ยงและกังวลกับเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท เนื่องจากการขาดวินัย และการประเมินผลความคุ้มค่าการลงทุนที่แท้จริง เมื่ออเมริกาดูดสภาพคล่องกลับคืน จะเกิดอะไรขึ้น? 
ยุโรปมีปัญหาที่ไซปรัส ยังมีวิกฤตอยู่ ทำลายความเชื่อมั่น ต่อไปจะมีปัญหากับประเทศใดอีก?

- จากที่ได้เรียนรู้ผมเห็นว่า ในสถานการณ์ที่เศรษฐกิจโลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ประเทศไทยจะมีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท ย่อมได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม การเปลี่ยนแปลงในระยะสั้นนี้คนส่วนใหญ่ยังเห็นตรงกันว่า เศรษฐกิจไทยยังสามารถเติบโตต่อได้ เพื่อลดความเสี่ยงกับการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลก กฟผ. ควรมีการวางแผนระยะสั้นและระยะยาวเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลง ในขณะเดียวกัน กฟผ. ควรหาโอกาสที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจโลกนี้ด้วย เช่น การเปลี่ยนแปลงค่าเงินบาท

13.30–16.30 Panel Discussion หัวข้อ TQM/SEPA : ความเป็นเลิศและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ กฟผ.  

โดย    คุณพิบูลย์ บัวแช่ม  รองผู้ว่าการบริหาร การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

อาจารย์สัญญา  เศรษฐพิทยากุล

คุณนริศ ธรรมเกื้อกูล บริษัท รีเทลลิงค์ (ไทยแลนด์) จำกัด

- คุณพิบูลย์ (รวห.) ได้มาเล่าถึงเส้นทางสู่ TQM โดยใช้ EGAT WAY ได้มีการตั้ง TQM  OFFICE ทุกสายงานจะต้องมีส่วนร่วมในการดำเนินการ

- อาจารย์นริศ  ธรรมเกื้อกูล ได้มาเล่าประสบการณ์การดำเนินงาน TQA ของบริษัท Retail Ling และยืนยันว่าองค์กรที่อยากจะได้รางวัล TQA ผู้บริหารเบอร์ 1 (ผวก.) ผู้บริหารเบอร์ 2 (รองผู้ว่าการ) ต้องให้การสนับสนุน

- อาจารย์สัญญา  เศรษฐพิทยากุล ได้มาเล่าถึงกรอบแนวทางการนำ EGAT WAY ไปสู่การปฏิบัติซึ่งมีข้อกำหนด 9 ข้อ โดย คน (People) ระบบงาน (System) สอดคล้องประสานองค์การสู่ความเป็นเลิศ (Excellent Organization)

- จากที่ได้เรียนรู้ขอแสดงความเห็นดังนี้ ความเป็นเลิศและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ กฟผ.  

โดยเลือก EGAT WAY ถือว่ามาถูกทางแล้วถึงแม้ว่าจะมาช้าไปหน่อย กฟผ. วางเป้าไว้ว่าจะเป็นองค์กรชั้นนำ การที่ กฟผ. จะเป็นเลิศและพัฒนาองค์กรให้ยั่งยืนนั้น ผู้นำมีส่วนสำคัญมากตามที่อาจารย์นริศ ได้กล่าวไว้ ต้องทำให้ผู้บริหารทุกระดับ ทุกสายงานมองไปในทางเดียวกัน ไม่ปฏิบัติกันไปคนละทิศละทาง ต้องรีบให้เกิดคู่มือโดยเร็ว หมายถึงคู่มือในทุกระดับมีความร้อยเรียงเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบจนถึงระดับปฏิบัติการ อย่างช้าไม่น่าจะเกินปี ๒๕๕๖ สำหรับ TQM Office ต้องเข้าใจระบบอย่างดีเยี่ยม สามารถให้คำแนะนำได้ถูกต้อง แม่นยำ ไม่กลับไปกลับมา เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงจากภายนอกที่เกี่ยวข้องต้องเข้าใจว่ากระทบกับส่วนไหนบ้าง และทำให้เกิดการปรับปรุงโดยเร็ว ที่สำคัญคือการสื่อสารให้เข้าใจไปในทางเดียวกันทั่วทั้งองค์กร และมีการประเมินผลเสมอเพื่อนำมาสู่การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

16.30 – 17.30 การบรรยายพิเศษ หัวข้อ ทิศทางเศรษฐกิจไทย…กับการปรับตัวของ กฟผ.

  โดย   คุณอาคม เติมพิทยาไพสิฐ

  เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ


บทเรียนที่ได้รับจากการอบรม 29  มีนาคม  255609.00 – 12.00 น.  หัวข้อ แนวคิด Blue Ocean กับการทำงานของ กฟผ. และการปรับใช้เพื่อสร้างโครงการแบบนวัตกรรมของ กฟผ.

โดย  รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

- เริ่มจาก รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย  ภคภาสน์วิวัฒน์ อาจารย์บรรยายได้เป็นอย่างดี และยังสามารถจุดประกายให้คิดตาม สอนให้รู้จักวิเคราะห์ข้อมูล ไม่ใช่เอาแต่บริโภคข้อมูลมากเกินไป เพราะบางครั้งอาจทำให้เราโง่หรือฉลาดได้เพราะหากบริโภคข้อมูลที่บิดเบือนแล้วเราไม่รู้จักวิเคราะห์เราก็กลายเป็นคนโง่นั่นเอง เพราะฉนั้นจึงควรจะบริโภคข้อมูลที่สำคัญ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง แล้วพินิจวิเคราะห์เพื่อจะได้พัฒนาไปสู่ข้อมูลเชิงกลยุทธ์

หลักการแนวคิดของ Blue Ocean คือ

1. เน้นมองหาและสร้างตลาดใหม่ที่ยังไม่มีการแข่งขัน

2. ทำให้การแข่งขันไร้ความสำคัญ

3. สร้างและจับความต้องการใหม่

4. ทำลายข้อจำกัด ที่ต้องเลือกระหว่างคุณค่าหรือต้นทุน

5. ผสานระบบทั้งหมดของบริษัทเพื่อใช้ทั้งกลยุทธ์ การสร้างความแตกต่างและกลยุทธ์ความเป็นผู้นำด้านต้นทุนไปพร้อม ๆ กัน  โดยอาจารย์ได้นำสินค้าและบริการต่าง ๆ มาให้วิเคราะห์ว่าเป็น Blue Ocean หรือไม่ ทำให้เราได้ฝึกการวิเคราะห์ตามไปด้วย และทราบว่าธุรกิจจะก้าวไปต้องสร้างความแตกต่างคิดในสิ่งที่คนอื่นยังคิดไปไม่ถึง ทำในสิ่งที่คนอื่นยังไม่ทำ แล้วตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ ดังนั้น กฟผ. สามารถนำหลักการมาปรับใช้เพื่อสร้างนวัตกรรมของ กฟผ. ต่อไปได้

13.00 – 16.00 Panel Discussion หัวข้อ High Performance Organization ที่ กฟผ..

  โดย    ดร.สมโภชน์ นพคุณ

  คุณสมชาย ไตรรัตนภิรมย์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ทริส คอร์ปอเรชั่น จำกัด

ดำเนินรายการโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

อ.สมชายฯ ได้นำประสบการณ์ การตรวจประเมินองค์กรที่มีขีดสมรรถนะสูง ซึ่งมีปัจจัยการวัดผลมากมาย ได้แก่ โครงสร้างองค์กร , ทีมงาน, พนักงานในองค์กร และผู้นำ High Performance Organization(HPO) หมายถึงองค์กรที่ทำงานได้อย่างเป็นเลิศ ชนะคู่แข่งได้ตลอดเวลา การขับเคลื่อนองค์กรนอกจากผู้นำแล้ว พนักงานต้องทำงานเป็นทีม มีความผสมผสานเป็นหนึ่งเดียว

-   ดร.สมโภชน์ฯ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ แล้วให้แต่ละกลุ่มแสดงความเห็น ซึ่งผลออกมาไม่มีกลุ่มไหนถูกเลย จากนั้นจึงอธิบายว่าบทบาทผู้นำ3 ประการ คือ

 1. การออกคำสั่งเพื่อกำหนดทิศทางที่เราจะเดินไปให้ถึง

  2. ตอบสนองและให้ความช่วยเหลือคนทำงาน สอนอธิบายและแนะนำ

  3. ต้องเป็นหัวหน้าทีมเพื่อสร้างทีมและสร้าง Brand Presentation ของอาจารย์น่าสนใจมากเสียอย่างเดียวไม่มีแจกเอกสารและบรรยายเร็ว แต่ก็ยังได้บทสรุปสุดท้ายที่เห็นว่าเป็นประโยชน์มาก คือ The High Performance Model 

ซึ่งสามาถนำมาปรับใช้กับแนวทางของ EGAT  WAY ของ กฟผ. ได้ซึ่งมุ่งสู่จุดมุ่งหมายเดียวกัน

ลักษณะผู้นำ HPO ต้องมีทัศนคติเชิงบวก มุ่งมั่น มีวินัย มีความคิดริเริ่ม น่าเชื่อถือ และมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน

พนักงานต้องสื่อสารเก่ง ความคิดริเริ่มดี มีความเข้าใจในภาระกิจ วิสัยทัศน์องค์กรและต้องมีการทำงานเป็นทีมผสมผสานเป็นหนึ่งเดียว


วันที่ 26 มีนาคม 2556

ช่วงเช้า นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชน (Social Innovation) กับการทำงานของกฟผ.โดยครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ ดร.เสรี พงศ์พิศ คุณศานิตนิยมาคม คุณสุทธิเดช สุทธิสมณ์

จากแนวคิดที่ท่านอาจารย์ทั้ง 4 ท่านให้เกี่ยวกับ Social Innovationต้องมีอย่างน้อย 3 เรื่องคือ

1.  ต้องมีความใหม่ด้านความคิด

2.  เป็นความคิดที่สร้างสรรค์

3.  และต้องเป็นสิ่งที่เกิดจากความรู้ด้วย

จากสิ่งที่ท่านอาจารย์ได้นำมาบรรยายให้เราฟัง สรุปได้ว่า กฟผ. ต้องปรับเปลี่ยน ปรับตัว ในด้านชุมชนใหม่ เช่น

-  ต้องมีความสัมพันธ์อันดีกับชุมชนเหมือนเป็นคนในบ้านคนหนึ่ง เป็นคนในครอบครัวเดียวกัน

-  ต้องเข้าใจ เข้าถึง ค้นหาสิ่งที่ชุมชนต้องการจริๆ  แทนการให้เงินเพียงอย่างเดียว

-  ต้องเข้าหาชุมชนตั้งแต่ต้น อย่ารอให้เกิดปัญหาแล้วจึงเข้าไปแก้ไข หรือช่วยเหลือ ซึ่งมันอาจจะสายเกินไป หรือแก้ไขได้ยากขึ้น

-  กฟผ. ต้องถอยออกมาเป็นผู้เชี่ยวชาญ แทนการเข้าประทะกับชุมชนโดยตรง ต้องให้ กระทรวงพลังงานเป็นผู้ประทะโดยตรง

วันที่ 26 มีนาคม 2556

ช่วงบ่าย

Learning Forum หัวข้อ เทคนิคการสื่อสารกับการสื่อสารมวลชน

โดย อาจารย์ ดร.พจน์ ใจชาญสุขกิจ

·  เป็นการเล่าให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงการเสนอข่าวสาร ของสื่อต่างๆ ที่ กฟผ. ควรรู้และเข้าใจเพื่อที่จะได้สื่อสารสู่ สาธารณชน เข้าใจใน กฟผ. อย่างถูกต้องมากขึ้น เพื่อที่จะได้รับความร่วมมือจากส่วนต่างๆ ที่ กฟผ. จะเข้าไปดำเนินกิจกรรม เช่น การสร้างโรงไฟฟ้าเป็นต้น ในการให้ข่าวสาร หรือการสื่อสาร มีส่วนประกอบดังนี้

-  ต้องบริหารสื่อให้ป็น ต้องเข้าใจลักษณะและบทบาทของแต่ละสื่อ ธรรมชาติของสื่อต่างๆ

-  ต้องรู้ว่าจะสื่อให้ใคร เรื่องอะไร ประโยชน์ที่เขาจะได้รับ

-  ความถูกต้องของข่าวสาร ข้อมูล ต้องมีการกลั่นกรอง

·  การสื่อสารภาพลักษณ์องค์กร มีอยู่ 3 ส่วน

1.  Corporate Image

- โปร่งใส เรื่องค่าไฟต้องชัดเจน

2.  Business Image

-   ความมั่นคงในการผลิตไฟฟ้า

-   ความสมเหตุสมผลของการคิดค่ากระแสไฟฟ้า

3.  Brand Image

-  ผลิตไฟฟ้าเพื่อความสุขของคนไทย

ตัวอย่างสื่อที่จะใช้ในการเผยแพร่ ข้อมูล ข่าวสาร

· Social Media เป็นสื่อที่ สื่อสารที่รวดเร็ว มีทั้งบวกและ ลบ ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่จะสื่อสาร ว่าถูกต้อง ชัดเจนเพียงใด น่าสนใจหรือไม่ และต้องมีการ Update ให้ทันสมัยด้วย

ที่สำคัญการให้ข้อมูลข่าวสาร ต้องกำหนดตัวผู้ให้ข่าวสารแต่ละเรื่องให้เหมาะสม ผู้ไม่มีหน้าที่ ไม่ควรให้ข่าวใดๆ เพื่อป้องกันความสับสน ในการเสนอข่าว

แจ้งลบ

ลบ

สรุปการบรรยายวันที่ 26 มีนาคม 2556

Learning Forum-Activities & Game Simulation

หัวข้อ Managing Self Performance  โดย อาจารย์อิทธิภัทร ภัทรเมฆานนท์

-  การเป็น great person สามารถเป็นได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องเปรียบเทียบกับใครก็ได้

-  Competency เกิดจาก ความรู้ ทักษะและคุณลักษณะซึ่งประกอบด้วยพฤติกรรม ทัศนคติ และแรงบันดาลใจที่ทุกคนจำเป็นต้องมีเพื่อปฏิบัติงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ขององค์กร

o  คุณลักษณะที่สำคัญคือ ความเข้าใจ ทัศนคติ ค่านิยม

o  คุณลักษณะที่จะประสบความสำเร็จ

1. ความมุ่งมั่นทำงานให้สำเร็จ ตามเป้าหมาย

2. การใช้ประสบการณ์ที่ผ่านมาอย่างเหมาะสม

3. การมีเป้าหมายที่ชัดเจน และท้าทาย (จากเกมส์การกระโดดสูง)

  4. ฝึกสภาวะจิตให้มองเห็นภาพตนเองเป็นผู้ชนะ เพื่อสร้างแรงบันดาล

การพัฒนาเพื่อก้าวไปสู่จุดที่ต้องการ

1.  ต้องรับผิดชอบชีวิตตนเอง 100%

· สูตร: รับผิดชอบชีวิต 100% โดย ดร.โรเบิร์ต เรสนิก นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน

Event (เหตุการณ์)+ Response (ตอบสนอง) = Output (ผลลัพธ์)

   ผลลัพธ์ที่เกิดปัจจัยมาก 2 ทางเลือก

-  เหตุการณ์ที่ทำให้ไม่เกิดผลลัพธ

-  การตอบสนองต่อเหตุการณ์ ที่ไม่ถูกต้อง

·  รู้จักเปลี่ยนปัญหาให้เป็นคำถามว่า ควรทำอย่างไร ให้เกิดมีประสิทธิภาพ

·  อย่าโค้ชตอนมีอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง

·  สมองทำงานได้ทีละอย่าง ถ้าทำหลายอย่างจะทำให้เป็นมะเร็งและตายเร็ว

·  เราเป็นผู้ลงมือทำไม่ใช่รอให้สิ่งต่างๆเกิดขึ้น

2.  ต้องเข้าใจให้ชัดว่าทำไมเราถึงอยู่ตรงนี้ คือ

-  เข้าใจตัวคนของคุณ

-  อะไรคือเหตุผลเบื้องหลังสิ่งที่คุณทำ

· การขับเคลื่อนชีวิตมนุษย์เกิดจากคำว่า Be, Have, Do

· ต้องแบ่งเวลามาคุยกันอย่างมีเป้าหมาย

· การจะประสบความสำเร็จได้ ต้องรู้ผลลัพธ์และลงมือปฏิบัติ

· การบริหารเวลาก็ต้องมีเข็มทิศชีวิตด้วย ต้องมีเป้าหมายก่อนที่จะบริหารจัดการเวลา

อาจารย์ ให้ทำกิจกรรม Life Mapping วิเคราะห์ ค้นหา Historical Scan หาจุดเปลี่ยนของชีวิตอย่างน้อย 5 จุดเปลี่ยน (Tipping Points Life map) เพื่อหาว่า Dream, Design และ Destiny เพื่อเป็นการทบทวนและค้นหาที่มา และการเปลี่ยนชีวิตจาก อดีต สู่ ปัจจุบัน

· Hierarchy of Ideas ลำดับความคิด

· Chunking up คือ การคิดถึงจุดประสงค์ เจตนา ภาพใหญ่

· Chunking down คือ การคิดถึงตัวอย่างเฉพาะเจาะจง

· Chunking side way คือ คิดว่ามีอะไรที่สามารถทำได้อีก ทำให้มีความคิดสร้างสรรค์

R.P.M.  เป็นการวางแผนชีวิตโดยคิดถึงสิ่งเหล่านี้

· Result – ผลลัพธ์ที่จะเกิด

· Purpose – เป้าประสงค์ที่ต้องการ

· Massive Action Plan – การวางแผนที่จะลงมือทำ

   ต้องเข้าใจว่างานที่ทำอยู่ให้อะไรกับชีวิต และต้องรู้เป้าหมายสุดท้ายในชีวิต

   ต้องให้เห็นผลที่จะได้รับ ไม่ใช่เห็นว่าเป็นแค่งานเท่านั้น

   พิจารณาว่างานที่รับมาแล้ว เราได้ประโยชน์อะไรจากงาน และจะกลายเป็นตัวตนของเราในอนาคต หรือไม่ อย่างไร

   ควรยกย่อง ชื่นชมลูกน้องที่มีคุณสมบัติที่ช่วยให้งานประสบความสำเร็จ

วันที่ 27 มีนาคม 2556

  วันนี้ Panel Discussion เรื่อง “ธรรมาภิบาล” ของ กฟผ. โดยมีอดีตท่านผู้ว่าการ กฟผ. มาร่วม 2 ท่านคือ คุณไกรสีห์ กรรณสูต, คุณสมบัติ ศานติจารี ท่านอาจารย์ ธรรมรักษ์ การพิศิษฏ์ โดยมีท่านอาจารย์ ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ เป็นวิทยากรพิเศษ

  อาจารย์ ธรรมรักษ์: ให้ความหมายของ ธรรมภิบาล คือ การบริหารกิจการที่ดี โดยคนที่มีจริยธรรม จรรยาบรรณ สามารถเปลี่ยนไปตามบริบทการเปลี่ยนแปลงของโลก และสอดคล้องกับสถานการณ์ในขณะนั้น เน้นกรอบคิดและหลักค่านิยม มีการถ่ายทอด และควบคุมกำกับ บังคับบัญชา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นระบบตรวจสอบจากบนลงล่าง โดยสามารถตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน

การบริหารยุคใหม่ เน้นการมีส่วนร่วม และบูรณาการ แบบไร้พรหมแดน ผู้นำต้องที่ดี ต้องตระหนักในเรื่องธรรมาภิบาล เป็นอย่างมาก

การมี Leadership ถือว่าจำเป็นมากซึ่งในปัจจุบัน เริ่มถดถอยไปมาก 

อดีต ผวก.ไกรสีห์: จากประสบการณ์ในชีวิตการทำงาน พ่อค้าที่มาติดต่อกับกฟผ. มักจะพูดว่า คน กฟผ.เป็นคนดี และทำงานด้วยความสบายใจ เพราะทำงานแบบไม่มีการทุจริตกัน

ปัญหาที่เกิดที่ที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะ เป็นภาพ ซึ่งทำให้ กฟผ. ทำงานได้ยากขึ้น ส่งผลให้งานบางอย่างต้องยกเลิกไป โดยเฉพาะเป็นงานที่กระทบต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชุมชน

กฟผ. ต้องพิจารณาเรื่องความสมดุลในการทำงาน และต้องมีการทำงานที่นึกถึงความปลอดภัยของชุมชนเรื่องสิ่งแวดล้อมและประชาชน ต้องไม่เน้นน้ำหนักไปที่เรื่องต้นทุนถูก ต้องทำประชาพิจารณ์มากขึ้น สร้างความเข้าใจและการยอมรับให้มากขึ้น

หลักธรรมาภิบาล “PATE”

P = Participation การมีส่วนร่วมของประชาชนมีความสำคัญ

A = Answerability ความรับผิดชอบในสิ่งที่ทำให้ถูกต้อง

T = Transparency ความโปร่งใส

E = Efficiency และ Effectiveness

เป็นการบริหารแนวใหม่ เพราะโลกให้ความสนใจกับโลกาภิวัตน์และกาบริหารจัดการที่ดีมากขึ้น มุ่งให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง การดำเนินงานทุกอย่างต้องให้ความสำคัญกับประชาชน และสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่แค่เทคโนโลยีเท่านั้น

สรุปองค์ประกอบเพื่อ ให้ กฟผ. อยู่รอด

- ความคุ้มค่า

- นิติธรรม ข้อสำคัญ คือ การใช้กฎหมายต้องไม่เลือกปฏิบัติ คุณธรรม

- กฟผ. ต้องปรับตัวให้เร็วกว่านี้ อย่าให้เกิดปัญหาแล้วค่อยเข้าไปแก้ ต้องเข้าถึงชุมชนก่อน  

สิ่งที่ประชาชนต้องการกับการทำงานของกฟผ.

- Society approach แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างเต็มที่

- ต้องให้การศึกษา และคุยเพื่อให้มีการตัดสินใจขั้นสุดท้ายร่วมกัน

กฟผ. ต้องปรับปรุงเรื่องการประชาสัมพันธ์ ให้ชาวบ้านได้รับรู้ ในสิ่งที่ กฟผ. ทำอะไรอยู่ คิดอย่างไรกับประชาชน

อดีต ผวก. คุณสมบัติ: เรื่องธรรมาภิบาลมา มีมานานแล้ว สมัยนั้นมีการประเมินการบริหารงานที่ดี ตรวจสอบได้ ซื่อสัตย์สุจริต โดยใช้วิธีเดียวกันกับตลาดหลักทรัพย์ ดังนี้

1. บริหารด้วยความครบถ้วน

2. ซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเอง และผู้อื่น

3. ปฏิบัติตามกฎระเบียบ ให้ถูกต้อง

4. แสดงข้อมูลให้ทุกฝ่ายรับรู้ สอบทานได้

กฟผ. ไม่เคยละเลยเรื่องสิ่งแวดล้อม เพราะไม่มีกฏหมาย หลังจากมีกฎหมายก็ทำตามกฎหมาย ปี 35 เคยมีการสำรวจความคิดเห็นทางสิ่งแวดล้อม หลังปี 40  มีนโยบายต้องกระจายให้ทุกคนต้องทราบ พัฒนาปรับปรุงเรื่อยๆ จนกระทั่งมีธรรมาภิบาลกัยผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

หลังจากนั้นพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ มีการทำงานเชิงรุก มีคนต่อต้านบ้างก็เป็นเรื่องธรรมดา กฟผ. ไม่ค่อยมีปัญหาผู้บริหารไม่เคยละเลยปัญหาการร้องเรียน เพราะ วัฒนธรรมที่ตกทอดกันมานาน สายงานที่มีคนช่วยกันดู

ท่าน อ.จีระ สรุปประเด็นสำคัญ คือ

1.  ต้องมี Deep Exchange กับชุมชนให้มากขึ้น ต้องสมดุลย์ ต่อเนื่อง และ Relevance

2.  ต้องเสริมสร้าง ความเป็น Leadership ให้มากขึ้น

3.  ต้องใช้ Social Media ให้มากขึ้น เพื่อนำวัฒนธรรมการแบ่งปันความรู้กัน และต้องมี กระบวนการ เพื่อให้ไปถึงเป้าหมายได้เร็วขึ้น

 อาจารย์ ดนัย จันทร์เจ้าฉาย

  นำเสนอเรื่องการแข่งขันในตลาด 3 แบบ

1.  Red Ocean เป็นตลาดการแข่งขันที่รุนแรง โดยเฉพาะด้านราคา และกลยุทธ์ต่างๆ ผลลัพธ์มีทั้งผู้ชนะและผู้บาดเจ็บในการทำธุรกิจ

2.  Blue Ocean เป็นการแข่งขันในตลาดที่มีผู้แข่งขันน้อย เป็นการช่วงชิงตลาดก่อนคู่แข่งเจ้าอื่นๆ ด้วย นวัตกรรมใหม่ๆ

3.  White Ocean การแข่งขัน โดยใช้ความมีคุณภาพของสินค้า และความซื่อสัตย์ต่อผู้บริโภค การทำธุรกิจในกลุ่มนี้ จะมีความยั่งยืนมากกว่า เพราะมีความน่าเชื่อถือ รวดเร็ว และต้นทุนต่ำ

ทั้ง 3 ส่วนนี้ กฟผ. สามารถนำมาประยุกต์ใช้ใด้ ในหน่วยงานที่เกี่ยวกับธุรกิจได้

วันที่ 28 มีนาคม 2556

  หัวข้อ “ ประสบการณ์การเรียนรู้ใน EADP รุ่นที่ 2 กับการปรับใช้ ใน การบริหาร กฟผ. ในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลง”  โดย  ผวก.สุทัศน์  ปัทมสิริวัฒน์ (ผวก. คนที่ 11)

  ผวก. ให้ข้อคิดว่าในโลกการแข่งขันในปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงสูงมาก เมื่อ ผวก. มารับตำแหน่งสิ่งที่ดำเนินการอย่างเร่งด่วนคือการพัฒนาคน โดยการรับพนักงานใหม่ต่อเนื่อง 5 ปี และให้มีโครงการพัฒนาผู้นำรุ่นใหม่ เอมาทดแทนผู้บริหารที่จะเกียณในไม่อีกปีข้างหน้า ผวก.มุ่งหวังให้ กฟผ.เป็นองค์กรสมรรถนะสูง หรือ HPO (High Performance Organization) เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของสังคมภายนอก  

1. การมีปฏิสัมพันธ์ และการทำงานต้องมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

2. การแสวงหาโอกาสในการพัฒนาธุรกิจ ผ่านทาง EGAT Group

3. ปรับปรุงพัฒนา เพิ่มประสิทธิภาพ ในกระบวนการต่างๆ ขององค์กร

4. การสร้างทีมงาน การสร้างเครือข่าย  

5. การสร้างและรักษาวัฒนธรรมที่ดี ที่สอดคล้องกับภารกิจขององค์กร

ผวก.ยังให้ข้อคิดดีๆ อีก เช่น ต้องรู้จักปรับ Mindset ในการทำงาน และการอยู่ร่วมกับชุมชน ต้องมีสังคม สร้างเครือข่าย ต้นทุนทางสังคม ซึ่งเป้น Competency ที่สำคัญของผู้บริหาร รวมทั้งการสร้างนวัตกรรม

หัวข้อ“ เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทย ผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.”

โดย รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ และอาจารย์ มนู ศิริวรรณ อาจารย์ ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล

ท่านอาจารย์ทั้ง 3 ได้กล่าวถึงภาวะการเปลี่ยแปลงของเศรษฐกิจโลกทั้งใน อเมริกา ยุโรป และเอเซีย ซึ่งมีผลกระทบต่อประเทศในอาเซียนรวมถึงประเทศไทยด้วย ซึ่ง กฟผ.ย่อมหลีกเลี่ยงผลกระทบนี้ไม่ได้เช่นกัน ดังนั้น กฟผ.ควรกำหนดเป้าหมายการดำเนินกิจการของตัวเองให้ชัดเจน และเป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงพลังงานในภูมิภาคให้ได้ โดยเฉพาะการที่จะต้องเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558

หัวข้อ“TQM / SEPA : ความเป็นเลิศและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ กฟผ.”

โดย รวห.คุณพิบูลย์ บัวแช่ม อ.สัญญา เศรษฐพิทยากุล อ.นริศ ธรรมเกื้อกูล

-  รวห. กล่าวถึงการไปสู่ TQM ด้วย EGAT Way  โดยผู้บริหารทุกระดับจำเป็นต้องให้การสนับสนุน เพื่อที่องค์ จะบรรลุเป้าหมายของ กฟผ.

วันที่ 29 มีนาคม 2556

หัวข้อ“Blue Ocean กับการทำงานของ กฟผ.และการปรับใช้เพื่อสร้างโครงสร้างแบบนวัตกรรมของ กฟผ.”

โดย รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

-  ท่านอาจารย์กล่าวโดยสรุปว่า ในการที่ กฟผ. จะอยู่ในธุรกิจด้านพลังไฟฟ้า กฟผ.จะต้องพัฒนาในหลายด้านเพื่อให้สามารถแข่งขันกับ ธุรกิจข้ามชาติให้ได้โดย ใช้หลักของ Blue Ocean โดยต้องปรับองค์กรให้เป็น Business Innovation เพื่อให้เกิดทางเลือกใหม่ๆ ที่คู่แข่งยังคิดไม่ถึง

หัวข้อ“High Performance Organization ที่ กฟผ..”

โดย ดร.สมโภชน์ นพคุณ คุณสมชาย ไตรรัตนภิรมย์

-  การจะเป็นองค์กรสมรรถนะสูง (High Performance Organization - HPO) กฟผ. ต้องสร้างความพร้อม บรรยากาศ ที่สนับสนุนให้คนดี และคนเก่ง ให้มากขึ้น ต้องปรับเรื่องแนวความคิดของคนในองค์กร ให้โอกาสคนดี คนเก่ง ได้มีโอกาสในการแสดงผลงาน


วีระพงษ์ ประสาทศิลปิน

กิจกรรม CSR  วันที่ 27ก.พ.- 1มี.ค. 2556 

ณ ชุมชนหนองทราย เขื่อนท่าทุ่งนา –วัดป่าหลวงตาบัว

เรื่อง นวัตกรรมชุมชน” 

 ณ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านหนองทราย   ต.หนองสาหร่าย  อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี

            ชุมชนบ้านหนองทราย เป็นชุมชนที่เข้มแข็ง มีแผนแม่บทชุมชน มุ่งเน้นการช่วยตนเอง ยึดแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง  มีการพัฒนาชุมชนโดยใช้หลักชุมชนพอเพียงในการขับเคลื่อน สู่ความเข้มแข็งแบบชุมชน คือ การรู้จักคน มีวินัย รู้จักอดออม รู้จักผู้นำ รู้จักชุทชน เช่น มีแผนชีวิต มีแผนชุมชน มีแผนแม่บท มีแผนพัฒนาท้องถิ่นน้นความต้องการของชุมชน ใช้ทฤษฎีตุ่มน้ำ ให้ชาวบ้านรู้จักตนเอง ทำบัญชีครัวเรือนเพื่อให้ทราบรายรับ-รายจ่าย เพื่อตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น เน้นครอบครัวพอเพียง ชุมชนเข้มแข็ง และหารายได้เข้าชุมชน โดยแบ่งให้แต่ละหมู่บ้านมีศูนย์เรียนรู้ และผลิตภัณฑ์ตามความเหมาะสม สร้างสถาบันการเงินของตัวเอง ปลูกฝังนิสัยการออมของชาวบ้าน เน้นการสร้างความดี 

สิ่งที่ได้

1.  วิถีชีวิตและการขับเคลื่อนในการพัฒนาของชุมชนบ้านหนองสาหร่ายเป็น ตัวอย่างที่ กฟผ. สามารถนำไปเป็นแบบอย่างในการพัฒนาชุมชนรอบโรงไฟฟ้าได้เพื่อสนับสนุนงาน CSR ของ กฟผ.อย่างเป็นระบบ การพัฒนาโรงไฟฟ้าจะต้องให้คนอยู่ได้ ชีวิตไม่ลำบากมากไปกว่าเดิม ทำสังคมให้อบอุ่น มีความจริงใจ จะได้ไม่มีการต่อต้านโดยทุกฝ่ายมองเห็นถึงประโยชน์ของการพัฒนา

2.  มีความเข้าใจความต้องการของชุมชนได้ดียิ่งขึ้นการทำ CSR ของ กฟผ. ควรให้ชุมชนมีส่วนร่วมมากขึ้น โดยเน้นให้ชุมชนมีการขับเคลื่อนในการพัฒนาอย่างเข้มแข็งในสิ่งที่ชุมชนต้องการ การให้การสนับสนุนควรเน้นการให้ความรู้แก่ชุมชน ให้ความช่วยเหลือที่ชุมชนให้สามารถต่อยอดไปเป็นการพัฒนาและพึ่งพาตนเองได้

3.  การพัฒนาใด ๆ จำเป็นต้องสอดคล้องกับสภาพภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศ วัฒนธรรม ประเพณีของสังคมชุมชน โดยใช้หลักการ เข้าใจ  เข้าถึง  และพัฒนาโดยไม่กระทบต่อบริบทของชุมชน

Panel Discussion-Networking Capitalกับการพัฒนาเพื่อประชาชน

           จากนโยบายประชานิยม ที่ให้ประชาชนมากจนเกินไป ทำให้ปัจจุบันชาวบ้านเคยชินกับการเป็นผู้รับจนขาดความเชื่อมั่นว่าจะช่วยเหลือตนเองได้  ดังนั้นการพัฒนาชุมชนจะต้องฟื้นความเชื่อมั่น  ให้ชุมชนเชื่อว่าสามารถพึ่งพาตนเองได้

HR for Non HRและการปรับใช้กับงาน CSR ของ กฟผ.

            กฟผ.จึงจำเป็นต้องปรับตัวทั้งทางด้านการพัฒนางาน และพัฒนาคน เพื่อสร้างการพัฒนาองค์กร กฟผ. อย่างยั่งยืน HR และ Non-HR จะต้องร่วมมือกันในการพัฒนา  ทุนมนุษย์ของ กฟผ. โดยให้Non-HR กำหนดคุณภาพของคนที่ต้องการ และ HR สนับสนุน  บทบาทของ HRใน กฟผ. ต้องเป็น Partner ในการบริหารด้าน HRให้กับ Lineแต่ในการบริหารคนนั้น ต้องส่งเสริมและพัฒนาให้ Lineเป็น HR ManagerโดยHR เป็นผู้ Support 


บทเรียนที่ได้รับจากการอบรม 26 มีนาคม  2556

9.00-12.00 น.  นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชนกับการทำงานของ กฟผ.

ครูบาสุทธินันท์  ปรัชญพฤทธิ์ ท่านกล่าวถึงความสำเร็จของ กฟผ.จากอดีต ถึง ปัจจุบัน

แนะนำหลักการเข้าไปนั่งอยู่ใจประชาชนของ กฟผ. คือ เอาชาวบ้านเป็นเพื่อนให้ได้ ปัญหาทุกอย่างก็คลี่คายได้ จะทำงานเชิงรุกได้ ต้องลุกจากเก้าอี้เข้าหาประชาชน

วัฒนธรรมองค์การยังเป็นทางการเกินไป เอาความรัก ความเมตตา เข้าไปก่อน

ดร.เสรี  พงศ์พิศ 
มอง กฟผ.เป็นองคฺกรที่มีสอง บุคลิกภาพ คือด้านหนึ่งเป็นพระเอก ด้านหนึ่งเป็นผู้ร้าย
กฟผ.ต้องสร้างโรงไฟฟ้าโดยไม่มีโรงไฟฟ้า สร้างภาคีหุ้นส่วนกับชุมชน

การทำงานกับชุมชน ต้องมีการเรียนรู้ ศึกษาตลอด

แนะนำลักษณะของสังคมไทย คือ

-  ไม่เรียนรู้ ท่องหนังสือ ไม่ได้ปัญญา

-  ไม่ค่อยสร้างความรู้มือหนึ่ง ต้องสร้างเอง มากๆ

-  สังคมใช้เงิน ทำตามๆกัน ไม่ใช้ปัญญา

คุณสุทธิเดช  สุทธิสมณ์  ได้มาเล่า 5 ทศวรรษ ของการเจริญเติบโตของ กฟภ.
ซึ่งก็เป็นมุมมองที่แตกต่างอีกด้านของ กฟผ. คือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
เสาไปถึงไหนประชาชนยินดีและดีใจได้ใช้ไฟฟ้า แต่เสาแรงสูงของ กฟผ.
ไปถึงไหนประชาชนเสียประโยชน์เพราะถูกเวรคืนที่ดิน ประชาชนต่อต้าน ต้องปรับความคิดประชาชนให้ได้

คุณศานิต  นิยมาคม 
ได้เล่าถึงการดำเนินงานด้าน CSR ของ กฟผ.ที่ประสบความสำเร็จเช่น โรงไฟฟ้าจะนะ และไม่ประสบความสำเร็จ เช่น เขื่อนน้ำโจน

ในช่วงนี้ทำให้เข้าใจความเป็นนวัตกรรม ที่ต้องเป็นสิ่งใหม่ ที่มีความคิดสร้างสรรค์  โดยเฉพาะเมื่อเป็นนวัตกรรมทางสังคม ที่ค่อนข้างจะเป็นนามธรรม กฟผ. ควรต้องวางบทบาท และ ดูแลสังคมและชุมชน ให้เหมือนเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ขาดเราไม่ได้ เหมือนคนในครอบครัวเดียวกัน

เทคนิคการสื่อสารกับสื่อสารมวลชน  ดร.พจน์ ใจชาญสุขกิจ

ได้แนะนำว่าการรู้จักเขามากมาย แต่เขารู้จักเราหรือไม่ ต้นทุนชื่อเสียงมีมูลค่ามากกว่าทรัพย์สิน สื่อมาหา กฟผ.   สิ่งที่เขาต้องการ คือ

Topic , Issue , Subject การนำเสนอที่ดีควรจัดลำดับความคิดและเชื่อมโยงส่วนที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน

ในช่วงนี้ทำให้เข้าใจ แนวคิดด้านการสื่อสาร สิ่งที่ต้องรู้ก่อน กฟผ. จะต้องรู้ว่าหน่วยงานใด เกี่ยวข้องกับ กฟผ. และ จะต้องบริหารความสัมพันธ์อย่างไร โดยต้องจัดลำดับความสำคัญ ที่จะปฏิบัติ  ต้อง เข้าใจบทบาทหน้าที่ของสื่อแต่ละประเภท การให้ข้อมูลข่าวสารที่ประสบความสำเร็จ เพื่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีต่อ กฟผ.

3. Managing  Self  Performance  คุณอิทธิภัทร์  ภัทรเมฆานนท์

ได้พูดถึง กฎแห่ง: การรับผิดชอบตัวเอง เหตุการณ์ (E) + การตอบสนอง (R) = ผลลัพท์ (O)

กฎแห่ง : การเข้าใจให้ชัดว่าทำไมคุณถึงอยู่ตรงนี้

Life Mapping ตามหลัก 4’D ได้แก่ Discover , Dream , Design , Destiny

ในช่วงนี้ทำให้เข้าใจ แนวคิดแห่งความสำเร็จ ที่ทำให้ได้ว่า ผลลัพธ์ จะเกิดขึ้นจาก เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และ การตอบสนองต่อเหตุการณ์ ต้องเข้าใจหลักการ Cause and Effect

วีระพงษ์ ประสาทศิลปิน

สรุป วันที่ 26-29 มีนาคม2556

วันที่ 26 มีนาคม 2556

Social innovation  กับการทำงานของ กฟผ.

             กฟผ. ต้องสร้างให้พนักงานทุกคนมีจิตสำนึกในการสร้าง Brand ของ กฟผ. ต้องมีเข้าใจในภาระกิจและหน้าที่ของ กฟผ. เป็นอย่างดี โดยสร้างความเข้าใจที่ต่อชุมชน และประชาชนทั่วไป ต้องมีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน และภาพลักษณ์ขององค์กรอยู่เสมอ กฟผ. ควรต้องวางบทบาท ในการดูแลสังคม  ชุมชน และเข้าใจความต้องการของชุมชน ที่ต้องการองค์ความรู้ และความช่วยเหลือที่ทำให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองในการพัฒนาได้ อย่างยั่งยืนการเข้าไปดูแลช่วยเหลือชุมชนต้องเข้าไปเรียนรู้ร่วมกับชุมชนเพื่อหาความต้องการที่แท้จริงจากชุมชนความต้องการของชุมชนชุมชนจะเป็นผู้บอกไม่ใช่เราเป็นผู้กำหนด

เทคนิคการสื่อสารกับสื่อสารมวลชน

            การสื่อสารมีStake-holders มาเกี่ยวข้องหลายด้านเช่น Employee , Public , Customer , Governmentโดยการสื่อสารมีช่องทางการสื่อสารได้หลายทาง เทคนิคการสื่อสารต้องมีเทคนิคการบริการข่าว  ต้องเตรียมข้อมูลให้พร้อมและมีที่อ้างอิงและเป็นจริง มีการซักซ้อมเพื่อสร้างความพร้อมและความเข้าใจข่าว  กฟผ. จะต้องรู้ว่าหน่วยงานใดบ้าง เกี่ยวข้องกับ กฟผ. และ จะต้องบริหารความสัมพันธ์อย่างไร โดยต้องจัดลำดับความสำคัญ ที่จะปฏิบัติ  อีกทั้งยังต้อง เข้าใจบทบาทหน้าที่ของสื่อแต่ละประเภท การให้ข้อมูลข่าวสารที่ประสบความสำเร็จ เพื่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีต่อ กฟผ. อันเป็นต้นทุนที่สำคัญ ต่อชื่อเสียงขององค์กร

Manage self performance

            ทุกคนต้องรับผิดชอบต่อชีวิตของตนเอง 100%

            สูตรการรับผิดชอบต่อชีวิตคุณ100% คือ

            E(เหตุการณ์)+R(ตอบสนอง) = O(ผลลัพธ์)

ทำให้ได้แนวคิดแห่งความสำเร็จ (Success Principle)ที่ทำให้เข้าใจได้ว่า ผลลัพธ์ (Outcome) ย่อมเกิดขึ้น มาจาก เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น (Event) และ การตอบสนองต่อเหตุการณ์ (Response) อันเป็นกระบวนการคิดที่สำคัญ เพื่อให้ประสบความสำเร็จ ของผลลัพธ์ อีกทั้งยังควรที่จะต้องเข้าใจหลักการ Cause and Effect และต้องเข้าใจให้ชัดเจนว่าทำไมถึงต้องอยู่ตรงนี้ (Have , Be ,Do)  อันเป็นแนวคิดที่สำคัญ ที่จะทำให้ทุกคนได้ใช้ชีวิต (manage) ตนเองสู่ความสำเร็จ


วันที่ 27 มีนาคม 2556

ธรรมาภิบาลของ กฟผ.

  ·           กฟผ.ต้องบริหารและกำกับดูแลให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกๆด้านได้รับความเป็นธรรมและโปร่งใส ตรวจสอบได้ กล้าเปิดเผยข้อมูล  หลักการธรรมาภิบาล หรือการบริหารกิจการที่ดี ที่จะต้องเปลี่ยนแปลงไปตามการเปลี่ยนแปลงของโลก  ที่เกิดจากการเรียนรู้และประสบการณ์ ของผู้นำแต่ละคนที่ต้องตระหนักในตนเอง ให้เกิดธรรมาภิบาลด้วยใจ ที่ต้องตระหนักถึง การมีส่วนร่วม  สำนึกถึงความรับผิดชอบ  มีความโปร่งใส  และ มีประสิทธภาพและประสิทธิผล ในการดำเนินงาน 

เศรษฐศาสตร์พลังงาน

             กฟผ.ควรปรับการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าให้มีความสมดุลมากกว่านี้ (ปัจจุบัน ใช้ก๊าซในอัตราส่วนที่มากเกินไป  และในอนาคตใกล้ๆ มีแนวโน้มรับซื้อไฟฟ้าจากเพื่อนบ้านในอัตราส่วนที่สูงเกินไป)นโยบายของ กระทรวงพลังงาน ซึ่ง กฟผ. ต้องเข้าใจ และเตรียมการเพื่อรองรับอย่างเป็นรูปธรรมทุกวันนี้ในโลกธุรกิจได้เปลี่ยนแปลงไปมากมาย หากองค์กรเราไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวเข้าหา องค์กรเราจะอยู่ไม่ได้ หากปล่อยให้การเปลี่ยนแปลงภายนอกเกิดก่อนภายในองค์กรของเรานั่นเป็นสัญญาณแห่งความล้มเหลวขององค์กร

ผู้นำกับการสร้างทุนทางจริยธรรมในองค์กร

              องค์กรที่มีจริยธรรมสูง จะนำไปสู่การบริหารงานที่เป็นองค์กรสีขาว ที่จะสร้างผลลัพธ์ที่ดีและมีประสิทธิภาพต่อองค์กร นำไปสู่ความศรัทธาที่สูงขึ้น ซึ่งจะทำให้เข้าใจจุดยืนของตนเอง เป้าหมายในระยะยาว และ  ยุทธศาสตร์ที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายนั้น


วันที่28มีนาคม2556

ประสบการณ์การเรียนรู้ ของข้าพเจ้า กับการปรับใช้เพื่อการบริหาร กฟผ.  ในยุคที่โลกเปลี่ยน

โดย คุณสุทัศน์  ปัทมสิริวัฒน์

               ในปัจจุบันโลกเปลี่ยนแปลงไปรวดเร็วมาก องค์กรต้องพร้อมรับกับการเปลายนแปลงตามกระแสโลกาภิวัฒน์ของโลก กฟผ.เน้นพัฒนาบุคลกรให้เป็นองค์กร HPO ได้รับการยอมรับ เชื่อถือ ทำให้บุคลากรภายนอกมองกฟผ.อย่างภาคภูมิใจว่ากฟผ.เป็นองค์กรมืออาชีพแบบมีธรรมาภิบาล

                จากประสบการณ์ของท่าน ผวก. ทำให้เห็นว่าปัญหาที่สำคัญของ กฟผ. ในปัจจุบันนอกจากจะเป็นเรื่องการยอมรับของชุมชนในการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่แล้ว ก็เป็นเรื่องการบริหารงานบุคคล ทั้ง อัตรากำลัง ที่ต้องทดแทนผู้ที่จะเกษียณอันใกล้ และ การพัฒนาผู้นำรุ่นใหม่ ที่ต้องมีความคิดกว้างขวาง และมองการณ์ไกล อีกทั้งต้องมี networkingอันเป็นต้นทุนทางสังคม ซึ่ง ทุกคนต้องปรับเปลี่ยนตัวเอง ให้พร้อมรับสถานการณ์

เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทย ผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.

                  ในอนาคตประเทศไทยต้องมีโอกาศอย่างสูงมากๆในการเจริญเติบโตทางธุรกิจและประเทศไทยมีความพร้อมมากที่สุดในการลงทุนของนานาประเทศ ทำให้การใช้พลังงานมีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว กฟผ.จะต้องพบกับการหาพลังงานไฟฟ้าให้พอเพียงต่อการขยายตัวทางธุรกิจอย่างก้าวกระโดด  ทำให้กฟผ.ต้องเร่งพัฒนาบุคลากรและทำความเข้าใจกับสังคมโดย

กฟผ.ต้องพัฒนาคนเพื่อรองรับการแข่งขันในโลกธุรกิจ

กฟผ.ต้องเป็นผู้นำทางด้าน Green Energy

กฟผ.ต้องแสวงหาโอกาศในการร่วมลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน

กฟผ.ต้องปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อรองรับการเป็นศูนย์กลางโครงข่ายด้านพลังงานแห่งภูมิภาคให้ได้ในโอกาสนี้

TQM/SEPA :ความเป็นเลิศและการพัฒนาอย่างยั่งยืน

                   ในองค์กรใหญ่ๆอย่างกฟผ. คน(People) ระบบงาน(System) เป็นเรื่องสำคัญที่สุดต้องสอดประสานจะทำให้เป็นองค์กรสู่ความเป็นเลิศ โดยกฟผ.ต้องพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง โดย กฟผ. จะนำแนวทางการพัฒนาแบบ TQMมาปรับใช้ ในรูปแบบของ กฟผ.เอง ที่เรียกว่า EGAT Way ที่มีทั้งการพัฒนาคน และ การพัฒนาระบบงาน โดยจะมี SEPA เป็นเครื่องมือวัด


วันที่29มีนาคม2556

Blue Oceanกับการทำงานของ กฟผ.และการปรับใช้เพื่อสร้างโครงการแบบนวัตกรรมของ กฟผ.

                       Blue Ocean ในตลาดใหม่ ที่มุ่งเน้นการสร้างนวัตกรรม และ การสร้างลูกค้าใหม่ เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกไร้พรมแดน ซึ่งเป็นแนวคิดที่ กฟผ. ควรรับมาปรับใช้ในการพัฒนาบนศักยภาพ และความสามารถพิเศษ ที่มี ที่ทำได้ (Core competency) แต่ยังไม่ได้ทำ

High Performance Organizationที่ กฟผ.

                     การเป็น HPO มีวิธีการ เครื่องมือหลายอย่าง ผู้บริหารจะต้องนำไปใช้ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมขององค์กร เพื่อให้องค์กร เก่ง ดี และมีความสุข  องค์กรจะเป็น HPOได้ ต้องไม่เป็น One standard form ต้องให้มีความเห็นต่าง(คิดนอกกรอบ) ต้องปรับโครงสร้างให้ Realistic ปรับ Process รวมทั้งระบบต้องเป็น Dynamic องค์กรประสิทธิภาพสูง (HPO)คือ คน ที่อยู่ในองค์กรที่มีความหลากหลายนั่นเอง ที่ต้องเป็น ทั้งคนเก่ง และ คนดี


บทเรียนที่ได้รับจากการอบรม   26 มีนาคม  2556

1. ธรรมาภิบาล ของ กฟผ. เป็น Panel Discussion

โดย   อดีต ผวก. ไกรสีห์  กรรณสูต

         อดีต ผวก. สมบัติ  ศานติจารี

         คุณธรรมรักษ์  การพิศิษฐ์

ได้ให้สาระพอสรุปได้ ดังนี้

  ธรรมาภิบาล หมายถึง การบริหารกิจการที่ดี เป็นธรรมกับทุกๆฝ่าย

  ธรรมาภิบาลที่ดีต้องปฏิบัติ และเรียนรู้ในหน่วยงานตนเอง

  กฟผ. ต้องจัดการกับชุมชน  จัดการความหลากหลายทางวัฒนธรรม

  ธรรมาภิบาลจะทำให้เราอยู่อย่างยั่งยืน

  ธรรมาภิบาลจะทำให้เกิดความสมดุลระหว่างเทคโนโลยีกับชุมชน

  เรื่องสำคัญ 4 เรื่องที่ต้องทำคือ

-  การจัดการกับชุมชน

-  การจัดการความหลากหลายทางวัฒนธรรม

-  การจัดการความเปลี่ยนแปลง นโยบาย รัฐบาล นักการเมือง

-  การจัดการกับคอรัปชั่น

  แม้ว่า กฟผ.เป็นองค์กรที่มีธรรมาภิบาลมาตลอด แต่เรากำลังต้องปรับตัวกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป เราต้อง  ปรับวิธีการคิดใหม่ตลอดเวลา

หัวข้อ เศรษฐศาสตร์พลังงาน

· Learning Forumจากบทสัมภาษณ์ อจ.มนุญ  ศิริวรรณ

ทำให้เข้าใจถึงหลักเศรษฐศาสตร์  ที่เป็นการทำงานของ ตลาด ในเชิง Demand / Supplyเป็นตัวกำหนดราคา ซึ่งควรต้องนำมาปรับใช้กับด้านพลังงาน

ด้วยนโยบายของ กระทรวงพลังงาน ซึ่ง กฟผ. ต้องเข้าใจ และเตรียมการเพื่อรองรับอย่างเป็นรูปธรรม การลดสัดส่วนการใช้ก๊าช 70 % ไปเป็นไม่เกิน 45 %

การเตรียมการกับการรับมือกับวิกฤติพลังงานในช่วง เมษายน นี้

เราได้ทำ Workshop 6 เรื่องทำให้เราได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่าง ๆ

3. ผู้นำกับการสร้างทุนจริยธรรมในองค์กร  โดย  ดนัย  จันทร์เจ้าฉาย

ได้อธิบายถึงทฤษฎี White ocean strategy กลยุทธน่านน้ำสีขาว

โดยมีหลักการ คือ   1.ทำให้พื้นที่ตลาดเป็นประเด็นที่ไม่สำคัญ

   2.ทำให้ทุกฝ่ายได้ประโยชน์และเป็นผู้ชนะร่วมกัน

   3.จับทั้งความต้องการเก่าและใหม่

   4.สร้างความสมดุลระหว่างคุณค่ากับต้นทุน

   5. ผสานระบบทั้งหมดของบริษัทเพื่อสร้างผลประโยชน์ให้กับสังคม

   แนะนำปัจจัยสำคัญในการมุ่งสู่ความสำเร็จ คือ คิด 1%  พูด 4%  ลงมือปฏิบัติ 95%

    ผู้นำที่ประสบความสำเร็จ ต้องมีกัลยาณมิตร ต้องเป็นคนช่างสังเกต โดยได้นำตัวอย่างองค์กร
บุคคลที่ประสบความสำเร็จในระดับต่าง ๆ มาเสนอเป็นตัวอย่างให้จุดประกายความคิดเปลี่ยนความคิด อันจะนำไปสู่การก้าวขึ้นสู่การเป็นผู้นำที่มีความพร้อมทุกด้าน


หากเป็น White Ocean จะได้

- ผลประกอบการดี

- มีความสุข

- มีความคิดสร้างสรรค์

- เป็นองค์กรที่มีความยั่งยืน สังคมเชื่อถือ


ในช่วงนี้ทำให้เข้าใจถึงต้นทุนทางจริยธรรม ที่จะนำไปสู่การบริหารงานที่เป็นองค์กรสีขาว ที่จะสร้างผลลัพธ์ที่ดีและมีประสิทธิภาพต่อองค์กร นำไปสู่ความศรัทธาที่สูงขึ้นนำไปสู่ เป้าหมายในระยะยาว และอย่างยั่งยืน  ที่สำคัญถ้าขยายแนวทางไปสู่องค์กรอื่นๆ ให้มากๆ จะทำให้สังคมเป็นสังคมสีขาวได้


บทเรียนที่ได้รับจากการอบรม 27 มีนาคม 2556

1. ธรรมาภิบาล ของ กฟผ. เป็น Panel Discussion

โดย   อดีต ผวก. ไกรสีห์  กรรณสูต

   อดีต ผวก. สมบัติ  ศานติจารี

  คุณธรรมรักษ์  การพิศิษฐ์

ได้ให้สาระพอสรุปได้ ดังนี้

  ธรรมาภิบาล หมายถึง การบริหารกิจการที่ดี เป็นธรรมกับทุกๆฝ่าย

  ธรรมาภิบาลที่ดีต้องปฏิบัติ และเรียนรู้ในหน่วยงานตนเอง

  กฟผ. ต้องจัดการกับชุมชน  จัดการความหลากหลายทางวัฒนธรรม

  ธรรมาภิบาลจะทำให้เราอยู่อย่างยั่งยืน

  ธรรมาภิบาลจะทำให้เกิดความสมดุลระหว่างเทคโนโลยีกับชุมชน

  เรื่องสำคัญ 4 เรื่องที่ต้องทำคือ

-  การจัดการกับชุมชน

-  การจัดการความหลากหลายทางวัฒนธรรม

-  การจัดการความเปลี่ยนแปลง นโยบาย รัฐบาล นักการเมือง

-  การจัดการกับคอรัปชั่น

  แม้ว่า กฟผ.เป็นองค์กรที่มีธรรมาภิบาลมาตลอด แต่เรากำลังต้องปรับตัวกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป เราต้อง  ปรับวิธีการคิดใหม่ตลอดเวลา

หัวข้อ เศรษฐศาสตร์พลังงาน

· Learning Forumจากบทสัมภาษณ์ อจ.มนุญ  ศิริวรรณ

ทำให้เข้าใจถึงหลักเศรษฐศาสตร์  ที่เป็นการทำงานของ ตลาด ในเชิง Demand / Supplyเป็นตัวกำหนดราคา ซึ่งควรต้องนำมาปรับใช้กับด้านพลังงาน

ด้วยนโยบายของ กระทรวงพลังงาน ซึ่ง กฟผ. ต้องเข้าใจ และเตรียมการเพื่อรองรับอย่างเป็นรูปธรรม การลดสัดส่วนการใช้ก๊าช 70 % ไปเป็นไม่เกิน 45 %

การเตรียมการกับการรับมือกับวิกฤติพลังงานในช่วง เมษายน นี้

เราได้ทำ Workshop 6 เรื่องทำให้เราได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่าง ๆ

3. ผู้นำกับการสร้างทุนจริยธรรมในองค์กร  โดย  ดนัย  จันทร์เจ้าฉาย

ได้อธิบายถึงทฤษฎี White ocean strategy กลยุทธน่านน้ำสีขาว

โดยมีหลักการ คือ   1.ทำให้พื้นที่ตลาดเป็นประเด็นที่ไม่สำคัญ

   2.ทำให้ทุกฝ่ายได้ประโยชน์และเป็นผู้ชนะร่วมกัน

   3.จับทั้งความต้องการเก่าและใหม่

      4.สร้างความสมดุลระหว่างคุณค่ากับต้นทุน

   5. ผสานระบบทั้งหมดของบริษัทเพื่อสร้างผลประโยชน์ให้กับสังคม

   แนะนำปัจจัยสำคัญในการมุ่งสู่ความสำเร็จ คือ คิด 1%  พูด 4%  ลงมือปฏิบัติ 95%

    ผู้นำที่ประสบความสำเร็จ ต้องมีกัลยาณมิตร ต้องเป็นคนช่างสังเกต โดยได้นำตัวอย่างองค์กร
บุคคลที่ประสบความสำเร็จในระดับต่าง ๆ มาเสนอเป็นตัวอย่างให้จุดประกายความคิดเปลี่ยนความคิด อันจะนำไปสู่การก้าวขึ้นสู่การเป็นผู้นำที่มีความพร้อมทุกด้าน


หากเป็น White Ocean จะได้

- ผลประกอบการดี

- มีความสุข

- มีความคิดสร้างสรรค์

- เป็นองค์กรที่มีความยั่งยืน สังคมเชื่อถือ

ในช่วงนี้ทำให้เข้าใจถึงต้นทุนทางจริยธรรม ที่จะนำไปสู่การบริหารงานที่เป็นองค์กรสีขาว ที่จะสร้างผลลัพธ์ที่ดีและมีประสิทธิภาพต่อองค์กร นำไปสู่ความศรัทธาที่สูงขึ้นนำไปสู่ เป้าหมายในระยะยาว และอย่างยั่งยืน  ที่สำคัญถ้าขยายแนวทางไปสู่องค์กรอื่นๆ ให้มากๆ จะทำให้สังคมเป็นสังคมสีขาวได้


นายพลศรี สุวิศิษฏ์อาษา

วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม 2556

หัวข้อ Blue Ocean แนวคิดที่ได้รับ

Blue Ocean คือนวัตกรรมสินค้าหรือบริการ ที่คิดขึ้นมาใหม่ ไม่ได้แข่งขันในธุรกิจตัวเดียวกัน

หรือบริการอย่างเดียวกัน โดยอาจเป็นการสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับลูกค้าโดยที่ กฟผ.

ได้ให้การสนับสนุนในเรื่องนี้ โดยมีฝ่ายวิจัยและพัฒนาคอยดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะ

ละมีการส่งเสริมโดยมีการให้รางวัลในทุกๆปีสำหรับพนักงานที่ได้สร้างผลงานที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ

 

High Performance Organization ที่ กฟผ.

โดยสรุปองค์กร HPO จะต้องมี

- High  Trust

- Produce Knowledge

- Team Discussion

- Horizontal Flow-based Organization

- Dynamic Structure Companies without walls




Creating mutual opportunities

ประธานาธิบดีจีน ได้กล่าวไว้ว่า การเจรจา 2 ฝ่าย (bilateral) ที่เข้มแข็งจะเป็นการสร้างกลยุทธ ของความสมดุลและ ความสงบได้

แนวทางการสร้างสรร ในการพัฒนาประเทศของจีน เป็นการสร้างโอกาสทดแทนการสร้างจุดอันตราย 

ประธานาธิบดี ซิ จินปิงของจีนกล่าวสุนทรพจน์ ครั้งแรกไว้เมื่อเดือนมีนาคม และเป็นกล่าวในการเยื่อน

กรุง มอสโคว  ซิได้มองสถานการณ์ระหว่างประเทศ และได้อธิบายนโยบายการต่างประเทศของจีนและการสร้างสัมพันธ์กับประเทศรัสเซีย

การกล่าวสุนทรพจน์ หลังจาก ซิ ได้พบกับคู่เจรจาของเขาคือ Vladimir Putin และ ผู้เข้าร่วมพิธีลงนาม การลงทุน floating platform ทางด้านพลังงานและสัญญาอื่นๆ ในการเยื่อนต่างประเทศครั้งแรกของเขาเมื่อได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี

การแสดงตัวต่อกลุ่มฝูงชนของนักเรียนในกรุงมอสโคว  ซิ ได้กล่าวไว้น่าสนใจในเรื่องการสือสารระหว่างประเทศจากความแตกต่างของส่วนต่างๆของโลกกลับเพิ่มความใกล้ชิดและประสานกันอย่างเป็นการพัฒนาแนวโน้มหลักในยุคใหม่

การเผชิญหน้าในสงครามเย็นจะไม่ยั่งยืนอีกต่อไป  ขณะนี้การก้าวสู่ขั้นของการเปลี่ยนแปลง จากอดีตยุคเก่าที่เป็นแบบสงครามเย็นและยุค Zero-sum game จะถูกกำจัดออกจากระบบ

มันอาจจะเป็นไปไม่ได้สำหรับประเทศที่เป็นประเทศเดี่ยวๆ หรือกลุ่มประเทศที่จะครอบงำระหว่างประเทศ เหมือนเป็นประเทศที่กำลังโผล่ขึ้นมา (emerging economics and developing country) ซึ่งจะเข้าสู่การพัฒนาประทศและการเจริญเติบโตในหลายรูปแบบและเป็นศุนย์กลางของโลก

ซิยังเตือน โดยต่อต้านการแทรกแซงนโยบายระหว่างประเทศ ของประเทศต่างๆ เขากล่าวว่า เราควรเคารพสิทธิของแต่ละประเทศ โดยให้มีความอิสระในการเลือกแนวทางการพัฒนาประเทศ เราไม่สนับสนุการเข้าแทรกแซงอธิปไตยของประเทศอื่น

จีน ควรที่จะแสดงความเป็นอธิปไตยของประเทศอย่างเข้มแข็ง โดยภาครัฐและประชาชน ในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นเพียงแค่การแก้ปัญหาโดยผ่านการเจรจาระหว่างภาครัฐบาลและประชาชน

สิ่งเหล่านี้เป็นหลักเกณฑ์ของประชาธิปไตยเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์ของจีนและรัสเซียนั้นควรเป็นสัญญาร่วมกันก่อนที่จะเริ่มทางการฑูต และพัฒนาโอกาสของทั้งสองประเทศ

ความสัมพันธ์ที่เข้มแข็ง ไม่เพียงแต่ 2 ประเทศเท่านั้น ซิ ได้ตัดสินใจที่จะเจรจากับ นักศึกษาในวิทยาลัยในรัสเซีย โดยทั้งสองประเทศจะยกระดับความเข้าใจของทั้งสองประเทศ และเป็นการเจรจา 2 ฝ่ายในการพัฒนาเยาวชนของทั้งสองซึ่งจะผูกพันธ์ถึงระยะเวลาที่ทั้งสองประเทศเกิดภาวะวิกฤตของการฟื้นฟูประเทศ

ทั้งสองประเทศมีความชัดเจนมากในการเริ่มสร้างความฝันและการพัฒนาที่จะมาสนับสนุนข้อตกลงของแต่ละประเทศ ซึ่งจะรักษากลยุทธและความร่วมมือทางเศรษฐกิจอย่างเข้มแข็ง

ซิ ได้รับเชิญที่กระทรวงกระลาโหม สำนักงานใหญ่ ของรัสเซีย ซึ่งเป็นผู้บริหารระดับสูงสุดของจีนคนแรก ผู้เชี่ยวชาญได้วิเคราะห์ไว้ว่า การเยือนครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความไว้วางใจอย่างลึกซึ้ง ของทั้งจีนและรัสเซีย ได้มีการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือทางการทหารในอนาคต

ในกรุงมอสโคว ซิ ยังได้เข้าพบกับนายกรัฐมนตรีของรัสเซีย Dmityr Medvedev

ต่อมาประธานาธิบดีของรัสเซีย ได้บินไปเยือนแอฟริกาใต้และสาธารณรัฐ คองโก ในแอฟริกาใต้เขาได้เข้าร่วมประชุมสุดยอด BRICS ครั้งที่ 5

5Grouping on track to be ‘ grobal force ‘

การประชุมร่วมกันของ 5 ผู้นำประเทศ BRICS ครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2556 ที่เมืองเดอบาน  อาฟริกาใต้  เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาเศรษฐกิจและการเมือง  รวมทั้งให้ความร่วมมือกันในการแก้ปัญหาทางการเงินและการทำ

ธุรกิจ  ทั้ง 5 ประเทศประกอบด้วย บราซิล , รัสเซีย , อินเดีย , จีน และ อาฟริกาใต้ ซึ่ง นายสี  จิ้นผิง

ประธานาธิบดีของจีนได้แสดงความเชื่อมั่นถึงความสำเร็จของความร่วมมือกันในทางเศรษฐกิจถึงแม้

ว่าขณะนี้เศรษฐกิจโลกจะถดถอย

BRICS ก่อตั้งมา 5 ปีและยังอยู่ในช่วงของการพัฒนาและควรส่งเสริมให้มากขึ้น

การปรับปรุงมาตรฐานความเป็นอยู่ขอประชาชน 3,000 ล้านคน สร้างโอกาสในการ

ทำธุรกิจมหาศาล

จากการสำรวจศักยภาพของความร่วมมือกันของ BRICS พบว่าปริมาณการค้าของ 5 ประเทศ

นี้น้อยกว่า 1 % ของปริมาณการค้าโลก 

เขาสนับสนุนนักลงทุนชาวจีนเข้ามาร่วมทำธุรกิจในกลุ่ม BRICS ร่วมทั้งนักลงทุนประเทศอื่นในกลุ่ม BRICS ด้วย  นอกจากนั้นเขายังสนับสนุน BRICS และประเทศต่างๆในทวีปอาฟริการ่วมมือกันเพื่อส่งเสริมให้อาฟริกาเป็นเขตเศรษฐกิจใหม่ของโลก

ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ขอให้มีการประชุมในกลุ่มของ BRICS และขอให้สนับสนุนคณะกรรมการ

BRICS Business ที่ถูกตั้งขึ้นมา  คณะกรรมการจะปฏิบัติงานภายใต้ผู้แทนของแต่ละประเทศ

ทั้ง 5 ประเทศ  ซึ่งจะทำให้การปฎิบัติงานต่างๆมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นซึ่ง

การทำงานจะคล้ายกับองค์การการค้าโลก เพียงแต่Scaleเล็กกว่าเท่านั้นเพื่อแก้ปัญหาทางการค้าต่างๆและพยายามให้เกิด Free Trade Zone นอกจากนั้นยังมีการลงนามร่วมกันก่อตั้งสภา BRICS Think Tank จนพัมนามาเป็นธนาคารเพื่อการพัฒนา BRICS ( BRICS new

Development  bank ) วงเงิน 4.5 ล้านล้านเหรียญดอลล่าห์  เพื่อใช้ในการพัฒนาสาธารณูปโภคต่างๆ

Xi highlights bonds of shared destiny

การแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ จะเป็นการขยายเพิ่มเติมของคำมั่นสัญญาของ ประธานาธิบดี และเพิ่มความเข้มแข็ง ของกลุ่มประเทศในภูมิภาค

จีน จะใช้ความพยายามในการขยายความสัมพันธ์กับแอฟริกา เหมือนเป็นการเชื่อมความสำคัญของกลุ่มประเทศดังกล่าว ท่ามกลาง การร่วมชะตากัน เป็นคำกล่าวของประธานาธิบดี ซิ ของจีนเมื่อวันที่ 25 มีนาคม ในการกล่าวสุนทรพจน์ ครั้งแรกของเขาในนโยบายความร่วมมือของทั้งสองประเทศ

ปักกิ่ง ก็มีความหวังเช่นเดียวกันที่จะเห็นความสัมพันธ์ทั้งสองประเทศ รวมทั้งประเทศอื่นๆและแอฟริกาดีขึ้น

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ความสัมพันธ์ของจีนและแอฟริกามีความซับซ้อนมากขึ้นเมื่อเทียบกับในอดีตที่ผ่านมา และผู้นำประเทศจะต้องแสดงเชาว์ปัญญาในการจัดการรูปแบบความสัมพัพันธ์ดังกล่าว

ซิ ให้ข้อสังเกตระหว่างการกล่าวสุนทรพจน์ที่ ทานซาเนีย (Tanzania) ซึ่งเป็นประเทศที่ 2 ของการเยือนต่างประเทศหลังจากได้รับเลือกตั้งเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา ประธานาธิบดี ซิ ได้ไปเยือนแอฟริกาเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง และกล่าวที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติ Julius Nyerere ซึ่งเป็นศูนย์ประชุมที่จีนสร้างให้ใน Tanzania และ ฉลองการส่งมอบในวันที่ 25 มีนาคม ว่า “ขอให้มั่นใจว่า จีนจะมุ่งมั่นขยายความสัมพันธ์กับแอฟริกาอย่างเข้มข้น”

ความเป็นหนึ่งเดียวและความร่วมมือของประเทศในแอฟริกาเป็นรากฐานที่สำคัญของนโยบายการต่างประเทศของจีนมาโดยตลอด ซึ่งสิ่งนี้จะไม่มีวันเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจีนจะเติบโตแข็งแกร่งขึ้นและก้าวสู่ความเป็น International มากขึ้นก็ตาม จีนแลแอฟริกาจะยังคงสนับสนุนซึ่งกันและกันในสิ่งที่เรามีความสนใจและความตระหนักอย่างเดียวกัน ซึ่งในข่วงเวลาที่ผ่านมมาในประวัติศาสตร์ได้แสดงให้เห็นว่าจีนและแอฟริกา เป็นชุมชนที่ได้แบ่งปันจุดหมายปลายทางร่วมกันมาโดยตลอด และจีนจะยังคงให้ความช่วยเหลือแอฟริกาโดยปราศจากเงื่อนไขทางการเมืองต่อไป

การค้าระหว่างจีนกับแอฟริกามีมูลค่าถึง 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐเมื่อปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ จีน ยังจะให้เครดิตแก่ประเทศแอฟริกา2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ตั้งแต่ปี 2013-2015 และปักกิ่งจะขยายความร่วมมือในการลงทุน, ภาคการเงิน, และการพัฒนาสาธารณูปโภคการคมนาคมระหว่างประเทศและระหว่างูมิภาคในแอฟริกาอีกด้วย

จีนจะฝึกอบรมในระดับอาชีพให้แก่ชาวแอฟริกันจำนวน 30,000 คน และจะมอบทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนจากแอฟริกาจำนวน 18,000 คน และเพิ่มการถ่ายทอดเทคโนโลยีรวมถึงการแบ่งปันประสบการณ์

ประธานาธิบดี ซิ ยืนยันความเสมอภาคเท่าเทียมกันระหว่าง 2 ประเทศ โดยไม่แบ่งแยกด้วยขนาดของประเทศ ความแข็งแกร่งของประเทศ หรือความมั่งคั่งของประเทศ นอกจากนี้ยังกล่าวว่า ปักกิ่งคาดหวังความเป็นหนึ่งเดียวของประเทศแอฟริกาและความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นกับประเทศอื่นๆ

แอฟริกาเป็นของชาวแอฟริกันทุกคนดังนั้นในการพัฒนาความสัมพันธ์กับแอฟริกาประเทศต่างๆจะต้องให้เกียรติและเคารพความเป็นอิสรภาพของแอฟริกา ซึ่งจีนจะต้องให้ความจริงใจในการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนี้ โดยจีนจะต้องธำรงความสัมพันธ์แบบให้เกียรติกันและกัน และก่อให้เกิดความร่วมมือแบบ วิน-วิน (win-win) ซึ่งผมเชื่อว่ามีโอกาสและมากกว่าความท้าทายและมีหนทางแก้ไขปัญามากกว่าความยากลำบาก แถมท้ายด้วยการพูดอย่างมีอารมณ์ขันเกี่ยวกับหนังชุดของจีนที่ฉายและโด่งดังใน Tanzania ในปีที่แล้ว ซึ่งอาจทำให้ผู้ชมชาวแอฟริกันได้มองเห็นความสลับซับซ้อนของชีวิตชาวจีนได้บ้าง

ประธานาธิบดีของ Tanzania นาย Jakaya กล่าวว่า “ความสัมพันธ์ระหว่าง  Sino-Tanzania มีมาอย่างมั่นคงยาวนาน และเป็นบทพิสูจน์ทางกาลเวลาว่าเราต่างเป็นเพื่อนที่จะเติบโตไปด้วยกัน” นอกจากนี้ยังกล่าวด้วยว่า “นโยบายของ Tanzania ต่อจีนนั้นถูกชี้นำด้วยการตัดสินของ Tanzania เองซึ่งมาจากความสนใจขั้นพื้นฐาน และที่ผ่านมาจีนได้เป็นผู้สนับสนุนที่พึ่งพาได้ และการรวมตัวของประเทศต่างๆในแอฟริกา และประเทศโลกที่ 3 จะถูกดึงดูดด้วยความเที่ยงตรงในโลกเศรษฐกิจเท่านั้น”

นอกจากนี้ James F Mbatia ประธานกรรมการวิศวกรก่อสร้างศูนย์ประชุมยังกล่าวอีกว่า “ชาวแอฟริกันมีศักยภาพที่จะตัดสินว่าใครเป็นผู้ช่วยเหลือพวกเรา”


สรุปบทความ

1.Creating mutual opportunities

China Daily Asia Weekly ฉบับประจำวันที่ 28 มีนาคม – 4 เมษายน 2556 ได้รายงานการเดินทางเยือนรัสเซียของประธานาธิบดี Xi Jinping (สี จิ้นผิง) ของจีน นับเป็นการเดินทางออกนอกประเทศครั้งแรกหลังจากรับตำแหน่ง เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2556 และได้พบกันประธานาธิบดี Vladimir Putin ของรัสเซีย ที่กรุงมอสโค ประธานาธิบดี Xi Jinping ได้กล่าวสุนทรพจน์เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศ และความสัมพันธ์กับรัสเซีย โดยกล่าวว่ายุคสงครามเย็นได้สิ้นสุดลงแล้ว จากนี้ไปเป็นการเปลี่ยนไปสู่การพัฒนาและเติบโตไปด้วยกัน เป็นการกล่าวภายหลังจากร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามความร่วมมือกันเรื่องพลังงาน และข้อตกลงอื่น ๆ โดยประธานาธิบดี Xi Jinping ยังได้กล่าวถึงการแทรกแซงทางการเมืองระหว่างประเทศว่า ควรให้แต่ละประเทศแก้ปัญหาภายในด้วยตัวเอง ประเทศอื่นไม่ควรมีการเข้าไปแทรกแซง แต่ควรเป็นผู้ไกล่เกลี่ยระหว่างรัฐบาลกับประชาชน เราต้องเคารพสิทธิ์ของแต่ละประเทศในการกำหนดแนวทางพัฒนาของตัวเอง

 ประธานาธิบดี Xi Jinping ยังได้พบกับนักศึกษาที่ Russian College เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างคนรุ่นใหม่ของทั้งสองประเทศ นอกจากนี้ประธานาธิบดี Xi Jinping ยังได้รับเชิญให้ไปเยือนสำนักงานป้องกันประเทศของรัสเซีย นับเป็นผู้นำระดับสูงของจีนคนแรกที่ได้รับเชิญ แสดงถึงความไว้เนื้อเชื่อใจและความร่วมมือทางทหารในอนาคต โดยได้พบกับนายกรัฐมนตรี Dmity Medvedev. ด้วย

2. Xi highlights bonds of ‘shared destiny’

ประธานาธิบดี Xi Jinping ได้ไปเยือน Tanzania เป็นประเทศที่สอง จีนกำลังเพิ่มความสัมพันธ์และให้ความสำคัญกับ Africa โดยประธานาธิบดี Xi Jinping ได้กล่าวว่า จีนจะให้ความช่วยเหลือโดยไม่คำนึงถึงเรื่องการเมือง จีนได้ขยายความช่วยเหลือทั้งการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ให้การอบรมและทุนการศึกษาแก่นักศึกษาอัฟริกัน โดยการค้างระหว่างจีนกับ Africa มีมูลค่าถึง สองแสนล้านดอลล่าร์ เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา

3. Grouping on track to be ‘global force’

ในการประชุมกลุ่มประเทศ BRICS ครั้งที่ 5 (ประกอบด้วยประเทศ Brazil Russia India China และ South Africa) ที่เมื่อ Durban ประเทศอัฟริกาใต้ ประธานาธิบดี Xi Jinping ได้ตอกย้ำถึงความมุ่งหวังในความร่วมมือที่มากขึ้นในขณะที่เศรษฐกิจชลอตัว

BRICS ก่อตั้งมา  5 ปี และยังอยู่ในขั้นพัฒนา และควรมุ่งไปที่การสร้างความผูกพันให้มากขึ้น การปรับปรุงคุณภาพชีวิตคน 3 พันล้านคนจะสร้างโอกาส ศักยภาพการร่วมมือของ BRICS การค้าระหว่าง 5 ประเทศ มีมูลค่าเพียง 1% ของโลก ประธานาธิบดี Xi Jinping ประกาศให้นักลงทุนจีนมีส่วนในการพัฒนาเศรษฐกิจโดยไปลงทุนในกลุ่มประเทศ BRICS และเชิญชวนนักลงทุนจากประเทศสมาชิกมาลงทุนในจีน

ในการประชุมได้มีการก่อตั้ง BRICS Business Council ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากทั้ง 5 ประเทศ ที่มีฐานะเท่าเทียมกัน ร่วมกันดำเนินการโดยไม่มีการตั้งผู้นำที่ถาวร โดยจะทำหน้าที่คล้ายกับ World Trade Organization แต่มีขนาดเล็กกว่า มีจุดประสงค์เพื่อแก้ปัญหาข้อขัดแย้งทางการค้า

ที่ประชุมยังได้ตกลงร่วมกันที่จะจัดตั้ง BRICS new development bank ต่อไป


สรุปบทความแปลจากหนังสือพิมพ์

Creating mutual opportunities

จากบทความ ทำให้ทราบว่า แม้จะเป็นผู้นำของมหาอำนาจ เช่นจีน ก็ยังต้องสร้างเครือข่ายกับมิตรประเทศต่างๆ  อย่างเช่นการไปเยือน รัสเซีย ในความร่วมมือร่วมกันระหว่างจีนและรัสเซียในเรื่องพลังงานและข้อตกลงอื่นๆ โดยทัศนของผู้นำที่ว่า

  “แนวโน้มของโลกในปัจจุบัน คือ การเพิ่มขึ้นของการพัฒนาและให้ความร่วมมือและผูกพันธ์กับชุมชนต่างๆในโลก การเผชิญหน้ากันจากสงครามเย็นได้หมดไปแล้ว ไม่มีประเทศใดจะไปครอบงำประเทศอื่น เราต้องเคารพการเลือกวิถีทางในการพัฒนาของประเทศอื่น เราขอคัดค้านการเข้าแทรกแทรงกิจการที่เป็นอำนาจอธิปไตยของประเทศนั้นๆ เรื่องภายในประเทศเป็นเรื่องที่ประชาชนและรัฐบาลภายในประเทศจะต้องตกลงกันเอง”

 

Xi highlights bonds of ‘Shared destiny’

จากบทความก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของผู้นำประเทศมหาอำนาจอย่างจีน โดยประธานาธิบดี Xi Jinpingที่ได้ไปเยือน Tanzaniaเพื่อร่วมพิธีส่งมอบ Julius Nye ere InternationalConvention Centerในวันที่ 25 มีนาคม โดยจีนให้การสนับสนุนด้านการเงิน ด้วยวิสัยทัศน์ที่ท่านได้แสดงไว้ว่า นโยบายต่างประเทศของจีนคือความร่วมแรงร่วมใจกัน กับประเทศในแอฟริกา อย่างต่อเนื่องไม่เปลี่ยนแปลงแม้ว่าจีนจะเติบโตขึ้นอย่างแข็งแกร่งในระดับนานาชาติ ความช่วยเหลือกันและกัน แสดงให้เห็นถึงความเป็นพวกเดียวกันที่มีเป้าหมายร่วมกัน

Xiยังยืนยันในความเท่าเทียมกันแม้ว่าประเทศต่างๆจะมีขนาด, กำลัง และความร่ำรวยไม่เท่ากัน ในการพัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศในแอฟริกาทุกประเทศควรเคารพในเกียรติและความเป็นอธิปไตย

Grouping on Track to be ‘global force’

จากบทความเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่แสดงวิสัยทัศน์ของผู้นำ อย่าง XI ในการประชุมครั้งที่ 5 ของ BRICS(หมายถึง 5 ประเทศ คือ บลาซิล, รัสเซีย, อินเดีย, จีน และ เซาท์แอฟริกา) เมื่อวันที่ 27 มีนาคม นี้ที่เมือง Durban, South Africaเป็นการประชุมเพื่อความร่วมมือกันในเรื่องเศรษฐกิจและการเมือง

Xi Jinpingได้แสดงความเชื่อมั่นแม้ว่าเศรษฐกิจโลกจะเติบโตช้าลง แต่จะไม่กระทบกับเศรษฐกิจของ BRICS เนื่องจากศักยภาพที่มีอยู่ของ BRICS การปรับปรุงมาตรฐานความเป็นอยู่ของคน 3 billion คน จะทำให้สร้างโอกาสในการเกิดโครงการหลักๆขึ้น

อีกทั้งยังสนับสนุนผู้บริหารธุรกิจของจีนเข้าไปลงทุนในประเทศทั้ง 5 (BRICS) โดยในการประชุมครั้งนี้ได้มีการจัดตั้ง BRICS Business Council ขึ้นที่บริหารงานโดยตัวแทนจาก 5 ประเทศ ที่มีจุดประสงค์แก้ปัญหาทางการค้า รวมถึงการโต้แย้งเรื่องธุรกิจระหว่าง 5 ประเทศ

ยิ่งไปกว่านั้นยังร่วมกันจัดตั้ง ธนาคารเพื่อการพัฒนา เพื่อเป็นเงินลงทุนสนับสนุนโครงการต่างๆในการสร้างระบบสาธารณูปโภค

กิจกรรมCSR  วันที่ 27 กุมภาพันธ์ -1 มีนาคม  2556

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงต.หนองสาหร่าย อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี

จากการที่ได้เยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ทำให้เห็นศักยภาพที่เข้มแข็งของผู้นำ ที่มีวิสัยทัศน์ ที่จะนำพาชุมชน ให้ประสบความสำเร็จในการพัฒนา ที่มีการศึกษารู้จักชุมชน มีการจัดระบบ และ ปลูกจิตสำนึกต่างๆให้กับชุมชน โดยจะเน้นในเรื่องของความสามัคคีเป็นหลัก มีการสื่อสาร มอบหมาย และ ติดตามผล และยังแสดงให้ให้ว่าการทำงานจะต้องมีการวางแผนทุกครั้ง มีการกำหนดเป้าหมาย และการวางแผนที่ชัดเจนจึงทำให้ทุกคนที่อาศัยในชุมชนแห่งนี้มีทิศทางการดำเนินชีวิตและการดำเนินการไปในทิศทางเดียว

วิสัยทัศน์จังหวัดกาญจนบุรี และ Panel Discussion Networking Capitalกับการพัฒนาเพื่อประชาชน เขื่อนท่าทุ่งนา จ.กาญจนบุรี

จากแนวคิดและมุมมองจากวิทยากรทุกๆท่าน ที่มอง กฟผ.จากอดีตถึงปัจจุบัน แสดงให้เห็นว่าการสร้างเขื่อนหรือโรงไฟฟ้าต่างๆยังคงมีการขัดแย้งและความไม่เข้าใจกันระหว่าง กฟผ.และชุมชน ซึ่งส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาหรือความขัดแย้งน่าจะมาจากการสื่อสารไม่เข้าใจกันและไม่ตรงกัน ซึ่ง กฟผ. ควรมีการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนได้ทราบถึงวัตถุประสงค์ของการสร้างโรงไฟฟ้าและเขื่อนต่างๆ เพราะเหตุผลหนึ่งที่สร้างโรงไฟฟ้าและเขื่อนต่างๆก็ล้วนแต่เพื่อความสุขของคนไทยซึ่งนั้นก็หมายถึงคนในชุมชนนั้นด้วยอีกทั้งควรต้องรับฟังเสียงความต้องการความคาดหวังจากชุมชน ผู้เป็นเจ้าของพื้นที่ ที่เป็นกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย ที่สำคัญ

กิจกรรม ณ วัดเสือ วัดป่าหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน จ.กาญจนบุรี  พระอาจารย์ภูสิต (จันทร์) ขันติธโรและ นายสัตวแพทย์สมชัย วิเศษมงคลชัย

จากการได้เยี่ยมชมวัดเสือ วัดป่าหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ทำให้ได้ข้อคิดและหลักธรรมในการอยู่ร่วมกัน แม้ว่าจะเป็นเสือที่เป็นสัตว์ดุร้าย  พระอาจารย์ภูสิตเล่าว่าเสือเป็นสัตว์ที่ดุร้ายแต่หากเลี้ยงด้วยใจ เอาใจใส่ ความดุร้ายของมันก็จะสยบลง พระอาจารย์ฯบอกว่าการจะทำให้ชาวบ้านยอมรับกับเรื่องที่วัดเลี้ยงเสือเป็นเรื่องที่ง่ายหากเราต้องทำด้วยใจ  ซึ่งก็คงคล้ายกับ กฟผ.  ที่ กฟผ. ก็ต้องทำให้ชุมชนยอมรับและไว้เนื้อเชื่อใจให้ได้เพื่อความสะดวกในการทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย สร้างเขื่อนและโรงไฟฟ้าต่างๆ ซึ่งจะไม่ยากเลยหากเราทำด้วยความจริงใจและสุจริตดังที่ทางวัดป่าหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน จ.กาญจนบุรี ปฏิบัติ


บุญส่ง จีราระรื่นศักดิ์

26 มีนาคม 2556

1.Panel Discussion หัวข้อ “ นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชนกับการทำงานของ กฟผ.

โดย  ครูบาสุทธินันท์  ปรัชญพฤทธิ์  เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ

  ดร.เสรี  พงศ์พิศ  อาจารย์ ม.ธรรมศาสตร์

  คุณสุทธิเดช  สุทธิสมณ์  กฟภ.

  คุณศานิต  นิยมาคม  วก.11  กฟผ.

-ปัญหาของกฟผ.คือปัจจุบันไม่สามารถสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ๆได้  จะต้องทำอย่างไรให้สังคมเชื่อมั่น

ไว้วางใจและยอมรับ 

-การพัฒนาที่ถูกต้องจะต้องส่งเสริมชุมชนให้มีการเรียนรู้ พึ่งตนเองได้เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยสิ่งที่ต้องการให้สนับสนุนคือเทคโนโลยี วิชาการต่างๆ

เงินแก้ปัญหาสังคมไม่ได้  ปัจจุบันมีเงินท่วมโลก ไม่ได้ขาดแคลนเลย.....สิ่งที่ขาดคือความรู้และปัญญา

-กฟภ.สร้างองค์กรการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดPeter Sengeนำมาทำเป็นยุทธศาสตร์ 3 ขั้นคือ

LO Awareness  , Knowledge Auditing และ Knowledge Critiqueแต่มีปัญหาคือนโยบายขาดความต่อเนื่อง

- สายส่ง กฟผ.ประชาชนไม่ยอมรับ  แต่สายส่งของ กฟภ.ประชาชนกลับยอมรับ เพราะอะไร ต้องเรียนรู้

2.  สรุปหัวข้อเทคนิคการสื่อสารกับสื่อสารมวลชน

- Update List มีข้อมูลของสื่อแต่ละสื่อ และหมั่น Update

- Media Mapping ศึกษาและวิเคราะห์การทำงานของสื่อแต่ละสื่อ รู้จักใครต้องรู้จักให้จริง

- One Message Key Message มีหัวข้อหลักที่ให้สัมภาษณ์เพียง 1 หัวข้อ

- Double Check มีการสรุปบทสัมภาษณ์อีกครั้ง

- Participation and Convenience มีกิจกรรมร่วมกับสื่อ เพื่อสร้างความใกล้ชิดและคุ้นเคย

- Media Network ทราบเครือข่ายของแต่ละสื่อ

- Value Relationship รักษาสัมพันธภาพ คบสื่อแบบเพื่อน

- Truth / Trust มีความน่าเชื่อถือ อย่าให้ข้อมูลเท็จ

- Consistency มีความสม่ำเสมอ

- Sincerity มีความจริงใจ


27 มีนาคม 2556

Panel Discussion

ธรรมาภิบาล ของ กฟผ.

โดยคุณไกรสีห์  กรรณสูต  อดีตผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

คุณสมบัติ ศานติจารี  อดีตผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

อาจารย์ ธรรมรักษ์  การพิศิษฎ์

ดำเนินรายการโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

-  ธรรมาภิบาลหมายถึงการบริหารกิจการที่ดี

-  ต้องพัฒนาผู้นำรุ่นใหม่ให้เป็นมีผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ มีความรู้หลากหลาย มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับstakeholder

-องค์กรที่มีผู้นำเป็นคนดี มีคุณธรรมและจริยธรรม เป็นที่ยอมรับในสังคมทั่วไป จะมีผลประกอบการที่ดี    กว่าองค์กรทั่วๆไป

-หลักธรรมาภิบาล ควรได้รับการขยายจากรุ่นไปสู่รุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ปฏิบัติงานใหม่ของ กฟผ.

-หลักธรรมาภิบาล ไม่ได้ใช้เพียงแต่สำหรับผู้บริหารเท่านั้น ผู้ใต้บังคับบัญชา ก็สามารถปฏิบัติได้เช่นกัน

ธรรมาภิบาลจะเพิ่มจุดแข็งให้กับองค์กร

เศรษฐศาสตร์พลังงาน

บทสัมภาษณ์  อาจารย์มนูญ ศิริวรรณ

-ปัจจุบันทรัพยากรที่สามารถนำมาสร้างเป็นพลังงานเริ่มมีน้อยลงเพราะความต้องการในปัจจุบันมีมากขึ้นเรื่อย ๆ

-นโยบายประหยัดพลังงาน ต้องกำหนดให้เป็นแผนอนุรักษ์พลังงานโดยมีผู้ปฏิบัติงานใน กฟผ. หลาย ๆ ฝ่ายช่วยกัน

-การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ AEC โดยต้องเตรียมโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน เช่นส่งเสริมการปลูกพืชพลังงานทดแทน

-กฟผ.ต้องคำนึงในเรื่องจะกระจายความเสี่ยงอย่างไรหากสร้างโรงไฟฟ้าไม่ได้ทั้งด้าน Demand side และ Supply side

-กฟผ.ต้องวางแผนรองรับสถานการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดในอนาคต ไว้ล่วงหน้าเพื่อรองรับไม่ให้เกิดความเสี่ยงด้านพลังงานในประเทศ  

-กฟผ. ต้องแสดงให้เห็นว่าการสร้างโรงไฟฟ้าดำเนินอย่างโปร่งใส ประชาชนมีส่วนร่วม

ผู้นำกับการสร้างทุนทางจริยธรรมในองค์กร

โดย  อ.ดนัย  จันทร์เจ้าฉาย

-กลยุทธ์น่านน้ำสีขาว (White Ocean Strategy) เป็นการสร้างองค์กรสีขาวที่ไม่หวังผลกำไรเพื่อช่วยเหลือสังคม

-เป็นการสร้างองค์กรองค์กรที่พนักงานมีความสุข เป็นองค์กรที่มีความยั่งยืน ในระยะยาวจะ มีผลประกอบการสูง


28 มีค. 2556

Panel Discussion หัวข้อเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทย...ผลกระทบและการปรับตัวของกฟผ.

โดย รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

อาจารย์มนูญ ศิริวรรณ

ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล

ดำเนินการอภิปราย โดย อาจารย์ทำนอง ดาศรี

-ปีนี้เศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้น

-ตลาดหุ้นไทยขาขึ้นจาก  เศรษฐกิจอเมริกาเริ่มฟื้น ตั้งแต่ 5 เดือนก่อนถึงปลายปีที่แล้ว จากที่ตกมาตั้งแต่ปี 2550   เศรษฐกิจยุโรป มีโอกาสจะพัง  เศรษฐกิจจีนแย่ เป็นครั้งแรกในรอบ 24   เศรษฐกิจญี่ปุ่นดีแต่ยังไม่ฟื้น

-หุ้นสูงขึ้นเพราะต่างประเทศเข้ามา และได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน

-เรากำลังเข้าสู่โลกที่อันตรายที่สุดเพราะภูมิประเทศเปลี่ยนแปลงและภาวะโลกร้อน

-ต้องใช้ Third Industrial Revolution ใช้Alternative Energy & IT เพื่อลดภาวะโลกร้อน

-อีก 15 ปีข้างหน้า ประชากรโลกเพิ่ม 1 พันล้านคน

-จีน จะมีความเสี่ยงในอีก 10 ปีข้างหน้า ความสามารถในการแข่งขันของจีนที่พึ่งแรงงานต้นทุนต่ำกำลังจะหมดไปเพราะเจริญขึ้น รายได้ต่อหัวสูงขึ้น ค่าแรงสูงขึ้น

-อาหรับสปริงมีโอกาสเกิดในจีน

-ถ้าจีนมีปัญหา อาเซียนทุกประเทศจะได้รับผลกระทบ

-อาเซียนจะขยายแบบ Deepening and Widening

-ไทยและจีนจำเป็นต้องเชื่อมโยงกันเพราะจีนเป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ของไทย ญี่ปุ่นลงทุนเป็นอันดับหนึ่งในไทย และจีนลงทุนเป็นอันดับสองในไทย นักท่องเที่ยวจีนมาเที่ยวไทยเป็นอันดับ 1

- ใน 6 ประเทศอาเซียน มีการค้าขายกันเองมากขึ้น

-  North-South Economic Corridor ยูนนาน เชียงราย กรุงเทพ อินโดนีเซีย

- East-West Economic Corridor เว้ ดานัง ลาว พิษณุโลก ประเทศกลุ่มบิมสเทค

- South-south Economic Corridor เกาะกงเสียมเรียบ

-รายงาน IEA เปิดเผยว่า·  จะมีการเปลี่ยนแปลงปัจจัยพื้นฐานพลังงานโลก  จะลดการใช้พลังงานนิวเคลียร์  สหรัฐจะผลิตก๊าซธรรมชาติได้มากขึ้น ราคาถูกเพราะไม่ผูกกับราคาน้ำมัน ต่างจากที่อื่น  ในเอเชียสูงกว่า 8 เท่า ในยุโรป สูงกว่า 5 เท่า ต้องมีการปรับเปลี่ยน·  การใช้พลังงานฟอสซิลมาก   ทำให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 3 ต้องใช้พลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

-ต้องพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนให้ถูกลงและรัฐต้องสนับสนุน

-ในอนาคตสหรัฐไม่ต้อพึ่งพาน้ำมันจากตะวันออกกลาง และอาจเป็นผู้ส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ

-ต่อไปก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยจะลดลงเหลือ 2 พันล้านลูกบาศก์ฟุตใน 10 ปีข้างหน้า

-ก๊าซธรรมชาติอ่าวไทยมีแนวโน้มจะหมดไปในอีกไม่เกิน 15-18 ปีข้างหน้า

-เราบริโภคพลังงานสูงเป็นอันดับสองในกลุ่มอาเซียนรองจากอินโดนีเซีย-  ทั้งๆที่เรามีจำนวนประชากรเป็นอันดับสี่ในกลุ่มอาเซียน (อินโดนีเซีย/ฟิลิปปินส์/เวียตนาม)

-มีความเสี่ยงสูงในการต้องพึ่งพาพลังงานจากภายนอกประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ -  โดยเฉพาะจากประเทศเพื่อนบ้านล่าสุดรมว.พลังงานสั่งการให้ปรับแผนซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านเพิ่ม-  พม่า: จาก 1,500 MW เป็น 10,000 MW-  ลาว: จาก 7,000 MW เป็น 10,000 MW

-ค่าไฟฟ้าฐานอาจขึ้นไปถึง 5-6 บาท/หน่วยในปีพ.ศ. 2573

-การพึ่งพาพลังงานชนิดเดียวในการผลิตไฟฟ้ามากเกินไป และพึ่งพาการนำเข้าในอัตราที่สูงทำให้มีความเสี่ยงต่อการที่จะเกิดไฟฟ้าดับเป็นบริเวณกว้าง (Black Out) สูงมาก

-นโยบายโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์ไทยในช่วง 50 ปีผ่านมา เน้นการพัฒนาระบบคมนาคมทางถนนมากจนเกินไป ละเลยระบบขนส่งมวลชนทางราง ที่ขนคนได้ในปริมาณมากๆ สะดวกและรวดเร็ว ไม่ส่งเสริมให้มีการขนส่งระบบท่อที่มีประสิทธิภาพสูง ลดการสูญเสีย และอุบัติเหตุ  ส่งผลให้ต้นทุนด้านโลจิสติกส์ต่อ GDP ของไทยสูงถึง 15.2%-  เพราะมีการขนส่งสินค้าและบริการทางถนนสูงถึง 82.6%

ผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.

ปรับองค์กรเพื่อรองรับการแข่งขันและโอกาสทางธุรกิจที่จะเข้ามาในอนาคต

·  ต้อง พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการเป็นศูนย์กลางโครงข่ายด้านพลังงานในอาเซียน

·  ตอบสนองโจทย์ด้านพลังงานเพื่อความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อมที่ดี (green energy)

พลิกบทบาทเป็นผู้นำด้านพัฒนาพลังงานหมุนเวียนและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในอาเซียน

·  แสวงหาลู่ทางการลงทุนด้านพลังงานในประเทศเพื่อนบ้านใน AEC

TQM/SEPA: ความเป็นเลิศและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ กฟผ.

รวห.พิบูลย์  บัวแช่ม

อ.สัญญา เศรษฐพิทยากุล

อ.นริศ  ธรรมเกื้อกูล

กฟผ.มี vision ให้เป็นองค์กรชั้นนำซึ่งประกอบด้วย

1.  มีธรรมาภิบาล(cooperate governance)

2.  เป็นองค์กรสมรรถนะสูง(HPO)

3.  มีการบริหารจัดการที่ยอดเยี่ยม(Operational Excllent)

4.  เป็นองค์กรที่ประเทศชาติภูมิใจ(National Pride)

5.  ความมั่นคงทางการเงิน(financial value)

- การทำ TQA/SEPA เป็นเรื่องที่ดีจริง  แต่อย่าทำถ้า ผวก.หรือ รอง ผวก.ไม่เอาด้วย

- การทำ TQM ก็เพื่อปิดgap ระหว่างสิ่งที่เราเป็นอยู่กับเป้าหมายที่เราต้องการ

- หมวด 0(ศูนย์)สำคัญมาก  เพราะหมวดอื่นๆต้องสอดคล้องกับหมวดนี้ที่บรรยายไว้ทั้งหมด

- ไม่ควรแยกกันเขียนแล้วนำมารวมกันภายหลัง จะไม่รู้เรื่องควรจะรวมกันเขียนโดยมีทีมเขียนโดย เฉพาะโดยนำผู้รู้แต่ละสาขามาให้ข้อมูล

- TQM เป็นหลักการบริหาร  และ TQA หรือ SEPA เป็นเกณฑ์การวัด

- EGAT WAY เป็นการพัฒนา TQM ในรูปแบบของกฟผ.โดยนำหลายๆระบบคุณภาพมารวมกัน

ไม่ว่ากฟผ.จะทำระบบใดทีสำคัญต้องให้ผู้ปฏิบัติงานทุกระดับ รับรู้และเข้าใจก่อนจึงจะสำเร็จ


29 มีนาคม 2556

หัวข้อแนวคิด Blue Ocean กับการทำงานของกฟผ.และการปรับใช้เพื่อสร้างโครงการแบบนวัตกรรมของ
กฟผ.

โดยรศ.ดร.สมชาย  ภคภาสน์วิวัฒน์

Red ocean

-สู้ในตลาดที่มีสินค้าและบริการตัวเก่า  เอาชนะคู่แข่งโดยใช้กลยุทธ์ด้านราคา  พยายามเอาลูกค้ามาเป็นของเราหมด  ใช้กลยุทธ์สร้างความแตกต่างหรือราคาเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง

Blue Ocean

-สร้างสินค้าและบริการตัวใหม่(Innovation)

-สร้างอุปสงค์(ความต้องการของคน)ใหม่ขึ้นมา  (New Demand) ทำให้มีโอกาสเติบโต และมีสัดส่วนกำไรที่มากขึ้น

-ไม่มุ่งเน้นแข่งขันกับคู่แข่ง

- ใช้ได้ทั้งกลยุทธ์ด้านราคาและสร้างความแตกต่างไปพร้อมกันซึ่งจะทำให้เกิดนวัตกรรมที่มีคุณค่า (Value Innovation)

-ต้องปรับ mindset จึงจะเป็น blue ocean ได้


บุญส่ง จีราระรื่นศักดิ์

สรุปบทควมแปลจากนสพ.

Creating mutual opportunities

ประธานาธิบดี ซิ จินปิงของจีนกล่าวสุนทรพจน์ ครั้งแรกไว้เมื่อเดือนมีนาคม และเป็นกล่าวในการเยื่อน

กรุง มอสโคว 

  การเผชิญหน้าในสงครามเย็นจะไม่ยั่งยืนอีกต่อไป  ขณะนี้การก้าวสู่ขั้นของการเปลี่ยนแปลง จากอดีตยุคเก่าที่เป็นแบบสงครามเย็นและยุค Zero-sum game จะถูกกำจัดออกจากระบบ

  มันอาจจะเป็นไปไม่ได้สำหรับประเทศที่เป็นประเทศเดี่ยวๆ หรือกลุ่มประเทศที่จะครอบงำระหว่างประเทศ เหมือนเป็นประเทศที่กำลังโผล่ขึ้นมา (emerging economics and developing country) ซึ่งจะเข้าสู่การพัฒนาประทศและการเจริญเติบโตในหลายรูปแบบและเป็นศุนย์กลางของโลก

ซิยังเตือน โดยต่อต้านการแทรกแซงนโยบายระหว่างประเทศ ของประเทศต่างๆ เขากล่าวว่า เราควรเคารพสิทธิของแต่ละประเทศ โดยให้มีความอิสระในการเลือกแนวทางการพัฒนาประเทศ เราไม่สนับสนุนการเข้าแทรกแซงอธิปไตยของประเทศอื่น

จีน ควรที่จะแสดงความเป็นอธิปไตยของประเทศอย่างเข้มแข็ง  โดยภาครัฐและประชาชน ในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นเพียงแค่การแก้ปัญหาโดยผ่านการเจรจาระหว่างภาครัฐบาลและประชาชน

  ความสัมพันธ์ที่เข้มแข็ง ไม่เพียงแต่ 2 ประเทศเท่านั้น  ซิ ได้ตัดสินใจที่จะเจรจากับ นักศึกษาในวิทยาลัยในรัสเซีย โดยทั้งสองประเทศจะยกระดับความเข้าใจของทั้งสองประเทศ และเป็นการเจรจา 2 ฝ่ายในการพัฒนาเยาวชนของทั้งสองซึ่งจะผูกพันธ์ถึงระยะเวลาที่ทั้งสองประเทศเกิดภาวะวิกฤตของการฟื้นฟูประเทศ

ทั้งสองประเทศมีความชัดเจนมากในการเริ่มสร้างความฝันและการพัฒนาที่จะมาสนับสนุนข้อตกลงของแต่ละประเทศ ซึ่งจะรักษากลยุทธและความร่วมมือทางเศรษฐกิจอย่างเข้มแข็ง

5Grouping on track to be ‘ grobal force ‘

  การประชุมร่วมกันของ 5 ผู้นำประเทศ BRICS ครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2556 ที่เมืองเดอบาน  อาฟริกาใต้  เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาเศรษฐกิจและการเมือง

  ทั้ง 5 ประเทศประกอบด้วย บราซิล , รัสเซีย , อินเดีย , จีน และ อาฟริกาใต้ ซึ่ง นายสี  จิ้นผิง

ประธานาธิบดีของจีนได้แสดงความเชื่อมั่นถึงความสำเร็จของความร่วมมือกันในทางเศรษฐกิจถึงแม้

ว่าขณะนี้เศรษฐกิจโลกจะถดถอย 

  จากการสำรวจศักยภาพของความร่วมมือกันของ BRICS พบว่าปริมาณการค้าของ 5 ประเทศ

นี้น้อยกว่า 1 % ของปริมาณการค้าโลก  เขาสนับสนุนนักลงทุนชาวจีนเข้ามาร่วมทำธุรกิจในกลุ่ม BRICS ร่วมทั้งนักลงทุนประเทศอื่นในกลุ่ม BRICS ด้วย  นอกจากนั้นเขายังสนับสนุน BRICS และประเทศต่างๆในทวีปอาฟริการ่วมมือกันเพื่อส่งเสริมให้อาฟริกาเป็นเขตเศรษฐกิจใหม่ของโลก

  ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ขอให้มีการประชุมในกลุ่มของ BRICS และขอให้สนับสนุนคณะกรรมการ BRICS Business ที่ถูกตั้งขึ้นมา  คณะกรรมการจะปฏิบัติงานภายใต้ผู้แทนของแต่ละประเทศทั้ง 5 ประเทศ  ซึ่งจะทำให้การปฎิบัติงานต่างๆมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นซึ่ง

การทำงานจะคล้ายกับองค์การการค้าโลก เพียงแต่Scaleเล็กกว่าเท่านั้นเพื่อแก้ปัญหาทางการค้าต่างๆและพยายามให้เกิด Free Trade Zone นอกจากนั้นยังมีการลงนามร่วมกันก่อตั้งสภา BRICS Think Tank จนพัมนามาเป็นธนาคารเพื่อการพัฒนา BRICS ( BRICS newDevelopment  bank ) วงเงิน 4.5 ล้านล้านเหรียญดอลล่าห์  เพื่อใช้ในการพัฒนาสาธารณูปโภคต่างๆ

Xi highlights bonds of shared destiny

  จีน จะใช้ความพยายามในการขยายความสัมพันธ์กับแอฟริกา เหมือนเป็นการเชื่อมความสำคัญของกลุ่มประเทศดังกล่าว ท่ามกลาง การร่วมชะตากัน เป็นคำกล่าวของประธานาธิบดี ซิ ของจีนเมื่อวันที่ 25 มีนาคม ในการกล่าวสุนทรพจน์ ครั้งแรกของเขาในนโยบายความร่วมมือของทั้งสองประเทศ

  ความสัมพันธ์ของจีนและแอฟริกามีความซับซ้อนมากขึ้นเมื่อเทียบกับในอดีตที่ผ่านมา และผู้นำประเทศจะต้องแสดงเชาว์ปัญญาในการจัดการรูปแบบความสัมพัพันธ์ดังกล่าว

  ประธานาธิบดี ซิ ได้ไปเยือนแอฟริกาเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง และกล่าวที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติ Julius Nyerere ซึ่งเป็นศูนย์ประชุมที่จีนสร้างให้ใน Tanzania และ ฉลองการส่งมอบในวันที่ 25 มีนาคม ว่า “ขอให้มั่นใจว่า จีนจะมุ่งมั่นขยายความสัมพันธ์กับแอฟริกาอย่างเข้มข้น”

  การค้าระหว่างจีนกับแอฟริกามีมูลค่าถึง 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐเมื่อปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ จีน ยังจะให้เครดิตแก่ประเทศแอฟริกา2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ตั้งแต่ปี 2013-2015 และปักกิ่งจะขยายความร่วมมือในการลงทุน, ภาคการเงิน, และการพัฒนาสาธารณูปโภคการคมนาคมระหว่างประเทศและระหว่างูมิภาคในแอฟริกาอีกด้วย

  จีนจะฝึกอบรมในระดับอาชีพให้แก่ชาวแอฟริกันจำนวน 30,000 คน และจะมอบทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนจากแอฟริกาจำนวน 18,000 คน และเพิ่มการถ่ายทอดเทคโนโลยีรวมถึงการแบ่งปันประสบการณ์

  ประธานาธิบดี ซิ ยืนยันความเสมอภาคเท่าเทียมกันระหว่าง 2 ประเทศ โดยไม่แบ่งแยกด้วยขนาดของประเทศ ความแข็งแกร่งของประเทศ หรือความมั่งคั่งของประเทศ นอกจากนี้ยังกล่าวว่า ปักกิ่งคาดหวังความเป็นหนึ่งเดียวของประเทศแอฟริกาและความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นกับประเทศอื่นๆ

  ประธานาธิบดีของ Tanzania นาย Jakaya กล่าวว่า “ความสัมพันธ์ระหว่าง  Sino-Tanzania มีมาอย่างมั่นคงยาวนาน และเป็นบทพิสูจน์ทางกาลเวลาว่าเราต่างเป็นเพื่อนที่จะเติบโตไปด้วยกัน” นอกจากนี้ยังกล่าวด้วยว่า “นโยบายของ Tanzania ต่อจีนนั้นถูกชี้นำด้วยการตัดสินของ Tanzania เองซึ่งมาจากความสนใจขั้นพื้นฐาน และที่ผ่านมาจีนได้เป็นผู้สนับสนุนที่พึ่งพาได้ และการรวมตัวของประเทศต่างๆในแอฟริกา และประเทศโลกที่ 3 จะถูกดึงดูดด้วยความเที่ยงตรงในโลกเศรษฐกิจเท่านั้น”


นายพลศรี สุวิศิษฏ์อาษา

Creating mutual opportunities

ประธานาธิบดีของจีน ซิ จินปิง หลังจากได้รับตำแหน่งใหม่ ได้ไปเยือนประเทศรัสเซียและได้กล่าวสุนทรพจน์มีใจความว่า

- การเจรจาทวิภาคี จะเป็นกลยุทธ ที่เข้มแข็งในการสร้างความสมดุลและความสงบได้

- แนวมางในการพัฒนาประเทศของจีน คือการสร้างโอกาส เพื่อทดแทนการสร้างจุดอันตราย

- การสื่อสารระหว่างประเทศ จากส่วนต่างๆของโลกจะเหมือนมีความใกล้ชิดกันและมีแนวโน้มการร่วมมือและมีการการพัฒนา ในเรื่องใหม่ๆ

- การเผชิญหน้ากันในสงครามเย็น จะไม่มีการยั่งยืนอีกต่อไป

- การรวมศุนย์อำนาจ จะถูกกำจัดออกไปจากระบบ

- จะต้องไม่มีการครอบงำระหว่างกัน เหมือนกับเป็นประเทศที่เศรษฐกิจเกิดใหม่และกำลังพัฒนา
ซึ่งจะเริ่มเข้าสู่การพัฒนาประทศและการเจริญเติบโตในรูปแบบที่หลากหลาย และเป็นศูนย์กลางของโลก

- ต่อต้านการแทรกแซงนโยบายระหว่างประเทศ ของประเทศอื่นๆ ควรเคารพสิทธิของแต่ละประเทศ
โดยให้มีความอิสระในการเลือกแนวทางการพัฒนาประเทศ ไม่สนับสนุการเข้าแทรกแซงอธิปไตยของประเทศอื่น

- จีน ควรที่จะแสดงความเป็นอธิปไตยของประเทศอย่างเข้มแข็ง โดยรัฐบาลและประชาชน - ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศควรเป็นการแก้ปัญหาโดยการเจรจาระหว่างรัฐบาลและประชาชน

- การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจีนและประเทศรัสเซีย ควรมีการให้สัญญากันก่อนที่จะเริ่มความสัมพันธ์ทางการฑูตและสร้างโอกาสในการพัฒนาของทั้งสองประเทศ

- ทั้งสองประเทศจะยกระดับความเข้าใจของทั้งสองประเทศ และเป็นการเจรจา 2 ฝ่ายในการพัฒนาเยาวชนของทั้งสองซึ่งจะผูกพันธ์ถึงระยะเวลาที่ทั้งสองประเทศเกิดภาวะวิกฤตของการฟื้นฟูประเทศ

- ทั้งสองประเทศมีความชัดเจนมากในการเริ่มสร้างความฝันและการพัฒนาที่จะมาสนับสนุนข้อตกลงของแต่ละประเทศ ซึ่งจะรักษากลยุทธและความร่วมมือทางเศรษฐกิจอย่างเข้มแข็ง

- ความไว้วางใจอย่างลึกซึ้ง ของทั้งจีนและรัสเซีย

- มีการแลกเปลี่ยนและร่วมมือทางการทหารในอนาคต

นายพลศรี สุวิศิษฏ์อาษา

วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม 2556

หัวข้อ Blue Ocean แนวคิดที่ได้รับ Blue Ocean คือนวัตกรรมสินค้าหรือบริการ ที่คิดขึ้นมาใหม่ ไม่ได้แข่งขันในธุรกิจตัวเดียวกัน หรือบริการอย่างเดียวกัน โดยอาจเป็นการสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับลูกค้าโดยที่ กฟผ.
ได้ให้การสนับสนุนในเรื่องนี้ โดยมีฝ่ายวิจัยและพัฒนาคอยดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะ และมีการส่งเสริมโดยมีการให้รางวัลในทุกๆปี สำหรับพนักงานที่ได้สร้างผลงานที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ

High Performance Organization ที่ กฟผ.
โดยสรุปองค์กร HPO จะต้องมี

- High  Trust

- Produce Knowledge

- Team Discussion

- Horizontal Flow-based Organization

- Dynamic Structure Companies without walls

นายพลศรี สุวิศิษฏ์อาษา

5Grouping on track to be ‘ grobal force ‘

การประชุมร่วมกันของ 5 ผู้นำประเทศ BRICS (บราซิล, รัสเซีย, อินเดีย, จีน และ อาฟริกา) ครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2556 ที่เมืองเดอบาน อาฟริกาใต้ เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจและการเมือง  การให้ความร่วมมือ ในการแก้ปัญหาทางการเงินและการทำธุรกิจ
- นายสี  จิ้นผิง เชื่อมั่นว่าจะมีความสำเร็จในการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจ
ขณะที่เศรษฐกิจโลกกำลังถดถอย

- BRICS ก่อตั้งมา 5 ปี อยู่ในช่วงของการพัฒนา ควรให้การส่งเสริมมากขึ้นการปรับปรุงมาตรฐานความเป็นอยู่ขอประชากร 3,000 ล้านคน

- การสร้างโอกาสในการทำธุรกิจมหาศาล

- จากการสำรวจของ BRICS พบว่า ปริมาณการค้าของ 5 ประเทศนี้น้อยกว่า 1 % ของปริมาณการค้าโลก 

- ควรสนับสนุนนักลงทุนชาวจีนให้เข้ามาร่วมทำธุรกิจในกลุ่ม BRICS มากขึ้น รวมทั้งนักลงทุนประเทศอื่นในกลุ่ม BRICS ด้วย

- ส่งเสริมให้อาฟริกาเป็นเขตเศรษฐกิจใหม่ของโลก

นายพลศรี สุวิศิษฏ์อาษา

Xi highlights bonds of shared destiny

กลุ่มประเทศในภูมิภาคควรมีการแลกเปลี่ยนความร่วมมือกันระหว่างประเทศ จะเป็นการเพิ่มความเข้มแข็ง

จีนจะขยายความสัมพันธ์กับประเทศแอฟริกา รวมทั้งประเทศอื่นๆ

ความสัมพันธ์ของจีนและแอฟริกามีความซับซ้อนมากขึ้นเมื่อเทียบกับที่ผ่านมาในอดีต และผู้นำประเทศจะต้องจัดการรูปแบบความสัมพัพันธ์ดังกล่าวนั้น

ประธานาธิบดีจีน ไปเยือนแอฟริกาเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง

จีนมุ่งมั่นขยายความสัมพันธ์กับแอฟริกา

นโยบายการต่างประเทศของจีน
ความร่วมมือเป็นหนึ่งเดียวของประเทศในแอฟริกาเป็นเรื่องสำคัญ

จีนแลแอฟริกาจะยังคงสนับสนุนกันและกันโดยปราศจากเงื่อนไขทางการเมือง

ในปีที่ผ่านมาการค้าระหว่างจีนกับแอฟริกามีมูลค่า 200,000 ล้าน USD

จีนให้เครดิตแก่ประเทศแอฟริกา 20,000 ล้าน USD

จะขยายความร่วมมือในการลงทุน,การเงิน, การสาธารณูปโภค, การคมนาคมระหว่างประเทศและระหว่างูมิภาค

จีนจะมีการฝึกอบรมในระดับอาชีพให้ชาวแอฟริกา 30,000 คน

จะมอบทุนการศึกษาให้แก่นักเรียน 18,000 คน

ถ่ายทอดเทคโนโลยี,แบ่งปันประสบการณ์

ความเสมอภาคกันระหว่าง 2 ประเทศ โดยไม่แบ่งแยกด้วยขนาดหรือความเข้มแข็งของประเทศ
หรือความมั่งคั่งของประเทศ

การให้เกียรติและเคารพความเป็นอิสรภาพของแอฟริกา

ความจริงใจในการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

ความสัมพันธ์แบบให้เกียรติกันและกัน

ความร่วมมือกันแบบ วิน-วิน

นาย Jakaya ประธานาธิบดีของ Tanzania กล่าวว่า ความสัมพันธ์ระหว่าง Sino-Tanzania มีมาอย่างมั่นคงยาวนาน
และเป็นบทพิสูจน์ว่าเราต่างเป็นเพื่อนที่จะเติบโตไปด้วยกัน

จีนเป็นผู้สนับสนุนที่พึ่งพาได้ และการรวมตัวกันของประเทศต่างๆในแอฟริกา และประเทศโลกที่ 3 จะถูกดึงดูดด้วยความเที่ยงตรงในโลกเศรษฐกิจเท่านั้น

James F Mbatia ประธานกรรมการวิศวกรก่อสร้างศูนย์ประชุม กล่าวว่า ชาวแอฟริกันตัดสินได้ว่าใครเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือ

นายพลศรี สุวิศิษฏ์อาษา

วันที่ 1 มีนาคม 2556
วัดเสือ

เป็นวัดที่มีการเลี้ยงสัตว์ที่ดุร้ายด้วยเช่นเสือ

การดูแลสัตว์เป็นไปด้วยความรักและความเมตตา

มีการบริหารจัดการที่ดี เป็นที่รู้จัก ทำให้
มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมาก

มีสัตวแพทย์คอยดูแลสัตว์

มาที่นี่ได้นอกจากได้ดูสัตว์ต่างๆ
เพื่อพักผ่อนหย่อนใจแล้ว ยังได้ทำบุญ สัตว์ต่างๆดูเหมือนว่าอยู่อย่างมีความสุข

บทความ Creating mutual opportunities
  ผู้นำจีน Xi Jinping เยือนรัสเซียก่อน BRICS Summit  
  จีนและรัสเซียกระชับความสัมพันธ์ โดยไม่มีการแทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน เพื่อเป้าหมายร่วมกันคือเพิ่มโอกาสของการพัฒนาประเทศของตน

บทความ Xi highlights bonds of 'shared deatiny'
  ผู้นำจีน Xi Jinping เยือนแทนซาเนียก่อน BRICS Summit  
  จีนจะยังคงให้ความช่วยเหลือแทนซาเนียและประเทศในอาฟริกาต่อไป ในลักษณะ win-win cooperation และจะขยายความร่วมมือทางการค้าและการลงทุน โดยไม่แทรกแซงทางการเมือง จะคบหากันแบบเพื่อน

บทความ Grouping onn track to be 'global force'
  BRICS Summit  ครั้งที่ 5 แสดงให้เห็นศักยภาพในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของโลก
  อัตราการเติบโตที่ลดลงของเศรษฐกิจโลกไม่เป็นอุปสรรคของพัฒนาการของ BRICS ที่ประชุมได้บรรลุข้อตกลงในการจัดตั้ง common development bank และ BRICS business

สรุป

จีนกำลังแสวงหาตลาดใหม่ภายนอกประเทศ และก้าวเข้ามามีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจโลกโลกมากขึ้นๆ


นายพลศรี สุวิศิษฏ์อาษา

วันที่ 14 พฤษภาคม 2556
กิจกรรม รักษ์กาย รักษ์ใจ ณ ศูนย์ธรรมชาติบำบัดบัลวี

ทฤษฎีการกินใหม่
กินเนื้อ กินผัก ลดการกินแป้งและผลไม้
เนื้อจะให้โปรตีน เต้าหู้ก็เป็นโปรตีน
ผักจะให้ในส่วนของวิตามินและเกลือแร่ เส้นใย กาก
ข้าว จะให้คาร์โบไฮเดรท ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาล และพลังงาน
ถ้าใช้ไม่หมด ไขมันก็จะไม่ถูกใช้
ผลไม้ มีรสหวาน น้ำตาลมาก ส่งผลเหมือนแป้ง
โดยสรุป ควรกินเนื้อ 1 ส่วน และผัก 2 ส่วน

การออกกำลังเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับร่างการโดยเฉพาะคนที่ไม่ได้ใช้แรงงาน
เพื่อช่วยให้การเผาผลาญส่วนเกินต่างๆในร่างกายออกไป
การออกกำลังกายในน้ำจะช่วยลดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและข้อได้
เพราะน้ำจะช่วยพยุงร่างกายไว้

นายพลศรี สุวิศิษฏ์อาษา

วันที่ 15 พฤษภาคม 2556
ประเด็นท้าทาย กฟผ.
- ค่าไฟฟ้าจะต้องถูก
- ลูกค้าต้องต่อเนื่อง เช่น กฟน. กฟภ. ในอนาคตจะซื้อไฟได้เองหรือไม่
- การขยายการทำธุรกิจ เช่นการลงทุนร่วมกับผู้ผลิตแผงโซลาเซล
- สายส่งที่มีอยู่ทั่ว สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์เพิ่มขึ้นได้หรือไม่ เช่นเรื่องการสื่อสาร
- การหาแหล่งเงินทุนราคาถูก
- การร่วมมือกับประเทศเพื่อบ้านเช่นโครงการสาละวิน
- Demand ที่เพิ่มขึ้นตลอด
- สัดส่วนในการผลิตที่ลดลง (ปัจจุบัน 46%)
- คู่แข่งที่โตขึ้นเรื่อยๆ (IPP บางราย)

ประเด็น กฟผ. กับ AEC
- จะมีการลงทุนมาก จำเป็นจะต้องมีผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน
- การประชาสัมพันธ์บนพื้นฐานของความเป็นจริง
- การพยากรณ์จะต้องแม่นยำ
- การประสานงานกับภาครัฐ
- พลังงานทางเลือก
- ธุรกิจอื่นๆ นอกจากการผลิตและจำหน่าย เช่นการจัดการน้ำ การสื่อสาร บุคคลากรที่มีคุณภาพ
- มีเรื่องต่างๆที่ต้องดำเนินการมากจึงต้องทำ to do list / up to date / priority / just in time / time frame
- ต้องรู้ให้จริงเรื่องพลังงาน
- ระบบการจัดการ การเรียนการสอน
- ส่งออก Manager
- สร้าง trust

นายพลศรี สุวิศิษฏ์อาษา

วันที่ 16 พฤษภาคม 2556
EGAT Leader & Teamwork
- การคิดอย่างมีกลยุทธ์
- เป้าหมายถ้าใหญ่ต้องซอยย่อย
- คุณค่า แรงบันดาลใจ ความฝัน ความพากเพียร
- บริหารกาย ใจ ให้ร่วมกัน การสื่อสารให้ตรง ใช้คนให้ตรงกับงาน
- การร่วมมือกับพันธมิตร (networking)

Art & Feeling of Presentstion
- 55% พลังทางกาย หมายถือท่าทาง
- 38% พลังทางการสื่อสารหมายถึงภาษาที่ใช้สื่อสาร
- 7% เป็นเรื่องความคิดสร้างสรร ซึ่งน้อยมาก

นายพลศรี สุวิศิษฏ์อาษา

วันที่ 17 พฤษภาคม 2556
บุคลิกภาพของนักบริหารยุคใหม่
- การแต่งตัว / มาด / อารมณ์ / กาละเทศะ / พูดจาดี
- สีสัน / สัดส่วน / เส้นสาย
- มรรยาทบนโต๊ะอาหาร
- การนั่งรถกับแขก

ปัญหาการทุจริตในภาครัฐ
- เกิดจากระบบอุปถัม ที่สะสมมานานต้องใช้เวลา
- การแก้ไขต้องให้ความรู้แก่ประชาชน
- การเปลี่ยน องค์กรไม่ได้เปลี่ยน ต้องเปลี่ยนที่ตัวพนักงาน

Change Management
- ต้องรู้จักเปลี่ยนก่อนที่จะมีคนมาบังคับให้เราเปลี่ยน
- Tool คือเครื่องมีอ มีหลายอย่าง ไม่จำเป็นต้องใช้ทุกอย่าง ในทุกๆเรื่อง
  ต้องรู้จักเลือกใช้ให้เหมาะสม
- Human Performance Framework เป็นแนวทาง
- ที่สำคัญที่สุดคือ Competency / Motivations
- Change Model ต้องเข้าไปจัดการตั้งแต่ช่วง Transition State

วันอังคารที่14พค56 กิจกรรม รักษ์กาย รักษ์ใจ ณ ศูนย์ธรรมชาติบำบัดบัลวี

ทำให้ทราบว่าเราควรจะรู้ถึงวิธีเลือกอาหารที่จะกินในแต่และมื้อว่ากินแล้วจะเกิดอะไรขึ้น และวิธีที่จะควบคุมไม่ยากอย่างที่คิดแค่ “กินเนื้อ กินผัก” ลดคาร์โบไฮเดรต

วันพุธที่ 15 พค 56 ประเด็นท้าทายสำหรับ กฟผ/การก้าวสู่ AEC

  จากการแลกเปลี่ยนทำให้เกิดสัญญานที่ชัดเจนสำหรับ กฟผ. ที่ต้องเร่งคิดและเร่งทำคือ การที่ต้องรีบปรับตัว ปรับBusiness Models ของ กฟผ ใหม่ ซึ่งอาจจะต้องหามืออาชีพทางด้านการเงิน มาช่วยในการบริหาร มิฉะนั้น กฟผ ก็อาจจะเป็นองค์กรที่ตัวเล็กลงเรื่อยๆ  จนถึงขั้นอาจจะไม่มีตัวตนเลยก็ได้ ถ้าไม่รีบขยับตัวเองอย่างเร่งด่วน

วันพฤหัสที่ 16 พค 56 EGAT Leader & Teamwork / Art& Feeling of Presentation and Effective Public Speaking

  จากการสอนของอาจารย์ ทำให้ทราบถึงเทคนิคของการเป็นผู้นำและการบริหาร Teamworkให้สามารถขับเคลื่อนไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยรวมแล้วก็ต้องทำให้Team ต้องมีการร่วมกันทั้ง กายและใจ และเทคนิคของการบริหารทั้ง นายและลูกน้อง ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด รวมถึงการสื่อสาร โดยต้องใช้ภาษาให้ตรงประเด็น ทั้งภาษาพูดและภาษากาย ได้อย่างเหมาะสม

วันศุกร์ 17 พค 56 บุคคลิกภาพของนักบริหารยุคใหม่/ประสบการณ์การทำงานของ ศาสตราจารย์พิเศษ วิชา มหาคุณ/การบริหารการเปลี่ยนแปลง

  ทำให้ทราบถึงวิธีดูแลและปรับปรุงบุคคลิกภาพของตัวเราเอง  เพื่อให้เกิดบุคคลิกภาพที่ดูดีและเหมาะสมในการเข้าสังคม

  จากประสบการณ์การทำงานของอาจารย์ ทำให้คิดได้ว่าควรจะต้องทำให้องค์กรที่เราอยู่ควรจะเป็นองค์กรที่เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นตลอด  โดยเน้นไปที่การพัฒนาบุคคลากรภายในองค์กรให้มีคุณธรรม และจริยธรรมสูงขึ้นเลื่อยๆ

  ได้ทราบถึงเครื่องมือการบริหารการเปลี่ยนแปลง

วันเสาร์ที่18พค56 การเสนอผลงานกลุ่ม EADP9

  ทำให้ทราบถึงคุณภาพของEADP9ที่สร้างสรรค์นวตกรรมในด้านต่างๆซึ่งทำให้เห็นถึงทางเลือกของEGAT

ที่จะมีทางที่จะพัฒนาให้เกิดสิ่งใหม่ๆในด้านต่างๆเพื่อทำให้EGATปรับตัวเข้าสู่AECได้อย่างเหมาะสม

  ชัยรัตน์  เกตุเงิน


14 พค. 56 

  กิจกรรม รักษ์กาย รักใจ ณ ศูนย์ธรรมชาติบำบัดบัลวี

  ได้ความรู้เรื่องการทานอาหารเพื่อให้มีสุขภาพดี  ลดอาหารจำพวกแป้ง  ทานเนื้อสัตว์ 1ส่วน  ผัก 2ส่วน  รวมทั้งการออกกำลังกายในน้า รวมทั้งการอบสมุนไพร การอบซาวน่าสลับกับการอาบน้าเย็น

15 พค. 56

  ประเด็นท้าทายสำหรับ กฟผ. / การก้าวสู่ AEC

  ในปี 2015 ประเทศไทยจะก้าวสู่ AEC ทำให้มีประเด็นที่ท้าทาย กฟผ. ที่ต้องนำมาคิดเพื่อปรับตัวให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งจากต่างชาติ  เช่น  ต้องมี CFO ความสามารถในการคาดการณ์ความเสี่ยงต่างๆที่จะต้องเผชิญในอนาคต  การพัฒนาบุคลากรให้แข่งขันได้  คิดถึงพลังงานทางเลือก

16 พค. 56

  Egat Leader& Teamwork/ Art&Feeling of Presentation

  การทำงานของกฟผ. ต้องมบุคลากรที่เป็นผู้นำและทำงานเป็นทีม  โดย ต้องใช้ คุณค่า ที่มีในองค์กรสร้างแรงบันดาลใจ ทำงานด้วยความพากเพียร  ร่วมมือร่วมใจกัน

  ศิลปะในการแสดงออก มีผลต่อความประทับใจต่อผู้ได้พบเห็น  ภาษากาย มีผล 55%  ภาษาสื่อสารมีผล 38%  ความคิดสร้างสรรค์ มีผล 7%

17 พค. 56

  บุคลิคภาพของนักบริหาร/ ประสบการณ์ของศาสตราจารย์ วิชา  มหาคุณ  / การบริหารความเสี่ยง

-  ทราบถึงวิทีการแต่งตัว มารยาทบนต็อาหาร  การรับแขก

-  ตระหนักถึงปัญหาทุรจิตในองค์กรต่างๆ

-  รับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน และ วิธีรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

 


เฉลิม จรัสวรวุฒิกุล

สรุปความรู้ที่ได้จากกิจกรรมรักษ์กาย-รักษ์ใจ ที่ศูนย์ธรรมชาติบำบัดบัลวี  วันที่ 14 พ.ค.56

ได้ความรู้ในการรับประทานอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนัก ซึ่งที่ศูนย์ธรรมชาติบำบัดบัลวี เน้นที่การให้รับประทานเนื้อ 1 ส่วน ผัก 2 ส่วน งดคาร์โบไฮเดรตรวมทั้งผลไม้ทุกชนิด ซึ่งเป็นศาสตร์ที่น่าสนใจ ค้านกับสิ่งที่เคยรู้ว่าควรรับประทานเนื้อให้น้อย และทานผลไม้มาก

ได้ความรู้ในเรื่องวารีบำบัด รวมทั้งการใช้ประโยชน์จากความร้อนสลับเย็น เช่นการอบเซาน่า สลับการแช่หรืออาบน้ำเย็น ซึ่งถึงแม้จะเป็นเรื่องที่พอทราบมาบ้าง แต่ก็ไม่ทราบในรายละเอียด เช่นการอบเซาน่าเพียง 3 นาที สลับแช่น้ำเย็น 2 นาที ทำสลับกัน 3 รอบ

สรุปคือทำให้ได้รับความรู้ในการดูแลร่างกายที่ถูกต้องยิ่งขึ้น เพราะร่างกายที่แข็งแรง จะทำให้พร้อมในการปฏิบัติภารกิจอื่นๆอย่างมีประสิทธิภาพ


เฉลิม จรัสวรวุฒิกุล

สรุปความรู้ที่ได้จากการอบรม วันที่ 15-18 พ.ค.56

15 พ.ค.56 หัวข้อวิเคราะห์ประเด็นท้าทายสำหรับ กฟผ. และ กฟผ.กับการก้าวสู่ AEC

ได้ฟังแนวคิดและมุมมองจากวิทยากรที่ทรงคุณวุฒิที่ช่วยวิเคราะห์วิกฤติและโอกาสของ กฟผ. และบางเรื่องเป็นเรื่องแปลกใหม่ถึงแม้ว่าอาจทำได้ยาก เช่น

-การผลักดันโครงการสาละวิน ที่จะทำให้ได้ค่าไฟฟ้าในราคาถูกแล้ว ยังอาจผันน้ำมาใช้ในไทยได้ เนื่องจากพื้นที่โครงการอยู่สูงกว่าไทย

-การมองโอกาสพื้นที่ตามแนวสายส่ง ซึ่งสามารถใช้เป็นเส้นทางถนนและรถไฟความเร็วสูง ถึงแม้กรรมสิทธ์จะไม่ใช่ของ กฟผ. แต่ก็เป็นแนวคิดที่น่าสนใจ

-ประเด็นที่สัดส่วนการผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. น่าจะลดลงเรื่อยๆในอนาคต เพราะรัฐบาลไม่ให้ดำเนินการ เนื่องจากเกรงจะกระทบเพดานหนี้สาธารณะ ซึ่ง กฟผ.ควรหาทางออกในการนำทรัพย์สินเข้าตลาดทุน ในรูปแบบใดแบบหนึ่ง เช่น กองทุนโครงสร้างพิ้นฐาน

-การเป็นหุ้นส่วนกับคู่แข่งที่มีอนาคต เช่น การเป็นหุ้นส่วนกับผู้ผลิต Solar Cell

16 พ.ค.56 หัวข้อ EGAT Leader& Teamwork

ได้เรียนรู้ในเรื่องความฉลาดทางสติปัญญา อารมณ์ คุณธรรม และการเอาตัวรอด รวมทั้งบุคลิกต่างๆซึ่งเป็นส่วนผสมของความฉลาดแบบต่างๆ เช่น เป็นนักทฤษดี นักปฏิบัติ นักผจญภัย หรือนักกิจกรรม เพื่อจะได้มีปฏิสัมพันธ์กับคนแต่ละชนิดได้อย่างเหมาะสม

ได้แนวคิดเรื่องการสร้างทีมว่า จะต้องทำใจให้กว้าง ลดตัวตนให้เล็กลง มองเห็นคุณค่าและเข้าใจธรรมชาติของคน ซึ่งจะช่วยให้เรามองด้านบวก และยอมรับด้านลบ

หัวข้อ Art & Feeling of Presentation

ได้เห็นความสำคัญของน้ำเสียงและท่าทางในการพูดหรือนำเสนอ ซึ่งความสำคัญของคำพูดมีเพียง 7% แต่น้ำเสียงและท่าทางมีความสำคัญถึง 38%3838% และ 55 % ตามลำดับ

ในการเป็นวิทยากร หรือผู้บริหารที่จะต้องพูดในที่ชุมชน จึงมีความจำเป็นต้องฝึกหัดด้านน้ำเสียงและท่าทางให้มากขึ้น

17 พ.ค.56 หัวข้อบุคลิกภาพของนักบริหารยุคใหม่

  ได้ความรู้ในการดูแลร่างกาย บุคลิก การแต่งกาย รวมทั้งกิริยามารยาท ทั้งการนั่ง การเดิน และมารยาทบนโต๊ะอาหาร

หัวข้อนี้อาจไม่เกี่ยวข้องกับงานโดยตรง แต่ต้องยอมรับว่าการแต่งกาย บุคลิก และกิริยามารยาทที่ดี เป็นเสน่ห์ ที่ทุกคนควรมี

  หัวข้อจากประสบการทำงานที่ ป.ป.ช.สู่การปรับใช้ที่ กฟผ.

  วิทยาการมุ่งเน้นที่จริยธรรมและความสุจริต

  หัวข้อผู้นำ-วัฒนธรรมองค์กร-การบริหารการเปลี่ยนแปลง

  ในเรื่องผู้นำ วิทยากรให้คำจำกัดความที่ดีของผู้นำหรือหัวหน้าว่า มีหน้าที่หลักคือสร้างทีมให้เก่ง มีความพร้อมในการทำงาน และสร้างบรรยากาศให้เหมาะแก่การทำงาน

ในเรื่องการบริหารการเปลี่ยนแปลง ได้ทราบหลักการว่า จะประสบความสำเร็จได้ ต้องเริ่มที่ผู้นำการเปลี่ยนแปลง ซึ่งต้องสร้างความต้องการร่วมกัน และวาดภาพให้เห็นว่าหลังการเปลี่ยนแปลงจะดีขึ้น แล้วผลักดันให้เกิดการมีส่วนร่วม สุดท้ายต้องทำให้การเปลี่ยนแปลงนั้นยั่งยืน

17 พ.ค.56 การนำเสนอผลงานกลุ่ม”นวัตกรรมเพื่อการพัฒนา กฟผ.”

  ได้ฟังการนำเสนอผลงานของเพื่อนผู้เข้ารับการอบรมทั้ง 6 กลุ่ม ในหัวข้อต่างที่ อ.จิระ คิดไว้ให้ ซึ่งเน้นที่การมีนวัตกรรม ทั้งด้านการบริหารทุนมนุษย์ การดำเนินงานตามแนว “SAPA”  การสร้างศรัทธาจากปวงชน   การพัฒนา กฟผ. และโรงไฟฟ้าเพื่ออนาคต


เฉลิม จรัสวรวุฒิกุล

สรุปบทความ

1.Creating mutual opportunities

ประธานาธิบดี Xi Jinping  ของจีน เดินทางเยือนรัสเซียหลังจากรับตำแหน่ง และได้พบกันประธานาธิบดี Vladimir Putin ของรัสเซีย ที่กรุงมอสโค ประธานาธิบดี Xi Jinping ได้กล่าวสุนทรพจน์เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศ และความสัมพันธ์กับรัสเซีย โดยกล่าวว่ายุคสงครามเย็นได้สิ้นสุดลงแล้ว จากนี้ไปเป็นการเปลี่ยนไปสู่การพัฒนาและเติบโตไปด้วยกัน โดยต้องเคารพสิทธิ์ของแต่ละประเทศในการกำหนดแนวทางพัฒนาของตัวเอง  แต่ละประเทศควรแก้ไขปัญหาภายในด้วยตัวเอง โดยปราศจากการแทรกแซงของประเทศอื่น

2. Xi highlights bonds of ‘shared destiny’

ประธานาธิบดี Xi Jinping ได้ไปเยือน Tanzaniaเป็นประเทศที่สอง โดยจีนให้การสนับสนุนด้านการเงิน ด้วยวิสัยทัศน์ที่ว่า นโยบายต่างประเทศของจีนคือความร่วมแรงร่วมใจกันกับประเทศในแอฟริกา อย่างต่อเนื่องไม่เปลี่ยนแปลง แสดงให้เห็นถึงความเป็นพวกเดียวกันที่มีเป้าหมายร่วมกัน และยืนยันในความเท่าเทียมกัน แม้ว่าประเทศต่างๆจะมีขนาด กำลัง และความร่ำรวยไม่เท่ากัน ทุกประเทศควรเคารพในเกียรติและความเป็นอธิปไตยของกัน

3. Grouping on track to be ‘global force’

ในการประชุมกลุ่มประเทศ BRICS ครั้งที่ 5 (ประกอบด้วยประเทศ Brazil Russia India China และ South Africa) ที่เมื่อ Durban ประเทศอัฟริกาใต้   Xi Jinpingได้แสดงความเชื่อมั่นแม้ว่าเศรษฐกิจโลกจะชลอตัวลง

BRICS ก่อตั้งมา  5 ปี ยังอยู่ในขั้นพัฒนา และควรมุ่งไปที่การสร้างความผูกพันให้มากขึ้น การปรับปรุงคุณภาพชีวิตคน 3 พันล้านคนจะสร้างโอกาส ศักยภาพการร่วมมือของ BRICS การค้าระหว่าง 5 ประเทศ มีมูลค่าเพียง 1% ของโลก ประธานาธิบดี Xi Jinping ประกาศให้นักลงทุนจีนมีส่วนในการพัฒนาเศรษฐกิจโดยไปลงทุนในกลุ่มประเทศ BRICS และเชิญชวนนักลงทุนจากประเทศสมาชิกมาลงทุนในจีน


เฉลิม จรัสวรวุฒิกุล

สรุปความรู้ที่ได้จากการอบรม วันที่ 26-29 มี.ค.56

26มี.ค.56 Panel Discussionหัวข้อ “ นวัตกรรมทางสังคมเพื่อชุมชนกับการทำงานของ กฟผ.

  ชุมชนไม่ยอมรับ กฟผ. ซึ่งน่าจะมาจากปัญหาเรื่องการอธิบายให้เข้าใจไม่ได้ และไม่สามารถทำตัวให้กลมกลืน

ทางแก้ที่วิทยากรเสนอแนะ

  -ต้องทำงานเชิงรุก ให้ได้ใจเขาก่อน  โดยการเข้าไปอย่างไม่เป็นทางการ ฟังว่าเขาต้องการอะไร อย่เพิ่งบอกว่าจะให้อะไร ทำเรื่องเล็กๆง่ายๆก่อน

  -ใช้ยุทธศาสตร์การพัฒนา ทั้งยุทธศาสตร์การเรียนรู้ พึ่งพาตัวเอง พัฒนาทรัพยากร พัฒนาสุขภาพและจิตใจ  และพัฒนาประสิทธิภาพขององค์กรในชุมชน

  -ต้องสร้างความสัมพันธ์เหมือนคนในครอบครัว ไม่ใช่แบบเพื่อนบ้าน  และอาจต้องจ้างมืออาชีพที่เชี่ยวชาญเรื่องการเข้าหาชุมชน

  -การสร้างความสัมพันธ์เป็นแบบทางการ และเข้าหาช้าไปเมื่อจะเริ่มโครงการแล้ว ควรเข้าไปแต่เนิ่นๆ

  -กฟผ.ไม่ควรเข้าไปปะทะกับชุมชนโดยตรง ควรถอยออกมา แล้วให้ทางราชการ เช่น กระทรวงพลังงานดำเนินการ

หัวข้อเทคนิคการสื่อสารกับสื่อสารมวลชน

- Update Listมีข้อมูลของสื่อแต่ละสื่อ และหมั่น Update

- Media Mappingศึกษาและวิเคราะห์การทำงานของสื่อแต่ละสื่อ รู้จักใครต้องรู้จักให้จริง

- One Message Key Messageมีหัวข้อหลักที่ให้สัมภาษณ์เพียง 1 หัวข้อ

- Double Checkมีการสรุปบทสัมภาษณ์อีกครั้ง

- Participation and Convenienceมีกิจกรรมร่วมกับสื่อ เพื่อสร้างความใกล้ชิดและคุ้นเคย

- Media Networkทราบเครือข่ายของแต่ละสื่อ

- Value Relationshipรักษาสัมพันธภาพ คบสื่อแบบเพื่อน

- Truth / Trustมีความน่าเชื่อถือ อย่าให้ข้อมูลเท็จ

- Consistencyมีความสม่ำเสมอ

- Sincerityมีความจริงใจ

27 มี.ค.56  Panel Discussion ธรรมาภิบาล ของ กฟผ.

-  4 เสาหลักของธรรมาภิบาล ได้แก่ การมีส่วนร่วม ความรับผิดชอบ ความโปร่งใส และความมีประสิทธิภาพ

หลักนิติธรรม คือการบังคับใช้โดยไม่เลือกปฏิบัติ ต้องให้ข้อมูล รับฟังความเห็น ร่วมกันวางแผนและตัดสินใจ

หัวข้อ เศรษศาสตร์พลังงาน

-ปัจจุบันทรัพยากรที่สามารถนำมาสร้างเป็นพลังงานเริ่มมีน้อยลงเพราะความต้องการในปัจจุบันมีมากขึ้นเรื่อย ๆ

-นโยบายประหยัดพลังงาน ต้องกำหนดให้เป็นแผนอนุรักษ์พลังงานโดยมีผู้ปฏิบัติงานใน กฟผ. หลาย ๆ ฝ่ายช่วยกัน

-การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ AEC โดยต้องเตรียมโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน เช่นส่งเสริมการปลูกพืชพลังงานทดแทน

-กฟผ.ต้องคำนึงในเรื่องจะกระจายความเสี่ยงอย่างไรหากสร้างโรงไฟฟ้าไม่ได้ทั้งด้าน Demand side และ Supply side

-กฟผ.ต้องวางแผนรองรับสถานการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดในอนาคต ไว้ล่วงหน้าเพื่อรองรับไม่ให้เกิดความเสี่ยงด้านพลังงานในประเทศ  

-กฟผ. ต้องแสดงให้เห็นว่าการสร้างโรงไฟฟ้าดำเนินอย่างโปร่งใส ประชาชนมีส่วนร่วม

หัวข้อ ผู้นำกับการสร้างทุนทางจริยธรรมในองค์กร

   อ.ดนัย  จันทร์เจ้าฉาย ผู้บรรยาย เป็นเจ้าของแนวคิด กลยุทธ์น่านน้ำสีขาว (White Ocean Strategy)  เน้นเรื่องจริยธรรม ช่วยเหลือสังคม โดยไม่หวังผลกำไร  แต่ในระยะยาวจะมีผลประกอบการสูง มีความยั่งยืน และพนักงานในองค์กรองค์กรมีความสุข  เป็นแนวคิดที่น่าสนใจ และดูเหมือนจะสวนกระแสสังคม

28 มี.ค.56 Panel Discussionหัวข้อเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทย...ผลกระทบและการปรับตัวของกฟผ.

รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ มองว่าปีนี้เศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัว และเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มดี  โดยดูจากดัชนีตลาดหลักทรัพย์  แต่มีข้อที่ควรระวังคือ

1.การที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงมาก ภัยธรรมชาติรุนแรงขึ้น เศรษฐกิจอาจพลิกผัน จากภาวะโลกร้อน และประชากรโลกเพิ่มขึ้นเร็วมาก อาจเกิดโรคระบาดที่รับจากสัตว์ ซึ่งอาจทำให้มีคนเสียชีวิตจำนวนมาก

2.จีนเป็นประเทศใหญ่ และเจริญเร็วมาก หากมีปัญหาจะกระทบถึงไทย ซึ่งจีนมีความเสี่ยง ในอีก 10 ปีข้างหน้า ความสามารถในการแข่งขันของจีนที่พึ่งแรงงานต้นทุนต่ำกำลังจะหมดไปเพราะเจริญขึ้น รายได้ต่อหัวสูงขึ้น ค่าแรงสูงขึ้น  อาหรับสปริงมีโอกาสเกิดในจีน

  3.ต่อไปไทยจะเจริญก้าวหน้าอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน แต่จะมีปัญหาเรื่องคุณภาพของคน อันเป็นผลจากระบบการศึกษา และการคอรัปชั่น

อาจารย์มนูญ ศิริวรรณ สรุปภาพรวมพลังงานไทยและแนวโน้มในอนาคต ดังนี้

  -ไทยเป็นผู้นำเข้าพลังงานสุทธิเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ต้องสูญเสียเงินตราต่างประเทศ

-ทรัพยากรด้านพลังงานมีจำกัด มีแต่จะหมดไป หาทดแทนได้ยากขึ้น มีความเสี่ยงสูงจาการพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศ

-ประสิทธิภาพในการใช้พลังงานไม่ดีพอ

-พลังงานมีราคาสูง รายจ่ายด้านพลังงานขยายตัวในอัตราที่สูงกว่ารายได้ของประเทศ

-ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไม่สอดคล้องกับการใช้พลังงาน

ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล มองแนวโน้มเสรษฐกิจในอีก 3 ปีข้างหน้า ดังนี้

ในระยะสั้น วิกฤติเศรษฐกิจโลกยังไม่จบ  และจีนมีความเสี่ยงเรื่องการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์มากเกินไป  แต่ประเทศไทยจะมีโอกาสจากการที่รัฐบาลลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งจะทำให้ราคาที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ปรับขึ้น  เอกชนจะลงทุนตาม และต่างชาติจะอยากเข้ามาลงทุน

หัวข้อ TQM/SEPA:ความเป็นเลิศและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ กฟผ.

- การทำ TQA/SEPA เป็นเรื่องที่ดีจริง  แต่อย่าทำถ้า ผวก.หรือ รอง ผวก.ไม่เอาด้วย

- การทำ TQM ก็เพื่อปิดgap ระหว่างสิ่งที่เราเป็นอยู่กับเป้าหมายที่เราต้องการ

- หมวด 0(ศูนย์)สำคัญมาก  เพราะหมวดอื่นๆต้องสอดคล้องกับหมวดนี้ที่บรรยายไว้ทั้งหมด

- ไม่ควรแยกกันเขียนแล้วนำมารวมกันภายหลัง จะไม่รู้เรื่องควรจะรวมกันเขียนโดยมีทีมเขียนโดย เฉพาะโดยนำผู้รู้แต่ละสาขามาให้ข้อมูล

- TQM เป็นหลักการบริหาร  และ TQA หรือ SEPA เป็นเกณฑ์การวัด

- EGAT WAY เป็นการพัฒนา TQM ในรูปแบบของกฟผ.โดยนำหลายๆระบบคุณภาพมารวมกัน

ไม่ว่ากฟผ.จะทำระบบใดทีสำคัญต้องให้ผู้ปฏิบัติงานทุกระดับ รับรู้และเข้าใจก่อนจึงจะสำเร็จ

29 มี.ค.56  หัวข้อแนวคิดBlue Oceanกับการทำงานของกฟผ.และการปรับใช้เพื่อสร้างโครงการแบบ  นวัตกรรมของกฟผ.

แนวคิด Blue Ocean เป็นการสร้างสินค้าและบริการตัวใหม่(Innovation) หรือสร้างอุปสงค์(ความต้องการของคน)ใหม่ขึ้นมา(New Demand) ทำให้มีโอกาสเติบโต และมีสัดส่วนกำไรที่มากขึ้น โดยไม่มุ่งเน้นแข่งขันกับคู่แข่ง

 ใช้ได้ทั้งกลยุทธ์ด้านราคาและสร้างความแตกต่างไปพร้อมกันซึ่งจะทำให้เกิดนวัตกรรมที่มีคุณค่า (Value Innovation)

ต่างจาก Red ocean ที่เป็นการต่อสู้ในตลาดที่มีสินค้าและบริการตัวเก่า  เอาชนะคู่แข่งโดยใช้กลยุทธ์ด้านราคา  พยายามเอาลูกค้ามาเป็นของเราหมด  ใช้กลยุทธ์สร้างความแตกต่างหรือราคาเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง

หัวข้อ High Performance Organization ที่ กฟผ.

โดยสรุปสิ่งที่ทำให้เป็น HPO ต้องมีสิ่งที่เอื้อ คือ

1.โครงสร้าง

2.กระบวนการทำงานตามโครงสร้าง

3.กฎระเบียบต้องยืดหยุ่น

4.คนในองค์กร

5.องค์ความรู้

6.อุปกรณ์


กิติพันธ์ เล็กเริงสินธุ์

สรุปวันที่อังคารที่ 14 พ.ค. 2556 ในวันนี้ได้ไปที่ ศูนย์ธรรมชาติบำบัดบัลวี (สามเสน) กรุงเทพฯ ได้ฟัง นพ.บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล และพ.ญ. ลลิตา ธีระสิริ บรรยายถึง ธรรมชาติบำบัดปรับชีวิต เปลี่ยนอาหาร และเรื่งอ วารีบำบัด สร้างเสริมสุขภาพ พร้อมทั้งได้เข้าร่วมในการทำวารีบำบัด แบบต่าง ตั้งแต่ อบซาวน่า อบสมุนไพร อบใบตอง ออกกำลังในน้ำ ตลอดทั้งวันทำให้ได้รับความรู้เรื่อง การลดน้ำหนักที่ต่างจากความคิดเดิม คือ ให้ลดโดยการทานเนื้อกับผัก ในอัตรา 1 ต่อ 2  และไม่ทานคาร์โบไฮเดรท พวกข้าว แป้ง นม ต่างๆ นอกจากนี้ในการดำรงชีวิต ไม่ใช่ทำงานอย่างเดียว แต่ต้องออกกำลัง ดูแลสุขภาพ เพื่อให้ตนเองสามารถมีชีวิตที่ดี สุขภาพแข็งแรง ด้านเรื่อง วารีบำบัด นั้นทำให้ทราบถึงการอบซาวน่า ว่าไม่ควรเข้าอบนานเกิน 2 – 3นาที และเมื่อออกมาให้ลงน้ำเย็น เพื่อให้เลือดที่เจอร้อน ขยายตัวใกล้ผิวหนัง จะได้ดหดตัวเมื่อเจอน้ำเย็น เป็นการให้อวัยวะภายในได้ปรับเปลี่ยนบ้าง นั่นคือต่อไปต้องออกกำลัง และดูแลสุขภาพของตนเองให้ดี

กิติพันธ์ เล็กเริงสินธุ์

สรุปวันพุธที่ 15 พ.ค. 2556 วันนี้ไปอบรมที่ ศูนย์ฝึกอบรมบางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา ในช่วงทั้งเช้าและบ่ายมีการเสวนา เรื่อง วิเคราะห์ประเด็นท้าทายสำหรับ กฟผ. (วัฒนธรรมองค์กร / การสร้างมูลค่าเพิ่มให้องค์กรและลูกค้าและ Steakholder) และเรื่อง กฟผ.กับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) โดย ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ ผศ.ดร. พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล ดำเนินรายการโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  เรื่อง วิเคราะห์ประเด็นท้าทายสำหรับ กฟผ. (วัฒนธรรมองค์กร / การสร้างมูลค่าเพิ่มให้องค์กรและลูกค้าและ Steakholder) ผศ.ดร. พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล มองในมุมผู้ใช้ไฟฟ้า ผู้เสียภาษี และนักลงทุน ได้ให้ข้อมูล กฟผ. ถึงการผลิตไฟฟ้า ว่า กฟผ. มีการผลิต 46 % IPP 39 % SPP 8 % นำเข้า 7 % สัดส่วนการผลิต กฟผ. ลดลง ส่วนที่ไปลงทุนในบริษัทลูก กฟผ. 5 ที่ บางที่ ถือหุ้นในจำนวนที่น้อย ได้แก่ECGO  25 % RATCH 45 % กฟผ.อินเตอร์เนชั่นเนล 99.99 % DCAP 35 % EGAT Diamond service  45% ซึ่งเมื่อดูผลประกอบการ กำไรเทียบกับการลงทุน  กฟผ. จะน้อยกว่า  ในส่วนนี้ ทาง ผู้เข้าฟังให้รายละเอียดว่า การที่ กฟผ. ไม่สามารถถือได้มาก เพราะจะไม่สามารถไปรับทำงานภายนอกประเทศได้ นอกจากนี้ อ.ยังได้พูดถึงการใช้เชื้อเพลิงการผลิต แพงกว่าเอกชน ทำให้ต้นทุนสูงกว่า และมองว่า การผลิตของ กฟผ. ลดลง อ.แนะนำให้หาแหล่งผลิตจากเชื้อเพลิงใหม่ และใช้ระบบส่งไฟฟ้าหาประโยชน์เพิ่มเติม

  ด้าน อ.ไกรฤทธ์ ได้ให้มุมมองจากการเป็น Supply โดยมองประมาร 6 ด้าน คือ

1. ต้องทำให้ cost และค่าไฟฟ้าถูกที่สุด

2. สัญญาซื้อขายไฟกับ 2 การไฟฟ้า คือ กฟภ. กฟน. เป็นแบบระยะยาว

3. เป็นหุ้นส่วนกับคู่แข่ง

4. ด้านสายส่ง ให้ลองใช้ประโยชน์จาก ใต้แนวสายส่ง

5. หาแหล่งทุน เช่น เข้าตลาดหุ้น ลงทุนใน Big C ลงทุนในต่างประเทศ

6. หาแหล่งผลิตที่สาละวินจะได้ทั้ง ไฟ และน้ำ

นอกจากนี้ให้เก็บเรื่องประสบการณ์ต่างๆ ขึ้นบัญชีผู้ที่รู้ในกฟผ. ด้านต่างๆ หาผู้รู้เรื่องการเงิน  สร้างเครือข่ายผู้เกษียณอายุ กฟผ. และสร้างความสัมพัน์กับนักการเมือง

  เรื่อง กฟผ.กับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) อ. พงษ์ชัยได้ให้แนวคิดเรื่องที่ กฟผ. ต้องพบกับปัจจัยภายนอก คือ สภาวะโลกร้อน วิกฤตพลังงาน การขาดแคลนทรัพยากร และประชาคมอาเซียน และเน้นเรื่องที่จะใช้ทรัพยากรจาก ประเทศ CLMV  คือ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ซึ่งมีทรัพยากรมาก  และให้เข้าไปลงทุนต่างประเทศ

  ด้านอ.ไกรไกรฤทธิ์ ได้ให้แนวคิดจากภายนอก  10 ข้อ คือ

1. ด้านต้นทุนและการลงทุน ให้หาผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินมาช่วยในนโยบายและปฏิบัติการ

2. วัคถุดิบต้นน้ำ ให้ร่วมกับมหาวิทยาลัย ประเทศเพื่อนบ้าน วิจัยพัฒนาวัตถุดิบต้นน้ำ

3. มลภาวะและความหวั่นวิตกของคนพื้นที่ ให้มีการประชาสัมพันื สร้างความเข้าใจ อย่างเช่น แม่เมาะ เป็นต้น

4. การทำนายปริมาณใช้ไฟฟ้าได้ยากขึ้น ให้หาวิธีการ พัฒนาวิธีในการทำนายได้ตรง

5. การผลิตไฟฟ้าทางเลือก ต้องหาทางเลือกในการผลิตไฟฟ้าอย่างอื่น

6. การรับมือการแข่งขัน ให่ส่งเสริมมีการผลิตไฟฟ้าแบบต่างๆ

7. ปัญหาอุบัติเหตุและโจรภัย กฟผ.มีการทำดีแล้ว แต่ให้มีการแลกเปลี่ยนกับรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาคล้ายกัน

8. ประเด็นนโยบายภาครัฐและทิศทางยุทธศาสตร์ กฟผ. ต้องมีการแลกเปลี่ยนประสบการร์ และมี lobbyist กับกระทรวง รัฐบาล

9. รูปแบบในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนและ AEC ให้มีการรวบรวม Model การผลิตไฟฟ้าในรูปแบบต่างทั่วโลก เพื่อเป็นทิศทางในการเลือก

10. โอกาสในการทำธุรกิจอื่นๆ ให้หาทางดำเนินการธุรกิจอื่นเช่น สื่อสาร โทรคมนาคม ให้เช่าทรัพย์สิน

นอกจากนี้ อ. ได้ให้สร้างความไว้วางใจกับกลุ่มประเทศในอาเซียน


กิติพันธ์ เล็กเริงสินธุ์

สรุปวันพฤหัสบดีที่ 16 พ.ค. 2556 แบ่ง 2 ช่วง คือ

ช่วงเช้า เรื่อง EGAT LEADER & TEAMWORK โดย ดร. เฉลิมพล เกิดมณี  ซึ่งต้องเชื่อว่ามนุษย์สร้างได้ โดย ต้องมีการเห็นคุณค่าตรงกัน (value) และประโยชน์ร่วมกัน จึงไปกันได้ ส่งผลให้เกิดแรงบันดาลใจ (Inspiration) เกิดฝันที่มีอนาคต (Imagination)  และมุ่งไปสู่เป้าหมายผลสำเร็จ (Goal) โดยในระหว่างไปสู่ Goal  ต้องมีความสามารถ (Capability) และที่สำคัญคือความอึด ความเพียร (Endurance)  นอกจากนี้ยังได้เรื่อง 4Qs คือ Intelligence Quotient  (IQ) Emotional Quotient (EQ) Moral Quotient (MQ) และ Survival Quotient (SQ)  โดยทั้ง 4 ตัว เมื่อนำมาเขียนเป็นแกนทั้ง 4 ด้านจะได้เป็น D – นักผจญภัย  C- นักทฤษฎี S- นักปฏิบัติ และ S- นักกิจกรรม  ซึ่งเมื่อเรามีประสบการณ์มาก เราจะอยู่ในบทบาทใดบทบาทหนึ่งขึ้นกับสถานการณ์ และมีฐานเป็นนักต่างๆ ส่วนการนำไปใช้กับทีมก็ต้องเข้าใจในทีมเป็นบุคคลประเภทใด เพื่อที่จะมอบหมายงาน หรือให้คนกลุ่มอื่นๆช่วยเหลือกัน นอกจากนั้น การตัดสินใจต่างๆ ให้นำ 4 Qs มาใช้ก่อนตัดสินใจ สำหรับเรื่องทีม ต้องมีใจเป็นหนึ่งเดียวกัน ได้รับประโยขน์ที่ร่วมกัน โดยอยู่บนเงือนไขที่ตกลงกัน ผู้เป็นหัวหน้าทีมต้องมีใจกว้าง และการไปสู่ความสำเร็จ ต้องมีตัวช่วย ได้แก่ สถาพภูมิศาสตร์ ความชอบ เวลา สถานการณ์ คนรอบข้าง และเทคโนโลยี ในการทำโครงการให้สำเร็จ ทีมต้องมีทิศทาง  ต้องมี 1. เป้าหมาย ถ้าใหญ่ให้แบ่งย่อยออกมา  ทำย่อยก่อน 2. หาจุดยืน ปรับแนวความคิดให้ตรงกัน  3. วิเคราะห์ ทำไมจึงทำ 4. มีตัวช่วย ดังได้กล่าวข้างต้น และ 5 วางแผน ปฏิบัติ มีการปรับปรุงและพัฒนา

  ช่วงบ่าย เป็นเรื่อง ผู้นำ – วัฒนธรรมองค์กร – การบริหารการเปลี่ยนแปลง โดย อ. ประกาย ชลหาญ  อ. พูดเรื่อง Art & Feeling of Presentation and Effective Public Speaking (AFP) โดยมีเนื้อความถึงวิธีการจัดกระบวนคิดแบบสามเหลี่ยม แต่ละมุมคือ สมอง การสื่อสาร และการก้าวผ่านความกลัว เราจะต้องออกจาก Comfort zone to leadership zone อาศัย juicezy&(J&J) งเป็นเรื่อง ท่าทาง 55% สมอง 38%  เป็นสิ่งสำคัญ ส่วน 7% เป็นการพูดซึ่งมีอยู่แล้ว  ดังนั้นเราต้องฝึก โดยใช้ C – Content และ P –Presenter โดยหัวใจของ C – P คือ IFP I = Imagery F = Feeling P = Partiopation เพื่อให้มีการสื่อสาร 2 ทาง การออกท่าทาง น้ำเสียง และให้คนฟังมีส่วนร่วมอย่างเหมาะสม โดยมีวัตถุประสงค์ให้ผู้ฟัง 3 C คือ C –Connect C –Change รู้เรื่องหนึ่งได้อีกเรื่อง และ C-Contribute ต่อยอดเรื่องราวที่ได้รับรู้ 


กิติพันธ์ เล็กเริงสินธุ์

สรุปวันศุกร์ที่ 17  - เสาร์ ที่ 18 พ.ค. 2556 

วันที่ 17 แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ

ช่วงเช้า เรื่อง บุคลิกภาพของนักบริหารยุคใหม่ โดยอาจารย์ ณภัสวรรณ จิลลานนท์ อ.ได้ใช้หัวเรื่อง การแต่งกายสไตล์นักบริหารยุคใหม่ โดยเน้น image ภาพลักษณ์ ภายนอกการแต่งกายและเครื่องใช้ที่แสดงถึงรสนิยมดี เสื้อผ้า หน้า และผม

ผู้ชาย ถ้าผมงอกควรย้อมสีผมด้วยสีน้ำตาล ทาแป้งที่หน้า ใช้ moisture เซรุ่ม  เสื้อผ้าที่ใส่ให้เหมาะสมกับร่างกาย รองเท้าใช้แบบหัวยาว การใส่กางเกงไม่มีจีบจะทำให้ไม่ดูอ้วน  เสื้อสูตรแขนไม่ยาวเกินปุ่มข้อมือ หน้าสี่เหลี่ยมไม่ควรใส่แว่นตากรอบเหลี่ยม

  เมื่อเราพบคนสิ่งแรกที่เห็นคือภาพลักษณ์บุคลิก LOOK 55% เสียง sound 38% อีก 7 % เป็นคำพูด word ทีออกมา ก่อนออกจากบ้านจึงต้องดูตนเองก่อน และต้องคำนึงถึง 5 สิ่ง คือ แต่งตัวดี มาดดี อารมณ์ดี รู้จักกาลเทศะ พูดจาดี  ด้านการแต่งกาย มี 3 องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อบุคลิก คือ สีสัน เส้นสาย สัดส่วน  การเดินให้ใช้สันเท้าลงก่อนปลายเท้า เน็คไทผูกแล้วยาวถึงกึ่งกลางหัวเข็มขัดปกเสื้อมีใหญ่เล็ก ให้ดูเหมาะสมกับใบหน้า

  การนั่งเก้าอี้ มือจับพนักพิง และให้เข้าทางซ้ายของเก้าอี้ การเข้าห้องไปนั่งให้คำนึงถึงหลัก 5 ประการ คือ การให้เกียรติ ความปลอดภัย สะดวกสบาย อัธยาศัยไมตรี และมีระเบียบเรียบร้อย การนั่งรถ ให้บุคคลสำคัญนั่งด้านหลังเยื้องคนขับ การรดน้ำสังขื ให้รดหญิงก่อนชาย คนอายุที่มากกว่ารดเท่านั้น

 ด้านมารยาทบนโต๊ะอาหาร ผ้ารองไม่ต้องคลี่ออกหมด เมื่อไปไหนให้พาดไว้ที่พนักเก้าอี้  อาหารฝรั่งใช้ 2 มือ ส้อมกับมีด ถือพร้อมกันเวลารับประทาน ใช้อุปกรณ์จากด้านนอกเข้าด้านใน เวลาพักมีดคมเข้าหาตน อยู่ใต้ส้อม ทานเสร็จมีดอยู่บนส้อมและวางขวามือของจนา เพื่อที่ตนเก็บได้สะดวก

ช่วงบ่าย เรื่องที่ 1 แนวทางการจัดการจัดทำยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาการทุจริต โดย ศาสตราจารย์(พิเศษ) วิชา มหาคุณ  อาจารย์ได้บอกเรื่องระบบอุปถัมภ์เป็นที่ทำให้เกิดการทุจริต ซึ่งดัชนีความโปร่งใสไทยได้อันดับที่ 88 การเอาชนะระบบอุปถัมภ์ต้องเปลี่ยนคุณค่า value และพฤติกรรม  อาจารย์พูดเรื่องคอรัปชั่น คือ การเห็นประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม  สำหรับแนวทางการจัดทำยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาการทุจริต ต้องเริ่มต้นที่ผู้นำ เปลี่ยนคุณค่าและพฤติกรรมของภาวะผู้นำ  โดยมุ่งที่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน และเผยแพร่สู่องค์กร ให้สมาชิกทำตามคุณค่าและพฤติกรรม โดยสมาชิกต้องมีจิตสำนึกในจุดมุ่งหมายและวิสัยทัศน์ร่วมกัน กลายเป็นจิตวิญญาณขององค์กร service องค์กรเกิดคุณค่ามีชีวิตด้วยหลัก 4 อย่าง คือ ความไว้วางใจ ความซื่อสัตย์ ความกรุณา การแบ่งปัน ก็จะทำให้มีความผาสุก ทั้งกาย ใจ

ช่วงบ่าย เรื่องที่ 2 The Challenge of Change and Becoming a Change Leader โดยอาจารย์ประกาย ชลหาญ อาจารย์ให้ดู Human Performance Framework โดยเน้นที่ individual อันประกอบด้วย Competency และ Motivations  ผู้นำสร้างทีมมีหน้าที่หลัก คือ สร้างทีมให้เก่ง และ สร้างบรรยากาศกระตุ้นให้เขาทำงาน  โดยอาศัย Competency อันมี Knowledge Skill และ Attitude พัฒนาคนให้เก่ง และต้องมีการกระตุ้นให้แต่ละคนซึ่งไม่เหมือนกัน เพื่อให้การดำเนินการโครงการสำเร็จ  องค์กรจะอยู่ได้ ต้องประกอบด้วย 6 ประการ คือ Right Structure  Right Processes Right People Right Information Right Decisions Right Reward สำหรับวงจรผลงาน เมื่อผลงานสร็จให้มีการยกย่องชมเชย ถ้างานติดขัดให้เข้าไปเป็น coaching สอนกระตุ้น

ท้ายสุดอาจารย์ได้พูดถึงเรื่อง CHANGE MANAGEMENT โดยเน้นว่าเราต้องมีการเปลี่ยนแปลงก่อนที่เราจะถูกให้เปลี่ยน  และต้องรู้จักบริหารการเปลี่ยนแปลงให้เกิดประโยชน์หรือมีโทษน้อยที่สุด อาจารย์ได้ให้ GE’s Change Model ซึ่งมี 7 ขั้นตอน ในการทำอาจข้ามขั้นตอนได้ ขั้นตอนทั้ง 7 มี

1. Leader Change หาผู้นำการเปลี่ยนแปลง / ทีม

2. Creating a Share Need สร้างความต้องการร่วม

3. Share A Vision วาดภาพให้เห็นว่าเปลี่ยนแปลงดี

4. Mobilizing Commitment ไปผลักดันให้เกิดมีส่วนร่วม

5. Monitoring Progress ต้องมีการควบคุม สอดส่องในการเปลี่ยนแปลง

6. Making Change Last ทำให้การเปลี่ยนแปลงยั่งยืน

7. Changing System & Structure นำเข้าไปในระบบ จะได้ยั่งยืน

วันเสาร์ที่ 18 พ.ค. 2556 เป็นการนำเสนอของกลุ่มต่างๆ ซึ่งในวันนี้ ทำให้ได้รับทราบข้อมูลของ กฟผ. ในด้านต่างๆ และโครงการที่จะเป็นไปได้ เช่น EGAT ASEAN ACADEMY , โครงการดักเถ้าถ่านหินโดยใช้น้ำ และสวนป่า โครงการขนส่งถ่านหินจากต่างประเทศไปใช้ที่แม่เมาะ เป็นต้น จากที่ฟังมาเห็นว่า กฟผ. มีการดำเนินการในหลายรูปแบบ แต่อ่อนการประชาสัมพันธ์ให้พนักงานรับทราบ ซึ่งควรปรับปรุงในส่วนนี้ ทั้งนี้ตลอดหลักสูตรที่อบรมจะได้นำหลักการและประสบการณ์ของผู้รู้ทั้งหลายไปปฏิบัติให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้น


สรุปสิ่งที่ได้รับจากการสัมนาที่ศูนย์ฝึกอบรม บางปะกง ระหว่างวันที่ 15-18 พฤษภาคม 2556

    วันพุทธ ที่ 15 พฤษภาคม 2556 

    ประเด็นท้าทายสำหรับ กฟผ.   ศ.ดร. จีระ หงษ์ลดารมภ์ , ศาสตราภิชาน ไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ,

    กฟผ.กับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน  และ ผศ.ดร.พงษ์ชัย  อธิคมรัตนกุล

    -ต้องฝ่าวงล้อมแนวคิดแบบระบบราชการออกไปให้ได้  ให้มีแนวคิดแบบ NGO คือไม่มีเงินถึงจะคิดออก(live

    on without money)  ในขณะที่ระบบราชการไม่มีเงิน คิดไม่ค่อยออก

    -ไม่ควรติดกับดักของระบบราชการมากเกินไป  ต้องมีศิลปในการใช้กฎ ระเบียบ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติ(If

    you want success,Try to break some rules)

    -ต้องจัดการกับ speed of change และ unpredictable things ให้ได้

    -ต้องมี sense of ownership, sense of emergency และ sense of change

    -ต้องสร้างTrust ให้กับเพื่อนบ้าน ASEAN ให้ได้ เช่น

  -เป็น one single window ด้านไฟฟ้า  โดยต้องรู้ total demand @design ทั้ง ASEAN แบบreal     time

  -เป็น school of project management of ASEAN

  -เป็น Land line ของเพื่อนบ้าน

  -play good host (ระดับ VIP ด้านพลังงานไฟฟ้าของเพื่อนบ้านมาเมืองเที่ยวไทยทั้งเป็นทางการหรือ

    ไม่เป็นทางการ  ต้องให้เขาประทับใจในการต้อนรับและนึกถึง กฟผ. เป็นอันดับแรก)

  -อย่าให้ความรุ่งเรืองในอดีตมาเป็นกับดักถึงความก้าวหน้าในปัจจุบันและในอนาคต  เลิกพูดได้แล้วว่า

    กฟผ. เก่งที่สุดหรือดีที่สุด  เพราะปัจจุบันมีผู้เล่นเอกชนหลายรายที่มีศักยภาพพร้อมที่จะทำได้ดีกว่า

    ถ้าการแข่งขันอยู่บนพื้นฐานที่ทุกสิ่งเท่าเทียมกัน  (ตื่นและลุกขึ้นมามองความจริง)

  -ต้องคุมsupply chain ต้นน้ำให้ได้ เช่น เป็นเจ้าของแหล่งถ่านหินคุณภาพดีในประเทศเพื่อนบ้าน  แค่

    แม่เมาะ  ยังถือว่าไม่พอ

  -โอกาสในการผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. มีแนวโน้มแต่จะลดลง ลดลงไปเรื่อยๆ  และการทำธุรกิจของ กฟผ.

    ก็มีข้อจำกัดเยอะ  จะตีฝ่าวงล้อมนี้ออกไปได้อย่างไร

  -ต้องมีแหล่งเงินทุนเป็นของตนเอง  หาวิธีเข้าตลาดหุ้นให้ได้ จะได้ไม่ต้องคอยแต่กู้เงินชาวบ้านเขา

  -ต้องมี Lobbyist รับมือกับการวางแผนยุทธศาสตร์พลังงานชาติ

  -ต้องมีBusiness model ของASEAN

  -ต้องมี CFO ที่เป็นพ่อมดทางการเงิน เพื่อบริหารจัดการเงินให้มีกำไร โดยไม่ผิดหรือติดขัดอยู่กับกฎ    ระเบียบ

  -ปัจจุบัน สหรัฐอเมริกา  และ ญี่ปุ่น กำลังทดลองการส่งกระแสไฟฟ้าโดยไม่ใช้ตัวนำ  คาดว่าในอีกสิบ    กว่าปีข้างหน้ามีโอกาสเป็นจริงได้  แล้วที่ กฟผ.ฝันที่จะเป็นHubทางด้านสายส่งของ  ASEAN    ยังจะกล้าฝันอยู่อีกหรือเปล่า

  วันพฤหัสบดี ที่ 16 พฤษภาคม 2556

    EGAT Leader & Teamwork  ดร.เฉลิมพล เกิดมณี

    Art and Feeling  of Presentation    อาจารย์  จิตรสุมาลย์  อมาตยกุล

    and Effective Public  Speaking

  -คุณค่าเป็นสิ่งแรกที่ผู้นำต้องโน้มน้าวให้ทุกคนมองเห็นร่วมกัน จึงจะทำให้ภารกิจบรรลุเป้าหมาย

  -ความอึด หรือ ความเพียร เป็นสิ่งสำคัญต่อความสำเร็จของงาน

  -การตัดสินใจที่ดี ต้องมีทั้ง 4 Q  ผสานกันให้ลงตัว

  Q1  Intelligent Quotient  วุฒิภาวะทางสติปัญญา

  Q2  Emotional Quotient  วุฒิภาวะทางอารมณ์

  Q3  Moral Quotient  วุฒิภาวะทางคุณธรรม  และ จริยธรรม

  Q4  Survival Quotient  วุฒิภาวะทางความอยู่รอด

  -ต้องผสานใจเป็นหนึ่ง  มุ่งหน้าพร้อมกัน  ถึงจะเกิดพลังร่วม(Synergy)

  -เวลาที่ต้องตัดสินใจ ต้องเอาเงื่อนไขขึ้นมาพูดคุยให้ยอมรับกันก่อน

  -การนำเสนอที่ดี ต้องมีภาษาเสียงที่ชัดเจน  ดัง-ค่อย พอดี  เร็ว-ช้า  เหมาะสม  อารมณ์สอดคล้อง

    กับภาษากาย  ก่อให้เกิดสุนทรีภาพแห่งการนำเสนอที่น่าประทับใจต่อผู้ฟังทั่วไป

  วัน ศุกร์ ที่ 17 พฤษภาคม 2556

    บุคคลิกภาพของนักบริหารรุ่นใหม่    อาจารย์ จิรเดช  ดิสกะประกาย

    จากประสบการณ์ที่ ปปช.สู่การปรับใช้ที่ กฟผ.  ศาสตราจารย์พิเศษ วิชา มหาคุณ

    ผู้นำ-วัฒนธรรมองค์กร-การบริหารการเปลี่ยนแปลง  อาจารย์ ประกาย  ชลหาญ

    ช่วงเช้า อาจารย์ ได้กรุณาชี้แนะเป็นรายบุคคลว่า  เสื้อผ้า หน้า ผม เล็บมือ  ของแต่ละคน ดูแล้ว สยองยังไง     อีกทั้ง  บุคคลิก  ลีลา การ ลุก-เดิน-เหิร-นั่ง  อย่างไรถึงจะดูงามและเย็นตาเย็นใจ  สำหรับผมเสียง     อาจารย์ยังก้องหูอยู่เลยครับที่บอกว่าผมเป็นคนผิวสองสี การเลือกใส่กางเกงสีเทายิ่งเฉิ่มหนักเข้าไปอีก    ต้องออกโทนเขียวอ่อนถึงจะดูดี  ก็คงรอให้ตัวนี้ขาดก่อน  ซื้อใหม่เมื่อไหร่ถึงจะเลือกสีตามที่อาจารย์   

    แนะนำนะครับ

    ช่วงบ่าย อาจารย์  ได้เน้นย้ำให้ผู้นำต้องเห็นคุณค่าของตนเอง และดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่า  มุ่ง       ประโยชน์ส่วนตนให้น้อยลง เห็นแก่ส่วนรวมให้มากขึ้น ชาติบ้านเมืองถึงจะอยู่รอด 

  -คุณค่าของบุคคลที่สำคัญที่สุดคือ  มีความสุจริต และ ความซื่อสัตย์ เป็นที่ตั้ง

  -คุณค่าเชิงสังคม  คือ ต้องมีจริยธรรม และ ความยุติธรรม

    นอกจากนี้ ผู้นำต้องพร้อมที่จะรับกับการเปลี่ยนแปลง  ต้องรู้จักสื่อสาร และวาดภาพให้ผู้ตามเห็น เพื่อให้    รู้สึกอยากจะเปลี่ยนแปลง  และต้องรู้จัก กระตุ้น ผลักดัน ให้ทุกคนอยากมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง

  วัน เสาร์ ที่ 19 พฤษภาคม 2556

    การนำเสนอผลงานกลุ่ม ''นวัตกรรมเพื่อการพัฒนา กฟผ.”

    วันนี้เป็นวันที่ทุกกลุ่มต้องนำเสนอเรื่อง ''นวัตกรรม''  ในมิติ ต่างๆ ที่จะทำให้องค์กรของเรามีมูลค่าเพิ่ม

    ซึ่งแต่ละกลุ่มทำได้สุดยอด  ร่วมมือร่วมใจทำงานกันเป็นทีม  มีแนวคิดสร้างสรรค์บนพื้นฐานของความ

    เป็นจริง  (รายละเอียดดูได้จากบทสรุปของทีมงานวิชาการ Chira Academy ที่สรุปได้ดีมากๆ )  ผมขอ    ปรบมือดังๆให้ในความสามารถของทุกๆกลุ่มเลยครับ 


วันที่ 14 พฤษภาคม 2556 กิจกรรม รักษ์กาย รักษ์ใจ ณ ศูนย์ธรรมชาติบำบัดบัลวี

ได้เรียนรู้หลักการลดน้ำหนักอีกวิธีหนึ่ง โดยรับประทานโปรตีนกับผัก งดอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล แม้แต่ผลไม้ รวมกับการออกกำลังกาย การรักษาสมดุลย์ ความเหมาะสมขึ้นอยู่กับบุคคล

วันที่ 15 พฤษภาคม 2556  วิเคราะห์ประเด็นท้าทายสำหรับ กฟผ. และการก้าวสู่ AEC 

กฟผ. ควรเตรียมความพร้อม ควรมีการรวบรวมผู้ที่มีความรู้ความสามารถใน 3 ด้าน คือ ด้านกฎหมาย ด้านการเงิน และด้านบริหารโครงการ เมื่อถึงเวลาต้องการใช้ผู้มีความสามารถทั้ง 3 ด้านนี้ ก็จะใช้ได้ทันที ไม่ต้องไปควานหา  หาแหล่งทุนที่ต้นทุนถูก มองโอกาสจากสินทรัพย์ที่มีอยู่ การร่วมทุนหรือพันธมิตร การมองธุรกิจใหม่ หาทางจัดการกับข้อจำกัดด้านกฎหมายเพื่อการเติบโต และเพื่อประโยชน์ของประชาชน

วันที่ 16 พฤษภาคม 2556  EGAT Leader & Teamwork

ได้เรียนรู้การคิดอย่างมีกลยุทธ์ การกำหนดเป้าหมายควรมีเป้าหมายย่อย ๆ ระหว่างทาง เทคนิคการบริหาร Team เพื่อให้การทำงานประสบผลสำเร็จ การรู้ประเภทของคน รู้ลักษณะเฉพาะของคนใน Team เพื่อมอบหมายงานให้เหมาะสม ซึ่งมีทั้งนักทฤษฎี นักปฏิบัติ นักผจญภัย หรือนักกิจกรรม

16 พฤษภาคม 2556  Art & Feeling of Presentation and Effective Public Speaking

ได้เรียนรู้วิธีการพูด การนำเสนอ ซึ่งในเบื้องต้นเนื้อหาต้องเน้น ที่ต้องฝึกคือ ท่าทาง ซึ่งมีส่วนให้การนำเสนอน่าสนใจ โดยมีส่วนถึง 55% ขณะที่พลังเสียงมีส่วนถึง 38%

17 พฤษภาคม 2556 บุคลิกภาพของนักบริหารยุคใหม่

ได้เรียนรู้เทคนิคการแต่งกาย การดูแลรูปลักษณ์ มารยาทการเข้าสังคมอย่างมีวิธีการที่เป็นสากล การปรับปรุงบุคลิกภาพด้านต่าง ๆ การแต่งกายที่เหมาะสม มารยาทในการรับประทานอาหาร

หัวข้อ : จากประสบการณ์การทำงานที่ ป.ป.ช. สู่การปรับใช้ที่ กฟผ.

ปัญหาการทุจริตซึ่งน่ากลัวมาก มักมาจากระบบอุปถัมภ์ ต้องทำให้ระบบนี้หมดไป การเปลี่ยนแปลงต้องเปลี่ยนที่ตัวพนักงาน การปลูกหลักการที่ถูกต้อง หลักจริยธรรมที่มั่นคง ต้องประกอบด้วย หลักคุณธรรมและเหตุผล (การเชื่อจากใจเมื่อได้วิเคราะห์เหตุผล)

หัวข้อ ผู้นำ -วัฒนธรรมองค์กร – การบริหารการเปลี่ยนแปลง

หน้าที่ของผู้นำหรือหัวหน้า

1.  สร้างทีมให้เก่ง พร้อมที่จะทำงาน

2.  สร้างบรรยากาศให้ทีมอยากทำงาน

ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จของการเปลี่ยนแปลง

1.  อย่าให้พนักงานรู้สึกว่า สบาย สบาย

2.  ให้เข้าใจและสนับสนุน Stakeholders

3.  ต้องได้ Commitment จากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

4.  อะไรที่เอาชนะง่าย ๆ ให้ทำก่อน

5.  มีแผน ขั้นตอนที่ชัดเจน

6.  ทำให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงเป็นส่วนหนึ่งของแผนการพัฒนา

กระบวนการที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้นตาม Model ของ GE.

1.  ต้องมีผู้นำการเปลี่ยนแปลง

2.  สร้างความต้องการร่วมของคนที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง

3.  วาดภาพอนาคตให้เห็น

4.  กระตุ้น ผลักดันให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม

5.  ทำให้การเปลี่ยนแปลงมีความยั่งยืน

6.  ติดตามความก้าวหน้า

7.  เอาเข้าไปในระบบหรือโครงสร้าง

18 พฤษภาคม 2556  นำเสนอผลงานกลุ่ม “นวัตกรรมเพื่อการพัฒนา กฟผ.”

ได้ทราบและขายแนวคิดของแต่ละกลุ่มเพื่อการพัฒนา กฟผ. ต่อไป


-  วันที่ 14 พฤษภาคม 2556 กิจกรรม รักษ์กาย รักษ์ใจ ณ ศูนย์ธรรมชาติบำบัดบัลวี

ได้เรียนรู้การดูแลสุขภาพและวิธีการควบคุมน้ำหนักการออกกำลังกายเพื่อรักษาสมดุลย์ ของร่างกาย ได้รับคำแนะนำการดูแลสุขภาพจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

-   วันที่ 15 พฤษภาคม 2556  วิเคราะห์ประเด็นท้าทายสำหรับ กฟผ. และการก้าวสู่ AEC 

-  กฟผ. ควรเตรียมความพร้อม ใน 3 ด้าน คือ ด้านกฎหมาย ด้านการเงิน และด้านบริหารโครงการ โดยต้องเตรียมบุคลากรล่วงหน้า มองโอกาสจากสินทรัพย์ที่มีอยู่ การร่วมทุน การมองธุรกิจใหม่ การเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในบริษัทลูกของ กฟผ. เตรียมพร้อมรับมือกับการแก้ไขปัญหาราคาเชื้อเพลิงที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต และ การป้องกันการต่อต้านจากชุมชนและ NGO

-  วันที่ 16 พฤษภาคม 2556 EGAT Leader & Teamwork

-  ได้เรียนรู้ เทคนิคการบริหาร Team เพื่อให้การทำงานประสบผลสำเร็จ โดยต้องกำหนดกลยุทธ์ และเป้าหมายเข้าใจคุณลักษณะเฉพาะของคนใน Team เพื่อบริหารจัดการและมอบหมายงานที่เหมาะสม

-  16 พฤษภาคม 2556 Art & Feeling of Presentation and Effective Public Speaking

การสื่อสาร และการก้าวผ่านความกลัว เราจะต้องออกจาก Comfort zone to leadership zone ได้เรียนรู้วิธีการพูด การนำเสนอ ต้องฝึกท่าทาง ซึ่งมีส่วนให้การนำเสนอน่าสนใจ ดึงความรู้สึกร่วม

-  17 พฤษภาคม 2556 บุคลิกภาพของนักบริหารยุคใหม่

ได้เรียนรู้ด้านการแต่งกาย การดูแลรูปลักษณ์ มารยาทการเข้าสังคมที่เป็นสากล รวมทั้งการปรับปรุงบุคลิกภาพด้าน  ต่าง ๆ โดยมีการแนะนำเป็นรายบุคคล

  หัวข้อ : ประสบการณ์การทำงานที่ ป.ป.ช. สู่การปรับใช้ที่ กฟผ.

  ได้เรียนรู้แนวทางการทำงานที่ทำให้เกิดความโปร่งใส โดยใช้กรณีศึกษาจากหน่วยงานต่างๆ

  หัวข้อ ผู้นำ -วัฒนธรรมองค์กร – การบริหารการเปลี่ยนแปลง

-  ผู้นำต้องพร้อมที่จะรับกับการเปลี่ยนแปลง  ต้องสร้างทีมให้เก่ง     กระตุ้น ผลักดัน ให้ทุกคนอยากมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง ให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนา

18 พฤษภาคม 2556  นำเสนอผลงานกลุ่ม “นวัตกรรมเพื่อการพัฒนา กฟผ.”

ทุกกลุ่มนำเสนอเรื่อง ''นวัตกรรม''  ในมิติ ต่างๆ ที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กร

-  วันที่ 14 พฤษภาคม 2556 กิจกรรม รักษ์กาย รักษ์ใจ ณ ศูนย์ธรรมชาติบำบัดบัลวี

ได้เรียนรู้การดูแลสุขภาพและวิธีการควบคุมน้ำหนักการออกกำลังกายเพื่อรักษาสมดุลย์ ของร่างกาย ได้รับคำแนะนำการดูแลสุขภาพจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

-   วันที่ 15 พฤษภาคม 2556  วิเคราะห์ประเด็นท้าทายสำหรับ กฟผ. และการก้าวสู่ AEC 

-  กฟผ. ควรเตรียมความพร้อม ใน 3 ด้าน คือ ด้านกฎหมาย ด้านการเงิน และด้านบริหารโครงการ โดยต้องเตรียมบุคลากรล่วงหน้า มองโอกาสจากสินทรัพย์ที่มีอยู่ การร่วมทุน การมองธุรกิจใหม่ การเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในบริษัทลูกของ กฟผ. เตรียมพร้อมรับมือกับการแก้ไขปัญหาราคาเชื้อเพลิงที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต และ การป้องกันการต่อต้านจากชุมชนและ NGO

-  วันที่ 16 พฤษภาคม 2556 EGAT Leader & Teamwork

-  ได้เรียนรู้ เทคนิคการบริหาร Team เพื่อให้การทำงานประสบผลสำเร็จ โดยต้องกำหนดกลยุทธ์ และเป้าหมายเข้าใจคุณลักษณะเฉพาะของคนใน Team เพื่อบริหารจัดการและมอบหมายงานที่เหมาะสม

-  16 พฤษภาคม 2556 Art & Feeling of Presentation and Effective Public Speaking

การสื่อสาร และการก้าวผ่านความกลัว เราจะต้องออกจาก Comfort zone to leadership zone ได้เรียนรู้วิธีการพูด การนำเสนอ ต้องฝึกท่าทาง ซึ่งมีส่วนให้การนำเสนอน่าสนใจ ดึงความรู้สึกร่วม

-  17 พฤษภาคม 2556 บุคลิกภาพของนักบริหารยุคใหม่

ได้เรียนรู้ด้านการแต่งกาย การดูแลรูปลักษณ์ มารยาทการเข้าสังคมที่เป็นสากล รวมทั้งการปรับปรุงบุคลิกภาพด้าน  ต่าง ๆ โดยมีการแนะนำเป็นรายบุคคล

  หัวข้อ : ประสบการณ์การทำงานที่ ป.ป.ช. สู่การปรับใช้ที่ กฟผ.

  ได้เรียนรู้แนวทางการทำงานที่ทำให้เกิดความโปร่งใส โดยใช้กรณีศึกษาจากหน่วยงานต่างๆ

  หัวข้อ ผู้นำ -วัฒนธรรมองค์กร – การบริหารการเปลี่ยนแปลง

-  ผู้นำต้องพร้อมที่จะรับกับการเปลี่ยนแปลง  ต้องสร้างทีมให้เก่ง     กระตุ้น ผลักดัน ให้ทุกคนอยากมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง ให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนา

18 พฤษภาคม 2556  นำเสนอผลงานกลุ่ม “นวัตกรรมเพื่อการพัฒนา กฟผ.”

ทุกกลุ่มนำเสนอเรื่อง ''นวัตกรรม''  ในมิติ ต่างๆ ที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กร
ชัยศักดิ์ ยงบรรเจิด

วันที่ 27 มีนาคม 2556 หัวข้อ ผู้นำกับการสร้างทุนทางจริยธรรมในองค์กร

ได้รับแนวความคิดต่างๆดังนี้

White Ocean

ISR = Individual Social Responsibility

อุณหภูมิโลกเฉลี่ยจาก 10 -> 15 องศา ===>>> โลกกำลังปรับตัว

สิ่งมีชีวิตที่แข็งแรงที่สุด ก็ไม่แน่ว่าจะรักษาสายพันธ์ไว้ได้ ถ้าไม่มีการปรับเปลี่ยน

การเปลี่ยนแปลงต้องเริ่มที่ตัวเอง

ความโง่งม คือการทำซ้ำในสิ่งเดิมๆ แล้วหวังว่าจะได้ผลลัพธ์ใหม่ๆตามที่ต้องการ

What analysis?

What are we?

What do you want to go? 

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ วันที่ 28มีค.56

หัวข้อ ประสบการณ์การเรียนรู้ในรุ่น2ของข้าพเจ้า กับการปรับใช้เพื่อการบริหาร กฟผ. ในยุคที่โลกเปลี่ยน

โดย ผวก.

การเข้าอบรมหลักสูตร EADPเป็นการเปิดมุมมองในด้านอื่นๆ นอกเหนือจากงานที่รับผิดชอบ เพื่อสร้างความหลากหลาย เตรียมความพร้อมสำหรับสำหรับภารกิจที่อาจจะได้รับในภายหน้า  และได้รับการกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้

หัวข้อ เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย ผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.

เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย กำลังดีขึ้น  รวมถึงเขตการค้าเสรีอาเซียนกำลังจะเริ่มต้น  กฟผ. จะต้องปรับตัว เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงภายนอก

หัวข้อTQM/SEPA :และการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ กฟผ.

นโยบายด้านคุณภาพของ กฟผ. คือ การเป็นองค์กรชั้นนำในระดับสากล  ต้องมีคุณสมบัติ 5 ประการดังนี้

1. Corporate Good Governance

2. High Performance Organization

3. Operational Excellent

4. National Pride

5. Financial Variability

กฟผ. ใช้ TQMในการดำเนินนโยบายด้านคุณภาพ โดยปรับให้เข้ากับวัฒนธรรมของ กฟผ. และเรียกว่า EGAT WAY ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำ โดยที่ปรึกษา

TQMเป็นเครื่องมือด้านคุณภาพที่ดี แต่ผู้นำสูงสุดขององค์กรจะต้องร่วมมือด้วยจึงจะสัมฤทธิ์ผล

สรุปความรู้ที่ได้จากการเรียนในวันที่29มี.ค. 56

แนวคิดBlue Oceanกับการทำงานของ กฟผ. และการปรับใช้เพื่อสร้างโครงการแบบนวัตกรรมของ กฟผ.

แนวคิด Blue Oceanเป็นแนวคิดในการทำธุรกิจสมัยใหม่ ที่จะต้องสร้างสินค้าและบริการตัวใหม่ (Innovation) เพื่อสร้างความต้องการใหม่ (New Demand) โดยไม่เน้นการแข่งขันกับคู่แข่ง แต่จะใช้กลยุทธ์และสร้างความแตกต่างไปพร้อมกัน เพื่อให้เกิดนวัตกรรมที่มีคุณค่า (Vulue Innovation)

การปรับใช้กับ กฟผ. อย่ามองจากมุมมองของตัวเอง มองศักยภาพของตัวเองว่าในปัจจุบันยังไม่ได้ทำ แต่ต้องทำในอนาคต

High Performance Organizationที่ กฟผ.

กฟผ. จะเป็นองค์การที่มี High Performance Organizationต้องประกอบด้วย

- ผู้นำ ต้องมีทัศนคติเชิงบวก มีวิสัยทัศน์ มีวินัย มีความมุ่งมั่น มีเป้าหมาย และมีความน่าเชื่อถือ

- พนักงาน ต้องทำงานเป็นทีม เข้าใจภารกิจ

- องค์การ ต้องเป็น Dynamic Structure

- วิธีการทำงาน ต้องมุ่งเน้นให้พนักงานทำงานอย่างมีความสุข


ชัยศักดิ์ ยงบรรเจิด

วันที่ 27 มีนาคม 2556 หัวข้อ ผู้นำกับการสร้างทุนทางจริยธรรมในองค์กร

ได้รับแนวความคิดต่างๆดังนี้

White Ocean

ISR = Individual Social Responsibility

อุณหภูมิโลกเฉลี่ยจาก 10 -> 15 องศา ===>>> โลกกำลังปรับตัว

สิ่งมีชีวิตที่แข็งแรงที่สุด ก็ไม่แน่ว่าจะรักษาสายพันธ์ไว้ได้ ถ้าไม่มีการปรับเปลี่ยน

การเปลี่ยนแปลงต้องเริ่มที่ตัวเอง

ความโง่งม คือการทำซ้ำในสิ่งเดิมๆ แล้วหวังว่าจะได้ผลลัพธ์ใหม่ๆตามที่ต้องการ

What analysis?

What are we?

What do you want to go? 

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ วันที่ 28มีค.56

หัวข้อ ประสบการณ์การเรียนรู้ในรุ่น2ของข้าพเจ้า กับการปรับใช้เพื่อการบริหาร กฟผ. ในยุคที่โลกเปลี่ยน

โดย ผวก.

การเข้าอบรมหลักสูตร EADPเป็นการเปิดมุมมองในด้านอื่นๆ นอกเหนือจากงานที่รับผิดชอบ เพื่อสร้างความหลากหลาย เตรียมความพร้อมสำหรับสำหรับภารกิจที่อาจจะได้รับในภายหน้า  และได้รับการกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้

หัวข้อ เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย ผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.

เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย กำลังดีขึ้น  รวมถึงเขตการค้าเสรีอาเซียนกำลังจะเริ่มต้น  กฟผ. จะต้องปรับตัว เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงภายนอก

หัวข้อTQM/SEPA :และการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ กฟผ.

นโยบายด้านคุณภาพของ กฟผ. คือ การเป็นองค์กรชั้นนำในระดับสากล  ต้องมีคุณสมบัติ 5 ประการดังนี้

1. Corporate Good Governance

2. High Performance Organization

3. Operational Excellent

4. National Pride

5. Financial Variability

กฟผ. ใช้ TQMในการดำเนินนโยบายด้านคุณภาพ โดยปรับให้เข้ากับวัฒนธรรมของ กฟผ. และเรียกว่า EGAT WAY ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำ โดยที่ปรึกษา

TQMเป็นเครื่องมือด้านคุณภาพที่ดี แต่ผู้นำสูงสุดขององค์กรจะต้องร่วมมือด้วยจึงจะสัมฤทธิ์ผล

สรุปความรู้ที่ได้จากการเรียนในวันที่29มี.ค. 56

แนวคิดBlue Oceanกับการทำงานของ กฟผ. และการปรับใช้เพื่อสร้างโครงการแบบนวัตกรรมของ กฟผ.

แนวคิด Blue Oceanเป็นแนวคิดในการทำธุรกิจสมัยใหม่ ที่จะต้องสร้างสินค้าและบริการตัวใหม่ (Innovation) เพื่อสร้างความต้องการใหม่ (New Demand) โดยไม่เน้นการแข่งขันกับคู่แข่ง แต่จะใช้กลยุทธ์และสร้างความแตกต่างไปพร้อมกัน เพื่อให้เกิดนวัตกรรมที่มีคุณค่า (Vulue Innovation)

การปรับใช้กับ กฟผ. อย่ามองจากมุมมองของตัวเอง มองศักยภาพของตัวเองว่าในปัจจุบันยังไม่ได้ทำ แต่ต้องทำในอนาคต

High Performance Organizationที่ กฟผ.

กฟผ. จะเป็นองค์การที่มี High Performance Organizationต้องประกอบด้วย

- ผู้นำ ต้องมีทัศนคติเชิงบวก มีวิสัยทัศน์ มีวินัย มีความมุ่งมั่น มีเป้าหมาย และมีความน่าเชื่อถือ

- พนักงาน ต้องทำงานเป็นทีม เข้าใจภารกิจ

- องค์การ ต้องเป็น Dynamic Structure

- วิธีการทำงาน ต้องมุ่งเน้นให้พนักงานทำงานอย่างมีความสุข


วีระศักดิ์ ศรีกาวี

วันที่ 26 มีนาคม 2556

หัวข้อ : Social innovation กับการทำงานของ กฟผ.

 กฟผ. ต้องสร้างให้พนักงานทุกคนมีจิตสำนึกในการสร้าง Brand ของ กฟผ. ต้องมีเข้าใจในภาระกิจและหน้าที่ของ กฟผ. เป็นอย่างดี โดยสร้างความเข้าใจที่ต่อชุมชน และประชาชนทั่วไป ต้องมีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน และภาพลักษณ์ขององค์กรอยู่เสมอ กฟผ. ควรต้องวางบทบาท ในการดูแลสังคม  ชุมชน และเข้าใจความต้องการของชุมชน ที่ต้องการองค์ความรู้ และความช่วยเหลือที่ทำให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองในการพัฒนาได้ อย่างยั่งยืนการเข้าไปดูแลช่วยเหลือชุมชนต้องเข้าไปเรียนรู้ร่วมกับชุมชนเพื่อหาความต้องการที่แท้จริงจากชุมชนความต้องการของชุมชนชุมชนจะเป็นผู้บอกไม่ใช่เราเป็นผู้กำหนด

หัวข้อ : เทคนิคการสื่อสารกับสื่อสารมวลชน

 การสื่อสารมีStake-holders มาเกี่ยวข้องหลายด้านเช่น Employee , Public , Customer , Governmentโดยการสื่อสารมีช่องทางการสื่อสารได้หลายทาง เทคนิคการสื่อสารต้องมีเทคนิคการบริการข่าว  ต้องเตรียมข้อมูลให้พร้อมและมีที่อ้างอิงและเป็นจริง มีการซักซ้อมเพื่อสร้างความพร้อมและความเข้าใจข่าว  กฟผ. จะต้องรู้ว่าหน่วยงานใดบ้าง เกี่ยวข้องกับ กฟผ. และ จะต้องบริหารความสัมพันธ์อย่างไร โดยต้องจัดลำดับความสำคัญ ที่จะปฏิบัติ  อีกทั้งยังต้อง เข้าใจบทบาทหน้าที่ของสื่อแต่ละประเภท การให้ข้อมูลข่าวสารที่ประสบความสำเร็จ เพื่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีต่อ กฟผ. อันเป็นต้นทุนที่สำคัญ ต่อชื่อเสียงขององค์กร

หัวข้อ : Manage self performance

 ทุกคนต้องรับผิดชอบต่อชีวิตของตนเอง 100% สูตรการรับผิดชอบต่อชีวิตคุณ100% คือ
                              E(เหตุการณ์)+R(ตอบสนอง) = O(ผลลัพธ์)

ทำให้ได้แนวคิดแห่งความสำเร็จ (Success Principle)ที่ทำให้เข้าใจได้ว่า ผลลัพธ์ (Outcome) ย่อมเกิดขึ้น มาจาก เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น (Event) และ การตอบสนองต่อเหตุการณ์ (Response) อันเป็นกระบวนการคิดที่สำคัญ เพื่อให้ประสบความสำเร็จ ของผลลัพธ์ อีกทั้งยังควรที่จะต้องเข้าใจหลักการ Cause and Effect และต้องเข้าใจให้ชัดเจนว่าทำไมถึงต้องอยู่ตรงนี้ (Have , Be ,Do) อันเป็นแนวคิดที่สำคัญ ที่จะทำให้ทุกคนได้ใช้ชีวิต (manage) ตนเองสู่ความสำเร็จ

วีระศักดิ์ ศรีกาวี

วันที่ 27 มีนาคม 2556 หัวข้อ : ธรรมาภิบาลของ กฟผ.

      กฟผ.ต้องบริหารและกำกับดูแลให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกๆด้านได้รับความเป็นธรรมและโปร่งใส ตรวจสอบได้ กล้าเปิดเผยข้อมูล  หลักการธรรมาภิบาล หรือการบริหารกิจการที่ดี ที่จะต้องเปลี่ยนแปลงไปตามการเปลี่ยนแปลงของโลก  ที่เกิดจากการเรียนรู้และประสบการณ์ ของผู้นำแต่ละคนที่ต้องตระหนักในตนเอง ให้เกิดธรรมาภิบาลด้วยใจ ที่ต้องตระหนักถึง การมีส่วนร่วม  สำนึกถึงความรับผิดชอบ  มีความโปร่งใส  และ มีประสิทธภาพและประสิทธิผล ในการดำเนินงาน

หัวข้อ : เศรษฐศาสตร์พลังงาน

      กฟผ.ควรปรับการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าให้มีความสมดุลมากกว่านี้ (ปัจจุบัน ใช้ก๊าซในอัตราส่วนที่มากเกินไป  และในอนาคตใกล้ๆ มีแนวโน้มรับซื้อไฟฟ้าจากเพื่อนบ้านในอัตราส่วนที่สูงเกินไป)นโยบายของ กระทรวงพลังงาน ซึ่ง กฟผ. ต้องเข้าใจ และเตรียมการเพื่อรองรับอย่างเป็นรูปธรรมทุกวันนี้ในโลกธุรกิจได้เปลี่ยนแปลงไปมากมาย หากองค์กรเราไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวเข้าหา องค์กรเราจะอยู่ไม่ได้ หากปล่อยให้การเปลี่ยนแปลงภายนอกเกิดก่อนภายในองค์กรของเรานั่นเป็นสัญญาณแห่งความล้มเหลวขององค์กร

หัวข้อ : ผู้นำกับการสร้างทุนทางจริยธรรมในองค์กร

      องค์กรที่มีจริยธรรมสูง จะนำไปสู่การบริหารงานที่เป็นองค์กรสีขาว ที่จะสร้างผลลัพธ์ที่ดีและมีประสิทธิภาพต่อองค์กร นำไปสู่ความศรัทธาที่สูงขึ้น ซึ่งจะทำให้เข้าใจจุดยืนของตนเอง เป้าหมายในระยะยาว และ  ยุทธศาสตร์ที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายนั้น
วีระศักดิ์ ศรีกาวี

วันที่28มีนาคม2556 หัวข้อ : ประสบการณ์การเรียนรู้ ของข้าพเจ้า กับการปรับใช้เพื่อการบริหาร กฟผ. ในยุคที่โลกเปลี่ยน โดย คุณสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์

      ในปัจจุบันโลกเปลี่ยนแปลงไปรวดเร็วมาก องค์กรต้องพร้อมรับกับการเปลายนแปลงตามกระแสโลกาภิวัฒน์ของโลก กฟผ.เน้นพัฒนาบุคลกรให้เป็นองค์กร HPO ได้รับการยอมรับ เชื่อถือ ทำให้บุคลากรภายนอกมองกฟผ.อย่างภาคภูมิใจว่ากฟผ.เป็นองค์กรมืออาชีพแบบมีธรรมาภิบาล
      จากประสบการณ์ของท่าน ผวก. ทำให้เห็นว่าปัญหาที่สำคัญของ กฟผ. ในปัจจุบันนอกจากจะเป็นเรื่องการยอมรับของชุมชนในการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่แล้ว ก็เป็นเรื่องการบริหารงานบุคคล ทั้ง อัตรากำลัง ที่ต้องทดแทนผู้ที่จะเกษียณอันใกล้ และ การพัฒนาผู้นำรุ่นใหม่ ที่ต้องมีความคิดกว้างขวาง และมองการณ์ไกล อีกทั้งต้องมี networkingอันเป็นต้นทุนทางสังคม ซึ่ง ทุกคนต้องปรับเปลี่ยนตัวเอง ให้พร้อมรับสถานการณ์

หัวข้อ : เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทย ผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.

      ในอนาคตประเทศไทยต้องมีโอกาศอย่างสูงมากๆในการเจริญเติบโตทางธุรกิจและประเทศไทยมีความพร้อมมากที่สุดในการลงทุนของนานาประเทศ ทำให้การใช้พลังงานมีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว กฟผ.จะต้องพบกับการหาพลังงานไฟฟ้าให้พอเพียงต่อการขยายตัวทางธุรกิจอย่างก้าวกระโดด  ทำให้กฟผ.ต้องเร่งพัฒนาบุคลากรและทำความเข้าใจกับสังคมโดย
      - กฟผ.ต้องพัฒนาคนเพื่อรองรับการแข่งขันในโลกธุรกิจ
      - กฟผ.ต้องเป็นผู้นำทางด้าน Green Energy
      - กฟผ.ต้องแสวงหาโอกาศในการร่วมลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน
      - กฟผ.ต้องปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อรองรับการเป็นศูนย์กลางโครงข่ายด้านพลังงานแห่งภูมิภาคให้ได้ในโอกาสนี้

หัวข้อ : TQM/SEPA :ความเป็นเลิศและการพัฒนาอย่างยั่งยืน

      ในองค์กรใหญ่ๆอย่างกฟผ. คน (People) ระบบงาน(System) เป็นเรื่องสำคัญที่สุดต้องสอดประสานจะทำให้เป็นองค์กรสู่ความเป็นเลิศ โดยกฟผ.ต้องพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง โดย กฟผ. จะนำแนวทางการพัฒนาแบบ TQM มาปรับใช้ในรูปแบบของ กฟผ.เอง ที่เรียกว่า EGAT Way ที่มีทั้งการพัฒนาคน และ การพัฒนาระบบงาน โดยจะมี SEPA เป็นเครื่องมือวัด
วีระศักดิ์ ศรีกาวี

วันที่ 29 มีนาคม 2556 หัวข้อ : Blue Oceanกับการทำงานของ กฟผ.และการปรับใช้เพื่อสร้างโครงการแบบนวัตกรรมของ กฟผ.

      Blue Ocean ในตลาดใหม่ ที่มุ่งเน้นการสร้างนวัตกรรม และ การสร้างลูกค้าใหม่ เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกไร้พรมแดน ซึ่งเป็นแนวคิดที่ กฟผ. ควรรับมาปรับใช้ในการพัฒนาบนศักยภาพ และความสามารถพิเศษ ที่มี ที่ทำได้ (Core competency) แต่ยังไม่ได้ทำ

หัวข้อ : High Performance Organizationที่ กฟผ.

      การเป็น HPO มีวิธีการ เครื่องมือหลายอย่าง ผู้บริหารจะต้องนำไปใช้ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมขององค์กร เพื่อให้องค์กร เก่ง ดี และมีความสุข  องค์กรจะเป็น HPO ได้ ต้องไม่เป็น One standard form ต้องให้มีความเห็นต่าง(คิดนอกกรอบ) ต้องปรับโครงสร้างให้ Realistic ปรับ Process รวมทั้งระบบต้องเป็น Dynamic องค์กรประสิทธิภาพสูง (HPO)คือ คน ที่อยู่ในองค์กรที่มีความหลากหลายนั่นเอง ที่ต้องเป็น ทั้งคนเก่ง และ คนดี

ความรู้ที่ได้รับจากการฟังบรรยาย วันอังคารที่ 14 พค. 56 หัวข้อ  “ ธรรมชาติบำบัดปรับชีวิต เปลี่ยนอาหาร
หลักการแพทย์พอเพียง “ โดย นพ.บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล  ซึ่งแนะนำให้ กินเนื้อ
1 ส่วน กินผัก 2 ส่วน 
งดการกินข้าวและแป้งซึ่งรวมทั้งของหวานต่างๆและผลไม้  ซึ่งอาหารประเภทนี้จะเปลี่ยนเป็นน้ำตาลและพลังงานเมื่อเข้าสู่ร่างกาย  ถ้าร่างกายใช้ไม่หมด ก็จะเปลี่ยนเป็นไขมันสะสมในร่างกาย
เกิดโรคอ้วน

ไขมันในเลือดสูง  เบาหวาน  และฟังบรรยาย หัวข้อ “ วารีบำบัด
สร้างเสริมสุขภาพ “ โดย พญ. ลลิต

ธีระสิริ  เป็นทางเลือกในการออกกำลังคือการออกกำลังกายในน้ำ  เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ
เพราะลดการบาดเจ็บของข้อได้เพราะน้ำจะช่วยพยุงร่างกายไว้

 

 

ความรู้ที่ได้รับจาก Learning Forum & Workshop วันพุธที่ 15 พค 56 หัวข้อ “ วิเคราะห์ประเด็นท้าทายสำหรับ กฟผ.”  โดยศาสตราภิชาน ไกรฤทธิ์  บุณยเกียรติ และ ผศ.ดร. พงษ์ชัย  อธิคมรัตนกุล 
ดำเนินรายการโดย อ.จิระ 
ซึ่งประเด็นท้าทายประกอบด้ว

1. ทำค่าไฟฟ้าให้ถูกที่สุด

2. ใช้ประโยชน์จากสายส่ง carry digital

3. ใช้ประโยชน์จาก Right of way ของสายส่ง ทำถนน
ทำทางรถไฟ

4. หาแหล่งเงินทุน โดยอาจเข้าตลาดหุ้น

และหัวข้อ “กฟผ.กับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน “AEC “

โดย ศาสตราภิชานไกรฤทธิ  บุณยเกียรติ และ ผศ. ดร.
พงษ์ชัย  อธิคมรัตนกุล  ดำเนินรายการโดย อ.จิระ

โดยสรุปว่า กฟผ.ต้องปรับตัวปรับ Businessโดยต้อง

1. หาผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินมาช่วย

2. งานโฆษณาประชาสัมพันธ์ต้องเพิ่มมากขึ้น

3. ต้องมีล๊อบบี้ยีส

 

 

ความรู้ที่ได้รับจากการฟังบรรยาย วันพฤหัสที่ 16 พค. 56 หัวข้อ “ EGAT Leader & Team work “

โดย ดร. เฉลิมพล  เกิดมณี ซึ่งแบ่งคนเป็น 4 กลุ่ม คือ นักทฤษฎี , นักปฏิบัติ , นักผจญภัยและนักกิจกรรม 
ซึ่งแต่ละกลุ่มก็จะมีความคิดและพฤติกรรมไม่เหมือนกัน  การจะทำงานเป็นทีมให้ประสบความสำเร็จ
ต้องรู้ว่าสมาชิกในทีมเป็นคนประเภทไหนบ้าง 
ควรให้ทำงานอะไร 
เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และทำให้ กฟผ. ประสบความสำเร็จ

และฟังบรรยายหัวข้อ “ Art & Feeing of Presentation and Effective Public Speaking “

 โดย  อ. จิตรสุมาลย์  อมาตยกุล พบว่าถ้าเรา presentปกติทั่วไปจะได้แค่7% จาก

100 %  แต่ถ้าเราเพิ่ม Joicy and Jass ในการ Presentation จะสามารถเพิ่มได้อีก93 %

กลายเป็น 100 % โดย 93% แบ่งเป็น 38% จากพลังของน้ำเสียง
และอีก 55% จากการแสดงออกรวมทั้งท่าทางและบุคคลิก



ความรู้ที่ได้รับจากการฟังบรรยายเมื่อวันศุกร์ที่ 17 พค. 56 หัวข้อ “
บุคลิกภาพของนักบริหารยุคใหม่ “โดย อ.นภัสวรรณ จิลลานนท์ 
เป็นการให้ความรู้เทคนิคการแต่งตัว , มารยาททางธุรกิจ , มารยาทบนโต๊ะ

อาหาร และ การนั่งรถกับนายกับแขก

และฟังบรรยายหัวข้อ “ จากประสบการณ์การทำงานที่ ปปช. สู่การปรับใช้ที่
กฟผ.” โดย ศาสตราจารย์พิเศษ วิชา มหาคุณ  คณะกรรมการ ปปช.

 เป็นการพูดถึงปัญหาทุจริตคอรับชั่นในภาครัฐที่เกิดจากระบบ

อุปถัมภ์พึ่งพาอาศัยกัน ก่อให้เกิดขบวนการที่ว่านี้

และสุดท้ายฟังบรรยายหัวข้อ “ ผู้นำ – วัฒนธรรมองค์กร – การบริหารการเปลี่ยนแปลง
“ โดย อ.ประกายชลหาญ 
เป็นการให้ความรู้ถึงการที่องค์กรที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลง เพื่อความอยู่รอด
และพัมนาไปในทาง
ที่ดีขึ้น  โดยควรจะเปลี่ยนก่อนที่จะโดนบังคับให้เปลี่ยน







พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท